เทศกาลไหว้พระจันทร์(中秋节)และ ตำนานเทพธิดาฉางเอ๋อ (嫦娥奔月的神话故事)
ตำนานของเทพธิดา ฉางเอ๋อ (嫦娥cháng é) เป็นเทพธิดาแห่งดวงจันทร์ตามความเชื่อของจีน โดยนางประทับเฉพาะแต่บนดวงจันทร์เท่านั้น ซึ่งตำนานของเทพธิดาฉางเอ๋อนั้นก็มีมากมาย แต่หนึ่งในนั้นก็มีหนึ่งฉบับที่ชาวจีนนิยมเล่าให้กับลูกหลานฟัง และเรื่องราวก็มีอยู่ว่า
ในยุคโบราณกาล มีดวงอาทิตย์พร้อมกันส่องแสงมากมายถึง10 ดวง ทำให้แผ่นดินร้อนดังไฟ น้ำในทะเลแห้งเหือด สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้คนบนโลกมนุษย์อย่างมาก
และแล้วก็มีชายผู้กล้าท่านหนึ่งนามว่า โห้วอี้(后羿hòuyì)ซึ่งเป็นผู้ที่มีพละกำลังมหาศาล หาใครเทียบเทียมิได้ เขาได้ใช้ลูกธนูสวรรค์ยิงขึ้นไปยังดวงอาทิตย์ เพียงแค่อึดใจเดียวก็ยิงดวงอาทิตย์ตกไปถึง 9 ดวง ดวงอาทิตย์ดวงสุดท้ายเห็นดังนั้น จึงตกใจเป็นอย่างมาก พร้อมกับร้องขอชีวิต โห้วอี้ จึงสั่งให้ดวงอาทิตย์ดวงนั้น นับจากนี้เป็นต้นไปต้องขึ้นและลงเป็นเวลาทุกวัน รับใช้ผู้คนบนโลกมนุษย์แต่โดยดี จากเหตุการณ์ครั้งนั้น ผู้คนจึงนับถือและยกย่องให้ โห้วอี้ ให้เป็นผู้นำ
โห้วอี้ มีภรรยานามว่า ฉางเอ๋อ(嫦娥) ซึ่งเป็นหญิงที่รูปสวยงดงาม ใจดีและอ่อนน้อม ทุกคนล้วนแต่ชอบนาง รวมไปถึง โห้วอี้ ก็รักนางสุดหัวใจ
วันหนึ่ง โห้วอี้ได้น้ำอมฤต(长生不老药 cháng shēng bù lǎo yào)มาจากเจ้าแม่หวางหมู่(王母娘娘) หากใครได้ดื่มกินแล้วจะได้ขึ้นสวรรค์และมีชีวิตเป็นอมตะ เป็นหนุ่มสาวตลอดไป แต่โห้วอี้ไม่อยากจากนางอันเป็นที่รักขึ้นสวรรค์ไปเพียงลำพัง จึงได้ฝากน้ำอมฤตนั้นไว้ให้ ฉางเอ๋อ เป็นผู้ดูแลโห้วอี้ มีศิษย์น้องผู้หนึ่งชื่อว่า เฝิงเหมิง(逢蒙féng méng) ซึ่งเป็นคนขี้อิจฉา พอได้รู้ว่าโห้วอี้มีน้ำอมฤตจึงคิดจะขโมยมาเป็นของตัวเอง คืนวันเพ็ญเดือน 8 โห้วอี้ ได้ออกไปล่าสัตว์ แต่ เฝิงเหมิง ได้หาข้ออ้างไม่ออกไปด้วยและได้แอบเข้าไปในที่พักของ ฉางเอ๋อ เพื่อบังคับให้นางมอบน้ำอมฤตให้กับตน ฉางเอ๋อไม่มีทางเลือก จึงได้ดื่มน้ำอมฤตเข้าไปแทน ทันใดนั้น นางก็ล่องลอยออกไปทางหน้าต่าง และบินสูงขึ้นไปเรื่อยๆ แต่เนื่องจากฉางเอ๋อยังอาลัยอาวรณ์โห้วอี้สามีผู้เป็นที่รัก ในที่สุดนางก็ได้ออกจากโลกมนุษย์และหยุดลงที่ดวงจันทร์
เมื่อโห้วอี้ได้ทราบข่าว ก็เจ็บปวดมาก พยายามที่จะวิ่งไปให้ถึงดวงจันทร์ แต่ทว่ายิ่งวิ่งเข้าใกล้ดวงจันทร์มากเท่าไหร่ ดวงจันทร์ก็ยิ่งห่างไกลออกมากเท่านั้น ไม่มีทางที่จะเข้าใกล้ดวงจันทร์ได้เลย โห้วอี้ คิดถึง ฉางเอ๋อ เอาแต่นั่งรำพึงรำพันไปยังดวงจันทร์ ดวงจันทร์ที่ทั้งกลมทั้งนวลสว่างนั้น ก็เหมือนดัง ฉางเอ๋อ ได้มองลงมาหาตน
ในคืนวันเพ็ญเดือน 8 ของปีที่สองนั้น ฉางเอ๋อ ได้ออกมาจาก วังดวงจันทร์ และมองมายังโลกมนุษย์ นางคิดถึง โห้วอี้ เป็นอย่างมาก ใบหน้าที่สวยสดงดงามของ ฉางเอ๋อ นั้นยิ่งทำให้ดวงจันท์สวยงามยิ่งขึ้นไปอีก โห้วอี้และชาวบ้านต่างก็คิดถึงฉางเอ๋อ จึงจัดงานไหว้พระจันทร์ขึ้นเพื่อระลึกถึงฉางเอ๋อที่อยู่บนดวงจันทร์ ปีแล้วปีเล่า จากรุ่นสู่รุ่น และเรื่องราวของฉางเอ๋อนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของที่มาของเทศกาลไหว้พระจันทร์ในคืนวันเพ็ญเดือน 8 (ตามปฏิทินจันทรคติ)
ในอดีต ชาวจีนโดยเฉพาะหญิงสาวจะสวดขอพรจาก ฉางเอ๋อ เพื่อที่ขอให้มีความเยาว์วัยและงดงามตลอดไปดุจดั่งนาง
เทศกาลไหว้พระจันทร์ หรือ เทศกาลตงชิว เป็นเทศกาลตามวัฒนธรรมจีน ที่มีขึ้นกลางฤดูใบไม้ร่วง เพื่อเฉลิมฉลองฤดูกาลเก็บเกี่ยว โดยจะมีขึ้นในคืนวันเพ็ญเดือน 8 ตามปฎิทินจันทรคติ ของชาวฮั่น นอกจากนี้ ชาวจีนยังถือว่าดวงจันทร์เป็นสัญลักษณ์แทนพลังอิน(หยิน)หรือพลังฝ่ายเพศหญิง อันเป็นพลังที่มีอิทธิพล ในฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว
ประเพณีไหว้พระจันทร์แต่โบราณ ส่วนมากเป็นหน้าที่ของสตรีหรือแม่บ้านแม่เรือน ดังคำกล่าวที่ว่า " ผู้ชายไม่ไหว้พระจันทร์ ผู้หญิงไม่ไหว้เทพเจ้าเตาไฟ 男不圓月 女不祭灶" ดังนั้นนอกจากบนโต๊ะบูชาจะเต็มไปด้วยขนมหวานและผลไม้ชนิดต่างๆแล้ว ขนมเปี๊ยะที่ได้ทำขึ้นเป็นพิเศษเฉพาะเทศกาลเรียกว่าขนมไหว้พระจันทร์
นอกจากนี้แล้ว ยังมีอีกตำนานหนึ่งที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ขณะที่ชาวฮั่นที่ถูกปกครองอย่างกดขี่จากชาวมองโกล (ราชวงศ์หยวน) ตอนนั้น มองโกลได้ส่งทหารไปประจำทุกบ้าน บ้านละ 1 คนเพื่อคอยสอดส่อง ต่อมาท่านหลิวปั๋วเวิน ได้แอบส่งสาสน์บอกต่อ ๆ กันในไส้ขนม ความว่า คืนนี้เมื่อเวลายาม 3 ให้ทุกบ้านจัดการสังหารทหารมองโกลให้หมด อันเป็นที่มาของขนมไหว้พระจันทร์
ประวัติขนมไหว้พระจันทร์ไส้เม็ดบัว
ในยุคโบราณกาล มีดวงอาทิตย์พร้อมกันส่องแสงมากมายถึง10 ดวง ทำให้แผ่นดินร้อนดังไฟ น้ำในทะเลแห้งเหือด สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้คนบนโลกมนุษย์อย่างมาก
และแล้วก็มีชายผู้กล้าท่านหนึ่งนามว่า โห้วอี้(后羿hòuyì)ซึ่งเป็นผู้ที่มีพละกำลังมหาศาล หาใครเทียบเทียมิได้ เขาได้ใช้ลูกธนูสวรรค์ยิงขึ้นไปยังดวงอาทิตย์ เพียงแค่อึดใจเดียวก็ยิงดวงอาทิตย์ตกไปถึง 9 ดวง ดวงอาทิตย์ดวงสุดท้ายเห็นดังนั้น จึงตกใจเป็นอย่างมาก พร้อมกับร้องขอชีวิต โห้วอี้ จึงสั่งให้ดวงอาทิตย์ดวงนั้น นับจากนี้เป็นต้นไปต้องขึ้นและลงเป็นเวลาทุกวัน รับใช้ผู้คนบนโลกมนุษย์แต่โดยดี จากเหตุการณ์ครั้งนั้น ผู้คนจึงนับถือและยกย่องให้ โห้วอี้ ให้เป็นผู้นำ
โห้วอี้ มีภรรยานามว่า ฉางเอ๋อ(嫦娥) ซึ่งเป็นหญิงที่รูปสวยงดงาม ใจดีและอ่อนน้อม ทุกคนล้วนแต่ชอบนาง รวมไปถึง โห้วอี้ ก็รักนางสุดหัวใจ
วันหนึ่ง โห้วอี้ได้น้ำอมฤต(长生不老药 cháng shēng bù lǎo yào)มาจากเจ้าแม่หวางหมู่(王母娘娘) หากใครได้ดื่มกินแล้วจะได้ขึ้นสวรรค์และมีชีวิตเป็นอมตะ เป็นหนุ่มสาวตลอดไป แต่โห้วอี้ไม่อยากจากนางอันเป็นที่รักขึ้นสวรรค์ไปเพียงลำพัง จึงได้ฝากน้ำอมฤตนั้นไว้ให้ ฉางเอ๋อ เป็นผู้ดูแลโห้วอี้ มีศิษย์น้องผู้หนึ่งชื่อว่า เฝิงเหมิง(逢蒙féng méng) ซึ่งเป็นคนขี้อิจฉา พอได้รู้ว่าโห้วอี้มีน้ำอมฤตจึงคิดจะขโมยมาเป็นของตัวเอง คืนวันเพ็ญเดือน 8 โห้วอี้ ได้ออกไปล่าสัตว์ แต่ เฝิงเหมิง ได้หาข้ออ้างไม่ออกไปด้วยและได้แอบเข้าไปในที่พักของ ฉางเอ๋อ เพื่อบังคับให้นางมอบน้ำอมฤตให้กับตน ฉางเอ๋อไม่มีทางเลือก จึงได้ดื่มน้ำอมฤตเข้าไปแทน ทันใดนั้น นางก็ล่องลอยออกไปทางหน้าต่าง และบินสูงขึ้นไปเรื่อยๆ แต่เนื่องจากฉางเอ๋อยังอาลัยอาวรณ์โห้วอี้สามีผู้เป็นที่รัก ในที่สุดนางก็ได้ออกจากโลกมนุษย์และหยุดลงที่ดวงจันทร์
เมื่อโห้วอี้ได้ทราบข่าว ก็เจ็บปวดมาก พยายามที่จะวิ่งไปให้ถึงดวงจันทร์ แต่ทว่ายิ่งวิ่งเข้าใกล้ดวงจันทร์มากเท่าไหร่ ดวงจันทร์ก็ยิ่งห่างไกลออกมากเท่านั้น ไม่มีทางที่จะเข้าใกล้ดวงจันทร์ได้เลย โห้วอี้ คิดถึง ฉางเอ๋อ เอาแต่นั่งรำพึงรำพันไปยังดวงจันทร์ ดวงจันทร์ที่ทั้งกลมทั้งนวลสว่างนั้น ก็เหมือนดัง ฉางเอ๋อ ได้มองลงมาหาตน
ในคืนวันเพ็ญเดือน 8 ของปีที่สองนั้น ฉางเอ๋อ ได้ออกมาจาก วังดวงจันทร์ และมองมายังโลกมนุษย์ นางคิดถึง โห้วอี้ เป็นอย่างมาก ใบหน้าที่สวยสดงดงามของ ฉางเอ๋อ นั้นยิ่งทำให้ดวงจันท์สวยงามยิ่งขึ้นไปอีก โห้วอี้และชาวบ้านต่างก็คิดถึงฉางเอ๋อ จึงจัดงานไหว้พระจันทร์ขึ้นเพื่อระลึกถึงฉางเอ๋อที่อยู่บนดวงจันทร์ ปีแล้วปีเล่า จากรุ่นสู่รุ่น และเรื่องราวของฉางเอ๋อนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของที่มาของเทศกาลไหว้พระจันทร์ในคืนวันเพ็ญเดือน 8 (ตามปฏิทินจันทรคติ)
ในอดีต ชาวจีนโดยเฉพาะหญิงสาวจะสวดขอพรจาก ฉางเอ๋อ เพื่อที่ขอให้มีความเยาว์วัยและงดงามตลอดไปดุจดั่งนาง
เทศกาลไหว้พระจันทร์ หรือ เทศกาลตงชิว เป็นเทศกาลตามวัฒนธรรมจีน ที่มีขึ้นกลางฤดูใบไม้ร่วง เพื่อเฉลิมฉลองฤดูกาลเก็บเกี่ยว โดยจะมีขึ้นในคืนวันเพ็ญเดือน 8 ตามปฎิทินจันทรคติ ของชาวฮั่น นอกจากนี้ ชาวจีนยังถือว่าดวงจันทร์เป็นสัญลักษณ์แทนพลังอิน(หยิน)หรือพลังฝ่ายเพศหญิง อันเป็นพลังที่มีอิทธิพล ในฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว
ประเพณีไหว้พระจันทร์แต่โบราณ ส่วนมากเป็นหน้าที่ของสตรีหรือแม่บ้านแม่เรือน ดังคำกล่าวที่ว่า " ผู้ชายไม่ไหว้พระจันทร์ ผู้หญิงไม่ไหว้เทพเจ้าเตาไฟ 男不圓月 女不祭灶" ดังนั้นนอกจากบนโต๊ะบูชาจะเต็มไปด้วยขนมหวานและผลไม้ชนิดต่างๆแล้ว ขนมเปี๊ยะที่ได้ทำขึ้นเป็นพิเศษเฉพาะเทศกาลเรียกว่าขนมไหว้พระจันทร์
นอกจากนี้แล้ว ยังมีอีกตำนานหนึ่งที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ขณะที่ชาวฮั่นที่ถูกปกครองอย่างกดขี่จากชาวมองโกล (ราชวงศ์หยวน) ตอนนั้น มองโกลได้ส่งทหารไปประจำทุกบ้าน บ้านละ 1 คนเพื่อคอยสอดส่อง ต่อมาท่านหลิวปั๋วเวิน ได้แอบส่งสาสน์บอกต่อ ๆ กันในไส้ขนม ความว่า คืนนี้เมื่อเวลายาม 3 ให้ทุกบ้านจัดการสังหารทหารมองโกลให้หมด อันเป็นที่มาของขนมไหว้พระจันทร์
ประวัติขนมไหว้พระจันทร์ไส้เม็ดบัว
นอกจากนี้แล้ว ในเทศกาลไหว้พระจันทร์ จะมีขนมชนิดหนึ่ง เรียกว่า "ขนมไหว้พระจันทร์" (月饼) ที่มีสันฐานกลมคล้ายขนมเค้ก ทำจากแป้ง มีไส้ต่าง ๆ เป็นธัญพืช ใช้เซ่นไหว้และรับประทานกันจนเป็นเอกลักษณ์สำหรับเทศกาลนี้
ค.ศ.1889 ณ เมืองกวางเจา มณฑลกวางตุ้ง ภัตตาคาร เหลียนเซียงโหลว(蓮香樓) เดิมเป็นร้านขายขนมมาก่อน ร้านนี้ได้ทำขนมเปี๊ยะชนิดหนึ่งโดยการใช้เม็ดบัวทำไส้ขนมเปี๊ยะ ต่อมาร้านนี้เปลี่ยนชื่อเป็น 連香樓 โดยเปลี่ยนอักษร 蓮 เป็น 連 คำว่า 連香 แปลว่า หอมติดต่อกัน ส่วนคำว่า 蓮香 ซึ่งเป็นชื่อร้านเดิม แปลว่า บ้านดอกบัวหอม
ค.ศ.1910 บัณฑิตนามว่า เฉินหรูเยว่(陳如岳) ลิ้มลองขนมเปี๊ยะสูตรใหม่ที่ทางร้านคิดขึ้นแล้วรู้สึกอร่อย จึงเติมอักษร 艸(草) ที่ด้านบนอักษร 連 เป็นอักษร 蓮 ตั้งแต่นั้นร้านนี้ก็กลับมาใช้ชื่อ 蓮香樓 อีกครั้ง ในปีเดียวกันร้านนี้ได้รับการขานนามว่าเป็น ราชาแห่งภัตตาคาร กวางตุ้ง (ช่วงปฎิวัติวัฒนธรรม ร้านนี้ถูกปิดตัว และกลายเป็นของรัฐบาล ก่อนจะกลายมาเป็นของเอกชนอีกครั้งแต่มีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์แบรนด์ บ้านดอกบัวบนขนมไหว้พระจันทร์)
ขนมไหว้พระจันทร์แบบที่คนทั่วโลกรู้จัก คือ ขนมไหว้พระจันทร์สูตรกวางตุ้ง มีต้นกำเนิดจากภัตตาคารแห่งนี้ เมื่อคนกวางตุ้งและฮ่องกงอพยพไปทำงานที่เมืองฝรั่ง เช่น อเมริกา ออสเตรเลีย ก็นำสูตรขนมเปี๊ยะไหว้พระจันทร์ไปด้วย ตั้งแต่นั้นขนมเปี๊ยะสูตรนี้เป็นที่รู้จักทั่วโลก ตัวขนมไหว้พระจันทร์สูตรนี้ก็มีลักษณะคล้ายเค้กฝรั่ง เอาวิธีการทำขนมฝรั่งมาดัดแปลงเป็นขนมเปี๊ยะ
นั่นคือ ขนมไหว้พระจันทร์สูตรกวางตุ้งดั้งเดิมคือ ไส้เม็ดบัว ส่วนขนมไหว้พระจันทร์ส่วนใหญ่ในประเทศไทยนั้นที่มีตราประทับสีแดงบนหน้าขนม นั่นคือ สูตรฮกเกี้ยน และ แต้จิ๋ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น