ปริศนาธรรม ไซอิ๋ว
ตอนที่ 9
พระอาจารย์โอเซ้า
พระโอเซ้าสำเร็จมรรคผลเป็นพระอรหันต์
อาศัยอยู่บนภูเขา ภูโท่ซัว
ทำสำนักบนต้นไม้ใหญ่
สัตว์เดรัจฉานทั้งหลายย่อมหาผลไม้มาถวายอยู่เสมอเนืองนิตย์มิได้ขาด
เมื่อพระถังซัมจั๋งไปอาราธนาพระไตรปิฎกถึงที่เขาตำบลนี้
พระโอเซ้าจึงให้คาถาธรรมซิมเกงแก่พระถังซัมจั๋งไปเพื่อกันตัว
ตั้งแต่นั้นมา
พระถังซัมจั๋งจึงค่อยคลายวิตกหวั่นหวาด
เพราะได้คาถาวิเศษภาวนาอยู่เสมอ
ๆ
เนื้อเรื่องตามไซอิ๋ว
เนื้อเรื่องตามไซอิ๋ว
คณะเดินทางมาถึงเขาสูง
ชื่อ ภู่โท่ซัว
ที่นี่มีพระสำเร็จฌาณองค์หนึ่งชื่อ
โอเช้าเสี้ยนซือ เรียกสั้นๆว่า
พระอาจารย์โอเช้า โดยท่านโอเช้า
สร้างสำนักเหมือนรังนก
อาศัยอยู่บนต้นไม้
โดยท่านอาจารย์โอเช้า
นี้รู้จักกับ ตือกงเจีย
มาก่อน
เมื่อพระถังถามว่า เมืองไซที ยังอยู่อีกไกลหรือไม่ ท่านอาจารย์ตอบว่า ยังอยู่อีกไกลนัก และอันตรายมากมีทั้งสัตว์และปีศาจที่ดุร้ายมากตลอดทาง แต่จะให้พระคาถาติดตัวไปเพื่อให้พันอันตรายต่างๆ โดยมี 54 วรรค 370 ตัวอักษร ดังนี้
ขันธ์ 5 คือความว่าง ความว่าง คือขันธ์ 5 สิ่งทั้งปวง ไม่มีเกิด จะไม่มีดับ ไม่สะอาด จะไม่มีสกปรก ไม่เต็ม จะไม่มีพร่อง ไม่มีอวิชชา จะไม่มีวิชชา ไม่มีชรามรณะ จะไม่ปราศจากชรามรณะ ไม่มีการรู้ จะไม่มีการรู้ ไม่มีการบรรลุ จะไม่มีการไม่บรรลุ พระพุทธเจ้าในอดีตทุกองค์ได้สำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ ก็ด้วยอาศัยปัญญาอันยอดเยี่ยมนี้ จิตจะปราศจากความลังเลใดๆ เมื่อไม่มีอุปสรรคใดๆ จึงไม่มีหวั่นไหว ทุกข์ทั้งปวงจะดับหมด และนี่ไม่ใช่ความสูญเปล่าเลย
เมื่ออาจารย์โอเซ้าท่องให้ฟังรอบเดียว พระถังก็สามารถท่องจำได้ขึ้นใจ หลังจากนั้น พระอาจารย์ก็ขอลาขึ้นไปบนยอดต้นไม้ แต่เห้งเจีย ถามอาจารย์ว่า แล้วทางไปไซทีละ? อาจารย์โอเช้าก็หัวเราะแล้วตอบเป็นปริศนาว่า ทางไปนั้นไม่ยาก แต่ต้องข้ามเขานับไม่ถ้วน พร้อมกับสัตว์และปีศาจดุร้ายจำนวนมาก แต่อย่าได้หวาดกลัวไปเลย เมื่อไปถึง ภูเขา ม่อฮี้งัม ให้ระวัง เพราะจะมีปีศาจเสือปลามาดักทำร้าย และกล่าวปริศนาต่อว่า หมูป่าหาบคอน คงพบน้ำร้าย เมื่อครั้งแรก ต่อมาลิงหินพันปีมาพบเจอ จงถามดูหนทางไปไซที เขาจักรู้จักทางไปไซทีแน่นอน
เห้งเจียนั้นโมโหที่ไปว่าเขา เห้งเจียจึงฟาดตะบองไปตีพระโอเซ้า แต่ไม่สามารถตีพระอาจารย์ได้ เพราะพระอาจารย์เหาะขึ้นไปแล้ว ทำให้พระถังโกรธเห้งเจียว่า ทำไมทำตัวเช่นนั้น ก่อนเดินทางต่อไป
ปริศนาธรรม
พระคาถาที่ให้พระถังได้ท่อง คือ ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร (แปลว่า พระสูตรหัวใจของปัญญาบารมี)ซึ่งเป็นพระสูตรสำคัญของ ศาสนาพุทธนิกายมหายาน โดยเฉพาะพุทธศาสนานิกายเซน (แยกมาจากมหานิกาย) ยิ่งให้ความสำคัญกับ พระสูตรนี้อย่างมาก อย่างไรก็ดี พระสูตรนี้ไม่ใช่พุทธวัจนะโดยตรง โดยมีทั้งฉบับเต็ม และฉบับย่อมากมายอีกด้วย ส่วนของเถรวาท จะเป็น ปฏิจจสมุปบาท (การเรียงลำดับ ปัจจัยแห่งการเกิด จะคล้ายๆ กับที่พระถังได้ท่อง)
เนื้อหาในพระสูตรนี้ กล่าวถึง พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรได้เพ่งพิจารณาวิปัสสนาอย่างยิ่งยวด พบว่า สัตว์ต่างๆประกอบไปด้วย ขันธ์ 5 อันประกอบไปด้วย รูป เวทนา สังขาร สัญญา และวิญญาณ แต่ทั้งหมด กลับว่างเปล่า นั่นคือหัวใจของพระสูตรนี้คือ รูปคือความว่างเปล่า ความว่างเปล่าคือรูป รูป เวทนา สังขาร สัญญา และวิญญาณ ล้วนแต่ว่างเปล่า
อีกประเด็นสำคัญของพระสูตรนี้ คือ ตอนท้ายพระสูตรที่ว่า คะเต คะเต ปารคะเต ปารสังคะเต โพธิสวาหา ซึ่งแปลว่า “จงไป จงไป ไปถึงฝั่งโน้น ไปให้พ้นโดยสิ้นเชิง บรรลุถึงความรู้แจ้งเทอญ” ซึ่งฉบับภาษาต่างๆ มักไม่แปลท่อนนี้ออกมา เพราะอาจารย์ที่แปลเชื่อว่า ไม่มีทางที่จะมีผู้ใดปฎิบัติได้ถึงขั้นนี้ได้ และหากปฎิบัติได้ ปริศนาของพระสูตรท่อนนี้จะปรากฎขึ้นเองไม่ต้องแปล
คำในนิกาย มหายาน คือ สูญญตา (ว่างเปล่า ไม่มีสถาวะที่ดำรงอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง) แต่คำในเถรวาท จะใช้ คำว่า อนัตตา (ไม่มีอยู่จริง คือปฎิเสธภาวะที่มีอยู่ (สรุป มันมีหรือไม่มีกันแน่)
คำอธิบายคือ ธาตุ 4 และขันธ์ 5 นั้น ล้วนเป็นสูญญตา คือ มีอยู่เพียงในจินตนาการเท่านั้น ทั้งหมดล้วนเป็นสิ่งสมมติขึ้น เพราะทุกสิ่งไม่มีสาระเป็นของตนเอง ไม่มีภาวะใดที่เรียกได้ว่ามีอยู่จริง และเป็นอิสระจากภาวะอื่น เราต่างบัญญัติขึ้นมาเอง ไม่มีมูลฐานใด อยู่ลอยๆ โดยปราศจากการแยกจากลักษณะอื่นได้ ทุกสิ่งล้วนอยู่ได้ด้วยอาศัยเหตุปัจจัยอื่น การบัญญติขึ้นมาล้วนปรุงแต่งขึ้นมาเอง
ขันธ์ 5 นั้น ถือเป็นตัวแยกให้ศาสนาพุทธ มีความแปลกจากศาสนาอื่นๆ เพราะศาสนาอื่นจะมีเพียง Soul เท่านั้น แต่ของศาสนาพุทธนั้น อธิบายว่า มนุษย์ ประกอบไปขันธ์ 5 (รูป 1 นาม 4) ดังนี้
1.รูป ประกอบด้วย ธาตุทั้ง 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ ประกอบเป็นอวัยวะต่างๆ ไม่สามารถรับรู้อารมณ์ใดๆ ต้องอาศัย จิตเป็นตัวรับรู้อารมณ์
เมื่อพระถังถามว่า เมืองไซที ยังอยู่อีกไกลหรือไม่ ท่านอาจารย์ตอบว่า ยังอยู่อีกไกลนัก และอันตรายมากมีทั้งสัตว์และปีศาจที่ดุร้ายมากตลอดทาง แต่จะให้พระคาถาติดตัวไปเพื่อให้พันอันตรายต่างๆ โดยมี 54 วรรค 370 ตัวอักษร ดังนี้
ขันธ์ 5 คือความว่าง ความว่าง คือขันธ์ 5 สิ่งทั้งปวง ไม่มีเกิด จะไม่มีดับ ไม่สะอาด จะไม่มีสกปรก ไม่เต็ม จะไม่มีพร่อง ไม่มีอวิชชา จะไม่มีวิชชา ไม่มีชรามรณะ จะไม่ปราศจากชรามรณะ ไม่มีการรู้ จะไม่มีการรู้ ไม่มีการบรรลุ จะไม่มีการไม่บรรลุ พระพุทธเจ้าในอดีตทุกองค์ได้สำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ ก็ด้วยอาศัยปัญญาอันยอดเยี่ยมนี้ จิตจะปราศจากความลังเลใดๆ เมื่อไม่มีอุปสรรคใดๆ จึงไม่มีหวั่นไหว ทุกข์ทั้งปวงจะดับหมด และนี่ไม่ใช่ความสูญเปล่าเลย
เมื่ออาจารย์โอเซ้าท่องให้ฟังรอบเดียว พระถังก็สามารถท่องจำได้ขึ้นใจ หลังจากนั้น พระอาจารย์ก็ขอลาขึ้นไปบนยอดต้นไม้ แต่เห้งเจีย ถามอาจารย์ว่า แล้วทางไปไซทีละ? อาจารย์โอเช้าก็หัวเราะแล้วตอบเป็นปริศนาว่า ทางไปนั้นไม่ยาก แต่ต้องข้ามเขานับไม่ถ้วน พร้อมกับสัตว์และปีศาจดุร้ายจำนวนมาก แต่อย่าได้หวาดกลัวไปเลย เมื่อไปถึง ภูเขา ม่อฮี้งัม ให้ระวัง เพราะจะมีปีศาจเสือปลามาดักทำร้าย และกล่าวปริศนาต่อว่า หมูป่าหาบคอน คงพบน้ำร้าย เมื่อครั้งแรก ต่อมาลิงหินพันปีมาพบเจอ จงถามดูหนทางไปไซที เขาจักรู้จักทางไปไซทีแน่นอน
เห้งเจียนั้นโมโหที่ไปว่าเขา เห้งเจียจึงฟาดตะบองไปตีพระโอเซ้า แต่ไม่สามารถตีพระอาจารย์ได้ เพราะพระอาจารย์เหาะขึ้นไปแล้ว ทำให้พระถังโกรธเห้งเจียว่า ทำไมทำตัวเช่นนั้น ก่อนเดินทางต่อไป
ปริศนาธรรม
พระคาถาที่ให้พระถังได้ท่อง คือ ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร (แปลว่า พระสูตรหัวใจของปัญญาบารมี)ซึ่งเป็นพระสูตรสำคัญของ ศาสนาพุทธนิกายมหายาน โดยเฉพาะพุทธศาสนานิกายเซน (แยกมาจากมหานิกาย) ยิ่งให้ความสำคัญกับ พระสูตรนี้อย่างมาก อย่างไรก็ดี พระสูตรนี้ไม่ใช่พุทธวัจนะโดยตรง โดยมีทั้งฉบับเต็ม และฉบับย่อมากมายอีกด้วย ส่วนของเถรวาท จะเป็น ปฏิจจสมุปบาท (การเรียงลำดับ ปัจจัยแห่งการเกิด จะคล้ายๆ กับที่พระถังได้ท่อง)
เนื้อหาในพระสูตรนี้ กล่าวถึง พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรได้เพ่งพิจารณาวิปัสสนาอย่างยิ่งยวด พบว่า สัตว์ต่างๆประกอบไปด้วย ขันธ์ 5 อันประกอบไปด้วย รูป เวทนา สังขาร สัญญา และวิญญาณ แต่ทั้งหมด กลับว่างเปล่า นั่นคือหัวใจของพระสูตรนี้คือ รูปคือความว่างเปล่า ความว่างเปล่าคือรูป รูป เวทนา สังขาร สัญญา และวิญญาณ ล้วนแต่ว่างเปล่า
อีกประเด็นสำคัญของพระสูตรนี้ คือ ตอนท้ายพระสูตรที่ว่า คะเต คะเต ปารคะเต ปารสังคะเต โพธิสวาหา ซึ่งแปลว่า “จงไป จงไป ไปถึงฝั่งโน้น ไปให้พ้นโดยสิ้นเชิง บรรลุถึงความรู้แจ้งเทอญ” ซึ่งฉบับภาษาต่างๆ มักไม่แปลท่อนนี้ออกมา เพราะอาจารย์ที่แปลเชื่อว่า ไม่มีทางที่จะมีผู้ใดปฎิบัติได้ถึงขั้นนี้ได้ และหากปฎิบัติได้ ปริศนาของพระสูตรท่อนนี้จะปรากฎขึ้นเองไม่ต้องแปล
คำในนิกาย มหายาน คือ สูญญตา (ว่างเปล่า ไม่มีสถาวะที่ดำรงอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง) แต่คำในเถรวาท จะใช้ คำว่า อนัตตา (ไม่มีอยู่จริง คือปฎิเสธภาวะที่มีอยู่ (สรุป มันมีหรือไม่มีกันแน่)
คำอธิบายคือ ธาตุ 4 และขันธ์ 5 นั้น ล้วนเป็นสูญญตา คือ มีอยู่เพียงในจินตนาการเท่านั้น ทั้งหมดล้วนเป็นสิ่งสมมติขึ้น เพราะทุกสิ่งไม่มีสาระเป็นของตนเอง ไม่มีภาวะใดที่เรียกได้ว่ามีอยู่จริง และเป็นอิสระจากภาวะอื่น เราต่างบัญญัติขึ้นมาเอง ไม่มีมูลฐานใด อยู่ลอยๆ โดยปราศจากการแยกจากลักษณะอื่นได้ ทุกสิ่งล้วนอยู่ได้ด้วยอาศัยเหตุปัจจัยอื่น การบัญญติขึ้นมาล้วนปรุงแต่งขึ้นมาเอง
ขันธ์ 5 นั้น ถือเป็นตัวแยกให้ศาสนาพุทธ มีความแปลกจากศาสนาอื่นๆ เพราะศาสนาอื่นจะมีเพียง Soul เท่านั้น แต่ของศาสนาพุทธนั้น อธิบายว่า มนุษย์ ประกอบไปขันธ์ 5 (รูป 1 นาม 4) ดังนี้
1.รูป ประกอบด้วย ธาตุทั้ง 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ ประกอบเป็นอวัยวะต่างๆ ไม่สามารถรับรู้อารมณ์ใดๆ ต้องอาศัย จิตเป็นตัวรับรู้อารมณ์
2.เวทนา
ประกอบไปด้วยความรู้สึกที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะทางกาย
หรือใจ เช่น สุข ทุกข์ และอุเบกขา
(การวางเฉย)
ไม่จัดอยู่ในจิต
แต่จัดเป็นเจตสิก(เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่งที่เกิดร่วมกับจิตเสมอ)
3. สัญญา คือความจำได้ในอดีต โดยแยกเป็นการจำได้ ทั้ง รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสทางกาย และสัมผัสทางใจ ถูกจัดเป็นเจตสิก เช่นกัน
3. สัญญา คือความจำได้ในอดีต โดยแยกเป็นการจำได้ ทั้ง รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสทางกาย และสัมผัสทางใจ ถูกจัดเป็นเจตสิก เช่นกัน
4.
สังขาร คือ
สภาพที่ปรุงแต่งใจ คือ ความคิด
ซึ่งสามารถปรุงแต่งจิตให้
คิดดี คิดชั่ว หรือคิดเป็นกลาง
(บางคนว่าเป็นเจตนา)
จัดเป็นเจตสิกเช่นกัน
5. วิญญาณ คือ การรับรู้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ ถูกจัดว่าเป็นจิต (ต่างจากขันธ์อื่นที่อยู่ในเจตสิก ยกเว้นรูปและวิญญาณ)
สรุปขันธ์ 5
รูป รับข้อมูลผ่าน วิญญาณ (อาตยนะ 6) มาเทียบกับ สัญญา (ข้อมูลเก่า) เพื่อมา สังขาร (คิดวิเคราะห์ มีคิดแบบกุศลกับอกุศล) ต่อมาก็รู้สึก เวทนา (สุข ทุกข์ หรืออุเบกขา)
5. วิญญาณ คือ การรับรู้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ ถูกจัดว่าเป็นจิต (ต่างจากขันธ์อื่นที่อยู่ในเจตสิก ยกเว้นรูปและวิญญาณ)
สรุปขันธ์ 5
รูป รับข้อมูลผ่าน วิญญาณ (อาตยนะ 6) มาเทียบกับ สัญญา (ข้อมูลเก่า) เพื่อมา สังขาร (คิดวิเคราะห์ มีคิดแบบกุศลกับอกุศล) ต่อมาก็รู้สึก เวทนา (สุข ทุกข์ หรืออุเบกขา)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น