ตี๋ เหรินเจี๋ย ( 狄仁傑 ค.ศ. 630 — 15 สิงหาคม ค.ศ. 700) หรือชื่อรองว่า ไหวฺอิง (懷英) เป็นอัครมหาเสนาบดีแห่งราชวงศ์ถัง ในรัชศก อู่เจ๋อเทียน (บูเช็กเทียน) เป็นข้าราชการหนึ่งในหลาย ๆ คนซึ่งได้รับการสรรเสริญมากที่สุดในรัชศกดังกล่าว และเป็นที่สดุดีว่ามีบทบาทผลักดันให้ อู่ เจ๋อเทียนเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบอันโหดร้ายเป็นระบอบอันเชิดชูคุณธรรม
เขาเกิดยุคสมัยเดียวกับที่พระถังซำจั๋งเดินทางไปอัญเชิญพระไตรปิฎก (เดินทางกลับมาในปี 645) และหลังตั๊กม้อ ประมาณ 100 ปี (520
ภูมิหลัง
ตี๋ เหรินเจี๋ยเกิดในตระกูลขุนนางจากเมืองไท่หยวน เมื่อ ค.ศ. 630 ในรัชศกถังไท่จง
ตี๋ เซี่ยวซู่ (狄孝緒) ผู้เป็นปู่ เคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการสำนักบริหาร (尚書左丞) ส่วน ตี๋ จือซุ่น (狄知遜) บิดา เคยเป็นผู้ว่าราชการเมืองกุ๋ยโจว (夔州) ซึ่งปัจจุบัน คือ ฉงชิ่ง
ในวัยเยาว์ ตี๋ เหรินเจี๋ยนั้นเป็นที่เลื่องลือในความใฝ่รู้ใฝ่เรียน หลังจากสอบได้เป็นจอหงวน เขาได้รับแต่งตั้งเป็นปลัดเมืองไคเฟิง มณฑลเหอหนัน และได้เลื่อนยศเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด
ไข่มุกจากริมสมุทร
ครั้งหนึ่ง เพื่อนร่วมงานของเขาได้ร้องเรียนเท็จต่อผู้บังคับบัญชาว่า เขาขาดคุณสมบัติเป็นข้าราชการ ประจวบกับที่ หยัน ลี่เปิ่น (閻立本) เสนาบดีกระทรวงสวัสดิการสาธารณะ ผ่านมาตรวจราชการในท้องที่นั้น และขึ้นพิจารณาข้อร้องเรียนดังกล่าว เมื่อ หยัน ลี่เปิ่น ได้พบตี๋ เหรินเจี๋ย ก็ประทับใจในบุคลิกลักษณะ และกล่าวว่า
"ขงจื่อ เคยกล่าวว่า 'อันความดีงามของบุคคลใดก็ดี ย่อมชี้วัดได้โดยความผิดพลาดของบุคคลนั้นเอง' ตัวท่านนี้อุปมาดังไข่มุกจากริมสมุทร แลขุมทรัพย์อันกู้ได้มาแต่แดนอาคเนย์ก็มิปาน"
หยัน ลี้เปิ่นได้สนับสนุนให้ตี๋ เหรินเจี๋ยเป็นเจ้าเมืองไคเฟิง ขณะปฏิบัติหน้าที่นั้น ตี๋ เหรินเจี๋ยเป็นที่เลื่องลือในด้านความเอาใจใส่ผู้ใต้บังคับบัญชาและราษฎร
เดินทางแทนเพื่อน
ครั้งหนึ่ง เจิ้ง ฉงจื้อ (鄭崇質) เพื่อนร่วมงานของเขา ได้รับคำสั่งให้ไปตรวจราชการในที่ห่างไกล ขณะนั้น เขาทราบว่า มารดาผู้ชราของเจิ้ง ฉงจื้อ กำลังเจ็บไข้ ก็รุดไปหา ลิ่น เหรินจือ (藺仁基) เลขาธิการสำนักบริหาร เพื่อร้องขอให้แต่งตั้งเขาไปตรวจราชการแทน ลิ่น เหรินจือประทับใจในตี๋ เหรินเจี๋ยเป็นอันมาก
ถึงกลับกล่าวว่า "ตี๋เหรินเจี๋ย คือ นักปราชญ์ของ Di Gong เพียงคนเดียวทางใต้ของ Beidou."
17000 คดี
ใน ค.ศ. 676 ตี๋ เหรินเจี๋ยได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการศาลสูงสุด (大理丞) ตี๋ เหรินเจี๋ยปฏิบัติหน้าที่ด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม และเป็นที่กล่าวขานว่า ระหว่างดำรงตำแหน่งดังกล่าว เขาได้พิพากษาคดีถึง 17000 คดี และไม่มีคู่ความไม่พอใจคำพิพากษาของเขาแม้แต่คนเดียว
ขุนนางทัดทาน
ในปีเดียวกันนั้น มีเหตุการณ์ซึ่ง นายพลฉวน ชั่นไฉ (權善才) และพลทหารฟั่น ไหวฺอี้ (范懷義) ทำลายหมู่ต้นไม้มงคลบนสุสานอดีตจักรพรรดิถังไท่จงไปโดยอุบัติเหตุ จักรพรรดิถังเกาจงทราบความแล้วก็โกรธ ให้ประหารชีวิตนายทหารทั้งสอง ตี๋ เหรินเจี๋ยจึงทูลว่า ตามกฎหมายแล้ว นายทหารทั้งคู่มีโทษไม่ถึงชีวิต เพียงไล่ออกเท่านั้น จักรพรรดิถังเกาจงทรงฟังแล้วก็โกรธ มีรับสั่งให้ทหารไล่ตี๋ เหรินเจี๋ยออกไปจากที่เฝ้า แต่ตี๋ เหรินเจี๋ยนั้นยังคงทูลทัดทานไม่ยอมหยุด จนจักรพรรดิถังเกาจงได้สติและเข้าพระราชหฤทัย ให้ไล่นายทหารทั้งสองออกตามกฎหมายแทน หลังจากนั้นไม่กี่วัน ก็โปรดให้ตี๋ เหรินเจี๋ยดำรงตำแหน่งขุนนางทัดทาน (御史)
ชี้แนะฮ่องเต้
ราว ๆ ค.ศ. 679 เหวย หงจือ (c=韋弘機) เสนาบดีเกษตราธิการ ได้สร้างพระที่นั่งสามหลังทางด้านตะวันออกของนครลั่วหยาง คือ พระที่นั่งซู่หยู่ (宿羽宮) พระที่นั่งเกาชัน (高山宮) และพระที่นั่งชั่งหยาง (上陽宮) ตี๋ เหรินเจี๋ยทูลว่า เหวย หงจือกำลังนำพาพระจักรพรรดิไปสู่ความสุรุ่ยสุร่ายอันเป็นบ่อเกิดแห่งหายนะ พระจักรพรรดิทรงก็เห็นด้วย ก็ไล่เหวย หงจือออกจากตำแหน่งทันที
มีคนให้ร้าย
ในปี 691 ตี๋เหรินเจี่ย ได้เลื่อนตำแหน่ง และได้รับรางวัลอีกครั้ง อู่เจ๋อเทียน (บู๊เช็กเทียน) ถามเขาว่า "ท่านเป็นคนที่มีประวัติการทำงานที่ดีเยี่ยมมาตลอด ท่านรู้หรือไม่ว่า มีคนให้ร้ายท่านมาตลอด?" เขาตอบกลับว่า "ถ้าข้าไม่ได้ทำผิด แต่ฮ่องเต้เข้าใจว่า ข้าทำผิด อันนั้น ถือเป็นโชคร้ายของข้า ถ้าข้าทำผิด แต่ฮ่องเต้เข้าใจว่าข้าไม่ผิด นั่นถือเป็นโชคของข้า ข้าไม่ต้องการรู้ว่า ใครคอยให้ร้ายข้า เพราะข้ามองว่า พวกเขาคือเพื่อนของข้า" ทำให้บู๊เช็กเทียนนั่นยกย่อง ตี๋เหรินเจี๋ยอย่างมาก
ก่อกบฎ
ในปี 692 (หลังจากพระเจ้าถังไทจง สวรรคตในปี 683 ทำให้บู๊เช็กเทียน เป็นไทเฮา และเป็นผู้สำเร้จราชการแทน โดยในปี 684 มีการก่อกบฎ โดยขุนนางผู้ใหญ่ เพื่อคืนอำนาจ ทำให้นางหวาดระแวงมาก จึงมีการตั้งกล่องลับ เพื่อให้คนส่งจดหมายแจ้งเรื่องลับมา และทำให้หน่วยสืบราชการลับของนางมีอำนาจอย่างรวดเร็ว สามารถใส่ร้าย กำจัดคู่แข่งทางการเมืองหรือสั่งประหารใครก็ได้ นอกจากนี้ในปี 690 นางยังล้มล้างกฎมณเทียรบาลที่ห้ามไม่ให้สตรีขึ้นเป็นฮ่องเต้ ด้วยการตั้งราชวงศ์โจว)
ไหลจวิ้นเฉิน เจ้าหน้าที่ตำรวจลับ กล่าวหาว่า ตี๋เหรินเจี๋ย และพวกพ้อง พยายามก่อกบฎ และจับตัวเขา ในยุคนั้นกฎหมายระบุว่า หากเป็นกบฎแล้วรับสารภาพจะเว้นโทษประหารชีวิต ตี๋เหรินเจี๋ย จึงรับสารภาพ "การปฎิวัติ เพื่อล้มล้างสิ่งเก่าสร้างสิ่งใหม่เป็นความจริง ข้ารับสารภาพ" เพื่อละเว้นโทษประหารชีวิต
แต่เมื่อเข้าจองจำในคุก เขาขอหมึกและพู่กัน จากเจ้าหน้าที่เรือนจำ ได้แอบเขียนคำร้องบนเสื้อ แล้วซ่อนไว้ในผ้าห่ม ที่จะส่งกลับบ้านโดยอ้างว่า ขอเปลี่ยนเสื้อผ้าเป็นเสื้อผ้าฤดูร้อน เพื่อมอบให้กับลูกชายของเขา ลูกชายของเขา คือ ตี๋กวงหยวน(狄光遠) เพื่อนำไปร้องทุกข์ต่อ บู๊เช็กเทียน เมื่อบู๊เช็กเทียนทราบเรื่อง ก็สอบถามไปยัง ไหลจวิ้นเฉิน หากไม่จริง ตี๋เหรินเจี๋ย จะสารภาพทำไม ? ต่อมาก็มีเรื่องลูกชายของพรรคพวกร้องเรียนบู๊เช้กเทียนว่า ไหลจวิ้นเฉิน นั้นเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสร้างคดีเท็จ
บู๊เช็กเทียน ตัดสินใจ ไปสอบถามตี๋เหรินเจี๋ย ด้วยตัวเอง แล้วถามว่า ท่านก่อกบฎใช่หรือไม่ ถ้าไม่ทำไมจึงรับสารภาพ เขาตอบกลับว่า ถ้าข้าไม่สารภาพ ข้าต้องโดนโทษประหารชีวิต บู๊เช็กเทียนถามต่อว่า แล้วข้อความที่เขียนเป็นหลักฐา นละ เขาตอบกลับว่า เขาไม่ได้เป็นคนเขียน นั่นคือของปลอม (บันทึกไม่ได้อธิบายใดๆ) แม้ว่า ไหลจวิ้นเฉิน จะทัดทานและเรียกร้องให้ประหาร ตี๋เหรินเจี๋ย แต่บู๊เช็กเทียนปฎิเสธ
แต่กลับสั่งเนรเทศ ไหลจวิ้นเฉิน แทน และลดโทษให้ ตี๋เหรินเจี๋ย แลพรรคพวก แต่ตี๋เหรินเจี๋ย กลับโดนลดระดับความสำคัญลงเป็นเพียงเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น เท่านั้น
ได้รับการยอมรับ
บู๊เช็กเทียน นั้นให้ความเคารพ ตี๋เหรินเจี่ยอย่างมาก โดยเขาได้รับฉายาว่า "ชายที่แก่ที่สุดในวัง" เพราะแม้เขาจะยื่นขอเกษียณอายุราชการไปหลายครั้ง แต่ พระนางบู๊เช็กเทียนก็ปฎิเสธคำขอเสมอ ครั้งหนึ่ง ตี๋เหรินเจี๋ย โค้งคำนับบู๊เช็กเทียน เธอถึงกลับกล่าวว่า ทุกครั้งที่ฉันเห็นเจ้าคุกเข่า ร่ายกายของฉันก็รู้สึกเจ็บปวดแทน" และยังได้กำชับ เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลห้องนอนของ ต๊่เหรินเจี๋ยว่า หากไม่มีภารกิจที่สำคัญใดๆ ห้ามรบกวนท่านตี๋เหรินเจี๋ย โดยเด็ดขาด"
ตี๋เหรินเจี๋ย เสียชีวิตในวันที่ 11 พฤศจิกายน 700 ขณะอายุ 70 ปี ศพของเขาได้รับการฝังที่ วัดม้าขาว ลั่วหยาง (เป็นวัดพุทธแห่งแรกในแผ่นดินจีน สร้างในปี 66 เป็นที่พำนักของ พระเสวียนจั๋ง และเก็บอัฐิของท่านไว้ที่นี่ด้วย) บู๊เช็กเทียนนั้นถึงกับหลั่งน้ำตา และกล่าวว่า "ต่อไปนี้ ศาลจะว่างเปล่า" และหากมีคดีใด ที่ศาลไม่สามารถคัดสินได้ บู๊เช็กเทียนจะถอนหายใจและกล่าว่ว่า "ทำไม เทพเจ้าต้องพรากศาลของข้าเร็วไป"
โด่งดัง
แม้ชีวิตของเขาจะได้รับคำชื่นชมมากมาย แต่เขากลับโด่งดังในวงแคบๆ โดย ฟาน กูลิค นักการฑูตชาวดัตช์ ที่มาประจำประเทศจีน ได้นำเรื่องของเขามาแต่งนิยายสืบสวนจากคดีท้องถิ่นของเขา ทำให้นิยายนักสืบของเขาได้รับการตีพิมพ์เป็นภาษาจีน ญี่ปุ่น และอังกฤษ จนนิยายเรื่องนี้ได้รับความนิยม ต่อมานักเขียนรุ่นหลังก็มีการแต่งเติมเนื้อหาให้สนุกมากขึ้น จนกลายเป็นนักสืบตี๋เหรินเจี๋ย ไป
แม้ชีวิตของเขาจะได้รับคำชื่นชมมากมาย แต่เขากลับโด่งดังในวงแคบๆ โดย ฟาน กูลิค นักการฑูตชาวดัตช์ ที่มาประจำประเทศจีน ได้นำเรื่องของเขามาแต่งนิยายสืบสวนจากคดีท้องถิ่นของเขา ทำให้นิยายนักสืบของเขาได้รับการตีพิมพ์เป็นภาษาจีน ญี่ปุ่น และอังกฤษ จนนิยายเรื่องนี้ได้รับความนิยม ต่อมานักเขียนรุ่นหลังก็มีการแต่งเติมเนื้อหาให้สนุกมากขึ้น จนกลายเป็นนักสืบตี๋เหรินเจี๋ย ไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น