วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

!เหตุการณ์ประตูเสฺวียนอู่ กับตำนานเทพผู้พิทักษ์ประตู

เหตุการณ์ประตูเสฺวียนอู่ (玄武門之變 626) เป็นเหตุการณ์ที่สำคัญครั้งหนึ่ง ใน ประวัติศาสตร์จีน และเป็นการชิงราชบังลักก์ที่โด่งดังที่สุดในประวัติศาสตร์จีน

เหตุการณ์นี้ เกิดก่อนพระถังซัมจั๋งออกเดินทางไปอินเดีย 3 ปี แต่เกิดหลังจากที่ พระตั๊กม้อเดินทางมาจีน 100 ปีพอดี

โดยเกิดขึ้นในช่วงต้น ราชวงศ์ถัง เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 626 ตรงกับช่วงปลายรัชสมัย ฮ่องเต้ถังเกาจู่ เมื่อองค์ชายรองหลี่ ชื่อหมิน (李世民) พร้อมผู้ติดตามได้สังหารองค์ชายรัชทายาท หลี่ เจี้ยนเฉิง (李建成) และองค์ชายสี่ หลี่ ยฺเหวียนจี๋ (李元吉) ที่ประตูเสฺวียนอู่ซึ่งเป็นประตูทางด้านเหนือของพระราชวังหลวงแห่งฉางอัน

ทำให้ในอีก 3 วันต่อมาคือวันที่ 5 กรกฎาคม องค์ชายหลี่ ชื่อหมิน ได้รับการสถาปนาเป็นรัชทายาท หรือ ไท่จื่อ (太子) ก่อนที่จักรพรรดิเกาจู่จะสละราชบัลลังก์ในอีก 6 วันต่อมาคือวันที่ 11 กรกฎาคม องค์ชายหลี่ ชื่อหมิน จึงได้ขึ้นสืบราชบัลลังก์เป็น ฮ่องเต้ถังไท่จง ส่วนอดีตจักรพรรดิเกาจู่ได้รับพระอิสริยยศเป็น ไท่ช่างหฺวัง

ปูมหลัง
ฮ่องเต้ถังเกาจู่ หรือ หลี่ เยวียน ปฐมกษัตริย์ แห่งราชวงศ์ถัง เดิมเป็นแค่เจ้าครองเมืองในราชวงศ์สุย

เมื่อเกิดการกบฎ หลี่เหยียน รีบเข้าตีเมืองฉางอาน เมืองหลวงของราชวงศ์สุย (โดยได้รับเงินสนับสนุนจากพ่อค้าไม้ ที่เป็นพ่อของบู๊เช็กเทียน) และถือเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของอาณาจักร เพื่อให้ตนได้ชื่อว่าครอบครอง และทำให้สามารถปราบขุนศึกต่างๆ ลงได้ สถาปนาตัวเองขึ้นเป็นฮ่องเต้ แต่ ตอนนั้นเขาอายุ 52 ปีแล้ว

หลี่ เจี้ยนเฉิง 李建成) ลูกชายคนโตเกิดกับพระมเหสีเอก ตาหลักขงจื้อเขาคือรัชทายาทโดยชอบธรรม แต่ช่วงสงครามกลางเมือง เขากลับคุมอยู่ชายแดนทำให้อำนาจบารมีไม่เทียบเท่ากับน้อง

หลี่ ซื่อหมิน (李世民).ศ.599-649)ลูกชายคนรอง เกิดกับพระมเหสีเอกเช่นกัน เป็นคนมีสติปัญญาทั้งงบู๊และบุ๋น แถมเป็นแม่ทัพหลักของพ่อในการปราบศัตรูทั้งหมด เหล่าขุนนางอยากให้เขาเป็นรัชทายาท เขาได้รับตำแหน่งเป็นถึงฉินหวาง ดูแลกิจการพเรือนและทหารทั้งหมด

หลี่ หยวนจี๋ 李元吉 ลูกชายคนเล็ก ไม่มีสติปัญญา แต่นักประวัติศาสตร์เชื่อว่า เขามีวรยุทธ์สูงส่ง  บารมี เขาจึงเลือกสนับสนุนพี่ชายคนโต คือ หลี่เจี้ยนเฉิงง

ถังเกาจู่ นั้นเลือกที่สถาปนา ลูกชายคนโต เป็นรัชทายาท ขณะที่ หลี่เจี้ยนเฉิง ก็รู้สึกว่า หลี่ซ์่อหมิน นั้นกำลังสะสมบารมี ทำให้เกิดความตึงเครียดระหว่างพี่น้อง

จุดเริ่มต้น
หลี่ซื่อหมิน มักออกราชการทำให้เขาไม่ค่อยได้อยู่ที่เมืองฉางอาน ที่เป็นเมืองหลวง แต่เขาก็ยังให้ขุนนาง ขันที ที่สนิท คอยเป่าหู ฮ่องเต้ถังเกาจู่ ให้สนับสนุนตนอย่างสม่ำเสมอ

ปี ค.ศ. 626 หลี่ซื่อหมิน มั่นใจว่าพี่ชายและน้องชาย กำลังวางแผนกำจัดตนแน่นอน ทำให้เขาต้องระมัดระวังตัวมากขึ้น

ครั้งหนึ่ง พี่ชายได้เชิญเขาไปทานอาหารที่บ้าน เมื่อกลับเขาปวดท้องอย่างรุนแรง แต่โชคดีที่เขาไม่เป็นอะไรมาก

ต่อมา ฮ่องเต้ถังเกาจู่ เห็นว่า พี่น้องกำลังขัดแย้งกัน จึงอยากให้ หลี่ ซื่อหมิน ไปครองเมืองลั่วหยาง แทน แต่พี่ชายกับน้องชาย กลับคัดค้านเพราะเชื่อว่า หากหลี่ซื่อหมินไปครองเมือง ลั่วหยาง จะเป็นการปล่อยเสือเข้าป่า ขณะที่ เว่ยจิง คนสนิทของหลี่ จื้อเฉิง (คนพี่) ก็กังวลเรื่องนี้มาก

ต่อมา พวกทูเจี๋ย รุกเข้าทางเหนือ ฮ่องเต้ ถังเกาจู่ สั่งให้ หลี่หยวนจี๋ คุมกำลังไปปราบตามคำแนะนำของหลี่ เจี้ยนเฉิง ครั้งนี้เองที่ หลี่ื ซื่อหมิน ถุกบีบให้ต้องขยับตัว เพราะกองกำลังที่กำลังจะไปต่อสู้นั้น เป็น กองกำลังหลักของเขา ขณะที่คนสนิทของเขา คือ จางซุนหวู่จี้ ยืนกรานว่า ต้องลงมือกำจัด หลี่เจี้ยนเฉิง และหลี่หยวนจี๋ให้เร็วที่สุด เพราะตอนนี้ ทหารในเมืองหลวงของเขามีแค่ 800 คน ขณะที่ของหลี่เจี้ยนเฉิง พี่ชายนั้นมีถึง 5,000 คน สถานการณ์ตอนนี้ ค่อนข้างคับขันสำหรับ หลี่ ซื่อหมิน มาก

การสังหารที่ประตูหสียนหวู่
วันที่ 1 กรกฎาคม 626 หลี่ซื่อหมินยื่นฎีกาว่า หลี่เจี้ยนนเฉิง กับหลี่หยวนจี๋ คบชู้กับนางใน ถังเกาจู่ สั่งให้หลี่ซื่อหมินมาเข้าเฝ้าในวันรุ่งขึ้น พระสนมนางหนึ่งนำข่าวไปบอกกับหลี่เจืี้ยนเฉิง กับหลี่หยวนจี๋  โดยหลี่หยวนจี๋ เสนอให้แกล้งป่วย แล้วนิ่งเฉยไปก่อน ขณะที่พี่ชาย คือ หลี่เจียยนเฉิงกลับปฎิเสธ และเลือกที่จะเข้าเฝ้าเพื่อแก้ข้อกล่าวหา

เช้าวันที่ 2 กรกฎาคม 626 หลี่่เจี้ยนเฉิง กับ หลี่หยวนจี๋ ต่างขี่ม้ามุ่งมาที่ประตู่เสวียนอู่ ที่เป็นประตูเข้าสู่พระราชวังหลวง ส่วนหลี่ซื่อหมินนั้น ได้ส่งทหารไปดักรอที่ประตูเสวียนอู่ อยู่แล้ว

ขณะที่ทั้งพี่ชาย และน้องชาย เห็นทหารมากผิดปกติ จึงรีบควบม้าหนีทันที แต่หลี่ซื่อหมินนั้นไม่ปล่อยโอกาส ยิงธนูไปที่หลี่เจี้ยนเฉิง พี่ชาย เสียชีวิตทันที   ส่วนหลี่หยวนจี๋ น้องชาย โดนยี่ว์ชื่อจิงเต๋อ (尉迟敬德) ยิงธนู ครั้งแรก แค่ตกม้าเท่านั้น และวิ่งหนีต่อ  แต่ ยี่ว์ฉือจิงเต๋อ วิ่งไล่ตามแล้วยิงด้วยธนูอีกดอกทำให้น้องชายเสียชีวิตทันที

ทหารของพี่ชายและน้องชาย ต่างไม่ยอมที่หัวหน้าของตนโดนทำร้าย ทำให้เกิดศึกย่อยๆที่ประตูเสวียนอู่ แต่เมื่อ ยีว์ชื่อจิงเต๋อ นำหัวของทั้งคู่มาแสดง ก็ทำให้ทหารของฝ่ายหลี่เจี้ยนเฉิง กับหลี่หยวนจี๋ แตกกระจัดกระจาย

สังหารต่อ
ฮ่องเต้ถังเกาจู่ ทราบข่าว ก็เรียกเหล่าขุนนางเข้าประชุม เหล่าขุนนางเห็นว่า ทั้งคู่คบชู้เป็นเรื่องที่สมควรอยู่แล้ว บวกกับ คิดก่อการกบฎด้วย ทำให้ ฮ่องเต้ถังเกาจู่ ตัดสินใจยกตำแหน่งรัชทายาท(ไทจ์้อ) ให้ หลี่ซื่อ หมิน  หลี่ซื่อหมินเมื่อได้รับยศก็สั่งถอดยศ หลี่เจี้ยนเฉิง และ หลี่หยวนจี๋ นอกจากนี้ยังสั่งสังหาร บุตรชายของทั้งสอง (หลาน) รวม 10 คน อีกด้วย

2 เดือนหลังจากนั้น ฮ่องเต้ถังเกาจง สละราชสมบัติ ให้ หลี่ซื่อหมิน จึงขึ้นเป็นฮ่องเต้ และเปลี่ยนชื่อเป็น ฮ่องเต้ ถังไท่จง

ในยุคสมัยของถังไท่จงนั้นประเทศ เจริญขึ้นในทุกด้าน นอกจากนี้เขายังเป็นคนสนับสนุน พระถังซำจั๋งเดินทางไปอินเดียอีกด้วย

ตำนาน เทพผู้คุ้มครองประตู
ขณะที่ ลูกน้องของฮ่องเต้ถังไท่จง คือ ฉินฉง กับ เว่ยฉือจิ้งเต๋อ ที่กลายเป็น 'เทพผู้คุ้มครองประตู (门神)' สำหรับชาวจีนไปในที่สุด

ในประเทศจีน มีคติของการทำรูปเทพผู้คุ้งคองประตูเกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ถัง ในรัชสมัยของฮ่องเต้ถังไทจง ตามที่มีตำนานกล่าวว่า ฮ่องเต้ถังไทจง ทรงเป็นกษัตริย์ที่สามารถรวบรวมเมืองน้อยใหญ่เข้ามาอยู่ใต้อำนาจได้ ทำสงครามมีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก

วันหนึ่ง ฮ่องเต้ถังไทจง ประชวรอยู่ในห้องบรรทม พอตกกลางคืนก็ได้ยินเสียงภูตผีปีศาจที่ถูกฆ่าตายในสงคราม รวมถึง พี่ชายและน้องชาย  มาทวงเอาชีวิต ฮ่องเต้ถังไทจงจึงเรียกบรรดาขุนนางชั้นผู้ใหญ่มาเข้าเฝ้า พร้อมทั้งเล่าเรื่องปีศาจที่มารังควานให้ฟัง

มีทหารเอกสองคน ของพระองค์ ชื่อ ฉินฉง กับ เว่ยฉือจิ้งเต๋อ รับอาสาจะมาเฝ้าอารักขา ประตู ทั้งสองฟากของประตูหน้าห้องบรรทม

ผลปรากฏว่า ปีศาจไม่กล้ามารบกวนอีกเลย ทั้งสองคนเฝ้าอยู่หลายวัน จนฮ่องเต้ถังไทจงเห็นว่า จะเป็นการลำบาก ที่จะให้ทหารเอกของพระองค์มาทนตรากตรำอยู่ทุกคืน จึงรับสั่งให้ช่างเขียนภาพ มาวาดภาพทหารทั้งสองในเครื่องแบบนักรบพร้อมอาวุธไว้ที่บานประตูข้างละบาน จึงเรียกว่า "มึ้งซิน" หรือ "ทวารบาล" ตั้งแต่นั้นมา ปีศาจก็ไม่มารบกวนอีก

เทพทวารบาลจากจีน บางคนจะเรียกว่า “เซี่ยวกาง” ซึ่งเป็นคำพ้องเสียงใน ภาษาจีนว่า “เซ่า กัง” แปลว่า “การยืน เฝ้ายาม” ในขณะที่ ชาวจีน บางส่วนจะนิยมเรียกว่า “หมึ่งซิ้ง” ที่แปลว่า “เทพประตู” เป็นการให้ให้เกียรติและยกย่องในฐานะเทพผู้ช่วยคุ้มครองป้องกันภัย

ฉินฉง และเว่ยฉืเจิ้งเต่อ
ฉินฉง หรือ เฉินซู่เป่า(秦叔宝) นั้นเดิมเป็นขุนพลของฝ่ายตรงข้าม คือ หวังซ์่อชง หัวหน้ากบฎอีกก๊กหนึ่ง โดยฉินกงนั้น มีฝึมือในการรบอย่างมาก ถึงกับเคยชนะ หลี่ซื่อหมิน ทำให้หลี่ซื่อหมินนั้น นับถือ ฉินกง แต่ต่อมาก๊กของ หวังซื่อชง แตก ทำให้ หลี่ซื่อหมิน ชักชวนเขาเข้ามาเป็นพวก กล่าวกันว่า แม้หลี่ซื่อหมินจะกลายเป็น ฮ่องเต้ แล้ว เขาก็ยังนับถือ ฉินกง เสมื่อนพี่น้องเลยทีเดียว

ส่วน เว่ยฉือเจิ้งเต่อ (尉迟敬德) นั้น เป็นขุนพลของหลี่ซื่อหมิน ตั้งแต่เริ่มต้น และเป็นผู้สังหารน้องชายของหลี่ซื่อหมิน

วิธีสังเกตว่า ประตูไหนใครเฝ้า คือ ฉินกง จะหน้าขาวเรียว อ่อนวัยกว่า และถือกระบี่ ส่วน  เว่ยฉือเจิ้งเต่อ ที่หน้าดำ อายุเยอะ และถือกระบองเหล็ก หรือ แส้ชวนเปียน (แปลว่า แส้เหล็ก) ว่ากันว่า เป็นอาวุธพระราชทาน ที่ไ้ดรับจากฮ่องเต้ถังไท่จง ให้สามารถลงโทษได้ทุกคน เล่ากันว่า ครั้งหนึ่ง ฮ่องเต้ถังเกาจง ลูกของ ถังไท่จง ขึ้นครองราชย์ แต่ ขุนพลผู้เก่งกล้าอย่าง ซิยิ่นกุ้ย ถูกใส่ร้ายป้ายสี ทำให้ ขุนพลเฒ่า อย่าง เว่ยฉือเจิ้งเต่อ ทนไม่ไหว ขอเข้าเฝ้าพร้อมพกแส้ชวนเปียน มาฟาดฮ่องเต้ จนแส้ชวนเปียนหักคามือ  จากนั้นท่านเอาศรีษะโขกเสาต่อ ฮ่องเต้ถังเกาจง จึงได้สติ ท่าน ซิยิ่นกุ้ยจึงรอดพ้นเคราะห์

ทำให้ชาวจีนชอบนำรูปเทพเจ้าประตูมาปิดหน้าประตู โดยเชื่อกันว่า เป็นกุศโลบายของชาวจีน  คอยเตือนสติผู้คน เมื่อยามก่อนก้าวเท้าออกจากบ้าน และ ก่อนกลับเข้าบ้านว่า “กลางวันไม่เคยทำอะไรผิด กลางคืนไม่ต้องกลัวผีสางมาเคาะประตู”

ถ้าชอบ อย่าลืมกดไลค์ กดแชร์ กด Subscribe ให้ด้วยนะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น