วันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2561

อั้งยี่ (红字) ในประเทศไทย

อั้งยี่ (红字)

จุดเริ่มต้น
จุดเริ่มต้น กำเนิดจาก เทียนตี้ หรือ พรรคฟ้าดิน (天地, Tiān Dì) ซึ่งเป็นสมาคมลับของคนจีน ก่อตั้งขึ้นในรัชสมัยคังซีแห่งราชวงศ์ชิง (ยุคสมัยเดียวกับ รัชกาลที่ 2 ของไทย) ขณะที่มีการแตกแขนงออกไปอีก เช่น หงเหมิน หรือเรียกว่า อั้งมั้ง (洪门) ทั้งหมดมีปฎิธานเดียวกันคือ “โค่นชิงกู้หมิง (反清复明) หรือพรรคฟ้าดิน 天地会 เรียกย่อๆ ว่า องค์สาม หรือไตรภาคี (三合) หมายถึง ฟ้า ดิน และมนุษย์

เริ่มจาก ตำนานเล่าว่า คังซีฮ่องเต้ วางแผนส่งสายสืบเข้าไปวัดเส้าหลิน แล้วเห็นว่า มีกลุ่มกบฎเข้ามาอาศัยผ้าเหลืองบังหน้า (ที่วัดนี้ให้ที่อยู่อาศัยกับกบฎเพราะมีความแน่นแฟ้นกับราชวงศ์หมิงเดิมด้วย) ครั้งแรกได้ห้ามวัดนี้พกและแอบซ่อนอาวุธต่างๆ ต่อมา เมื่อสายรายงานอีกครั้ง คังซีฮ่องเต้ ได้พระราชทานอาหาร เจือยาพิษ พร้อมกับส่งทหารไปแอบล้อมวัดเส้าหลิน เมื่อพระวัดเส้าหลิน ได้ตรวจสอบอาหารก็พบยาพิษ จึงได้ฆ่าข้าหลวงท่านนั้นเสีย ทำให้ทหารได้ยิงธนูไฟเข้าไปเผา แล้วบุกฆ่าวัดเส้าหลิน หลวงจีน ถูกฆ่าตายหมด 128 รูป รอดชีวิตมา 5 องค์ พากันไปซ่อนตัวที่วัดอื่น (เรียก หลวงจีน 5 องค์นี้ว่า โหวงโจ๊ว หรือบุรุษทั้ง 5 )

โดยพระสงฆ์ห้ารูปจากวัดเส้าหลินที่เรียกกันว่า "บุรุษทั้งห้า" (五祖, Wǔ Zǔ) มีวัตถุประสงค์เพื่อ "โค่นชิงฟื้นหมิง" (反清復明, Fǎn Qīng Fù Míng) เพราะแค้นใจที่ถูกราชสำนักชิงเผาฆ่าล้างวัดเส้าหลิน พระทั้ง 5 องค์ต่างเริ่มหาสมัครพรรคพวก และมีการตั้งหลวงจีนท่านหนึ่งเป็น ตั๋วเฮีย (ลูกพี่ใหญ่) และเมื่อพวกเขาก่อกบฎอีกครั้ง ฝ่ายกบฎก็พ่ายแพ้ ทำให้ทั้งหมดกระจัดกระจายออกไป และตั้งสมาคมลับขึ้นเรียกว่า เที้ยนตี้หวย หรือแปลว่า ฟ้า ดิน มนุษย์ หรือเรียกว่า ซาฮะ (องค์ 3) โดยการเข้าร่วมสมาชิกจะต้องมีพิธีการสาบานตน และจะมีการสื่อสารกันระหว่างสมาชิก เพื่อให้รู้ว่าเป็นพวกเดียวกัน พวกเขาจะนับถือ เทพเจ้ากวนอู เพราะจะไม่หักหลังใคร ไม่ว่าจะมีอามิสสินจ้างเท่าใดก็ตาม

สมาคมลับเหล่านี้ก็โดนไล่ล่าจากราชวงศ์ชิงมาโดยตลอด หากจับได้ก็จะจับฆ่าทันที (จะเห็นว่ายุค หย่งเจิ้งฮ่องเต้ และเฉียนหลงฮ่องเต้ก็ยังมีการเผาเส้าหลินถึง 2 ครั้งและมีเรื่องราวไล่ฆ่าพวกกบฎเสมอๆ) ทำให้มีกลุ่มคนจีนกบฎ โดยเฉพาะ กลุ่มคนจีนชายทะเลทางใต้ของจีน พวกจีนแต้จิ๋วจะมุ่งเดินทางมายังเมืองไทย ชาวจีนจีนฮกเกี้ยนเดินทางไปเมืองมลายู และสิงคโปร์ พวกจีนกวางตุ้งมักชอบไปอเมริกา

ยุคต้นรัตนโกสินทร์นี่เองที่มีคนจีนเข้ามาเมืองไทยเป็นจำนวนมาก ทั้งจากภัยกบฎ และภัยจากความแห้งแล้งจำนวนมาก

อั้งยี่ในแหลมมาลายู
แม้ว่าพวกเขาจะเป็นคนจีนอพยพ แต่พวกเขาก็มีสายสัมพันธ์กันดั้งเดิม ตอนนั้น แหลมมาลายู มีคนอิสลามเป็นชาวพื้นเมือง การเข้ามาของคนจีนย่อมถูกต่อต้านจากชาวพื้นเมือง ดูถูกดูแคลนอย่างมาก ทำให้ กลุ่มสมาคมลับ ได้เลิกวัตถุประสงค์เดิม คือ การล้มชิง เปลี่ยนมาช่วยเหลือกันในหมู่คนจีน และป้องกันไม่ให้ชาวจีนในมาลายูถูกรังแก

โดยแรกเริ่มนั้นชาวจีน ก็เข้ามาเป็นกรรมกร ทั้งในโรงสี และเหมืองแร่ ที่ต้องการแรงงานจำนวนมาก ตอนนี้เริ่มมีขบวนการตั้ง ตั๋วเฮีย
(พี่ใหญ่) และแยกสายออกมาเรียก ยี่เฮีย (ลูกพี่รอง) โดยแต่ละ ยี่เฮีย ก็เป็นอิสระต่อกัน ทำให้เริ่มมีเรื่องราวการก่อการวิวาทระหว่างกรรมกรโรงสีต่างๆ

อย่างไรก็ดี รัฐบาลอังกฤษ เห็นว่า เป็นการวิวาทกันเองในหมู่ชาวจีน จึงไม่ได้ห้ามปรามแต่อย่างใด แต่ รัฐบาลอังกฤษ แค่ให้สมาคมลับต่างๆ มาจดทะเบียน และระบุชื่อหัวหน้าสมาคม และรายชื่อสมาชิกทั้งหมด ให้ถูกต้อง เท่านั้น

ของไทยนั้น ก็มีการวิวาทกันระหว่างกรรมกรโรงสีเช่นกัน โดยตำนานเล่าว่า มีโรงสีแห่งหนึ่งใช้ตัวหนังสือสีแดงจึงเรียกว่า อั้งยี่ (หนังสือแดง) แต่คนไทยจะแยกเป็น พวก คือ พวกแต้จิ๋ว กับ พวกฮกเกี้ยน จึงเรียกลูกพี่ใหญ่ต่างกัน คือ ฮกเกี้ยน เรียก ตั๋วกอ  ยี่กอ และซากอ และ แต้จิ๋ว เรียก ตั๋วเฮีย ยี่เฮีย และซาเฮีย โดยหนังสือจดหมายเหตุของไทยในยุคร.4 เรียกคนเหล่านี้ รวมทั้งหมดว่า ตั๋วเฮีย และมาเปลี่ยนชื่อเป็น อั้งยี่ ในสมัยรัชกาลที่ 5

อั้งยี่ในประเทศไทย
                    
อั้งยี่ยุครัชกาลที่ 3
ยุคนั้น อังกฤษ นำฝิ่นมาเผยแพร่ให้คนจีนจนเกิดสงครามฝิ่นขึ้นที่ประเทศจีน ช่วงนั้น จีนกวาดล้างกลุ่มกบฎล้มชิง กู้หมิง อย่างหนัก  ทำให้คนจีนหนีมาที่ประเทศไทยจำนวนมาก และมีการนำฝิ่นเข้าเผยแพร่ในไทยด้วย ทำให้คนไทยติดฝิ่นจำนวนมาก แม้ชนชั้นผู้ดีที่เป็นเจ้า และ ขุนนางต่างก็พากันสูบฝิ่น

แต่กฎหมายไทยยุคนั้นห้ามสูบ และซื้อขายฝิ่นเด็ดขาด แต่คนจีนก็ยังลักลอบนำเข้าจากเรือสำเภาจีน ซึ่งกำไรดีมาก โดยเฉพาะท่าเรือรอบกรุงเทพ อย่าง จังหวัดนครชัยศรี และสมุทรสาคร และริมชายทะเล ย่านแสมดำ อีกฝั่งคือ ปากน้ำบางปะกง สมุทรปราการ


เดือน เมษายน พ.. 2390 พวกตั๋วเฮีย ขายฝิ่นที่ตำบล ลัดกรุด สมุทรสาคร ครั้งนี้มีเจ้าพระยาออกไปปราบปราม แต่ถูกอั้งยี่ยิงตาย ทำให้ มีการคุมกำลังครั้งใหญ่ไปปราบ ฆ่าพวกอั้งยี่ตายไป 400 คน

พฤษภาคม พ
.. 2391 เหล่า อั้งยี่ ก็ฆ่า พระยาอีกคนหนึ่งที่เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทราเสียชีวิต และยึดเอาป้อมเมืองฉะเชิงเทราเป็นที่มั่น ครั้งนั้น หลวงมีคำสั่งให้ส่งกองกำลังไปปราบ ที่เมืองฉะเชิงเทรา ทำให้คนจีนถูกฆ่าไปราว 3,000 คน

อั้งยี่ในรัชกาลที่ 4
ในรัชการลที่ 4 มีการเปลี่ยนกฎหมาย จากจับฝิ่นเป็นเก็บภาษีฝิ่นแทน โดยรัฐบาลเป็นผู้นำเข้ามาขายเอง โดยให้แค่คนจีนเท่านั้นที่สามารถสูบฝิ่นได้โดยเสรี แต่คนไทยห้ามเด็ดขาด ทำให้เรื่องความรุนแรงต่างๆของ อั้งยี่หายไปหลายปี

ปลายรัชกาลที่ 4 ยังมีชาวจีนอพยพเข้ามาทั้งไทย แหลมมาลายู และสิงคโปร์จำนวนมาก โดยมากมักมาแต่ตัว โดยคนไทยจะที่ต้องการลูกจ้างจะไปรับที่ท่าเรือ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะจ่ายค่าเรือให้ โดยหักค่าจ้าง 1 ปี โดยสามารถโอนสิทธิการจ้างนี้ได้อีกด้วย โดยเฉพาะกิจการโรงสีที่ต้องการแรงงานจำนวนมาก เพื่อใช้ขนถ่ายสินค้า ทำให้บรรดาเถ้าแก่แต่ละคนต่างก็แย่งชิงแรงงานเกิดเป็นกลุ่มก้อนในหมู่กรรมกรกงสี

ในปี พ.. 2410 ก็มีการรวมกลุ่มคนจีนที่ภูเก็ต โดยแยกเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งคือกงสีชื่อ งี่หิน และกลุ่มกงสีชื่อ ปูนเถ้าก๋ง มีอยู่ฝ่ายละ 3000-4000 คน ต่อมามีการแย่งชิงสายน้ำทำเหมืองแร่ที่ใช้ล้างดีบุกเกิดขึ้น ทำให้ทั้งสองฝ่ายนัดหมายมารวมตัวกันที่กลางเมืองภูเก็ต ทำให้ผู้ว่าฯต้องส่งข่าวมาที่กรุงเทพ และหลวงได้ระดมพล มาระงับเหตุ ทำให้ทั้งสองฝ่ายไม่ได้วิวาทกัน โดยหลวงให้ทั้งสองฝ่ายกระทำการสัตย์สาบานไม่วิวาทกันอีก และปล่อยตัวไป

อั้งยี่ยุคต้นรัชกาลที่ 5
รัชการลที่ 5 ขึ้นครองราชย์ในปี พ.. 2411 (ปลายยุคของหย่งเจิ้งฮ่องเต้ หรือ องค์ชายสี่) ยุคนี้คนจีนยังคงหนีมาเพิ่มมากขึั้น มีคนจีนกลุ่มสัมพันธวงศ์ก็มีเรื่องกับเจ้าภาษีฝิ่น โดยไปต่อสู้กันที่สำเพ็ง ขณะที่จังหวัด นครชัยศรี คนจีนก็เริ่มรวมตัวกันออกปล้น โดยครั้งนั้น ทางหลวงจับหัวหน้าได้ก็นำตัวไปประหารชีวิตที่กรุงเทพ ต่อหน้าประชาชน นอกจากนี้ ไทยเปลี่ยนเป็น การเลี้ยงอั้งยี่ เหมือนอังกฤษ โดยจับตัวเอาหัวหน้ามาได้ 14 คน และให้มาถือสัตย์สาบานกัน วัดกัลยาณมิตร แล้วก็ปล่อยตัวไป

ที่ภาคใต้ ระนอง พ.. 2419 คนจีนที่ภูเก็ต ในเหมืองแร่ก็ยังมี 2 พวกคือ งี่หิน และปูนเถ้าก๋ง พวกนี้ไม่ติดต่อกับคนจีนที่กรุงเทพ แต่จะติดต่อกับคนจีนที่มาลายูและสิงคโปร์แทน ในปีนั้น ราคาเหมืองแร่ตกต่ำ ทำให้นายเหมืองในระนอง ไม่มีเงินจ่ายค่าจ้าง ทำให้คืนวันตรุษจีนปีนั้น พวกปูนเถ้าก๋งก็ไปทวงเงินกับนายเหมือง แต่นายเหมืองไม่มีเงิน ทำให้เหล่ากรรมการได้ฆ่านายเหมืองเสียชีวิต และได้หนีไปทางหลังสวน แต่มีเรื่องกับนายด่าน นายด่านจับตัวคนจีนเหล่านั้นได้ ทำให้กรรมกรคนอื่นรู้ข่าวต่างไปดักกลางกทางและได้รุมแทงนายด่าน ชิงตัวคนจีนออกมา คนจีนเหล่านี้เลยกลายเป็นกบฎ มีประมาณ 500-600 คน ไล่ฆ่าคนและเผาบ้านคนในเมืองระนอง ต่อมาหลวงส่งกองทัพเข้าจับกุมเหตุการณ์ที่ระนองจึงสงบลง แต่มีบางส่วนหนีไปได้ พวกหนึ่งหนีไปเหมืองที่หลังสวน อีกพวกหนีลงทะเลจากเรือที่ขโมยมาและมุ่งหน้าไปที่ภูเก็ต

ที่เมืองภูเก็ตนั้น มีกรรมกรจีนหลายหมื่นมากกว่าเมืองระนองหลายเท่า และประสบปัญหาราคาดีบุกตกต่ำเช่นกันกับเมืองระนอง ทำให้กรรมกรชาวจีนไม่พอใจเรื่องนายเหมืองไม่จ่ายค่าจ้างเช่นกัน นอกจากนี้ เดิม พวกเขาก็ไม่พอใจ เจ้าเมืองภูเก็ตที่ผูกขาดภาษีผลประโยชน์ และการขูดรีดภาษีทำให้พวกชาวจีนเดือดร้อนอย่างมาก ประกบกับ พวกที่หนีมาทางเรือจากเมืองระนองมาถึงเมืองภูเก็ต ก็ปล่อยข่าวว่า พวกเขาเกือบตีเมืองระนองสำเร็จ ขาดเครื่องยุทธภัณฑ์ไม่มีพอ จึงต้องพ่ายและหนีมา ทำให้พวกชาวจีนรวมตัวกันจะเข้าตีเมืองภูเก็ตบ้าง

ระหว่างนั้น พ.. 2418 ตอนบ่ายวันหนึ่ง ทหารเรือก็ขึ้นบก เกิดเมาไปมีเรื่องกับคนจีนที่ตลาดเมืองภูเก็ต แต่ไม่ทนไรก็กลับขึ้นเรือ ตกค่ำวันเดียวกัน ก็มีทหารเรืออีก 2 คน ก็มีเรื่องกับคนจีนอีก แต่ตำรวจเข้ามาระงับเหตุแต่จับเฉพาะคนจีนไป ทำให้คนจีนไม่พอใจมีการรวมตัวกัน 300 คน ที่ตลาดพร้อมอาวุธไปรื้อโรงพัก แล้วก็ปล้นและเผาวัด และบ้านเรือนในเมืองภูเก็ต พบคนไทยที่ไหนก็เข้าทุบตี รวบรวมจนมีพรรคพวกถึง 2000 คน ตำรวจไทยต้องไปเปิดคุกให้นักโทษประมาณ 100 คน ออกมารวมกับตำรวจกับทหารเรือ รวมประมาณ 200 คน และเรียกหัวหน้าต้นแซ่มาคุยเป็นการด่วน ซึ่งเหล่าหัวหน้าต้นแซ่ ก็เรียกตัวลูกน้องในสังกัดมาคุยและระงับเหตุได้บางส่วน ทำให้กบฎลดน้อยลงอย่างมาก แต่ยังเหลือยู่บางส่วน เมื่อหลวงเรียกรวมพลตามหัวเมืองรอบๆ ได้ก็ยกมาที่ภูเก็ต การจลาจลที่ภูเก็ตจึงสงบลงได้ และหลังจากนั้น เหล่าอั้งยี่ภูเก็ตก็ไม่เกิดขึ้นอีก

อั้งยี่ยุคปลายรัชกาลที่ 5


ปี พ.. 2432 ยุคสมัยนั้น ข้าวเป็นสินค้าส่งออกของไทย เริ่มมีโรงสีขนาดใหญ่มากขึ้น ทำให้มีกรรมกรชาวจีนจำนวนมากเข้ามารับจ้าง โดยแยกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ ชาวจีนแต้จิ๋วที่มาจากซัวเถา และจีนฮกเกี้ยนที่มาจากเอ้หมึง ตอนนี้ทั้งสองฝ่ายแยกกัน และคอยกีดกันกันเอง ต่างแย่งงานกันทำมาโดยตลอด หนังสือพิมพ์ตีข่าวคนจีนทะเลาะกันเป็นประจำ

เดือนมิถุนายนปี พ.. 2432 ทั้งสองฝ่ายก็ไปรื้อสังกะสีมุงหลังคา โต๊ะตู้ ต่างๆ ตามบ้านเรือนที่ถนนเจริญกรุงตั้งแต่วัดยานนาวา เอาไปทำค่ายขวางถนนทั้งสองฝั่ง และยึดเอาสถานที่หลังโรงสีห้างวินเซอร์ที่มีลักษณเป็นปล่องเหลี่ยม เป็นสนามรบ หรือเรียกกันว่า “ศึกอั้งยี่ปล่องเหลี่ยม” ทั้งสองฝ่ายตีกันทั้งแต่บ่ายยันค่ำ ตกค่ำก็เริ่มเอาปืนมายิงกันตลอดคืน และมีข่าวลือว่า พวกอั้งยี่จะเผาโรงสีของฝ่ายตรงข้าม ทำให้โรงสีต่างปิดชั่วคราวมีคนตายไป 20 คน บาดเจ็บกว่า ร้อยคน จน 3 วันผ่านไป หลวงต้องส่งทหารเข้าปราบปราม ในวันที่ 20 มิถุนายน ปีนั้น จึงสงบ โดยการเข้าบุกโจมตีของทหารนั้น เข้าทั้งทางวัดยานนาวา (เข้าไปซ่อนตัวก่อน) ทางเรือ และทางรถรางไฟฟ้า เมื่อจับได้ ก็เอาหางเปียของคนจีนนั่นเองผูกกันเองไว้ คนไทยและชาวตะวันตกก็ออกมาร้องยินดี รวมถึงยังชี้ช่องหลบหนีของชาวจีนให้กับทหารไทยอีกด้วย

หลังจากนั้น ก็ยกเลิกระบบเจ้าภาษีกลายเป็น หลวงเก็บเอง เพื่อลดความขัดแย้งคนจีนและเจ้าภาษี รวมถึงยกเลิกการสูบฝิ่นอย่างสิ้นเชิง ทำให้ระบบอั้งยี่หายไป


หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เหล่าคนจีนยังคงส่งเงินไปให้ญาติที่จีน รวมถึงส่งเงินไปสมทบทุนล้มราชวงศ์ชิง โดยเฉพาะยุค ดร.ซุนยัดเซ็น ที่หวังโค่นล้มราชวงศ์ชิง โดยยุค พ.. 2480 นั้่น มีพวกเรียกค่าคุ้มครอง อั้งยี่ ที่ใช้ กรรไกรขาเดียวเป็นอาวุธ ทำให้หลายคนต้องป้องกันตัวด้วย การสั่งเข็มขัดหนังวัดขนาดใหญ่เพื่อป้องกันการแทงดังกล่าว โดยยุคนั้น ทหารญี่ปุ่นได้บุกประเทศจีนและฆ่าคนจีนเป็นจำนวนมาก ทำให้เหล่าอั้งยี่พวกนี้ นอกจากส่งเงินไปให้กบฎที่จีนแล้วยังลักลอบสังหารทหารญี่ปุ่นในไทยอีกด้วย หรือแม้แต่ คนไทยหรือคนจีนที่คบค้ากับคนญี่ปุ่นพวกอั้งยี่เหล่านี้จะลอบสังหารทั้งหมด โดยเฉพาะอั้งยี่ กลุ่ม แชคัง ที่มีตั๋วเฮียคือ ตั้ง จิวโมว ที่ได้รับคำสั่งจากจีนแผ่นดินใหญ่โดยตรง และไม่มีอั้งยี่กลุ่มไหนกล้าขวาง

ครั้งหนึ่ง กลุ่มแชคัง ได้ยื่นหมายนี้ไปให้คนจีนที่ค้าขายกับชาวญี่ปุ่น แต่อ้างชื่อ กลุ่มอั้งยี่ กวนอิม-เก้ายอด มีตั๋วเฮียเป็นคนไทยชื่อ ไพฑูรย์ แทน (กลุ่มนี้คือคนไทยที่ล้มอั้งยี่ กวนอิมเหล็กได้ แล้วไปรวมกลุ่มกับเก้ายอดท่าเตียน เรียกค่าคุ้มครอง) ทำให้กลุ่มกวนอิม-เก้ายอด ที่เป็นคนไทยที่รับค่าคุ้มครองก็ไม่พอใจ เพราะเขารับเงินเข้ามาแล้ว จึงได้ปลอมตัวเป็นคนงานของคนจีนคนนั้นแอบซุ่มรอ กลุ่มอั้งยี่ แชคัง เมื่ออั้งยี่แชคังบุกเข้ามาก็เจอกับอั้งยี่คนไทย และได้ฆ่ากลุ่มอั้งยี่ แชคัง ไป 4-5 ศพ และนำศพไปทิ้งทะเล ทำให้อั้งยี่ แชคัง นั้นโกรธมากที่ไม่คืนศพมาทำพิธี ทำให้มีการท้าประลองกันตัวต่อตัวระหว่าง ตั๋วเฮีย คือ ตั้ง จิวโมว และนายไพฑูรย์
โดยตั้ง จิวโมว นั้นเลือกใช้ดาบสองมือของจีน ขณะที่ นายไพฑูรย์ นั้นเลือกใช้ดาบไทย หัวทู่ เป็นอาวุธ โดยครั้งนั้น ตั้งจิวโมว นั้นได้ฟันที่บ่าของนายไพฑูรย์ไปสองครั้ง ก่อนจะโดนนายไพฑูรย์ ฟันที่ท้องไส้ไหลออกมา ตายทันที โดยครั้งนั้น จีนแผ่นดินใหญ่ก็ยังคงส่งมือปืนมายิงคนจีนคนนั้นตายหน้าโรงงิ้ว เพราะเขายังคงค้าขายกับญี่ปุ่น โดยนายไพฑูรย์ นั้นต้องนำเงินค่าคุ้มครองไปคืนในงานศพอีกด้วย

และหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 .. 2488 ประเทศไทยไปเข้าพวกกับญี่ปุ่น (ความจริงต้องถือว่าไทยพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งนั้นด้วย) โดยจีนนั้นอยู่ข้างฝ่ายที่ชนะ มีกลุ่มอั้งยี่ไม่พอใจ โดยเฉพาะพวกเสรีไทย ที่พยายามพลิกลิ้นให้ไทยเป็นฝ่ายชนะ ทำให้อั้งยี่บางพวกเข้าลอบสังหารกลุ่มเสรีไทยด้วย (มีการลอบสังหาร นายก ซึ่งคือ ม... เสนีย์ ปราโมชที่เป็นเสรีไทยด้วย) รวมถึง ชาวจีนตอนนั้นต้องการให้ทหารจีนเข้ามาปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นและทหารไทย แต่ไทยกลับให้ทหารอังกฤษและสหรัฐ เข้ามาปลดอาวุธแทน ทำให้ชาวจีนไม่พอใจ ประกอบกับที่คนจีนมักโดนคนไทยดูถูกดูแคลน และรังแกมาโดยตลอด

และแล้ว คืนวันที่ 20 กันยายน พ.. 2488 รถสามล้อคนไทยก็ชนคนจีนล้ม ทำให้คนจีนไม่พอใจ เริ่มเปลี่ยนเป็นการจลาจล โดยคนจีน เมื่อเจอคนไทยจะช่วยกันตะโกน “เลียะพะ” ที่แปลว่า จับตี โดยมีคนบางคนไล่ยิงคนจากบนตึกด้วย (ไม่รู้ว่าคนไทยหรือคนจีน) ความรุนแรงเริ่มบานปลาย เริ่มจากเยาวราช ไล่ไปเจริญกรุง หัวลำโพง ต่อมาไม่กี่เดือนเหตุการณ์ก็เริ่มสงบ เพราะชาวจีนส่วนใหญ่ก็ไม่เอาด้วย
                       

โดย รัชกาลที่ 8 และ 9 นั้น ต้องการเสด็จมาเพื่อระงับความรุนแรง โดยกำหนดประพาส วันที่ 5 ธันวาคม 2488 ซึ่งทำให้คนไทยและคนจีนกลับมาเชื่อมสัมพันธ์กันอีกครั้ง


ชชชชชชชชชชชชชชชชชชชชช

.....ความสัมพันธ์ระหว่างสยาม - จีนถือได้ว่ามีความสัมพันธ์อันยาวนานนับหลายร้อยปี มีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม การค้า และแรงงาน จนเสมือนดั่งญาติพี่น้องก็ว่าได้ แต่ทุกสรรพสิ่งในโลกเมื่อมีด้านสว่างก็ย่อมต้องมีด้านมืด ช่วงปลายสมัยราชวงศ์ชิงมีการเคลื่อนย้ายแรงงานจำนวนมากจากจีนสู่สยาม เมื่อมีแรงงานเกิดขึ้นจำนวนมากจึงเกิดกลุ่มองค์กรที่แสวงหาผลประโยชน์จากแรงงานจีนเหล่านั้น จนกลายเป็นกลุ่มอาชญากรรมที่เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของราชสำนักสยาม กลุ่มองค์กรนี้เป็นที่รู้จักในนาม " ตั้วเฮีย " หรือที่รู้จักโดยทั่วไปว่า " อั้งยี่ " 
ในจดหมายเหตุของไทยใช้คำเรียก " อั้งยี่ " ต่างกันตามแต่ละยุคสมัย ชื่อของสมาคมลับนี้จัดตั้งขึ้นในประเทศจีนแต่เดิมเรียกว่า " เทียนตี้หวย " แปลว่า " ฟ้า ดิน มนุษย์ " หรือเรียกโดยย่ออีกอย่างหนึ่งตามภาษาจีนฮกเกี้ยนว่า " ซาฮะ " แปลว่า องค์สาม เป็นนามของสมาคมลับทุกกลุ่ม กลุ่มสมาคมลับจะแบ่งกลุ่มต่างๆโดยจะเรียกว่า " กงสี " และแต่ละกงสีจะมีชื่อเรียกต่างกัน เช่น งี่หิน ปูนเถ้าก๋ง งี่ฮก ตั้งกงสี ชิวลิกือ เป็นต้น ส่วนที่มาของคำว่าอั้งยี่นั้น แปลว่า " หนังสือแดง " ซึ่งเป็นชื่อเรียกกลุ่มกงสีหนึ่งเท่านั้น 
ผู้ที่เป็นหัวหน้าอั้งยี่ในแต่ละท้องถิ่นหรือแต่ละกงสีเรียกตามภาษาฮกเกี้ยนว่า " ตั้วกอ " ตามภาษาแต้จิ๋วเรียกว่า " ตั้วเฮีย " ซึ่งแปลว่าพี่ใหญ่ หัวหน้ารองลงมาเรียกว่า " ยี่กอ " หรือ " ยี่เฮีย " แปลว่าพี่ที่สอง อันดับสามเรียกว่า " ซากอ " หรือ " ซาเฮีย " แปลว่าพี่ที่สาม ในจดหมายเหตุของไทยเดิมเรียกพวกที่เข้าสมาคมเทียนตี้หวยทั้งหมดว่า " ตั้วเฮีย " จนในรัชสมัยพระจุลจอมเกล้า ฯ ( รัชกาลที่ 5 ) เปลี่ยนคำว่า " ตั้วเฮีย " แล้วเรียกว่า #อั้งยี่ 
สมาคมลับอั้งยี่มีขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ( รัชกาลที่ 3 ) มูลเหตุที่ทำให้เกิดอั้งยี่นั้น เนื่องจากอังกฤษนำฝิ่นจากอินเดียเข้าไปขายในต้าชิงมากขึ้น ส่งผลให้ชาวจีนตามเมืองชายทะเลทั้งในฝูเจี้ยน ( ฮกเกี้ยน ) กว่างตง ( กวางตุ้ง ) เจ้อเจียง กว่างซี ( กวางสี ) พากันสูบฝิ่นจนแพร่หลาย เมื่อชาวจีนอพยพเข้ามาใช้แรงงานในสยามก็มีการนำเอาฝิ่นเข้ามาสูบกันมากมาย เลยเป็นปัจจัยให้มีชาวสยามติดฝิ่นมากขึ้น แม้แต่ผู้ดีที่เป็นเจ้านายและขุนนางราชสำนักก็พากันสูบฝิ่น เมื่อการณ์เป็นเช่นนั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระราชโองการให้มีการออกกฎหมายตรวจจับฝิ่นอย่างกวดขัน ทำให้ชาวจีนและสยามที่ติดฝิ่นเริ่มซื้อขายฝิ่นผิดกฎหมายกันมากขึ้น 
เมื่อฝิ่นกลายเป็นสินค้าผิดกฎหมาย เหล่าผู้ลอบขายฝิ่นจึงขึ้นราคาขายจนได้กำไรงาม เหล่าพ่อค้าฝิ่นจึงทำการว่าจ้างอั้งยี่ วางสมัครพรรคพวกไว้ตามหัวเมืองชายทะเลที่ไม่มีการตรวจตรา คอยรับฝิ่นจากเรือที่มาจากเมืองจีนแล้วเอาปลอมปนกับสินค้าอื่นส่งเข้ามายังกงสีใหญ่ ซึ่งตั้งขึ้นตามที่ลี้ลับในหัวเมืองใกล้ๆกรุงเทพฯ หลังจากนั้นจึงให้พ่อค้ารายย่อยเข้าลักลอบขายฝิ่นในพระนคร ครั้นข้าหลวงสืบรู้ก็ออกไปปราบปราม ถ้าซ่องไหนมีพรรคพวกมากก็ต่อสู้จนถึงเกิดเหตุรบพุ่งกันหลายครั้ง ซึ่งมีปรากฏในหนังสือพงศาวดารว่า
ปี พ.ศ. 2385 โปรดให้กำลังตำรวจจากกรุงเทพฯ ลงไปปราบปรามกบฏอั้งยี่ที่นครชัยศรี ซึ่งมีกองกำลัง 1,000 คน การปราบปรามเสร็จสิ้นลงในปี พ.ศ. 2387 และยังโปรดให้จมื่นราชามาตย์นำกำลังทหารจากปากน้ำโพ นครสวรรค์ ไปปราบกบฏอั้งยี่ที่ปากน้ำ บางปะกง มีการต่อสู้กันเป็นสามารถ และทหารหลวงได้ปราบปรามกบฏอั้งยี่กลุ่มนี้สำเร็จ
ปี พ.ศ. 2388 ทรงโปรดให้จมื่นราชามาตย์และจมื่นสมุหพิมานนำทหารหลวงลงไปปราบปรามกบฏอั้งยี่ที่อาละวาดตั้งแต่พังงา ปราณบุรี ชุมพร จนถึงสุราษฎร์ธานี และปราบปรามได้สำเร็จเช่นเดียวกัน
ปี พ.ศ. 2391 ทรงโปรดให้พระยามหาเทพ ( ปาน )ไปปราบปรามกบฏอั้งยี่ค้าฝิ่นกลุ่มของจีนเพียว ที่ตำบลลัดกรุด แขวงเมืองสมุทรปราการ แต่พระยามหาเทพเสียทีถูกยิงถึงแก่อนิจกรรม พวกกบฏอั้งยี่จึงกำเริบขึ้นเป็นอันมาก จึงทรงโปรดให้เจ้าพระยาพระคลังนำทหารหลวงจากกรุงเทพฯ ไปปราบปราม มีการต่อสู้กันเป็นการใหญ่ ทหารหลวงได้สังหารกบฏอั้งยี่ตาย 400 คน จับหัวหน้ากบฏอั้งยี่ได้
หลังจากปราบพวกอั้งยี่ที่ลัดกรุดได้ไม่ถึงเดือน เดือน 5 พ.ศ. 2391 พวกอั้งยี่ก็กำเริบขึ้นที่เมืองฉะเชิงเทรา คราวนี้ถึงขั้นก่อการกบฏ กลายเป็นการนองเลือดครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ไทย
《 กบฎอั้งยี่ที่แปดริ้ว 》
.....เมืองฉะเชิงเทรามีพระยาวิเศษฤาชัย เป็นเจ้าเมืองปกครองดูแล ต่อมาได้เกิดปัญหากับกลุ่มอั้งยี่ ซึ่งทำการขยายอำนาจอิทธิพลจากหัวเมืองชายทะเล คือเมืองชลบุรีเข้ามายังฉะเชิงเทรา ในเดือน 5 พ.ศ. 2391 พวกอั้งยี่ก็กำเริบขึ้นและทำการเรียกเก็บค่าคุ้มครองหรือภาษีเถื่อนแข่งกับทางการ ภายหลังได้รวมพลคนจีนที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้แรงงานเข้ายึดเมืองฉะเชิงเทราแล้วสังหารพระยาวิเศษฤาชัยและครอบครัวจนหมดสิ้น เหล่ากรมการเมืองในฉะเชิงเทราก็ถูกสังหารด้วยการตัดศีรษะประจานจนเป็นภาพเวทนายิ่งนัก เหล่าอั้งยี่จึงใช้กำแพงเมืองฉะเชิงเทราไว้เป็นที่มั่น และยังได้ประกาศให้เมืองฉะเชิงเทราเป็นอาณาจักรของพวกตน
 ณ เวลานั้นความได้ทราบไปถึงพระกรรณของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้ เจ้าพระยาพระคลัง ( ภายหลังคือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ ) เป็นแม่ทัพ จหมื่นไวยวรนาถ ( ช่วง ) บุตรคนโตของเจ้าพระยาพระคลังเป็นทัพหน้า เจ้าพระยาบดินทรเดชา ( สิง ) ที่พึ่งเสร็จการศึกด้านญวนแล้วเดินทัพผ่านเมืองฉะเชิงเทรา เข้ากู้สถานการณ์ที่เมืองฉะเชิงเทรา
ณ เดือน 5 ขึ้น 14 ค่ำ ปีวอกสัมฤทธิศก  กองทัพจากพระนครยกทัพเรือจากเมืองสมุทรสาครมาปราบปรามพวกอั้งยี่  ครั้งนั้นฝ่ายอั้งยี่ได้เข้ายึดวัดเมืองซึ่งเป็นฐานที่ตั้งสุมกำลังเพื่อสู้กับทัพพระนคร การต่อสู้เป็นไปอย่างดุเดือด แต่สุดท้ายฝ่ายอั้งยี่ที่มีกำลังพลน้อยกว่าถูกปิดล้อมไว้รอบด้านจึงต้องพ่ายแพ้ในที่สุด พวกจีนอั้งยี่ถูกฆ่าตายกว่า 3,000 คน พวกที่ตายก็ตายไปฝ่ายที่เหลือก็ถูกจับเป็นเชลย และก็ยังมีบางส่วนที่หนีตายจากฉะเชิงเทราไปอยู่ที่บางปลาสร้อย เมืองชลบุรี อั้งยี่เมืองฉะเชิงเทราจึงสงบ
แกนนำอั้งยี่ที่ถูกจับกุมประกอบไปด้วย จีนหัวเสียว ( ตั้วเฮีย ) จีนเฮียง ( ยี่เฮีย ) จีนตู ( ยี่เฮีย ) จีนโป ( ซาเฮีย ) จีนกีเฉาเฮีย จีนหลงจู๊อะ จีนกีเถ้าแก่สวนอ้อย หลังจากนั้นจึงทำการส่งตัวจีนมีชื่อเหล่านี้เข้าพระนคร และถูกลงโทษประหารชีวิตด้วยการตัดศีรษะเสียบประจาน
หลังจากสงครามกลางเมืองที่ฉะเชิงเทราสงบลง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระบรมราชโองการประกาศทั่วกันว่า
" อันการกระทำของอั้งยี่ ครานี้เป็นขบถต่อแผ่นดิน และยังกระทำการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพด้วยการฆ่าเจ้าเมือง อันเป็นตัวแทนต่างพระเนตรพระกรรณให้มาปกครองเมือง ให้ลงโทษประหารเชลยทุกคนและผู้ให้ความร่วมมือทั้งหมด และให้ไล่ตามจับกุมอั้งยี่ ที่หนีตายจากฉะเชิงเทราไปอยู่ที่บางปลาสร้อยกลับมาประหารชีวิตทั้งหมด "
สถานที่ประหารชีวิตพวกอั้งยี่ ณ เวลานั้น ก็คือ บริเวณโคน "ต้นจันทน์" ใหญ่ของวัดเมือง เล่ากันว่าเหตุการณ์ชวนสยดสยองให้เวทนาน่าสงสารและแม้ว่าเหล่าอั้งยี่  จะส่งเสียงร้องร่ำไห้ขอชีวิตอย่างไร เหล่าเพชฌฆาตก็ยังคงทำหน้าที่ต่อไปโดยจับนักโทษมามัดติดกับหลักประหารและผลัดเปลี่ยนกันลงดาบนักโทษนับร้อย ๆ คน จนเลือดสาดกระจายเนืองนองไปทั่วหลักประหารในวัดเมือง ส่งกลิ่นเหม็นคาวคลุ้งน่าสะอิดสะเอียนเป็นยิ่งนัก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น