วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2565

เทศกาลจีน : เทศกาล ตรุษจีน(春节)

เทศกาล ตรุษจีน เทศกาล ตรุษจีน (春节) หรือ ภาษาจีนกลางเรียก เทศกาล ชุ่นเจี๋ย แปลว่า เทศกาล ฤดูใบไม้ผลิ เพราะ ฤดูใบไม้ผลิ ตามปฎิทินจีนแล้ว จะเริ่มต้นที่วัน ลีชุน ซึ่งเป็นวันแรกในทางสุริยคดติของปีปฎิทินจีน และยังหมายถึง วันสิ้นสุดฤดูหนาวอีกด้วย โดยคนจีนจะถือหลักว่า ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่จะกำจัดสิ่งเก่า รับสิ่งใหม่ เข้ามา

(ในอดีต ฤดูหนาว คือ คนจะเก็บตัวอยู่ในบ้าน เงียบเหงา ดังนั้น เมื่อสิ้นสุดฤดูหนาวและเข้าสู่ ฤดูใบไม้ผลิ จะหมายถึง การเริ่มต้นการทำงาน และเริ่มต้นเพาะปลูกได้ และหมายถึง ความรื่นเริง ได้เริ่มต้นขึ้นอีกแล้ว ซึ่งแนวคิดนี้เหมือนกับชาวตะวันตกเช่นกัน) โดยในปฎิทินของจีน จะเป็นวันที่ 1 เดือน 1 ยาวไปจนถึง วันที่ 15 (ยึดถือ 15 วันตามปีจันทรคติ) ถือว่า เป็นเทศกาลที่มีมายาวนานหลายศตวรรษ แล้ว บางคนบอกว่า ยาวนานกว่า 4000 ปีเลยทีเดียว ที่ประเทศจีน คืนก่อนวันตรุษจีน 1 วัน จะเป็นการรวมญาติสนิทมิตรสหาย หรือ ฉูซี่ ( 除夕) 

ส่วนประเพณีในประเทศไทย จะมีเพียง 3 วัน คือ วันไหว้ วันจ่าย และวันเที่ยว 

วันจ่าย หรือ วัน "ตือเส็ก"  หรือ  วันก่อนจะวันสิ้นปี   จะเป็นวันที่ชาวไทยเชื้อสายจีน จะออกจากบ้านไปซื้อของเซ่นไหว้ และผลไม้ต่างๆ โดยจะเป็นการจุดธูปอัญเชิญเจ้าที่ (ตี่จู่เอี๊ยะ) ให้ลงจากสวรรค์ เพื่อมารับการสักการบูชา หลังจากที่ 4 วันก่อนหน้านี้ ได้ไหว้อัญเชิญขึ้นสวรรค์ไปก่อนแล้ว แต่ความจริงแล้ว เจ้าที่ไม่ได้ไปไหน แต่มีเฉพาะ เจ้าซิ้ง (
เทพเจ้าเตาไฟ)  เท่านั้นที่ขึ้นสวรรค์


วันไหว้  
เช้ามืด  จะเริ่มต้น ไหว้ "ป้ายเล่าเอี๊ย"(拜老爺 / 拜老爷)
ตอนสาย  (ไม่เกินเที่ยง) จะไหว้ ป้ายแป๋บ้อ (拜父母) 
หรือ บรรพบุรุษที่เสียชีวิตไปแล้ว 
ตอนบ่าย  จะไหว้ "ป้ายฮ่อเฮียตี๋"(拜好兄弟)

ตกกลางคืน จะเป็นคืนก่อนวันปีใหม่  ญาติสนิทมิตรสหาย จะมารวมตัวกันทานอาหารร่วมกัน โดยในมื้อดังกล่าว ควรมี เกี๊ยว ด้วย เพราะเกี๊ยว ลักษณะเหมือนทองโบราณของจีนนั่นเอง 

ช่วงสาย - กลางคืน ของวันสิ้นปีนี้เอง ที่เหล่าญาติจะมารวมตัวกัน และแจกจ่าย"อังเปา" ให้แก่กัน

วันเที่ยว จะถือเป็นวันขึ้นปีใหม่  หรือวันที่ 1 ของปี (ชิวอิก)  โดยคนจีนจะปฎิบัติคือ การป้ายเจีย การไหว้ขอพร และอวยพรจากญาติผู้ใหญ่ และผู้ที่เคารพ โดยจะนำส้มสีทอง 4 ผล ไปมอบให้ (ส้มจะออกเสียงว่า กิก ที่พ้องเสียงกับคำว่า ความสุข หรือโชคลาภ 吉 
ขณะที่ ฮกเกี้ยน จะออกเสียงส้มว่า ก้าม ที่พ้องเสียงกับคำว่าทอง ส่วนที่ต้อง 4 ผล เพราะเสมือนโชคลาภ   ประกอบกัน 4 ตัวกลายเป็น 𡅕 )

วันเที่ยวนี้ คนจีนจะงดทำบาป ไม่พูดจาไม่ดีต่อกัน ไม่ทวงหนี้กัน ไม่จับไม้กวาด ไม่ทำงานหนัก และจะต้องแต่งกายด้วยเสื้อผ้าใหม่ ออกเยี่ยม และอวยพร นอกบ้าน

อั่งเปา
อั่งเปา" 红包 เป็นสำเนียงแต้จิ๋ว จีนกลางออกเสียงว่า "หงเปา" แปลตรงตัวว่า "ซองแดง" แต่ในความเป็นจริง ยุคโบราณของจีนมีการแจกเงินเด็ก ๆ ในบ้านช่วงตรุษจีนเหมือนกัน แต่เป็นรูปแบบของ "เหรียญ" ที่ร้อยต่อกันมาเป็นพวง มีชื่อเรียกว่า "ยาซุ่ยเฉียน" 压岁钱 แปลตรงตัวเลยคือ "เงิน กด อายุ" มาจากแนวความคิดหลายสาย ดังนี้ ตำนานบทหนึ่งเล่าว่าเป็นเงิน "ติดสินบน" ปีศาจ (สิ่งชั่วร้าย) ที่ชื่อว่า "ซุ่ย" 祟 เป็นอักษรที่พ้องเสียงกับคำว่า "ซุ่ย" 岁 ที่แปลว่าอายุ นึกภาพว่าในยุคโบราณ การแพทย์และยารักษาโรคยังไม่พัฒนาขนาดนี้ สิ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครองกลัวที่สุดคือ ลูกเจ็บป่วย ซึ่งก็เชื่อว่าเกิดจากการกระทำของสิ่งชั่วร้าย การให้เงินและตั้งชื่อว่า "เงิน กด ปีศาจ" จึงเป็นการแก้เคล็ด อีกตำนาน คำว่า "ยาซุ่ยเฉียน" 压岁钱 หรือ "เงิน กด อายุ" คือเป็นการกดอายุเอาไว้ไม่ให้ขยับไปไหน หมายความว่าอายุจะได้ยืนยาวขึ้น แม้ว่ากาลเวลาจะเปลี่ยนแปลงไปอีกหนึ่งปี แล้วมาจนถึงยุคปัจจุบัน ใครควรจะได้รับ "อั่งเปา" หรือ "เงินกดอายุ" กันบ้าง? เรื่องนี้คนจีนเขาก็สงสัย และมีการรวบรวมเอาไว้ ดังนี้ (แต่ละบ้านคงจะคิดไม่เหมือนกัน) 1.ผู้อาวุโสน้อยที่ยังไม่แต่งงาน 2.เด็กในบ้านที่ยังเรียนหนังสืออยู่ ส่วนคนที่ควรจะแจกอั่งเปาคือ 1.รุ่นพ่อแม่ ลุงป้าน้าอา 2.รุ่นปู่ย่า ตายาย 3.รุ่นลูกหลาน แต่ทำงานแล้ว สิ่งที่ชาวจีนถือมากคือ ควรให้สองมือ และ รับสองมือ อีกทั้งไม่ควรแกะซองต่อหน้าผู้ให้ 新正如意 新年發財 / การอวยพร จะประมาณนี้ครับ 新正如意 新年发财 แต้จิ๋ว: ซิงเจี่ยยู้อี่ซิงนี้หวกไช้ จีนกลาง: ซินเจิ้งหรูอี้ ซินเหนียนฟาฉาย ฮกเกี้ยน : ซินเจี่ยหยู่อี่ ซินนี่ฮวดจ๋าย จีนแคะ : ซินจึ้นหยู่อี๋ ซินเหนี่ยนฟั่ดโฉ่ย กวางตุ้ง : ซันจิงจู๋จี่ ซันหนินฟัดฉ่อย #แปลว่า : ขอให้ประสบโชคดี ขอให้มั่งมีปีใหม่

วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2565

!จีน(731-812) ซุนหงอคง ตัวจริง ผู้หลบหนีจากอัฟกันนิสถาน

พระอาจารย์เซน อู้คง 悟空禅师  หรือ อู้คงไฉซี ค.ศ. 731 - 812

ก่อนอื่นออกตัวก่อนว่า ผมแปลบางส่วนมากจาก ภาษาจีน และภาษาอังกฤษ ด้วยตัวเอง ดังนั้น อาจมีผิดพลาดบ้าง

เป็นที่เชื่อกันว่า ในวรรณกรรมเรื่องไซอิ๋ว นั้น ได้รับแรงบันดาลใจจากเรื่องจริงจากการเดินทางของ พระเสวียนจั๋ง หรือ พระถังซำจั๋ง ที่เดินทางไปอัญเชิญพระไตรปิฎก  ส่วน ตือโป๊ยก่าย หรือจูปาเจี๊ย  นั้น ได้รับแรงบันดาลใจจาก นักบวชในพุทธศาสนาชาวจีนคนแรก ที่บวชเรียน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 250  ซึ่งผมเล่าไปแล้วในคลิปเก่านะครับ ถ้าใครยังไม่ได้ดูก็ย้อนกลับไปดูได้นะครับ ผมจะทิ้งลิงค์ไว้ท้ายคลิปนะครับ 

ส่วน ซุนหงอคง นั้นเชื่อกันว่า อู๋เฉิงเอิน ผู้แต่งเรื่องไซอิ๋ว  น่าจะอ้างอิงจาก พระอาจารย์ เซนอู้คง หรือ อู้คงไฉซี  เพราะชื่อ อู้คง ก็มาจากชื่อของท่านพระอาจารย์นั่นเอง โดยทั้งพระอาจารย์เซนอู้คง และ พระถังซำจั๋งนั้น จะใช้เส้นทางเดินทางเช่นเดียวกัน แต่เป็นช่วงห่างกันประมาณ 100 ปี

ความจริงแล้ว มีพระที่ออกเดินทางไปตะวันตกมีมาแล้ว  3 ท่านที่มีชื่อเสียง คือ พระฝาเสี่ยน 法显 ออกเดินทางในปี ค.ศ.399 พระถังซำจั๋ง ปี ค.ศ. 627 (หรือสมัย ถังไท่จง)  และ พระอี้จิง ในปีค.ศ.  672 (ยุคสมัย     ของบู๊เช็กเทียน)

ขณะที่ พระถังซำจั๋ง ตัวจริง นั้น เป็นคนยุคต้นราชวงศ์ถัง คือ บวชเรียนตั้งแต่เด็ก และออกเดินทางไปช่วงฮ่องเต้ ถังไท่จง   และเดินทางจากเมืองหลวง คือ ฉางอัน ปัจจุบันคือ ซีอัน  เดินทางอ้อมไปอัฟกันนิสถาน แล้วเดินทางต่อไปศึกษาที่ มหาวิทยาลัยนาลันทา  แคว้นมคธ ประเทศอินเดีย

แต่พระอาจารย์อู้คง เป็นคนปลายยุคราชวงศ์ถัง คือออกเดินทางในยุคสมัยของฮ่องเต้ ถังเสวียนจง จากฉางอันเช่นกัน แต่เดินทางไปเพียงบวช และ ศึกษาที่แคว้นคันธาระ ประเทศอัฟกันนิสถานแทน แม้ว่า พระอาจารย์ทั้งสองท่าน ต้องเดินทางไปตะวันตก และอัญเชิญพระคัมภีร์กลับมาที่ประเทศจีน รวมถึงเมื่อกลับมาแล้วก็แปลคัมภีร์ต่างๆ เป็นภาษาจีน เช่นก็ตาม

โดยที่ความจริงแล้ว ตือโป๊ยก่าย หรือ จูปาเจี๊ย ได้เดินทางไปตะวันตก แต่ไปถึงแค่มณฑล ซินเจียง ในปี 260 ก่อนพระฝาเสี่ยน ด้วยซ้ำ และยังได้อัญเชิญคัมภีร์มาเช่นกัน

ที่มา

เริ่มต้นนั้น พระอาจารย์เซนอู้คง เดิมชื่อ เชอ เฟิ่งเจ่า สมัยเด็กได้รับเการอบรมให้ศรัทธาในแนวทางของขงจื้อ และได้รับการฝึกฝนการต่อสู้ตั้งแต่ยังเด็ก แต่เขาก็มียศเพียงนายทหารชั้นผู้น้อยเท่านั้น 

ปี 750
เรื่องราวเริ่มต้นในในปี ค.ศ. 750 ชาว จี้บิ่นกว๋อ   ผมก็ไม่แน่ใจนะครับว่า ออกเสียง จี้บิ่น ในตำราจีนถูกต้องหรือไม่ แต่ชาว จี้บิ่น นั้นตำราจีน จะเหมารวม ชนเผ่าโบราณที่อาศัยอยู่ลุ่มแม่น้ำคาบูล ประเทศ อัฟกันนิสถาน ในปัจจุบัน ตรงนี้ ตัวผมก็ไม่แน่ใจเรื่อง ชนชาติ จี้บิ่น เหมือนกันนะครับ แต่เอาเป็นว่า ตำราส่วนใหญ่แปลเป็นไทย จะแปล เป็น ชาวแคว้นคันธาระ )  โดยชาวแคว้นคันธาระ ได้ส่งคณะฑูตเดินทางมาเจริญสัมพันธไมตรี กับ  ฮ่องเต้ถังเสวียนจง ที่เมืองฉางอัน หรือ ซีอันในปัจจุบัน  

ทำให้ปีถัดมา  ฮ่องเต้ถังเสวียนจง จึงจัดส่งคณะฑูตประมาณ 40 คนเดินทางไปเยือน แคว้นคันธาระ เช่นกัน (บางตำราว่า ฮ่องเต้ถังเสวียนจง ส่งกองคาราวานเดินทางไปส่งคณะฑูตจาก แคว้นคันธาระกลับมาตุภูมิ)  โดยหนึ่งในคณะที่เดินทางไป คือ นายทหารชั้นผู้น้อย นาม  เชอ เฟิ่งเจ่า  จนถึงช่วงฤดูหนาวในปี คริสตศักราชที่  753  คณะฑูตก็เดินทางมาถึง แคว้นคันธาระ  (บางคนเรียกเป็นแคว้น บางคนว่าเป็นประเทศ เพราะมีระบบกษัตริย์ปกครองอยู่ ทำให้หลายคนก็สับสนว่าจะเรียกเป็นอะไรดี ในที่นี้ของเรียกเหมือนคนส่วนใหญ่คือ แคว้นคันธาระนะครับ  โดยปัจจุบัน แคว้นคันธาระ  ตั้งอยู่ระหว่าง หุบเขา เปศ วาร์  ชายแดนของประเทศปากีสถาน และเทือกเขาสุไลมาน ชายแดนของประเทศอัฟกันนิสถาน ) โดยคณะฑูตทั้งหมดก็ได้เข้าพบผู้ครองเมืองของที่นั่น

แคว้นคันธาระ 
ขออธิบาย เรื่อง แคว้นคันธาระ หรือ ประเทศ คันธาระ ก่อนนะครับ   ยุคก่อนที่  ท่าน เชอ เฟิ่งเจ่า จะเดินทางไปนั้น คือ ยุคที่ชาวตีเถียน  โดยราชวงศ์กุษาณะ เป็นผู้ปกครองแคว้นคันธาระ  ประมาณคริสตศควรรษที่ 3-5  นั้นถือเป็นยุคเฟื่องฟูสุดขีดของศาสนาพุทธ และฮินดู ในย่านนั้น เนื่องจาก ราชวงศ์กุษาณะ นั้นทรงสนับสนุนพระพุทธศาสนา นิกายมหายาน อย่างจริงจัง และพยายามส่งคณะฑูตไปเผยแพร่ศาสนาพุทธนิกายมหายานไปยัง ธิเบตและจีน นอกจากนี้ แคว้นคันธาระ ยังมีการสร้างพระพุทธรูป ที่เป็นวัฒนธรรมผสมระหว่าง กรีกกับอินเดีย เป็นครั้งแรกอีกด้วย

ปัจจุบัน ยังมีหลักฐานทั้งพระพุทธรูป และ คัมภีร์โบราณต่างๆ ที่เขียนโดย พระอรหันต์ที่นำพุทธศาสนาไปเผยแพร่ในแคว้นคันธาระจำนวนมาก โดยเป็นคัมภีร์โบราณอายุกว่า 2,000 ปี ที่เก็บไว้ในถ้ำก่อนที่ พวกตอลีบันจะมาทำลายในปี คริสตศักกราชที่ 2001  อย่างไรก็ดี ยังมีคัมภีร์โบราณ และบทสวดมนตร์โบราณ บางส่วนยังคงเก็บไว้ใน พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เมืองคาบูล ประเทศอัฟกันนิสถานในปัจจุบัน โดยบางส่วน รรัฐบาลนอร์เวย์ได้รับซื้อไว้ และนำมาบริจาคให้ประเทศไทย โดยตั้งไว้ให้ศึกษาที่ ภูเขาทอง วัดสระเกศ ก็อย่างลืมไปท่องเที่ยวและชมคัมภีร์อายุกว่า 2000 ปีกันนะครับ  

นอกจากนี้ยังมีหลักฐาน เป็นบันทึกของพระเสวียนจั๋ง หรือพระถังซำจั๋ง ที่ระบุว่า ได้เดินทางผ่านเส้นทางสายไหม และได้พบกับพระพุทธรูปแห่งเมืองบามิยัน โดยระบุว่า มีขนาดสูงกว่า พันเชียะ หรือ  300 เมตรเลยทีเดียว แต่น่าเสียดายที่พระพุทธรูปนี้ โดน ตอลีบันทำลายในปี 2001 เช่นกัน โดยภายในวัดสระเกศ ก็มีแบบจำลองพระพุทธรูปแบบบามิยัน อีกด้วย อย่าลืมไปเที่ยวกัน

ย้อนกลับมาเรื่องของ เชอ เฟิ่งเจาว
ล่วงเลยมาถึงปี ค.ศ. 757 ปีเดียวกันกับที่ราชวงศ์ถังสามารถปราบ กบฎอั่นลูซ่าน ได้สำเร็จ คณะฑูตก็ถึงกำหนดการที่จะต้องเดินทางกลับประเทศจีน   แต่ เชอ เฟิ่งเจ่าว กลับล้มป่วยอย่างหนักทำให้ไม่สามารถเดินทางกลับประเทศจีนพร้อมคณะฑูตได้ การล้มป่วยอย่างหนักของท่าน ทำให้ท่านได้ตัี้งอธิษฐานจิตว่า หากท่านหายป่วย จะขอบวชเป็นพระในพุทธศาสนา   เมื่อท่านหายป่วย จึงได้ปลงผมออกบวชตามคำอธิษฐานในปีนั้นเอง

ใน แคว้นคันธาระ ยุคที่ท่านได้บวชเรียนนั้น จะมีเมืองหลวงคือ เมืองเปชะวาร์  เมืองคาบูล  เมืองบาบิยัน และมีเมือง ตักสิลา ที่ถือเป็นจุดศูนย์รวมศาสนาพุทธแห่งยุคนั้น  ทำให้ท่านได้ศึกษาพระไตรปิฎก อย่างแตกฉาน  และได้พบกับเหล่าพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงของศาสนาพุทธจำนวนมากในยุคนั้นที่มักจะมารวมตัวกันที่นี่ นอกจากนี้ ท่านยังศึกษาพระคัมภีร์อย่างจริงจังจนต้องหันมาศึกษาภาษาสันสกฤต เพิ่มเติมอีกด้วย 

แต่ช่วงปี คริตศักราชที่ 650-700 นั้น ถือเป็นช่วงที่ศาสนาอิสลามเริ่มแผ่ขยายอิทธิพล ไปทั่วทั้งย่านนั้น  อันเนื่องมาจาก พระนบีมูฮะหมัด พระศาสดาของศาสนาอิสลามเสียขีวิตลง ในปี คริสตศักราชที่ 632  ทำให้เหล่า กาหลิบ ต้องการก่อตั้งประเทศอาหรับให้เป็นหนึ่งเดียวทั่วโลก เพื่อเผยแพร่ศาสนาอิสลาม ออกไป โดยเริ่มต้นที่ การพิชิตเปอร์เซีย หรือซีเรีย อิหร่าน ของอิสลามได้สำเร็จในช่วงทศวรรษที่ 650  ถือเป็นจุดเริ่มต้นการเผยแพร่ของศาสนาอิสลามอย่างจริงจัง และถือเป็นจุดสิ้นสุดของศาสนาโซโรอัสเตอร์ ในเปอร์เซีย จนหมดสิ้น  ก่อนที่จะขยายอิทธิพลเข้าสู่อิรัก หรือเมโสโปรเตเมีย  จุดนี้ นักประวัติศาสตร์ชาวอิสลามมักจะโต้แย้งว่า ประเทศต่างๆ ต่างหันมาเลื่อมใส ศาสนาอิสลามแบบค่อยเป็นค่อยไปมากกว่าการใช้กำลังทางทหาร แต่ความเป็นจริง คือเป็นแบบผสมผสาน 

ศาสนาอิสลาม ก็รุกรานมาเรื่อยมาจนถึงเทือกเขา  ฮินดู Kush  ที่ปัจจุบันคือ  อัฟกันนิสถานทางตอนใต้ ในปัจจุบัน  โดยมีหลักฐานว่า  ศาสนาอิสลาม ก็ได้รับความนิยมในหมู่ชนชั้นสูงในย่านนั้นด้วย เช่น เรื่องการยกเลิกโรงน้ำชา โรงผลิตเหล้าา   แต่ถึงตรงนี้ มีหลักฐานว่า ผู้ปกครองชาวอิสลาม เริ่มเก็บภาษีชาวพุทธ และเกษตรกรอย่างหนัก   ทำให้ สถานการณ์ของชาวพุทธย่านนั้นเริ่มเข้าขั้นวิกฤติ  ชาวพุทธจึงได้ทยอยอพยพออกจาก แคว้นคันธาระ มุ่งหน้าเข้าสู่ประเทศอินเดีย เพื่อหนีภัยจากการรุกรานของศาสนาอิสลาม   โดยเรื่องการรุกรานของอิสลาม มีระบุในบันทึกของ พระอี้จิง ที่เดินทางไปอินเดียก่อน เชอ เฟิ่งเจ่าว ประมาณ 50 ปีด้วย 

กบฎอั่นลู่ซาน 
ย้อนกลับไปไม่กี่ปีก่อน เรื่อง กบฎอั่นลู่ซาน นั้นเกิดจาก อั่นลู่ซาน ขุนพลนอกด่าน ในรัชสมัยฮ่องเต้ ถังเสวียนจง ในตอนท้าย กบฎสามารถยึดเมืองหลวง คือ เมือง ฉางอัน ได้  ฮ่องเต้ถังเสวียนจง ต้องอพยพหนีลงใต้ พร้อมกับส่งมอบตำแหน่งฮ่องเต้ให้กับ บุตรชาย คือ ถังซู่จง  แต่แล้วโชคก็เข้าข้าง กลุ่มกบฎอั่นลู่ซานนั้นเกิดแตกคอกันเอง 

ทำให้ ถังซุ่จง ขอยืมทหารจากชนเผ่า ทูเจี๊ย และ อูยกูร์ นำทหารเดินทางไกลมาปราบกบฎ ที่เมืองหลวง  ทำให้สามารถ ยึดเมืองหลวงกลับคืนได้เป็นผลสำเร็จในปี ค.ศ. 763 

แต่ นักประวัติศาสตร์มองว่า การที่ชาวทูเจี๊ยะ และชาวอูยกูร์ ยกทัพมาช่วย ราชวงศ์ถัง ในครั้งนั้น ทำให้กองทัพอาหรับ สามารถส่งผ่านอิทธิพลของศาสนาอิสลาม เข้ามาที่ย่านนั้นได้อย่างง่ายดายและถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของศาสนาในย่านนั้นเลยทีเดียว 

อย่างไรก็ดี  ช่วงนั้น ชาวอินโด อารยัน หรือ ชาวเอเชียกลางที่อพยพเข้ามาประชิดอินเดีย และเริ่มขับไล่ ชนพื้นเมืองอินเดีย หรือ ชาวดาวิเดียน ให้ลงใต้ หรือจับไปเป็นทาส 

ขณะที่ เชอ เฟิ่งเจาว ท่านพำนักอยู่ที่อินเดีย ท่านในฐานะ อดีตทหารของราชวงศ์ถัง ได้ส่งสาสน์ขอความช่วยเหลืออย่างเป็นทางการไปยัง ราชวงศ์ถัง ให้ส่งทหารมาคุ้มครองพาท่านกลับสู่มาตุภูมิ ตอนนี้แม้จะมีการส่งกองคาราวานจากราชวงศ์ถัง เดินทางมาช่วยคุ้มครอง แต่กองคาราวานก็เดินทางกลับด้วยเส้นทางเดิมที่ท่านเดินทางมา ทำให้เกิดความยากลำบาก เพราะ ท่านจะต้องเดินผ่านไปยังเทือกเขา ฮินดู กูช และผ่านภูเขาน้ำแข็งที่ไม่เคยละลาย 

แต่เมื่อท่านเดินทางมาถึง ทางตอนใต้ของซินเจียง แม้ว่าตอนนั้น กบฎอั่นลู่ซานจะจบไปแล้วก็ตาม แต่ทหารชายแดนของราชวงศ์ถัง ยังได้รับคำสั่งไม่ให้เปิดด่านรับบุคคลภายนอกที่ถือว่าเป็นบุคคลอันตราย

บางตำราระบุว่า ผู้ปกครองซินเจียง ยุคนั้นได้กักตัวพระอาจารย์ไว้ที่นั่นเป็นเวลาหลายปี  เพื่อให้เผยแพร่ศาสนาพุทธ โดยยังมีหลักฐานเป็น วัดพุทธขนาดใหญ่ที่สุดในซินเจียง เป็นหลักฐานว่า ท่านได้พำนักที่นั่นจริง ต่อมาก็เดินทางเส้นทางนั้นกลับมาเลย 

แต่บางตำรา กลับระบุว่า  การที่ท่านกลับเข้าด่านซินเจียงไม่สำเร็จ ทำให้ต้องเดินทางย้อนกลับอ้อมไปเข้าด้านทะเลทรายแทน  ซึ่งเป็นเส้นทางสายไหมดั้งเดิม เฉกเช่นนักเดินทางทั่วไป แต่การเมืองภูมิภาคในยุคนั้นอันตรายและอ่อนไหวอย่างมาก จนในที่สุด ท่านก็เดินทางมาถึงเมือง ยู่เถียน ทำให้ท่านสามารถเข้าด่านและตรวจเอกสารได้เป็นผลสำเร็จ 

ที่สำคัญคือ ท่านได้หอบเอาพระคัมภีร์โบราณกลับมาด้วยจำนวนมาก เช่น ทศภูมิกศาสตร์ (หรือคัมภีร์ 10 แผ่นดิน) คัมภีร์ทศพิศราชธรรม (หรือคัมภีร์ 10 อำนาจ)  และคัมภีร์กงเกวียน (คัมภีร์ล้อหมุน) ชื่อคัมภีร์หากแปลผิดต้องขออภัย   รวมถึง พระธาตุ ของพระพุทธเจ้ามาด้วย  จนกระทั่งเดินทางมาถึง ฉางอัน เมืองหลวงของราชวงศ์ถังในปี ค.ศ. 790 ในยุคสมัยของฮ่องเต้ ถังเสียนจง ครั้งนั้น ที่ชื่อเสียงของท่านขจรขจายไปไกล จนท่านได้รับฉายาว่า พระอาจารย์เซนอู้คง ( 悟空禅师) หรือ อู้คงไฉซี

หลังจากกลับมาท่านพักอาศัยอยู่ที่วัด จางจิง เมืองฉางอัน  จนช่วงท้ายของชีวิต ท่านก็ย้ายมาพำนักที่วัด ฉางฮันฮูฟา ที่มณฑลซ่านซี  แล้ว วันที่ 13 สิงหาคม ปี ค.ศ. 812 ท่านก็มรณภาพที่วัด ฉางฮัน ฮูฟา โดยมีการสร้างพระเจดีย์เพื่อเก็บอัฐิ ของท่านไว้ที่ยอดเขา  ที่ยังคงอยู่ตราบจนทุกวันนี้

ขอเปรียบเทียบตัวจริง กับ ตัวในนิยาย
ในนิยาย ไซอิ๋ว หรือ การเดินทางสู่ตะวันตก ของอู่เฉิงอัน นั้น แม้จะเป็นนิยายที่เน้นปรัชญาด้านศาสนาพุทธอย่างลึกซึ้ง แต่วรรณกรรมกลับผสมผสานตัวละครของ ลัทธิเต๋า ลงไปด้วย แต่ พระอาจารย์เซนอู้คงนั้น เป็นชาวพุทธอย่างแท้จริง โดยไม่มีความเชื่อในลัทธิเต๋าเลย 

ส่วนความเหมือนในนิยายคือ คือ หงอคง นั้น เริ่มต้น เง็กเซียนฮ่องเต้ ก็ให้ตำแหน่งเพียงนายทหารที่คอยให้อาหารม้าเท่านั้น ขณะที่ ฮ่องเต้ถังเสวียนจง ก็ให้ตำแหน่ง แก่ เฟิ่งเจ่าว เพียงทหารชั้นผู้น้อยที่คอยอารักขาคณะฑูตเท่านั้น  

ขณะที่ พระถังซัมจั๋งนั้น ทั้งตัวจริงและในนิยายเดินทางไปตะวันตกเพื่อ พระไตรปิฎก แต่พระอาจารย์อู้คงนั้น ตอนเดินทางไปก็ไม่ได้คาดหวัง พระคัมภีร์ แต่อย่างใด แต่เมื่อออกเดินทางแล้ว กลับได้บวชเรียน และ ได้คัมภีร์อื่นกลับมาแทน เช่นเดียวกับในวรรณกรรม   แต่ทั้งอาจารย์และลูกศิษย์ในนิยายก็ได้เรียนภาษาสันสกต อย่างจริงจังทั้งคู่

อย่างน้อยภาษาอังกฤษของ Monkey Wukong ก็ใกล้เคียงกับ Monk Wukong 

เอาละครับ ก็จบกันไปนะครับ  ส่วนถ้าใครอยากตามเรื่อง ตัวจริง ตือโป๊ยก่าย ผมก็ทิ้งลิงค์ไว้ให้แล้วนะครับ

วันนี้ก็ขอจบแค่นี้ก่อน วันหลังมีเรื่องสนุกๆ จะมาเล่าให้ฟังใหม่นะครับ