วันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2563

จีน(1883-1944) วังจิงเว่ย จากวีรบุรุษ กลายเป็นคนขายชาติ ?

วังจิงเว่ย (汪精衛) คือ คนที่ร่วมมือกับ ซุนยัดเซ็น โค่นราชวงศ์ชิง แถมเขายังเป็นหนึ่งใน คณะรัฐบุรุษแห่ง การปฎิวัติซินไห่ และคนทั่วไปก็เชื่อกันว่า เขาคือ ทายาททางการเมืองของ ดร.ซุนยัดเซ็น แต่เหตุไฉน เขากลับได้ชื่อว่า เป็นคนขายชาติ?

วัยเด็ก
เขาเกิดในปี 1883 ประสบการณ์ในวัยเด็กที่ได้รับการอบรมอย่างเข้มงวด และอยุ่ในบรรยากาศที่ไม่ค่อยมีความสุข เป็นเวลาหลายสิบปี สิ่งเหล่านี้ค่อยๆ หล่อหลอมเขาเป็นคนค่อนข้างเก็บตัว และขี้กลัว แต่เขาก็ถือเป็นเด็กเรียนพรสวรรค์จนได้รับเลือกให้ไปเรียนต่อที่ญี่ปุ่น ในปี 1904 ที่ญี่ปุ่นเขาได้คันพบความเจริญก้าวหน้าจากการปฎิวัติเมจิ ที่เพิ่งสิ้นสุดยุคโชกุนมา 20-30 ปีเท่านั้น และถือเป็นจุดหักเหของชีวิต วังจิงเว่ย กลายเป็นกระบอกเสียงของพวกคิดก่อกบฎ ต่อมาเขาก็เข้าร่วมเป็นพันธมิตร ถงเหมินฮุ่ย

เมื่อพี่ชายของเขารู้ว่า วังจิงเว่ย คือพวกกบฎต่อราชวงศ์ชิง  พี่ชายของเขาก็ประกาศตัดพี่ตัดน้องทันที เพื่อรักษาครอบครัวให้รอดพ้นจากการประหารชีวิต 7 ชั่วโคตร โดยช่วงปี 1906-1910 เขาเดินทางไปทั่วเวียตนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย  เพื่อเผยแพร่แนวคิดล้มกษ้ตริย์ และหาพันธมิตรชาวจีน

ที่มาเลเซียนี่เองที่เขาได้พบรักกับ ลูกสาวเศรษฐีชาวจีนในมาเลย์ ชื่อ เฉินปี้จวิน

1910
ในปี 1909 เหล่าพันธมิตรต่างข้องใจในการล้มเหลวซ้ำซากของการก่อการจราจล  ทำให้พันธมิตรมีมติไล่ ซุนยัดเซ็น และวังจิงเว่ยออก เพราะไม่คุ้มกับเงินบริจาค ในปีถัดมา วังจิงเว่ย เปลี่ยนแผนคือการลอบสังหารแทน แต่เหล่าพันธมิตรต่างห้ามปรามเขา เขาไม่ฟังคำทัดทาน  เลือกที่จะลอบเข้าจีนผ่านฮ่องกง เพื่อลอบสังหาร เป้าหมายคือ เจ้าชายไจเฟิง

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ เขาเลือกที่จะวางระเบิดไว้ที่สะพาน และลากสายไฟ แต่เขากลับถูกองครักษ์ขององค์ชายจับได้  เพราะมีพิรุธ ความจริงสายลับของราชวงศ์ชิงนั้นรายงานก่อนแล้วว่า จะมีการลอบสังหารบุคคลสำคัญ จึงได้วางกำลังไว้อย่างแน่นหนา ขณะที่เขาเข้าคุก เขาเขียนคำรับสารภาพหลายร้อยหน้ากระดาษ โดยเปรียบเทียบระบบประชาธิปไตย กับระบบกษัตริย์ อย่าง ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น ที่ประเทศเจริญหลังล้มกษัตริย์ได้สำเร็จ

หลายคนพยายามเกลี้ยกล่อมเขาให้เปลี่ยนความคิดล้มระบบกษัตริย์ แต่เจ้าชายไจเฟิง คนใจกว้างพร้อมที่จะปล่อยตัวเขาไป พร้อมกับกล่าวว่า "คุณสามารถอยากออกไปปฎิวัติก็ทำได้เลย  ถ้าคุณปฎิวัติสำเร็จ นั่นหมายความว่า ราชวงศ์ของฉันปกครองบ้านเมืองได้ไม่ดีพอ"

ล้มเจ้า
เมื่อเขาได้ออกจากคุก เขามีส่วนร่วมกับการเจรจาระหว่าง ราชวงศ์ชิง กับคณะปฎิวัติ โดยเฉพาะการลอบสังหารนายพลเหลียงปี้ ที่คัดค้านหัวชนฝาเรื่องการสละราชบังลังก์ของปูยี  ซึ่งทำให้สามารถล้มราชวงศ์ชิงได้สำเร็จ ความจริงแล้วเรื่องการเจรจาแบบประนีประนอมนี้ ทั้ง ซุนยัดเซ็น และคณะปฎิวัติส่วนใหญ่ก็ไม่เห็นด้วย แต่วังจิงเว่ย คอยเป็นตัวเชื่อมการประสานงานกับหยวนซื่อไข่ตลอด

หลังจากนั้นไม่นาน ก็มีการสถาปนาสาธารณรัฐขึ้นช่วงนี้ วังจิงเว่ย เลือกที่จะใช้ชีวิตแต่งงานและท่องเที่ยวโดยเฉพาะอินเดียและมาเลเซีย โดยพยายามวางตัวออกห่างจากเรื่องการเมือง แต่ยังคงติดตาม ดร.ซุนยัดเซ็นไปตลอด จนกระทั่ง มีนาคม 1925 ดร.ซุนยัดเซ็นเสียชีวิต ในฐานะที่เขาเป็นถึงผู้ร่างพินัยกรรมของซุนยัดเซ็น คนทั่วไปจึงมองว่า เขาคือผู้สืบทอดช่วงอำนาจต่อจากซุนยัดเซ็น

เหตุการณ์เรือรบ
ไม่นาน เขาก็ได้รับเลือกเป็นประธานประชาชน แห่งมณฑลกวางตุ้ง ตำแหน่งตอนนั้นเทียบเท่าประธานธิบดีเลยทีเดียว  แต่มีนาคม 1926 เจียงไคเช็ก ที่เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด กลับก่อ เหตุการณ์เรือรบจงซาน ขึ้น เพื่อใส่ร้ายพรรคคอมมิวนิสต์ แม้ว่า เจียงไคเช็ก จะพยายามขอโทษต่อวังจิงเว่ย แต่วังจิงเว่ย อ้างว่า เขาไม่สบายและไม่ยอมให้เจียงไคเช็กเข้าพบ และเดินทางไปต่างประเทศ ด้วยเหตุนี้เอง เจียงไคเช็กจึงอาศัยจังหวะนี้ช่วงชิงอำนาจการปกครองสูงสุดของพรรคก๊กมินตั๋ง ถึงตอนนี้ วังจิงเว่ย ทำอะไรไม่ได้แล้ว ได้แต่ร่วมมือกับเจียงไคเช็ก

ต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์
ระหว่างนั้น เจียงไคเช็กวุ่นวายกับการก่อสงครามกลางเมือง ระหว่างประชาธิปไตย กับสังคมนิยม และให้วางจิงเว่ยดูแลด้านการเมืองแทน เพราะทั้งสองเห็นตรงกันว่า สาธารณรัฐจีน ควรปล่อยญี่ปุ่นไปก่อน และมุ่งจัดการกับพรรคคอมมิวนิสต์มากกว่า จะเห็นได้ว่า รัฐบาลจีนของก๊กมินตั๋งไม่ตอบโต้ใดๆ กับ กรณีที่ ญี่ปุ่นสถาปนาสาธารณรัฐแมนจูกัว ขึ้นในปี 1932 (เคสนี้ ขุนศึกทางเหนืออย่างจางจัวหลิน นั้นได้จับมือกับญี่ปุ่นอยู่ก่อนแล้ว แต่ถูกญี่ปุ่นลอบสังหาร ทำให้ถัดมา จางเสวหลียง ยกเลิกความสัมพันธ์กับญี่ปุ่น) นอกจากนี้ยังยก เย่อเห่อ ให้ญี่ปุ่น ในปี 1933 อีกด้วย

แต่แล้ววันที่ 1 พฤศจิกายน 1935 วังจิงเว่ย ถูก ซุนเฟิ่งลอบสังหาร แต่โชคดีเขารอดพันจากการเสียชีวิต  วันนั้นเอง เจียงไคเช็กรีบเดินทางมาพบ แต่ภรรยาของวางจิงเว่ย คือ เฉินปี้จวิน คิดว่านี่คือการวางแผนของเจียงไคเช็ก เธอกำหมัดไปกระชากเสื้อของเจียงไคเช็ก พร้อมกับตะโกนทั้งน้ำตาว่า ถ้าคุณไม่อยากให้วางจิงเว่ยทำ วางจิงเว่ยเขาก็ไม่เคยทำ ทำไมต้องส่งคนมาลงมืออย่างโหดเหี้ยมเช่นนี้ด้วย

เจียงไคเช็ก นั้น ร่วมมือกับ วังจิงเว่ยมาโดยตลอด แต่มาสิ้นสุดลง หลังจากเหตุการณ์ซีอาน  ในปี 1936 เมื่อนายพลจางเสวียเหลียง จับ เจียงไคเช็ก เป็นตัวประกัน บังคับให้ พรรคก๊กมินตั๋ง จับมือกับพรรคคอมมิวนิสต์ ร่วมกันผลักดันญี่ปุ่นออกไปจากจีน ทำให้เจียงไคเช็กต้องหันมาสู้กับญี่ปุ่นแทน แม้ว่า เจียงไคเช็กจะเลือกสู้กับญี่ปุ่นแบบไม่เต็มที่ก็ตาม

กลยุทธเข้ากับศัตรู(collaboration)
7 กรกฎาคม 1937 เกิดเหตุการณ์สะพานมาร์โคโปโลที่ชานเมืองเป่ยผิง(ปักกิ่ง) ญี่ปุ่นถือโอกาสรุนรานจีนรอบด้าน และสามารถชนะศึกอย่างรวดเร็ว โดยสามารถบุกยึดเซี่ยงไฮ้ และนานจิงได้ ทำให้รัฐบาลของเจียงไคเช็กนั้นต้องย้ายเมืองหลวงจากนานจิง ไปเมือง ฉงชิ่ง

วังจิงเว่ย ที่ถูกวางตัวให้ดูแลทางการเมือง และมองว่า ยิ่งพรรคก๊กมินตั๋ง ทำสงครามกับญี่ปุ่น จะยิ่งทำให้พรรคก๊กมินตั๋งอ่อนแอลง และในที่สุดจะพ่ายแพ้แก่ พรรคคอมมิวนิสต์ เขาจึงยื่นข้อเสนอประนีประนอมกับญี่ปุ่น วังจิงเว่ยรู้ดีว่า การทำสงครามกับญี่ปุ่นนั้นยังมีความสำคัญรองจาก การปราบปรามพรรคคอมมิวนิสต์ในประเทศเสียอีก ดังนั้น วังจิงเว่ยจึงเลือกให้ สาธารณรัฐจีน ดำเนินนโยบายยอมจำนนต่อญ๊่ปุ่น

ตุลาคม 1938 ญี่ปุ่นนั้นเปลี่ยนกลยุทธ์การรุกจีน ด้วยการพยายามชักจูงบุคคลสำคัญของพรรคก๊กมินตั๋ง ให้ยอมแพ้ และยอมจำนน โดยแถลงว่า ชาวจีนที่ต้องการทำงานจะเรียกกลับมาทำงานเช่นเดิม  วังจิงเว่ยนั้นทั้งดีใจและแปลกใจที่ญี่ปุ่นปฎิบัติกับเขาดีเยี่ยม นอกจากนี้ยังมีอีกหลายคน ที่เชื่อว่า หากต่อต้านญี่ปุ่น ประเทศจีนอาจถึงคราวล่มสลายได้ โดยวังจิงเว่ยพยายามเผยแพร่ความคิดนี้ออกไป  แต่เจียงไคเช็กนั้นไม่เอาด้วย

3 พฤศจิกายน 1938 ญี่ปุ่นออกมาแถลงย้ำเจตนารมณ์เดิมว่า ไม่คิดว่าคนจีนเป็นคู่แข่ง ขอเพียงยกเลิกความคิดต่อต้านญี่ปุ่น วังจิงเว่ยถึงกับขอร้องให้เจียงไคเช็กนั้นลาออก เพื่อให้จีนเข้ากับญี่ปุ่นได้

16 พฤศจิกายน 1938 วางจิงเว่ยได้ร่วมรับประทานอาหารกับเจียงไคเช็ก พร้อมกับตำหนิ เจียงไคเช็ก อย่างมีอารมณ์ว่า ตอนนี้ประเทศจีนโดนภัยสงครามเละเทะ เพื่อนร่วมชาติถูกฆ่าตายอย่างน่าเวทนา พวกเราควรละอายต่อซุนยัดเซ็น และประชาชน พวกเราควรลาออกจากตำแหน่งทั้งหมด แต่เจียงไคเช็กยังคงไม่ยอมรับข้อเสนอนี้

วางจิงเว่ยจึงได้เจรจาอย่างลับๆ กับ ตัวแทนญี่ปุ่นชื่อ คาเงะซะ ดากิ ที่เมืองเซี่ยงไฮ้ พร้อมวางแผนหลบหนี

วันที่ 18 ธันวาคม 1938 เขาอ้างว่าจะไปกล่าวสุนทรพจน์ที่เมืองคุนหมิง จึงขึ้นเครื่องบินโดยสารออกเดินทางจากเมือง ฉงชิ่ง แต่ก่อนออกเดินทางเขียนจดหมายฉบับหนึ่ง ฝากให้เจียงไคเช็ก มีใจความสั้นๆ ว่า เราต่างมีจุดประสงค์เดียวกัน คุณทำสิ่งที่ง่ายแต่ผมเลือกทำสิ่งที่ยาก

วันที่ 19 ธันวาคม 1938 เครื่องบินก็โดยสารมาถึง ฮานอย ประเทศเวียตนาม วันที่ 22 ธันวาคม 1938 รัฐบาลญี่ปุ่นก็ประกาศบรรลุข้อตกลงสันติภาพกับจีน โดยจะร่วมมือกันเป็นเพื่อนบ้านที่ดีต่อกัน ต่อต้านคอมมิวนิสต์  และให้ความร่วมมือกันด้านเศรษฐกิจ

ช่วงเวลานี้แม้ว่า วังจิงเว่ยจะพยายามเกลี่ยกล่อมให้ เจียงไคเช็กยอมรับข้อเสนอ แต่ไม่สำเร็จ แถม คนสนิทของวังจิงเว่ย คือ เจิ้งจงหมิง กลับถูกกลุ่มขวาจัดในพรรคก๊กมินตั๋งลอบสังหารในเดือนมีนาคม 1939

เมษายน 1939 วางจิงเว่ยก็เดินทางกลับมาถึงเมืองเซี่ยงไฮ้  มีนาคม 1940 วางจิงเว่ยก็ร่วมมือกันจัดตั้งรัฐบาลประชาชนที่เมืองนานกิง โดยรัฐบาลเขาชูคำขวัญว่า ต่อต้านคอมมิวนิสต์ สร้างประเทศสันติ  และเมืองนานกิง ยังเป็นเมืองหลวงเก่าของพรรคก๊กมินตั๋งอีกด้วย

โดยมีวังจิงเว่ย เป็นประธานาธิบดี และโจวโฝไห่ คนสนิทของเขา เป็นรองประธานาธิบดี ช่วงระยะเวลารัฐบาลนานจิง นั้นเขาต้องเจรจาต่อรองกับญี่ปุ่น ไม่ว่าจะ ต้องยอมรับรัฐบาลแมนจูกัว และยอมให้ญี่ปุ่นใช้เกาะไห่หนานเป็นฐานทัพเรือ ขณะที่ปี 1943 รัฐบาลนานจิง ก็ประกาศสงครามกับอังกฤษ และสหรัฐ ถือเป็นการเข้าข้างฝายอักษะอย่างเต็มตัว เพื่อแลกกับการที่ญี่ปุ่นจะสละสิทธินอกอาณาเขต นอกจากนี้ รัฐบาลนานจิงยังได้แอบส่งสิ่งของให้พรรคก๊กมินตั๋ง เพื่อใช้สู้กับกองทัพญี่ปุ่นอีกด้วย

แต่เจียงไคเช็กนั้นคอยส่งสายลับ ที่เรียกว่า สายลับฉงชิ่ง คอยลอบสังหารโดยตลอด

เสียชีวิต
จนกระทั่งปี 1944 เขาเดินทางไปรักษาตัวที่ นาโกย่า ญี่ปุ่น และเสียชีวิตที่นั่นในวันที่  10 พฤศจิกายน 1944 ร่างเขาถูกนำกลับมาฝังใกล้ๆ กับสุสานดร.ซุนยัดเซน

ปีถัดมา ญี่ปุ่นก็ประกาศแพ้สงคราม ทำให้รัฐบาลนานจิงล่มสลายลงไปด้วย แต่มีข้อสังเกตุว่า ประชาชนในนานจิง กลับไม่มีปฎิกริยาต่อต้านใดๆ ต่อ วังจิงเว่ย นั่นหมายความว่า แนวคิดของเขาก็ไม่ผิดนักทีเดียว แต่เหล่าพรรคพวกของเขากลับถูกพิพากษาประหารชีวิตในฐานะผู้ทรยศต่อชาติ

หลังจากนั้น เจียงไคเช็กก็กลับมาตั้ง รัฐบาลก๊กมินตั๋งที่นานจิงอีกครั้ง มีการเปิดศาลเพื่อพิพากษาพวก ฮั่นเจียน (คนขายชาติ)  แต่วังจิงเว่ย เสียชีวิตไปแล้ว แม้ว่าเขาจะรอดจากการพิจารณาคดี แต่ศพของเขากลับไม่รอด

หลังจากเจียงไคเช็กกลับมานานจิงไม่นาน เขาก็สั่งให้ผู้บัญชาการทหารสูงสุดไปปาระเบิดที่หลุมศพของวังจิงเว่ย เมื่อโลงหินถูกเปิดออก ศพของเขาถูกหั่นเป็นชิ้นๆ ใส่กระสอบถูกนำไปทิ้งในแม่น้ำแยงซีเกียง

แต่ 4 ปีถัดมา สิ่งที่วังจิงเว่ยกลัวก็เป็นความจริง นั่นคือ หากพรรคก๊กมินตั๋ง ตั้งป้อมสู้กับญี่ปุ่นแบบแตกหัก พวกเขาจะต้องพ่ายแพ้ต่อพรรคคอมมิวนิสต์อย่างราบคาบ และเล้วในปี 1949 กองทัพของเหมาเจอตุงได้รับชัยชนะและสามารถสถาปนา สาธารณรัฐประชาชนจีน ขึ้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 1949 ขณะที่พรรคก๊กมินตั๋ง ต้องถอยหนีไปอยู่ที่เกาะไต้หวันแทน

สรุป
การหนีไปเข้ากับศัตรูเพื่อรักษาชีวิตประชาชนใ้หอยู่รอดปลอดภัย ดังนั้น หากมองว่า การพาผู้คนไปเข้าพวกกับศัตรู นั้นเป็นผู้ทรยศ อาจไม่เป็นธรรมกับเขาผู้นั้นนัก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น