วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

หมอฮัวโต๋ หมอเทวดาแห่งยุคสามก๊ก

หมอเทวดา ฮัวโต๋ (ฮว่าถัว) แห่งยุคสามก๊ก ( 华陀)  (145-208)

เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่อง สามก๊ก ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ มีอาชีพเป็นนายแพทย์ในยุคปลายราชวงศ์ฮั่น หมอฮว่าถัวเป็นผู้ที่มีฝีมือทางการแพทย์อันยอดเยี่ยมโดยเฉพาะการใช้ยาสลบเพื่อผ่าตัด

ฮว่าถัว เป็นคนรูปงาม ผมยาว นิสัยสุภาพเรียบร้อย มีน้ำใจเมตตากรุณา ตำนานอธิบายลักษณะของเขาว่า  เขามีลักษณะ ไม่แก่ไม่เฒ่า และมีผิวพรรณเหมือนเด็ก แต่มีเคราสีเหมือนหิมะ  และเกิดในตระกูลนักปราชญ์

หมอฮัวโต๋เคยถูกเสนอให้รับราชการ แต่หมอฮัวโต่กลับปฎิเสธไป เขาถือเป็นหมอที่จรรยาบรรณสูงมาก เขารักษาคนโดยไม่หวังตอบแทน และไม่แบ่งชนชั้นวรรณะ คนไข้ของเขามีตั้งแต่ชาวบ้านไปจนถึงคนใหญ่คนโต เป็นที่เลื่องลือไปทั่วแผ่นดินจีน

ประวัติการรักษาเดิม
การรักษาโรคยุคนั้นยังอาศัยวิชาไสยศาสตร์ เช่น การเซ่นไหว้ และ การสั่นติ้ว (การสั่นติ้วคือ การเขย่าไม้ติ้ว ไม้ติ้วก็คือไม้เซียมซีที่เราเรียกในปัจจุบัน)  แล้วถ้าถามว่าเขย่าติ้วเพื่ออะไร ก็เพื่อเสี่ยงทายว่าต้องใช้ยาอะไร ในการรักษา แล้วถ้าติ้วตกลงมาเป็นยาอะไรก็กินยานั้นเข้าไป แล้วก็จะหาย ด้วยเหตุนี้ การรักษาต้องอาศัยดวง

หมอฮว่าถัวนั้นเป้นหมอคนแรกในประวัติศาสตร์จีนที่ไม่ได้อาศัยการรักษาแบบนั้น แต่เป็นแนววิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่  โดยเขาได้ชื่อว่า เป็นบิดาแห่งศัลยแพทย์ (หมอผ่าตัด) ในบันทึกชาวฮํ่นโบราณนั้น  ระบุว่า เขาเป็นบุคคลแรกในประเทศจีนที่ใช้ยาสลบในการผ่าตัด โดยระบุว่า เขาใช้ยาสลบ ชื่อ หมาเฟ่ส่าน(麻沸散) เป็นยาสมุนไพร ผสมกับ ผงกัญชาต้ม (หมาแปลว่ากัญชา เฟ่สาน แปลว่าวิสัญญี หรือยาสลบ)  โดย บันทึกกระบุว่า หมอฮว่าถัว ใช้ยาสลบนี้เพื่อใช้ผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบ มาแล้ว ก่อนที่จะทายารักษาอักเสบที่ลำไส้แล้วเย็บแผลเข้าที่เดิม

เขาสามารถพัฒนาการฝังเข็ม (五禽戲) ด้วย การศึกษาการเคลื่อนไหว และ กล้ามเนื้อ จากสัตว์ 5 ชนิด คือ เสือ กวาง หมี ลิง และคน ที่แข็งแรง

เขายังเชี่ยวชาญ การวินิจฉัยลักษณะการแท้งบุตร ได้อย่างแม่นยำ ด้วยการตรวจดู ชีพจรของแม่เด็ก และบอกได้ว่า ทารกในท้องเสียชีวิตหรือยัง รวมถึงทายเพศจากตำแหน่งของทารกในครรถ์อีกด้วย

รวมถึง เขายังเป็นผู้ค้นพบ พยาธิ (ปรสิต) ในร่างกายมนุษย์  ในบันทึกชาวฮั่นโบราณ ระบุว่า คนป่วยที่ชอบกินเนื้อสัตว์ดิบ หมอฮั่วโต๋ มักจะระบุว่า มี "งู หัวแดง คอยเลื้อยบิดตัวไปมาในร่างกายมนุษย์ ที่เป็นสาเหตุของอาการป่วย และแผลภายในร่างกาย"

ชื่อเสียง
รักษาทหาร 2 นาย 

ช่วงที่เขาเป็นเด็กฝึกหัดแพทย์ เขาก็ฉายแวว ดดยครั้งหนึ่ง มีทหาร 2 นาย ทั้งคู่ต่างปวดหัวและมีไข้ แต่ใบสั่งยาของเขา กลับระบุต่างกัน คนหนึ่ง ให้เพียงยาขับเหงื่อ ขณะที่อีกคน ใบสั่งยาระบุว่า เป็นยาระบาย ทั้งคู่ค่อนข้างแปลกใจ แต่เมื่อทานยาตามใบสั่งยา ทั้งคู่ก็หาย

โดยคนที่เขาให้ใบสั่งยาระบายนั้น เขาระบุว่า เป็นโรคเรื้อรัง เนื่องจากการทำงานหนัก แม้จะรักษาด้วยยาระบายแล้ว ก็ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ่ขณะที่อีกคนนั้น ปวดหัวและเป็นไข้เกิดจากอุณหภูมิในร่างกายที่สูงขึ้น เกิดจาก ชี่ ที่ถูกกระจายไปทั่วตัว ก็เพียงให้ยาขับเหงื่อออกเพื่อระบายความร้อนออกมา จากร่างกายเพื่อรักษาให้ ชี่ นิ่งเท่านั้น

เทพสมุนไพร
ในช่วงมีโรคระบาด หมอฮั่วโต๋ ใช้เวลา 3 ปี ทำการทดลองซ้ำๆ เกี่ยวกับใบอ่อนของสมุนไพรชนิดหนึ่ง ในที่สุดเขาก็สามารถรักษาโรคระบาดนี้ได้สำเร็จ จนเกิดเป็นเพลงพื้นเมือง ยกย่องเขา เขายังค้นคว้าสมุนไพรต้ม เพื่อใช้รักษาอาการปวดจากแมลงต่างๆ ไม่ว่าจะผึ้ง และแมงป่อง ใช้กระเทียมใช้รักษาอาหารทะเลเป็นพิษ (ไม่แน่ใจ) และยาชูกำลังอื่นๆ อีกด้วย

ในสามก๊ก
รักษาจิวท่าย
ในสมัยที่ซุนเซ็กครองแคว้นกังตั๋ง จิวท่าย ทหารเอกของซุนเซ็ก ช่วย ซุนกวน ฝ่าวงล้อมของกลุ่มโจรป่า   จิวท่ายแม้จะสามารถพาซุนกวนฝ่าวงล้อมออกมาได้  แต่จิวท่ายโดนอาวุธโจรนับสิบแผล งีห้วนจึงแนะนำ หมอฮัวโต๋ ให้มารักษา จิวท่าย ซุนเซ็กจึงได้เชิญตัวหมอฮั่วโต๋ มารักษา ใช้เวลาแค่ 3 เดือน บาดแผลก็หายสนิท

รักษากวนอู
ครั้งหนึ่งกวนอูได้ยกทัพมาตีเมืองอ้วนเซียที่มี โจหยิน ทหารเอกโจโฉรักษาไว้อยู่ กวนอูถูกลูกเกาทัณฑ์อาบยาพิษของข้าศึกที่ไหล่ขวาจึงต้องถอนทัพกลับค่าย กวนเป๋งต้องรีบไปตามตัว หมอฮัวโต๋ มาช่วยรักษา โดยการผ่าเนื้อที่ไหล่ออก แล้วเอายาใส่ในบาดแผล แล้วถึง เย็บแผลให้เป็นเหมือนเดิม พร้อมทั้งกำชับให้ กวนอู ระงับความโกรธจนครบ 100 วัน กวนอูเชื่อฟังและปฎิบัติตามอาการจึงหายสนิท  การที่ กวนอู สามารถระงับความโกรธและความเจ็บได้โดยไม่แสดงอาการเจ็บปวดให้เห็น กวนอูได้สรรเสริญว่าฮัวโต๋เป็นหมอเทวดา ฝ่ายฮัวโต๋ได้ชื่นชมกวนอูว่า เป็นคนไข้ที่อดทนต่อความเจ็บปวดได้ดี

รักษาโจโฉ
ในเรื่องในนิยายสามก๊ก คือ  เมื่อโจโฉป่วย อาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง  โจโฉจึงให้ไปตามหมอฮัวโต๋มารักษา

หมอฮัวโต๋ตรวจอาการแล้วบอกว่า โจโฉเป็นลมเสียดแทงในศีรษะ ต้องใช้ขวานคมๆ ผ่าศีรษะชำระโรคออกให้หมดจึง จะหาย โจโฉจึงโกรธหาว่าหมอฮัวโต๋ คบคิดกับกวนอูมาฆ่าตน และ สั่งให้จับตัวไปขังในคุก ในระหว่างที่หมอฮัวโต๋อยู่ในคุกนั้นหมอฮัวโต๋ได้มอบตำราที่แต่งขึ้นเอง ให้กับ ผู้คุม แต่ผู้คุม ไม่รับ อ้างว่าภัยจะมาถึงตน หมอฮัวโต๋จึงเผาตำราของตนจนหมด และเสียชีวิตในคุกในที่สุด นับว่าน่าเสียดายมาก ที่ตำราที่สำคัญของจีนหายไปต่อหน้าต่อตา

เรื่องจริงคือ  
 หลังจากหมอฮัวโต๋ตรวจดูอาการของโรคแล้ว หมอฮัวโต๋ แจ้งว่า เขาไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เพราะเป็นโรคเรื้อรังเรื้อรัง ต้องตัดที่รากของปัญหา

ทุกครั้งที่โจโฉมีอาการปวดหัวอย่างหนัก  เมื่อหมอฮัวโต๋ลงมือรักษา (เชื่อว่าเป็นการ ฝังเข็ม เพราะไม่มีระบุในบันทึกว่า รักษาด้วยวิธีใด) ก็สามารถบรรเทาความทุกข์ทรมานของโจโฉได้อย่างมีประสิทธิผล แต่ด้วยความเป็นหมอชั้นเยี่ยม หมอฮัวโต๋ไม่อยากอยู่กับ โจโฉ ตลอดไป จึงขอลากลับไปเยี่ยมบ้าน แล้วอ้างว่าภรรยาป่วย และปฏิเสธไม่ยอมกลับมาหาโจโฉอีกเลย  เพราะเขาเลือกที่จะรักษาเหล่าผู้ป่วยจำนวนมากที่ต้องการมารักษากับเขามากกว่า

ในที่สุดโจโฉ ปวดหัวมาก จนทนไม่ไหว ส่งหนังสือไปถึงหมอฮั่วโต๋ ถึง 5 ครั้ง แต่ไม่ได้รับการตอบกลับจากหมอฮํ่วโต๋ โจโฉจึงส่งคนไปสืบดู อาการของภรรยาฮัวโต๋ พบว่าฮัวโต๋สร้างเรื่องเท็จ จึงสั่งจำคุกเขา และต่อมา โจโฉ จึงสั่งลงโทษเขาถึงตาย  และถัดมาไม่นาน โจโฉก็ปวดหัว และสติหลอน โดยสิ้นใจในวัย 66  ปี (ทำให้บางคนระบุว่า โจโฉ อาจเป็นมะเร็งในสมองก็เป็นได้ ซึ่งหมอฮั่วโต๋นั้น อาจรู้อยู่แล้วว่า อาการนี้รักษาไม่หายแน่นอนก็เป็นได้)

แต่งตำรา
อย่างไรก็ดี ระหว่างอยู่ในคุก ฮัวโต๋ได้แต่งตำราแพทย์ไว้เล่มหนึ่ง ชื่อว่า ชิงหนั่ง เผื่อว่า เมื่อตนสิ้นบุญ จะได้มีผู้สืบทอดวิชาการแพทย์ ครั้งนั้นมีผู้คุมชื่อ หงออาย ได้ส่งข้าวปลาอาหารให้ฮัวโต๋มิได้ขาด ฮัวโต๋รู้บุญคุณของหงออาย  ฮัวโต๋จึงได้สอนวิชาแพทย์ให้หงออายในคุก แล้วมอบตำรานั้นให้หงออาย ต่อมา ฮัวโต๋เสียชีวิตในคุก ภรรยาของหงออายเห็นว่าตำราแพทย์นั้นไร้ค่า จึงเผาตำราทิ้งเสีย หงออายกลับบ้านมาเห็นเข้า ฉวยมาได้สองสามแผ่น แต่กลับเป็นส่วนของ การตอนเป็ด และตอนไก่ ตำราที่เหลือสูญไปสิ้น หงออายโกรธจึงด่าภรรยาว่า "เหตุใดเจ้าจึงเอาตำราเราไปเผาไฟเสีย" ภรรยาหงออายว่า "ฮัวโต๋ครูของท่านที่นับว่าดีนักก็ตายในคุก ท่านจะเอาตำราไว้ต้องการอะไร" หงออายจึงได้แต่นั่งถอนหายใจแล้วคิดว่า "ตำราเอกฝ่ายแพทย์อย่างนี้ แต่นี้ไปเบื้องหน้าหามีไม่แล้ว"

แต่บางตำนาน กล่าวว่า หมอฮัวโต๋ นั้น ได้มอบให้กับผู้คุม เพื่อฝากต่อให้ภรรยา แต่ภรรยาเขาเลือกที่จะเผาตำราทิ้ง เพราะภรรยาของเขาไม่ต้องการมีส่วนร่วมในความผิด  ทำให้ตำราการแพทย์นั้นสาบสูญไปตลอดกาล

อย่างไรก็ดี หลังการประหารหมอฮัวโต๋ โจโฉ ก็ยังปวดหัวต่อไป แต่เขาก็สบถไว้ว่า "หมอฮัวโต๋สามารถรักษาข้าได้ แต่เลือกที่จะรักษาชาวบ้าน เขาไม่ได้ให้ความสำคัญกับข้าเลยแม้แต่น้อย ถึงแม้ข้าไม่ฆ่าฮัวโต๋ เขาก็ไม่รักษาข้าอยู่ดี" นั่นหมายความว่า ไม่ว่า ฮัวโต๋จะอยู่หรือตาย  เขาก็ไม่รักษาโจโฉอยู่ดี

หลังจากนั้นไม่นานลูกชายคนโปรดของโจโฉล้มป่วยและเสียชีวิตลง  โจโฉเสียใจและกล่าวว่า  "ข้าเสียใจที่สั่งประหารฮัวโต๋ นั่นทำให้ลูกชายของข้าต้องตาย!"

ในวันเวลาการประหารนั้น ในประวัติศาสตร์ไม่ได้บันทึกไว้ แต่บันทึกระบุเพียงว่า ปี ค.ศ. 208 นั้น ไม่มีหมอฮัวโต๋อีกต่อไปแล้ว 

ในปัจจุบัน หมอที่มีทักษะสูงในประเทศจีน  มักถูกนำไปเปรียบเทียบกับชื่อของหมอฮั่วโต๋า โดยชื่อของเขาเป็นศัพท์แสลงที่มักหมายถึง หมอเทวดา อีกด้วย

ลูกศิษย์
แต่อย่างไรก็หมอฮัวโต๋มีลูกศิษย์อยู่ 2 คน คนแรกนั้นชื่อ โงโพ้ คนที่สองนั้นชื่อ ฮ่วมอา ทั้ง 2 คนนี้ก็มีชื่อเสียงด้วยกันทั้งสองคน หมอโงโพ้คนนี้ได้รับวิชาผ่าตัดจากหมอฮัวโต๋โดยตรง ส่วนอีกคนคือ  หมอฮ่วมอา นั้นได้รับวิธีการฝังเข็มจากหมอฮัวโต๋โดยตรง

อย่างไรก็ดี ในบันทึกประวัติศาสตร์ ระบุว่า แม้ว่าลูกศิษย์ทั้ง 2 ของเขาจะได้รับความรู้จนสามารถสร้างชื่อเสียงได้ แต่พวกเขาก็ได้รับความรู้เพียงบางส่วนเท่านั้น  ทำให้ความรู้บางส่วนของหมอฮั่วโต๋นั้น สูญหายไปตลอดกาล โดยบันทึกทางการแพทย์ของหมอฮั่วโต๋ และ บันทึกชาวฮั่น ระบุว่า ส่วนที่หายน่าจะเป็นส่วนของการฝังเข็ม

การดูแลสุขภาพ 
หมอฮั่วโต๋ นอกจากเป็นหมอรักษาโรคแล้ว เขายังสนับสนุนการดูแลสุขภาพในชีวิตประจำวัน  เช่น ครั้งหนึ่งเขากล่าวกับลูกศิษย์ ว่า "ร่างกายต้องการทำงาน เพื่อให้ระบบหมุนเวียนโลหิต " โดยออกแบบท่าออกกำลังกายที่เลียนแบบ นก หมี กวาง เสือ สำหรับผู้สูงอายุ และผู้ทุกพพลภาพ เพื่อป้องกันและรักษาโรค เมื่อคุณรู้สึกไม่สบาย เพียงออกมาออกกำลังกายตามท่าที่เขาออกแบบ ให้เหงื่อออกจนชุ่มเสื้อ  นักเรียนของเขาออกกำลังกายตามเขามีอายุถึง 90 ปี  โดยมี ตาและหูที่ยังดี ขณะที่ฟันก็ยังเต็มปากก็ยังแข็งแรงอีกด้วย

ท่าง่ายๆ คือ การขยับขาหน้าของเสือ การกระโดดเหมือนลิง การเหลียวหลังเหมือนกวาง  กระพือปีกเหมือนนก การออกกำลังกายนี้เพื่อให้ร่างกายเบา และกระหายอาหาร


----------------------
จางจ้งจิ่ง(张仲景)                         ฮว่าถัว(华佗)
         
                 
   

ฮว่าถัว(ประมาณปีค.ศ.141-208) เป็นคนอำเภอโป๋โจว(亳州) มณฑลอันฮุย(安徽) ปลายสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก เชี่ยวชาญในด้านอายุรกรรม(内科) ด้านศัลยกรรม(外科) ด้านนารีเวช(妇科)และด้านกุมารเวช(小儿科) เทคนิคด้านศัลยกรรมของเขามีความเลิศล้ำเป็นอย่างยิ่ง ฮว่าถัวได้คิดค้นทำยาชา(麻醉药)ขึ้นมาชนิดหนึ่ง ชื่อว่า หมาเฟ่ส่าน(麻沸散) เขาเคยให้ผู้ป่ายที่เป็นไส้ติ่งอักเสบ(阑尾炎)คนหนึ่งใช้ยาชาตัวนี้ หลังจากผู้ป่วยคนนั้นชาทั้งร่างกายแล้ว จึงเริ่มการผ่าตัด(动手术) แล้ว ทายาระงับอาการอักเสบที่แผลซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้าย หนึ่งเดือนผ่านไปผู้ป่วยได้ฟื้นตัวแข็งแรงสมบูรณ์เป็นอย่างดี ฮว่าถัว เป็นนายแพทย์คนแรกของโลกที่ใช้เทคนิคยาชาที่ทำให้ผู้ป่ายชาทั้งร่างกาย
                   
                                         การฝังเข็ม(针灸)
             นอกจากนี้ ฮว่าถัวยังมีความชำนาญในการฝังเข็ม(针灸)และรมยา ในขณะนั้นเฉาเชา(โจโฉ(曹操)) ซึ่งเป็นเสนาบดีของราชวงศ์ฮั่นได้มีอาการปวดหัวจากเส้นประสาท(神经性头疼) จึงส่งคนไปเชิญฮว่าถัวมารักษาตน ฮว่าถัวได้ใช้การฝังเข็มในการรักษา พอเขาฝั่งเข็มลงไปหนึ่งเล่ม อาการปวดหัวของเฉาเชาหายเป็นปลิดทิ้ง
     
                                     ฮว่าถัวรักษาอาการของเฉาเชา
(ภาย หลัง ฮว่าถัวถูกเฉาเชาสั่งฆ่าเพราะความระแวง เนื่องจากเฉาเชาปวดหัวไม่หาย ฮว่าถัวเสนอว่า ให้ผ่าสมอง เฉาเชาเลยระแวงว่าฮว่าถัวจะคิดไม่ดีกับตนจึงสั่งฆ่าเขาเสีย) 
     
                       กายบริหารเบญจสัตว์(五禽戏) 
          ฮว่า ถัวไม่เพียงแต่ให้ความสำคัญแก่การรักษาโรค ยังให้ความสำคัญแก่การป้องกันโรคภัยไข้เจ็บล่วงหน้า เขาได้เลียนแบบพฤติกรรมของเสือ กวาง หมี ลิงและไก่ นำมาคิดเป็นกายบริหาร ชุดหนึ่ง เรียกว่า กายบริหารเบญจสัตว์(五禽戏) เพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงยิ่งขึ้น






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น