วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2563

จีน (1930-2010) เป๋ห่าว vs เหลยเล่อ ตำนาน โจรตัดโจร แห่งทศวรรษที่ 60

เป๋ห่าว vs เหลยเล่อ ตำนานโจร ตัด โจร แห่งทศวรรษที่ 60

ในยุค 90 มีหนังฮ่องกง 2 เรื่องที่สร้างจากชีประัติของอาชญกร 2 เรื่องที่ดัง เรื่องแรก เกี่ยข้องกับ ชีประัติของราชายาเสพติด เป๋ห่า ชื่อเรื่องคือ  To be Number One หรือ เป๋ห่าเป็นเจ้าพ่อ ที่แสดงโดย หลี่เหลี่ยงเหว่ย ในปี 1991 ขณะเดียวกันปีนั้น ก็มีหนังออกมาอีกเรื่อง เป็นเรื่องชีประัติของ ตำรจ เหลยเล่อ  ชื่อ  Lee Rock หรือ ตำรวจตัดตำรวจ ที่แสดงโดย หลิวเต๋อหัว   แต่แล้วในปี 2017 นั้น มีหนังที่รีเมคทั้งสองเรื่อง ชื่อ เรื่อง Chasing the Dragon ที่ ดอนนี่ เย็น แสดงเป็น เป๋ห่าว และ หลิวเต๋อหัว กลับมารับบท ตำรวจ เหลยเล่อ ที่เคยเล่นบทนี้มาก่อน นั้นคือ เรื่องราของ เป๋ห่าว ราชายาเสพติดอันดับหนึ่งของเอเชีย กับ เหลยเล่อ ตำรวจมือปราบฮ่องกง ฉายา มือปราบห้าร้อยล้านเหรียญ ที่เป็นเจ้าของตำนาน โจร ตัดโจร แห่งยุคทศรรษที่ 60

ชื่อหนังเรื่อง Chasing The Dragon  "ไล่มังกร " ( 追龍 : 追龙 ) เป็นคำแสลงในภาษาจีน นั่นคือ การสูดไล่สูดไอระเหยจาก ยาเสพติด เช่น เฮโรอีน โดย การไล่ล่า นั้นคือ การเผายาเสพติดที่ไม่ใช้ความร้อนมากเกินไป เพราะจะเผาไหม้เร็วเกินไป โดยอาจใช้อลูมิเนียมฟอยล์ ช่วยลดความร้อยลง เมื่อ เผายาเสพติดจนเกิดควันขึ้นมา นักเสพจะใช้ท่อ “ไล่ล่า” ควัน เพื่อใช้ในการสูดดม จึงวิธีการเสพยาเสพติดนี้ว่า การไล่ล่ามังกร ซึ่งชื่อหนังมาเปรียบเปรย การไล่ล่า เป๋ห่าว เจ้าพ่อยาเสพติด กับ เหลยเล่อ ตำรวจมือปราบนั่นเอง ทำไมยิ่งไล่ล่า คนไล่ล่ากลับยิ่งสนุก

ทศรรษที่ 60 ฮ่องกงได้ชื่อ่า เป็นทศรรษที่มืดมนที่สุดของฮ่องกง จนมีสุภาษิต่า  ตำรจคอยค บคุม นรก( แก๊ง ไตรแอด)  นรก(ไตรแอด) คอยคบคุมคามปลอดภัยของผู้คน โดยมีตำรจ 4 คนที่คอยคบคุมแก๊งอาชญกรรมใต้ดิน หนึ่งในั้นคือ เหล่ยเล่อ

อึ้งซิกโฮ ( 吳錫豪 ; 吴锡豪) หรือเป๋ห่าว
ขอเริ่มต้นจากชีประัติ  ฝั่งโจรก่อน คือ เป๋ห่าว  ชื่อจริง คือ อึ้งเซ็กห่าว 吳錫豪 หรือ “เป๋ห่าว เจ้าพ่อแก๊งมาเฟีย ราชาเฮโรอินชาวแต้จิ๋วคนดังแห่งฮ่องกงในยุคทศรรษที่ 50s ผู้โด่งดังในช่วงเวลาที่องค์กรนอกกฎหมายในฮ่องกงรุ่งเรืองถึงสุดขีด ขณะที่องค์กรตำรวจก็ตกต่ำสุดขีดด้วยปัญหาคอร์รัปชัน เช่นกัน

เป๋ห่าว เกิดในปี 1930 เขาเกิดที่กวางตุ้ง แหล่งกำเนิดของชาวแต้จิ๋ว อึ้งซิกโฮ ได้รับฉายาว่า เป๋ห่าว  หรือ "Limpy Ho" ที่แปลเป็นไทย ่า ไอ้ห่าอ่อนปวกเปียก  หลังจากเขาได้รับบาดเจ็บที่ขาในการต่อสู้บนท้องถนน ย้อนกลับไปช่วงปี 1960 ประเทศจีนเป็นยุคนโยบาย ก้ากระโดด ของเหมาเจ๋อตุงึ่งนโยบายที่ผิดพลาด ทำให้ประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ เกิดความอดอยากไปทั่วประเทศ อึ้งซิกโฮ จึงต้องแอบหลบหนีจากจีนแผ่นดินใหญ่เข้าไปยังฮ่องกง

เขาเข้ามาฮ่องกงมาในช่งทศรรษที่ 50 หลังจากที่ ตู้เยว่ชิง เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ ราชาขายฝิ่น มาเสียชีวิตที่ฮ่องกงในปี 1951 งเป็นระยะเลาที่ไม่นาน เมื่อมาถึงฮ่องกงเขา แรกเริ่มเขารับทำงานทุกอย่าง โดยเริ่มต้นจากการขายดอกไม้  จนในที่สุด เขาก็รู้จักกับ 2 พี่น้องตระกูลหม่า ชีิตของเขาก็เปลี่ยนไปขายยาเสพติดโดยเฉพาะฝิ่นแทน จนในที่สุด เขาก็สามารถเข้าเป็นสมาชิกของแก๊งค์ 14K ได้สำเร็จ  ช่วงต้นปี 1967 เป๋ห่าว ก็เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการค้าของเถื่อนของฝิ่นและมอร์ฟีน เขาแต่งงานกับ เซิฉนยู่หยิ่งCheng Yuet-Ying ( ประเพณีจีน : 鄭月英 ; จีนจีน : 郑月英 ) ซึ่งยังมีส่วนร่วมในการค้ายาเสพติด ยุคนั้น เป๋ห่าว อาศัยเครือข่ายคนแต้จิ๋ สร้างเครือข่ายยาเสพติดอย่างยิ่งใหญ่ไปทั่เอเชีย คลอบคลุมเครือข่ายทั้งฮ่องกง , มาเก๊า , ไทย , ไต้หวัน , สิงคโปร์ ,อังกฤษและอเมริกา

ช่งนี้เองที่เขาได้รู้จักกับ นายตำรจ เหลยเล่อ และนับถือเป็นพี่ชาย จนในที่สุด เป๋ห่า ก็เป็นผู้สนับสนุนหลักของสถานีตำรจทุกแห่งในเกาลูน โดยเฉพาะที่เหลยเล่อ ดูแล 

แต่แล้วเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 1974 เป๋ห่าวกลับถูกจับกุมพร้อมภรรยา และ พรรคพก รม 9 คน  โดยข้อหาลักลอบขนฝิ่นและมอร์ฟีนจำนน  20 ตันจากประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ในฮ่องกง  สื่อตีพิมพ์ฉายาเขาทันทีว่า "นายใหญ่" ตำรวจฮ่องกง อธิบายมีหลักฐานว่า เป๋ห่าว โอนเงินจำนวนหลายล้านเหรียญสหรัฐต่อเดือน ไปที่ประเทศไทย เพื่อชำระค่ายาเสพติด โดยมีหลักฐานคือ การโอนเงิน 32.6 ล้านเหรียญสหรัฐมายังไทยเพื่อชำระค่ายาเสพติด ที่เมื่อนำไปขายที่ฮ่องกงจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 10-15 เท่า ทำให้ เป๋ห่าว ถูกตัดสินว่ากระทำผิด ในเดือนพฤษภาคม 1975 ต้องโทษจำคุกถึง 30 ปี

ไม่นานต่อมา ภรรยาของเขาถูกพิพากษาในดคีเดียกัน และถูกตัดสินลงโทษจำคุกถึง 16 ปีและถูกปรับ 1 ล้านหยวน

ขณะอยู่ในคุก เป๋ห่าว กลับกลายเป็นชาวพุทธที่เคร่งครัดอย่างเต็มตัว ในเดือนเมษายน 1991 ผู้พิพากษาของฮ่องกง ประกาศลดหย่อนโทษจำคุกของเขาเหลือ 4 ปีครึ่ง แต่ช่วงกรกฎาคม ปีนั้นเอง  เป๋ห่าว ก็ได้รับการวินิจฉัยจากหมอว่า เขาเป็นโรคมะเร็งตับระยะสุดท้าย และคาดว่าเขาจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกิน 6 สัปดาห์ เขาจึงได้รับการนิรโทษกรรม

แต่แล้ วันที่ 14 สิงหาคม 1991 หลังจากเป๋ห่าว ต้องติดคุกนานถึง 16 ปี เป๋ห่าวก็ได้รับการปล่อยตัวออกมา แต่เขากลับไม่ได้กลับบ้าน แต่ต้องย้ายตัเองไปอยู่ที่โรงพยาบาลควีนแมรี่ แทน อีก 2-3 สัปดาห์ต่อมา เขาก็เสียชีวิตเมื่อวันที่  8 กันยายน 1991 อายุ 61 ปี ส่วนภรรยาเขาก็ได้รับการปล่อยตัวจากคุกในปี 1992 ไม่ได้ไปงานศพของสามี

เหลยเล่อ หรือ Lee Rock 吕乐
คู่ปรับและคู่หู ของเป๋ห่าว คือ ตำรวจ เหลยเล่อ หรือ Lee Rock ถือเป็น หนึ่งในสี่สุดยอด มือปราบอาชญกรรมฮ่องกงที่คอยคบคุมแก๊งอาชกกรรมใต้ดิน เหล่ยเล่อ ถือเป็นตำรวจที่มีความเชี่ยวชาญด้านองค์กรอาชญกรรมใต้ดินมากก่าใครเป็นพิเศษ เหลยเล่อ สร้างผลงานไว้มากมาย แต่ฉายาสุดท้ายของเขาคือ .มือปราบห้าร้อยล้านเหรียญ”

เดิมเขาเป็นเด็กหนุ่มเติบโตที่กวางตุ้ง เช่นเดียวกับ เป๋ห่าว ต่อมาหลบหนีเข้ามาที่ฮ่องกงเช่นกัน เขาเริ่มต้นอาชีพที่ฮ่องกง ด้วยการเป็นบุรุษไปรษณีย์ และถัดมาเป็นหนุ่มรถลาก ต่อมาในปี 1940 เขาจึงเข้า กองตำรวจลาดตะเน และ การลาดตะเตามท้องถนนทุกันนี่เอง ทำให้เขาได้รู้จักและสนิทสนม กับแก๊งค์อาชญกรรมหลายคน ต่อมา เขาก็ได้เลื่อนตำแหน่งเป็น สายสืบ ของกรมตำรวจ

ช่งนี้เอง ที่มีหลักฐานมนตอนหลัง ยืนยัน่า เขาทั้งรับเงินสินบนจากผู้ใต้บังคับบัญชา และตัเขายังติดสินบน หัหน้าของเขาอีกด้ย เพื่อตำแหน่งหน้าที่การงาน นอกจากนี้ ตัเหล่ยเล่อ ยังเป็น คนรบรม ค่าคุ้มครองแก๊งอาชญกรรมใต้ดิน ไม่่า จะ ยาเสพติด บ่อน ่อง ต่างๆ  ในเขตดูแลของเขาอีกด้ย

แต่แล้ ปี 1955 ขณะที่แก๊ง 14K กำลังจัดงานเลี้ยงอยู่ เหลยเล่อ ก็นำกำลังตำรวจบุกเข้าไปจับกุมแก๊ง 14K  ผลงานครั้งนั้นเองทำให้เขาได้เลื่อนตำแหน่งเป็น สายสืบอาวุโส ไม่กี่ปีถัดมา เกิดการจราจลที่ฮ่องกง เนื่องจากกรณี วันชาติจีน หรือวัน 10 2 ตัว คือ วันที่ 10 ตุลาคม ที่มี กลุ่ม คนรักชาติ กับ คนกลุ่มผู้นิยมพรรคคอมมิวนิสต์ โดยสหภาพแรงงาน ที่มีสายสัมพันธ์โดยตรงกับกรุงปักกิ่ง และกำลังได้รับอิทธิพลจากกลุ่มเรดการ์ด  ออกมาชูป้ายประท้ง รัฐบาลอังกฤษ  แต่ต่างฝ่ายต่างมีแก๊งค์ใต้ดินอยู่เบื้องหลัง แต่แก๊งส่นใหญ่สนับสนุนแนคิดของพรรคก๊กมินตั๋งมากก่า  เหตุการณ์นี้ แม้แต่กิมย้ง หรือ หลุยส์ชา เองก็ต้องหลบหนีออกจากฮ่องกงไปเป็นระยะเลา 1 ปี

เนื่องจาก เหล่ยเล่อ เป็นผู้เชี่ยวชาญกับแก๊งค์อาชญากรรม ครั้งนั้น เขาจึงได้รับตำแหน่งสำคัญในการจัดการกับการจราจลครั้งนี้ เมื่อการปราบจราจลเสร็จสิ้น  เขาก็ได้รับการเลื่อนตำแหน่ง พร้อมกับย้ายไปอยู่สถานีตำรวจที่มีความสำคัญมากขึ้น ขณะที่ตำแหน่งหน้าที่การงานก็เติบโตอย่างต่อเนื่อง

แต่ความสำเร็จในชีวิตของเขากลับได้มาจากความสกปรกทั้งสิ้น ไม่ว่าจะการแต่งงานกับลูกสาวผู้มีอิทธิพล จนเขาสามารถเล่นเกมชิงอำนาจ ทั้งยศและตำแหน่งภายในกรมตำรวจได้ ในที่สุด เขาก็สามารถเลื่อนยศจนเป็นตำรวจระดับสูงได้สำเร็จ 

อย่างไรก็ดี ในช่งนี้ เขาื้อบ้านหลังใหม่ นักข่า ดันไปถามเขา่า บ้านหลังนี้มีราคา 500 ล้านเหรียญ จริงหรือไม่ แม้เขาจะไม่ตอบ และได้แต่ส่ายหน้า แต่เรื่องนี้เองที่ทำให้เขาได้รับฉายา มือปราบ 500 ล้านเหรียญ และเมื่อเรื่องนี้ รู้ถึงหู ผู้่าการฮอ่งกง เรื่องก็ร้อนทันที  มีคำสั่งลงทันที ให้มีการสอบสนเรื่องนี้อย่างจริงจัง โดยเฉพาะการตั้งหน่ยงานอิสระ ICAC ขึ้นเพื่อตรจสอบและปฎิรูประบบตำรจ ทั้งหมด

ในปี 1967 เหลยเล่อ ถูกพักงานเนื่องจาก เขาถูกกล่าวหาว่า มีส่นพัพันกับการทุจริตคอรัปชั่น ในตอนแรกเขาเชื่อ่า เรื่องจะเงียบหายไป แต่แล้ เรื่องนี้ไปถึงประเทศอังกฤษ ที่เป็นผู้ปกครองยุคนั้น ก็ทำเรื่องอย่างจริงจัง  เขาได้ข่า นี้มา ทำให้ ปีถัดมา เขาชิงลาออกก่อนกำหนด ในัยแค่ 48 ปี   จนกระทั่งปี 1973 เขาก็่ตัดสินใจย้ายครอบครัว ทั้งภรรยา และลูก 8 คนอพยพไปอยู่ที่แคนาดา

แต่แล้วปี 1976 เขาก็ถูกตั้งข้อกล่าวหาว่า “มีทรัพย์สินไม่เหมาะสมกับฐานะ” ถ้าเป็นคนไทยก็คือข้อหา “ร่ำรวยผิดปกติ” นั่นเอง เนื่องจากถูกสืบสวนพบว่า เหลยเล่อ มีทรัพย์สินในครอบครองมากมาย ซึ่งเชื่อกันว่า มาจากากรคอรัปชั่นสมัยที่เขายังเป็นตำรวจ กลายเป็นเรื่องฉาวโฉ่

ทรัพย์สินของเขาที่ถูกค้นพบในตอนนั้น ถูกศาลสั่งอาญัติทันที 100 ล้านเหรียญฮ่องกง โดยทรัพย์สินหลักๆ ของเขากลับเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ที่ฮ่องกง และเงินสดจำนน 8 ล้านเหรียญฮ่องกง แต่เขาไหวตัวทัน เนื่องจากกฎหมายแคนาดา กับฮ่องกงนั้นมีการส่งผู้ร้ายข้ามแดนได้ เขาจึงรีบย้ายตัวเองกลับมาอยู่ที่ ไต้หวัน แทน เพราะฮ่องกงกับไต้หัน นั้นไม่มีข้อตกลงเรื่องส่งตัผู้ร้ายข้ามแดนต่อกัน

แต่ในปี 1979 เขายังคงซื้อคอนโดหรูที่ไต้หวัน นั่นแสดงให้เห็นว่า ทรัพย์สินของเขาอีกมากที่ยังไม่ได้ถูก อาญัติทั้งหมด  เขาอาศัยอยู่ที่ไต้หวัน จนได้เป็นพลเมืองที่ไต้หวัน แต่ลูกชายทั้ง 7 คนยังคงอยู่ที่แคนาดาต่อไป

ในวันที่ 13 พฤษภาคม ปี 2010 เขาก็เสียชีวิตลงด้วยโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร ที่แคนาดา ศพของเขาถูกฝังที่แคนนาดา

คนหนึ่งมุ่งมั่นมาที่ฮ่องกงเพื่อเป็นโจร ขณะที่อีกคนมุ่งมั่นมาที่ฮ่องกงเพื่อเป็นตำรวจ แต่สุดท้ายกลับเป็นโจรทั้งคู่ และเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งทั้งคู่ โอ้ อนิจจา เหมือนดั่งเพลง เจ้าพ่อเี่ยงไฮ้ คลื่นัดาด โหมกระหน่ำ สายน้ำไหลเชี่ยรากไม่เคยหยุดนิ่ง ชะล้างเรื่องราบนโลกไปจนหมดสิ้น   กระแสคลื่นหมุนเกลียีทั้งทุกข์ มีทั้งสุข คละเคล้าอยู่ในเกลียคลืนทั้งเสียงหัเราะและเสียงร้องไห้  คาสำเร็จและคามล้มเหล
มิอาจมองออกได้ในกระแสคลื่นนั้น

วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2563

จีน(1296-1372) ชือ ไน่อัน กับปริศนาใครแต่งเรื่อง ซ้องกั๋ง?

ชือ ไน่อัน (施耐庵 หรือ 施耐菴  ราว ค.ศ. 1296–1372) เป็นนักประพันธ์ชาวจีนจากเมืองซูโจว มณฑลเจียงซู เชื่อกันว่า ชือ ไน่อัน เป็นผู้ประพันธ์นวนิยายเรื่อง ซ้องกั๋ง (แต้จิ๋ว) หรือ ซ่งเจียง(宋江) ซึ่งเป็นชื่อ ตัวละครเอกของเรื่อง ส่วนชื่อนิยายจริงๆ นั้น ชื่อ สุยหู่จ้วน หรือ 108 ผู้กล้าแห่งเขาเหลียงซาน ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่สุดยอดวรรณกรรมจีน ในที่นี้ของเรียกตามแบบคนไทย คือ ซ้องกั๋ง นะครับ

ข้อมูลเกี่ยวกับชีวประวัติของชือ ไน่อัน มีเพียงเล็กน้อย เชื่อกันว่า ซื่อ ไน่อัน น่าจะเป็น อาจารย์ของ หลัวก้วนจง ผู้ประพันธ์นิยายอิงประัติศาสตร์เรื่อง สามก๊ก ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเรื่องในสี่สุดยอดวรรณกรรมจีน นักวิชาการบางคนตั้งข้อสงสัยเกี่ยวการมีตัวตนของ ชือ ไน่อัน บ้างก็ว่า "ชือ ไน่อัน" เป็นเพียงนามแฝงของ หลัวก้วนจง

ดังนั้น มี 2 ประเด็นสำคัญ คือ 1 ซื่อไน่อัน มีตัวตนจริงหรือไม่  2. เขาเป็นคนแต่งเรื่อง ซ้องกั๋ง หรือ 108 ผู้กล้าแห่งเขาเหลียงซานจริงหรือไม่

ประวัติ ซื่อไน่อัน
เข้าประเด็นแรก  ในตอนแรกนั้น เรารู้เพียงว่า เขาน่าจะมีชีวิตคาบเกี่ยวระหว่าง ปลายราชวงศ์หยวนไปจนถึงต้นราชวงศ์หมิง คือ รัชสมัยของจูหยนจางเท่านั้น โดยเมื่อตรวจคำศัพท์ในซ้องกั๋งหลายคำแล้ว นักประวัติศาสตร์จึงเชื่อว่า ชื่อ ไน่อัน น่าจะเกิดที่ เมืองซูโจว มณฑลเจียงซู  แล้วจึงไปสืบเสาะจากประวัติพื้นบ้าน ย่านนั้นต่ออีกที จึงพบเรื่องราวดังนี้

ซื่อไนอัน น่าจะสืบเชื้อสายมาจาก ซื่อ จือเซี้ยง 1 ใน 72 ศิษย์ของขงจื้อ และมาตั้งรกรากที่ซูโจว ชื่อจริง น่าจะชื่อว่า เอียนต้วน ส่วน ไน่อำ หรือไน่อัน เป็นชื่อฉายา เขาเป็นคนเรียนเก่งมาก ต่อช่วงสงครามมองโกล นั้น เขาหลีกหนีความวุ่นวาย ไปแต่งนิยายเรื่อง "ซ้องกั๋ง"

หลังจูหยวนจางก่อตั้งราชงศ์สำเร็จ อายุ 29 ปี เขาก็สอบได้ตำแหน่ง โกยนั้ง คือตำแหน่งบัณฑิตอันดับหนึ่งของมณฑล อายุ 35 ปี สอบได้ตำแหน่งจิ้นสือ คือบัณฑิตหน้าพระที่นั่ง โดยบันทึกในสุสานระบุว่า  ตำแหน่งจิ้นสือที่เขาสอบได้ อยู่ลำดับเดียวกับ หลิวป๋ออุน กุนซือที่ปรึกษาของจูหยวนจาง ผู้พิชิตมองโกลเลยทีเดียว

ต่อมา ซื่อไน่อัน เข้ารับราชการอยู่ 16 ปี ตัวเขากลับเจอขุนนางกลั่นแกล้ง เขาจึงลาออกแล้วย้ายไปอยู่เมืองซูโจว พร้อมน้องชาย และลูกศิษย์ ชื่อ หล่อก้วนตง

โดยตอนแรก เขารับสอนหนังสือ ภายในท้องถิ่น จนคนท้องถิ่นให้ความเคารพ และเรียกฉายาเขาว่า ไน่อำกง นอกจากนี้แล้ว เขายังสอนวาดภาพอีกด้วย เขาเป็นคนเข้มงวดเรือ่งการวาดภาพมาก ในจำนวนนี้มี ภาพวาดของตัวละครในซ้องกั๋งด้วย 108 ภาพ สิ่งนี้เองทำให้เชื่อว่า เขาแต่งเรื่องซ้องกั๋ง เสร็จก่อนแล้ว

โดย กุนซือหลิวป๋อกุน(刘伯温) มีครอบครองอยู่ถึง 2 ภาพ กุนซือ หลิวป๋อกุน ได้ทูลเสนอ จูหยวนจาง หลายครั้งเรื่องการรับ ซือไน่อัน เข้าเป็นผู้ติดตามเขา แต่กลับเป็น ซือไน่อัน เองที่ปฎิเสธมาการเข้ารับราชการอีกครั้ง โดยมักจะอ้างตัวว่า สุขภาพไม่ดี นักประวัติศาสตร์ ยืนยันว่า สถานที่ในนิยายเรื่องซ้องกั๋งนั้น ส่วนใหญ่จะอยู่ย่านแถบเมืองซูโจว

ความสามารถของซือไน่อัน ไม่เป็นรองใครในแผ่นดิน เขาเก่งทั้ง งานประพันธ์ แตกฉานวิชาแพทย์ ตรวจดูดวงชะตา และฮวงจุ้ย นอกจากนี้ เขายังมีวิชากังฟูติดตัวอีกด้วย

ปราบนักเลงโรงน้ำชา
ตำนานเล่าว่า ครั้งหนึ่ง ช่วงต้นราชวงศ์หมิง ซือไน่อัน ไปนั่งจิบน้ำชาที่โรงเตี๊ยม แต่กลับมีนักเลงมาก่อความวุ่นวายในโรงเตี๊ยม ซือไน่อันจึงเดินไปตักเตือน กลุ่มนักเลงไม่พอใจ จึงได้หยิบพลองเหล็กหวดไปที่ซือไนอัน แต่ซือไนอัน เอียวตัวหลบได้ และถีบไปที่นักเลงคนนั้น ทำให้นักเลงเสียหลักล้มลง ซือไน่อันจึงหยิบพลองเหล็กพาดไปที่นักเลงคนนั้นแทน ทำให้นักเลงต้องวิ่งหนีไป

ปราบนักเลงเทศกาลโคมไฟ
อีกครั้งหนึ่ง ซือไน่อัน เดินไปเที่ยวเทศกาลโคมไฟ ได้พบกับนักเลงกำลังลวนลามหญิงสาว เขาจึงเดินไปตักเตือนอันธพาล แล้วจับนักเลงเหวี่ยงกระเด็นออกไป ทำให้นักเลงต้องรีบวิ่งหนีไป

แต่ 2-3 วันถัดมา กลับยกพวก 7-8 คนมาเพื่อล้างแค้น ซื่อไน่อัน แต่ ซื่อไน่อัน กลับไปหยิบเชือกมามัดผูกกับขาข้างหนึ่งของเขาเอง แล้วให้อันธพาล 7-8 คนช่วยกันดึง เพื่อลากขาของเขา แต่ทั้ง 7 คนกลับไม่สามารถดึงขาของ ซือไน่อัน ให้ขยับเขยื้อนได้ เมื่ออันธพาลเห็นดังนั้น จึงเข้าใจแล้วว่า พกเรากำลังพบกับยอดฝีมือ จึงได้ขอโทษแล้วรีบหลบหนีไป

จากหลักฐานต่างๆ สรุปได้ว่า ซือไนอัน มีตัวตนจริง แต่ชื่อ ซือไน่อัน อาจไม่ใช่ชื่อจริง เป็นเพียงฉายา

ปริศนา ซ้องกั๋ง ‘108 ผู้กล้าแห่งเขาเหลียงซาน’
จริง 3 ส่วน แต่ง 7 ส่วน"

เรามาเข้าประเด็นหลักของวันนี้ ว่า ซื่อไน่อัน นั้น เป็นคนแต่งเรื่อง ซ้องกั๋ง หรือ ฉุยหู่จ้วน (จีน: 水滸傳; พินอิน: Shuǐhǔ Zhuàn) หรือในชื่อไทยว่า   108 ผู้กล้าแห่งเขาเหลียงซาน จริงหรือไม่

ก่อนอื่นของเล่าเรื่องย่อ ของเรื่อง ซ้องกั๋ง  เนื้อเรื่อง เกี่ยวกับ การรวมตัวกันของกลุ่มโจร 108 คนในช่วงรัชสมัย ฮ่องเต้ ซ่งฮุ่ยจง ที่ขึ้นชื่อว่า ยุคบ้านเมืองอ่อนแอ ฮ่องเต้ไม่มีคามสามารถ โดนขุนนางกังฉินคอยเป่าหู และใช้อำนาจไปอย่างมิชอบ โดนเฉพาะขุนนางกังฉิน ชื่อ เกาฉิว

โดยตอนแรกจะเป็นเรื่องราวการรวมตัวของเหล่าผู้กล้า และชีวประวัติของแต่ละตัวละคร โดยมีตัวละครเอกคือ ซ้องกั๋ง หรือ  ซ่งเจียง(宋江) ที่มีฉายา หยาดพิรุณทันกาล ที่อาจจะมีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ เพราะมีชื่อปรากฎในพงศาวดารราชวงศ์ซ่ง รวมถึง ในชีวประวัติของ จางซูเย่ ที่ระบุการก่อการต่อต้านรัฐบาลของซ่งเจียง

แต่ในนิยายระบุว่า  เขาหัวหน้ากลุ่มโจร ที่มีหัวหน้าใหญ่ 36 คน และหัวหน้ารอง 72 คน ซึ่งนำมาจาก นิทานสุ่ยหู่ (水浒故事)ซึ่งนิทานพื้นบ้าน ที่ไม่ปรากฎชื่อผู้แต่ง จึงเกิดประเด็นสงสัยว่า ซือไน่อัน นั้นเป็นผู้แต่งนิยาย เรื่อง ซ้องกั๋ง เองทั้งหมด หรือ เป็นเพียงคนรวบรวม นิทานพื้นบ้านเหล่านี้เท่านั้น

สิ่งถัดมาคือ ตัวละครทั้ง 108 คนนั้น มีประวัติความเป็นมา เหมือนกันหมด คือ ทุกคนถูกขุนนางกลั่นแกล้ง กดขี่ข่มเหง จึงหนีออกมารวมตัวเป็นโจร ที่เขาเหลียงซาน เพื่อปราบเหล่าขุนนางชั่ว โดยในตอนแรกจะเ้นไปที่ การรวมกลุ่มและประวัติของแต่ละคน เช่น พระหลู่จื้อเซิน สื่อจิ้น หลินชง อู่ซ่ง (บู๊ซ้ง) หลี่ขุย ซ่งเจียง เป็นต้น แต่ช่วงกลางเรื่องถึงท้ายเรื่อง กลับเปลี่ยนเป็น กลุ่มโจรเข้ารับราชโองการจากฮ่องเต้ ซึ่งความจริงเป็นแผนของเกาฉิว เพื่อหลอกให้ไปปราบกลุ่มกบฎต่างๆ แต่กลับพลาดท่าเสียที ผู้กล้าหลายคนต้องเสียชีวิตเป็นอันมาก

โดยในตอนจบนั้น เมื่อปราบกบฎได้หมด ซ่งเจียง ก้ได้รับพระราชทานเหล้าจากฮ่องเต้ แต่เกาฉิว กลับแอบใส่ยาพิษลงไปในเหล้า ทำให้ซ่งเจียงนั้นเสียชีวิต และไม่สามารถรวมกลุ่มผู้กล้าได้อีกต่อไป

โดยในตอนจบนั้น ให้ อ่องเต้ ซ่งฮุ่ยจง ฝันว่า เหล่าผู้กล้าแห่งเขาเหลียงซานนั้น แท้ที่จริง เป็น เทพยาดาจุติลงเกิดเพื่อปราบยุคเข็ญ เมื่อพวกเขาได้พบกัน ก็สาบานตัวเป็นพี่น้องกัน และกล่าวประนามฮ่องเต้ว่า อ่อนแอ หูเบา พร้อมจะรุมทำร้ายฮ่องเต้ ทำให้ฮ่องเต้ซ่งฮุ่ยจง ต้องสะดุ้งตื่น

ใครแต่งกันแน่
ตามที่อธิบายไว้ตอนต้น เรื่องตอนต้นเรื่องนั้น เป็นการรวบรวมชีวประวัติจากนิทานพื้นบ้าน ที่ปรากฎในพงศาวดารจริง แต่ส่วนหลังนั้น กลับเป็นเรื่องการทำสงครามปลีกย่อย ที่ใช้ตัวละครจำนวนมาก

โดยในส่วนแรกนั้น ได้อธิบายแล้วว่า ตัวละครบางตัวนั้นได้ปรากฎชื่อในพงศาวดาร มาบ้างแล้ว และมีเนื้อเรื่องที่คล้ายกับนิทานพื้นบ้านสุ่ยหู (水浒故事)ที่ไม่ปรากฎชื่อผู้แต่ง แต่ ในเรื่องพี่น้องทั้ง 36 คน แรกเริ่ม นั้น กลับปรากฎในชื่อ หนังสือ กุ่ยซินจ๋าซือ (癸辛雜識) แต่งโดยโจวมี่ (周密) ราวคริสตศตวรรษที่ 13 สมัยราชวงศ์ซ่งใต้ โดยกล่าวถึงตัวละครหลักๆ เช่น ซ่งเจียง หลูจุ้นอี้ อู๋ย่ง กวนเซิ่ง สามพี่น้องหย่วน หลิ่วถัง ฮัวหยง

ทำให้เชื่อว่า ตัวละครรอง คือ 72 คนนั้น น่าจะถูกแต่งในภายหลัง หรืออาจเป็น นิยายพื้นบ้านที่ถูกรวบรวมเพิ่มขึ้น แต่เรื่องนี้นั้นถูกเล่าต่อๆ กันมา

สิ่งนี้เองทำให้ผู้คนสงสัยว่า ผู้แต่งเรื่อง “ซ้องกั๋ง” (宋江) อาจจะเป็นลูกศิษย์ของซือไน่อัน คือ  หลัวก้วนจง  (罗贯中) มากกว่า เพราะมีการศึกษาผลงานเรื่อง “ซันซุ่ยผิงเยาจ้วน” (三遂平妖传) พบว่ามี 13 บทในเรื่องนี้ที่ถูกนำไปใส่ไว้ในเรื่อง ซ้องกั๋ง  แสดงให้เห็นว่า “ซ้องกั๋ง” อาจจะเป็นผลงานของ หลัวก้วนจง

โดยเฉพาะการค้นพบประโยคที่ว่า “ซือไน่อัน แต่ง  หลัวก้วนจง เรียบเรียง” ในหนังสือ “จงอี้สุยหู่จ้วนอี้ไป่เจวี้ยน” (忠义水浒传百卷) ซึ่งเป็นต้นฉบับของเรื่อง ซ้องกั๋ง  นอกจากนี้ ยังพบประโยคที่ว่า “ซือไน่อันรวบรวม หลัวก้วนจงแก้ไข”  ในหนังสือ “ซ้องกั๋ง” ของ เทียนตูไว่เฉิน (天都外臣) ซึ่งเป็น “ซ้องกั๋ง” ฉบับที่เก่าที่สุดที่ยังพบได้ในปัจจุบัน  เพราะฉะนั้น  ข้อสันนิษฐานนี้จึงมีความน่าเชื่อถือ อย่างน้อย ก็น่าจะเป็นผลงานร่วมกันมากกว่า

โดยนักประวัติศาสตร์เชื่อว่า  เนื้อเรื่องเดิม น่าจะมีเพียง 36 คน ต่อมาจึงเพิ่มให้ครบ 108 ตามความเชื่อเรื่องโชคชะตาในลัทธิเต๋ามากกว่า

อีกทฤษฎีชื่อว่า ซือไน่อัน นั้นเป็นคนแต่งส่วนแรก ต่อมาเนื้อหาส่วนหลังนั้น น่าจะถูกแต่งโดย หล่อก้วนจง เพราะสังเกตุจากท้ายเรื่องนั้น มันเป็นการทำศึกขนาดใหญ่ มีการใช้เล่ห์เหลี่ยม และมีการกระจายบทตัวละครย่อยเป็นอันมาก ที่มีลักษณะการประพันธ์เหมือน สามก๊ก อย่างชัดเจน

นักประวัติศาสตร์จับผิดเรื่องยุคสมัย
นักประวัติศาสตร์ศึกษาช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์ในนิยายเรื่อง “ซ้องกั๋ง” กลับพบว่า บางเหตุการณ์เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในยุคของ ฮ่องเต้ เจียจิ้ง (嘉靖年间) หรือ หมิงซื่อจง ราชวงศ์หมิงนั้นมี หมิงซื่อจง 2 คน อีกคนเป็นคนสุดท้ายราชวงศ์หมิง

แต่ซือไน่อัน นั้นอยู่ในยุคของ จูหยวนจางที่เป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์หมิง ซึ่งเป็นยุคก่อน ฮ่องเต้เจียจิ้ง ถึง 100 ปี โดยเฉพาะลักษณะการปกครอง และลัทธิเต๋า ที่เฟื่องฟูในกลางยุคราชวงศ์หมิง นั้น ไม่มีทางเกิดขึ้นได้ในยุคของซือไน่อัน  จึงเป็นอีกข้อสันนิษฐานว่า คนแต่งอาจอยู่ในยุคกลางราชวงศ์หมิงมากกว่า นั่นคือ กัวซวิน (郭勋) เพราะ “ซ้องกั๋ง” ฉบับหนึ่งร้อยตอน ของกัวซวิน ควรจะเป็นฉบับแรกสุด

เพราะในยุค ฮ่องเต้เจียจิ้ง นั้น เนื่องจากนิยายเรื่องนี้ เน้นไปที่การปลุกระดมการต่อต้านรัฐบาลที่ปกครอง ทำให้ผู้แต่ง อาจต้องการปกปิดชื่อเนื่องจากหลีกเลี่ยงการับโทษจากนิยายที่เขียนก็เป็นได้ จึงไปยืมชื่อของคนในอดีตมาแทน

โดยนิยายเรื่องนี้ กลับถูกแบนในช่วงระยะเวลาของ ฮ่องเต้ ฉงเจิน หรือ หมิงซื่อจง อีกคน ซึ่งเป็นรัชกาลสุดท้ายของราชวงศ์หมิง เนื่องจากเกิดกบฎไพร่ ที่นำโดย หลี่จื้อเฉิง  (李自成 1606 - 1645?)

สุดท้าย  ปริศนาที่ว่า ซือ ไน่อัน เป็นผู้แต่งวรรณกรรมเรื่อง “ซ้องกั๋ง” จริงหรือไม่นั้น ก็ยังคงมีข้อสงสัยอยู่อีกหลายจุด  และปริศนานี้จะคลี่คลายเมื่อไร  ก็ยังมิอาจทราบได้ อย่างไรก็ดี กระแสหลักยังคงยอมรับกันว่า ซือไน่อัน นั้นเป็นผู้แต่งเรื่อง สุยหูจ้วน หรือ 108 ผู้กล้าแห่งเขาเหลีียงซาน

ซ้องกั๋ง กับนิยายกำลังภายใน
สุ่ยหู่จ้วน ฉบับเต็มนั้นจะมีความยาว 120 บท โดยเวอร์ชั่นที่ได้รับการตีพิมพ์อย่างแพร่หลายในรัชสมัยราชวงศ์หมิงั้น หยางติ้งเจี้ยน(楊定見) เป็นผู้เรียบเรียง แต่ในเวอร์ชั่นของชาวตะวันตกจะเหลือเพียง 100 บาท นั่นถือขาดตอน ปราบกบฎเถียนหู่ และหวังชิ่ง

แต่เวอร์ชั่นของไทยที่แปลโดย สมเด็จเจ้าพระยาบรมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) นั้นจะแปลมาจากเวอร์ชั่น 120 บท เพราะมีเรื่องราวตอนปราบกบฏเถียนหู่และหวังชิ่งอยู่ด้วย

แต่เวอร์ชั่นที่นิยมอ่านกันจริงๆ จะเป็นเพียงเวอร์ชั่น 70 บท ที่จบเพียงแค่รวบรวมผู้กล้าครบ 108 คนเท่านั้น ขณะที่มีการแต่งเสริมเติมแต่งในฉบับต่างๆ หรือเรียกว่า Spin Off  ออกมาอีกมามาย ตั้งแต่ยุคราชวงศ์หมิง มาจนถึงราชวงศ์ชิงกันเลยทีเดียว

ขณะที่ นิยายกำลังภายในยุคใหม่ ก็มีการกล่าวอ้างนิยายเรื่อง 108 ผู้กล้าเขาเหลียงซาน เช่นกัน  ยกตัวอย่างเช่น

ก๊วยเซาเทียน บิดาของก๊วยเจ๋งในเรื่องมังกรหยกของกิมย้ง สืบเชื้อสายมาจากกัวเซิ่ง ฉายาบัณฑิตมือวิเศษ ของจูชง

ขณะที่ หนึ่งในเจ็ดประหลาดกังหนำ ฉายา นักปราชญ์มือวิเศษ  ก็มาจากฉายาของ เซียวย่าง ที่ใช้พู่กันเป็นอาวุธ

ในตอนท้ายเรื่องมังกรหยกภาคสอง อึ้งเอี๊ยะซือนำกลยุทธ์ เหลียนฮวนหม่า  ของ ฮูเหยียนจั๋ว มาประยุกต์ใช้ในการศึกกับมองโกลที่เซียงเอี๊ยง นอกจากนี้ ฮูเหยียนจั๋ว ยังเคยบุกเขาดอกท้อ ของหลี่จง กับโจวทง อีกด้วย

เซี่ยวลี้ปวยตอ มีดบินไม่พลาดเป้าของโกวเล้ง ดูเหมือนจะมีต้นแบบมาจาก มีดบินของหลี่อิง (ตัวละครเอกที่ แซ่หลี่ เหมือนกัน)

ตัวอย่างที่น่าสนใจของ อุนสุยอัน อีกสองเรื่องคือ หลวงจีนที่หลงรักสตรี และ สตรีที่หลงรักหลวงจีนนอกจากนี้ ชื่อฉายาของชาวยุทธในนวนิยายกำลังภายในของนักเขียนอีกหลายคน ยังดัดแปลงมาจาก นิยายเรื่อง 108 ผู้กล้าเขาเหลียงซานอีกด้วย




วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2563

จีน (1368-1520) - องค์รักษ์เสื้อแพร หน่วยข่าวกรองแห่งราชวงศ์หมิง

จีน (1360-1520) - องค์รักษ์เสื้อแพร หน่วยข่าวกรองแห่งแห่งราชวงศ์หมิง

เดิมนั้น ยุคต้นราชวงศ์หมิงนั้น จูหยวนจาง ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์หมิง  มีคำสั่งเด็ดขาด "ห้ามขันทียุ่งเรื่องบ้านเมือง หากข้อแวะ มีโทษถึงประหาร"

องค์รักษ์เสื้อแพร
ในยุคนี้เองมีการก่อตั้ง องค์รักษ์เสื้อแพร (锦衣卫 ที่เป็นหน่วยงาน ทหารรักษาพระองค์ มีหน้าที่หลักคือ คุ้มครอง ฮ่องเต้ ในช่วงแรก แต่ต่อมา องค์รักษ์เสื้อแพรกลับได้รับคำสั่งให้ไปไล่ฆ่าขุนศึกและขุนนางสมัยที่ช่วยกันร่วมก่อตั้งราชวงศ์  ถัดมา ปี ค.ศ.1382 ในรัชสมัยฮ่องเต้  หมิงจู่ พระองค์ได้ทรงจัดตั้งหน่วย “องครักษ์เสื้อแพร” ขึ้นมาอย่างเป็นทางการ

แม้ว่าฉากหน้า หน่วยงานนี้จะมีหน้าที่หลักคือ อารักขาและเป็นกองเกียรติยศ ทหารทุกนายจะสวมเสื้อแพรเรียบร้อยสวยงาม พกดาบ  ซิ่วชุน พร้อมจะตวัดใส่ใครก็ได้  ถือกระบองหลวงพร้อมตีขุนนางที่ขัดพระทัยฮ่องเต้

แต่ต่อมา องค์รักษ์เสื้อแพร มีการขยายอำนาจไปยังควบคุมระบบศาลยุติธรรม มีอำนาจอยู่เหนือกระบวนการยุติธรรม กรมราชทัณฑ์ และศาลฎีกา สามารถจับผู้ต้องหาเอง สอบสวนเอง พิพากษาเอง และ ลงโทษเองได้เลย

นอกจากนี้ยังคอยแทรกแซงระบบอื่นๆ ไม่ว่าจะการค้า ระบบศักดินา ยศตำแหน่งในระบบขุนนางต่างๆ และอื่นๆ รวมไปถึงมีอำนาจเต็มที่ในการที่จะเข้าไปสืบสวนคดีต่างๆ การอุ้มฆ่า ปลดคนออกจากตำแหน่งโดยเฉพาะเหล่าขุนนางและพระญาติ แต่ก็มีบางหน่วยในองค์รักษ์เสื้อแพร นั้นกลับมีหน้าที่เพียงแค่ เฝ้าสุสานของราชวงศ์เท่านั้น

ในปลายรัชสมัยของ ฮ่องเต้หงอู่ หรือ จูหยวนจาง ในปี ค.ศ. 1393 มีการก่อกบฎ ซึ่งผู้อยู่เบื้องหลังคือ บางคนในหน่วยองครักษ์เสื้อแพร เหตุการณ์ครั้งนั้นมีคนโดนประหารไปประมาณ 40000 คน  ทำให้ ฮ่องเต้หงอู่  เริ่มคิดได้ว่า หากปล่อยไปแบบนี้ สักวันหนึ่งหน่วยองครักษ์เสื้อแพรก็อาจจะมีอำนาจที่มากจนฮ่องเต้คุมไม่อยู่ จึงมีพระบรมราชโองการให้ยุบหน่วยงานนี้ลงอีกทั้งยังสั่งให้นำเอาเครื่องแบบของหน่วยองครักษ์เสื้อแพรมาเผากลางที่สาธารณะเพื่อเป็นการยืนยันต่อหน้า ขุนนาง และ ประชาชน ว่าหน่วยองครักษ์เสื้อแพรได้ถูกยุบทิ้งแล้วจริง ๆ

แต่ยังคงมีทหารรักษาพระองค์ไว้คอยคุ้มกันฮ่องเต้อยู่ แต่บางคนยังคงเรียกว่า หน่วยงานนี้ว่า  องค์รักษ์เสื้อแพร ต่อไป

หน่วยงานตงฉ่าง
แต่ต่อมา ฮอ่งเต้หมิงเฉิงจู่ (永乐;)หรือฮ่องเต้ หย่งเล่อ แห่งรัชกาลที่ 3 ของราชวงศ์หมิง มองเห็นว่า ขุนนาง ไม่สามารถไว้เนื้อเชื่อใจได้ จึงมีการตั้งหน่วยงาน “ต่งฉั่ง” (东厂- หน่วยงานตะวันออก) ขึ้น เพื่อให้ขันทีมีอำนาจในการตรวจสอบทั้ง ขุนนาง และ ราษฎร โดยเน้นไปที่การสอบสวนว่า ใครจะก่ออบฎ โดยหน่วยงานดังกล่าวสามารถรายงานตรงต่อฮ่องเต้ได้เลย จึงเสมือนมีฐานะเทียบเท่ากับ องครักษ์เสื้อแพร ที่ถูกยุบไปก่อนหน้านี้แล้ว

หน่วยงานซีฉ่าง
ถึงรัชกาลของฮ่องเต้เฉิงฮว่า หรือ ฮ่องเต้ หมิง เสี้ยนจง(明宪宗) ทรงไว้พระทัยเหล่าขันที นอกจากมี ตงฉั่ง แล้ว ในปี 1477 ยังได้จัดตั้งหน่วยงาน “ซีฉั่ง” (西厂-หน่วยงานตะวันตก) ขึ้นมา โดยมีขันที วังจื๋อ (汪直) ที่เป็นคนสนิทของสนม ว่านกุ้ยเฟย เป็นคนกุมอำนาจ สามารถออกคำสั่งกับ ตงฉั่ง และ องครักษ์เสื้อแพร ได้เสมือนแขนขา ทำให้มีอำนาจบาตรใหญ่จนถึงขั้นจับตัวและ เข่นฆ่าชาวบ้านหรือขุนนางตามอำเภอใจ จนขุนนางและชาวบ้าน ผู้บริสุทธิ์ต้องเสียชีวิตไปนับไม่ถ้วน

หลังจากตั้ง ซีฉ่าง ได้ปีนั้นสนมว่านกุ้ยเฟย ก็เสียชีวิต และ 5 ปีถัดมา เหล่าขุนนาง รวมตัวหน่วยงาน ตงฉ่าง เสนอให้ยุบหน่วยงาน ซีฉ่าง เนื่องจาก ใช้อำนาจโดยมิชอบ ทำให้ฮ่องเต้ หมิงเสี้ยนจง ไม่มีทางเลือกสั่งยุบหน่วยงานซีฉ่าง ส่วนขันที วังจื้อ ก็ทูลลากลับบ้านเกิด ทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

หน่วยงานเน่ยฉ่าง
ข้าม ฮ่องเต้ หงจื้อ หรือ หมิงเสี่ยวจง มา 1 คน มาเป็นฮ่องเต้องค์ถัดมาที่ครองราชย์ด้วยวัยเพียง 15 ปี คือ ฮ่องเต้ เจิ้งเต๋อ หรือ หมิง อู่จง  ด้วยเป็นฮ่องเต้ที่นิยมความสำราญ จึงทรงเชื่อฟังเหล่าขันที โดยเฉพาะ หลิวจิ่น (刘瑾) ขันทีที่มีอำนาจมากที่สุดในขณะนั้น และถือเป็น หัวหน้ากลุ่ม ขันทีแปดพยัคฆ์ ได้จัดตั้ง หน่วยงาน “เน่ยฉั่ง” (内厂- หน่วยงานฝ่ายใน) ซึ่งโหดเหี้ยมทารุณและใช้อำนาจบาตรใหญ่ยิ่งกว่า ”ตงฉั่ง” กับ “ซีฉั่ง”เสียอีก

ขันที หลิวจิ่น กำกับควบคุม หน่วยงานฝ่ายใน "เน่ยฉั่ง" มีหน้าที่กำกับดูแลทั้ง ตงฉ่าง และองครักษ์เสื้อแพรอีกทอดหนึ่ง จึงมีอำนาจล้นฟ้า บารมีคับแผ่นดิน ผู้คนต่างกล่าวกันว่าในเวลานั้น แผ่นดินจีนมีฮ่องเต้สองพระองค์ หนึ่งคือ “ฮ่องเต้นั่ง” สองคือ “ฮ่องเต้ยืน” ฮ่องเต้นั่ง คือ หมิงอู่จง ผู้นั่งบนบัลลังก์มังกร ส่วน ฮ่องเต้ยืน คือ หลิวจิ่น ขันทีที่ยืนอยู่ข้าง หมิงอู่จง นั่นเอง

สุดท้าย แม่ทัพ หยางอี้ชิง ร่วมมือกับ ขันที จางหย่ง (หนึ่งในขันทีแปดพยัคฆ์)​ ทำเรื่องกราบทูลฮ่องเต้หมิงอู่จง กล่าวโทษ หลิวจิ่น พร้อม หลักฐาน รวม 17 ข้อหา หนึ่งในนั้นคือ ข้อหาคิดก่อการกบฎ ทำให้ ฮ่งอเต้ ทรงแค้นพระทัยมาก ที่ขันทีที่พระองค์วางใจที่สุดอย่าง หลิวจิ่น จะกล้าหักหลังพระองค์ได้  แต่ เมื่อพบหลักฐานแน่ชัด ฮ่องเต้ หมิงอู่จง จึงทรงพิโรธและรับสั่งลงโทษ ขันที หลิวจิ่น ด้วยการลงโทษสูงสุดคือ การลงโทษแบบ หลิงฉือ 凌遲  คือการใช้ดาบแล่เนื้อเถือหนังคนทั้งเป็นไปเรื่อยๆ จนครบ 3357 ดาบ

บันทึกระบุว่า วันแรกเฉือนได้ 357 ดาบ แม้ว่า หลิวจิ่นจะอายุ 60 ปี แต่เขาก็อดทนมาก เขายังสามารถดื่มน้ำและกินข้าวได้เป็นปกติ  แต่วันถัดมา ถูกเฉือนเพียง 10 กว่าดาบก็ขาดใจตาย แต่ศพเขายังต้องรับโทษต่อจนครบ 3375 ดาบ

นอกจากนี้ หลังจากการยึดทรัพย์ สามารถนับรวม ทองทั้งหมดที่ยึดได้ถึง 450,000 กิโลกรัม ขณะที่เงินอีก 96000000 กิโลกรัม

จบเรื่อง ทหารรักษาพระองค์ ในยุค ราชวงศ์หมิง


วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2563

จีน (1920-2014) หลี่เซี่ยงหลาน ดอกไม้ราตรี ท่ามกลางสงครามโฆษณาชวนเชื่อ (IO)

The Flower of War หลี่เซียงหลาน

9 สิงหาคม 1945 ขณะที่อเมริกากำลังนำระเบิด นิวเคลียร์ลุกที่สองไปทิ้งที่ นางาซากิ อีกฟากของทะเลคือฝั่ง เซี่ยงไฮ้ ผู้คนยังคงเบียดเข้าสู่สนามม้าเพื่อชมคอนเสริต์ของ นักร้องสาววัย 25 ปี หลี่เซี่ยงหลาน โดยเฉพาะเพลงดังของเธอ เพลง "เย่ไหลเซียง" วันที่ 15 สิงหาคม 1945 จักรพรรดิฮิโรฮิโตะ ประกาศยอมแพ้ โดยทำพิธียแพ้ในวันที่ 2 กันยายน 1945 บนเรือมิซูรี่ แต่ไม่กี่วันถัดมา  หลี่เซี่ยงหลาน เธอกลับถูกจับข้อหา เป็นคนทรยศขายชาติ

หลี่เซียงหลาน (李香蘭) ดาวญี่ปุ่นที่จรัสแสงแห่ง เซี่ยงไฮ้   นอกจากนี้เธอยังเป็นนางเอกของชอร์บราเดอร์  เธอได้รับฉายา จูดี้การ์แลนด์ แห่งญี่ปุ่น ก่อนจะถูกตราหน้าว่า เป็น สายลับขายชาติ

หลี่เซี่ยงหลาน ชื่อจริงในตอนแรกเกิด คือ โยชิโกะ ยามาวูจิ   เกิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 1920 แต่เป็นชาวญี่ปุ่นเกิดที่ แมนจูเรีย เขตปกครองของญี่ปุ่น พ่อเป็นวิศวกรสร้างรถไฟที่ย้ายครอบครัวมาจากญี่ปุ่น ชื่อ ฟูมิโอะ ยามางูจิ

ในวัยเด็กเธอป่วยเป็นวัณโรค หมอจึงแนะนำให้เธอเรียนร้องเพลง เพื่อเป็นการออกกำลังกายระบบหายใจไปภายในตัว และเธอยังสนิทกับ เพื่อนชื่อ ลิวปา (Lyubov Yumshanova) ซึ่งครอบครัวของเธอเป็นสมาชิกพรรคบอลเชวิก ทำงานที่สถานกงศุลของโซเวียตอีกด้วย  ทำให้เธอสนใจฝึกร้องเพลงคลาสสิกแบบตะวันตก

ต่อมา เธอเข้าพิธี ยกน้ำชา เพื่อเป็นลุกบุญธรรมของ นายพลหลี่จี้ชุน  เพื่อนของพ่อเธอ ทำให้เขาตั้งชื่อจีนให้กับเธอ ชื่อ หลี่เซี่ยงหลาน แปลว่า ดอกกล้วยไม้ เป็นวันที่เธอดีใจมากที่เธอได้ชื่อเป็นคนจีน

และวันแรกที่เธอได้ขึ้นแสดงต่อหน้าสาธารณชน ก้มาถึง เธอสวมชุดกิโมโนขึ้นร้องครั้งแรก  แต่ คนจีนกลับมองว่า นี่คือ อีกอาวุธที่ญี่ปุ่นใช้โจมตีชาวจีน  อย่างไรก็ดี เธอยังคงได้รับโอกาสให้ร้องเพลงออกอากาศทางวิทยุที่ออกไปทั่วแมนจูเรีย อย่างต่อเนื่อง

อายุ 14 ปี พ่อเธอส่งเธอไปเรียนภาษาจีนที่ปักกิ่ง ที่นี่เธอได้รับการรับเป็นลูกบุญธรรมของ พานอี้กุ้ย (潘毓桂) นายธนาคารที่ร่ำรวยแห่งเทียนจิน ในช่วงนั้นเองเกิดกรณีสะพานมาโคโปโล เมื่อคุณครูถามเด็กนักเรียนทีละคน ว่าหากญี่ปุ่นบุกเข้ามา เธอจะทำอย่างไร เธอตอบทันทีว่า เธอจะไปยืนอยู่บนกำแพงเมืองปักกิ่ง ทุกคนต่างเฮ  แต่เธอมาเฉลยที่หลังว่า  หากเธอขึ้นไปยืนบนกำแพง จะทำให้เธอตายเร็วที่สุดจะได้ไม่ต้องเลือกข้าง เนื่องจาก ญี่ปุ่นเสมือนแผ่นดินพ่อ แต่จีนเสมือนแผ่นดินแม่ เธอไม่สามารถเลือกข้างได้ จึงขอตายเร็วที่สุดเป็นทางออก

แต่ในปี 1937 โยชิโกะ ความชิมะ หรือ เจ้าหญิงตงเจิน ได้ก่อตั้งบริษัท แมนจูกัวฟิลม์ เพื่อนสนิทของ พานอี้กุ้ย แน่นอนว่า  เธอรู้ดีว่า เจ้าของเสียงเพลงที่ขับกล่อมไปทั่วแมนจูกัวนั้นคือ หลี่เซี่ยงหลาน โยชิโกะคาวาชิมะ จึงได้ขอตัว หลี่เซี่ยงหลาน มาเป็นดาราในสังกัด โดยได้แสดงเรื่องแรกคือ Honeymoon Express ในปี 1938 ขณะนั้นเธออายุเพียง  18 ปี

แน่นอนว่า บริษัท แมนจูกัวฟิลม์นั้นไม่ใช่บริษัทสร้างหนังธรรมดา เพราะโยชิโกะ คาวาชิมะ นั้นเป็นถึง สายลับของญี่ปุ่น ทำให้มีเส้นสายกับทหารญี่ปุ่น และการโฆษณาชวนเชื่อในยุคนั้นถือเป็น งานของรัฐบาลญี่ปุ่น หลี่เซี่ยงหลานนั้นถือเป็นวัตถุดิบชั้นดี เนื่องจากเธอพุดได้ทั้งจีนและญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังมีความสามารถร้องเพลงและเล่นหนังเป็นอย่างดี

ดังนั้น บทในหนังทุกเรื่องนั้น ถูกสร้างขึ้นเพื่อผลประโยชน์ของรัฐบาลญี่ปุ่น แน่นอนว่า บทส่วนใหญ่ที่เธอได้รับ คือ สาวจีน ที่หลงรักหนุ่มญี่ปุ่น นอกจากนี้ เธอยังเคยเปิดการคอนเสิร์ตที่กรุงโตเกียวในปี 1939 ขณะที่เธออายุเพียง 21 ปี แทบทำให้สนามแตกกันเลยทีเดียว

ในปี 1940 หนังเรื่อง China Night ก็เล่าเรื่อง เด็กหญิงกำพร้าชาวจีนที่ได้รับการอุปการะจากเจ้าหน้าที่เรือเดินสมุทรชาวญี่ปุ่นที่จิตใจดี แน่นอนว่า ครั้งแรก เธอย่อมเกลียดชังชาวญี่ปุ่นในตอนแรก แต่สุดท้ายก็กลับไปตกหลุมรักชาวญี่ปุ่น หนังเรื่องนี้เองที่สร้างปัญหาให้กับเธอในภายหลัง

ในปี 1942 แมนจูกัวก็สร้างหนังเรื่อง A Good Name for Generations เธอทั้งเล่นทั้งร้อง เพลงดังอย่าง ไม่ถังเกอ และ เจี้ยเอียนเกอ ที่โด่งดังไปทั่วประเทศจีน ถึงขนาดมีข่าวลือว่า เหมาเจ๋อตุง ต้องดูหนังเรื่องนี้ภายในถ้ำที่เยนอาน ขณะที่เจียงไคเช็กก็ต้องดูหนังเรื่องนี้ในฉงชิ่ง

ในปี 1944 แมนจูกัวฟิลม์ ถอนตัวไป ทำให้หลี่เซี่ยงหลาน ได้รับอิสระ เธอย้ายไปร่วมงานกับ บริษัทจงหัวที่เซี่ยงไฮ้  แต่เซี่ยงไฮ้ยุคนั้น อยู่กันด้วยความยากลำบาก เพราะเพิ่งโดนญี่ปุ่นถล่มมาไม่นาน แต่เธอก็ยังร้องเพลง เย่ไหลเซียง หรือ ดอกราตรี  ประโยค เย่ไหลเซียง หว่อ เหว่ย หนี่ อ้ายซาง (เจ้าดอกราตรี ฉันร้องเพลงนี้ให้เจ้าได้ฟัง) ก็ดังกระหึ่มทั่วทั้งเมืองเซียงไฮ้ และส่งให้เธอเป็น หนึ่งใน 7 ดาวจรัสแสงแห่งเซี่ยงไฮ้ในยุคนั้น

วันที่ 6 กันยายน 1945 ญี่ปุ่นประกาศแพ้สงคราม ชาวจีนที่โกรธแค้นชาวญี่ปุ่นต่างนำธงญี่ปุ่นมาเหยียบย่ำ (รวมถึงประเทศไทยด้วย) แต่เธอกลับเสียใจหลังจากนั้นไม่นาน เธอถูกจับในฐานะคนขายชาติ

โยชิโกะ คาวาชิมะ หรือเจ้าหญิงตงเจิน เจ้าของบริษัทแมนจูกัวฟิลม์ เธอคือสายลับของรัฐบาลญี่ปุ่น และหลี่เซียงหลานไป คบค้าสมาคมกับสายลับชาวญี่ปุ่น เพื่อโฆษณาชวนเชื่อ โยชิโกะ คาวาชิมะ นั้นเป็นคนจีน เชื้อราชวงศ์ชิง ต้องพิสูจน์ว่า ตนเองคือคนญี่ปุ่น เพื่อยืนยันว่า เธอไม่ใช่คนจีนขายชาติ โดยเธอพยายามติดต่อพ่อบุญธรรมชาวญี่ปุ่นเพื่อยืนยัน แต่สุดท้ายเธอถูกพิพากษาประหารชีวิต

เช่นเดียวกับ หลี่เซียงหลาน เธอพยายามพิสูจน์ว่า เธอเป็นคนญี่ปุ่น เธอชื่อ โยชิโกะ ยามางูจิ มาแต่กำเนิด ในตอนนั้น พ่อแม่ของเธอจะมายืนยันว่า เธอเป้นคนญี่ปุ่นก็ไม่สามารถติดต่อได้ เพราะถูกจับในฐานะเฃลยสงคราม วันที่ 8 ธันวาคม 1945 ทางการจีนพิพากษาประหารชีวิต หลี่เซี่ยงหลาน ที่สนามม้าเมืองเซี่ยงไฮ้

แต่กรณีของเธอกลับเกิดปาฎิหารย์  คือ มีเจ้าหน้าที่สถานกงสุลของโซเวียต มาพบเธอ นั่นคือ ลิวปา เพื่อในวัยเยาว์ของเธอ ขอเข้าพบเธอ และพุดคุยเพียงเล็กน้อย แต่ไม่กี่วันถัดมา มีของขวัญชิ้นหนึ่ง คือตุ๊กตาญี่ปุ่นที่เธอเคยให้กับลิวปาในวัยเด็กถูกส่งมาให้เธอ  เธอคิดว่า ลิวปา คงส่งมันคืนมาให้เธอในวาระสุดท้าย แต่เมื่อเธอแกะมันออก กลับมีกระดาษซ่อนอยู่ มันคือ สำเนาทะเบียนราษฎร์ ที่ระบุชัดเจนว่า เธอคือ ชาวญี่ปุ่นชื่อ โยชิโกะ ยามากูชิ

และกระดาษชิ้นนี้เอง ที่ ศาลเมืองเซี่ยงไฮ้ยกฟ้อง หลี่เซียงหลาน และส่งเธอกลับญี่ปุ่น เมื่อเธอกลับไปญี่ปุ่น เธอยังคงมีอาชีพเป็นนักแสดง โดยได้เล่นเรื่อง Scandal ในปี 1950 ของอาคิระ คุโรซาวะอีกด้วย

ในช่วงปี 1955-1958 เธอกลับมารับงานแสดงที่ฮ่องกง  ในเรื่อง นางพญางุขาว 1956 โดยเป็นการร่วมทุนระหว่าง โตโฮ กับชอว์บราเดอร์  ต่อมาเธอได้แต่งงานกับ ฮิโรชิ โอตากะ นักการฑูตชาวญี่ปุ่น ในปี 1958 แล้วก็ลาวงการไป

แต่แล้วเธอกลับไปเล่นการเมือง ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาสูงของญี่ปุ่น ถึง 3 สมัย รวม 18 ปี เธอมักจะช่วยสานสัมพันธ์ระหว่างจีนกับญีปุ่นอยู่เสมอ  เมื่อมีนักข่าวญี่ปุ่นถามเธอเกี่ยวกับหนังเรื่อง  China Night นั้น เธออธิบายว่า ตอนนั้นเธอยังเด็กมาก และหากรู้ว่าตัวเองจะเป็นเครื่องมือทางสงคราม เธอคงไม่ทำเช่นนั้น เธอก้มหัวยอมรับผิด และอธิบายว่า เธอมักจะคิดว่า คนจีนคงไม่ให้อภัยเธอ เธอรู้สึกผิด แต่ อดีตนั้นมิอาจแก้ไข แต่ควรสร้างสิงใหม่ที่ดีกว่า นอกจากนี้เธอยังเป็นคนแรกที่ออกมาเรียกร้องให้ญี่ปุ่นจ่ายค่าชดเชยให้กับหญิงสาวชาวจีน อีกด้วย 

ต่อมา เธอเลือกที่จะกลับประเทศจีน และเยี่ยมเยียนคนรู้จัก พยายามสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างทั้งสองประเทศ  นอกจากนี้ เธอยังได้พบกับ ลิวปา เพื่อนเก่า ในปี 1998

วันที่ 7 กันยายน 2014 ณ กรุงโตเกียว หลี่เซียงหลาน เสียชีวิตในบ้านพักของเธอด้วยโรคชรา สิริอายุ 94 ปี

ทุกวันนี้ เพลง เย่ไหลเซียง ยังคงดังไปทั่วทุกมุมโลก  เจ้าดอกราตรี ฉันจะร้องเพลงนี้ให้เจ้าฟัง

อีกมุมหนึ่งถ้าเป็น เรื่องคู่กรรมของทมยันตี ที่ สาวไทยชื่อ  อังศุมาลิน ไปหลงรักทหารเรือญี่ปุ่นชื่อ  โกโบริ  ที่เหตุการณ์เกิดระหว่างช่วง สงครามโลกครั้งที่ 2......... คนไทยจะคิดว่า นี่คือ ปฎิบัติการ Information Operation หรือ IO ของรัฐบาลญี่ปุ่นหรือไม่  แต่ไม่ใช่หรอกครับ เพราะเรื่องนี้ แต่งขึ้นในปี 2508 หรือ หลังจากที่ญี่ปุ่นประกาศแพ้สงครามไปแล้ว



วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2563

จีน(ุ624-713) บู๊เช็กเทียน กับ องค์หญิงไท่ผิง

องค์หญิงไท่ผิง 太平公主 (ค.ศ. 665 - 2 สิงหาคม ค.ศ. 713)

ก่อนอื่นบอกกันก่อนว่า คลิปนี้เป็นคลิปต่อจากเหตุการณ์ที่ประตูเสวียนอู่  ดังนั้น ใครยังไม่ได้ดู กลับไปดูก่อนนะครับ

องค์หญิงไท่ผิง เป็นลูกสาวคนเล็กของนางบูเช็กเทียน ที่เกิดกับ ฮ่องเต้ ถังเกาจง แห่งราชวงศ์ถัง  และเป็นน้องสาวของ ฮ่องเต้ ถังจงจง และฮ่องเต้ ถังรุ่ยจง อีกด้วย

เมื่อพระราชมารดาเสด็จสวรรคต จึงทรงสนับสนุนพี่ชายถังรุ่ยจง ขึ้นครองอำนาจ แต่กลับทะเลาะกับลูกชายของพี่ชายที่สนับสนุน ทำให้ต้องพ่ายแพ้จนสิ้นพระชนม์ในขณะอายุเพียง  48 ปีเท่านั้น

ที่มา
ย้อนกลับไป สมัย ฮ่องเต้ถังไท่จง ปกครองบ้านเมือง มีพระสนมชั้นที่ 5 ชื่อ อู่เจ๋อเทียน หรือคนไทยเรียกติดปากว่า บู๊เช็กเทียน ช่วงนั้นนางลักลอบได้เสียกับพระโอรสองค์เล็กที่ตอนแรกไม่ได้เป็นองค์รัชทายาท ชื่อ หลี่จื้อ  แต่พี่ชายคนโตเป็นพวกรักร่วมเพศ โดนเนรเทศขณะก่อกบฎ ขณะที่ พี่ชายคนรอง เหี้ยมโหด ฮ่องเต้ถังไท่จงจึงให้ องค์ชายคนเล็ก ชื่อหลี่จื้อ ที่ลับลอบมีความสัมพันธ์กับบู๊เช็กเทียน ขึ้นเป็น องค์รัชทายาท

ย้อนกลับมา เรื่อง สายเลือดของ บู๊เช็กเทียน นี้ สืบทอดพ่อนั้นเป็นพ่อค้าที่ร่ำรวย แต่แม่ของนางนั้น สืบเชื้อสายจากราชวงศ์สุยที่ปกครองประเทศจีนมาก่อน ราชวงศ์ถัง นางถูกส่งเข้าวังอายุเพียง 14 ปี เข้ามาครั้งแรกในฐานะเลขานุการของฮ่องเต้ ก่อนจะกลายมาเป็นสนม และลักลอบได้เสียกับองค์รัชทายาท

ต่อมา ฮ่องเต้ถังไทจง เสด็จสวรรคต ทำให้ นางสนมที่ไม่มีลูกต้องไปบวชชีตลอดชีวิต  หลังจาก สนมบู๊เช็กเทียน บวชได้สองปี   ฮ่องเต้ ถังเกาจง  พระราชโอรสที่ได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากบิดา ที่เคยลักลอบได้เสียกัน จึงนำ นางบูเช็กเทียนกลับมายังวังหลวง

ปัญหาเกิดขึ้นทันที เพราะ ฮ่องเต้ ถังเกาจง นั้น มีฮองเฮาอยู่แล้ว ชื่อ หวังฮองเฮา ที่บิดานั้นจับแต่งงานให้ กับ พระสนมเซียว คนโปรดที่มีมาอยู่ก่อนแล้ว ที่สำคัญทั้งคู่นั้นกำลังแย่งชิงอำนาจกัน เพราะทั้งคู่ต้องการให้ลูกชายของฝ่ายตนเองขึ้นเป็นองค์รัชทายาท เมื่อสนมบู๊เช็กเทียนมาถึงนั้น แทบทำให้สนมเซียว นั้นตกกระป๋องไปก่อน  แต่สิ่งนี้เองกลับเป็น จุดเริ่มต้นของสงครามชิงอำนาจครั้งใหม่

ฆ่าลูกโยนความผิด
ตอนนั้น องค์รัชทายาทที่ได้รับการแต่งตั้ง คือ หลี่จง ที่แม้จะไม่ใช่ โอรสของ ฮองเฮาหวัง เป็นเพียงโอรสของสนมทั่วไป แต่เป็นโอรสองค์โตสุด  แต่ฮองเฮาหวังนั้นก็ให้การสนับสนุนอยู่  ส่วนบู๊เช็กเทียน นั้น เพิ่งมีโอรสชื่อ หลี่หง 

แต่แล้วในปี 654 นั้น สนมบู๊เช็กเทียน ก็ให้กำเนิดธิดาที่มีอายุได้เพียง 1 เดือน หวังฮ่องเฮา งจึงได้เสด็จไปเยี่ยมตามประเพณี ในฐานะที่มีตำแหน่งเทียบเท่ากับแม่แท้ๆ ของเด็ก แต่ระหว่างอยู่กันสองต่อสองกับเด็ก  เด็กกลับสิ้นชีวิต  (นักประวัติศาสตร์บางคนเชื่อว่า บู๊เช็กเทียนเลือกที่จะฆ่าลูกตัวเอง ก่อนให้หวังฮองเฮาเข้าเยี่ยม เพื่อโยนความผิด ขณะที่เด็กอาจสิ้นใจตายในเวลาประจบเหมาะพอดีก็เป็นได้ )  แต่สิ่งนี้เองทำให้ พระสนมบู๊เช็กเทียน โยนความผิดไปให้ฮองเฮาหวัง

เหตุการณ์นี้เอง ทำให้หวังฮองเฮา  และสนมเซี่ยว  ถูกปลดลงเป็นเพียงคนธรรมดา และถูกส่งตัวขังไว้ในตำหนักเย็น แต่นางก็ยังให้ขันทีตามไปฆ่า (เรื่องหลังนี้ อาจเป็นเรื่องที่แต่งขึ้น เพื่อใส่ร้ายบู๊เช็กเทียน)

ถึงตอนนี้ บู๊เช็กเทียน ได้ขึ้นเป็นฮองเฮา  และได้ขึ้นว่าราชการแผ่นดินร่วมกับฮ่องเต้ถังเกาจง จนมีฉายาว่า "มังกรคู่" และยังได้ถอดยศองค์รัชทายาทของ หลี่จง มาให้ หลี่หง โอรสที่เกิดกับบู๊เช็กเทียนแทน และสั่งเนรเทศ หลี่จง ไปต่างแดน ช่วงนี้เองที่ ฮองเฮาอู่ หรือบู๊เช็กเทียน นั้นกำจัดคู่แข่งทางการเมืองอย่างเมามัน จนถึงขนาด ฮ่องเต้ถังเกาจง และองค์รัชทายาท หลี่หง ต้องออกมาขอร้องนาง เรื่องการใช้อำนาจ (ดูเพิ่มเติมในคลิป ตี๋เหรินเจี๋ย นะครับ)

มาจุดนี้ ฮ่องเต้ ถังเกาจง เริ่มปวดหัว และสูญเสียการมองเห็น  ซึ่งนักประวัติศาสตร์เชื่อว่า  บู๊เช็กเทียนนั้น วางยาพิษให้ฮ่องเต้ เนื่องจาก มาขวางการใช้อำนาจ และทำให้ บู๊เช็กเทียน ขึ้นดูแลบ้านเมืองเพียงคนเดียว

ถึงตรงนี้ ลูกชายที่เป็นองค์รัชทายาท ได้รายงาน เรื่องครั้งที่บู๊เช็กเทียนใส่ร้าย ฮ่องเฮาหวัง และสนมเซียวที่เสียชีวิตไปกับ ฮ่องเต้ ถังเกาจง  และขอให้ปล่อยตัว ลูกสาวสนมเซียว

ถึงตรงนี้ นักประวัติศาสตร์เชื่อว่า ฮ่องเฮา บู๊เช็กเทียนนั้นเป็นผู้วางยาพิษ องค์รัชทายาท หลี่หง ที่เป็นลูกชายแท้ๆ ของตนเอง ที่บังอาจมาขัดขวาง ขณะนั้นเอง องค์ชายที่เกิดกับสนมคนอื่น ก็ถูกยัดข้อหาแล้วก็สั่งประหาร ทำให้ หลี่เสี้ยน ที่เป็นลูกชายของบู๊เช็กเทียนได้ขึ้นเป็นองค์รัชทายาท

ตอนนี้มีข่าวลือหนาหูว่า หลี่เสี้ยน นั้น ไม่ใช่ลูกแท้ๆ ของบู๊เช็กเทียน แต่บู๊เช็กเทียนแอบอ้างเอาลูกของพี่สาวมาเป็นลูกตน ใน ปี ค ศ 680 นางก็ยัดข้อหาให้หลี่เสี้ยน แล้วปลดออกจากองค์รัชทายาท แล้วเนรเทศ ไปอยู่เสฉวน แทน  และยกตำแหน่งองค์รัชทายาทให้ หลี่เจ๋อ แทน

ช่วงระหว่างนี้เองที่ องค์หญิงไทผิง ลูกสาวคนโปรดของบู๊เช็กเทียน นั้น ปรากฎตัวในหน้าประวัติศาสตร์ แต่ไม่ปรากฎวันเดือนปีเกิด โดยแต่งงานครั้งแรก นั้น สามีดันไปเกี่ยวข้องกับกบฎ ทำให้ติดคุกแล้วเสียชีวิตในคุก

ถังเกาจง สวรรคต
ในปี 683 ฮ่องเต้ถังเกาจง เสด็จสวรรคต ทำให้หลี่เจ๋อ ขึ้นเป็น ฮ่องเต้ ถังจงจง และบู๊เช็กเทียนขึ้นเป็น ไทเฮา (หรือหวังไทโฮ่ว) แต่ขึ้นครองราชย์ ไม่ถึงปี ฮ่องเต้ถังจงจง ก็ไม่เชื่อฟังมารดา  นางจึงสั่งปลดลงจากตำแหน่งฮ่องเต้ และสั่งเนรเทศ โดยให้ลูกชายคนสุดท้อง คือ หลี่ตั๋น ขึ้นเป็นฮ่องเต้ถังรุ่ยจง 唐睿宗 แทน

แม้ว่า ฮ่่องเต้ถังรุ่ยจงจะได้ขึ้นครองราชย์แต่ปีนั้น บู๊เช็กเทียนก็สังหาร หลิวฮองเฮา และสนมตู้

ช่วงปี 
 685 นี้เอง ที่ สาวหม้ายอย่าง ไทเฮา บู๊เช็กเทียน และลูกสาวหม้าย คือองค์หญิงไท่ผิง นั้น หาหนุ่มๆ มาเป็นชู้โดยมีปรากฎชื่อ ในประวัติศาสตร์ 4-5 คนโดยรวมพระสงฆ์ด้วย แต่ประเด็นสำคัญคือ ช่วงนี้ ไทเฮาบู๊เช็กเทียนนั้น ไล่ กำจัดคู่แข่งทางการเมือง โดยอาศัย ศาลตัดสินที่ไม่เป็นธรรม การยัดเยี่ยดข้อหา การใส่ร้าย สร้างหลักฐานเท็จ การทรมานให้รับสารภาพ รวมถึงลอบสังหาร ต่างๆ นานา

ถึงตรงนี้ ฮ่องเต้ ถังรุ่ยจง น้น ไม่ได้ออกว่าราชการเลย ปล่อยให้ ไทเฮาบู๊เช็กเทียน ว่าราชการไปเพียงคนเดียว  จนในปี 690 นางก็บังคับให้ ฮ่องเต้ถังรุ่ยจงสละราชบังลังก์ และก่อตั้งราชวงศ์ โจว และตั้งตัวเองขึ้นเทียบเท่ากษัตรย์ เพียงฮ่องเต้หญิงคนเดียวในประวัติจีน 

แต่แล้วในปี 705 บู๊เช็กเทียนในวัย 82 ปีป่วยหนักต้องนอนติดเตียง อดีตฮ่องเต้ ถังจงจง ก็กลับมาก่อรัฐประหาร แม้จะก่อกบฎสำเร็จ แต่เนื่องจากบู๊เช้กเทียนป่วยติดเตียง ไม่ค่อยได้รับข่าวสาร จึงใส่ร้ายลูกน้องของบู๊เช็กเทียนว่า เป็นคนก่อกบฎ แล้วเขายกทัพมาปราบ ทำให้ อดีตฮ่องเต้ถังจงจง กลับมาได้รับตำแหน่ง ผู้สำเร็จราชการแทน แต่ปีนั้นเอง บู๊เช็กเทียนก็สิ้นพระชนม์ลง ทำให้ ฮ่องเต้ถังจงจง ได้กลับขึ้นครองราชย์ได้อีกครั้ง
 

เรื่องของ องค์หญิงไท่ผิง
พระนางบูเช็กเทียนมีพระราชโอรสพระราชธิดาที่เติบโตมีชีวิตต่อมาคือ
1  องค์ชาย หลี่หง องค์รัชทายาท โดนบู๊เช็กเทียนวางยาพิษ
2  ฮ่องเต้ถังจงจง ชื่อเดิม องค์ชาย หลี่เสี่ยน แม้จะขึ้นเป็นฮ่องเต้ได้ แต่ก็โดนเนรเทศ ก่อนจะกลับมาอีกคร้ง
3  ฮ่องเต้ถังรุ่ยจง ชื่อเดิม องค์ชาย หลี่ตั้น แต่ไม่มีอำนาจในการบริหารแต่อย่างใด
4  องค์หญิงไท่ผิง

หลังพระนางบูเช็กเทียนสวรรคต  ฮ่องเต้ถังจงจงขึ้นครองราชย์รอบสอง ต่อมาถูกมเหสีตัวเองคือ ฮองเฮาเว่ย 韦皇后 ร่วมกับลูกสาวคือ องค์หญิงอันเล่อ ร่วมมือ ลอบปลงประชนม์ฮ่องเต้ถังจงจง  โดยเสด็จสวรรคตในปี 710  แล้วเข้ายึดอำนาจจากฮ่องเต้ โดยให้ลูกชายชื่อ ถังชาง อายุเพียง 14 ปี ขึ้นเป็นฮ่องเต้ ระหว่างนั้น เว่ยไทเฮาก็ว่าราชการแทนเหมือนกับ บู๊เช็กเทียน

องค์หญิงไท่ผิง กับ องค์ชายหลี่หลงจี ผู้เป็นหลาน (พระราชโอรสในฮ่องเต้ถังรุ่ยจง กับสนมตู้) นำกำลังทหารบุกเข้าวัง จับฮองเฮาเว่ย กับพวกประหารเสีย

ช่วงนี้เองที่ องค์หญิงไท่ผิง นั้นต้องการให้พี่ชาย คือ ถังรุ่ยจง กลับมาเป็นฮ่องเต้อีกครั้ง และให้หลี่หลงจี เป็นรัชทายาท รอขึ้นเป็นฮ่องเต้ โดยหวังว่า ตัวเองจะเป็นผู้สำเร็จราชการ เสมือนแม่ของตนเองคือ บู๊เช็กเทียน

ในปี 712 ฮ่องเต้ถังรุ่ยจง สละราชสมบัติให้โอรส หลี่หลงจี ขึ้นเป็นฮ่องเต้ ถังเสวียนจง  และเกิดแตกคอกับ องค์หญิงไท่ผิง ที่เป็นอาแท้ โดยในปี 715 ฮ่องเต้ถังเสวียนจง ประกาศว่า องค์หญิงไท่ผิง นั้นก่อกบฎทางเหนือ เมื่อทำสงครามชนะ ถังเสวียนจงก็ไล่ฆ่าข้าราชการที่เป็นอดีตจงรักภักดีต่อบู๊เช็กเทียนและ องค์หญิงไทผิง (อย่าลืมว่า บู๊เช็กเทียนนั้นฆ่าแม่ของเขา)

สุดท้าย อาแท้ๆ คือองค์หญิงไท่ผิง ถูกจับและเห็นพรรคพวกเสียชีวิตจำนวนมาก ฮ่องเต้ถึงเสวียนจงจึงพระราชทานผ้าแพร ไปให้ผูกคอตนเองในวันที่ 2 สิงหาคม 713 อายุเพียง 48 ปี

จบตำนานการแย่งชิงตำแหน่ง ฮ่องเต้ในยุค ราชวงศ์ถังตอนต้น

และอย่าลืม ไปดู คลิปปริศนาการจากไปของ หยางกุ้ยเฟย ที่เป็น สนมของถังเสวียนจง ต่อกันเลยนะครับ

สรุป

จำได้รึเปล่าครับ ตอน เหตุการณ์ประตูเสวียนอู่ นั่น ฮ่องเต้ ถังไทจง เขาน้นใส่ร้าย พี่ชาย กับน้องชายว่า ไปมีชู้กับสนมของพ่อ คือ ฮ่องเต้ ถังเกาจู่

ตอนนี้ ตัวเขาเอง คือ ถังไทจง นั้น มีสนมคือ บู๊เช็กเทียน ไปมีสัมพันธ์สวาทกับ ถังเกาจง ที่เป็นลูกชาย นี่มันกรรมตามสนอง ถังไท่จงรึเปล่าครับ เนี่ย

ยังไม่จบแค่นั้นนะครับ ยุคหยางกุ้ยเฟย นั้นเดิมเป็นเมียของลูกชาย แต่ถังเสวียนจง ก็เอามาเป็นเมีย

นี่มันราชวงศ์ถัง นี่เขาเล่นอะไรกันแน่

วันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2563

จีน(1750) ตำนาน ปึงซีเง็ก วีรบุรุษกังฟู มีตัวตนจริงหรือไม่

ปึงซี่เง็ก (แต้จิ๋ว) หรือ ฟ่งไสหยก  หรือ ฟางซื่ออี้ (จีนกลาง) (方世玉)รบุรุษกังฟู ทุกันนี้ หลายคนยังสงสัย่า เขามีตัตนจริงหรือไม่ ในคลิปนี้ จะขอเรียกเป็น แต้จิ๋ง คือ ปึงี่เง็กแทนนะครับ เนื่องจากคนไทยคงคุ้นหูกันมากก่า

ปึงซี่เง็กนั้นมีรายชื่ออยู่ใน 3 พยัคฆ์เส้าหลิน ประกอบได้ด้วย 
อั้งฮีกัว(หงซีกวน กลาง)  ปึงซีเง็ก โอวฮุยเคี้ยง (หูฮุ่ยเฉียง)

ในภาพยนตร์กำลังภายในส่วนใหญ่นั้น มักจะเล่าว่า ปึงซีเง็ก เป็นศิษย์เส้าหลินร่มรุ่นกับ  หงซีกวน  ซึ่งเป็นศิษย์พี่ใหญ่ของรุ่น (บางเวอร์ชั่นจะ ให้หงซีกวนเป็นศิษย์พี่ของแม่ ปึงีเง็ก ) โดยมี โอวฮุ่ยเคียง เป็นศิษย์ร่วมสำนัก ทั้งสามมีอาจารย์ชื่อ หลวงจีนจี้ส่าน

ตำนานปึงีเง็ก 
ตำนานเล่าว่า ปึงซี่เง็ก มี แม่เป็น อดีตศิษย์ วัด เส้าหลิน ชื่อ เมี่ยวชุ่ยฮัว ซึ่งเป็นลูกสาวของ เมี่ยวซื่ออัน (Miao Xian) หนึ่งในยอดยุทธแห่งสำนักเส้าหลินด้ย โดยเป็นศิษย์เส้าหลิน ที่หลบหนีจากการเผาัดเส้าหลินในครั้งหย่งเจิ้ง ฮอ่งเต้ ส่วนบิดาของปึงีเง็ก เป็นเพียงพ่อค้าธรรมดาชื่อ ปึงเต๊ก (ฟางตั๊ก 方德 )

เนื่องจากมีแม่เป็นจอมยุทธ์ ปึงซี่เง็กจึงได้อาบน้ำว่าน เพื่อให้กระดูกเหนียวตั้งแต่อายุเพียง  1 ขวบ เรื่องอาบน้ำ่านนี้ คนไทยก็มีแต่เป็นเรื่องไสยศาสตร์ทีทำให้หนังเหนีย กระดูกเหนีย

ต่อมา อายุ 3 ขวบเขาก็เริ่มฝึกวิชาหัวเหล็ก กับหมัดเหล็ก เริ่มต้นจากการฝึก ด้ยการชก ก้อนกระดาษ พอ 6 ขวบก็ฝึกท่าม้านั่ง ต่อมาถึงได้ฝึกรำมวยของัด เส้นหลิน

อายุเพียง 14 ปี ได้ขึ้นประลองฝีมือชนะศิษย์อันธพาลของสำนักบู๊ตึง โดยทัาประลองกับ เหลยเหลาหู่ ระหว่างที่เขาเดินทางค้าขายกับพ่อ เพราะ เหลยหลาหู่ ประกาศว่า  เขาจะยึดกวางตง ด้วยกำปั้น และรวมหางโจว และซูโจวด้วยเท้า ตามประวัติของ เหลยหลาหู่ เขาไม่เคยแพ้ใครเช่นกัน และยังเป็นลูกเขยของ หลี่ป้าชาน แห่งสำนักบู๊ตึ๋ง อีกด้วย  โดยหลี่ป้าชานนั้น เป็นองครักษ์ของผู้ว่าเขต ปูเตียน ข้าราชาการชั้นผู้ใหญ่ของราชวงศ์ชิง และเป็นคนวางแผนเผาเส้าหลินเมื่อครั้ง หย่งเจิ้งฮ๋องเต้ ซึ่งเป็นพ่อของเฉียนหลงฮ่องเต้ อีกด้วย

แต่เหลยเหล่าหู่ กลับโดน ปึงซี่เง็ก อัดจนช้ำใน เสียชีวิตในเวลาต่อมา

ถัดมาไม่นาน  โอวฮุ้ยเคียง ศิษย์สำนักเส้าหลิน กลับบุกไปถล่มโรงงานทอผ้าไหม ของราชวงศ์แมนจู ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนของบู๊ตึ๋ง เพื่อล้างแค้นให้พ่อ โดยเฉพาะมีศิษย์สำนักบู๊ตึ๊ง ชื่อ จางจิ้นหง ศิษย์เอกของ นักพรต ฟงเต้าเต๋อ ทำให้ศิษย์สำนักบู๊ตึ๋ง กับ สำนักเส้าหลิน มองหน้ากันไม่ติดและหาเรื่องกันมาตลอด

เฉียนหลงประพาสกังหนำ
ปึงเี่เง็กนั้น มีชื่อโผล่มาใน หนังสือรชื่อ เรื่อง "เฉียนหลงประพาสกังหนำ" ซึ่งเป็นนิยายกำลังภายในที่เล่าถึง เฉียนหลงฮ่องเต้ ได้ใช้วิธี จีนปราบจีน มังกรปราบมังกร เชื่อกันว่า นิยายเรื่องนี้ ถูกแต่งขึ้นไม่นานหลังเหตุการณ์ เฉียนหลงฮ่องเต้ประพาสกังหนำจริง จึงเชื่อว่า หนังสือน่าจะมีข้อเท็จจริงอยู่มาก หนึ่งในนั้น คือ การกำจัดวัดเส้าหลิน โดยเอาสำนักบู๊ตึงและง้อไบ๊ มาร่วมต่อสู้กับ วัดเส้าหลิน

เหตุการณ์เผาสำนักัดเส้าหลิน ต้องย้อนกลับไปช่ง หลังการล่มสลายของราชวงศ์หมิงนั้น วัดเส้าหลินใต้ นั้น ถือเป็นแหล่งกบดานของเหล่ากบฎราชวงศ์หมิงที่มีต่อต้านราชวงศ์ชิง หรือแมนจู ึ่งถือเป็นคนต่างชาติ ดังนั้น ชาวฮั่นต้องการขับไล่แมนจูให้ออกไปจากแผ่นดินจีน 

ขณะที่ ในยุคคังี ที่เป็นปู่นั้น ได้สั่งปลดอาุธของัดเส้าหลินเด็ดขาด แต่คนในัดยังฝึกิชามยด้ยมือเปล่า และพลองเท่านั้น ต่อมาหย่งเจิ่งฮ่องเต้ นั้นได้สั่งเผาวัดเส้าหลิน ไปรอบหนึ่งแล้ว  และครั้งนี้ เฉียนหลงฮ่องเต้นั้นได้สงสัย วัดเส้าหลิน จึงได้ส่งสายลับมาปลอมตัว มาขอบวชที่วัดเส้นหลิน  ทำให้รู้ว่า ที่นี่ยังคงเป็นแหล่งกบดานของเหล่ากบฎต่อต้านราชงศ์ชิง

และในปี 1750 นี้เองที่ เฉียนหลงฮ่องเต้ ได้เสด็จมาเยี่ยมชมวัดเส้าหลินด้วยตัวเอง เพื่อดูกับตา่า ัดเส้าหลิน ยังเป็นที่กบดานของเหล่ากบฎ พร้อมกับ รับทราบข่าจากสายลับที่ปลอมต้ัเป็น ศิษย์ัดเส้าหลินอีกด้ย

นิยายนั้นแต่งให้ บู๊ตึ๋ง และง่อไบ๊ มาถล่ม ัดเส้าหลินแทน

แม่ชีโหงวบ๊วย(อู่เหมย)จากง๊อไบ๊ ประกบ ปึงซีเง็ก ตามประวัตินั้น แม่ชีอู่เหม่ยนั้น เป็นอดีตศิษย์วัดเส้าหลิน และเป็นอาจารย์ของแม่ปึงซีเง็กด้วย แต่ได้หลบหนีออกจากเส้าหลินไป เมื่อตอนเส้าหลินถูกเผาในครั้ง หย่งเจิ้งฮ่องเต้ โดยหลบไปอยู่ภ้ำกระเรียนขา ปลีิเก นั่นหมายคาม่า แม่ชีอู่เหมย นั้น ต้องเป็นศิษย์รุ่มรุ่นกับ ตาของปึงึ่เง็กอีกด้ย

ได้ต่อสู้กับปึงซี่เง็ก โดยในนิยายได้อธิบาย่า  แม่ชีอู่เหม่ยน้น เชี่ยชาญการต่อสู้ระยะประชิด เมื่อได้ที ก็โจมตีเข้าที่ก้นกบ ึ่งเป็นจุดตาย ทำให้ปึงซี่เง็กตายทันที

นักพรตคิ้วขาว ไป่เม่ย จากง้อไบ๊ ประกบ หลวงจีนจี๊เสียง ไปเม่ย นั้น อดีตก็เป็นศิษย์วัดเส้าหลิน แต่เกิดความขัดแย้งจึงลาสึกออกมาเป็นฆราวาส แต่ไป่เม่ย ยังคงฝึกิชา อยู่ และมีลูกศิษย์ 2 คน ในนิยายนั้นให้ แมนจูจับศิษย์เป็นตัประกัน ประกอบกับคามแค้นเมื่อครั้งเป็นศิษย์ัดเส้าหลิน ทำให้ไป่เม่ย ต้องการลงมือกัจัดสำนักัดเส้าหลิน

ส่นหลงจีน จี้เสียง นั้น สำเร็จิชา ศรีษะอรหันต์  คู่นี้ หนังสือระบุว่า ศรีษะของหลวงจีนจี๊เสียงนั้นมีพลังกระแทก 800 ชั่ง แต่หน้าท้องของ นักพรตคิ้วขาวนั้นมีพลังกระท้อนได้ถึง 1000 ชั่ง เมื่อต่อสู้ถึงจุดชี้เป็นชี้ตาย หลวงจีนจี๊เสียง ได้เอาศีรษะกระแทกที่ท้องน้อยของนักพรตคิ้วขาว ทำให้โดนสะท้อนพลังกลับมา ทำให้ศรีษะแตกตาย แต่บางตำรา่า เมื่อหลงจีนจี้เสียง ใช้ศรีษะอรหัตต์ กลับเป็นท่าชกแบบยกมือ็ายขาขึ้นโจมตี แต่กลับโดนหมัดกงเล็บพยัคฆ์ ตะปปที่คอแทนทำให้เสียชีิตทันที

ปั้งเต้าเต็กแห่งบู๊ตึง ประกบ อั้งอีกัว(หงซีกวน) หงีกน นั้น เดิมเป็นเพียงพ่อค้าใบชา แต่เขาเข้าร่มกับ พรรคดอกไม้แดง เพื่อต่อต้านราชงศ์ชิง โดยนักประัติศาสตร์บางคนนั้น เห็นว่าน่าจะเป็นเรื่องแต่งขึ้น เพื่อยกย่อง หง ซิ่วฉวน (洪秀全) ผู้นำกบฏไท่ผิง มากกว่า

ส่วน ปั่งเต้าเต็ก นั้นเป็นอดีตศิษย์ัดเส้าหลินเช่นกัน เขาสนิทสนมคุ้นเคย กับ ไป่เม่ย ตั้งแต่เป็นอดีตศิษย์ัดเส้าหลิน เมื่อได้รับการร้องขอ จึงได้เดินทางมาด้ย  แม้เขาจะชนะหงีกน แต่หงีกนนั้นรอดมาได้  แต่โอ้วฮุ่ยเคี้ยง นั้นบงตำร่า โดนปั้งเต้าเต็ก เล่นงาน บางตำรา่า โดนอู่เหม่ย เล่นงาน

ในที่สุดศิษย์เส้าหลินใต้เสียท่า สำนักเส้าหลินใต้ถูกเผาทำลาย ทำให้ศิษย์เส้าหลินต่างกระเ้นกระสาย  หลบหนีไป โดย หลวงจีนจี้เสียง พร้อม ศิษย์ฆราวาสที่นำโดย หงซีกวน ก็ไปปฏิบัติการต่อต้านแมนจูต่อไป โดยปลอมตัวเป็นคณะงิ้วไปอยู่ในเรือแดง หงซวน

โดยมีหลักฐษนยืนยันเพียง  หวงฉีอิง และหวงเฟยหง ที่มีตัวตนอยู่จริง และได้รับการถ่ายทอดวิชามวยตระกุลหง นี้มา เป็นการตอกย้ำว่า หงซีกวน น่าจะมีชีวิตอยู่จริง

ขณะที่ ประวัติมวยหย่งชุน กล่าวว่า มวยหย่งชุนถูกคิดค้นขึ้นโดย แม่ชีอู่เหมย ซึ่งเป็นศิษย์คนโตของัดเส้าหลิน  เมื่อครั้งที่วัดเส้าหลินใต้ถูกเผานยุคหย่งเจิ้ง ฮ่องเต้  5 พยัคฆ์เส้าหลินยุคนั้น ได้แก่ แม่ชีอู่เหมย หลวงจีนจี้ส่าน แป๊ะเหมย ฟางโตตั๊ก และะแม่ชีเมียวหิ่น ฝ่าวงล้อมทหารแมนจู หนีออกมาพร้อมศิษย์ฆราวาสกลุ่มหนึ่ง หนึ่งในนั้นคือ หงซีกวน

แม่ชีอู่เหมย หนีไปอยู่ที่วัดกระเรียนขาว บนขาวไท่ซาน แถบมณฑลเสฉวน ซึ่งที่นั่นเองเป็นที่กำเนิดมวยชนิดใหม่ ที่ภายหลังถูกเรียกว่า มวยหย่งชุน ตามชื่อของ ยิ่มหย่งชุน ศิษย์ที่ได้รับการถ่ายทอดมวยชุดนั้นจากแม่ชีอู่เหมย

แม่ชีเมียวหิ่น ที่เป็นแม่ของ เมี่ยวชุ่ยฮัว ซึ่งเป็นแม่ของปึงซีเง็กอีกที ได้หลบไปอยู่กับชาวเมี่ยวและเย้า บริเวณพรมแดนระหว่างมลฑลเสฉวนและยูนนาน

นอกจากนี้ ในข้อมูลจาก ประวัติมวยหย่งชุน มีหลายส่วนที่พ้องกับประวัติมวยสกุลหง โดยประัติมยสกุลหงจะกล่าวถึง หลวงจีนจี้ส่านแห่งเส้าหลินใต้ ได้รับ หงซีกวน พ่อค้าใบชา เป็นศิษย์และถ่ายทอดมวยเส้าหลินใต้ให้

เมื่อเส้าหลินใต้ถูกแมนจูทำลาย หลวงจีนจี้ส่าน หงซีกวนและศิษย์อื่นๆ ก็ปลอมตัวเป็นคณะงิ้วไปอยู่ในเรือแดง ต่อมาหงซีกวนได้ไปเปิดสำนักมวย อยู่ที่เมืองฟา เรียกมวยที่เขาสอนว่า มวยสกุลหง

ข้อมูลส่วนใหญ่ที่พบจากประวัติของมวยต่างๆ พบชื่อบุคคลรอบตัว ปึงซีเง็ก หลายคนด้วยกัน เช่น หลวงจีนจี้ส่าน หงซีกวน ลู่อาไฉ เมี่ยวชุ่ยฮัว ซึ่งบุคคลเหล่านี้น่าจะมีตัวตนจริง โดยเฉพาะ ลู่อาไฉ มีหลักฐานยืนยันว่าเป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงๆ เนื่องจาก ลู่ อาไฉ ศิษย์ัดเส้าหลินที่หนีจากเหตุการณ์เผาัดเส้าหลิน ที่ได้ถ่ายทอดมวยสกุลหง ไปยังศิษย์รุ่นต่อๆ ไป และหนึ่งในผู้สืบทอดที่มีชื่อเสียงก็คือ หวงเฟยหง นั่นเอง

ประวัติ มวยสุนัข
ประัติ ของมวยสุนัข  ที่ถูกคิดค้นโดยแม่ชีอู่เหมย ผู้คิดค้นวิชาหย่งชุน ระบุ่า  ปึงซีเง็กก็ได้รับการถ่ายทอดมวยชุดนี้มาแล้วนำมาผสมกับ Huaquan(มวยชนิดหนึ่งทางแถบชานตุง) เมื่อวัดเส้าหลินถูกเผา ปึงซีเง็กก็หลบหนีออกมาได้ และไปอาศัยอยู่ที่หมู่บ้านหย่งชุน ใกล้กับฟุโจว และสอนมวยอยู่ที่วัดย้ายนั้น

ข้อมูลดังกล่าวพ้องกับประวัติของ ฟางฉีเหนียง แห่งหมู่บ้านหย่งชุน โดย ฟางฉีเหนียง อ้างว่า เธอคือเป็นบุตรสาวคนที่ 7 ของ ปึงซีเง็ก

บทสรุป ของนักประวัติศาสตร์ คือ เหตุการณ์เผาเส้าหลินนั้นเกิดขึ้นจริงแน่นอน  แต่เหล่าบรรดาลูกศิษย์และอดีตลูกศิษย์ัดเส้าหลิน เมื่อทราบข่า ทหารแมนจูจะเผาัดเส้าหลิน  น่าจะเข้ามาช่วยกันดับไฟแล้วเสียชีวิตมากกว่า  เพราะหากเฉียนหลงต้องการฆ่าศิษย์วัดเส้าหลินจริง ก็สามารถยกทัพไปบุกถล่มัดเส้าหลินได้อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องพึ่งสำนักิชาอื่นใด

ขณะที่ หงซีกวน นั้นน่าจะมีชีวิตอยู่จริง เพราะเป็นผู้คิดค้น เพลงมวยตระกูลหง และ นักพรตคิ้วขาวไป่เม่ยก็มีตัวตนจริง เพราะปัจจุบัน ก็ยังมีคนใช้วิชาของนักพรตคิ้วขาวอยู่ รวมไปถึง แม่ชีอู่เหมย ที่สู้กับปึงซี่เง็ก ก็มีตัวตนจริง เพราะเป็นคิดค้นวิชา หย่งชุน

ส่นใครจะคิด่า ปึ.ีเง็ก มีจริง หรือไม่ ก็คงต้องแล้แต่ เพราะหลักฐานต่างๆ คาด่า ถูกทำลายไปหมดสิ้นแล้

เอาละครับ ใครชอบใจคลิปนี้ ก็กดไลท์ กด แชร์ กดัก Subscribe ให้ด้ยนะครับ

วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2563

จีน (BC227) จิงเคอ - มือลอบสังหาร จิ๋นซีฮ่องเต้

จิงเคอ มือลอบสังหาร จิ๋นซีฮ่องเต้

เมื่อจิ๋นซีฮ่องเต้รวบรวมแคว้นประเทศต่างๆ สำเร็จ ถือว่า สิ้นสุดยุคเลียดก๊ก ในช่วงจั๋นกว๋อ และเปลี่ยนชื่อตำแหน่งจาก หวาง  ที่แปลว่า ราชา เป็น หวางตี้ ซึ่งแปลเป็นไทยได้ประมาณว่า ราชาเหนือราชา (จักรพรรดิ) เพราะคำว่า หวง”นั้นแปลว่า  ราชา ส่วน“ตี้” นั้นก็แปลว่า ราชา ซึ่งฮ่องเต้ของประเทศจีนนั้นก็ใช้ชื่อตำแนห่งนี้ ต่อมาอีก 2 พันปี 

โดยมีผลงานของจิ๋นซี นั้นมีทั้ง เผาตำรา ฝังบัณฑิต และสร้างกำแพงเมืองจีน แต่สุดท้ายแม้ว่าเขาจะพยายามค้นหา ยาอายุวัฒนะ แต่กลับเสียชีวิตด้วย สารปรอทในอาหาร  


เรื่องในอดีต กบฎเฉิงเจียว

เมื่อครั้ง ฉินหวาง เจิ้ง หรือ อิ๋งเจิ้ง ได้ขึ้นครองราชย์นั้น เหล่าขุนนางต่างสับสนวุ่นวาย เพราะขุนนางบางคนไม่ชอบ อิ๋งเจิ้ง เนื่องจาก ไม่แน่ใจในสายเลือดของ อิ๋งเจิ้ง ว่า ใครเป็นพ่อของอิ๋งเจิ้ง กันแน่ อาจเป็น หลี่ปู้เหว่ย หรือ ฉินหวาง คนก่อน จึงมีเหล่าขุนนางที่สนับสนุน โอรสอีกองค์ ซึ่งเป็นพี่ชายต่างมารดาคือ  เฉิงเจียว แทน

เนื้อหาส่วนนี้ใครยังไม่ได้ดู ผมจะขึ้น ไอคอนไว้ให้เข้าไปดูก่อนนะครับ ตอน จ้าวจี ผู้กุมความลับ ใครคือพ่อของจิ๋นซีฮ่องเต้

ขณะที่ กองทัพจากแคว้นจ้าว รวมกับอีก 4 แคว้นรวมตัวกันมาบุก แคว้นฉิน อัครมหาเสนาบดี หลี่ปู้เหว่ย จึงส่งให้ แม่ทัพเมิ่งเอ้า ยกทัพหลวงไป และให้แม่ทัพ ฝานหยีฉี และเฉิงเจียว คอยเป็นกองหนุน

แต่ แม่ทัพ ฝาหยีฉี นั้นไม่ถูกกับ หลี่ปู้เหว่ย เป็นทุนเดิม เพราะเขาอยู่ฝ่ายที่สนับสนุน เฉิงเจียว ขึ้นครองราชย์  ทำให้เขาไม่พอใจตัว หลี่ปู้เหว่ย ครั้งหนึ่งแม่ทัพอย่าง ฝานหยีฉี ถึงกับประนามว่า คนก่อเรื่องต้องกำจัดให้หมดสิ้น ทุกคนในแคว้นฉินต่างรู้เรื่องนี้ดีว่า เขาพูดถึงใคร

เมื่อสงครามปะทะกัน กองทัพของเมิ่งอ้าย กลับสู้กับ 4 แคว้นไม่ได้  หลี่ปู้เหว่ย จึงสั่งให้ แม่ทัพ ฝานหยีฉี ยกทัพไปช่วย  แต่ ฝานหยีฉี กลับไม่ยกทัพไปช่วย  ทำให้ หลี่ปู้เหว่ย ได้ที ส่งกองทัพใหญ่ นำโดย หวางเจียน ไปปราบกองทัพของ  เฉิงเจียว และ ฝานหยีฉี

แต่กลับกลายเป็นกองทัพใหญ่ที่โดนกองทัพของ ฝานหยีฉี เล่นงานแทน และโดนสังหารไปมากมาย  หวางเจียน จึงเลือกใช้ กลยุทธ์จารชน โดยให้ทหารปลอมตัวไปเป็นทหารของฝานหยีฉี เข้าไปในเมืองเพื่อไปเกลี้ยกล่อม เฉิงเจียว แทน

หลายวันผ่านไปกลับไม่มีการรบใดๆ เกิดขึ้น ฝ่าย ฝานหยีฉี ร้อนรน ออกมาท้ารบตลอด อีกหลายวันถัดมา หวางเจียน จึงออกมาท้ารบบ้าง   ฝานหยีฉี ได้รับคำท้าแล้วรีบเข้าตี

และแล้ว ทหารที่ปลอมตัวเข้าไป ก็มีโอกาสมอบจดหมาย ให้ เฉิงเจียว ว่า หากยอมจำนน แม่ทัพ หวางเจียน จะไว้ชีวิต แต่หากไม่ยอม จะจับตัวประหารเสีย แค่ได้ยินเช่นนี้ องค์ชายอย่าง เฉิงเจียว ก็ยอมจำนนทันที

ด้านฝานหยีฉี ได้ทีก็ไล่ตีเข้าไปในแนวรบของ กองทัพหวางเจียน แต่นั่นคือหลุมพราง และถูกกองทัพของหวางเจียน ตีขนาบ 2 ข้างแทน  ทำให้ฝานหยีฉี ต้องรีบยกทัพกลับเข้าเมือง แต่เมื่อตะโกนสั่งให้ทหารเปิดประตูเมือง กลับมีเสียงทหารตอบกลับมาว่า องค์ชายเฉิงเจียว ได้ยอมสยบต่อ ฉินหวาง แล้ว ขอให้เหล่าทหารจับตัว ฝานหยีฉี ให้ได้

ทำให้ฝานหยีฉี เลือกที่จะฝ่าวงล้อมทหารของตัวเอง หนีไปถึงแคว้นเยี่ยน

ที่มา
เจ้าชายไท่จื่อตัน (รัชทายาทชื่อ ตัน)  รัชทายาทแห่งแคว้นเยี่ยน เป็นตัวประกันอยู่ในแคว้นฉิน เมืองเสียนหยาง เป็นเวลานาน แม้ว่า เขาจะรู้จักกับ อิ๋งเจิ่ง หรือ จิ๋นซีฮ่องเต้ ตั้งแต่เด็ก แต่ตลอดเวลาเขากลับถูกกดขี่สารพัด ทำให้เขาโกรธแค้นแคว้นฉินอย่างมาก   ระหว่างที่แคว้นฉินนั้นวุ่นวายกับการทำสงคราม เขาจึงฉวยโอกาสหลบหนีกลับไปยังแคว้นเยี่ยน และกลับกลายเป็นศัตรูคนสำคัญคนหนึ่งของ จิ๋นซีฮ่องเต้

ต่อมา แคว้นฉินไล่โจมตีทีละแคว้น ตั้งแต่ แคว้นฉี, แคว้นฉู่, แคว้นฮั่น, แคว้นวุ่ย และแคว้นจ้าว  ได้อย่างราบคาบ สถานการณ์จึงคาดหมายได้ว่า ต่อไปจะบุกแคว้นเยี่ยนอย่างแน่นอน

ระหว่างนั้นเอง ฝานหยีฉี ที่เคยก่อ กบฎเฉิงเจียว ที่ได้หลบหนีมาที่แคว้นเยี่ยนพอดี ไทจื่อตัน จึงรับเขาไว้ แม้ว่า ท่านราชครูจะทัดทาน เพราะกลัวว่า จิ๋นซีฮ่องเต้ จะอาศัยเรื่องนี้ บุกโจมตีแคว้นเยี่ยน ได้ เขาจึงเสนอให้ส่งตัว ฝานหยีฉี ไปให้กลุ่ม ซ่งหนู แทนดีกว่า

เขาจึงนำเรื่องนี้ไปปรึกษาอาจารย์ของเขา คือ เถึยนกวง เถียนกวงจึงได้แนะนำ ยอดฝีมือท่านหนึ่งให้ กับ ไทจื้อตัน คือ จิงเคอ

จิงเคอ 
ในบันทึกของ ซือหม่าเชียน บันทึกว่า เขาเป็นชาวฉี  ได้อพยพมาอาศัยอยู่แคว้นเว่ย จนเดินทางมาพบกับ เถียนกวง ที่แค้วนเยี่ยน จึงได้ พำนักอาศัยอยู่ที่นี่

ในบันทึกของซือหม่าเซียน ระบุว่า ไทจื่อตัน นั้นกลัวความลับจะรั่วไหล จึงได้กำชับกับ อาจารย์ เถียนกวง เรื่อง จิงเคอ เมื่อ เถียนกวง ได้บอกเรื่องนี้กับ จิงเคอ แล้ว เขาก็ฆ่าตัวตาย พร้อมเขียนจดหมายระบุว่า ไม่ต้องกลัวความลับรั่วไหลอีกแล้ว

เมื่อ ไทจื่อตัน ได้บอกแผนการกับจิงเคอ ว่า เขามีแผนจะบุกจับตัว จิ๋นซีฮ่องเต้ เป็นตัวประกันเพือให้ จิ๋นซี นั้น คืนแผ่นดินทั้งหมดให้กับ 6 แคว้น เหมือนกับที่ เฉาโม เคยจี้ ฉีหวนกง ให้คืนดินแดนแคว้นลู่ เมื่อหลายร้อยปีก่อน และ ถ้าจิ๋นซีฮ่องเต้ไม่ยอมคืน ก็จะจับประหารเสีย

แผนการณ์
ต่อมา กองทัพของแคว้นฉิน ได้พิชิตแคว้นจ้าวได้สำเร็จ  กองทัพแคว้นฉินก็กำลังยกทัพมาใกล้แคว้นเยี่ยนเต็มที  ไทจื่อตัน จึงรีบมาขอร้อง จิงเคอ อีกครั้ง  จิงเคอ จึงเสนอว่า

จิ๋นซีฮ่องเต้ นั้น ไม่สามารถเข้าถึงตัวได้อย่างง่ายดาย แต่ฉินหวาง (จิ๋นซีฮ่องเต้) ต้องการ หัวของแม่ทัพฝานฉีหยี  โดยให้ค่าหัวของเขา และแผนที่ในแคว้นเยี่ยน  เป็นทองคำพันตำลึง และศักดินา หมื่นครอบครัว เชื่อว่า หากได้ของสองสิ่งนี้ ฉินหวางต้องให้เข้าเฝ้าอย่างแน่นอน

ในครั้งแรกนั้น ไทจื่อตันนั้น ปฎิเสธ เพราะ แม่ทัพ ฝานหยีฉี นั้น หนีร้อนมาพึ่งเย็น และเขาไม่ต้องการหักหลังใคร จึงได้ปฎิเสธแผนการนี้ไป

แต่จิงเคอ กลับเดินทางไปบอกแม่ทัพฝานหยีฉี ด้วยตนเอง ว่า พ่อแม่ และ ครอบครัวของท่านถูกประหารชีวิตไปจนหมดสิ้น เพราะท่านเพียงผู้เดียว จิงเคอจึงได้เสนอแผนดังกล่าวให้กับ ฝานหยีฉี  เมื่อฝานหยีฉี ได้ฟังแผนการทั้งหมด  เขาก็คว้ากระบี่ออกมาเชือดคอตนเองทันที  เมื่อองครัชทายาท ไทจื่อตัน ได้ทราบเรื่องก็รีบเดินทางมาทันที เขาร้องไห้และอาลัยถึงความเสียสละ และความกล้าหาญของ แม่ทัพฝานหยีฉี เป็นอย่างมาก

เมื่อแผนการพร้อมแล้ว ไทจื่อตัน ได้มอบมีดอาบยาพิษให้กับจิงเคอ และให้สั่งให้ ฉินหวู่หยาง เป็นผู้ช่วยในการดำเนินการในภารกิจนี้

ภารกิจ
ไท่จื่อตัน ให้จิงเคอ ปลอมตัวเป็น ทูตแคว้นเยี่ยน พร้อมกับผู้ช่วยฑูตชื่อ ฉินหวู่หยาง ไปยังเมืองเสียนหยาง เมืองหลวงของแคว้นฉิน พร้อมกับของบรรณาการ คือ แผนที่เมืองจีชาง ของแคว้นเยี่ยน พร้อมกับศีรษะของ แม่ทัพ ฝานหยีฉี(ฝานอี๋ว์ชี) ซึ่งเป็นศัตรูคนสำคัญของฉินหวาง ที่หลบหนีไปยังแคว้นเยี่ยน เพื่อเสแสร้งว่าแคว้นเยี่ยนนั้นยอมสยบต่อแคว้นฉิน

ทางฝ่ายแคว้นฉินจัดการต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่ และให้ฑูตนั้นได้เข้าเฝ้า จิงเคอเป็นผู้เดินนำหน้า ถือกล่องใส่ศีรษะของแม่ทัพ ฝานหยีฉี เดินนำหน้า ขณะที่ ฉินอู๋หยาง ถือม้วนแผนที่เดินตามหลัง แต่กิริยาของ ฉินอู๋หยาง นั้นตื่นตระหนกมีพิรุธ

ฉินหวางอ๋อง จึงสั่งให้ ฉินอู๋หยาง หยุดอยู่ห่าง ๆ แล้วรับสั่งให้ จิงเคอ รับแผนที่มาคลี่มาให้ทอดพระเนตร ปรากฏว่ามีดสั้นที่ซ่อนอยู่ปลายสุดของแผนที่ นั้นแล่บออกมาให้เห็น ทำให้ แผนการลอบสังหารฉินหวางอ๋อง ครั้งนี้ ล้มเหลว แม้จิงเคอจะพยายามใช้มีดสั้นนั่นจ้วงแทงฉินอ๋อง แล้วก็ตาม แต่ฉินอ๋องก็หลบหลีกได้ทันอย่างหวุดหวิด โดยมีหมอหลวงนั้นขว้างกล่องยาไปช่วยฉินหวางอ๋อง ท้ายสุด เป็นฝ่าย จิงเคอ และ ฉินอู้หยาง ที่ถูกองครักษ์ของฉินอ๋อง สังหารลงในท้องพระโรงทันที

การลอบสังหารฉินอ๋องในครั้งนี้เกิดขึ้นในปีที่ 227 ก่อนคริสต์กาล เป็นที่เลื่องลือไปทั่ว ซือหม่าเซียน นักประวัติศาสตร์ในยุคราชวงศ์ฮั่น ได้บันทึกถึงเหตุการณ์ครั้งนี้ไว้ ชื่อ 刺客列傳 (ชีวประวัตินักลอบสังหาร)

ผลที่ตามมา
แผนการณ์ที่ล้มเหลวในครั้งนี้ ทำให้ ฉินหวางอ๋อง โกรธมาก ถึงกับสั่งแม่ทัพคู่กายให้แต่งทัพออกรบเพื่อทำลายแคว้นเยี่ยน ให้ราบเป็นหน้ากลอง แม้อ๋องของแคว้นเยี่ยนจะยอมเสียสละชีวิตของลูกชายเพื่อรักษาเมืองไว้  แต่ก็ทำได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น เพราะอีก 3 ปีตามมา จิ๋นซีฮ่องเต้ ก็ยังส่งทหารมากำราบแคว้นเยี่ยน ให้สิ้นไปอยู่ดี นับว่าเป็นค่าตอบแทนอันแสนแพงของแคว้นเยี้ยน  กลับกัน หาก จิงเคอ ทำภารกิจสำเร็จเรื่องราวบนหน้าประวัติศาสตร์จีนคงจะไม่เป็นแบบนี้แน่นอน

อย่าลืมกดไลท์ กดแชร์ กด Subscirbe ให้ด้วยนะครับ