หม่าชิวเซียง จักรพรรดินีเท้าโตแห่งราชวงศ์หมิง
ฮองเฮาหม่า หรือ จักรพรรดินีหม่า (Empress Ma: 馬皇后) หรือ ชื่อเป็นทางการคือ สมเด็จพระจักรพรรดินีเซี่ยวฉีเกา (Empress Xiaocigao: 孝慈高皇后) ในจักรพรรดิหงอู่ (จูหยวนจาง) พระนามเดิม "หม่าชิวเซียง"
จุดกำเนิด
จุดเริ่มต้นของเธอ มีระบุไว้ในตำนานเท่านั้น ไม่ได้มีรายละเอียดในพงศาวดารราชวงศ์หมิงแต่อย่างใด จึงมีความหลากหลายในแต่ละตำนาน
อย่างไรก็ดี ตำนานระบุว่า เธอเกิดในปี ค.ศ.1332 ในครอบครัวยากจน ตำนานไม่ได้ระบุชื่อบิดา มารดา แต่ครอบครัวเป็นเพียงชาวบ้านธรรมดาๆ เข้าขั้นยากจน ต้องระหกระเหเร่ร่อนเพื่อเอาชีวิตรอดไปวันๆ หม่าชิวเซียงที่ยังเด็กจึงต้องเดินติดสอยห้อยตามไปด้วยทุกที่ เธอต้องเดินทางผ่านเส้นทางทุรกันดารทำให้เท้าของนางมีขนาดใหญ่โตกว่าเท้าสตรีทั่วไป
หม่าชิวเซียง ในวัยเด็ก ไม่ได้มีรูปโฉมสะสวยหรือกิริยางดงามตามแบบฉบับสตรีที่ได้รับการประคบประหงมอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือน ไร้การศึกษา ตลอดเวลานางต้องเผชิญความเหนื่อยยากจนร่างกายมีความแข็งแกร่งบึกบึน
หลังจากที่บิดาของเธอ ได้พบ "กัวจื่อซิง" ขุนศึกที่กำลังตั้งตัวเป็นใหญ่ บางตำนานว่า บิดาของนางเกิดล้มป่วย บางตำนานว่า บิดาของเธอต้องคดีฆาตกรรมจึงต้องหลบหนี แต่ที่สุดแล้ว เขาตัดสินใจยกนางให้เป็นลูกบุญธรรมของ กัวจื่อซิง
ตรงนี้ ตำนานระบุว่า ทำให้เธอได้รับการศึกษา และฝึกงานบ้านงานเรือน อย่างดีจาก ภรรยาของ กั่วจื่อซิง
พออายุ 20 ปี เธอกลับเป็นคนที่มีบุคลิก สงบเสงี่ยม นิ่งและใช้สติปัญญาเป็นหลักในการคิดเสมอ ไม่ว่าจะตกอยู่ในสถานะการณ์ที่ร้อนรนเช่นไรก็ตาม นอกจากนี้ เธอยังมีลักษณะอ่อนโยน จิตใจดีงาม และ ไม่นิยมพูดคำหยาบคาย ไม่ว่าจะเกิดเรื่องอะไร ที่สำคัญเธอไม่เคยแสดงอารมณ์เกรี้ยวกราดอย่างจริงจังเลยสักครั้ง
จูหยวนจางปรากฎตัว
การปรากฏตัวของจูหยวนจางทำให้ กัวจื่อซิง มองเห็นแวว จึงยก บุตรีบุญธรรม หม่าชิวเซียง ให้เป็นภรรยา ความสัมพันธ์ของทั้งคู่ไม่ได้หวานชื่นโรแมนติกแต่กลับเต็มไปด้วยความช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน จนเรื่องราวความรักของทั้งคู่ ติด หนึ่งในเรื่องรักโรแมนติกแห่งราชวงศ์หมิงกันเลยทีเดียว
เมื่อจูหยวนจางนำกองกำลังออกรบอยู่แนวหน้า หม่าชิงเซียงก็จะคอยดูแลความสงบเรียบร้อยอยู่แนวหลังและเตรียมพร้อมเสมอหากต้องหยิบจับอาวุธเพื่อช่วยเหลือสามีทำศึกเสมอ
เรื่องราวความรักของทั้งคู่นั้นน่าเอ็นดูมาก โดยเฉพาะเรื่องแผลที่หน้าอก โดยในที่นี้จะขอเล่าเรื่องตามตำนานที่ยาวที่สุดนะครับ เพราะมีหลายตำนาน
จูหยวนจาง ตอนนั้น กำลังสร้างผลงานโดดเด่นจนบุตรชายแท้ๆ ของ กัวจื่อซิง อิจฉาริษยา วางแผนใส่ร้ายจูหยวนจาง ว่ากำลังไปเข้ากับพวกอื่น จนจูหยวนจาง ถูกกักบริเวณไม่ให้อาหารตกถึงท้อง หม่าชิงเซียง จึงแอบนำขนมผิงอุ่นๆ ซุกเอาไว้ในอกเพื่อแอบเอาไปให้สามีกิน
ทว่าครั้งหนึ่ง ขณะ นำขนมผิงไปให้สามี หม่าชิวเซียง บังเอิญเจอกับ กัวจื่อซิง กับแม่บุญธรรมของเธอ เมื่อลูกชาย เห็นลักษณะผิดปกติ ก็รับทราบได้ทันทีว่านางกำลังแอบเอาอาหารไปให้จูหยวนจาง จึงแกล้งถ่วงเวลาสนทนาให้นานกว่าปกติ
ตอนนั้น นางต้องอดทนรับไอความร้อนจากขนมผิงอยู่นานจนทำให้มีแผลเป็นที่หน้าอก เมื่อแม่บุญธรรมของนาง รู้สึกผิดปกติ จึงรีบสั่งให้นำตัวนางเข้าห้องครัวทันที และนำตัวมารักษา โดยได้กำชับกับบุตรชาย ให้รีบปล่อยตัว จูหยวนจาง และส่ง จูหยวนจาง ไปรบทางตอนใต้แทน ส่วนตัวเธอแม้จะอยู่แนวหลัง แต่ก็เริ่มต้นช่วยเหลือสามี ด้วยการ เย็บเสื้อ และทอรองเท้า เพื่อให้ทหารทุกคนมีชุดใส่เพื่อออกรบ
เรื่องราวตอนนี้เองที่ ถูกบันทึก เป็นหนึ่งในเรื่องรักโรแมนติกแห่งราชวงศ์หมิง
การศึก
ครั้งหนึ่ง จูหยวนจางถูกข้าศึกยิงธนูใส่ขาจนเจ็บสาหัส เดินไม่ไหว หม่าชิ่วเซียง ทราบข่าวสามีสุดที่รักตกอยู่ในอันตรายจึงดาหน้าฝ่าดงข้าศึก ไปช่วยสามี เธอแบกสามีขึ้นหลัง วิ่งหนีอย่างรวดเร็ว ถ้าไม่ได้เท้าโตๆของหม่าชิ่วเซียง จูหยวนจางอาจไม่มีลมหายใจจนได้มาเป็นฮ่องเต้แน่นอน
ราชินีหม่า
ภายหลังจูหยวนจาง สามารถสถาปนาราชวงศ์หมิงได้สำเร็จ หม่าชิวเซียงจึงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีหม่า (หรือ ฮองเฮา หม่า) นางคอยช่วยเหลือในฐานะที่ปรึกษา ตรัสให้จูหยวนจางส่งเสริมคนดีมีความสามารถรับใช้แผ่นดินโดยไม่ใส่ใจชาติตระกูล บัดนี้ แม้พระนางจะมีอำนาจยิ่งใหญ่แต่ยังคงใช้ชีวิตสมถะเรียบง่าย ไม่นิยมความหรูหราฟุ่มเฟือย
ผิดกับ จูหยวนจาง ที่ได้ขึ้นชื่อว่าโหดร้ายกับขุนนาง แต่กับประชาชน จูหยวนจางกลับเป็นฮ่องเต้ระดับมหาราชเลยทีเดียว ส่วนหนึ่ง เป็นเพราะ การมีศรีภรรยา อย่าง ฮองเฮาหม่า อยู่ข้างๆ เป็นคู่คิดคอยเตือนสติ แถมยังคอยช่วยเหลือ ขุนนางหลายคนให้รอดตายก็เพราะ ฮองเฮา หม่า ที่คอยช่วยเหลือให้พันจากการถูกประหาร
สาวใช้ในวัง
ครั้งหนึ่ง มีสาวใช้ในวังคนหนึ่งทำงานผิดพลาด จูหยวนจาง โกรธจัดและกำลังจะออกคำสั่ง ฮองเฮาหม่า จึงแกล้งโกรธตัดหน้าสามี และรีบออกคำสั่งให้ รีบส่งตัวเธอไปให้ กง จิ้งซี่ ตัดสินลงโทษทันที
จูหยวนจาง สงสัยอย่างมาก จึงรีบถามฮองเฮาหม่า ฮองเฮาหม่าจึงตอบกลับว่า หากท่านลงโทษพวกเธอตามความโกรธ นั่นหมายความว่า ท่านกำลังลำเอียง จึงควรส่งตัวไปให้ กง เจิ้งซี ตัดสินด้วยความเป็นธรรมจะดีกว่า"
เหตุการณ์ครั้งนี้ จะเห็นได้ว่า ฮองเฮาหม่านั้น ปริพานไหวพริบนั้น ไม่ธรรมดา
ความประหยัด
ที่สำคัญ เธอยังนิยมใช้เสื้อผ้าที่ผ่านการซักซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนกว่าเสื้อผ่าเหล่านั้นจะหมดสภาพไป และเธอก็ไม่นิยมเปลี่ยนชุดใหม่ ที่สำคัญ เธอยังตั้งโรงทอผ้า ในราชวัง เพื่อใช้ผลิตเสื้อผ้าแจกจ่ายให้กับ ประชาชนที่ยากจน โดยเฉพาะผู้สูงอายุ นอกจากนี้ ยังสั่งสอนพระธิดา 2 องค์ ให้ ประหยัด โดยเฉพาะการสั่งสอนว่า พวกเธอเกิดในภาวะที่มั่งคั่งแล้ว ย่อมไม่รู้จักความยากลำบาก ขอให้พวกเธอศึกษาความยากลำบากในการทอผ้าไว้เพื่อคอยระลึกถึงความยากลำบากเสมอ
ความมัธยัด
ครั้งหนึ่ง รัฐบาลกำลังรีดภาษี เพื่อมาสร้างกำแพงเมือง
เธอจึงถามจูหยวนจางว่า ทำเช่นนี้แล้ว ชีวิตของประชาชน จะมั่นคงหรือไม่ ?
จุหยวนจาง สงสัยจึงถามกลับว่า คำถามนี้ หมายถึงเรื่องอะไร ?
เธอจึงตอบจูหยวนจางกลับว่า เด็กคนหนึ่งจะมีความมั่นคงในชีวิตหรือ ถ้าทุกครัั้งที่มีภัยพิบัติ แล้ว ทางวังต้องเอาอาหารไปแจก และทางวัง ทำได้แค่เพียงสวดมนตร์อ้อนวอนเท่านั้น
เหตุการณ์นี้ ความจริงอ้างอิงจากที่จูหยวนจางก่อกบฎ เพราะภัยพิบัติทำให้ราชวงศ์หยวนต้องล่มสลายนั่นเอง
เธอกล่าวต่อว่า มันจะเป็นการดีกว่า ถ้าเราอดออมไว้ล่วงหน้า เพื่อเผชิญหน้ากับ ภัยพิบัติ และบอกกับจูหยวนจางว่า ในฐานะ ท่านเป็นผู้นำของประชาชน ท่านจึงควรเลี้ยงตัวเองให้น้อยลง และสนับสนุนให้ผู้อื่นให้มีมากขึ้น
หลังจากนั้น จูหยวนจางก็ลดขนาดกำแพงเมืองลง และลดการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยลง
การศึกษาทีคือสิ่งสำคัญ
หันมามองด้านการศึกษา ฮองเฮาหม่า เป็นคนที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาและให้เกียรติกับบุคลากรทางการศึกษาอย่างมาก ขุนพลทหารที่เก่งแต่การศึก แต่พอถามเรื่องวิชาการกลับไปไม่เป็น ฮองเฮาหม่าก็จับเหล่าขุนพลมาเรียนหนังสือ เพื่อให้เวลาอยู่ท้องพระโรงขุนพลทหารเหล่านี้จะได้อวดทักษะด้านวิชาการได้บ้าง หรืออย่างน้อยก็จะได้เข้าใจความคิดเห็นคนอื่นบ้าง
ครั้งหนึ่ง จูหยวนจางไปดูการแสดงโคมไฟ แล้วโคมไฟโคมหนึ่งทำเป็นรูปสตรีเท้าโตอุ้มแตงโมเดิน ซึ่งสื่อถึง ฮองเฮาหม่า เพราะ ฮองเฮาหม่า เธอไม่ได้รัดเท้าเหมือนสตรีผู้ดีคนอื่นๆ เนื่องจากชีวิตเกิดมาก็ต้องวิ่งหนีในศึกสงครามแล้ว จูหยวนจาง ทรงกริ้วมากตำหนิว่า ประชาชนไม่รู้จักใช้สติปัญญาว่าอะไรควรไม่ควร
หม่าฮองเฮาจึงกล่าวว่า
ประชาชนไม่รู้จักคิดใช้สติปัญญา เพราะประชาชนยังด้อยการศึกษา พระองค์ไม่ควรโกรธประชาชน แต่ควรโทษตัวเองที่ไม่ทำให้ประชาชนมีสติปัญญาได้
จากเหตุการณ์นี้ ทำให้ จูหยวนจาง มีรับสั่งจัดตั้งโรงเรียนขึ้นมากมายหลายแห่งทั่วประเทศเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีการศึกษามากขึ้น
ฮองเฮาหม่า แม้จะเป็นถึงฮองเฮาแล้ว แต่ก็ยังเสด็จทำนาร่วมกับประชาชน จึงถือเป็นสตรีที่ทำงานหนักมากมาโดยตลอดตั้งแต่ยังไม่เป็นฮองเฮา จนมาเป็นฮองเฮาก็ยังทำงานหนัก เพื่อพัฒนาบ้านเมืองหลังสงครามให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยหม่าฮองเฮาเคยพูดกับจูหยวนจางว่า
“แผ่นดินในปกครองของเรา หากยังมีคนอดอยากหิวโหย คนยากไร้ นั่นไม่ใช่ความผิดของเขาที่เกิดมาจน แต่เป็นความผิดที่เกิดมาในยุคที่มีเราเป็นผู้ปกครองแผ่นดิน”
เสียชีวิต
ในปี 1382 นางล้มป่วยหนักจนต้องนอนบนเตียง จูหยวนจาง เรียกบรรดาขุนนาง เพื่อร่วมกันสวดมนต์ และอธิษฐานให้ฮองเฮาหม่าหายป่วย โดยจูหยวนจางได้เรียกหมอที่ดีที่สุดเพื่อมารักษาฮองเฮาหม่า
เธอกลับกล่าวกับ จูหยวนจางว่า ชีวิตและความตาย เป็นทางเดินของโชคชะตา คำอธิษฐานคืออะไร ถ้าหมอให้ยาแก่ฉันแล้ว ฉันไม่หาย มันสมควรเป็นความผิดของหมอหรือ แล้วหมอสมควรโดนลงโทษหรือ
ก่อนสวรรคต จูหยวนจาง ขอให้เธอสั่งเสีย เธอสั่งเสียว่า ฉันหวังว่า ท่านจะหาคนที่คู่ควรมาอยู่เคียงข้าง คอยรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เพื่อคอยสั่งสอนให้ลูกหลานทุกคนมีคุณธรรม รวมถึง ขุนนางต่างๆ ก็สามารถพึ่งพาพวกเขาได้
ในที่สุด ฮองเฮาหม่า ก็สวรรคตด้วยพระชนมายุ 50 พรรษา ในวันที่ 17 กรกฎาคม 1382 พระศพถูกฝังอยู่ที่สุสานหมิงเซี่ยวหลิงในเมืองนานจิง โดยตลอดรัชกาลที่เหลือจักรพรรดิหงอู่ไม่แต่งตั้งใครขึ้นเป็นฮองเฮาแทนที่นางเลย.
ปริศนา ลูกของเธอ
แม้ว่า พงศาวดารแห่งราชวงศ์หมิง จะระบุว่า เธอมีโอรสกับ จูหยวนจาง 5 คน และธิดาอีก 2 คน แต่มีข่าวลือตั้งแต่ยุคราชวงศ์หมิงว่า ลูกทั้งหมดไม่ใช่ลูกของ ฮองเฮาหม่า
นอกจากนี้ เรื่องโอรสลูกคนสุดท้าย ที่มีลักษณะเอาแต่ใจตนเอง เมื่อได้รับตำแหน่ง ผู้ดูแลเมืองไคเฟิง เธอเป็นห่วงลูกชายคนนี้มาก เธอถึงกับถอดชุดเก่าของเธอมอบให้กับ สนมเจียง เพื่อไปดูแลเขา โดยกำชับกับสนมเจียงว่า ถ้าโอรสองค์นี้ ไม่เชื่อฟังเธอ เจ้าจงใส่ชุดของเธอ มุ่งหน้าไปแจ้งเรื่องนี้ต่อศาลได้เลย" สิ่งนี้เองที่ทำให้ โอรสองค์นี้เกรงกลัวต่อเรื่องนี้มาก ไม่กล้าทำอะไรที่ผิดไปจากคำสั่งเสียต่างๆ ของมารดา
ฮองเฮาหม่า ถือเป็นแบบอย่างที่ดีของสตรีจีนในยุคนั้นเลยทีเดียว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น