วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2563

จีน (1368-1520) - องค์รักษ์เสื้อแพร หน่วยข่าวกรองแห่งราชวงศ์หมิง

จีน (1360-1520) - องค์รักษ์เสื้อแพร หน่วยข่าวกรองแห่งแห่งราชวงศ์หมิง

เดิมนั้น ยุคต้นราชวงศ์หมิงนั้น จูหยวนจาง ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์หมิง  มีคำสั่งเด็ดขาด "ห้ามขันทียุ่งเรื่องบ้านเมือง หากข้อแวะ มีโทษถึงประหาร"

องค์รักษ์เสื้อแพร
ในยุคนี้เองมีการก่อตั้ง องค์รักษ์เสื้อแพร (锦衣卫 ที่เป็นหน่วยงาน ทหารรักษาพระองค์ มีหน้าที่หลักคือ คุ้มครอง ฮ่องเต้ ในช่วงแรก แต่ต่อมา องค์รักษ์เสื้อแพรกลับได้รับคำสั่งให้ไปไล่ฆ่าขุนศึกและขุนนางสมัยที่ช่วยกันร่วมก่อตั้งราชวงศ์  ถัดมา ปี ค.ศ.1382 ในรัชสมัยฮ่องเต้  หมิงจู่ พระองค์ได้ทรงจัดตั้งหน่วย “องครักษ์เสื้อแพร” ขึ้นมาอย่างเป็นทางการ

แม้ว่าฉากหน้า หน่วยงานนี้จะมีหน้าที่หลักคือ อารักขาและเป็นกองเกียรติยศ ทหารทุกนายจะสวมเสื้อแพรเรียบร้อยสวยงาม พกดาบ  ซิ่วชุน พร้อมจะตวัดใส่ใครก็ได้  ถือกระบองหลวงพร้อมตีขุนนางที่ขัดพระทัยฮ่องเต้

แต่ต่อมา องค์รักษ์เสื้อแพร มีการขยายอำนาจไปยังควบคุมระบบศาลยุติธรรม มีอำนาจอยู่เหนือกระบวนการยุติธรรม กรมราชทัณฑ์ และศาลฎีกา สามารถจับผู้ต้องหาเอง สอบสวนเอง พิพากษาเอง และ ลงโทษเองได้เลย

นอกจากนี้ยังคอยแทรกแซงระบบอื่นๆ ไม่ว่าจะการค้า ระบบศักดินา ยศตำแหน่งในระบบขุนนางต่างๆ และอื่นๆ รวมไปถึงมีอำนาจเต็มที่ในการที่จะเข้าไปสืบสวนคดีต่างๆ การอุ้มฆ่า ปลดคนออกจากตำแหน่งโดยเฉพาะเหล่าขุนนางและพระญาติ แต่ก็มีบางหน่วยในองค์รักษ์เสื้อแพร นั้นกลับมีหน้าที่เพียงแค่ เฝ้าสุสานของราชวงศ์เท่านั้น

ในปลายรัชสมัยของ ฮ่องเต้หงอู่ หรือ จูหยวนจาง ในปี ค.ศ. 1393 มีการก่อกบฎ ซึ่งผู้อยู่เบื้องหลังคือ บางคนในหน่วยองครักษ์เสื้อแพร เหตุการณ์ครั้งนั้นมีคนโดนประหารไปประมาณ 40000 คน  ทำให้ ฮ่องเต้หงอู่  เริ่มคิดได้ว่า หากปล่อยไปแบบนี้ สักวันหนึ่งหน่วยองครักษ์เสื้อแพรก็อาจจะมีอำนาจที่มากจนฮ่องเต้คุมไม่อยู่ จึงมีพระบรมราชโองการให้ยุบหน่วยงานนี้ลงอีกทั้งยังสั่งให้นำเอาเครื่องแบบของหน่วยองครักษ์เสื้อแพรมาเผากลางที่สาธารณะเพื่อเป็นการยืนยันต่อหน้า ขุนนาง และ ประชาชน ว่าหน่วยองครักษ์เสื้อแพรได้ถูกยุบทิ้งแล้วจริง ๆ

แต่ยังคงมีทหารรักษาพระองค์ไว้คอยคุ้มกันฮ่องเต้อยู่ แต่บางคนยังคงเรียกว่า หน่วยงานนี้ว่า  องค์รักษ์เสื้อแพร ต่อไป

หน่วยงานตงฉ่าง
แต่ต่อมา ฮอ่งเต้หมิงเฉิงจู่ (永乐;)หรือฮ่องเต้ หย่งเล่อ แห่งรัชกาลที่ 3 ของราชวงศ์หมิง มองเห็นว่า ขุนนาง ไม่สามารถไว้เนื้อเชื่อใจได้ จึงมีการตั้งหน่วยงาน “ต่งฉั่ง” (东厂- หน่วยงานตะวันออก) ขึ้น เพื่อให้ขันทีมีอำนาจในการตรวจสอบทั้ง ขุนนาง และ ราษฎร โดยเน้นไปที่การสอบสวนว่า ใครจะก่ออบฎ โดยหน่วยงานดังกล่าวสามารถรายงานตรงต่อฮ่องเต้ได้เลย จึงเสมือนมีฐานะเทียบเท่ากับ องครักษ์เสื้อแพร ที่ถูกยุบไปก่อนหน้านี้แล้ว

หน่วยงานซีฉ่าง
ถึงรัชกาลของฮ่องเต้เฉิงฮว่า หรือ ฮ่องเต้ หมิง เสี้ยนจง(明宪宗) ทรงไว้พระทัยเหล่าขันที นอกจากมี ตงฉั่ง แล้ว ในปี 1477 ยังได้จัดตั้งหน่วยงาน “ซีฉั่ง” (西厂-หน่วยงานตะวันตก) ขึ้นมา โดยมีขันที วังจื๋อ (汪直) ที่เป็นคนสนิทของสนม ว่านกุ้ยเฟย เป็นคนกุมอำนาจ สามารถออกคำสั่งกับ ตงฉั่ง และ องครักษ์เสื้อแพร ได้เสมือนแขนขา ทำให้มีอำนาจบาตรใหญ่จนถึงขั้นจับตัวและ เข่นฆ่าชาวบ้านหรือขุนนางตามอำเภอใจ จนขุนนางและชาวบ้าน ผู้บริสุทธิ์ต้องเสียชีวิตไปนับไม่ถ้วน

หลังจากตั้ง ซีฉ่าง ได้ปีนั้นสนมว่านกุ้ยเฟย ก็เสียชีวิต และ 5 ปีถัดมา เหล่าขุนนาง รวมตัวหน่วยงาน ตงฉ่าง เสนอให้ยุบหน่วยงาน ซีฉ่าง เนื่องจาก ใช้อำนาจโดยมิชอบ ทำให้ฮ่องเต้ หมิงเสี้ยนจง ไม่มีทางเลือกสั่งยุบหน่วยงานซีฉ่าง ส่วนขันที วังจื้อ ก็ทูลลากลับบ้านเกิด ทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

หน่วยงานเน่ยฉ่าง
ข้าม ฮ่องเต้ หงจื้อ หรือ หมิงเสี่ยวจง มา 1 คน มาเป็นฮ่องเต้องค์ถัดมาที่ครองราชย์ด้วยวัยเพียง 15 ปี คือ ฮ่องเต้ เจิ้งเต๋อ หรือ หมิง อู่จง  ด้วยเป็นฮ่องเต้ที่นิยมความสำราญ จึงทรงเชื่อฟังเหล่าขันที โดยเฉพาะ หลิวจิ่น (刘瑾) ขันทีที่มีอำนาจมากที่สุดในขณะนั้น และถือเป็น หัวหน้ากลุ่ม ขันทีแปดพยัคฆ์ ได้จัดตั้ง หน่วยงาน “เน่ยฉั่ง” (内厂- หน่วยงานฝ่ายใน) ซึ่งโหดเหี้ยมทารุณและใช้อำนาจบาตรใหญ่ยิ่งกว่า ”ตงฉั่ง” กับ “ซีฉั่ง”เสียอีก

ขันที หลิวจิ่น กำกับควบคุม หน่วยงานฝ่ายใน "เน่ยฉั่ง" มีหน้าที่กำกับดูแลทั้ง ตงฉ่าง และองครักษ์เสื้อแพรอีกทอดหนึ่ง จึงมีอำนาจล้นฟ้า บารมีคับแผ่นดิน ผู้คนต่างกล่าวกันว่าในเวลานั้น แผ่นดินจีนมีฮ่องเต้สองพระองค์ หนึ่งคือ “ฮ่องเต้นั่ง” สองคือ “ฮ่องเต้ยืน” ฮ่องเต้นั่ง คือ หมิงอู่จง ผู้นั่งบนบัลลังก์มังกร ส่วน ฮ่องเต้ยืน คือ หลิวจิ่น ขันทีที่ยืนอยู่ข้าง หมิงอู่จง นั่นเอง

สุดท้าย แม่ทัพ หยางอี้ชิง ร่วมมือกับ ขันที จางหย่ง (หนึ่งในขันทีแปดพยัคฆ์)​ ทำเรื่องกราบทูลฮ่องเต้หมิงอู่จง กล่าวโทษ หลิวจิ่น พร้อม หลักฐาน รวม 17 ข้อหา หนึ่งในนั้นคือ ข้อหาคิดก่อการกบฎ ทำให้ ฮ่งอเต้ ทรงแค้นพระทัยมาก ที่ขันทีที่พระองค์วางใจที่สุดอย่าง หลิวจิ่น จะกล้าหักหลังพระองค์ได้  แต่ เมื่อพบหลักฐานแน่ชัด ฮ่องเต้ หมิงอู่จง จึงทรงพิโรธและรับสั่งลงโทษ ขันที หลิวจิ่น ด้วยการลงโทษสูงสุดคือ การลงโทษแบบ หลิงฉือ 凌遲  คือการใช้ดาบแล่เนื้อเถือหนังคนทั้งเป็นไปเรื่อยๆ จนครบ 3357 ดาบ

บันทึกระบุว่า วันแรกเฉือนได้ 357 ดาบ แม้ว่า หลิวจิ่นจะอายุ 60 ปี แต่เขาก็อดทนมาก เขายังสามารถดื่มน้ำและกินข้าวได้เป็นปกติ  แต่วันถัดมา ถูกเฉือนเพียง 10 กว่าดาบก็ขาดใจตาย แต่ศพเขายังต้องรับโทษต่อจนครบ 3375 ดาบ

นอกจากนี้ หลังจากการยึดทรัพย์ สามารถนับรวม ทองทั้งหมดที่ยึดได้ถึง 450,000 กิโลกรัม ขณะที่เงินอีก 96000000 กิโลกรัม

จบเรื่อง ทหารรักษาพระองค์ ในยุค ราชวงศ์หมิง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น