กระดาษเงินกระดาษทอง
ประวัติที่มาของการเผา กระดาษเงิน กระดาษทอง แท้ที่จริงเริ่มมาจากรัชสมัย พระเจ้าลังไท่จง (พ.ศ. 1170-1193) แห่งราชวงศ์ถัง ที่พระองค์ส่งเสริมให้มีการเผากระดาษเงินกระดาษทอง ก็คือ ตอนที่ครองราชย์ใหม่ ๆ ด้วยทรงเป็นห่วง เกรงว่าบ้านเมืองจะไม่สงบเรียบร้อย อัครเสนาบดีเว่ยเจิงจึงถวายแผนการว่า ขอให้พระองค์ทรงทำเป็นว่าป่วยหนักแล้ววิญญาณได้ไปท่องเที่ยวในนรก และได้ถูกพวกผีเปรตมากมายห้อมล้อม วิงวอนให้พระองค์ทรงโปรดสงเคราะห์ช่วยเหลือ พระองค์ได้รับปากว่ารอให้กลับเมืองมนุษย์ก่อนแล้วจะหาวิธีส่งเงินทองไปให้พวกเขา ด้วยเหตุนี้จึงได้แนะนำส่งเสริมให้ประชาชนเผากระดาษเงินกระดาษทองสงเคราะห์พวกเปรต
โดยเป็นกุศลโลบายของ พระเจ้าล้งไท่จง เพื่อ สนับสนุนให้เกิดอาชีพ สร้างงานให้ประชาชน และ ให้ประะชาชนสำนึกรู้ว่า นรกมีจริง บาปบุญคุณโทษมีจริง เป็นการเตือนสติไม่ให้ประชาชนกระทำผิดกฎหมาย ด้วยเหตุดังกล่าว จึงส่งเสริมการเผากระดาษเงินกระดาษทอง ประชาชนก็เชื่อคิดว่าเป็นความจริง จึงไม่กล้าทำบาปทำชั่ว บ้านเมืองจึงเกิดความร่มเย็นสงบสุขนับแต่นั้นมา
การเผา เครื่องใช้ และ คนใช้เริ่มขึ้นเมื่อพิธีศพกษัตริย์จิวซีจง(周世宗) พ.ศ.1501 พวกข้าราชการทำกระดาษเงินกระดาษทองเผาถวายแล้วใช้กันสืบมา ส่วนเครื่องกระดาษที่ทำเป็นของใช้และเด็กรับใช้นั้น คงเนื่องจากสมัยโบราณ พวกข้าทาสมักจะถูกนำไปฝังทั้งเป็นกับพิธีฝังศพเจ้านายที่ตนอยู่ด้วย ต่อมา(ก่อนสมัยขงจื๊อ)ประเพณีนี้ก็ถูกยกเลิกไปแล้ว คงเอาดินปั้นเป็นรูปคนรูปเครื่องใช้ฝังรวมกับศพ ครั้งเมื่อมีกระดาษจึงทำเป็นกระดาษแล้วเผาให้ผู้ตาย
ประวัติที่มาของการเผา กระดาษเงิน กระดาษทอง แท้ที่จริงเริ่มมาจากรัชสมัย พระเจ้าลังไท่จง (พ.ศ. 1170-1193) แห่งราชวงศ์ถัง ที่พระองค์ส่งเสริมให้มีการเผากระดาษเงินกระดาษทอง ก็คือ ตอนที่ครองราชย์ใหม่ ๆ ด้วยทรงเป็นห่วง เกรงว่าบ้านเมืองจะไม่สงบเรียบร้อย อัครเสนาบดีเว่ยเจิงจึงถวายแผนการว่า ขอให้พระองค์ทรงทำเป็นว่าป่วยหนักแล้ววิญญาณได้ไปท่องเที่ยวในนรก และได้ถูกพวกผีเปรตมากมายห้อมล้อม วิงวอนให้พระองค์ทรงโปรดสงเคราะห์ช่วยเหลือ พระองค์ได้รับปากว่ารอให้กลับเมืองมนุษย์ก่อนแล้วจะหาวิธีส่งเงินทองไปให้พวกเขา ด้วยเหตุนี้จึงได้แนะนำส่งเสริมให้ประชาชนเผากระดาษเงินกระดาษทองสงเคราะห์พวกเปรต
โดยเป็นกุศลโลบายของ พระเจ้าล้งไท่จง เพื่อ สนับสนุนให้เกิดอาชีพ สร้างงานให้ประชาชน และ ให้ประะชาชนสำนึกรู้ว่า นรกมีจริง บาปบุญคุณโทษมีจริง เป็นการเตือนสติไม่ให้ประชาชนกระทำผิดกฎหมาย ด้วยเหตุดังกล่าว จึงส่งเสริมการเผากระดาษเงินกระดาษทอง ประชาชนก็เชื่อคิดว่าเป็นความจริง จึงไม่กล้าทำบาปทำชั่ว บ้านเมืองจึงเกิดความร่มเย็นสงบสุขนับแต่นั้นมา
คนจีนเชื่อกันว่า เมื่อตายไปแล้วจะไปยังอีกภพโลกหนึ่ง เรียกว่า "อิมกัง" ดังนั้นลูกหลานจึงต้องส่งเงินทองไปให้ เพื่อแสดงความกตัญญู ด้วยการไหว้เจ้า แล้วเผากระดาษเงินกระดาษทองไปให้ และการไหว้เจ้ายังเป็นสิริมงคลแก่ลูกหลาน ให้มีความสุขความเจริญ ซึ่งกระดาษเงินกระดาษทองบางแบบใช้ไหว้เจ้า บางแบบใช้ไหว้บรรพบุรุษการเผากระดาษเงินกระดาษทองจะต้องทิ้งไว้สักพัก เพื่อให้ทุกคนได้เส้นไหว้เสร็จ ก็จะทำการ "เหี่ยม" หรือจบเหนือศีรษะ ระหว่างนี้ให้ทำการอธิฐานขอพรไปด้วย แล้วจึงนำไปเผา เมื่อไฟมอดแล้วจึงไหว้ลา เป็นการเสร็จพิธี
การเผา เครื่องใช้ และ คนใช้เริ่มขึ้นเมื่อพิธีศพกษัตริย์จิวซีจง(周世宗) พ.ศ.1501 พวกข้าราชการทำกระดาษเงินกระดาษทองเผาถวายแล้วใช้กันสืบมา ส่วนเครื่องกระดาษที่ทำเป็นของใช้และเด็กรับใช้นั้น คงเนื่องจากสมัยโบราณ พวกข้าทาสมักจะถูกนำไปฝังทั้งเป็นกับพิธีฝังศพเจ้านายที่ตนอยู่ด้วย ต่อมา(ก่อนสมัยขงจื๊อ)ประเพณีนี้ก็ถูกยกเลิกไปแล้ว คงเอาดินปั้นเป็นรูปคนรูปเครื่องใช้ฝังรวมกับศพ ครั้งเมื่อมีกระดาษจึงทำเป็นกระดาษแล้วเผาให้ผู้ตาย
ประเภทของกระดาษเงินกระดาษทอง
กิมจั้ว หรือ งึ้งจั๊ว หมายถึงกระดาษเงินกระดาษทอง เวลาจะไหว้จะทำเป็นชุด ก่อนไหว้ลูกหลานจ้องนำมาพับเป็นรูปดอกไม้ ใช้ไหว้ได้ทุกอย่าง
กิมเต้า หรือ งึ้งเต้า หรือ ถังเงินถังทอง รูปร่างเป็นเหมือนถังกลมๆ ใช้ไหว้เจ้าที่ ไหว้เทพยดาฟ้าดิน
กิมเตี๊ยว คือ แท่งทอง ใช้ไหว้บรรพบุรุษ ไหว้คนตาย เสมือนว่าเป็นการเผาทรัพย์สมบัติตามไปให้บรรพบุรุษ
ค้อซี คือ กระดาษทอง ก่อนใช้ให้พับเป็นรูปร่างก่อน เช่น พับเป็นเรือ เรียกว่า "เคี้ยวเท่าซี" เชื่อกันว่าการพับเรือ จะให้มูลค่าสูงกว่าการพับอย่างอื่น ใช้ไหว้ได้ทุกอย่าง รวมทั้งไหว้คนตาย โดยเฉพาะ พิธีทำกงเต๊ก ลูกหลานต้องพับ ค้อซี ให้มากที่สุด
อิมกังจัวยี่ คือ แบงก์กงเต็กนั่นเอง ปัจจุบัน มีทั้งแบงค์ ทั้งเหรียญ แล้วก็ยังมีออกมาในรูปแบบ สมาร์ทโฟนกระดาษ กระเป๋าสตางค์ เสื้อผ้า ของใช้ที่ทำจากกระดาษ เสมือนเป็นการจำลองสิ่งของเครื่องใช้ เพื่อไหว้และเผาไปให้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วได้ใช้บนสรวงสวรรค์
อ่วงแซจิ่ว ใช้ไหว้บรรพบุรุษ โดยเผาให้เพื่อเป็นใบเบิกทางไปสู่สวรรค์สำหรับผู้ตาย
เต๋าบ้อเพ้า หรือ เพ้า คือ ชุดของเทพเจ้า คล้ายกับที่คนไทยถวายผ้าห่มพระพุทธรูป มีการทำของเจ้าหลายองค์ เช่น ชุดของเจ้าแม่กวนอิม เจ้าแม่ทับทิม พระพุทธ
กิมฮวย เป็นการไหว้เพื่อขอพรจากเทพทุกพระองค์ ในเรื่องยศถาบรรดาศักดิ์จะไหว้คู่กับอั่งติ๋ว ถือว่าเป็นการไหว้เจ้าที่ตี่จู่เอี๋ย กุ๋ยจื๊อบ่อ เทียนโห่วเซี่ยบ้อ กิมกวงเล่าอ๊วงบ้อ ซำเปาฮุกโจ้ว (ซำเสี่ยจู่ฮุก)เทียนตี่แป่บ้อ ฮั่วท้อเซียนซือ ไฉ่ซิ้งเอี๊ย ไท้ส่วยเอี๊ย ส่วนมากการไหว้ด้วย กิมฮวย จะมีการปักบนส้ม และถวายแด่องค์เจ้า เพื่อถือเป็นขององค์เจ้า
ตั้วกิม สำหรับไหว้บรรพบุรุษ เป็นกระดาษเงินกระดาษทอง ที่ญาติสนิทนำไปไหว้ผู้ตาย ต้องพับเป็นเคียวเท่าซี แต่ห้ามหักท้ายกระดก โดยไหว้ 1 ครั้งมีมากกว่า 48 แผ่นขึ้นไป ต้องมากกว่ากิมจั๋วและอวงแซจี๊ อิมกังจัวยี่ ถือเป็นกระดาษไหว้บรรพบุรุษ และบรรพบุรุษนำไปใช้เพื่อความเจริญรุ่งเรืองต่อลูกหลานอีกด้วย
ตั้วกิม สำหรับไหว้เจ้าที่ และ เทพเจ้า ต่างๆ เป็นกระดาษเงินกระดาษทองขอบส้ม พับเป็นเคียวเท่าซี่ และมีกระดาษแดงแปะตรงกลาง ใช้ไหว้เจ้าที่ ขอเรื่องความสุข การงานเจริญรุ่งเรืองที่ญาติสนิท
ค้อซี คือ กระดาษทอง ก่อนใช้ให้พับเป็นรูปร่างก่อน เช่น พับเป็นเรือ เรียกว่า "เคี้ยวเท่าซี" เชื่อกันว่าการพับเรือ จะให้มูลค่าสูงกว่าการพับอย่างอื่น ใช้ไหว้ได้ทุกอย่าง รวมทั้งไหว้คนตาย โดยเฉพาะ พิธีทำกงเต๊ก ลูกหลานต้องพับ ค้อซี ให้มากที่สุด
อิมกังจัวยี่ คือ แบงก์กงเต็กนั่นเอง ปัจจุบัน มีทั้งแบงค์ ทั้งเหรียญ แล้วก็ยังมีออกมาในรูปแบบ สมาร์ทโฟนกระดาษ กระเป๋าสตางค์ เสื้อผ้า ของใช้ที่ทำจากกระดาษ เสมือนเป็นการจำลองสิ่งของเครื่องใช้ เพื่อไหว้และเผาไปให้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วได้ใช้บนสรวงสวรรค์
อ่วงแซจิ่ว ใช้ไหว้บรรพบุรุษ โดยเผาให้เพื่อเป็นใบเบิกทางไปสู่สวรรค์สำหรับผู้ตาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น