วันศุกร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2563

ดาบใหญ่หวังอู่ วีรบุรุษผู้กล้าแห่งยุคชิง

ดาบใหญ่หวังอู่ วีรบุรุษผู้กล้าแห่งยุคชิง

หวังอู่(王五) เป็นวีรบุรุษปลายยุคราชวงศ์ชิง(ค.ศ.1854-1900) มีชื่อจริงว่า หวังเจิ้งอี้(王正谊) เกิดที่ชางโจว อายุแค่สามขวบ พ่อป่วยตาย ต้องช่วยแม่ทำงานหาเลี้ยงตัวเอง มีประวัติว่า เขายากจนขนาดในคืนที่หนาวเหน็บ เขาและแม่ต้องกอดกันเพื่อให้ร่างกายอบอุ่น

ต่อมา เขาได้มาพบกับ หลี่ฟ่งกัง(李凤岗) เจ้าสำนักมวยหกบรรจบ (六合拳门) ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในเวลานั้น โดยเฉพาะฉายา ดาบคู่ หลี่ฟ่งกัง ได้รับ หวังเจิ้งอี้ เป็นศิษย์ เขาได้ฝึกวิชา มวยหกประสาน และอาวุธดาบ ตอนนั้นเขาถือเป็นพี่ใหญอันดับ 5 จึงได้รับฉายา เสี่ยวอู่จื้อ  มีอาวุธประจำกายคือ ดาบใหญ่ จึงมีฉายา หวังอู่ ดาบใหญ่ หรือ ต้าเตาหวางอู่  大刀王五 








หวังเจิ้งอี้ ได้กราบขอให้ หลี่ฟ่งกัง รับเขาเป็นศิษย์ แต่หลี่ฟ่งกัง ปิดประตูทุกครั้ง แต่หวังเจิงอี้ คุกเข่าอยู่หน้าประตูจน หลี่ฟ่งกัง ประทับใจและเห็นจิตวิญญาณของเขา จึงรับ หวังเจิ้งอี้ เป็นศิษย์

หวังอู่ นับถืออาจารย์คนนี้มากเพราะถือว่า หลี่ฟ่งกัง เป็นคนพาเขาออกจากความยากจน จนได้ชื่อใหม่ว่า หวังอู่ (หวัง มาจากแซ่ของเขา คือแซ่หวัง (王姓) ส่วนอู่ คือเป็นบุตรคนที่ 5) ดัวยความมุ่งมั่นที่จะพาตัวเองจากความยากจน เขาจึงต้องทั้งทำงานอย่างหนัก และมุ่งมั่นฝึกฝีมือจนอาจารย์มองเห็นแวว พาไปฝากกับศิษย์พี่ของเขา หลิวชื่อหลง(刘仕龙) และฝากให้ทำงานเป็นเปาเปียว หรือสำนักคุ้มภัยสินค้า


 กรุยทาง..ด้วยที่มีฝีมือในการใช้ดาบใหญ่จึงมีสมญานามว่า หวังอู่ดาบใหญ่(大刀王五) (ชื่อเต็มๆ จะเป็น (หวังอู่ ราชาแห่งดาบใหญ่) จนถูกจัดอยู่ในระดับ สิบยอดจอมยุทธ์ ในสมัยราชวงศ์ชิงตอนปลาย หนึ่งในนั้นคือ ฮั่วหยวนเจี่ย และ หวงเฟยหง

เข้าวัย 30 ปี ได้เดินทางไปเมืองหลวง เป่ยจิง เขาได้ฝากตัวเป็นศินย์ ซานซีต่ง (山西董) แห่งสำนักคุนหลุน ได้ฝึกปรือวิชาดาบเดี่ยว เพิ่มเติม 

อุปนิสัยของเขา เป็นคนยึดถือคุณธรรม ชอบคบหามิตรสหายที่ใจตรงกัน เขาได้รู้จักกับ ถันซื่อถง ฉายา จ้วงเฟย เป็นผู้มีการศึกษาดี ฝักใฝ่ทั้งบู๊ และบุ๋น จึงได้ฝากตัวเป็นศิษย์ ของ เขา ความสัมพันธ์ระหว่าง ถานซื่อถง กับ หวังอู่ จึงเป็นไปแบบทั้งมิตร ทั้งพี่ทั้งน้อง และศิษย์อาจารย์ไปพร้อมๆ กัน


รัชสมัยกวงสู(光绪) บ้านเมืองวุ่นวาย ในขณะนั้น หวังอู่ ร่วมกับเพื่อนสนิท ถานซื่อถง (谭嗣同) เปิดสำนักมวยฝูอู่อี้(父武义学) และสำนักคุ้มภัยหยวนชุ่น(源顺镖局) ตั้งอยู่นอกประตูเป่ยจิง  กิจการของหวังอู่รุ่งเรืองดี ขอบเขตบริการเหนือจรดด่านซานไห่กวน ใต้จรดลำน้ำชิงเจียงผู่ จนสำนักเปาเปียวของเขา ได้ขึ้นเป็น 1 ใน 8 สำนักคุ้มภัยที่มีชื่อในปักกิ่ง



ปฎิรูป 100 วัน
หลังสงครามซิโน จีน-ญี่ปุ่น วันที่ 11 มิถุนายน 1898 จักรพรรดิกวางซวี่จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการดำเนินการปฏิรูปประเทศอย่างเร่งด่วน เช่น การยกเลิกระบบสอบจอหงวนเพื่อเข้ารับราชการ มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยปักกิ่งเพื่อสอนวิชาความรู้สมัยใหม่ ส่งนักเรียนทุนไปเรียนเมืองนอก การปฏิรูปกองทัพ และสร้างรถไฟทั่วประเทศจีน รวมถึงแนวคิดที่เปลี่ยนการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นประชาธิปไตยโดยมีจักรพรรดิเป็นประมุขอีกด้วย

โดยมีการตั้งคณะที่ปรึกษาเพื่อเสนอแผนการที่จะปฏิรูปบ้านเมือง ซึ่งแกนนำนั้นมีทั้งหมด 6 คนหรือ รู้จักกันในนาม "หกผู้กล้ายุคปฏิรูป" อันประกอบด้วย ถาน ซื่อถง (谭嗣同) ,คัง ก่วงเหริน ,เลขานุการ หลิน ซู่ (林旭) ,หยาง เซินซิ่ว,  หยาง รุ่ย, และหลิว กวงตี้  และที่ปรึกษาคนสนิท (อาจารย์ของกวงซี่ ) คือ คัง โหยวเหว่ย

หวังอู่ กับ เพื่อนสนิท ถานชื่อถง(谭嗣同) เลือกที่จะสนับสนุน จักรพรรดิกวงสู ปฎิรูปการปกครองประเทศ เขารับปาก ถานซื่อถงว่า เขาจะดูแล และคุ้มครอง ถานชื่อถง(谭嗣同) เองทำให้ หวังอู่ต้องตามถานซื่อถงทุกฝีก้าว รวมถึงดูแล ที่อยู่อาศัย และ อาหารการกินด้วย

การปฏิรูปดังกล่าวนี้ได้รับการคัดค้านอย่างรุนแรงจากขุนนางฝ่ายอนุรักษ์นิยม โดยเฉพาะข่าวลือที่ว่า จักรพรรดิกวงสี่ จะยกเลิกระบบ 8 ธง ที่ขัดแย้งกับการปกครองของแมนจู อย่ารุนแรง จักรพรรดิกวงสูเห็นว่า ซูสีไทเฮาจะต้อขัดขวางการปฎิรูปนี้แน่ๆ เขาจึงวางแผนโค่นล้ม ซูสีไทเฮา

เขาจึงให้ ถาน ซื่อถง หนึ่งในคณะปฏิรูปเดินทางไปหา หยวน ซื่อไข่ เพื่อที่จะใช้กองทัพของเขาโค่นล้มอำนาจของซูสีไทเฮา แต่ว่าเหตุการ์ณนั้นก็ต้องกลับตาลปัตร เพราะหยวน ซื่อไข่ เลือกที่จะเอาข่าวนี้ไปกับหยงลู่ (Rong Lu) ขุนนางมือขวาของซูสีไทเฮาให้ทราบ เรื่องจึงถึงหูของ ซูสีไทเฮา นางจึงทำการรัฐประหารในช่วงเช้าของวันที่ 21 กันยายน ค.ศ.1898

ผลก็คือ แทนที่ การจับกุมพระนางซูสีไทเฮาจะประสบความสำเร็จ กลับกลายเป็น ฝ่ายคณะปฏิรูปที่ถูกจับกุมตัวแทน คณะปฏิรูปส่วนหนึ่งถูกประหารชีวิต ยกเว้น คังโหย่วเหวย์ และเหลียงฉีเชา ที่หลบลี้หนีภัยเอาตัวรอดไปประเทศญี่ปุ่นได้หวุดหวิด ส่วน จักรพรรดิกวางซวี่ถูกคุมตัวไว้ ณ ตำหนักหนานไห่หยิงไถ ซึ่งเป็นเกาะกลางทะเลสาบจำลอง พร้อมกับมีแถลงการณ์ออกมาว่า “พระองค์ทรงพระประชวรไม่สามารถออกว่าราชการได้” และการปฏิรูปที่เกิดขึ้นมา 103 วันก็สิ้นสุดลง (จึงเรียก เหตุการณ์นี้ว่า การปฎิรูป 100 วัน (百日維新)  อย่างไรก็ดี เหตุการณ์นี้เองที่กระตุ้นให้เหล่าคนรักชาติจีนทั้งประเทศตื่นจากการหลับไหล

การที่หวังอู่ไปสนับสนุนฝ่ายปฎิรูป และรับปากอาสาจะดูแลชีวิต.ถานซื่อถง..สมบัติของชาติผู้นี้... ตำนานเล่าว่า ระหว่างการเข้าจับกุม ถานซื่อถง พยายามจะช่วย ถานซื่อถง แต่ ถานซื่อถง กลับปฎิเสธ และพูดคำพูดอมตะว่า

"การปฎิวัติ ไมมีประเทศไหนไม่หลั่งเลือด ข้า ถานซื่อถง ขอหลั่งเลือดเป็นคนแรก " ทำให้หวังอู่หนีออกมาเพียงคนเดียว และเป็นที่มาของ คดีหกสุภาพบุรุษ(戊戌六君子案)...ในปลายยุคชิง

มีตำนานเล่าขานถึงวีรกรรมของ "หวางอู่ดาบใหญ่ ต้าเตาหวางอู่ “大刀王五” กันว่า เขาได้บุกฝ่าแดนประหารเข้าไปชิงศพของถันซื้อถง เพื่อนำศพถันซื่อถงกลับไปฝังที่บ้านเกิดของเขาที่ หลิวหยางมณฑลหูหนาน(湖南浏阳) จนสำเร็จ วีรกรรมครั้งนั้นเป็นที่กล่าวขานกันถึง ความกล้าหาญและน้ำมิตรที่มีต่อเพื่อน ของหวางอู่

โดย คณะปฎิรูป ส่วนใหญ่ ถูกฆ่าตายที่ตลาด ส่วน จักรพรรดิ กวังสู  สวรรคตก่อนพระนางซูสีไทเฮา 22 ชั่วโมง โดยมีข่าวลือว่า  เนื่องจากพระนางซูสีไทเฮาใกล้สวรรคต และไม่ยอมให้มีการปฎิรูปเด็ดขาด จึงเลือกวางยาพิษจักรรพรรดิกวังสูก่อนตัวเองจะสิ้นใจ โดยมีหลักฐานการขุดศพของจักรพรรดิขึ้นมาตรวจพบมีสารหนูมากกว่าคนธรรมดา 2000 เท่าของคนธรรมดา

คังโย่วเหว่ย และเหลียงฉีเชา  หลบหนีไปได้ โดยไปเคลื่อนไหวอยู่ต่างประเทศ เขาเลือกที่จะปฎิรูปประเทศ เป็นประชาธิปไตยแบบมีกษัตริย์เป็นประมุข ขณะที่ ดร.ซุนหยัดเซ็น ในตอนแรกเขาอยู่กลุ่มเคลื่อนไหวเดียวกัน แต่ตอนหลัง ดร.ซุนยัดเซ็น กลัวคนสับสน เพราะเขาเลือกที่จะปฎิรูปแบบประชาธิปไตยแบบประธานธิบดีเป็นประมุข คือ สาธารณรัฐจีน

หวังอู่ อี้เหอถวน
ค.ศ.1900 จางเต๋อเฉิง หัวหน้าขบวนนักมวยอี้เหอถวน เป็นเพื่อนกับ หวังอู่มาช้านาน จางเต๋อฉิง เป็ฯหัวหน้าคณะอี้เหอถวน ฐานที่ 1 ที่เดินทางมาจากเมืองเทียนสิน มาที่ปักกิ่ง เพื่อชักชวน หวังอู่ ไปร่วมทำศุึกกับกองทัพพันธมิตร 8 ชาติ

หวังอู่  สำนักซุนหยวนที่ปักกิ่ง เข้าร่วมกับ กบฎอี้เหอถวน หรือกบฎนักมวย(义和团) รับศึกกับฝรั่งต่างชาติ ทหารต่างชาติหลายคน ต้องคอขาดภายใต้ดาบใหญ่ของหวังอู่มากมาย

สิงหาคม 1900 จางเต๋องเฉิง ถูกฆ่าตาย  วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 1900 ราชวงศ์ชิงส่งทหารไปล้อมสำนักซุนหยวน ทำให้ หวังอู่ และคนอื่น ๆ ถูกจับกุม เพื่อไม่ให้คนอื่นเดือดร้อน หวังอู่เลือกที่จะเดินออกจากบ้านเพียงคนเดียว เขาถูกส่งตัวไปให้ทหารเยอรมัน และถูกประหารด้วยการยิงเป้าที่ประตูเมืองคลองตงเหอ  ในวัยเพียง 56 ปี และหัวถูกนำไปแขวนที่ประตูเมือง โดยมีข่าวลือ คือ ฮั่วหยวนเจี่ย ลูกศิษย์ของเขารีบเดินทางจากเทียนจิน มาที่ปักกิ่ง และในเวลากลางคืน ฮั่วหยวนเจี่ยเพียงคนเดียวก็ปีนขึ้นไปเอาหัวของหวังอู่ลงมา และฝังศพของอาจารย์เขาในคืนนั้น เพื่อให้ศพของอาจารย์อยู่ครบถ้วน

ตามตำนานกล่าวว่า ดาบของหวังอู่มีน้ำหนักมากกว่า 50 กิโลกรัมเลยทีเดียวดาบของเขาถูกเก็บไว้จนถึงปี 1958 นั่นคือหลังเหตุการณ์  "กระโดดก้าวใหญ่" ของเหมาเจ๋อตุง  มันจึงถูกนำมาหลอม  และการเสียชีวิตของเขา ถือเป็นการสิ้นสุด จิตวิญญาณแห่งดาบ ที่มีมานับพันปีของจีน

หวังอู่ ถือเป็นหนึ่งในวีรบุรุษกังฟู ของชาวจีน ที่คู่ควรกับการยกย่อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น