จาก
หนังเรื่อง City
of Sadness
(
二二八事件)
“เหตุการณ์
228”
ซึ่งเกิดขึ้นในวันที่
28
ก.พ.
1947 ในไต้หวัน
ไต้หวัน ตั้งแต่ช่วงที่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง
ไต้หวันเปลี่ยนจาก อาณานิคมญี่ปุ่น
กลายเป็นพื้นที่ภายใต้การดูแลโดยรัฐบาลก๊กมินตั๋งซึ่งในขณะนั้นยังเป็นรัฐบาลที่ปกครองประเทศจีนแผ่นดินใหญ่
ภาษาไต้หวัน
คือ ภาษาจีนกลาง
และภาษาจีนฮกเกี้ยนแบบไต้หวัน
(ไม่เหมือนฮกเกี้ยนแบบจีนแผ่นดินใหญ่)
หรือเรียกอีกอย่างว่า
ภาษาหมิ่นหนานแบบไต้หวัน
โดยได้รับอิทธิพลมาจากมณฑลฝูเจี้ยน
หรือภาษาหมิ่นใต้ แต่ปัจจุบัน
ถูกภาษาจีนกลาง กลืนหมดแล้ว
ที่มา
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
เกาะฟอร์โมซ่า
(เป็นชื่อเกาะเดิมที่สเปนเคยตั้งชื่อให้
แปลว่า เกาะสวยงาม)
ก่อนสิ้นสงครามโลกครั้งที่
2
ไต้หวันอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่นรวม
50
ปีของการปกครองของคือ
ช่วงปี 1895-1945
ทำให้ประชาชนบางส่วนได้รับรู้วัฒนธรรมญี่ปุ่น
ทั้งวัฒนธรรมชินโต และภาษาญี่ปุ่น
ต่อมาวันที่ 24
ตุลาคม 1945
เฉินหยี ผู้ว่าการไต้หวันก็เข้ามารับตำแหน่งแทนผู้ว่าคนเดิมของญี่ปุ่น
ในปี
1945
รัฐบาลก๊กมินตั๋ง
ตั้งหน่วยงานปกครองที่ไทเป
แล้วก็สั่งกองทหารและข้าราชการจากประเทศจีนไปที่ไต้หวัน
เพื่อจัดการรับดูแลไต้หวันจากญี่ปุ่น
รัฐบาลก๊กมินตั๋งยึดกิจการต่างๆ
ทั้งของภาครัฐและเอกชนจากฝ่ายญี่ปุ่น
เช่น โรงงานน้ำตาลและบริษัทไฟฟ้า
ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญมากในสังคมไต้หวัน
ส่วนทรัพย์สินทางธุรกิจและทหารต่างๆ
ที่คนญี่ปุ่นเหลือไว้
ก็ถูกยึดแล้วก็ส่งไปประเทศจีนอย่างมากมาย
กิจการที่เป็นของญี่ปุ่นต่างๆ
รัฐบาลจึงได้ ผูกขาดในยาสูบ
,
น้ำตาล ,
การบูร ,
ชา ,
กระดาษ ,
สารเคมี ,
การกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม
,
การทำเหมืองแร่และปูนซีเมนต์
ทำให้ คนไต้หวันไม่ได้ประโยชน์จากการค้าขายสินค้าดังกล่าวได้
แน่นอนว่า การผูกขาดก็ก่อให้เกิดตลาดมืด
และภาวะเงินเฟ้ออย่างหนัก
เพราะสิ่งของต่างๆ
ถูกส่งไปสนับสนุนสงครามกลางเมืองระหว่าง
ก๊กมินตั๋ง และพรรคคอมมิวนิสต์
ที่แผ่นดินใหญ่
คนไต้หวันในช่วงเวลานั้นพูดได้เฉพาะภาษาญี่ปุ่นและภาษาแม่
(ส่วนใหญ่เป็นภาษาไต้หวัน)
ส่วนคนจีนจากประเทศจีนที่ไปอยู่ที่ไต้หวัน
ใช้ภาษาจีนกลางเป็นหลัก
ดังนั้นจึงสามารถแยกได้ชัดว่าใครเป็นคนไต้หวัน
ใครเป็นคนจีน จากการสนทนากันเพียงไม่กี่คำ
ความไม่เข้าใจระหว่างคนจีนกับคนไต้หวันในแง่ภาษา
สร้างปัญหาความขัดแย้งในสังคมอย่างมาก
เนื่องจากเหตุผลทั้งการเมืองเศรษฐกิจและวัฒนธรรม
ความไม่พอใจที่คนไต้หวันมีต่อคนจีนจึงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
28
กุมภาพันธ์
1947
วันที่
27
ก.พ.
1947 มีตำรวจและเจ้าหน้าที่ตรวจสอบการค้า
10
คน เกิดทะเลาะวิวาทกับ
แม่ค้าคนนึงชื่อ หลิง
เจียงม่าย(林江邁)ซึ่งถูกเจ้าหน้าที่จับได้ว่าขายบุหรี่เถื่อน
เจ้าหน้าที่ได้ลงโทษปรับแล้วก็พยายามยึดสินค้าของกลางไปด้วยทั้งหมด
นางหลิงถูกกระแทกด้วยปืนที่หัวและหมดสติไปในระหว่างที่กำลังทะเลาะกับเจ้าหน้าที่อยู่นั้น
ประชาชนที่ไปมุงดูเกิดความขุ่นเคืองและเข้าไปทำร้ายเจ้าหน้าที่
เจ้าหน้าที่จึงตอบโต้ด้วยการยิงปืนกราด
ทำให้มีผู้ตายหนึ่งคน
อันนี้คือจุดระเบิดของเหตุการณ์
228
วันที่
28
ก.พ.
ฝูงชนผู้โกรธแค้นได้พากันไปชุมนุมบนทางเดินทางจากอาคารสถานีตำรวจไปถึงสำนักผูกขาดยาสูบ
เพื่อเรียกร้องการรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่
สุดท้ายแล้วฝูงชนไปถึงหน้าอาคารหน่วยงานปกครองไต้หวัน
เพื่อขอความเป็นธรรมจาก
เฉินุหยี(陳儀)
ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการไต้หวันในขณะนั้น
ทว่าทหารใช้ปืนยิงใส่ฝูงชนทำให้ประชาชนตายไปเป็นจำนวนมาก
ฝูงชนที่ไทเปจึงออกอากาศทั่วเกาะประกาศว่าที่ไทเปเกิดความรุงแรง
ชวนประชาชนไต้หวันลุกชึ้นมาสู้กับผู้มีอำนาจ
ความไม่พอใจต่อรัฐฯ
ของชาวไต้หวันจึงระเบิดออกมา
การจลาจลแพร่ระบาดทั่วเกาะ
การปะทะกันระหว่างประชาชนกับทหารเกิดขึ้นอย่างร้ายแรง
กรณีที่คนไต้หวันใช้กำลังกับคนจีนโดยไม่มีเหตุผลก็เกิดขึ้นอย่างมากมายเช่นกัน
คนไต้หวันถึงขนาดมีกองกำลังชื่อ
เพลิง27
ที่คอยก่อกวน
และทำร้ายคนจีนแผ่นดินใหญ่
โดยการไล่ถามผู้คนตามท้องถนนด้วยภาษาไต้หวัน
ขณะนั้น
ผู้ว่า เจรจาเพื่อรอกำลังเสริ่มจากแผ่นดินใหญ่
มีผู้นำท้องถิ่นในสังคมไต้หวันบางกลุ่ม
ตั้งคณะกรรมการเพื่อจัดการเจรจากับหน่วยปกครองไต้หวัน
พอให้รักษาความสงบในสังคมและขอความเป็นธรรมต่อประชาชน
แต่พวกผู้นำไต้หวันไม่รู้ว่า
ระหว่างการต่อรอง เฉินหยี
ส่งข่าวไปถึงประเทศจีนให้เจียงไคเช็คอย่างลับๆ
ว่าไต้หวันเกิดการจลาจล
ขอให้ส่งกองทหารจากจีนมาปราบปรามประชาชนที่ไต้หวัน
วันที่
8
มีนาคม 1947
กองทหารจากประเทศจีนขึ้นเกาะไต้หวันจากท่าเรือ
จีหลง และเริ่มการสังหารหมู่ทั่วเกาะ
ซึ่งถูกเรียกว่า
“การสังหารหมู่มีนาคม”(三月大屠殺)
จึงเริ่มต้นที่นี่
กลุ่มคนไต้หวันที่เป็นผู้นำหรือผู้รู้ท้องถิ่น
รวมถึงนักข่าว นักศึกษา หมอ
ศิลปิน และนักธุรกิจ
ถูกทหารจับไปประหารชีวิตเป็นจำนวนมาก
จากวันที่ 8
มี.ค.
ถึงต้นเดือน
พ.ค.
1947 คนไต้หวันที่เสียชีวิตในการปราบปรามและการสังหารหมู่
นับเกือบเกินหมื่นกว่าคน
(มีชาวอเมริกัน
ผู้ที่เดินทางมาถึงบอกว่า
มีทั้งการปล้น ฆ่า ตัดคอ
ข่มขืนสาวๆอีกด้วย)
รายงานอย่างเป็นทางการที่ส่งกลับนานจิง
ระบุว่า มีผู้เสียชีวิต 4000
คน
ขณะที่ไม่นับผู้สูญหายอีกจำนวนมาก
แต่ชนชั้นสูงที่เคยเข้าข้างญี่ปุ่น
นั้นถูกสั่งฆ่าหมด
รวมถึงผู้นำท้องถิ่น
และพวกฝักใฝ่คอมมิวนิสต์
เหตุการณ์
228
คือจุดเริ่มต้นที่สำคัญของ
แนวคิดปลดแอกไต้หวันเป็นเอกราช
ทว่าหลังจากนั้นไม่นาน
เมื่อวันที่ 19
พ.ค.
1949 รัฐบาลก๊กมินตั๋งก็ประกาศกฎอัยการศึก
คนไต้หวันกลับโดนกดขี่
อย่างหนัก พวกเขาไร้เสรีภาพในการพูดและภาพสื่อ
จนกระทั่งถึงปี 1987
ในระยะเวลาเผด็จการอย่างยาวนานที่เรียกว่า
“ความสยองขวัญสีขาว” (白色恐怖)
คนที่ถูกมองว่ามีแนวคิดฝ่ายซ้าย
หรือ แนวคิดปลดแอกเอกราชไต้หวัน
ถูกจำคุกและประหารจำนวนมาก
รัฐบาลก๊กมินตั๋ง
พยายามปิดปากพวกต่อต้านและ
พยายามใช้ระบบการศึกษาล้างสมองเยาวชนของชาติ
สร้างชาตินิยมจีนในสังคมไต้หวัน
และพยายามลืม เหตุการณ์ 228
จากไม่มีใครกล้าพูด
จนกลายเป็นว่าไม่มีใครคิดว่าต้องพูด
สยองขวัญสีขาว
ระยะเวลาของกฎอัยการศึกยาวนานถึง
38
ปี 57
วัน ตั้งแต่วันที่
19
พฤษภาคม 1949
ถึง 15
กรกฎาคม 2530
ระยะเวลาของกฎอัยการศึกของไต้หวันเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานที่สุดของกฎอัยการศึกในโลกในเวลาที่ยกขึ้น
แต่เนื่องจาก ถูกแซงหน้าในช่วงระยะเวลา
48
ปีของกฎอัยการศึกของซีเรียซึ่งกินเวลาตั้งแต่ปี
2506
ถึง
2554
กฎอัยการศึกของไต้หวัน เปรียบได้ดั่ง กฎหมายอาญาพิเศษของพรรคคอมมิวนิสต์ที่จีนแผ่นดินใหญ่ อยู่ภายใต้การดูแลของ หน่วยงานความมั่นคงของไต้หวัน และไม่ต้องคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ประชาธิปไตย เสรีภาพ หรืออะไรทั้งสิ้น พวกเขาใช้กฎหมายนี้ ทั้งทารุณ ฆ่า หรือแม้แต่ยึดทรัพย์ฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง ไม่ว่าจะฝั่งซ้าย ฝั่งนิยมญี่ปุ่น ฝั่งนิยมคอมมิวนิสต์ก็ตาม
กฎอัยการศึก เริ่มต้นด้วยการ ไม่ให้ตั้งพรรคการเมืองใหม่ นอกจาก ก๊กมินตั๋ง (นี่คือประชาธิปไตยแบบเจียงไคเช็ก) ห้ามประชาชนชุมนุมประท้วงตามท้องถนน ห้ามพูดถึง ผู้สูญหายหรือเสียชีวิต และห้ามออกนอกเคหะสถานในยามค่ำคืน
ขณะที่หนังสือพิมพ์ตีพิมพ์ได้ไม่เกิน 6 หน้า และมีเพียงแค่ 31 ฉบับเท่านั้น โดย 15 ฉบับเป็นของรัฐบาล และทหารเป็นเจ้าของ และแน่นอนว่า โดนสั่งเซนเซอร์เนื้อหาทางการเมืองทั้งหมด รวมถึงยังต้องคอยตีบทความโฆษณาชวนเชื่อต่างๆ ให้รัฐบาล และเจียงไคเช็ก ยังสนับสนุนให้เกิดลัทธิล่าแม่มด โดยสนับสนุนให้ประชาชนเปิดเผยรายชื่อ คนที่ ่น่าจะ ต่อต้านรัฐบาล หรือเป็นคอมมิวนิสต์ อีกด้วย
นอกจากนี้ ผู้ต้องสงสัยต้องถูกนำตัวมาพิจารณาคดีที่ศาลทหาร โดยมีคำพิพากษาเพียง 2 อย่างคือ ประหารหรือจำคุกเท่านั้น และหากพบว่า นักโทษมีแนวโน้มว่า จะก่อให้เกิดปัญหาจะถูกส่งไปจำคุกที่ เกาะกรีนไอส์แลนด์ตะวันออกของไต้หวัน แน่นอนว่า ความสยองขวัญสีขาว นี้เองพรากชีวิตผู้คนไปกว่า 20000 ชีวิต และ
กฎอัยการศึกของไต้หวัน เปรียบได้ดั่ง กฎหมายอาญาพิเศษของพรรคคอมมิวนิสต์ที่จีนแผ่นดินใหญ่ อยู่ภายใต้การดูแลของ หน่วยงานความมั่นคงของไต้หวัน และไม่ต้องคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ประชาธิปไตย เสรีภาพ หรืออะไรทั้งสิ้น พวกเขาใช้กฎหมายนี้ ทั้งทารุณ ฆ่า หรือแม้แต่ยึดทรัพย์ฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง ไม่ว่าจะฝั่งซ้าย ฝั่งนิยมญี่ปุ่น ฝั่งนิยมคอมมิวนิสต์ก็ตาม
กฎอัยการศึก เริ่มต้นด้วยการ ไม่ให้ตั้งพรรคการเมืองใหม่ นอกจาก ก๊กมินตั๋ง (นี่คือประชาธิปไตยแบบเจียงไคเช็ก) ห้ามประชาชนชุมนุมประท้วงตามท้องถนน ห้ามพูดถึง ผู้สูญหายหรือเสียชีวิต และห้ามออกนอกเคหะสถานในยามค่ำคืน
ขณะที่หนังสือพิมพ์ตีพิมพ์ได้ไม่เกิน 6 หน้า และมีเพียงแค่ 31 ฉบับเท่านั้น โดย 15 ฉบับเป็นของรัฐบาล และทหารเป็นเจ้าของ และแน่นอนว่า โดนสั่งเซนเซอร์เนื้อหาทางการเมืองทั้งหมด รวมถึงยังต้องคอยตีบทความโฆษณาชวนเชื่อต่างๆ ให้รัฐบาล และเจียงไคเช็ก ยังสนับสนุนให้เกิดลัทธิล่าแม่มด โดยสนับสนุนให้ประชาชนเปิดเผยรายชื่อ คนที่ ่น่าจะ ต่อต้านรัฐบาล หรือเป็นคอมมิวนิสต์ อีกด้วย
นอกจากนี้ ผู้ต้องสงสัยต้องถูกนำตัวมาพิจารณาคดีที่ศาลทหาร โดยมีคำพิพากษาเพียง 2 อย่างคือ ประหารหรือจำคุกเท่านั้น และหากพบว่า นักโทษมีแนวโน้มว่า จะก่อให้เกิดปัญหาจะถูกส่งไปจำคุกที่ เกาะกรีนไอส์แลนด์ตะวันออกของไต้หวัน แน่นอนว่า ความสยองขวัญสีขาว นี้เองพรากชีวิตผู้คนไปกว่า 20000 ชีวิต และ
เจียงไคเช็ก
หัวใจวาย ตายในปี 1975
ทำให้เริ่มมีการผ่อนผันมากขึ้น
โดยมีการก่อตั้งพรรคการเมือง
ประชาธิปไตยก้าวหน้า (DDP)
ในปี 1986
ปีถัดมา
กฎอัยการศึกจึงถูกยกเลิกในปี
1987
โดย เจียงจิงกั๋ว
ลุกชายของเจียงไคเช็ก
ขณะที่รัฐบาลไต้หวัน
พยายามสร้างภาพใหม่
โดยมีการยกรูปปั้นเจียงไคเช็กออกจาก
เขตทหาร เพื่อป้องกันภาพลักษณ์ที่ถูกมองข้ามเรื่อง
ความเผด็จการของพรรคก๊กมินตั๋งในอดีต
นอกจากนี้ หนังสือเรียนประวัติศาสตร์
ก็เขียนประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเหตุการณ์
228
แบบคลุมเคลือ
ไม่ชัดเจน แม้ว่าทุกวันนี้
ทุกปีของวันที่ 28
กุมภาพันธ์
จะเป็นรำลึกถึงสันติภาพแห่งชาติไต้หวัน
และจะมีผู้เดินขบวนประท้วงให้นำผู้กระทำผิดในอดีตมาลงโทษให้ได้
“ตราบใด ไต้หวันทุ่มเทเงินไปกับการยกย่องเจียงไคเช็ก เผด็จการตัวจริง ตราบนั้น ไต้หวันไม่มีวันค้นพบความยุติธรรม” นักศึกษาผู้ออกมาประท้วง กล่าว
“ตราบใด ไต้หวันทุ่มเทเงินไปกับการยกย่องเจียงไคเช็ก เผด็จการตัวจริง ตราบนั้น ไต้หวันไม่มีวันค้นพบความยุติธรรม” นักศึกษาผู้ออกมาประท้วง กล่าว
1949:
713 Penghu incident [zh] or the Shantung student refugee incident,
where secondary school students, refugees from Shandong province,
were conscripted by force as child soldiers on July 13.[7]
1952:
Chungli Yimin Middle School incident [zh]
1952:
Luku incident [zh]
1953:
Aborigine leaders Tang Shou-jen [zh] and Kao Yi-sheng [zh] are
arrested and executed in 1954.
1960:
Arrest of Lei Chen, publisher of the Free China Journal
1961:
Su Tung-chi [zh] case
1968:
Arrests of writers Chen Yin-chen [zh] and Chiu Yen-liang [zh], who
supported independence
1972:
Trials of Huang Chi-nan [zh] and Chung Chien-hsun [zh]
1979:
Eight pro-democracy activists are arrested following a riot on
December 10, later known as the Kaohsiung Incident.
1980:
The mother and twin daughters of democracy activist Lin Yi-hsiung
(arrested following the Kaohsiung incident) are stabbed to death on
Feb. 28.
1981:
Professor Chen Wen-chen is found dead on July 3 after a long
interrogation session with government officials.
1984:
Journalist Henry Liu is assassinated at his home in Daly City,
California for writings disparaging President of the Republic of
China Chiang Ching-kuo.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น