วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2563

50 ปี ไต้หวัน ภายใต้ญี่ปุ่น

หลี่เติงฮุย (李登輝) อดีตประธานาธิบดีไต้หวันคนแรกที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง เคยกล่าวไว้ว่า  “ผมคือคนญี่ปุ่น แต่ผมก็เป็นคนญี่ปุ่นที่ยังไงก็ไม่ใช่คนญี่ปุ่นอยู่ดี... ดังนั้นหากคนไต้หวันต้องการเป็นคนญี่ปุ่น เขาจะต้องเป็นญี่ปุ่นให้มากกว่าคนญี่ปุ่น”


ที่มา ไต้หวัน
ไต้หวัน เป็นเกาะที่อยู่ทางใต้ ญี่ปุ่น แต่อยู่เหนือฟิลิปปินส์ และอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจีน (อยู่ระหว่างเซี่ยงไฮ้ กับ ฮ่องกง) มีขนาดแค่ 3.6 หมื่นตารางกิโลเมตรเท่านั้น   ชาวพื้นเมืองดั้งเดิม มีลักษณะคล้ายคนฟิลิปปินส์ (อะบอริจิ้น) มากกว่า ชาวจีน

ในปี ค.ศ. 1517 นักเดินเรือชาวโปรตุเกสแวะมาตั้งชื่อให้กับเกาะนี้ว่า เกาะฟอร์โมซา (Formosa) แปลว่าเกาะสวยงาม โดยไม่ได้เข้ามารุกรานเกาะนี้แต่อย่างใด แค่ผ่านมาตั้งชื่อให้เฉยๆ ไม่ถึงร้อยปีถัดมา (ค.ศ. 1624) ชาวดัตช์ก็เข้ายึดเกาะนี้ไว้ และ 2 ปีถัดมาชาวสเปนก็เข้ามาแย่งชิงไป และชาวดัตช์ก็แย่งชิงกลับมาได้ในที่สุด (ค.ศ. 1641)

ฝ่ายปกครองจากแผ่นดินจีนคงยังไม่ได้สนใจเกาะนี้มากนัก ถ้าไม่เป็นเพราะศึกระหว่างราชวงศ์ชิงผู้ไล่ล่ากับผู้ภักดีต่อราชวงศ์หมิง คือ แม่ทัพเจิ้งเฉิงกงแห่งราชวงศ์หมิง ต้องล่าถอยจากแผ่นดินใหญ่มาตั้งหลักที่นี่ เจิ้งเฉิงกงจึงเปิดศึกขับไล่ชาวดัตช์ออกไป (ค.ศ. 1662) ไต้หวันจึงกลายเป็นฐานที่มั่นสุดท้ายของราชวงศ์หมิง และเมื่อราชวงศ์ชิงกำจัดฐานที่มั่นนี้ได้ ในปี ค.ศ. 1683 ไต้หวันจึงกลายเป็นหนึ่งในเขตปกครองของราชวงศ์ชิงของจีน

 ปี 1871 คนจากอาณาจักรริวกิว (ก่อนนะถูกผนวกเป็นญี่ปุ่น)  เดินทางมา 69 คน ก็อ้างสิทธิในดินแดนนี้ 1872 อาณาจักรริวกิวอ้างว่า เกาะไต้หวันเป็นของอาณาจักรริวกิว ซึ่งเป็นของญี่ปุ่น เพราะไม่มีวัฒนธรรมจีนอยู่เลย แต่จีนอ้างว่า มีคนบางส่วนเท่านั้นที่เป็นคนจีน ส่วนที่เหลือเป็นคนป่าเถือน  จึงเป็นรัฐเอกราชของจีน

ในช่วงที่ราชวงศ์ชิงปกครองเกาะไต้หวัน ชาวไต้หวันส่วนใหญ่ซึ่งอพยพมาจากมณฑลฝูเจี้ยน (福建) และมณฑลกว่างตง (廣東) ที่มีฐานะยากจน กลุ่มคนเหล่านี้มิได้มีวัฒนธรรมอันรุ่งเรืองติดตัวมาด้วย ทำให้มีเพียงวัฒนธรรมของชนพื้นเมืองดั้งเดิมที่ค่อนข้างชัดเจน

หลังจากจีนพ่ายแพ้ญี่ปุ่นในสงครามซิโนจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง (甲午戰爭) หรือ สงครามเจี๋ยอู่ ( 甲午戰爭)  ในปี  ค.ศ. 1895  ทำให้จีนต้องเซ็น สนธิสัญญาชิโมโนเซกิ ภาษาจีนเรียกว่า"สนธิสัญญาหม่ากวน"  กคาบสมุทรเหลียวตง เกาะไต้หวัน และดินแดนเผิงหูให้ญี่ปุ่นทั้งหมด แถมต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามสูงถึง 200,000,000 ตำลึง

การเข้ามาช่วงแรก อาณานิคมของญี่ปุ่น
วันที่ 25 พฤษภาคม 1895 ไต้หวันก็เกิดโกลาหล กลุ่มชาวจีนประกาศเอกราชจากจีน และประกาศสาธารณรัฐโปรตุเกส (ฟอร์โมซ่า) และชิงเลือกตั้งประธานธิบดี แต่ผู้ได้รับเลือกกลับหนีไปจีนแผ่นดินใหญ่ ครั้งนี้เองที่กองทัพญี่ป่นนั้นไล่สังหารกลุ่มทหารอาสาท้องถิ่นอย่างดุเดือด และสามารถปราบได้ในเดือนตุลาคม  ประธานธิบดีคนที่สองก็หนีกลัจีนแผ่นดินใหญ่เช่นกัน ทำให้สาธารณรัฐโปรตุเกส มีอายุเพียง 182 วัน ทางนายพล คาบายามะ ซูเคโนริ รายงานกลับญ๊่ปุ่นว่า เกาะนี้ปลอดภัย แต่ก็มีการสังหารคนไต้หวันที่ต่อต้านอยู่เนืองๆ คาดว่า ระยะเวลาการเข้าปกครองของญี่ปุ่นช่วงแรกมีคนไต้หวันเสียชีวิตประมาณ 14000 คน (ประมาณ 0.9% ของจำนวนประชากร

เหลียวไท่ชิงกลายเป็นบุคคลที่มีรูปร่างเหมือนโรบินฮู้ดในการต่อต้านญี่ปุ่น

กองทัพญี่ปุ่นเดินทางมาถึง พฤษภาคม 1895  พร้อมกับคำถามทั่วโลกว่า ญี่ปุ่นไม่ใช่ตะวันตกจะมีอาณานิคมได้หรือไม่  โดยในปี 1897 รัฐบาลญี่ปุ่นมีการถกเถียงกันว่า จะขายเกาะนี้ให้กับฝรั่งเศสดีหรือไม่ แต่แล้วญี่ปุ่นก็ตัดสินใจ จัดตั้งองค์กรเพื่อปกครองไต้หวันขึ้นโดยทหารญี่ปุ่น เพื่อใช้ปราบปรามการก่อความไม่สงบ

โดยมีการแต่งตั้ง Kodama Gentaro ขึ้นมาปกครองด้านความมั่นคง  และพลเรือนที่เก่งกาจ คือ Goto Shimpei (มือขวาของเรียวมะ) มาเป็นหัวหน้าฝ่ายมหาดไทย นี่คือจุดเริ่มต้นของรัฐบาลอาณานิคมของญี่ปุ่น  โดยวางกฎหมายใหม่ทั้งหมดที่แตกต่างจากกฎหมายที่ ญี่ปุ่น ขณะนั้น คนญี่ปุ่นหลายคนยังเชื่อว่า เกาหลีและไต้หวัน มีวัฒนธรรมที่ใกล้เคียงญี่ปุ่นและสามารถกลมกลืนกันได้ แทนที่ญี่ปุ่นจะปกครองแบบอาณานิคม อย่างไรก็ดีในช่วงแรกของการเข้ามาของญี่ปุ่น พวกเขาเลือกปกครองแบบอาณานิคม

โดย่ช่วงแรกนั้น เศรษฐีและขุนนางจำนวนมากเดินทางกลับจีนแผ่นดินใหญ่ เพราะหวั่นเกรงความไม่ปลอดภัย ส่วนชาวไต้หวันที่ยังอยู่บนเกาะรวมตัวกันต่อต้านจักรวรรดิญี่ปุ่นอย่างหนัก แม้ญี่ปุ่นจะพยายามเผยแพร่วัฒนธรรมญี่ปุ่น แต่ชาวไต้หวันยังคงยืนหยัดในการศึกษาวัฒนธรรมดั้งเดิมของตน ในด้านการศึกษา ญี่ปุ่นผลักดันนโยบาย “การศึกษาของพลเมือง” เด็กทุกคนต้องได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานหกปี

ชาวไต้หวันบางส่วนยังคงยืนหยัดศึกษาและเผยแพร่วัฒนธรรมจีน ประชาชนบางส่วนนิยมรวมตัวกันที่ศาลเจ้าเพื่อทำกิจกรรม เช่น เล่าเกร็ดเกี่ยวกับประเทศจีน ชมงิ้ว ฟังดนตรี ฯลฯ ต่อมามีปัญญาชนไต้หวันก่อตั้งโรงเรียนที่เรียกว่า “ซูฝาง” (書房) เพื่อเผยแพร่ภาษาและวัฒนธรรมจีนมิให้สูญหาย เมื่อญี่ปุ่นพัฒนาด้านการศึกษาอย่างจริงจัง ซูฝางยังช่วยเสริมความรู้ควบคู่ไปกับการเรียนการสอนปกติของโรงเรียน

เมื่อญี่ปุ่นเข้าปกครองไต้หวัน ชาวไต้หวันก็กลายเป็นพลเมืองชั้น 2 ไปโดยปริยาย ชาวญี่ปุ่นมีสิทธิต่างๆ เหนือกว่าชาวไต้หวันในหลายด้าน เช่น การเลือกตั้ง การประกอบกิจการ ฯลฯ รัฐบาลญี่ปุ่นแต่งตั้งข้าราชการในหน่วยงานราชการขั้นพื้นฐานกว่าครึ่งขึ้นเอง อาชีพที่สงวนไว้สำหรับชาวญี่ปุ่นคือผู้พิพากษา ช่างฝีมือระดับสูง และผู้บริหารราชการ ส่วนชาวไต้หวันที่มีศักยภาพขณะนั้นนิยมประกอบอาชีพทนายความ หรือ แพทย์

รัฐบาลญี่ปุ่นไม่ส่งเสริมให้ชาวไต้หวันประกอบกิจการขนาดใหญ่ เช่น อนุญาตให้บริษัทญี่ปุ่นดำเนินกิจการโรงงานน้ำตาลขนาดใหญ่ได้เท่านั้น แม้โรงงานน้ำตาลช่วยยกระดับเทคโนโลยีการผลิตของไต้หวัน แต่เป็นการผูกขาดทรัพยากรธรรมชาติ และถือเป็นการผูกขาดการเลือกสินค้าด้านการเกษตรของประชาชนด้วย ผู้บริหารและผู้ควบคุมโรงงานที่รู้วิธีบริหารจัดการล้วนเป็นชาวญี่ปุ่น ส่วนชาวไต้หวันเป็นเพียงคนงานทั่วไปเท่านั้น มีเพียงธุรกิจขนาดเล็กเกี่ยวกับการเกษตรที่ญี่ปุ่นอนุญาตให้ชาวไต้หวันเป็นเจ้าของ ได้แก่ ธุรกิจขนส่งสินค้าเกษตร ธุรกิจสีข้าว ธุรกิจโม่แป้ง ฯลฯ

ชาวไต้หวันจำนวนมากไม่เห็นด้วยกับการกดขี่ข่มเหงของญี่ปุ่น พยายามเรียกร้องความเท่าเทียม หลายต่อหลายครั้งที่ประชาชนและชาวพื้นเมืองพากันลุกฮือ แต่ทุกครั้งล้วนประสบความล้มเหลว บ้างถูกกวาดล้างอย่างรุนแรงจากกำลังทหาร บ้างก็ถูกสังหารหมู่

ดูดซึม
แต่เหตุการณ์ต่อต้านที่รุนแรงสุด เกิดใน่ช่วงปลายปี 1915 ซึ่งเรียกว่า เหตุการณ์ Tapani  หลังเหตุการณ์ นี้ญี่ปุ่นก็เปลี่ยนนโยบายให้ผ่อนปรนมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงก่อนที่ญี่ปุ่นจะเข้าสู่สงครามจีน ญี่ปุ่นครั้งที่ 2  ที่มีชาวไต้หวัน คือ Xie Jishi ที่เกิดที่ไต้หวัน แต่ได้เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศของแมนจูกัว และญี่ปุ่น นอกจากนี้ ญี่ปุ่นเปลี่ยน เป็น นโยบาย ดูดซึมวัฒนธรรม แทน โดยเฉพาะการศึกษาที่ใช้ภาษาญี่ปุ่น การแพทย์ และศาสนาชินโต และเริ่มถ่ายทอดเทคโนโลยี

ญี่ปุ่นพัฒนาเกาะไต้หวัน
จักรวรรดิญี่ปุ่นดำเนินการปฏิวัติเกษตรกรรมในไต้หวัน ซึ่งถือเป็นการปฏิวัติเกษตรกรรมครั้งแรกของเอเชีย ญี่ปุ่นส่งเสริมการทำปศุสัตว์ เพาะปลูกพืชชนิดใหม่ ใช้ปุ๋ยเคมี วางแผนระบบชลประทาน ฯลฯ นอกจากนี้ยังตั้งโรงงานน้ำตาลทดแทนการทำน้ำตาลที่ใช้แรงงานมนุษย์และสัตว์แบบเดิม จนน้ำตาลกลายเป็นสินค้าที่สร้างรายได้มหาศาล

ไต้หวันยังได้รับการพัฒนาด้านต่างๆ เช่น เริ่มใช้ไฟฟ้า สร้างทางรถไฟเชื่อมโยงกันเป็นระบบ ก่อตั้งธนาคารไต้หวัน รวมทั้งเปิดท่าเรือสำคัญสองแห่ง คือ ท่าเรือเกาสง (高雄港) และท่าเรือจีหลง (基隆港) ขณะเดียวกันเกษตรกรญี่ปุ่นจำนวนหนึ่งก็ย้ายถิ่นฐานมาตั้งรกรากที่ภาคตะวันออกของเกาะไต้หวันซึ่งเรียกว่าโฮ่วซาน (後山) ส่งผลให้พื้นที่โฮ่วซานซึ่งไร้ประโยชน์ กลายมาเป็นแหล่งเพาะปลูกที่ให้ผลผลิตจำนวนมาก

ขณะที่ระบบชลประทานที่ญี่ปุ่น สร้างไว้ เช่น อ่างเก็บน้ำหวู่ซานโต ที่เป็นเขื่อนขนาดใหญ่ที่สุดในย่านนั้นถูกสร้างขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1920  เพราะที่ราบ Chianan มักเกิดปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้งและดินเค็ม เมื่อสร้างเขื่อนเสร็จ ชาวบ้านก็สามารถเพาะปลูกได้ โดยมีรูปปั้นของวิศวกร ยัตตะ โยอิจิ เป็นอนุสรณ์สถานเพื่อรำลึกเกี่ยวกับบุคคลผู้นี้

ส่วนด้านสาธารณสุข ญี่ปุ่นได้จัดตั้งตำรวจอนามัย มีหน้าที่ควบคุมดูแลสุขอนามัยของประชาชนในชีวิตประจำวัน มาตรการด้านสาธารณสุขที่เข้มงวดทำให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ขณะเดียวกันญี่ปุ่นก็ผลักดันการแพทย์สมัยใหม่ ด้วยการฝึกอบรมแพทย์จากมหาวิทยาลัยไถเป่ยตี้กั๋ว (台北帝國大學) ให้ออกรักษาผู้ป่วยตั้งแต่เมืองใหญ่ไปจนถึงชนบทห่างไกล นอกจากนี้ยังนำเอาวัฒนธรรมต่างๆ มาถ่ายทอดสู่ไต้หวัน ทั้งในด้านภาษาศาสตร์ ศาสนา ศิลปะ ดนตรี ฯลฯ

ในช่วงครึ่งหลังของการปกครอง ชาวไต้หวันเริ่มยอมรับวัฒนธรรมญี่ปุ่น มีการใช้ภาษาญี่ปุ่นในชีวิตประจำวัน ใน ค.ศ. 1940 ทำเนียบผู้ว่าการประกาศสนับสนุนให้ชาวไต้หวันใช้ชื่อญี่ปุ่นแทนชื่อจีน นอกจากนี้รัฐบาลญี่ปุ่นยังส่งเสริมให้ประกอบพิธีกรรมของศาสนาชินโตอย่างแพร่หลาย


ความสัมพันธ์ระหว่างไต้หวันกับจีนแผ่นดินใหญ่
ใน ค.ศ. 1911 เกิดการปฏิวัติซินไฮ่ (辛亥革命) และการสถาปนาสาธารณรัฐจีน การปฏิวัติครั้งนี้ชาวไต้หวันหลายคนได้เข้าร่วมด้วย เช่น หลัวฝูซิง (羅福星 ค.ศ. 1886-1914) ผู้เคยเป็นสมาชิกพรรคปฏิวัติของซุนยัดเซ็น (孫中山 ค.ศ. 1866-1925) ต่อมาการเคลื่อนไหว 4 พฤษภาคม (五四運動) ค.ศ. 1919 ก็มีชาวไต้หวันเข้าร่วมเช่นกัน อันที่จริงชาวไต้หวันและชาวจีนแผ่นดินใหญ่มิได้ตัดขาดความสัมพันธ์กันเสียทีเดียว ทั้งสองฝ่ายยังไปมาหาสู่กันเช่นเดิม ผู้นำการปฏิวัติฝั่งจีนแผ่นดินใหญ่ เช่น ซุนยัดเซ็น และเหลียงฉี่เชา (梁啟超) ก็เคยเดินทางมาที่เกาะไต้หวัน และได้รับการต้อนรับอย่างดีจากชาวไต้หวัน
หลังจากเกิดสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่ 2 (中日戰爭) และสงครามมหาเอเชียบูรพา (太平洋戰爭) ญี่ปุ่นได้เพิ่มมาตรการควบคุมไต้หวันเข้มงวดมากยิ่งขึ้น

ความลำบากของชาวไต้หวันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1939-1945) ญี่ปุ่นต้องการแรงสนับสนุนจากไต้หวันอย่างมาก โดยเฉพาะทรัพยากร และวัสดุต่างๆที่ผลิตที่ไต้หวัน เพื่อใช้ทำสงคราม นั่นทำให้ญี่ปุ่นยิ่งเน้นการหล่อหลอมไต้หวันให้เป็นเนื้อเดียวกับคนญี่ปุ่น พวกเขาเปลี่ยนนโยบาย ดูดซึม เป็น  ยุทธการ Kōminka คือหล่อหลอมอย่างสมบูรณ์ โดยมุ่งเน้นสร้างจิตวิญญาณแบบญี่ปุ่น และเน้นให้ชาวไต้หวันเข้าร่วมสงคราม

ยุทธการนี้ มีตั้งแต่ ให้ชาวไต้หวัน พูดภาษาญี่ปุ่น  ใส่ชุดแบบญี่ปุ่น อยู่บ้านแบบญี่ปุ่น และเปลี่ยนศาสนาเป็นชินโต โดยปี1940 มีการออกกฎหมายยอมรับให้เปลี่ยนชื่อเป็นชื่อภาษาญี่ปุ่น นอกจากนี้ ยังสนับสนุนให้มีการก่อตั้งกองทัพอาสาชาวไต้หวัน เพื่อมุ่งหน้าสู่สงครามอีกด้วย  โดยที่โด่งดัง คือ หน่วยอาสา ทาคาซาโกะ หน่วยอาสาสมัครที่ก่อตั้งขึ้น โดยตระกูลทาคาซาโกะและชาวไต้หวันท้องถิ่นที่ต้องการช่วยเหลือกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น

ชาวไต้หวันจำนวนมากโดยเฉพาะแพทย์ ถูกส่งตัวไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีนเพื่อช่วยเหลือ กองทัพญี่ปุ่น ย้อนกลับไปค.ศ. 1932 ญี่ปุ่นก่อตั้งประเทศแมนจูกัว (滿洲國) ได้สำเร็จ ขณะนั้นชาวไต้หวันทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีนยังคงมีสถานะด้อยกว่าชาวญี่ปุ่น แต่สูงกว่าชาวจีนท้องถิ่น ฝ่ายญี่ปุ่นไม่นับว่าชาวไต้หวันเป็นชาวญี่ปุ่น ส่วนชาวจีนแผ่นดินใหญ่มองว่าชาวไต้หวันเป็นพวกญี่ปุ่น ปรากฏการณ์นี้ทำให้ชาวไต้หวันสับสนกับสถานภาพของตนเอง

ช่วงหลังของสงครามมหาเอเชียบูรพา ชาวไต้หวันนับหมื่นคนถูกส่งตัวไปทำสงครามอยู่ในแถบหนานหยาง (南洋) ซึ่งส่วนใหญ่ล้มตายและบาดเจ็บจำนวนมาก  และบางส่วนถูกส่งไปทำงานที่โรงงานเครื่องบินที่ญี่ปุ่น ทดแทนแรงงานญี่ปุ่นที่ขาดแคลน

ขณะนั้นเสบียงอาหารของญี่ปุ่นเริ่มร่อยหรอ ชาวไต้หวันจึงได้รับส่วนแบ่งน้อยลง ส่งผลให้ชาวไต้หวันต้องอยู่อย่างอดๆ อยากๆ ไม่ต่างกับการถูกบังคับให้เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างไม่ยินยอมพร้อมใจ

ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐอเมริกามองว่า เกาะไต้หวันมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ต่อญี่ปุ่น กองทัพอเมริกันจึงวาแผนโจมตีเกาะไต้หวัน เดือนตุลาคม ค.ศ. 1944 กองทัพอเมริกันทิ้งระเบิดโจมตีเกาะไต้หวัน ทำให้ถนนหนทาง ทางรถไฟ ท่าเรือ โรงงาน รวมทั้งสถานที่ราชการได้รับความเสียหายอย่างหนัก ธุรกิจต่างๆ ได้รับผลกระทบ สถานการณ์ตึงเครียดเช่นนี้ทำให้ชาวเมืองจำนวนมากอพยพไปยังชนบท

สิ้นสุด สงครามโลกเมื่อปี ค.ศ. 1945
ต่อมาอเมริกาทิ้งระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิม่าและนางาซากิ ส่งผลให้ญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้สงครามในวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1945 พร้อมกับประกาศยกเลิกการปกครองไต้หวันอย่างเป็นทางการ ด้วยเหตุนี้

ญี่ปุ่นทิ้งหลายสิ่งหลายอย่างไว้บนเกาะไต้หวัน หากมองในแง่ดี ญี่ปุ่นนำพาเอาความทันสมัยและเทคโนโลยีเข้ามาสู่เกาะไต้หวัน แต่หากมองในแง่ร้าย ชาวไต้หวันถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างหนักในหลากหลายด้าน ปัจจุบันเกาะที่งดงามแห่งนี้ยังคงหลงเหลือกลิ่นอายวัฒนธรรมญี่ปุ่นอยู่ไม่น้อย และเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร แม้ไต้หวันจะได้รับอิสรภาพจากญี่ปุ่นมานานกว่า 70 ปี แต่สถานะของไต้หวันก็ยังคงคลุมเครือในสายตาชาวโลกอยู่จนถึงทุกวันนี้

ไต้หวันกลับคืนสู่จีนหลังจากญี่ปุ่นพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่สองในปี ค.ศ. 1945 แต่ในแผ่นดินใหญ่ยังคงต่อเนื่องด้วยสงครามกลาง เมืองระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์และพรรคก๊กมินตั๋ง

พรรคก๊กมินตั๋ง
แต่สุดท้ายเกาะสวยงามแห่งนี้ ก็ไม่พ้นวิบากกรรม  สุดท้ายพรรคก๊กมินตั๋งพ่ายแพ้และถอยร่นจนต้องหลบหนีมาที่ไต้หวัน คล้ายกับ ทัพของเจิ้งเฉิงกง แห่งราชวงศ์หมิง

เจียงไคเช็ก ผู้นำรัฐบาลก๊กมินตั๋ง ไม่ได้ถอยร่นมาไต้หวันมาตัวเปล่าๆ นอกจากเงินทองซึ่งเป็นทุนสำรองของจีนมากที่สุดเท่าที่จะขนมาได้ กับสมบัติในพระราชวังต้องห้ามกว่า 20 ลำเรือ ยังนำผู้คนถึง 1.5 ล้านคนข้ามมาด้วย และส่วนใหญ่คือ ทหาร พ่อค้า ปัญญาชน

สรุป 
ญี่ปุ่นได้บังคับยึดครองเกาะไต้หวันซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของจีน พร้อมกับใช้เกาะไต้หวันเป็นแหล่งทรัพยากรและปราการด่านแรกทางทิศใต้ของประเทศ ญี่ปุ่นปกครองไต้หวันตั้งแต่ยุคราชวงศ์ชิง ค.ศ. 1895 จนถึงยุคสาธารณรัฐจีนใน ค.ศ. 1945

ช่วงเวลา 50 ปีอาจดูยาวนาน ตลอดระยะเวลาดังกล่าวญี่ปุ่นพัฒนาไต้หวันในหลากหลายด้าน ทั้งด้านการศึกษา เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ฯลฯ จนไต้หวันก้าวเข้าสู่ความทันสมัยอย่างรวดเร็ว

อย่างไรก็ดี มรดกกรณี สนธิสัญญา ชิโมโนเซกิ ยังมีอีกเรื่อง คือ กรณีพิพาท หมู่เกาะ เซ็งกากุ ที่เป็นเกาะร้างขนาดเล็ก ระหว่าง จีน กับ ญี่ปุ่นอีกด้วย

ใครที่มีเพื่อนเป็นชาวไต้หวัน บอกผมหน่อย ว่า คุณอยากเป็นคนจีน หรือ คนญี่ปุ่นมากกว่ากัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น