วันเสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

จางจงจิ่ง นักบุญทางการแพทย์ และ ตำนานกินเกี๋ยววันตงจื้อ

จางจงจิ่ง (张仲景)  นักบุญทางการแพทย์ และ ตำนานกินเกี๋ยววันตงจื้อ  (150-219)

สมัยปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก มีนายแพทย์ชื่อดัง 2 ท่าน คือ จางจงจิ่ง (张仲景) และ หมอฮั่วโต๋ ซึ่งได้รับการขนานามว่านายแพทย์ผู้ยิ่งใหญ่ หมอฮั่วโต๋ นั้นผมพูดไปแล้ว ในคลิปก่อน หากใครยังไม่ได้ดู จะใส่ ลิงค์การ์ดไว้ให้

ครั้งนี้จะพูดถึง จางจงจิ่ง เพราะ เขาเป็นบุคคลที่เขียน สารานุกรมยาแผนโบราณ จนถึอว่าเป็นผู้วางรากฐานของยาแผนโบราณของจีนตราบจนถึงทุกวันนี้ จนมีคำกล่าวว่า "หากคุณต้องการเป็นหมอจีนแผนโบราณ แต่ยังไม่อ่านหนังสือเล่มนี้ อย่าแม้แต่จะคิดว่าจะเป็นหมอจีนแผนโบราณ"

ก่อนอื่นต้องขออภัย การนับยุคสมัย เพราะนักประวัติศาสตร์จีน จะถือว่า ยุคสามก๊ก นั้นเริ่มต้นนับจากการก่อตั้งรัฐวุ่ยสำเร็จ ในปี ค.ศ. 220  ซึ่งปีนั้นเอง โจโฉเสียชีวิตไปแล้ว แต่ถ้านับตามหนังสือสามก๊ก คนอ่านส่วนใหญ่มักคิดว่า เริ่มตั้งแต่ กบฎโพกผ้าเหลือง แต่ขณะนั้น ฮั่นเลนเต้ หรือ ฮั่นหลิงตี้ กลับเข้าเรื่องเดิม

จางจ้งจิ่ง (ประมาณปีค.ศ.150-ค.ศ.219 ) เป็นหมอที่มีความสามารถสูง ไม่ว่าโรคอะไรที่รักษายาก ในสมัยนั้น หมอผู้นี้สามารถค้นพบจนสามารถรักษาได้เกือบทั้งหมด และยังเป็นหมอที่มีคุณธรรมสูงส่งอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นคนจน คนรวย เขาก็ทำการรักษาอย่างจริงใจ ไม่มีการแบ่งแยก มีคนไข้ที่เขาช่วยชีวิตไว้มีจำนวนนับไม่ถ้วน

สภาพแวดล้อม
เป็นช่วงปลายสมัยตงฮั่น หรือฮั่นตะวันออก จีนแตกเป็นก๊กเป็นเหล่า เกิดสงครามระหว่างกัน ผลจากสงครามทำให้ประชาชนประสบความยากลำบากอย่างใหญ่หลวง มีความเป็นอยู่อย่างแร้นแค้น เกิดโรคภัยไข้เจ็บระบาดไปทั่วทุกหัวระแหง โดยเฉพาะช่วงปี ค.ศ.: 171 -182 ประเทศจีนเกิดโรคระบาดไทรอยด์ หรือ โรคไข้สากน้อย เป็นวิกฤติโรคระบาดครั้งใหญ่ถึง 5 ครั้ง  ผู้คนล้มตายไปเป็นเมาก โดยมีการทำมโนประชากรในสมัยช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันตก มีประชากรจีนประมาณ 50 ล้านคน แต่หลังยุคสามก๊ก คือยุคราชวงศ์จิ้น ประเทศจีนมีประชากรเหลือแค่ 16 ล้านคนเท่านั้น

ประวัติ
จางจี หรืออีกชื่อหนึ่งคือ จงจิ่ง แซ่จาง เป็นชาวตงฮั่น เกิดที่เมืองเนี้ยนหยาง (ปัจจุบันคือ อำเภอหนานหยาง ในมณฑลเหอหนาน)  ในสมัยกษัตริย์ฮั่นหลิง หรือ พระเจ้า เลนเต้ เขาเป็นคนใฝ่รู้ ชอบอ่านหนังสือ และเป็นคนที่มีทัศนคติต่อ ตรรกะ อย่างเข้มงวด  โดยเฉพาะหนังสือเกี่ยวกับ ยาแผนโบราณ และยังเป็นลูกศิษย์ของหมอท้องถิ่นท่านหนึ่งด้วย

แต่เนื่องจากยุคสมัยนั้น ไม่มีทางเลือกมากนัก ผู้คนส่วนใหญ่ถูกเกณฑ์ไปเป็นทหาร ทำให้ตัวเขาเลือกที่รจะสอบเป็นข้าราชการได้รับตำแหน่งเซี้ยวเหลียน (สมัยนั้นยังไม่มีการสอบจองหงวน มีเพียงสอบเป็นข้าราชการท้องถิ่นเท่านั้น)  และได้เลื่อนตำแหน่งเป็นไถ้เส่า 2  ที่เมืองฉางซา ระหว่างเป็นข้าราชาการนั้น จาง จงจิ่ง ก็ยังคงเป็นหนอนหนังสือ และเขายังไปสมัครเป็นศิษย์ของ จางป๋อจู่ และได้ร่ำเรียนวิชาจากอาจารย์จนหมดสิ้น

บางครั้ง เขาต้องเดินทางไกล เพื่อไปศึกษาจากนายแพทย์คนอื่น โดยเฉพาะเมื่อเขาได้ยินชื่อเสียงของ "วังเสิ่นเซียน" ที่เมืองเซี่ยงหยาง ว่า เป็นหมอที่สามารถรักษาโรคหิดได้  เขารีบเดินทางไปขอคำแนะนำทันที ทั้งๆที่ ที่นั่นอยู่ห่างจากบ้านของเขาหลายร้อยลี้ก็ตาม

หลังจากเกิดเหตุการณ์โรคระบาดใหญ่ 5 ครั้ง ที่คร่าชีวิตคนในครอบครัวเขาไปครึ่งหนึ่ง  ทำให้เขามุ่งมั่นอ่านหนังสือยาโบราณอย่างหนัก  โดยอาศัยหนังสือโบราณ เช่น  เน่ยจิง และ หนานจิง เป็นพื้นฐาน จนได้เขียนหนังสือ ซางหางจ๋าปิ้งลุ่น (伤寒杂病论)  (เป็นหนังสือ เกี่ยวกับรักษาไข้หวัดชนิดต่าง ๆ ประกอบไปด้วยใบสั่งยาจำนวนมาก รวม 16 เล่ม ) และคำอธิบายทฤษฏีแพทย์แผนโบราณของจีน ซึ่งนับได้ว่าเป็นการสร้างรากฐานแพทย์แผนโบราณของจีนขึ้น เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ซางหาง และจ๋าปิ้ง

แต่เนื่องด้วย การแพทย์กระแสหลักสมัยนั้น มุ่งเน้นไปที่การรักษาโรคแนวทางของ หยิน และ หยางเป็นหลัก ทำให้เขาไม่ได้รับการยอมรับ และมักถูกเยาะเย้ย แทนที่จะมีชื่อเสียง และรวมถึง หนังสือของเขาบางเล่ม ก็ไปขวางกระแสหลัก อย่างไรก็ดี เขาก็เป็นคนสุภาพ ถ่อมตัว  และประณีประนอมมาโดยตลอด ทำให้ตัวเขาไม่ค่อยมีชื่อเสียง จนกระทั่งยุคจิ๋น จึงมีการนำหนังสือเขามาพูดคุย

แต่เหตุแห่งสงครามช่วงปลายสมัยฮั่นตะวันออก ทำให้เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้บางส่วนขาดหายไป ต่อมาในสมัยซีจิ้น (จิ้นตะวันตก) แพทย์หลวงชื่อ หวังซุเหอ ได้ทำการรวบรวมเขียนเพิ่มเติมและจัดหมวดหมู่ใหม่ จนมีเนื้อหาที่สมบูรณ์ดังที่ปรากฏในปัจจุบันนี้ หลังจากนั้นในสมัยซ่ง  หลินอี้ ได้ทำการตรวจทานความถูกต้องใหม่ และในสมัยจิน
 เฉิงอู๋จี่ ได้เป็นผู้ให้คำอรรถาธิบายเป็นคนแรก

ซางหางจ๋าปิ้งลุ่น
ซางหางลุ่น เป็นหนังสือที่อธิบายถึงโรคติดต่อ ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก ลักษณะของการเขียนแบ่งเป็นข้อๆ หนังสือเล่มนี้ได้รวมเอาหลักทฤษฎี วิธีการ ตำรับยา และตัวยาสมุนไพรมาประสานกับการรักษาอย่างเป็นกฎเกณฑ์ ได้เริ่มใช้กฎการวิเคราะห์โรค (เปี้ยนเจิ่งลุ่นจื่อ) อย่างรอบด้านแล้วดำเนินการรักษาอย่างพลิกแพลงในการปฏิบัติทางคลินิก

ซางหางลุ่นได้แบ่งโรคออกเป็น 6 พวกใหญ่ๆ หรือที่เรียกว่า ลิ่วจิง จากอาการของโรคที่มีอยู่จำนวนมากมาย

นอกจากนี้ซางหางลุ่นยังได้ตั้งกฎเกณฑ์ต่างๆ ในการรักษาโรคอย่างพลิกแพลง เป็นต้นว่า โรคที่เหมือนกันแต่มีอาการที่แสดงออกแตกต่างกัน ก็ใช้วิธีการรักษาที่เรียกว่า โรคเหมือนกันใช้วิธีการรักษาต่างกัน

โรคที่ต่างกันแต่มีอาการที่แสดงออกเหมือนกัน ก็ใช้วิธีการรักษาที่เรียกว่า โรคต่างกันแต่ใช้วิธีการรักษาเหมือนกัน โรคเดียวกันอาจรักษาโดยใช้ตำรับยาต่างๆ กันหลายชนิด หรือยาตำรับหนึ่งๆ สามารถใช้รักษาโรคได้หลายโรค เป็นต้น

สิ่งเหล่านี้เป็นเนื้อหาที่อยู่ในกฎการวิเคราะห์โรคอย่างรอบด้านแล้วดำเนินการรักษา หากเราสามารถยึดกุมหัวใจของกฎนี้ได้อย่างมั่นคงก็จะสามารถนำกฎเกณฑ์ต่างๆ มาใช้ได้อย่างกว้างขวาง พลิกแพลง และมีประสิทธิภาพ เนื้อหาของซางหางลุ่น ไม่ใช่จะถูกจำกัดการรักษาไว้เฉพาะซางหาง (โรคที่เกิดจากความเย็น) เพียงอย่างเดียว แต่เป็นกฎเกณฑ์ที่นำไปใช้รักษาโรคต่างๆ ที่เกิดจากปัจจัยภายนอกเป็นเหตุ

แพทย์จีนส่วนใหญ่ยกย่องและได้สืบทอดแนวความคิดจากหนังสือเล่มนี้มาตราบจนกระทั่งทุกวันนี้ หนังสือเล่มนี้จึงเป็นเสมือนหนังสือที่ผู้ศึกษาการแพทย์จีนควรอ่านเป็นอย่างยิ่ง

ตำนานตงจื้อ และ เกี๋ยว
หลังจาก จางจงจิง รับตำแหน่งเจ้าหน้าที่ในฉางชา เขากลับมาเกษียณที่บ้านเกิดของเขา เขามาถึงในฤดุหนาว ได้พบกับคนยากจนที่มีเพียงเสื้อบางๆ ใส่ ทำให้หู ของพวกเขาเน่า และหัวใจก็อ่อนแอ

แม้ว่าเขากลับมาอาศัยที่บ้านเกิด ก็ยังมีคนไข้มารับการรักษา เป็นจำนวนมาก  แต่ด้วยอากาศที่หนาวเย็น เขาพัฒนาสูตรอาหารชื่อ "คูฮั่นเจียวเออถ่าง" โดยขอให้ลูกศิษย์ของเขาไปต้มอาหารดังกล่าว เพื่อแจกจ่ายให้คนยากจนรับประทานเพื่อรักษาโรคอันเกิดจากความหนาวเย็น

สูตรของ คู่ฮั่นเจียวเออถ่าง นั้น คือ ต้มเนื้อแกะ ผสมพริกไทย และยารักษาโรคหวัดบางอย่าง  แล้วถูกห่อด้วยแป้งรูปหูคน  (เกี๊ยว) แล้วนำไปต้มในน้ำซุป เพื่อรักษาให้ร่างกายอบอุ่น และป้องกันไม่ให้หูแข็งตัว

อย่างไรก็ดี สุดท้ายแล้วเขาก้ไม่ใช่พระเจ้า เขาแม้จะเป็นหมอแต่เขาก็ไม่รักษาอาการเจ็บป่วยของตนเองได้ ในที่สุดเขาก็เสียชีวิตลง ต่อมาเกิดเป็นประเพณี การแจกเกี๊ยวในฤดูหนาวให้กับทุกคน เพื่อเป็นเกียรติแก่จางจงจิ่ง และเป็นเหตุผลว่า หากคุณกินเกี๊ยวในฤดุหนาว หูของคุณจะไม่เน่า

จนในที่สุด เกี๊ยวกลายเป็นสัญลักษณ์ของ การรวมตัวของครอบครัว แต่ชื่อของจางจงจิ่งกลับไม่ค่อยมีคนพูดถึง

อนุสรณ์สถาน
มีรูปปั้นศิลาทั้งตัวของ จางจงจิ่ง ในวิทยาเขตของ การแพทย์จีนแผนโบราณ มหาวิทยาลัยฉางชุน และ คณะแพทย์จีนแผนโบราณแห่งมหาวิทยาลัยเหอหนาน

สุดท้ายนี้  ปัจจุบันนั้น เรากำลังเผชิญกับโรคระบาดที่กำลังคร่าฃีวิตผู้คนมากมาย ผมเชื่อว่า หมอนักบุญอย่าง จางจงจิ่ง นั้นจะต้องภูมิใจในบุคคลกรทางการแพทย์ทุกคนที่ร่วมกันสู้กับโรคระบาดเหมือนกับที่จางจงจิ่ง นั้นเผชิญหน้ากับโรคระบาดเมื่อ 1900 ปีก่อน เช่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น