วันเสาร์ที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

จีน(ฺBC280-BC228) จ้าวจี ผู้กุมความลับ ใครคือ บิดาของจิ๋นซีฮ่องเต้??

จ้าวจี ( (赵姬) หรือ (昏德公)  (BC280–BC228 ปีก่อนคริสตกาล)

จ้าวจี หรือ ฮองเฮาของ พระเจ้าจฺวังเซียงแห่งแคว้นฉิน และแม่ของของ จิ๋นซีฮ่องเต้ จักรพรรดิองค์แรกของประเทศจีน เมื่อนางได้เข้าพิธีอภิเษกสมรส นางก็กลายเป็น ฮองเฮาจ้าว แต่เมื่อฮ่องเต้สวรรคต นางกลายเป็น ไทเฮาจ้าว

--------------

จิ๋นซี ฮ่องเต้ เป็นผู้รวบรวมแผ่นดินจีนให้เป็นปึกแผ่นและขึ้นเป็นกษัตริย์องค์แรกของประเทศจีน สถาปนาเป็นราชวงศ์ฉิน (จิ๋น) แต่มีกำเนิดที่น่าพิศวรยิ่งนัก เพราะจิ๋นซีอาจเป็นลูกของ จ้าวหนานอ๋อง ผู้เป็นพระราชบิดาอย่างเป็นทางการ หรือ หลี่ปุ้เหว่ย พ่อค้าที่มั่งคั่ง ก็เป็นได้ มีเพียง จ้าวจี แม่ของนางเท่านั้นที่รู้ว่า ใครคือ พ่อของจิ๋นซีฮ่องเต้

แม้ประวัติศาสตร์จะถูกชำระไปแล้วในยุคของราชวงศ์ฉิน แต่โชคดี บันทึกของราชวงศ์ฮั่นกลับไม่ถูกแก้ไข

ที่มา
ย้อนกลับไปปลาย สมัยราชวงศ์โจวตะวันออก  หรือยุค เลียดก๊ก ที่แบ่งเป็น 2 ช่วง คือยุคที่มีหลายรัฐ เรียก ยุคชุนชิว ส่วนช่วงหลังนั้น เรียกว่า  ยุคจั๊นกว่อ  เป็นการต่อสู้ระหว่าง แคว้น 7 แคว้น คือ ฉิน ฉู่ จ้าว เหว่ย เยี่ยน ฉี หาน โดยมีแคว้นฉิน แข็งแกร่งที่สุด ที่มี จ้าวหนานอ๋อง ปกครอง แต่ตอนนั้นอายุ 52 ปีแล้วจึงให้แต่งตั้งให้ อันกั๋วจิ๋น เป็นองค์รัชทายาท (ไทจื้อ)  โดย อั่นกั๋วจิ๋น นั้น มีเมียหลายคน คนโปรดคือ สนมหวาหยาง แต่กลับไม่มีลูก ส่วนนางสนมที่ไม่โปรดกลับมีลูกชายชื่อ อี้เหริน หรือจื่อฉู่ นอกจากนี้ยังมีลูกชายอีก 20 คน  ยุคนั้น มีประเพณี การแลกเปลี่ยนตัวประกันระหว่างแคว้นกัน

แคว้นฉิน จึงส่ง อี้เหริน (จื่อฉู่) ที่เป็นหลานของกษัตริย์ไปเป็นตัวประกันกับแคว้นจ้าว อี้เหริน(จื่อฉู่)  ไปในฐานะตัวประกันที่แคว้นจ้าวก็ไม่โปรด เพราะแคว้นจ้าวนั้น มักจะรบกับแคว้นฉินเป็นประจำและมักจะแพ้เป็นประจำ ขณะที่แคว้นฉิน ก็ไม่โปรดเขา แต่เขาโชคดีที่ได้พบกับ พ่อค้าผู้มั่งคั่งคนหนึ่ง ชื่อ หลี่ปู้เหว่ย  ทำให้ฐานะในด้านการเมืองของเขาเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง

หลี่ปู้เหว่ย คือ พ่อค้าที่ติดต่อค้าขายระหว่าง แคว้นหาน กับแคว้นจ้าว แต่เขามีนิสัยพ่อค้าจึงต้องการทราบความเป็นอยู่ของแคว้นฉิน จึงได้ขอเข้าพบ อี้เหริน(จื่อฉู่) เขาตีสนิทกับอี้เหริน และเสนอทรัพย์สินและให้ อี้เหริน ไปเข้าหา พระสนมหวาหยาง ให้นางช่วยเป็นปากเป็นเสียงแทนให้ จ้าวหนานอ๋อง แต่งตั้ง อี้เหริน เป็นรัชทายาท

แต่สิ่งแรกที่หลี่ปู้เหว่ยให้ อี้เหริน ไปทำคือ เอาเงินทองของ หลี่ปู้เหว่ย มาซื้อใจคนในแคว้นจ้าว  รวมถึงคนที่เดินทางมาจากแคว้นฉิน ต้องต้อนรับเป็นอย่างดี ถึงตอนนี้ ชื่อเสียงเรื่องความใจกว้างของ อี้เหริน ก็เริ่มกระจายออกไปอย่างรวดเร็ว

เมื่อสบโอกาสเหมาะแล้ว หลี่ปุ้เหว่ย ก็หอบทรัพย์สินเดินทางไปเมืองเสียนหยาง เมืองหลวงของรัฐฉิน  เมื่อเขาเดินทางมาถึง ก็เริ่มต้นสืบว่า สนมหวาหยาง กับ ไท่จื้อ( อันกั๋วจิ๋น) นั้นชอบสิ่งใดเป็นพิเศษ เมื่อเขาได้ข่าวว่า สนมหวาหยางนั้นมีพี่สาวที่สนิทกันมาก เขาจึงเริ่มต้นจากการเข้าหา พี่สาวของสนมหวาหยางก่อน เมื่อสนิทแล้ว เขาจึงนำทรัพย์สินไปฝากให้ สนมหวาหยาง โดยแนะนำว่า อี้เหริน (จื่อฉู่) ฝากมาเพราะคิดถึงพวกท่านอีกด้วย แถมยังชื่นชม อี้เหริน ต่อหน้าทั้งสองอีกด้วย

หวาหยางฮูหยินนั้น ชื่นชอบของฝากมาก และชื่นชมความกตัญญูของอี้เหรินมาก  ระหว่างนั้น หลี่ปู้เหว่ยก็ถือโอกาส นำของมาขายระหว่างแคว้นฉิน กับแคว้น จ้าว โดยไม่ลืมของฝากอย่างสม่ำเสมอ

เมื่อสนิทชิดเชื้อกันแล้ว หลี่ปู้เหว่ย จึงแนะนำว่า ตอนนี้ สนมหวาหยางนั้นไม่มีบุตรชาย ท่านไทจื้อ อันกั๋วจิ๋น อาจหันเหไปสนสาวอื่นได้ ทำให้สนมหวาหยางในวัยแก่เฒ่านั้นอาจตกระกำลำบากได้ ท่านควรเตรียมการเลือกบุตรคนใดคนหนึ่งป็นบุตรบุญธรรม เพื่อให้ ไทจื้ออันกั๋วจิ๋น แต่งตั้งเป็นไทจื้อ(รัชทายาท) คนถัดไป ท่านอี้เหริน  มีชื่อเสียงในด้านดีขจรขจายไปทั่ว มีความกตัญญู จึงควรชุบเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม เชื่อว่า อี้เหริน จะต้องตอบแทนบุญคุณท่านและดูแลรักษาท่านเป็นอย่างดีในภายภาคหน้าแน่นอน

ครั้งนั้นเอง เมื่อสนมหวาหยาง ได้พบกับอี้เหริน ซึ่ง หลี่ปู้เหว่ย ได้จัดแจง ให้แต่งกายแบบรัฐฉู่ บ้านเกิดของสนมหวาหยาง ทำให้นางปลาบปลื้มมาก และเปลี่ยนชื่อ อี้เหริน เป็น จื่อฉู่ (แปลว่า ลูกของรัฐฉู่)

จนในที่สุด จื่อฉู่ ก็ได้แต่งตั้งเป็นรัชทายาท และยังแต่งตั้ง หลี่ปู้เหว่ย เป็นอาจารย์ของจื่อฉุ่ อีกด้วย แผนแรกของหลี่ปุ้เหว่ยนั้นจบลงแล้ว  ถึงตอนนี้เขาเป็นพ่อค้าที่ยิ่งมั่งคั่งกว่าเดิม เพราะสามารถเข้านอกอกอในในวังได้หลายแคว้น

อนุภรรยา
ปกติ หลี่ปู้เหว่ย ก็เกณฑ์หญิงสาวจำนวนมากมาฝึกร้องเพลงและฟ้อนรำไว้คอยปรนนิบัติตนเองอยู่แล้ว ส่วน จื่อฉู่ นั้นก็เข้านอกออกในบ้านของหลี่ปู้เหว่ย เป็นประจำ โดยครั้งนั้น มีหญิงสาวนางหนึ่งเป็นอนุภรรยาของหลี่ปู้เหว่ย ชื่อ จ้าวจี (赵姬) (ความจริงในบันทึกไม่ได้ระบุชื่อ เพราะจ้าวจี แปลว่า สาวงามแห่งแคว้นจ้าว)  แต่ จื่อฉู่ กลับติดใจนาง จึงเอยปากขอนางจากหลี่ปู้เหว่ย

หลี่ปุ้เหว่ยนั้นตอนแรกก็ไม่ยินยอม แต่เมื่อคิดถึงตำแหน่งของ จื่อฉู่ ในอนาคต จึงยินยอมให้ไป ต่อมา เมื่อนางคลอดลูกออกมา ก็ตั้งชื่อว่า หยิ่งเจิ้ง (หรือ อิ๋งเจิ้ง) อิ๋งแปลว่าชัยชนะ เจิ้งแปลว่า ปกครอง)

ในปี ค.ศ.BC225 เกิดสงครามระหว่าง แคว้นฉิน กับแคว้นจ้าวอีกครั้ง แคว้นฉินรุกรานจนเกือบชนะ แคว้นจ้าว จึงคิดฆ่า จื่อฉู่  แต่ หลี่ปู้เหว่ย รู้ข่าวก่อน รีบติดสินบนนายประตู พา จื่อฉู หนีออกมาสำเร็จ แต่ลุกเมียติดอยู่ในนั้น ต้องปลอมตัวอยู่อย่างหลบๆซ่อนๆ

ถัดมา 5 ปีให้หลัง จาวหนานอ๋อง สิ้นชีวิต อันกํ๋วจิ๋น ก็ขึ้นครองราชย์แทน เปลี่ยนชื่อเป็น เจี้ยวเหวินอ๋อง ทำให้ จื่อฉู่ ได้ขึ้นเป็นรัชทายาทแทน จื่อฉู่ จึงได้ส่งคนไปเชิญตัวภรรยาและลุกชายกลับแคว้นฉิ๋น

เจี้ยวเหวินอ๋อง ครองราชย์ไม่ถึงปีกลับเสียชีวิต ทำให้ จื่อฉู่ ได้ขึ้นครองราชย์แทน เปลี่ยนชื่อเป็น จวงหนานอ๋อง  และแต่งตั้ง หลี่ปู้เหว่ยเป็น อัครมหาเสนาบดี (เซี่ยงกั๋ว)

แต่จวงหนานอ๋อง ก็ครองราชย์ได้แค่ 3 ปี ก็กลับเสียชีวิตไปอีกคน  ทำให้ไทจื้อ(รัชทายาท) หยิ่งเจิ้งที่มีอายุเพียง 13 ปี ขึ้นครองราชย์แทน เปลี่ยนชื่อเป็น จิ๋นซีฮ่องเต้ โดยอำนาจทั้งหมดอยู่ในมือ หลี่ปู้เหว่ย บิดาของจิ๋นซีฮ่องเต้ ส่วนแม่ของเขาขึ้นเป็น ไทเฮาจ้าว ที่ยังสาวและเป็นม่าย ถึงตรงนี้ต้องอย่าลืมว่า เธอคือ อดีตอนุภรรยาของหลี่ปู้เหว่ย ทำให้ฐานะของหลี่ปู้เหว่ย ตอนนี้ไม่ต่างกับฮ่องเต้

เป็นชู้
แต่ด้วยการที่จิ๋นซีฮ่องเต้ มีอายุมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ หลี่ปู้เหว่ย กลัวว่า อำนาจของเขาจะหมดลง ทำให้เขาต้องการตัดความสัมพันธ์กับไทเฮาจ้าว หลี่ปู้เหว่ยจึงหาบุรุษคนหนึ่งมาให้ไทเฮา คือ เล่าอ้าย(嫪毐) โดยแกล้งทำทีเป็นลงโทษเล่าอ้าย โทษฐาน ทำอนาจารต่อหน้าธารกำนัล จึงต้องตัดทิ้ง ก่อนส่งตัวเข้าวัง ในฐานะขันที เพื่อเอาไว้รับใช้ไทเฮาโดยเฉพาะ

ถัดมาไทเฮาจ้าว กลับท้อง ทำให้เธอต้องย้ายออกจากวัง โดยอ้างไปบำเพ็ญศีลภาวนา แล้วย้ายไปพำนักยังเมืองยงเฉิง (雍城) โดยมี เล่าอ้าย ตามไปรับใช้ แต่เมื่อเวลาผ่านไป นางกลับมีลูกถึง 2 คน ถึงตอนนี้ เล่าอ้ายได้รับการแต่งตั้ง“ฉางซิ่นโหว” (长信侯 Marquis of Changxin) เป็นรองเพียงฮ่องเต้คนเดียว นับเป็นขันที (ปลอม) คนเดียวที่มีอำนาจมากที่สุดในประวัติศาสตร์จีน

กินเหล้าแล้วปากใหญ่ขณะที่จิ๋นซี ในวัย 22 ปี นั้น ก็ได้เลือกเดินทางไป เมืองยงเฉิง (เมืองเดียวกับที่ไทเฮาจ้าวไปประทับอยู่) เพื่อประกอบพิธี ราชาภิเษก และในคืนนั้นเอง เล่าอ้าย ก็กินเหล้าเมามาย แล้วพูดจาโอ้อวด เรื่องความสัมพันธ์กับไทเฮาจ้าวให้คนอื่นรับรู้ และอวดอ้างว่า เขานี่แหละ คือ พ่อเลี้ยงของฮ่องเต้ เรื่องนี้รู้ถึงหู จิ๋นซีฮ่องเต้ และทำให้จิ๋นซีฮ่องเต้ รับรู้ว่า นอกจากเล่าอ้ายไม่ใช่ขันทีแล้ว ยังเป็นชู้กับไทเฮาจ้าว แถมมีลูกถึง 2 คน และยังจะให้ลูกขึ้นเป็นไทจื้อ (รัชทายาท)อีก  จึงสั่งลงโทษ แต่จิ๋นซีตอนนั้นไม่ได้ประทับที่วังหลวง

แต่เล่าอ้ายรู้ข่าวก่อน รีบบุกเข้าวัง ชิงตราประทับของฮ่องเต้ แล้วก่อกบฎที่เสียนหยาง ยึดวังฉีเหนี่ยนกง ได้ แล้วออกคำสั่งทหารให้บุกโจมตีวังที่จิ๋นซีประทับอยู่ แต่ จิ๋นซีฮ่องเต้ ทราบเรื่องจึงรีบสั่งทหารจับ เล่าอ้าย  เมื่อจับได้ ก็สั่งประหาร 3 ชั่วโคตร โดย เล่าอ้ายโดนประหารด้วยทัณฑ์ห้าม้าแยกร่าง (车裂) พวกพ้อง ครั้งนั้นมีคนโดนโทษประหารตายถึง 4 พันคน

นอกจากนี้ยังสั่งประหาร ลูก 2 คนที่เกิดกับไทเฮาด้วยการใส่กระสอบแล้วทุบตีจนตาย  นอกจากนี้ยังประกาศตัดขาดแม่ลูก กับไทเฮาจ้าว  และไม่ให้เข้าเฝ้าเด็ดขาด ใครฝ่าฝืนทูลขอ จะต้องโดนโทษประหาร แต่ครั้งนั้นยังมีคนกล้าทูลขอ ทำให้มีคนโดนประหารไปอีก 27 คน

ต่อมา เหมาเจียว ฝ่าฝืนคำสั่ง เข้าเฝ้าทูลขอ โดยให้เหตุผลว่า ท่านโหดเหี้ยมเกินคน สั่งประหาร พี่น้องต่างบิดา ขับไล่มารดา และยั่งสั่งฆ่าคนที่คอยเตือนสติท่าน เรื่องนี้หากชาวเมืองรู้เข้าอาจก่อจราจลถึงบ้านเมืองล่มสลายได้

จิ๋นซีฮ่องเต้ ได้ฟังก็สำนึก แต่งตั้งเหมาเจียว ให้เป็นขุนนาง และส่งรถม้าไปรับมารดากลับเมืองเสียนหยาง หลังจากนั้น ไทเฮาจ้าวก็อยู่อย่างสงบในวัง และในปี ก่อนคริสตศักราชที่ 228 เธอก็เสียชีวิตในวัย 51 ปี

ส่วนหลี่ปู้เหว่ยนั้น แม้จะถูกสอบสวน และพบว่า มีส่วนรู้เห็นกับแผนการ แต่เนื่องจากเคยมีบุญคุณ ต่อ จวงหนางอ๋อง (บิดาของจิ๋นซีฮ่องเต้) จึงได้รับอภัยโทษ แต่ถุกปลดออกจากตำแหน่งทั้งหมด และส่งไปถิ่นทุรกันดาน โดยส่งไปเมืองซี่สู่ ต่อมาไม่นาน หลี่ปู้เหว่ย ก็กินยาพิษฆ่าตัวตาย

ข้อพิพาท
วันเดือนปีของจิ๋นซีนั้นจะเป็นตัวชี้วัดว่า ใครคือ บิดาของจิ๋นซีฮ่องเต้กันแน่ แต่ในบันทึกประวัติศาสตร์ของซือหม่าเชี่ยน นั้นจงใจที่จะปกปิดวันเดือนปีเกิดของจิ๋นซีฮ่องเต้อย่างชัดเจน

2.ข้อพิพาทที่ว่า นางจ้าวจี นั้นมีตัวตนจริงหรือไม่ เพราะจ้าวจี นั้นแปลว่า หญิงสาวจากแคว้นจ้าว อาจเป็นคนละคนกับภรรยาน้อยของ หลี่ปู้เหว่ยก็เป็นได้

3. จ้าวจี นั้นไม่ใช่ ผู้หญิงระดับโสเภณี เนื่องจากหลักฐานบันทึกประวัติของหลี่ปู้เหว่ย ระบุว่า เดิม เธอมาจากครอบครัวที่ร่ำรวย แต่ถูกฆ่าตายทั้งตระกูล เธอหนีมาได้เพราะเธอหลบซ่อนอยู่ ต่อมา หลี่ปู้เหว่ย จึงนำเธอมาชุบเลี้ยง และให้ที่พักอาศัยเป็นอย่างดี

สิ่งเหล่านี้ ยากที่จะหาหลักฐานเพิ่มเติมได้อีกแล้ว มีเพียง นางจ้าวจี เท่านั้นที่รู้ว่า บิดาที่แท้จริงของจิ๋นซีนั้นคือใคร แต่ผมก้เชื่อว่า ระหว่างสอบปากคำ หลี่ปู้เหว่ย นั้น จิ๋นซีฮ่องเต้ ย่อมต้องทราบความจริงแน่นอน แต่ตอนนี้ มันกลายเป็นความลับไปตลอดกาล

ในหนัง เจาะเวลาหาจิ๋นซี จิ๋นซี นั้นในบทละคร เขาให้เป็นคนรัฐจ้าว ชื่อ จ้าวผาน โดยปลอมตัวเป็นอิ้งเจิ้ง แทน และมีแม่คือ หนีฮูหยิน สาวงามแห่งรัฐจ้าว

ส่วนแม่ของ จิ๋นซี (อิ้งเจิ่งตัวจริง ) คือ จูจี เป็นแค่นางสนมของ จางเซียงอ๋อง หรืออึ้งอี้เหยิน  แต่อดีตเป็นนางบำเรอของหลี่ปู้เหว่ย แต่หลี่ปู้เหว่ยยกให้ขณะตั้งท้องกับหลี่ปู้เหว่ย และเป็นชู้กับเหล่าไหว้ สุดท้ายถูกจ้าวผาน (จิ๋นซีฮ่องเต้ตัวปลอม)  สั่งฆ่า  ส่วนหลี่ปู้เหว่ย คือ ศัตรูของตัวเอก คือ เซี่ยงเส้าหลง

สุดท้ายนี้ อย่าลืมกด Like กด Share กด Subscribe  ให้ด้วยนะครับ


--------------------------------

เมิ่งเจียหนี่ ผู้ร้องไห้จนกำแพงพัง
ส่วนเรื่องราวของเมิ่งเจียหนี่ สันนิษฐานว่า ในเวลานั้น นักปราชญ์ต้องการบันทึกเพื่อเป็นการตำหนิกษัตริย์ของตัวเอง  เพราะการสร้างกำแพงเมืองจีนก็เป็นไปเพื่อป้องกันการรุกรานของพวกซุงหนู  (匈奴)   ซึ่งตามประวัติศาสตร์แล้ว ในการศึกจะมีทั้งพ่ายแพ้ แล้วชนะแล้วพ่ายแพ้สลับกันอยู่อย่างนั้น แต่ก็เรียกได้ว่าถูกรุกรานมาโดยตลอด การสร้างกำแพงเมืองจีนทำได้ไม่ยาก คือ รื้อกำแพงทั้งหมดยกเว้นตอนเหนือและก็สร้างต่อกัน แต่กระนั้นก็ยาวมากที่สุด


การก่อสร้างกำแพงนี้ ทำให้ต้องเกณฑ์ผู้คนเป็นจำนวนมาก เป็นที่เดือดร้อนเหล่าอาณาประชาราษฏร์ จนทำให้ได้รับสมญานามว่า เป็นทรราช บังเอิญที่ 1 ในจำนวนล้านๆ คนที่ถูกเกณฑ์ไปสร้างกำแพง เป็นสามีของเมิ่งเจียหนี แม้ในภาพยนตร์จะผูกเรื่องว่าเมิ่งเจียหนี๋เป็นหญิงงามที่เมื่อจิ๋นซีเห็นก็หลงรัก แต่ในความเป็นจริง เป็นการแสดงสภาพสังคมสมัยนั้นว่า การสร้างกำแพงที่ยิ่งใหญ่นั้น ได้พลัดพรากสามีภรรยาที่เพิ่งแต่งงานกัน และคงมีอีกหลายคู่ที่มีการพลัดพรากเช่นนี้ สำหรับเรื่องของเมิ่งเจียหนีถูกพลัดพรากจากกันและสามีก็มาตาย และศพถูกฝังไว้ที่กำแพง

ในเรื่องนี้มีเรื่องเล่าแต่จริงเท็จอย่างไรไม่แน่ชัด แต่ประวัติศาสตร์ก็บันทึกเอาไว้ว่านางร้องไห้จนกำแพงพัง เพราะว่า เมื่อตายลงไปแล้วจะเอากระดูกไปไว้ไหน ก็ทุบป่นรวมไปกับกำแพง เพราะว่าคนตายเป็นจำนวนมากจะไปฝังก็ลำบาก ผู้คุมทั้งหลายก็แสดงความใจดีหรือใจร้ายก็ยังไม่แน่ใจ คือ ฝังไปกับกำแพงเสียเลย การสร้างที่มีส่วนผสมเช่นนี้อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กำแพงทะลายลงด้วย ลม แดด ฝน พายุ ก่อนหน้านี้ แต่บทสรุป บันทึกไว้ว่าเมิ่งเจียหนีร้องไห้จนกำแพงพัง กลายเป็นเรื่องเล่าลือขับขานจนกลายเป็นประวัติศาสตร์ในเวลาต่อมา


วันเสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

จางจงจิ่ง นักบุญทางการแพทย์ และ ตำนานกินเกี๋ยววันตงจื้อ

จางจงจิ่ง (张仲景)  นักบุญทางการแพทย์ และ ตำนานกินเกี๋ยววันตงจื้อ  (150-219)

สมัยปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก มีนายแพทย์ชื่อดัง 2 ท่าน คือ จางจงจิ่ง (张仲景) และ หมอฮั่วโต๋ ซึ่งได้รับการขนานามว่านายแพทย์ผู้ยิ่งใหญ่ หมอฮั่วโต๋ นั้นผมพูดไปแล้ว ในคลิปก่อน หากใครยังไม่ได้ดู จะใส่ ลิงค์การ์ดไว้ให้

ครั้งนี้จะพูดถึง จางจงจิ่ง เพราะ เขาเป็นบุคคลที่เขียน สารานุกรมยาแผนโบราณ จนถึอว่าเป็นผู้วางรากฐานของยาแผนโบราณของจีนตราบจนถึงทุกวันนี้ จนมีคำกล่าวว่า "หากคุณต้องการเป็นหมอจีนแผนโบราณ แต่ยังไม่อ่านหนังสือเล่มนี้ อย่าแม้แต่จะคิดว่าจะเป็นหมอจีนแผนโบราณ"

ก่อนอื่นต้องขออภัย การนับยุคสมัย เพราะนักประวัติศาสตร์จีน จะถือว่า ยุคสามก๊ก นั้นเริ่มต้นนับจากการก่อตั้งรัฐวุ่ยสำเร็จ ในปี ค.ศ. 220  ซึ่งปีนั้นเอง โจโฉเสียชีวิตไปแล้ว แต่ถ้านับตามหนังสือสามก๊ก คนอ่านส่วนใหญ่มักคิดว่า เริ่มตั้งแต่ กบฎโพกผ้าเหลือง แต่ขณะนั้น ฮั่นเลนเต้ หรือ ฮั่นหลิงตี้ กลับเข้าเรื่องเดิม

จางจ้งจิ่ง (ประมาณปีค.ศ.150-ค.ศ.219 ) เป็นหมอที่มีความสามารถสูง ไม่ว่าโรคอะไรที่รักษายาก ในสมัยนั้น หมอผู้นี้สามารถค้นพบจนสามารถรักษาได้เกือบทั้งหมด และยังเป็นหมอที่มีคุณธรรมสูงส่งอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นคนจน คนรวย เขาก็ทำการรักษาอย่างจริงใจ ไม่มีการแบ่งแยก มีคนไข้ที่เขาช่วยชีวิตไว้มีจำนวนนับไม่ถ้วน

สภาพแวดล้อม
เป็นช่วงปลายสมัยตงฮั่น หรือฮั่นตะวันออก จีนแตกเป็นก๊กเป็นเหล่า เกิดสงครามระหว่างกัน ผลจากสงครามทำให้ประชาชนประสบความยากลำบากอย่างใหญ่หลวง มีความเป็นอยู่อย่างแร้นแค้น เกิดโรคภัยไข้เจ็บระบาดไปทั่วทุกหัวระแหง โดยเฉพาะช่วงปี ค.ศ.: 171 -182 ประเทศจีนเกิดโรคระบาดไทรอยด์ หรือ โรคไข้สากน้อย เป็นวิกฤติโรคระบาดครั้งใหญ่ถึง 5 ครั้ง  ผู้คนล้มตายไปเป็นเมาก โดยมีการทำมโนประชากรในสมัยช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันตก มีประชากรจีนประมาณ 50 ล้านคน แต่หลังยุคสามก๊ก คือยุคราชวงศ์จิ้น ประเทศจีนมีประชากรเหลือแค่ 16 ล้านคนเท่านั้น

ประวัติ
จางจี หรืออีกชื่อหนึ่งคือ จงจิ่ง แซ่จาง เป็นชาวตงฮั่น เกิดที่เมืองเนี้ยนหยาง (ปัจจุบันคือ อำเภอหนานหยาง ในมณฑลเหอหนาน)  ในสมัยกษัตริย์ฮั่นหลิง หรือ พระเจ้า เลนเต้ เขาเป็นคนใฝ่รู้ ชอบอ่านหนังสือ และเป็นคนที่มีทัศนคติต่อ ตรรกะ อย่างเข้มงวด  โดยเฉพาะหนังสือเกี่ยวกับ ยาแผนโบราณ และยังเป็นลูกศิษย์ของหมอท้องถิ่นท่านหนึ่งด้วย

แต่เนื่องจากยุคสมัยนั้น ไม่มีทางเลือกมากนัก ผู้คนส่วนใหญ่ถูกเกณฑ์ไปเป็นทหาร ทำให้ตัวเขาเลือกที่รจะสอบเป็นข้าราชการได้รับตำแหน่งเซี้ยวเหลียน (สมัยนั้นยังไม่มีการสอบจองหงวน มีเพียงสอบเป็นข้าราชการท้องถิ่นเท่านั้น)  และได้เลื่อนตำแหน่งเป็นไถ้เส่า 2  ที่เมืองฉางซา ระหว่างเป็นข้าราชาการนั้น จาง จงจิ่ง ก็ยังคงเป็นหนอนหนังสือ และเขายังไปสมัครเป็นศิษย์ของ จางป๋อจู่ และได้ร่ำเรียนวิชาจากอาจารย์จนหมดสิ้น

บางครั้ง เขาต้องเดินทางไกล เพื่อไปศึกษาจากนายแพทย์คนอื่น โดยเฉพาะเมื่อเขาได้ยินชื่อเสียงของ "วังเสิ่นเซียน" ที่เมืองเซี่ยงหยาง ว่า เป็นหมอที่สามารถรักษาโรคหิดได้  เขารีบเดินทางไปขอคำแนะนำทันที ทั้งๆที่ ที่นั่นอยู่ห่างจากบ้านของเขาหลายร้อยลี้ก็ตาม

หลังจากเกิดเหตุการณ์โรคระบาดใหญ่ 5 ครั้ง ที่คร่าชีวิตคนในครอบครัวเขาไปครึ่งหนึ่ง  ทำให้เขามุ่งมั่นอ่านหนังสือยาโบราณอย่างหนัก  โดยอาศัยหนังสือโบราณ เช่น  เน่ยจิง และ หนานจิง เป็นพื้นฐาน จนได้เขียนหนังสือ ซางหางจ๋าปิ้งลุ่น (伤寒杂病论)  (เป็นหนังสือ เกี่ยวกับรักษาไข้หวัดชนิดต่าง ๆ ประกอบไปด้วยใบสั่งยาจำนวนมาก รวม 16 เล่ม ) และคำอธิบายทฤษฏีแพทย์แผนโบราณของจีน ซึ่งนับได้ว่าเป็นการสร้างรากฐานแพทย์แผนโบราณของจีนขึ้น เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ซางหาง และจ๋าปิ้ง

แต่เนื่องด้วย การแพทย์กระแสหลักสมัยนั้น มุ่งเน้นไปที่การรักษาโรคแนวทางของ หยิน และ หยางเป็นหลัก ทำให้เขาไม่ได้รับการยอมรับ และมักถูกเยาะเย้ย แทนที่จะมีชื่อเสียง และรวมถึง หนังสือของเขาบางเล่ม ก็ไปขวางกระแสหลัก อย่างไรก็ดี เขาก็เป็นคนสุภาพ ถ่อมตัว  และประณีประนอมมาโดยตลอด ทำให้ตัวเขาไม่ค่อยมีชื่อเสียง จนกระทั่งยุคจิ๋น จึงมีการนำหนังสือเขามาพูดคุย

แต่เหตุแห่งสงครามช่วงปลายสมัยฮั่นตะวันออก ทำให้เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้บางส่วนขาดหายไป ต่อมาในสมัยซีจิ้น (จิ้นตะวันตก) แพทย์หลวงชื่อ หวังซุเหอ ได้ทำการรวบรวมเขียนเพิ่มเติมและจัดหมวดหมู่ใหม่ จนมีเนื้อหาที่สมบูรณ์ดังที่ปรากฏในปัจจุบันนี้ หลังจากนั้นในสมัยซ่ง  หลินอี้ ได้ทำการตรวจทานความถูกต้องใหม่ และในสมัยจิน
 เฉิงอู๋จี่ ได้เป็นผู้ให้คำอรรถาธิบายเป็นคนแรก

ซางหางจ๋าปิ้งลุ่น
ซางหางลุ่น เป็นหนังสือที่อธิบายถึงโรคติดต่อ ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก ลักษณะของการเขียนแบ่งเป็นข้อๆ หนังสือเล่มนี้ได้รวมเอาหลักทฤษฎี วิธีการ ตำรับยา และตัวยาสมุนไพรมาประสานกับการรักษาอย่างเป็นกฎเกณฑ์ ได้เริ่มใช้กฎการวิเคราะห์โรค (เปี้ยนเจิ่งลุ่นจื่อ) อย่างรอบด้านแล้วดำเนินการรักษาอย่างพลิกแพลงในการปฏิบัติทางคลินิก

ซางหางลุ่นได้แบ่งโรคออกเป็น 6 พวกใหญ่ๆ หรือที่เรียกว่า ลิ่วจิง จากอาการของโรคที่มีอยู่จำนวนมากมาย

นอกจากนี้ซางหางลุ่นยังได้ตั้งกฎเกณฑ์ต่างๆ ในการรักษาโรคอย่างพลิกแพลง เป็นต้นว่า โรคที่เหมือนกันแต่มีอาการที่แสดงออกแตกต่างกัน ก็ใช้วิธีการรักษาที่เรียกว่า โรคเหมือนกันใช้วิธีการรักษาต่างกัน

โรคที่ต่างกันแต่มีอาการที่แสดงออกเหมือนกัน ก็ใช้วิธีการรักษาที่เรียกว่า โรคต่างกันแต่ใช้วิธีการรักษาเหมือนกัน โรคเดียวกันอาจรักษาโดยใช้ตำรับยาต่างๆ กันหลายชนิด หรือยาตำรับหนึ่งๆ สามารถใช้รักษาโรคได้หลายโรค เป็นต้น

สิ่งเหล่านี้เป็นเนื้อหาที่อยู่ในกฎการวิเคราะห์โรคอย่างรอบด้านแล้วดำเนินการรักษา หากเราสามารถยึดกุมหัวใจของกฎนี้ได้อย่างมั่นคงก็จะสามารถนำกฎเกณฑ์ต่างๆ มาใช้ได้อย่างกว้างขวาง พลิกแพลง และมีประสิทธิภาพ เนื้อหาของซางหางลุ่น ไม่ใช่จะถูกจำกัดการรักษาไว้เฉพาะซางหาง (โรคที่เกิดจากความเย็น) เพียงอย่างเดียว แต่เป็นกฎเกณฑ์ที่นำไปใช้รักษาโรคต่างๆ ที่เกิดจากปัจจัยภายนอกเป็นเหตุ

แพทย์จีนส่วนใหญ่ยกย่องและได้สืบทอดแนวความคิดจากหนังสือเล่มนี้มาตราบจนกระทั่งทุกวันนี้ หนังสือเล่มนี้จึงเป็นเสมือนหนังสือที่ผู้ศึกษาการแพทย์จีนควรอ่านเป็นอย่างยิ่ง

ตำนานตงจื้อ และ เกี๋ยว
หลังจาก จางจงจิง รับตำแหน่งเจ้าหน้าที่ในฉางชา เขากลับมาเกษียณที่บ้านเกิดของเขา เขามาถึงในฤดุหนาว ได้พบกับคนยากจนที่มีเพียงเสื้อบางๆ ใส่ ทำให้หู ของพวกเขาเน่า และหัวใจก็อ่อนแอ

แม้ว่าเขากลับมาอาศัยที่บ้านเกิด ก็ยังมีคนไข้มารับการรักษา เป็นจำนวนมาก  แต่ด้วยอากาศที่หนาวเย็น เขาพัฒนาสูตรอาหารชื่อ "คูฮั่นเจียวเออถ่าง" โดยขอให้ลูกศิษย์ของเขาไปต้มอาหารดังกล่าว เพื่อแจกจ่ายให้คนยากจนรับประทานเพื่อรักษาโรคอันเกิดจากความหนาวเย็น

สูตรของ คู่ฮั่นเจียวเออถ่าง นั้น คือ ต้มเนื้อแกะ ผสมพริกไทย และยารักษาโรคหวัดบางอย่าง  แล้วถูกห่อด้วยแป้งรูปหูคน  (เกี๊ยว) แล้วนำไปต้มในน้ำซุป เพื่อรักษาให้ร่างกายอบอุ่น และป้องกันไม่ให้หูแข็งตัว

อย่างไรก็ดี สุดท้ายแล้วเขาก้ไม่ใช่พระเจ้า เขาแม้จะเป็นหมอแต่เขาก็ไม่รักษาอาการเจ็บป่วยของตนเองได้ ในที่สุดเขาก็เสียชีวิตลง ต่อมาเกิดเป็นประเพณี การแจกเกี๊ยวในฤดูหนาวให้กับทุกคน เพื่อเป็นเกียรติแก่จางจงจิ่ง และเป็นเหตุผลว่า หากคุณกินเกี๊ยวในฤดุหนาว หูของคุณจะไม่เน่า

จนในที่สุด เกี๊ยวกลายเป็นสัญลักษณ์ของ การรวมตัวของครอบครัว แต่ชื่อของจางจงจิ่งกลับไม่ค่อยมีคนพูดถึง

อนุสรณ์สถาน
มีรูปปั้นศิลาทั้งตัวของ จางจงจิ่ง ในวิทยาเขตของ การแพทย์จีนแผนโบราณ มหาวิทยาลัยฉางชุน และ คณะแพทย์จีนแผนโบราณแห่งมหาวิทยาลัยเหอหนาน

สุดท้ายนี้  ปัจจุบันนั้น เรากำลังเผชิญกับโรคระบาดที่กำลังคร่าฃีวิตผู้คนมากมาย ผมเชื่อว่า หมอนักบุญอย่าง จางจงจิ่ง นั้นจะต้องภูมิใจในบุคคลกรทางการแพทย์ทุกคนที่ร่วมกันสู้กับโรคระบาดเหมือนกับที่จางจงจิ่ง นั้นเผชิญหน้ากับโรคระบาดเมื่อ 1900 ปีก่อน เช่น

วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

หมอฮัวโต๋ หมอเทวดาแห่งยุคสามก๊ก

หมอเทวดา ฮัวโต๋ (ฮว่าถัว) แห่งยุคสามก๊ก ( 华陀)  (145-208)

เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่อง สามก๊ก ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ มีอาชีพเป็นนายแพทย์ในยุคปลายราชวงศ์ฮั่น หมอฮว่าถัวเป็นผู้ที่มีฝีมือทางการแพทย์อันยอดเยี่ยมโดยเฉพาะการใช้ยาสลบเพื่อผ่าตัด

ฮว่าถัว เป็นคนรูปงาม ผมยาว นิสัยสุภาพเรียบร้อย มีน้ำใจเมตตากรุณา ตำนานอธิบายลักษณะของเขาว่า  เขามีลักษณะ ไม่แก่ไม่เฒ่า และมีผิวพรรณเหมือนเด็ก แต่มีเคราสีเหมือนหิมะ  และเกิดในตระกูลนักปราชญ์

หมอฮัวโต๋เคยถูกเสนอให้รับราชการ แต่หมอฮัวโต่กลับปฎิเสธไป เขาถือเป็นหมอที่จรรยาบรรณสูงมาก เขารักษาคนโดยไม่หวังตอบแทน และไม่แบ่งชนชั้นวรรณะ คนไข้ของเขามีตั้งแต่ชาวบ้านไปจนถึงคนใหญ่คนโต เป็นที่เลื่องลือไปทั่วแผ่นดินจีน

ประวัติการรักษาเดิม
การรักษาโรคยุคนั้นยังอาศัยวิชาไสยศาสตร์ เช่น การเซ่นไหว้ และ การสั่นติ้ว (การสั่นติ้วคือ การเขย่าไม้ติ้ว ไม้ติ้วก็คือไม้เซียมซีที่เราเรียกในปัจจุบัน)  แล้วถ้าถามว่าเขย่าติ้วเพื่ออะไร ก็เพื่อเสี่ยงทายว่าต้องใช้ยาอะไร ในการรักษา แล้วถ้าติ้วตกลงมาเป็นยาอะไรก็กินยานั้นเข้าไป แล้วก็จะหาย ด้วยเหตุนี้ การรักษาต้องอาศัยดวง

หมอฮว่าถัวนั้นเป้นหมอคนแรกในประวัติศาสตร์จีนที่ไม่ได้อาศัยการรักษาแบบนั้น แต่เป็นแนววิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่  โดยเขาได้ชื่อว่า เป็นบิดาแห่งศัลยแพทย์ (หมอผ่าตัด) ในบันทึกชาวฮํ่นโบราณนั้น  ระบุว่า เขาเป็นบุคคลแรกในประเทศจีนที่ใช้ยาสลบในการผ่าตัด โดยระบุว่า เขาใช้ยาสลบ ชื่อ หมาเฟ่ส่าน(麻沸散) เป็นยาสมุนไพร ผสมกับ ผงกัญชาต้ม (หมาแปลว่ากัญชา เฟ่สาน แปลว่าวิสัญญี หรือยาสลบ)  โดย บันทึกกระบุว่า หมอฮว่าถัว ใช้ยาสลบนี้เพื่อใช้ผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบ มาแล้ว ก่อนที่จะทายารักษาอักเสบที่ลำไส้แล้วเย็บแผลเข้าที่เดิม

เขาสามารถพัฒนาการฝังเข็ม (五禽戲) ด้วย การศึกษาการเคลื่อนไหว และ กล้ามเนื้อ จากสัตว์ 5 ชนิด คือ เสือ กวาง หมี ลิง และคน ที่แข็งแรง

เขายังเชี่ยวชาญ การวินิจฉัยลักษณะการแท้งบุตร ได้อย่างแม่นยำ ด้วยการตรวจดู ชีพจรของแม่เด็ก และบอกได้ว่า ทารกในท้องเสียชีวิตหรือยัง รวมถึงทายเพศจากตำแหน่งของทารกในครรถ์อีกด้วย

รวมถึง เขายังเป็นผู้ค้นพบ พยาธิ (ปรสิต) ในร่างกายมนุษย์  ในบันทึกชาวฮั่นโบราณ ระบุว่า คนป่วยที่ชอบกินเนื้อสัตว์ดิบ หมอฮั่วโต๋ มักจะระบุว่า มี "งู หัวแดง คอยเลื้อยบิดตัวไปมาในร่างกายมนุษย์ ที่เป็นสาเหตุของอาการป่วย และแผลภายในร่างกาย"

ชื่อเสียง
รักษาทหาร 2 นาย 

ช่วงที่เขาเป็นเด็กฝึกหัดแพทย์ เขาก็ฉายแวว ดดยครั้งหนึ่ง มีทหาร 2 นาย ทั้งคู่ต่างปวดหัวและมีไข้ แต่ใบสั่งยาของเขา กลับระบุต่างกัน คนหนึ่ง ให้เพียงยาขับเหงื่อ ขณะที่อีกคน ใบสั่งยาระบุว่า เป็นยาระบาย ทั้งคู่ค่อนข้างแปลกใจ แต่เมื่อทานยาตามใบสั่งยา ทั้งคู่ก็หาย

โดยคนที่เขาให้ใบสั่งยาระบายนั้น เขาระบุว่า เป็นโรคเรื้อรัง เนื่องจากการทำงานหนัก แม้จะรักษาด้วยยาระบายแล้ว ก็ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ่ขณะที่อีกคนนั้น ปวดหัวและเป็นไข้เกิดจากอุณหภูมิในร่างกายที่สูงขึ้น เกิดจาก ชี่ ที่ถูกกระจายไปทั่วตัว ก็เพียงให้ยาขับเหงื่อออกเพื่อระบายความร้อนออกมา จากร่างกายเพื่อรักษาให้ ชี่ นิ่งเท่านั้น

เทพสมุนไพร
ในช่วงมีโรคระบาด หมอฮั่วโต๋ ใช้เวลา 3 ปี ทำการทดลองซ้ำๆ เกี่ยวกับใบอ่อนของสมุนไพรชนิดหนึ่ง ในที่สุดเขาก็สามารถรักษาโรคระบาดนี้ได้สำเร็จ จนเกิดเป็นเพลงพื้นเมือง ยกย่องเขา เขายังค้นคว้าสมุนไพรต้ม เพื่อใช้รักษาอาการปวดจากแมลงต่างๆ ไม่ว่าจะผึ้ง และแมงป่อง ใช้กระเทียมใช้รักษาอาหารทะเลเป็นพิษ (ไม่แน่ใจ) และยาชูกำลังอื่นๆ อีกด้วย

ในสามก๊ก
รักษาจิวท่าย
ในสมัยที่ซุนเซ็กครองแคว้นกังตั๋ง จิวท่าย ทหารเอกของซุนเซ็ก ช่วย ซุนกวน ฝ่าวงล้อมของกลุ่มโจรป่า   จิวท่ายแม้จะสามารถพาซุนกวนฝ่าวงล้อมออกมาได้  แต่จิวท่ายโดนอาวุธโจรนับสิบแผล งีห้วนจึงแนะนำ หมอฮัวโต๋ ให้มารักษา จิวท่าย ซุนเซ็กจึงได้เชิญตัวหมอฮั่วโต๋ มารักษา ใช้เวลาแค่ 3 เดือน บาดแผลก็หายสนิท

รักษากวนอู
ครั้งหนึ่งกวนอูได้ยกทัพมาตีเมืองอ้วนเซียที่มี โจหยิน ทหารเอกโจโฉรักษาไว้อยู่ กวนอูถูกลูกเกาทัณฑ์อาบยาพิษของข้าศึกที่ไหล่ขวาจึงต้องถอนทัพกลับค่าย กวนเป๋งต้องรีบไปตามตัว หมอฮัวโต๋ มาช่วยรักษา โดยการผ่าเนื้อที่ไหล่ออก แล้วเอายาใส่ในบาดแผล แล้วถึง เย็บแผลให้เป็นเหมือนเดิม พร้อมทั้งกำชับให้ กวนอู ระงับความโกรธจนครบ 100 วัน กวนอูเชื่อฟังและปฎิบัติตามอาการจึงหายสนิท  การที่ กวนอู สามารถระงับความโกรธและความเจ็บได้โดยไม่แสดงอาการเจ็บปวดให้เห็น กวนอูได้สรรเสริญว่าฮัวโต๋เป็นหมอเทวดา ฝ่ายฮัวโต๋ได้ชื่นชมกวนอูว่า เป็นคนไข้ที่อดทนต่อความเจ็บปวดได้ดี

รักษาโจโฉ
ในเรื่องในนิยายสามก๊ก คือ  เมื่อโจโฉป่วย อาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง  โจโฉจึงให้ไปตามหมอฮัวโต๋มารักษา

หมอฮัวโต๋ตรวจอาการแล้วบอกว่า โจโฉเป็นลมเสียดแทงในศีรษะ ต้องใช้ขวานคมๆ ผ่าศีรษะชำระโรคออกให้หมดจึง จะหาย โจโฉจึงโกรธหาว่าหมอฮัวโต๋ คบคิดกับกวนอูมาฆ่าตน และ สั่งให้จับตัวไปขังในคุก ในระหว่างที่หมอฮัวโต๋อยู่ในคุกนั้นหมอฮัวโต๋ได้มอบตำราที่แต่งขึ้นเอง ให้กับ ผู้คุม แต่ผู้คุม ไม่รับ อ้างว่าภัยจะมาถึงตน หมอฮัวโต๋จึงเผาตำราของตนจนหมด และเสียชีวิตในคุกในที่สุด นับว่าน่าเสียดายมาก ที่ตำราที่สำคัญของจีนหายไปต่อหน้าต่อตา

เรื่องจริงคือ  
 หลังจากหมอฮัวโต๋ตรวจดูอาการของโรคแล้ว หมอฮัวโต๋ แจ้งว่า เขาไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เพราะเป็นโรคเรื้อรังเรื้อรัง ต้องตัดที่รากของปัญหา

ทุกครั้งที่โจโฉมีอาการปวดหัวอย่างหนัก  เมื่อหมอฮัวโต๋ลงมือรักษา (เชื่อว่าเป็นการ ฝังเข็ม เพราะไม่มีระบุในบันทึกว่า รักษาด้วยวิธีใด) ก็สามารถบรรเทาความทุกข์ทรมานของโจโฉได้อย่างมีประสิทธิผล แต่ด้วยความเป็นหมอชั้นเยี่ยม หมอฮัวโต๋ไม่อยากอยู่กับ โจโฉ ตลอดไป จึงขอลากลับไปเยี่ยมบ้าน แล้วอ้างว่าภรรยาป่วย และปฏิเสธไม่ยอมกลับมาหาโจโฉอีกเลย  เพราะเขาเลือกที่จะรักษาเหล่าผู้ป่วยจำนวนมากที่ต้องการมารักษากับเขามากกว่า

ในที่สุดโจโฉ ปวดหัวมาก จนทนไม่ไหว ส่งหนังสือไปถึงหมอฮั่วโต๋ ถึง 5 ครั้ง แต่ไม่ได้รับการตอบกลับจากหมอฮํ่วโต๋ โจโฉจึงส่งคนไปสืบดู อาการของภรรยาฮัวโต๋ พบว่าฮัวโต๋สร้างเรื่องเท็จ จึงสั่งจำคุกเขา และต่อมา โจโฉ จึงสั่งลงโทษเขาถึงตาย  และถัดมาไม่นาน โจโฉก็ปวดหัว และสติหลอน โดยสิ้นใจในวัย 66  ปี (ทำให้บางคนระบุว่า โจโฉ อาจเป็นมะเร็งในสมองก็เป็นได้ ซึ่งหมอฮั่วโต๋นั้น อาจรู้อยู่แล้วว่า อาการนี้รักษาไม่หายแน่นอนก็เป็นได้)

แต่งตำรา
อย่างไรก็ดี ระหว่างอยู่ในคุก ฮัวโต๋ได้แต่งตำราแพทย์ไว้เล่มหนึ่ง ชื่อว่า ชิงหนั่ง เผื่อว่า เมื่อตนสิ้นบุญ จะได้มีผู้สืบทอดวิชาการแพทย์ ครั้งนั้นมีผู้คุมชื่อ หงออาย ได้ส่งข้าวปลาอาหารให้ฮัวโต๋มิได้ขาด ฮัวโต๋รู้บุญคุณของหงออาย  ฮัวโต๋จึงได้สอนวิชาแพทย์ให้หงออายในคุก แล้วมอบตำรานั้นให้หงออาย ต่อมา ฮัวโต๋เสียชีวิตในคุก ภรรยาของหงออายเห็นว่าตำราแพทย์นั้นไร้ค่า จึงเผาตำราทิ้งเสีย หงออายกลับบ้านมาเห็นเข้า ฉวยมาได้สองสามแผ่น แต่กลับเป็นส่วนของ การตอนเป็ด และตอนไก่ ตำราที่เหลือสูญไปสิ้น หงออายโกรธจึงด่าภรรยาว่า "เหตุใดเจ้าจึงเอาตำราเราไปเผาไฟเสีย" ภรรยาหงออายว่า "ฮัวโต๋ครูของท่านที่นับว่าดีนักก็ตายในคุก ท่านจะเอาตำราไว้ต้องการอะไร" หงออายจึงได้แต่นั่งถอนหายใจแล้วคิดว่า "ตำราเอกฝ่ายแพทย์อย่างนี้ แต่นี้ไปเบื้องหน้าหามีไม่แล้ว"

แต่บางตำนาน กล่าวว่า หมอฮัวโต๋ นั้น ได้มอบให้กับผู้คุม เพื่อฝากต่อให้ภรรยา แต่ภรรยาเขาเลือกที่จะเผาตำราทิ้ง เพราะภรรยาของเขาไม่ต้องการมีส่วนร่วมในความผิด  ทำให้ตำราการแพทย์นั้นสาบสูญไปตลอดกาล

อย่างไรก็ดี หลังการประหารหมอฮัวโต๋ โจโฉ ก็ยังปวดหัวต่อไป แต่เขาก็สบถไว้ว่า "หมอฮัวโต๋สามารถรักษาข้าได้ แต่เลือกที่จะรักษาชาวบ้าน เขาไม่ได้ให้ความสำคัญกับข้าเลยแม้แต่น้อย ถึงแม้ข้าไม่ฆ่าฮัวโต๋ เขาก็ไม่รักษาข้าอยู่ดี" นั่นหมายความว่า ไม่ว่า ฮัวโต๋จะอยู่หรือตาย  เขาก็ไม่รักษาโจโฉอยู่ดี

หลังจากนั้นไม่นานลูกชายคนโปรดของโจโฉล้มป่วยและเสียชีวิตลง  โจโฉเสียใจและกล่าวว่า  "ข้าเสียใจที่สั่งประหารฮัวโต๋ นั่นทำให้ลูกชายของข้าต้องตาย!"

ในวันเวลาการประหารนั้น ในประวัติศาสตร์ไม่ได้บันทึกไว้ แต่บันทึกระบุเพียงว่า ปี ค.ศ. 208 นั้น ไม่มีหมอฮัวโต๋อีกต่อไปแล้ว 

ในปัจจุบัน หมอที่มีทักษะสูงในประเทศจีน  มักถูกนำไปเปรียบเทียบกับชื่อของหมอฮั่วโต๋า โดยชื่อของเขาเป็นศัพท์แสลงที่มักหมายถึง หมอเทวดา อีกด้วย

ลูกศิษย์
แต่อย่างไรก็หมอฮัวโต๋มีลูกศิษย์อยู่ 2 คน คนแรกนั้นชื่อ โงโพ้ คนที่สองนั้นชื่อ ฮ่วมอา ทั้ง 2 คนนี้ก็มีชื่อเสียงด้วยกันทั้งสองคน หมอโงโพ้คนนี้ได้รับวิชาผ่าตัดจากหมอฮัวโต๋โดยตรง ส่วนอีกคนคือ  หมอฮ่วมอา นั้นได้รับวิธีการฝังเข็มจากหมอฮัวโต๋โดยตรง

อย่างไรก็ดี ในบันทึกประวัติศาสตร์ ระบุว่า แม้ว่าลูกศิษย์ทั้ง 2 ของเขาจะได้รับความรู้จนสามารถสร้างชื่อเสียงได้ แต่พวกเขาก็ได้รับความรู้เพียงบางส่วนเท่านั้น  ทำให้ความรู้บางส่วนของหมอฮั่วโต๋นั้น สูญหายไปตลอดกาล โดยบันทึกทางการแพทย์ของหมอฮั่วโต๋ และ บันทึกชาวฮั่น ระบุว่า ส่วนที่หายน่าจะเป็นส่วนของการฝังเข็ม

การดูแลสุขภาพ 
หมอฮั่วโต๋ นอกจากเป็นหมอรักษาโรคแล้ว เขายังสนับสนุนการดูแลสุขภาพในชีวิตประจำวัน  เช่น ครั้งหนึ่งเขากล่าวกับลูกศิษย์ ว่า "ร่างกายต้องการทำงาน เพื่อให้ระบบหมุนเวียนโลหิต " โดยออกแบบท่าออกกำลังกายที่เลียนแบบ นก หมี กวาง เสือ สำหรับผู้สูงอายุ และผู้ทุกพพลภาพ เพื่อป้องกันและรักษาโรค เมื่อคุณรู้สึกไม่สบาย เพียงออกมาออกกำลังกายตามท่าที่เขาออกแบบ ให้เหงื่อออกจนชุ่มเสื้อ  นักเรียนของเขาออกกำลังกายตามเขามีอายุถึง 90 ปี  โดยมี ตาและหูที่ยังดี ขณะที่ฟันก็ยังเต็มปากก็ยังแข็งแรงอีกด้วย

ท่าง่ายๆ คือ การขยับขาหน้าของเสือ การกระโดดเหมือนลิง การเหลียวหลังเหมือนกวาง  กระพือปีกเหมือนนก การออกกำลังกายนี้เพื่อให้ร่างกายเบา และกระหายอาหาร


----------------------
จางจ้งจิ่ง(张仲景)                         ฮว่าถัว(华佗)
         
                 
   

ฮว่าถัว(ประมาณปีค.ศ.141-208) เป็นคนอำเภอโป๋โจว(亳州) มณฑลอันฮุย(安徽) ปลายสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก เชี่ยวชาญในด้านอายุรกรรม(内科) ด้านศัลยกรรม(外科) ด้านนารีเวช(妇科)และด้านกุมารเวช(小儿科) เทคนิคด้านศัลยกรรมของเขามีความเลิศล้ำเป็นอย่างยิ่ง ฮว่าถัวได้คิดค้นทำยาชา(麻醉药)ขึ้นมาชนิดหนึ่ง ชื่อว่า หมาเฟ่ส่าน(麻沸散) เขาเคยให้ผู้ป่ายที่เป็นไส้ติ่งอักเสบ(阑尾炎)คนหนึ่งใช้ยาชาตัวนี้ หลังจากผู้ป่วยคนนั้นชาทั้งร่างกายแล้ว จึงเริ่มการผ่าตัด(动手术) แล้ว ทายาระงับอาการอักเสบที่แผลซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้าย หนึ่งเดือนผ่านไปผู้ป่วยได้ฟื้นตัวแข็งแรงสมบูรณ์เป็นอย่างดี ฮว่าถัว เป็นนายแพทย์คนแรกของโลกที่ใช้เทคนิคยาชาที่ทำให้ผู้ป่ายชาทั้งร่างกาย
                   
                                         การฝังเข็ม(针灸)
             นอกจากนี้ ฮว่าถัวยังมีความชำนาญในการฝังเข็ม(针灸)และรมยา ในขณะนั้นเฉาเชา(โจโฉ(曹操)) ซึ่งเป็นเสนาบดีของราชวงศ์ฮั่นได้มีอาการปวดหัวจากเส้นประสาท(神经性头疼) จึงส่งคนไปเชิญฮว่าถัวมารักษาตน ฮว่าถัวได้ใช้การฝังเข็มในการรักษา พอเขาฝั่งเข็มลงไปหนึ่งเล่ม อาการปวดหัวของเฉาเชาหายเป็นปลิดทิ้ง
     
                                     ฮว่าถัวรักษาอาการของเฉาเชา
(ภาย หลัง ฮว่าถัวถูกเฉาเชาสั่งฆ่าเพราะความระแวง เนื่องจากเฉาเชาปวดหัวไม่หาย ฮว่าถัวเสนอว่า ให้ผ่าสมอง เฉาเชาเลยระแวงว่าฮว่าถัวจะคิดไม่ดีกับตนจึงสั่งฆ่าเขาเสีย) 
     
                       กายบริหารเบญจสัตว์(五禽戏) 
          ฮว่า ถัวไม่เพียงแต่ให้ความสำคัญแก่การรักษาโรค ยังให้ความสำคัญแก่การป้องกันโรคภัยไข้เจ็บล่วงหน้า เขาได้เลียนแบบพฤติกรรมของเสือ กวาง หมี ลิงและไก่ นำมาคิดเป็นกายบริหาร ชุดหนึ่ง เรียกว่า กายบริหารเบญจสัตว์(五禽戏) เพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงยิ่งขึ้น






วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

!เหตุการณ์ประตูเสฺวียนอู่ กับตำนานเทพผู้พิทักษ์ประตู

เหตุการณ์ประตูเสฺวียนอู่ (玄武門之變 626) เป็นเหตุการณ์ที่สำคัญครั้งหนึ่ง ใน ประวัติศาสตร์จีน และเป็นการชิงราชบังลักก์ที่โด่งดังที่สุดในประวัติศาสตร์จีน

เหตุการณ์นี้ เกิดก่อนพระถังซัมจั๋งออกเดินทางไปอินเดีย 3 ปี แต่เกิดหลังจากที่ พระตั๊กม้อเดินทางมาจีน 100 ปีพอดี

โดยเกิดขึ้นในช่วงต้น ราชวงศ์ถัง เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 626 ตรงกับช่วงปลายรัชสมัย ฮ่องเต้ถังเกาจู่ เมื่อองค์ชายรองหลี่ ชื่อหมิน (李世民) พร้อมผู้ติดตามได้สังหารองค์ชายรัชทายาท หลี่ เจี้ยนเฉิง (李建成) และองค์ชายสี่ หลี่ ยฺเหวียนจี๋ (李元吉) ที่ประตูเสฺวียนอู่ซึ่งเป็นประตูทางด้านเหนือของพระราชวังหลวงแห่งฉางอัน

ทำให้ในอีก 3 วันต่อมาคือวันที่ 5 กรกฎาคม องค์ชายหลี่ ชื่อหมิน ได้รับการสถาปนาเป็นรัชทายาท หรือ ไท่จื่อ (太子) ก่อนที่จักรพรรดิเกาจู่จะสละราชบัลลังก์ในอีก 6 วันต่อมาคือวันที่ 11 กรกฎาคม องค์ชายหลี่ ชื่อหมิน จึงได้ขึ้นสืบราชบัลลังก์เป็น ฮ่องเต้ถังไท่จง ส่วนอดีตจักรพรรดิเกาจู่ได้รับพระอิสริยยศเป็น ไท่ช่างหฺวัง

ปูมหลัง
ฮ่องเต้ถังเกาจู่ หรือ หลี่ เยวียน ปฐมกษัตริย์ แห่งราชวงศ์ถัง เดิมเป็นแค่เจ้าครองเมืองในราชวงศ์สุย

เมื่อเกิดการกบฎ หลี่เหยียน รีบเข้าตีเมืองฉางอาน เมืองหลวงของราชวงศ์สุย (โดยได้รับเงินสนับสนุนจากพ่อค้าไม้ ที่เป็นพ่อของบู๊เช็กเทียน) และถือเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของอาณาจักร เพื่อให้ตนได้ชื่อว่าครอบครอง และทำให้สามารถปราบขุนศึกต่างๆ ลงได้ สถาปนาตัวเองขึ้นเป็นฮ่องเต้ แต่ ตอนนั้นเขาอายุ 52 ปีแล้ว

หลี่ เจี้ยนเฉิง 李建成) ลูกชายคนโตเกิดกับพระมเหสีเอก ตาหลักขงจื้อเขาคือรัชทายาทโดยชอบธรรม แต่ช่วงสงครามกลางเมือง เขากลับคุมอยู่ชายแดนทำให้อำนาจบารมีไม่เทียบเท่ากับน้อง

หลี่ ซื่อหมิน (李世民).ศ.599-649)ลูกชายคนรอง เกิดกับพระมเหสีเอกเช่นกัน เป็นคนมีสติปัญญาทั้งงบู๊และบุ๋น แถมเป็นแม่ทัพหลักของพ่อในการปราบศัตรูทั้งหมด เหล่าขุนนางอยากให้เขาเป็นรัชทายาท เขาได้รับตำแหน่งเป็นถึงฉินหวาง ดูแลกิจการพเรือนและทหารทั้งหมด

หลี่ หยวนจี๋ 李元吉 ลูกชายคนเล็ก ไม่มีสติปัญญา แต่นักประวัติศาสตร์เชื่อว่า เขามีวรยุทธ์สูงส่ง  บารมี เขาจึงเลือกสนับสนุนพี่ชายคนโต คือ หลี่เจี้ยนเฉิงง

ถังเกาจู่ นั้นเลือกที่สถาปนา ลูกชายคนโต เป็นรัชทายาท ขณะที่ หลี่เจี้ยนเฉิง ก็รู้สึกว่า หลี่ซ์่อหมิน นั้นกำลังสะสมบารมี ทำให้เกิดความตึงเครียดระหว่างพี่น้อง

จุดเริ่มต้น
หลี่ซื่อหมิน มักออกราชการทำให้เขาไม่ค่อยได้อยู่ที่เมืองฉางอาน ที่เป็นเมืองหลวง แต่เขาก็ยังให้ขุนนาง ขันที ที่สนิท คอยเป่าหู ฮ่องเต้ถังเกาจู่ ให้สนับสนุนตนอย่างสม่ำเสมอ

ปี ค.ศ. 626 หลี่ซื่อหมิน มั่นใจว่าพี่ชายและน้องชาย กำลังวางแผนกำจัดตนแน่นอน ทำให้เขาต้องระมัดระวังตัวมากขึ้น

ครั้งหนึ่ง พี่ชายได้เชิญเขาไปทานอาหารที่บ้าน เมื่อกลับเขาปวดท้องอย่างรุนแรง แต่โชคดีที่เขาไม่เป็นอะไรมาก

ต่อมา ฮ่องเต้ถังเกาจู่ เห็นว่า พี่น้องกำลังขัดแย้งกัน จึงอยากให้ หลี่ ซื่อหมิน ไปครองเมืองลั่วหยาง แทน แต่พี่ชายกับน้องชาย กลับคัดค้านเพราะเชื่อว่า หากหลี่ซื่อหมินไปครองเมือง ลั่วหยาง จะเป็นการปล่อยเสือเข้าป่า ขณะที่ เว่ยจิง คนสนิทของหลี่ จื้อเฉิง (คนพี่) ก็กังวลเรื่องนี้มาก

ต่อมา พวกทูเจี๋ย รุกเข้าทางเหนือ ฮ่องเต้ ถังเกาจู่ สั่งให้ หลี่หยวนจี๋ คุมกำลังไปปราบตามคำแนะนำของหลี่ เจี้ยนเฉิง ครั้งนี้เองที่ หลี่ื ซื่อหมิน ถุกบีบให้ต้องขยับตัว เพราะกองกำลังที่กำลังจะไปต่อสู้นั้น เป็น กองกำลังหลักของเขา ขณะที่คนสนิทของเขา คือ จางซุนหวู่จี้ ยืนกรานว่า ต้องลงมือกำจัด หลี่เจี้ยนเฉิง และหลี่หยวนจี๋ให้เร็วที่สุด เพราะตอนนี้ ทหารในเมืองหลวงของเขามีแค่ 800 คน ขณะที่ของหลี่เจี้ยนเฉิง พี่ชายนั้นมีถึง 5,000 คน สถานการณ์ตอนนี้ ค่อนข้างคับขันสำหรับ หลี่ ซื่อหมิน มาก

การสังหารที่ประตูหสียนหวู่
วันที่ 1 กรกฎาคม 626 หลี่ซื่อหมินยื่นฎีกาว่า หลี่เจี้ยนนเฉิง กับหลี่หยวนจี๋ คบชู้กับนางใน ถังเกาจู่ สั่งให้หลี่ซื่อหมินมาเข้าเฝ้าในวันรุ่งขึ้น พระสนมนางหนึ่งนำข่าวไปบอกกับหลี่เจืี้ยนเฉิง กับหลี่หยวนจี๋  โดยหลี่หยวนจี๋ เสนอให้แกล้งป่วย แล้วนิ่งเฉยไปก่อน ขณะที่พี่ชาย คือ หลี่เจียยนเฉิงกลับปฎิเสธ และเลือกที่จะเข้าเฝ้าเพื่อแก้ข้อกล่าวหา

เช้าวันที่ 2 กรกฎาคม 626 หลี่่เจี้ยนเฉิง กับ หลี่หยวนจี๋ ต่างขี่ม้ามุ่งมาที่ประตู่เสวียนอู่ ที่เป็นประตูเข้าสู่พระราชวังหลวง ส่วนหลี่ซื่อหมินนั้น ได้ส่งทหารไปดักรอที่ประตูเสวียนอู่ อยู่แล้ว

ขณะที่ทั้งพี่ชาย และน้องชาย เห็นทหารมากผิดปกติ จึงรีบควบม้าหนีทันที แต่หลี่ซื่อหมินนั้นไม่ปล่อยโอกาส ยิงธนูไปที่หลี่เจี้ยนเฉิง พี่ชาย เสียชีวิตทันที   ส่วนหลี่หยวนจี๋ น้องชาย โดนยี่ว์ชื่อจิงเต๋อ (尉迟敬德) ยิงธนู ครั้งแรก แค่ตกม้าเท่านั้น และวิ่งหนีต่อ  แต่ ยี่ว์ฉือจิงเต๋อ วิ่งไล่ตามแล้วยิงด้วยธนูอีกดอกทำให้น้องชายเสียชีวิตทันที

ทหารของพี่ชายและน้องชาย ต่างไม่ยอมที่หัวหน้าของตนโดนทำร้าย ทำให้เกิดศึกย่อยๆที่ประตูเสวียนอู่ แต่เมื่อ ยีว์ชื่อจิงเต๋อ นำหัวของทั้งคู่มาแสดง ก็ทำให้ทหารของฝ่ายหลี่เจี้ยนเฉิง กับหลี่หยวนจี๋ แตกกระจัดกระจาย

สังหารต่อ
ฮ่องเต้ถังเกาจู่ ทราบข่าว ก็เรียกเหล่าขุนนางเข้าประชุม เหล่าขุนนางเห็นว่า ทั้งคู่คบชู้เป็นเรื่องที่สมควรอยู่แล้ว บวกกับ คิดก่อการกบฎด้วย ทำให้ ฮ่องเต้ถังเกาจู่ ตัดสินใจยกตำแหน่งรัชทายาท(ไทจ์้อ) ให้ หลี่ซื่อ หมิน  หลี่ซื่อหมินเมื่อได้รับยศก็สั่งถอดยศ หลี่เจี้ยนเฉิง และ หลี่หยวนจี๋ นอกจากนี้ยังสั่งสังหาร บุตรชายของทั้งสอง (หลาน) รวม 10 คน อีกด้วย

2 เดือนหลังจากนั้น ฮ่องเต้ถังเกาจง สละราชสมบัติ ให้ หลี่ซื่อหมิน จึงขึ้นเป็นฮ่องเต้ และเปลี่ยนชื่อเป็น ฮ่องเต้ ถังไท่จง

ในยุคสมัยของถังไท่จงนั้นประเทศ เจริญขึ้นในทุกด้าน นอกจากนี้เขายังเป็นคนสนับสนุน พระถังซำจั๋งเดินทางไปอินเดียอีกด้วย

ตำนาน เทพผู้คุ้มครองประตู
ขณะที่ ลูกน้องของฮ่องเต้ถังไท่จง คือ ฉินฉง กับ เว่ยฉือจิ้งเต๋อ ที่กลายเป็น 'เทพผู้คุ้มครองประตู (门神)' สำหรับชาวจีนไปในที่สุด

ในประเทศจีน มีคติของการทำรูปเทพผู้คุ้งคองประตูเกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ถัง ในรัชสมัยของฮ่องเต้ถังไทจง ตามที่มีตำนานกล่าวว่า ฮ่องเต้ถังไทจง ทรงเป็นกษัตริย์ที่สามารถรวบรวมเมืองน้อยใหญ่เข้ามาอยู่ใต้อำนาจได้ ทำสงครามมีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก

วันหนึ่ง ฮ่องเต้ถังไทจง ประชวรอยู่ในห้องบรรทม พอตกกลางคืนก็ได้ยินเสียงภูตผีปีศาจที่ถูกฆ่าตายในสงคราม รวมถึง พี่ชายและน้องชาย  มาทวงเอาชีวิต ฮ่องเต้ถังไทจงจึงเรียกบรรดาขุนนางชั้นผู้ใหญ่มาเข้าเฝ้า พร้อมทั้งเล่าเรื่องปีศาจที่มารังควานให้ฟัง

มีทหารเอกสองคน ของพระองค์ ชื่อ ฉินฉง กับ เว่ยฉือจิ้งเต๋อ รับอาสาจะมาเฝ้าอารักขา ประตู ทั้งสองฟากของประตูหน้าห้องบรรทม

ผลปรากฏว่า ปีศาจไม่กล้ามารบกวนอีกเลย ทั้งสองคนเฝ้าอยู่หลายวัน จนฮ่องเต้ถังไทจงเห็นว่า จะเป็นการลำบาก ที่จะให้ทหารเอกของพระองค์มาทนตรากตรำอยู่ทุกคืน จึงรับสั่งให้ช่างเขียนภาพ มาวาดภาพทหารทั้งสองในเครื่องแบบนักรบพร้อมอาวุธไว้ที่บานประตูข้างละบาน จึงเรียกว่า "มึ้งซิน" หรือ "ทวารบาล" ตั้งแต่นั้นมา ปีศาจก็ไม่มารบกวนอีก

เทพทวารบาลจากจีน บางคนจะเรียกว่า “เซี่ยวกาง” ซึ่งเป็นคำพ้องเสียงใน ภาษาจีนว่า “เซ่า กัง” แปลว่า “การยืน เฝ้ายาม” ในขณะที่ ชาวจีน บางส่วนจะนิยมเรียกว่า “หมึ่งซิ้ง” ที่แปลว่า “เทพประตู” เป็นการให้ให้เกียรติและยกย่องในฐานะเทพผู้ช่วยคุ้มครองป้องกันภัย

ฉินฉง และเว่ยฉืเจิ้งเต่อ
ฉินฉง หรือ เฉินซู่เป่า(秦叔宝) นั้นเดิมเป็นขุนพลของฝ่ายตรงข้าม คือ หวังซ์่อชง หัวหน้ากบฎอีกก๊กหนึ่ง โดยฉินกงนั้น มีฝึมือในการรบอย่างมาก ถึงกับเคยชนะ หลี่ซื่อหมิน ทำให้หลี่ซื่อหมินนั้น นับถือ ฉินกง แต่ต่อมาก๊กของ หวังซื่อชง แตก ทำให้ หลี่ซื่อหมิน ชักชวนเขาเข้ามาเป็นพวก กล่าวกันว่า แม้หลี่ซื่อหมินจะกลายเป็น ฮ่องเต้ แล้ว เขาก็ยังนับถือ ฉินกง เสมื่อนพี่น้องเลยทีเดียว

ส่วน เว่ยฉือเจิ้งเต่อ (尉迟敬德) นั้น เป็นขุนพลของหลี่ซื่อหมิน ตั้งแต่เริ่มต้น และเป็นผู้สังหารน้องชายของหลี่ซื่อหมิน

วิธีสังเกตว่า ประตูไหนใครเฝ้า คือ ฉินกง จะหน้าขาวเรียว อ่อนวัยกว่า และถือกระบี่ ส่วน  เว่ยฉือเจิ้งเต่อ ที่หน้าดำ อายุเยอะ และถือกระบองเหล็ก หรือ แส้ชวนเปียน (แปลว่า แส้เหล็ก) ว่ากันว่า เป็นอาวุธพระราชทาน ที่ไ้ดรับจากฮ่องเต้ถังไท่จง ให้สามารถลงโทษได้ทุกคน เล่ากันว่า ครั้งหนึ่ง ฮ่องเต้ถังเกาจง ลูกของ ถังไท่จง ขึ้นครองราชย์ แต่ ขุนพลผู้เก่งกล้าอย่าง ซิยิ่นกุ้ย ถูกใส่ร้ายป้ายสี ทำให้ ขุนพลเฒ่า อย่าง เว่ยฉือเจิ้งเต่อ ทนไม่ไหว ขอเข้าเฝ้าพร้อมพกแส้ชวนเปียน มาฟาดฮ่องเต้ จนแส้ชวนเปียนหักคามือ  จากนั้นท่านเอาศรีษะโขกเสาต่อ ฮ่องเต้ถังเกาจง จึงได้สติ ท่าน ซิยิ่นกุ้ยจึงรอดพ้นเคราะห์

ทำให้ชาวจีนชอบนำรูปเทพเจ้าประตูมาปิดหน้าประตู โดยเชื่อกันว่า เป็นกุศโลบายของชาวจีน  คอยเตือนสติผู้คน เมื่อยามก่อนก้าวเท้าออกจากบ้าน และ ก่อนกลับเข้าบ้านว่า “กลางวันไม่เคยทำอะไรผิด กลางคืนไม่ต้องกลัวผีสางมาเคาะประตู”

ถ้าชอบ อย่าลืมกดไลค์ กดแชร์ กด Subscribe ให้ด้วยนะครับ

วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ตัวจริง เปาบุ้นจิ้น “ยมราชเปาบุ้นจิ้น สินบนซื้อไม่ได้” คนดีจริงหรือไม่?

เปาเจิ่ง  หรือเปาบุ้นจิ้น คือ ข้าราชการที่โด่งดังที่สุดในประเทศจีน

เปา เจิ่ง (จีนกลาง) หรือ   เปาจิ้น (จีนฮกเกี้ยน) (包拯; 11 เมษายน ค.ศ. 999 — 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1062) แต่ชื่อในทาง วรรณกรรมจะเรียก เรียก เปา เหวิน เจิ่ง (จีนกลาง) หรือ เปาบุ้นจิ้น (จีนฮกเกี้ยน (包文拯) เป็นข้าราชการชาวจีนในรัชสมัยฮ่องเต้ ซ่งเหรินจง แห่งราชวงศ์ซ่ง

ปัจจุบัน เปา เจิ่ง ได้รับการสดุดีในจีนแผ่นดินใหญ่ให้เป็นสัญลักษณ์ของความยุติธรรม ของชาวจีน เรื่องราวชีวิตของเขาได้รับการดัดแปลงเป็นวรรณกรรมแนวสืบสวนสอบสวนและกำลังภายในมาแต่โบราณ โดยเฉพาะเรื่อง 7 ผู้กล้าผู้ผดุงคุณธรรม ซึ่งได้รับความนิยมมาตราบทุกวันนี้



โดยตำนานกระแสหลัก เปา เจิ่ง มักได้รับการพรรณนาว่า เขามักสวมชุดเป็นตุลาการ ใบหน้าดำคล้ำ มีรูปจันทร์เสี้ยวอยู่บนหน้าผาก เหล่าคนจีนถึงกับเชิดชูบูชา เขาราวกับเป็นเทพเจ้า เลยทีเดียว แต่ประวัติศาสตร์ระบุว่า ตัวจริงเขาหน้าขาว และรุปหล่อ อีกด้วย แถมคำวิพากย์ว่า เขาเป็นคนดีจริงหรือไม่?

ในประวัติศาสตร์
เปา เจิ่ง เกิดในครอบครัวบัณฑิตแห่งหลูโจว (廬州) ครอบครัวของเขาเป็นชนชั้นกลาง แม้บิดามารดาสามารถส่งเสียให้เขาเล่าเรียนได้ตลอดรอดฝั่ง  เนื่องจากเปา เจิ่ง เติบโตขึ้นในท่ามกลางสังคมชั้นล่างซึ่งเป็นพลเมืองหลักของประเทศ เขาจึงรับรู้และเข้าใจปัญหาของคนชั้นล่างเป็นอย่างดี

ค.ศ. 1028 เขาอายุถึง 29 ปี เปา เจิ่ง สามารถสอบขุนนางชั้นสูงสุดผ่านทำให้เขาได้เป็น ราชบัณฑิตชั้น จิ้นชื่อ (進士) และได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ว่าการเทศมณฑลจิ้นชาง (建昌县) แต่เขาขอผลัดผ่อนออกไปเป็นระยะเวลา 10 ปีก่อน เพื่อกลับบ้านเกิดไปดูแลบิดามารดาที่อายุมาก  (ทำให้บางตำนานออกมาแก้ว่า เขาลาออกจากราชการก่อนที่เขาจะกลับมารับราชการใหม่อีกรอบ  เพื่อป้องกันข้อครหาว่า เขารับเงินเดือน 10 ปี แต่ไม่ทำงาน)

เวลาที่เขาอาศัยที่บ้านเกิด เขาสนิทสนมกับ  หลิว ยฺวิน (刘赟) ผู้ว่าการหลูโจว (บางเล่มกล่าวว่าเป็นผู้พิพากษา) ซึ่งมีชื่อเสียงว่า เป็นทั้งกวีเอกและขุนนางใจซื่อมือสะอาด ทั้งสองคุยถูกคอกัน ทำให้ เปา เจิ่ง ได้รับอิทธิพลเรื่องการมีจิตใจกรุณาต่อราษฎรมาจากหลิว ยฺวิน และยึดมั่นในลัทธิขงจื้อ

ชีวิตราชการ
ผู้ว่าการเทียนฉาง
เมื่อบิดามารดาเสียชีวิตใน ค.ศ. 1038 และปลงศพตามประเพณีแล้ว เปา เจิ่ง วัย 39 ปี  กลับมารับใช้แผ่นดิน เริ่มแรกเขาได้เป็นผู้ว่าการนครเทียนฉาง (天长市) ซึ่งไม่ไกลจากหลูโจวบ้านเกิด

มีบันทึกว่า ครั้งนั้น ชาวนาผู้หนึ่งมาร้องทุกข์ว่า วัวของตนถูกลอบตัดลิ้น เปา เจิ่ง จึงสั่งให้เขากลับบ้านไปฆ่าวัวนั้นทิ้งเสีย แต่อย่าแพร่งพรายให้ผู้ใดทราบ ตามกฎหมายสมัยนั้น การฆ่าสัตว์เป็นสิ่งต้องห้าม เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากทางราชการ ชาวนาผู้นั้นเมื่อได้รับอนุญาตก็กลับไปฆ่าวัวตามคำสั่ง วันต่อมา ชายอีกผู้หนึ่งมาฟ้องว่า ชาวนาข้างบ้านลอบฆ่าวัว เปา เจิ่ง ตบโต๊ะตวาดว่า "เจ้าลักลอบตัดลิ้นวัวเขาแล้วยังมาฟ้องกล่าวหาเขาอีก" ชายผู้นั้นตกใจที่เปา เจิ่ง ล่วงรู้ความจริง ก็รับสารภาพว่า ตนผิดใจกับชาวนาคนนี้มาแต่เดิมแล้ว จึงกลั่นแกล้งตัดลิ้นวัวเขา เขาจะได้จำใจฆ่าวัวนั้นทิ้ง และจะได้มีความผิดฐานฆ่าปศุสัตว์

ผู้ว่าการตฺวันโจว
ใน ค.ศ. 1040 เปา เจิ่ง ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้ว่าการตฺวันโจว (端州) ทางใต้  ซึ่งเป็นแหล่งขึ้นชื่อด้านผลิตจานฝนหมึก เปา เจิ่ง ตรวจสอบพบว่า ผู้ว่าการคนก่อน ๆ มักขูดรีดจานฝนหมึกจำนวนมากจากราษฎร เมื่อทำราชการอยู่ที่นี่ เปา เจิ่ง จึงใช้จานฝนหมึกเพียงอันเดียว โดยกล่าวว่า คนเราใช้ที่จานฝนหมึกเพียงเท่านี้ก็เพียงพอ ครั้น ค.ศ. 1043 เขาต้องย้ายไปท้องที่อื่น ประชาชนรักใคร่ก็นำจานฝนหมึกมามอบให้เป็นของขวัญมากมาย เปา เจิ่ง ไม่รับไว้เลย และโยนจานฝนหมึกที่ใช้ประจำอยู่นั้นทิ้งลงสู่แม่น้ำกวางตุ้ง ไม่ยอมพกไปด้วยแม้แต่อันเดียว

ผู้ตรวจสอบ
ใน ค.ศ. 1044 เปา เจิ่ง ได้รับการเรียกเข้า เมืองหลวง คือ เมืองไคเฟิง (開封) เพื่อดำรงตำแหน่งผู้ตรวจกำกับ (監察御史) ภายใน 2 ปี เขาได้ถวายฎีกาต่อฮ่องเต้ ซ่งเหรินจง อย่างน้อย 13 ฉบับ โดยเป็นการกล่าวหา ทหาร เจ้าหน้าที่ภาษี ขุนนาง ขันทีและข้าราชการ

กล่าวหาผู้คน
ระหว่างที่เปา เจิ่ง ทำราชการอยู่ในราชสำนักไคเฟิงนั้น จักรพรรดิเหรินจง (仁宗) ประสงค์จะตั้งพระชายาจากสกุลจาง (张) ขึ้นเป็นมเหสี แต่พระพันปีหลิว (刘太后) พระราชมารดา คัดค้าน

กระนั้น จักรพรรดิก็ทรงอวยยศให้แก่ จาง เหยาจั่ว (張堯佐) ลุงของพระชายาจาง อย่างรวดเร็ว ไม่กี่ปีก็ได้เลื่อนจากขุนนางชั้นล่างขึ้นเป็นขุนนางผู้ใหญ่ ในกระทรวงการคลัง ในวันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1050 เปา เจิ่ง และผู้ตรวจกำกับอีกสองคน จึงร่วมกันถวายฎีกากล่าวโทษ จาง เหยาจั่ว แต่จักรพรรดิทรงเมินเฉย และสี่วันให้หลังยังประทานยศให้แก่ น้องสาวของพระชายา 

แต่ เปา เจิ่ง ไม่ลดละความพยายาม เขาถวายฎีกาอีกฉบับหนึ่งแต่เพียงผู้เดียว อธิบายว่า

ตั้งแต่ก่อตั้งราชวงศ์ซ่ง การแต่งตั้งรัฐมนตรีบริหารประเทศล้วนมีความสามารถ โดยเฉพาะ ชายผู้นี้ช่างเป็นอันตรายต่อภาวะการเงินของประเทศ  ข้ารู้สึกเจ็บปวด เจ็บปวดจริงๆ"

เปาเจิ้ง พรรณนาถึงความไม่เหมาะสมของ จาง เหยาจั่ว ในการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวการคลัง ฮ่องเต้ ซ่งเหรินจง จึงสั่งปลดจางเหยาจั่ว ออกจากตำแหน่ง รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง แต่แต่งตั้งให้ จางเหยาจั่ว รับตำแหน่ง  ผู้บัญชาการทหาร 4 ตำแหน่ง พร้อมกัน โดยหนึ่งในนั้นคือ ตำแหน่งผู้บัญชาการวังหลวง

เปา เจิ่ง จึงถวายฎีกาอีกฉบับ ลงวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 1050 ว่า ถ้าทรงขืนจะตั้งจาง เหยาจั่ว ให้ได้ ไม่รับฟังคำปรึกษาที่ถวายแล้ว ก็ขอให้ถอดที่ปรึกษาผู้นี้ออกจากตำแหน่งเสียเถิด ในการประชุมคราวถัดมาในท้องพระโรง เปา เจิ่ง และเสนาบดีอีกเจ็ดคน ยังเปิดประเด็นร้อนเกี่ยวกับความไม่เหมาะสมของจาง เหยาจั่ว ทำให้จักรพรรดิทรงยอมถอดจาง เหยาจั่ว ออกจากตำแหน่งในที่สุด

ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจกำกับ เปา เจิ่ง ได้สั่งลงโทษ ทั้งลดขั้นและไล่ออก แก่ขุนนางผู้ใหญ่ 30 คน ฐานทุจริต รับสินบน และ ละเลยต่อหน้าที่  เปา เจิ่ง ยังประสบความสำเร็จในการทูลคัดค้านเสมอ ผิดกับบุคคลอื่น ๆ ในประวัติศาสตร์ที่คนคัดค้านฮ่องเต้ส่วนใหญ่จะถูกลงโทษสถานหนัก เพราะ ทูลคัดค้านแม้ในเรื่องเล็กน้อย

ผู้ว่าการไคเฟิง
(ไคเฟิง หรือไคฟง อดีตเป็นเมืองหลวง ต่อมาถูกน้ำท่วมบ่อย ทำให้ลดระดับเป็นเพียงอำเภอ ในเมืองเจิ้งโจว ซึ่งเป็นเมืองหลวงของมณฑลเหอหนาน)

ใน ค.ศ. 1057 เปา เจิ่ง ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ว่าเมืองหลวง ไคเฟิง และผู้พิพากษา ซึ่งเวลานั้นเรียกว่า เปี้ยนเหลียง (汴梁) เขาดำรงตำแหน่งนี้แค่ปีเดียว  เปา เจิ่ง ได้ปฏิรูปการปกครองหลายประการ เพื่อให้ราษฎรสามารถเข้าถึงผู้ว่าการได้โดยตรง ทำให้เขาได้รับการยกย่องเชิดชูเป็นอันมาก

แต่ชีวิตการทำงานของเขาหลังพ้นจากตำแหน่งผู้ว่าการไคเฟิงแล้วกลับเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างยิ่ง เป็นต้นว่า เมื่อเขาปลด จาง ฟางผิง (張方平) ซึ่งควบ 3 ตำแหน่งสำคัญ  เขากลับไปรับการแต่งตั้งเข้าสู่ตำแหน่งเหล่านั้นแทน ทำให้ โอวหยาง ซิว (欧阳修) ประณามเขาอย่างรุนแรง

คนจีนในปัจจุบัน บางคนยัง วิจารณ์ว่า ยุคสมัยราชวงศ์ซ่งเหนือนั้น เงินเดือนของเขานั้นเข้าขั้นสูงมากพอที่จะปฎิเสธเงินสินบน ขณะเดียวกันน ประวัติของเขาก็มีแต่เรื่องที่ เปา เจิ่ง ร้องเรียน กล่าวหาผู้คนมากมายมาโดยตลอด บางครั้ง เขาร้องเรียนโดยไม่มีหลักฐานใดๆ มาสนับสนุนอีกด้วย โดยเชื่อกันว่า่ เขานั้นเป็นเพียงเครื่องมือเพื่อกำจัดคู่แข่งทางการเมือง กวียุคนั้นถึงกลับกล่าวหา เขาว่าเป็นเพียง "การเลี้ยงวัว เพื่อไล่ควาย" เท่านั้น  เปรียบกับนักการเมืองปัจจุบัน ก็จะพบว่า นักการเมืองบางคนจะคอยร้องเรียนเรื่องเล็กน้อย เพื่อใช้ กำจัดคู่แข่งทางการเมือง

อย่างไรก็ดี หลายคนแย้งว่า เพราะเมืองไคเฟิง เป็นเมืองหลวงทำให้มีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่หลายคนชอบเพิกเฉยต่อกฎหมาย ทำให้มีเรื่องร้องเรียนมากมาย และนั่นเองทำให้ เปาเจิ้งนั้น มีโอกาสที่จะกำจัดข้าราชการที่ปฎิบัติไม่ถูกกฎหมายจำนวนมาก ไม่ใช่เพราะเขาได้รับคำสั่ง หรือเขามีนิสัยชอบร้องเรียน

นอกจากนี้ เรื่องราวความซื่อสัตย์ต่างๆของเขา กลับเกิดในตำนานในแต่ละช่วง เช่น ราชวงศ์หมิง (300 ปีถัดมา) เริ่มสร้างภาพให้ เปาเจิ่งเป็นเทพเจ้าท้องถิ่น ต่อมา  ยุคราชวงศ์หยวน (ถัดมาอีก 800-900 ปี) เช่น การเล่นงิ้ว และเรื่องเล่าต่างๆ เพราะเชื่อว่า ยุคราชวงศ์หยวนนั้น ข้าราชการโกงกินกัน จึงได้สร้างเขาขึ้นมาเป็น  เทพเจ้า โดยเฉพาะเรื่องราว "กลางวันรับราชการอยู่นโลกมนุษย์ กลางคืนรับราชการเป็นยมราชอยู่ในนรก"  ก็เกิดในช่วงนี้  ยิ่งบทนิยายในยุคราชวงศ์ชิงยิ่งแตกต่างจากความจริงอย่างมาก โดยเฉพาะ 7 ผุ้กล้าผู้ผดุงคุณธรรม ที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิง

ตำแหน่งอื่น ๆ
หลังจากนั้น เปา เจิ่ง ได้ดำรงตำแหน่งอีกหลายตำแหน่ง โดยมากเกี่ยวข้องกับกระทรวงการคลัง เขายังได้เป็นเสนาบดีคลังอยู่ช่วงหนึ่ง

ถึงแม้เขาจะมีตำแหน่งใหญ่โตในวงราชการ เปา เจิ่ง กลับใช้ชีวิตเรียบง่ายจนเป็นที่เลื่องลือ เขายังมีชื่อเสียงในการตรวจสอบการทุจริต กับ อุปนิสัยที่เข้มงวดกวดขัน และไม่อดทน หรือ รอมชอบต่อความอยุติธรรมและการฉ้อฉล บุคลิกภาพของเปา เจิ่ง ก็เป็นที่ขึ้นชื่อเช่นกัน มีบันทึกว่า เปา เจิ่ง วางตัวเคร่งครัดเคร่งขรึม ถึงขนาด คนทั่วไปพูดกันว่า รอยยิ้มบนใบหน้าของเขา หายากยิ่งกว่าน้ำใสในแม่น้ำฮวงโห (ฮวงโหคือแม่น้ำเหลือง)

กิตติศัพท์เกี่ยวกับความเที่ยงตรงของเปา เจิ่ง นั้นเลื่องลือไปทั่วแผ่นดิน ชื่อเขาจึงกลายเป็นไวพจน์ของคำว่า "ตงฉิน" (忠臣) ข้าราชาการที่ซื่อสัตย์ ขณะที่ตัวเขาเองก็กลายเป็นหัวเรื่องยอดนิยมในวรรณกรรมและอุปรากรอย่างรวดเร็ว

อสัญกรรม
เปา เจิ่ง ถึงแก่อสัญกรรมที่ไคเฟิงเมื่อ ค.ศ. 1062  จักรพรรดิเหรินจง ทรงรับศพเขาไว้ในพระราชานุเคราะห์ และประทานสมัญญาแก่เขาว่า "เซี่ยวซู่" (孝肅) แปลว่า "กตัญญูปูชนีย์บุคคล" ก่อนเสียชีวิต เปา เจิ่ง สั่งเสียไว้ว่า "ลูกหลานของข้าคนใดเป็นข้าราชการแล้วกินสินบาตรคาดสินบน ห้ามกลับมาเหยียบบ้านข้า และห้ามฝังศพในสุสานของตระกูลเด็ดขาด ใครไม่นับถือคุณงามความดีอย่างข้า ข้าไม่นับเป็นลูกเป็นหลาน"

และ ถูกฝังที่ Daxingji ในปี 1063 ก่อนที่จะมีการสร้างหลุมฝังศพของเขาขึ้นใหม่ในปี 1199

ในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม มีกระแสว่า เปาเจิ้ง นั้น เป็น  "ขุนนางรุ่นเก่าที่ถุกมองว่า เป็นพวกศักดินา" และ "กล่าวหาว่า เปาเจิ้ง นั้น เป็นคนหลอกลวง" ทำให้ สุสาน เปาเจิ่ง ถูกปล้นและทำลายรูปปั้นของเขา

มีนาคม ปี 1973 เนื่องจาก มีการอนุญาตให้สร้างสิ่งปลูกสร้างในบริเวณนั้น ทำให้ต้องมีการย้ายสุสาน โดยมีการตั้ง ผู้ทำความสะอาดสุสาน เปาเจิ่ง เข้าตรวจสอบสุสานตระกูลเปา ก็พบว่า ศพของเปาเจิ่ง และภรรยาคนที่สอง นั้นเสียหาย ส่วนศพของ ลูกหลานของเขานั้นอยู่ในสภาพดี  โดยหากไม่ย้ายศพก็จะถูกทำลาย

ลุกหลานของเขารุ่น 34 จึงต้องนำซากศพของตระกูลจึงต้องแอบซ่อนไว้ และส่งบางส่วนไปปักกิ่งเพื่อทำงานวิจัยด้านนิติเวช ก่อนจะมีการสร้าสุสานขึ้นใหม่  สุสานเปากง (包公墓园) ในเหอเฟย  เหอหนานในปี 1985 และเสร็จสมบูรณ์ในปี 1987  เพื่อเก็บรักษาซากศพของเปาเจิ่ง สำหรับศพที่เหลือของ เปาเจิ่ง นั้น ลูกหลานของเขายังคงเก็บรักษาไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ทำลายซากศพซ้ำรอยอีก

เรื่องเล่าขาน
ส่วนใหญ่แล้วมักเล่าขานถึงเปา เจิ่ง ในบทบาทเป็นตุลาการ ในงิ้วผู้แสดงเป็นเปา เจิ่ง มักทาหน้าดำ และมีปานเป็นรูปเสี้ยวจันทร์อยู่บนหน้าผาก

คำอธิบายแรกคือ

ในการแสดงงิ้ว พวกขุนนางตัวโกงทั้งหลายจะมีหน้าขาวเป็นสัญลักษณ์ เลยใส่สีดำลงบนใบหน้าท่านเปาเพื่อแบ่งแยกออกมาให้ชัดเจน เสี้ยวพระจันทร์ก็อารมณ์ประมาณว่าท่านคือแสงสว่างในความมืด

คำอธิบายที่สองคือ

บุคลิกภาพของเปา เจิ่ง ที่เป็นคนเคร่งขรึม ทำให้เขาได้รับฉายาว่า  "เปาหน้าเหล็ก"  ต่อมาก็เปลี่ยนไปเป็น "เปาหน้าดำ" เปรียบเปรยว่า ไม่มีรอยยิ้มให้แก่ความฉ้อฉลทั้งปวง  อย่างไรก็ดี ในตำนานก็มีการระบุว่า เปา เจิ่ง นั้นใช้วิธีทรมาณผู้ต้องหาให้รับสารภาพ แต่นักประวัติศาสตร์หลายคนก็เชื่อว่า อาจสับสนกับ ลูกหลานเขารุ่นที่ 9 คือ เปาบาวุ๋ย ก็เป็นได้


วรรณกรรมเรื่อง 7 ผู้กล้า  5 ผู้ทรงธรรม
ในวรรณกรรมหลักที่ใช้อ้างอิง ซึ่งแต่งขึ้นในยคราชวงศ์ชิง สมัยที่ซุสีไทเฮา ปกครอง  ปรากฏว่า เปา เจิ่ง มีผู้ช่วยอยู่ 6 คน คือ จั่น เจา (展昭) เป็นองครักษ์ (จอมยุทธ์ใต้ ฉายา แมวหลวง)  กงซุน เช่อ (公孙策) เป็นเลขานุการ และเจ้าพนักงานตำรวจสี่นาย คือ หวัง เฉา (王朝) หม่า ฮั่น (馬漢) จาง หลง (張龍) และเจ้า หู่ (趙虎) ทั้งเจ็ดคนนี้เป็นสัญลักษณ์ของความสุจริตและเที่ยงธรรม


ฮ่องเต้พระราชทานอาญาสิทธิ์ใช้ "ประหารก่อน รายงานทีหลัง" แก่เปาเจิ่ง กงซุนเช่อ จึงได้ออกแบบ เครื่องประหารทั้ง 3 หลังประกอบด้วย

เครื่องประหารหัวสุนัข หรือฉบับแปลไทยเรียก "มีดตัดหัวสุนัข" (狗頭鍘) เป็นรูปสุนัข สำหรับประหารชีวิตสามัญชน

เครื่องประหารหัวพยัคฆ์ หรือฉบับแปลไทยเรียก "มีดบั่นศีรษะพยัคฆ์" (虎頭鍘) เป็นรูปเสือ สำหรับประหารชีวิตข้าราชการ

เครื่องประหารหัวมังกร หรือฉบับแปลไทยเรียก "มีดปลิดเศียรมังกร" (龍頭鍘) เป็นรูปมังกร สำหรับประหารชีวิตพระประยูรญาติ

จักรพรรดิเจินจงยังพระราชทานสิ่งสำคัญอีกหลายสิ่งให้แก่เปา เจิ่ง เป็นต้นว่า พระแส้ทองคำ (金黄夏楚) ใช้เฆี่ยนพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ปัจจุบันได้ และกระบี่อาญาสิทธิ์ (尚方寶劍) เมื่อเชิญออกแสดงแล้ว ผู้คนทั้งปวงต้องเชื่อฟังประหนึ่งเป็นพระราชโองการ

ในเรื่อง เจ็ดผู้กล้า ผู้ทรงธรรม นั้น เปา เจิ่ง ยังเป็นพระสหายขององค์ชายแปด หรืออ๋องแปด (八王; Eighth Prince) พระอนุชาของจักรพรรดิเจินจง และมักหมางใจกับผัง จี๋ ผู้เป็นราชครู (太師; Grand Tutor) และเป็นพระศวศุระของจักรพรรดิเหรินจง เนื่องจากเปา เจิ่ง พิพากษาประหารชีวิตผัง อฺวี้ ผู้เป็นบุตร แต่ในทางประวัติศาสตร์ ไม่ปรากฏเหตุผลที่ผัง จี๋ ปฏิบัติต่อเปา เจิ่ง อย่างศัตรูแต่ประการใด

เปาบุ้นจิ้น ปะทะ ขุนศึกตระกูลหยาง
เปา เจิ้ง อยู่ ในรัชสมัยของ ซ่งเหรินจง(ุ6) แห่งราชวงศ์ซ่งเหนือ  หากนึกไม่ออก จะเป็นยุคหลานของขุนศึกตระกูลหยาง เรื่องราวของขุนศึกตระกูลหยางจะอยู่ในรัชสมัยของ ซ่งไทจง (2) ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ห่างกันประมาณ 20-50 ปี ดังนั้น นิยายเรื่อง เปาปุ้นจิ้น ขุนศึกตระกูลหยาง ไม่น่าจะมีจริง 

ความเก่ง
ผมให้ตี๋เหรินเจี๋ย เหนือกว่า เปา เจิ่ง นิดๆ ครับ เพราะ ตี๋เหรินเจี๋ย สอบจองหงวนได้ตั้งแต่อายุยังน้อย ขณะที่ เปา เจิ่ง นั้น สอบข้าราชาการระดับสูง ได้ขณะอายุ 29 ปี แต่ความเที่ยงตรง จริงจังนั้น ต้องยกให้เปาเจิ่ง ครับ ถึงขนาดหน้าตารูปหล่อ ตีหน้าเครียดจนหน้าดำ และเชื่อว่า พระจันทร์เสี้ยว น่าจะมาจากการขมวดคิ้วจนเส้นขึ้นมากกว่า เนื่องจาก ถ้าหน้าเขาแตกต่างจากคนทั่วไปขนาดนี้ ต้องมีในบันทึกประวัติศาสตร์บ้าง แต่มันกลับไม่ปรากฎ และ ส่วน รูปพระจันทร์เสี้ยวนั้น เชื่อว่า มาจากฉายา เปาชิงเทียน (เปาเปิดฟ้า) ที่มีดวงตาที่ 3 เพื่อเพ่งดูกรรมของแต่ละคนได้ ซึ่งมาจากบทละครมากกว่า

คดีของเปา เจิ่ง ซึ่งงิ้วนิยมเล่น จะมี 2 เรื่อง คือ แมวป่าสับเปลี่ยน พระโอรส กับ ประหารราชบุตรเขย
-----------------------------------
แมวป่าสับเปลี่ยนพระโอรส
(狸貓換太子; Wild Cat for the Crown Prince)
ในรัชกาลพระเจ้าเจินจง สนมหลี่ (李宸妃) ให้ประสูติกาลพระโอรส สนมหลิว (劉宸妃) ริษยา จึงให้กัว ไหฺว (郭槐) ขันที สั่งโค่ว จู (寇珠) นางกำนัล เอาซากแมวป่าถลกหนังมาสับเปลี่ยนพระโอรส แล้วนำพระโอรสไปฆ่าหมกสะพานนทีทอง (金水橋) แต่โค่ว จู จงรักภักดี ไม่กล้าฆ่าพระโอรส ขณะนั้น เฉิน หลิน (陳琳) ขันที กำลังถือกล่องผลไม้ที่พระเจ้าเจินจงพระราชทานเป็นของขวัญวันสมภพอ๋องแปด พระอนุชา มาพบเข้า จึงช่วยกันเอาผลไม้ออก เอาพระโอรสใส่กล่อง แล้วเฉิน หลิน ขันที นำออกไปมอบให้อ๋องแปดเลี้ยงดู เวลานั้น สนมหลี่ต้องพระราชอาญาให้ขังไว้ในตำหนักเย็น เพราะทรงเชื่อว่านางคลอดปิศาจแมวป่า ฝ่ายสนมหลิวก็ให้กำเนิดพระโอรสในเวลาถัดมา จึงได้เลื่อนขึ้นเป็นอัครมเหสีที่ตำแหน่งจักรพรรดินี พระนางหลิวทูลยุยงให้พระเจ้าเจินจงรับสั่งประหารสนมหลี่ ก็โปรดให้ตามนั้น แต่ชาวตำหนักเย็นมีใจเมตตาแก่สนมหลี่ อฺวี๋ จง (余忠) ขันที เสนอตัวเข้าตายแทน ทั้งได้ความช่วยเหลือของฉิน เฟิง (秦风) ขันที สนมหลี่จึงหลบหนีจากพระราชวังต้องห้ามออกมาสู่โลกภายนอกได้ แต่ก็ต้องตกระกำลำบาก ทั้งมีพระหทัยคิดถึงพระโอรสกันแสงไม่เว้นวันจนพระเนตรมืดบอด ขณะเดียวกัน ด้วยบาปของพระนางหลิว พระโอรสที่พระนางประสูติจึงพระชันษาสั้น พระเจ้าเจินจงไร้พระโอรสอีก อ๋องแปดจึงส่งพระโอรสที่ตนได้อภิบาลไว้เข้ามาเป็นรัชทายาทมิให้ขาดสายพระโลหิต รัชทายาทนั้นต่อมาได้เสวยราชย์เป็นพระเจ้าเหรินจง

กว่ายี่สิบปีให้หลัง เปา เจิ่ง รับพระราชโองการไปตรวจสอบการแจกจ่ายเสบียงของผัง อฺวี้ และกลับเมืองหลวงโดยผ่านมาตำบลที่สนมหลี่อยู่ สนมหลี่จึงเข้าร้องทุกข์ แต่เนื่องจากกาลผ่านมาเนิ่นนาน ทั้งผู้เกี่ยวข้องก็ตายสิ้นแล้ว เพื่อให้คดีคลี่คลาย จึงมีทางเดียว คือ ให้กัว ไหฺว ขันที สารภาพ เปา เจิ่ง ไต่สวนกัว ไหฺว ยามวิกาล โดยให้สตรีนางหนึ่งแต่งกายเป็นผีโค่ว จู ส่วนเปา เจิ่ง เองแต่งเป็นมัจจุราช และจัดศาลเป็นนรก กัว ไหฺว เกรงกลัวว่า ความชั่วของตนเองนั้นคนไม่รู้ แต่ภูตผีเทวดารู้ จึงรับสารภาพโดยตลอด และถูกเปา เจิ่ง พิพากษาประหารชีวิต แต่แม้คดีกระจ่างแล้ว พระเจ้าเหรินจงกลับทรงลังเลพระทัยในการเลือกระหว่างผู้ให้กำเนิดกับผู้เลี้ยงดู เปา เจิ่ง จึงทูลอบรมจนทรงระลึกผิดชอบได้ แล้วเปา เจิ่ง สั่งให้โบยพระเจ้าแผ่นดินฐานอกตัญญูซึ่งเป็นความผิดตามกฎหมาย แต่ชุดมังกรฉลองพระองค์ถูกโบยแทน ที่สุดแล้ว พระเจ้าเหรินจงรับสั่งให้เอาพระนางหลิวไปประหารชีวิตด้วยการทอดในกระทะน้ำมันเดือด แต่งิ้วสมัยหลังนิยมเล่นว่า พระนางหลิวผูกพระศอปลิดพระชนมชีพเอง ครั้นแล้ว พระเจ้าเหรินจงเสด็จไปรับสนมหลี่พระมารดากลับคืนสู่พระราชวัง และเลื่อนพระนางขึ้นเป็นพระพันปีพระองค์ใหม่

ประหารราชบุตรเขย
(鍘美案; Case of Executing Prince Consort)
เฉิน ชื่อเหม่ย์ (陳世美) เป็นบัณฑิตอยู่ในชนบท สมรสกับฉิน เซียงเหลียน (秦香莲) และมีบุตรด้วยกันสองคน คู่สามีภรรยาฐานะยากจน ต้องอดทนกัดก้อนเกลือกินด้วยกันตลอดมา ภายหลัง เฉิน ชื่อเหม่ย์ ไปสอบขุนนางในเมืองหลวงและได้อันดับหนึ่ง จึงได้รับการแห่แหนไปรอบเมืองหลวง ขณะนั้น พระกนิษฐภคินีพระเจ้าเหริน จง ทอดพระเนตรเห็นเฉิน ชื่อเหม่ย์ รูปงาม ก็มีพระทัยปฏิพัทธ์ เฉิน ชื่อเหม่ย์ ทูลความเท็จว่า ตนยังโสด พระเจ้าเหรินจงจึงพระราชทานสมรสให้ และทรงตั้งให้เขาเป็นเขยหลวง ฐานันดรศักดิ์ว่า "ราชบุตรเขย" (驸马)

หลายปีต่อมา ทุพภิกขภัยบีบให้ฉิน เซียงเหลียน ต้องพาลูกเข้ามาตายดาบหน้าที่เมืองหลวง ณ ที่นั้น ฉิน เซียงเหลียนทราบความจริงเกี่ยวกับเฉิน ชื่อเหม่ย์ นางจึงไปร้องขอให้เขาช่วยเหลือลูกของเขาเองด้วย แต่ราชบุตรเขยบอกปัด ฉิน เซียงเหลียน จึงไปฟ้องคดีต่อเปา เจิ่ง ว่า ราชบุตรเขยทอดทิ้งลูกเมียและหลอกลวงเบื้องสูงเข้าสู่พระราชวงศ์ เปา เจิ่ง พิสูจน์จนแน่ชัดว่า คำฟ้องของฉิน เซียงเหลียน เป็นจริงทุกประการ แต่เฉิน ชื่อเหม่ย์ คงยืนกระต่ายขาเดียวไม่รับรู้ และใช้ให้หาน ฉี (韓琪) องครักษ์ ไปฆ่าฉิน เซียงเหลียน พร้อมบุตรทั้งสอง เสียให้ตายทั้งหมด แต่หาน ฉี มีมนุษยธรรม จึงชี้ทางให้ฉิน เซียงเหลียน กลับไปหาเปา เจิ่ง ก่อนจะใช้ดาบเชือดคอตนเองตาย เปา เจิ่ง สั่งให้เจ้าพนักงานตำรวจไปจับกุมราชบุตรเขยมาขึ้นศาล พิจารณาแล้วพิพากษาประหารชีวิต สมาชิกพระราชวงศ์เข้าแทรกแซง และข่มขู่จะใช้อิทธิพลทำให้เปา เจิ่ง หลุดจากตำแหน่ง แต่เปา เจิ่ง ไม่เกรงกลัว และสั่งให้เจ้าพนักงานปฏิบัติตามคำพิพากษาเพื่อรักษากฎหมาย

-------------

ท่านเปาตัวจริงที่มีบันทึกไว้ ผิวคล้ำเล็กน้อย สูงประมาณ 160 ซม. หน้าตาพอใช้ได้ ที่ชอบสร้างให้ท่านมีหน้าดำก็เพราะ ในการแสดงงิ้ว พวกขุนนางตัวโกงทั้งหลายจะมีหน้าขาวเป็นสัญลักษณ์ เลยใส่สีดำลงบนใบหน้าท่านเปาเพื่อแบ่งแยกออกมาให้ชัดเจน เสี้ยวพระจันทร์ก็อารมณ์ประมาณว่าท่านคือแสงสว่างในความมืด แสดงถึงความเถรตรง ไม่มีนอกไม่มีใน ไม่กลัวผู้มีอิทธิพล และทำเพื่อประชาชนค่ะ
ที่มา http://data.book.hexun.com/chapter-18577-2-5.shtml

เคยอ่านหนังสือเล่มนึง เขาบอกว่าด้วยความที่ท่านเป็นคนยิ้มยาก คนก็เลยเรียกท่านว่าเปาหน้าดำค่ะ (มีฉายาอื่นๆอีกนะคะ) กล่าวกันว่า ทำให้น้ำในแม่น้ำเหลืองใสสะอาดยังง่ายกว่าทำให้ท่านเปายิ้ม (แม่น้ำเหลืองเป็นแม่น้ำที่มีความสำคัญต่อชาวจีนมาก คล้ายๆแม่น้ำเจ้าพระยาของไทยเรา น้ำในแม่น้ำนี้มีทรายปะปนอยู่มาก กระแสน้ำค่อนข้างเชี่ยว มีสีเหลืองขุ่น จึงได้ชื่อว่าแม่น้ำเหลืองค่ะ)

ข้อมูลอีกอย่างที่ถูกเข้าใจผิด คือท่านมีครอบครัวที่อบอุ่นเหมือนคนอื่นๆนี่แหละค่ะ ไม่ได้เกิดมาตัวดำแล้วถูกแม่ทิ้ง ในทางตรงข้าม พ่อแม่ท่านเปารักท่านเปามากๆเลยค่ะ ท่านก็ขยันเรียน อ่านหนังสือเตรียมสอบเหมือนเด็กหนุ่มทั่วๆไป ท่านสอบเข้ารับราชการได้ครั้งหนึ่งแล้ว แต่ด้วยความที่พ่อแม่แก่แล้ว ไม่อยากให้ท่านเปาอยู่ห่างกาย ท่านเปาเลยลาออกมาดูแลพ่อแม่ จนท่านทั้งสองเสียชีวิต จากนั้นก็ไว้ทุกข์แล้วจึงกลับมารับราชการ (หนังสือบอกว่ารวมทั้งหมด ใช้เวลาประมาณ 10 ปีค่ะ) ท่านแต่งงานด้วยนะคะ มีเมีย 2 คน คนแรกตายแล้วจึงแต่งคนที่สอง มีลูกชาย 2 คน ลูกสาว 2 คน ค่ะ

ชาวบ้านได้กล่าวกันอย่างนี้ว่า 暗中行贿疏不通关系的人,有阎罗王和包老头。คนที่ไม่สามารถยัดเงินใต้โต๊ะได้ มีเพียงยมบาลและท่านเปา ละครก็เอาไปสร้างว่าท่านเป็นยมบาลซะเลย

วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

หลิวก่านซาน งิ้วตลกผู้ท้าทายพระนางซูสีไทเฮา

หลิวก่านซาน  งิ้วตลกผู้ท้าทายซูสีไทเฮา

หลิวก่านซาน 刘赶三 (1817 - 1894) นักแสดงงิ้วปักกิ่ง ที่รับบทรองเสมอ เขาเป็นดารางิ้วที่โด่งดังมากแห่งยุคปลายราชวงศ์ชิง ครั้งหนึ่งเขาถึงกลับกล้าเล่นตลกกับพระนางซูสีไทเฮาเลยทีเดียว

หลิวกานซาน นั้น ดังขนาดที่ปรากฎอยู่ในภาพวาด “13 สุดยอดดาราแห่งยุค” ที่ประมวลสุดยอดดารางิ้วในยุคนั้นไว้ด้วยกัน บทที่สร้างชื่อให้เธอคือ บทของ หมอต้มตุ๋ม ในละครเรื่อง "ขอพบหมอหน่อย"  และสิ่งที่เขาสร้างสรรขึ้นมาในวงการงิ้ว คือ การขี่ลา ตัวเป็นๆ ขึ้นไปบนเวที

ประวัติ
หลิวก่านซาน เดิมชื่อ หลิว เป่าซาน 刘宝山 และมีฉายาว่า หลิว  ก่านซาน 赶三 ซึ่งแปลว่า “วิ่งรอกสามงาน”

เขาเกิดในตระกูลที่ร่ำรวย โดยเฉพาะปู่และพ่อของเขา เป็นถึง นายแพทย์ ทำให้สมัยเด็กเขาได้รับการศึกษาเป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังแตกฉานด้านภาษาระดับหาตัวจับยาก แต่เขากลับผิดหวังซ้ำซากจากการสอบเข้ารับราชการ ทำให้เขาเบนเข็มไปสู่แนวทางชีวิตใหม่ จากงานอดิเรกของเขา เขาก็เอาจริงโดยเขามุ่งหน้าเข้าสู่โรงละคร เริ่มแรก เขาขอเข้าในคณะงิ้วที่เทียนจิน ก่อน แน่นอนว่า คณะงิ้วแรกที่เขาขอไปอยู่ด้วยนั้น ก็อยู่ระดับแนวหน้าของประเทศ แต่เขากลับได้ตำแหน่งพนักงานขายตั๋วแทน เขาไม่ยอมแพ้ เขาขอพบหัวหน้าคณะงิ้ว และด้วยพลังเสียงของเขานี่เองก็ทำให้ เจ้าของคณะงิ้วไม่มีทางเลือก นำเขามาฝึกฝนการร้องและเล่นงิ้ว แน่นอนว่า หลังจากเขาได้รับการเรียนการร้องเพลงอย่างจริงจังแล้ว เขาได้รับการโหวตให้เป็น นักแสดงงิ้วที่มีเสียงดีที่สุดของคณะ แต่เขาไม่พอใจแค่นั้น เขาเลือกเก็บเสื้อผ้ามุ่งหน้าไปปักกิ่งแทน

เมื่อเขาไปที่ปักกิ่ง แม้ว่าเขาจะได้เข้าคณะงิ้วที่ปักกิ่งซึ่งถือเป็น คณะงิ้วที่ดีที่สุดของประเทศจีน บทละครดีที่สุด นักแสดงดีที่สุด ที่นั่นเองเขากลับพบว่า การร้องเสียงดีอย่างเดียวไม่เพียงพอเสียแล้ว เพราะที่ปักกิ่งมีนักร้องเสียงดีมากมาย ทำให้เขาต้องคิดค้นการร้องเพลงในแบบของเขาที่มีการสร้างสีสรรขึ้นมาเสริม

ทำไมเขาถึงได้รับฉายา ก่านซาน หรือ จับ 3 เดิมเขาชื่อ หลิวเป่าซาน นักร้องงิ้วสมัยนั้น มักจะรักษาเสียงร้องของตนเอง ด้วยการร้องเพียงคืนละแห่งเดียวเท่านั้น  ซึ่งความจริงแล้ว คณะงิ้วก็จะไม่อนุญาตให้ทุกคนในคณะร้องเพลงเกินวันละหนึ่งแห่ง เพราะหากร้องมากไป จะทำให้เสียงเสียหายได้ แต่สำหรับ หลิวเปาซาน แล้ว  ณ เวลานั้น เขาไม่คิดว่า การร้อง 3 ที่ มันจะแย่ตรงไหน เขาจึงวิ่งรอกงาน 3 งาน  จนคนดูบางคนสับสนว่า เขามีถึง 3 คน นั่นเองทำให้เขาได้รับฉายาว่า หลิวเป่าซาน ที่แปลว่า "หลิว วิ่งรอก 3 งาน"

ตัวตลกเทพ
โดยทั่วไป บทคนแก่ หรือบทรองๆ นั้น คนเล่นงิ้วนั้น มักมีลักษณะเสียงรองจากตัวหลัก แต่สำหรับ หลิวก่านซ่าน แล้ว แม้เขาจะได้รับบทรอง แต่พื้นฐานของหลิวกานซ่าน แล้ว เขาเป็นคนที่มีเสียงดีระดับเล่นเป็นตัวหลักได้ ซิ่งถือเป็นโชคดีเป็นของหลิว อย่างไรก็ดี เขามักได้รับบทเป็น แม่สามี หรือ แม่ภรรยา รวมถึง หมอต้มตุ๋น ด้วย

หลิว ก่านซาน มีจุดเด่น คือ พลังเสียงที่ชัดเจน สดใส และสามารถร้องเพลงได้เป็นอย่างดี ถือเป็นคนที่มากความสามารถ ที่สำคัญคือ เป็นคนมีไหวพริบปฎิฎาณดีอย่างมาก สามารถปรับเปลี่ยนเนื้อเรื่องให้ชวนติดตามได้ นอกจากนี้ เพลงงิ้วก็มักถูกร้องเป็นแบบสไตล์ของเขาอีกด้วย  ยกตัวอย่างเช่น เขาสามารถ แนบโฆษณา "ยา" ที่สนับสนุนเขาเข้าไปในบทงิ้วได้อย่างแนบเนียนเสมอๆ  แต่หลิวกานซ่านก็ถือว่า เป็นตัวตลกที่ชอบเสียดสีสังคม

ชีวิตจริง
ชีวิตจริงของ หลิวกานซานนั้น  แม้ว่าตัวเขาจะได้รับบทเป็นคนชั้นรอง แต่ชีวิตจริงกลับเป็นคนที่ปราณีต กับงานแสดงมาก รวมถึง การคิดบทละครอย่างปราณิตมาก ผู้คนส่วนมากมักคิดว่า เขาคิดบทพูดแบบสดๆ แต่ความจริงเขากลั่นกรองมาอย่างดี  โดยผู้ชมมักชมหลิวว่า "เป็นความน่าเกลียดที่ปราณีตที่สุด" สิ่งนี้เองที่ทำให้เขาสามารถอยู่ในคณะงิ้วที่โด่งดังที่สุดของประเทศ โดยในคณะที่เขาอยู่นี้มีสุดยอดงิ้วแห่งยุคอยู่ถึง 8 คน รวมเขาด้วย และแน่นอนว่า รายได้ของหลิวนั้นก็สูงมากเช่นกัน

สิ่งที่เขาสร้างสรรในการแสดงงิ้ว คือ  การเอาลาชื่อ "โมหยู่" ตัวเป็นๆ ขึ้นไปเล่นงิ้วด้วย แต่กว่า ลาตัวนี้จะขึ้นไปเล่นบนเวทีได้ เขาต้องฝึกลาอย่างหนักเพื่อให้มันเชื่องจนลาตัวนี้สามารถเล่นงิ้วได้ และก็มีชื่อเสียงคู่ไปกับเขา โดยเจ้าลา โมหยู่ นี้ ก็ได้รับเกียรติให้ไปเล่นต่อหน้า ซูสีไทเฮามาแล้ว  อีกสิ่งหนึ่งที่หลิวได้รับการชื่นชมคือ ฝีปากและการไม่กลัวใครหน้าไหน ผู้ชมหลายคนถึงกับ ชมชื่นชมหลิวว่า นอกจากหลิวจะมีเสียงที่ดีแล้ว แต่สิ่งที่โดดเด่นที่สุดของเขา และไม่เคยมีใครมี คือ ความกล้าหาญ

ฝีปาก
ตัวตลกมักเสียดสีสังคม หลิว ก่านซาน ก็เช่นกัน เขามักอาศัยการแสดง กระทบกระเทียบเปรียบเปรยสถานการณ์บ้านเมืองเวลานั้นเสมอๆ จนเป็นเรื่องที่ยังเล่าขานกันมาจนทุกวันนี้ ยกตัวอย่าง เช่น

ในคราวที่ถงจื้อฮ่องเต้สวรรคต ราชสำนักประกาศว่าทรงประชวรด้วยโรคฝีดาษ แต่ทั้งเมืองก็ซุบซิบกันว่า น่าจะเป็นเพราะ 梅毒 โรคซิฟิลิส เพราะทรงออกนอกวังมาเที่ยวหอโคมแดง อยู่บ่อยๆ ครั้งหนึ่ง หลิวก่านซาน เล่นงิ้วเรื่อง “ขอพบหมอ” 请医  โดยเขารับบท เป็น หมอต้มตุ๋มชาวบ้าน หลังเสร็จพิธีไว้ทุกข์ถงจื้อฮ่องเต้แล้ว ครั้งหนึ่ง หลิวก็เพิ่มบทพูดเข้าไปว่า

“ไม่เอา ข้าไม่ไปตงหัวเหมิน (ประตูของวังหลวง) ที่นั่นมีเศรษฐีคนหนึ่งไม่สบาย คนใช้ตามข้าไปรักษา ข้าคิดว่าเป็นฝีดาษ เลยให้ยารักษาฝีดาษไป แต่ความจริง แกเป็นซิฟิลิส ก็เลยตายหยังเขียด ถ้าขืนข้าไป ตงหัวเหมินอีก ข้าไม่โดนเหยียบตายเหรอ”

อีกครั้งหนึ่ง  หลิว ก่านซานรับบทเป็นแม่เล้าหอนางโลม ในเรื่อง 思志诚(ความซื่อสัตย์)  ระหว่างกลางเรื่อง องค์ชายตุนหวัง กงหวัง และ ฉุนหวัง เพิ่งเสด็จมาถึงชมงิ้ว แม่เล้าอย่างหลิว ก็ตะโกนเรียก เด็กสาวๆ ให้ออกโรงว่า

“ เจ้าห้า เจ้าหก เจ้าเจ็ด รีบออกมารับแขกเร้วววว”

ด้านล่างต่างหัวเราะครืน เพราะ ตุนหวัง นั้นนับเป็นองค์ชายห้า กงหวัง นับเป็นองค์ชายหก ส่วนฉุนหวัง นับเป็นองค์ชายเจ็ด

อีกครั้งหนึ่ง หลิวกานซาน นั้นต้องไปเล่นต่อหน้า ซูสีไทเฮา เป็นที่รู้กันว่า ความสัมพันธ์ระหว่างพระนางซูสีไทเฮา และกวงซวี่ฮ่องเต้นั้น ไม่ค่อยราบรื่นนัก หลิวก่านซาน ได้แสดงหน้าพระที่นั่งบ่อยๆ แต่เขาไม่พอใจอย่างมาก ที่กวงซีฮ่องเต้นั้น มักจะยืนอยู่ข้างซูสีไทเฮาที่นั่งประทับเป็นสง่า ปล่อยให้ฮ่องเต้กวงซวี่ยืนอยู่ข้างๆ ราวผู้รับใช้  ครั้งหนึ่ง หลิวก่านซาน จึงเพิ่มบทพูดเข้าไปในงิ้วเรื่อง 十八扯 (18 เร่งรีบ) ขณะที่เขาเล่นเป็น อัครมหาเสนาบดี ตัวปลอม เขาก็กล่าวว่า

“อย่ามาจ้องมองข้าด้วยสายตาแบบนี้นะ ถึงข้าจะเป็นฮ่องเต้ตัวปลอมยังมีเก้าอี้ให้นั่ง แต่ฮ่องเต้ตัวจริงสิ แม้คิดจะนั่ง ยังนั่งไม่ได้”

ประโยคนี้แทงใจดำซูสีไทเฮา แต่บันทึกก็ระบุว่า ซูสีไทเฮานั้นหัวเราะครืนเลยทีเดียว และหลังจากนั้น หากเป็นการชมงิ้ว กวงซี่ฮ่องเต้ก็ได้นั่งชมมาโดยตลอด

เขาล้มป่วยเสียชีวิตด้วยวัย 77 ปี

ส่วนในภาพ 13 สุดยอดดาราแห่งยุคนั้น เขาเล่นเป็นหญิงชราในเรื่อง "เยี่ยมครอบครัว" เป็นอีกเรื่องที่สร้างชื่อเสียงให้เขา หลิวเล่นเป็น แม่ชราชาวชนบทที่์ซื่อๆ ต้องการไปเยี่ยมลูกสาวขี้หงุดหงิด  ที่แต่งงานไปอาศัยอยู่บ้านสามีเศรษฐีในเมือง แม่ชราหลิวคนนี้ ก็กังวลว่า ลูกสาวบ้านนอกจะโดนชาวเมืองดูถูก เธอจึงเดินทางเข้าเมืองไปเยี่ยมลูกสาว แน่นอนวา่ เรื่องนี้ต้องโกลาหลสุดๆ

 ได้รับแรงบันดาลใจจาก Facebook ปักกิ่งให้ถึง"แก่น" กับ เกร็ดก็เก่าเกย์ที่เล่าก็แก่

วันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ตี๋ เหรินเจี๋ย ขอเอาชื่อปู่เป็นเดิมพัน นักไขปริศนาแห่งราชวงศ์ถัง

ตี๋ เหรินเจี๋ย ขอเอาชื่อปู่เป็นเดิมพัน นักไขปริศนาแห่งราชวงศ์ถัง




ตี๋ เหรินเจี๋ย  ( 狄仁傑 ค.ศ. 630 — 15 สิงหาคม ค.ศ. 700) หรือชื่อรองว่า ไหวฺอิง (懷英) เป็นอัครมหาเสนาบดีแห่งราชวงศ์ถัง ในรัชศก อู่เจ๋อเทียน (บูเช็กเทียน) เป็นข้าราชการหนึ่งในหลาย ๆ คนซึ่งได้รับการสรรเสริญมากที่สุดในรัชศกดังกล่าว และเป็นที่สดุดีว่ามีบทบาทผลักดันให้ อู่ เจ๋อเทียนเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบอันโหดร้ายเป็นระบอบอันเชิดชูคุณธรรม

เขาเกิดยุคสมัยเดียวกับที่พระถังซำจั๋งเดินทางไปอัญเชิญพระไตรปิฎก (เดินทางกลับมาในปี 645) และหลังตั๊กม้อ ประมาณ 100 ปี (520

ภูมิหลัง
ตี๋ เหรินเจี๋ยเกิดในตระกูลขุนนางจากเมืองไท่หยวน เมื่อ ค.ศ. 630 ในรัชศกถังไท่จง

ตี๋ เซี่ยวซู่ (狄孝緒) ผู้เป็นปู่ เคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการสำนักบริหาร (尚書左丞) ส่วน ตี๋ จือซุ่น (狄知遜) บิดา เคยเป็นผู้ว่าราชการเมืองกุ๋ยโจว (夔州) ซึ่งปัจจุบัน คือ ฉงชิ่ง

ในวัยเยาว์ ตี๋ เหรินเจี๋ยนั้นเป็นที่เลื่องลือในความใฝ่รู้ใฝ่เรียน หลังจากสอบได้เป็นจอหงวน เขาได้รับแต่งตั้งเป็นปลัดเมืองไคเฟิง มณฑลเหอหนัน และได้เลื่อนยศเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด

ไข่มุกจากริมสมุทร
ครั้งหนึ่ง เพื่อนร่วมงานของเขาได้ร้องเรียนเท็จต่อผู้บังคับบัญชาว่า เขาขาดคุณสมบัติเป็นข้าราชการ ประจวบกับที่ หยัน ลี่เปิ่น (閻立本) เสนาบดีกระทรวงสวัสดิการสาธารณะ ผ่านมาตรวจราชการในท้องที่นั้น และขึ้นพิจารณาข้อร้องเรียนดังกล่าว เมื่อ หยัน ลี่เปิ่น ได้พบตี๋ เหรินเจี๋ย ก็ประทับใจในบุคลิกลักษณะ และกล่าวว่า

"ขงจื่อ เคยกล่าวว่า 'อันความดีงามของบุคคลใดก็ดี ย่อมชี้วัดได้โดยความผิดพลาดของบุคคลนั้นเอง' ตัวท่านนี้อุปมาดังไข่มุกจากริมสมุทร แลขุมทรัพย์อันกู้ได้มาแต่แดนอาคเนย์ก็มิปาน"

หยัน ลี้เปิ่นได้สนับสนุนให้ตี๋ เหรินเจี๋ยเป็นเจ้าเมืองไคเฟิง ขณะปฏิบัติหน้าที่นั้น ตี๋ เหรินเจี๋ยเป็นที่เลื่องลือในด้านความเอาใจใส่ผู้ใต้บังคับบัญชาและราษฎร

เดินทางแทนเพื่อน
ครั้งหนึ่ง เจิ้ง ฉงจื้อ (鄭崇質) เพื่อนร่วมงานของเขา ได้รับคำสั่งให้ไปตรวจราชการในที่ห่างไกล ขณะนั้น เขาทราบว่า มารดาผู้ชราของเจิ้ง ฉงจื้อ กำลังเจ็บไข้ ก็รุดไปหา ลิ่น เหรินจือ (藺仁基) เลขาธิการสำนักบริหาร เพื่อร้องขอให้แต่งตั้งเขาไปตรวจราชการแทน ลิ่น เหรินจือประทับใจในตี๋ เหรินเจี๋ยเป็นอันมาก
ถึงกลับกล่าวว่า "ตี๋เหรินเจี๋ย คือ นักปราชญ์ของ Di Gong เพียงคนเดียวทางใต้ของ Beidou."

17000 คดี
ใน ค.ศ. 676  ตี๋ เหรินเจี๋ยได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการศาลสูงสุด (大理丞) ตี๋ เหรินเจี๋ยปฏิบัติหน้าที่ด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม และเป็นที่กล่าวขานว่า ระหว่างดำรงตำแหน่งดังกล่าว เขาได้พิพากษาคดีถึง 17000 คดี และไม่มีคู่ความไม่พอใจคำพิพากษาของเขาแม้แต่คนเดียว

ขุนนางทัดทาน
ในปีเดียวกันนั้น มีเหตุการณ์ซึ่ง นายพลฉวน ชั่นไฉ (權善才) และพลทหารฟั่น ไหวฺอี้ (范懷義) ทำลายหมู่ต้นไม้มงคลบนสุสานอดีตจักรพรรดิถังไท่จงไปโดยอุบัติเหตุ จักรพรรดิถังเกาจงทราบความแล้วก็โกรธ ให้ประหารชีวิตนายทหารทั้งสอง ตี๋ เหรินเจี๋ยจึงทูลว่า ตามกฎหมายแล้ว นายทหารทั้งคู่มีโทษไม่ถึงชีวิต เพียงไล่ออกเท่านั้น จักรพรรดิถังเกาจงทรงฟังแล้วก็โกรธ มีรับสั่งให้ทหารไล่ตี๋ เหรินเจี๋ยออกไปจากที่เฝ้า แต่ตี๋ เหรินเจี๋ยนั้นยังคงทูลทัดทานไม่ยอมหยุด จนจักรพรรดิถังเกาจงได้สติและเข้าพระราชหฤทัย ให้ไล่นายทหารทั้งสองออกตามกฎหมายแทน หลังจากนั้นไม่กี่วัน ก็โปรดให้ตี๋ เหรินเจี๋ยดำรงตำแหน่งขุนนางทัดทาน (御史)

ชี้แนะฮ่องเต้
ราว ๆ ค.ศ. 679 เหวย หงจือ (c=韋弘機) เสนาบดีเกษตราธิการ ได้สร้างพระที่นั่งสามหลังทางด้านตะวันออกของนครลั่วหยาง คือ พระที่นั่งซู่หยู่ (宿羽宮) พระที่นั่งเกาชัน (高山宮) และพระที่นั่งชั่งหยาง (上陽宮) ตี๋ เหรินเจี๋ยทูลว่า เหวย หงจือกำลังนำพาพระจักรพรรดิไปสู่ความสุรุ่ยสุร่ายอันเป็นบ่อเกิดแห่งหายนะ พระจักรพรรดิทรงก็เห็นด้วย ก็ไล่เหวย หงจือออกจากตำแหน่งทันที

มีคนให้ร้าย
ในปี 691 ตี๋เหรินเจี่ย ได้เลื่อนตำแหน่ง และได้รับรางวัลอีกครั้ง อู่เจ๋อเทียน (บู๊เช็กเทียน) ถามเขาว่า "ท่านเป็นคนที่มีประวัติการทำงานที่ดีเยี่ยมมาตลอด ท่านรู้หรือไม่ว่า มีคนให้ร้ายท่านมาตลอด?" เขาตอบกลับว่า "ถ้าข้าไม่ได้ทำผิด แต่ฮ่องเต้เข้าใจว่า ข้าทำผิด อันนั้น ถือเป็นโชคร้ายของข้า ถ้าข้าทำผิด แต่ฮ่องเต้เข้าใจว่าข้าไม่ผิด นั่นถือเป็นโชคของข้า ข้าไม่ต้องการรู้ว่า ใครคอยให้ร้ายข้า เพราะข้ามองว่า พวกเขาคือเพื่อนของข้า" ทำให้บู๊เช็กเทียนนั่นยกย่อง ตี๋เหรินเจี๋ยอย่างมาก

ก่อกบฎ
ในปี 692 (หลังจากพระเจ้าถังไทจง สวรรคตในปี 683 ทำให้บู๊เช็กเทียน เป็นไทเฮา และเป็นผู้สำเร้จราชการแทน โดยในปี 684 มีการก่อกบฎ โดยขุนนางผู้ใหญ่ เพื่อคืนอำนาจ ทำให้นางหวาดระแวงมาก จึงมีการตั้งกล่องลับ เพื่อให้คนส่งจดหมายแจ้งเรื่องลับมา และทำให้หน่วยสืบราชการลับของนางมีอำนาจอย่างรวดเร็ว สามารถใส่ร้าย กำจัดคู่แข่งทางการเมืองหรือสั่งประหารใครก็ได้ นอกจากนี้ในปี 690 นางยังล้มล้างกฎมณเทียรบาลที่ห้ามไม่ให้สตรีขึ้นเป็นฮ่องเต้ ด้วยการตั้งราชวงศ์โจว)

ไหลจวิ้นเฉิน เจ้าหน้าที่ตำรวจลับ กล่าวหาว่า ตี๋เหรินเจี๋ย และพวกพ้อง พยายามก่อกบฎ และจับตัวเขา ในยุคนั้นกฎหมายระบุว่า หากเป็นกบฎแล้วรับสารภาพจะเว้นโทษประหารชีวิต ตี๋เหรินเจี๋ย จึงรับสารภาพ "การปฎิวัติ เพื่อล้มล้างสิ่งเก่าสร้างสิ่งใหม่เป็นความจริง ข้ารับสารภาพ"  เพื่อละเว้นโทษประหารชีวิต

แต่เมื่อเข้าจองจำในคุก เขาขอหมึกและพู่กัน จากเจ้าหน้าที่เรือนจำ ได้แอบเขียนคำร้องบนเสื้อ แล้วซ่อนไว้ในผ้าห่ม ที่จะส่งกลับบ้านโดยอ้างว่า ขอเปลี่ยนเสื้อผ้าเป็นเสื้อผ้าฤดูร้อน เพื่อมอบให้กับลูกชายของเขา  ลูกชายของเขา คือ ตี๋กวงหยวน(狄光遠) เพื่อนำไปร้องทุกข์ต่อ บู๊เช็กเทียน  เมื่อบู๊เช็กเทียนทราบเรื่อง ก็สอบถามไปยัง ไหลจวิ้นเฉิน หากไม่จริง ตี๋เหรินเจี๋ย จะสารภาพทำไม ?  ต่อมาก็มีเรื่องลูกชายของพรรคพวกร้องเรียนบู๊เช้กเทียนว่า ไหลจวิ้นเฉิน นั้นเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสร้างคดีเท็จ

บู๊เช็กเทียน ตัดสินใจ ไปสอบถามตี๋เหรินเจี๋ย ด้วยตัวเอง แล้วถามว่า ท่านก่อกบฎใช่หรือไม่ ถ้าไม่ทำไมจึงรับสารภาพ เขาตอบกลับว่า ถ้าข้าไม่สารภาพ ข้าต้องโดนโทษประหารชีวิต บู๊เช็กเทียนถามต่อว่า แล้วข้อความที่เขียนเป็นหลักฐา นละ เขาตอบกลับว่า เขาไม่ได้เป็นคนเขียน นั่นคือของปลอม (บันทึกไม่ได้อธิบายใดๆ)  แม้ว่า ไหลจวิ้นเฉิน  จะทัดทานและเรียกร้องให้ประหาร ตี๋เหรินเจี๋ย แต่บู๊เช็กเทียนปฎิเสธ

แต่กลับสั่งเนรเทศ ไหลจวิ้นเฉิน แทน และลดโทษให้ ตี๋เหรินเจี๋ย แลพรรคพวก แต่ตี๋เหรินเจี๋ย กลับโดนลดระดับความสำคัญลงเป็นเพียงเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น  เท่านั้น

ได้รับการยอมรับ
บู๊เช็กเทียน นั้นให้ความเคารพ ตี๋เหรินเจี่ยอย่างมาก โดยเขาได้รับฉายาว่า "ชายที่แก่ที่สุดในวัง"  เพราะแม้เขาจะยื่นขอเกษียณอายุราชการไปหลายครั้ง แต่ พระนางบู๊เช็กเทียนก็ปฎิเสธคำขอเสมอ ครั้งหนึ่ง ตี๋เหรินเจี๋ย โค้งคำนับบู๊เช็กเทียน เธอถึงกลับกล่าวว่า ทุกครั้งที่ฉันเห็นเจ้าคุกเข่า ร่ายกายของฉันก็รู้สึกเจ็บปวดแทน" และยังได้กำชับ เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลห้องนอนของ ต๊่เหรินเจี๋ยว่า หากไม่มีภารกิจที่สำคัญใดๆ ห้ามรบกวนท่านตี๋เหรินเจี๋ย โดยเด็ดขาด"

ตี๋เหรินเจี๋ย เสียชีวิตในวันที่ 11 พฤศจิกายน 700 ขณะอายุ 70 ปี  ศพของเขาได้รับการฝังที่ วัดม้าขาว ลั่วหยาง (เป็นวัดพุทธแห่งแรกในแผ่นดินจีน สร้างในปี 66 เป็นที่พำนักของ พระเสวียนจั๋ง และเก็บอัฐิของท่านไว้ที่นี่ด้วย) บู๊เช็กเทียนนั้นถึงกับหลั่งน้ำตา และกล่าวว่า "ต่อไปนี้ ศาลจะว่างเปล่า" และหากมีคดีใด ที่ศาลไม่สามารถคัดสินได้ บู๊เช็กเทียนจะถอนหายใจและกล่าว่ว่า "ทำไม เทพเจ้าต้องพรากศาลของข้าเร็วไป"

โด่งดัง
แม้ชีวิตของเขาจะได้รับคำชื่นชมมากมาย แต่เขากลับโด่งดังในวงแคบๆ โดย ฟาน กูลิค นักการฑูตชาวดัตช์ ที่มาประจำประเทศจีน ได้นำเรื่องของเขามาแต่งนิยายสืบสวนจากคดีท้องถิ่นของเขา ทำให้นิยายนักสืบของเขาได้รับการตีพิมพ์เป็นภาษาจีน ญี่ปุ่น และอังกฤษ จนนิยายเรื่องนี้ได้รับความนิยม ต่อมานักเขียนรุ่นหลังก็มีการแต่งเติมเนื้อหาให้สนุกมากขึ้น จนกลายเป็นนักสืบตี๋เหรินเจี๋ย ไป