สิ้นพระชนม์
ก่อนหน้านี้ จิ๋นซีฮ่องเต้ (秦始皇 ) มีขันทีคนหนึ่งทีโปรดปรานมาก ชื่อ จ้าวเกา เพราะเข้าวังมาพร้อมกับ อิ๋งเจิง ชื่อเดิมก่อนขึ้นครองราชย์ของจิ๋นซีฮ่องเต้ ทำให้จิ๋นซีนั้นสนิทสนมกับจ้าวเกา ขันทีคนนี้อย่างมาก เมื่อขึ้นเป็น จิ๋นซีฮ่องเต้ จ้าวเกาแม้จะไม่ใช่มหาอัครเสนาบดี แต่เขาก็เป็นรองเพียงจิ๋นซีฮ่องเต้เท่านั้น มีหน้าที่ดูแลตราประทับฮ่องเต้ และราชรถเป็นหลัก
ขณะที่ปี 210 ก่อนคริสตศักราชนั้น จิ๋นซีได้ออกเดินทางไปทั่วประเทศ เพื่อเซ่นไหว้ เหล่ากษัตริย์ในตำนาน แม้ว่า จิ๋นซี่ ฮ่องเต้นั้น สั่งให้ผู้คนเสาะแสวงหา ยาอายุวัฒนะ แต่ยาอายุวัฒนะนี่เองที่ทำให้ จิ๋นซีสวรรคต เพราะเชื่อหมอหลวง ที่เป็นนักเล่นแร่แปรธาตุ เพื่อใช้ปรุงยาอายุวัฒนะ ทำให้พระองค์เสวยยาดังกล่าวระหว่างประพาสหัวเมืองซาชิว ในวันที่ 10 กันยายน ปี 210 ปีก่อนคริสตศักราช ซึ่งยาดังกล่าว เป็นยาเม็ดปรอทที่มากเกินไป ทำให้จิ๋นซีฮ่องเต้ ตายอย่างปัจจุบันทันด่วน เสียชีวิตขณะอายุเพียง 49 ปี
เรื่องสารปรอทนี้ แม้แต่ในสุสานจิ๋นซี นักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ไปตรวจสอบก็พบว่า มีสารปรอทเยอะมาก ทำให้เชื่อว่าสารปรอทจะทำให้ร่างกายไม่เน่าสลายอีกด้วย
ก่อนสิ้นพระชนม์ จิ๋นซีฮ่องเต้ได้มอบตราหยกให้ หลี่ซื่อ อัครมหาเสนาบดี เพื่อนำกลับไปมอบให้ องค์รัชทายาท ฝูซู เพื่อสถาปนา องค์ชาย ฝูซู ให้ขึ้นเป็นฮ่องเต้ องค์ถัดไป แต่จิ๋นซีหารู้ไม่ว่า เขามอบหมายงานให้ผิดคน
องค์ชายฝูซู นั้นเป็นคนจิตใจดี จนเข้าไปทูลเตือนจิ๋นซีฮ่องเต้บ่อยๆ จนถูกจิ๋นซีฮ่องเต้ ที่เป็นบิดา เนรเทศเขาไปคุมงานก่อสร้างกำแพงเมืองจีนที่กันดาร
แต่ด้วย ทั้งหลี่ซือ และ จ้าวเกา ขันทีคนสนิท ต่างก็เคยขัดแย้งกับ องค์ชายฝูซู นอกจากนี้ จ้าวเกานั้นเป็นอาจารย์ตั้งแต่เด็กของ องค์ชาย หูไห่อีกด้วย พวกเขาจึงวางแผนมอบตำแหน่งฮ่องเต้ให้กับองค์ชาย หูไห่ แทน
แต่จากจุดที่จิ๋นซีฮ่องเต้ สวรรคตนั้นห่างไกลจากเมืองเสียนหยางมาก ต้องใช้เวลาเดินทางถึง 2 เดือน กว่าจะถึงเมืองหลวงคือ เสียนหยาง กลิ่นศพคงคละคลุ้งไปหมด และเรื่องคงแตกก่อนเดินทางไปถึงเมืองเสียนหยางแน่นอน
หลี่ซือกับ จ้าวเกา จึงสั่งให้คนรับใช้ไปหาปลามาเพื่อบรรทุกให้เต็มคันรถไปด้วย เมื่อปลาเน่าก็เริ่มกลบกลิ่นศพของจิ๋นซีฮ่องเต้ไปด้วย ทำให้ผู้คนในขบวนเสด็จไม่มีใครเฉลียวใจ ระหว่างเดินทางก็ปลดม่านลงตลอด นอกจากนี้ หลี่ซื่อ ยังต้องทำเป็นเข้าไปรายงานเป็นการส่วนตัวกับ "ศพของจิ๋นซีฮ่องเต้" แน่นอน หลี่ซือ ต้องทนกับกลิ่นศพนานถึง 2 เดือนทุกวัน และยังจัดอาหาร 3 มื้อเฉกเช่นสมัยยังมีชีวิตอยู่อีกด้วย ผู้คนภายนอกหารู้ไม่ ฮ่องเต้ผู้ยิ่งใหญ่ที่รวบรวมประเทศจีนสำเร็จ ตอนนี้กลายเป็นศพไปแล้ว
ปลอมราชโองการ
ระหว่างเดินทางนี่เอง หลี่ซือ และ จ้าวเกา ได้ปลอมราชโองการ ส่งไปถึง รัชทายาทฝูซู ที่กำลังคุมงานก่อสร้างกำแพงเมืองจีน ให้ฆ่าตัวตาย ด้วยความจงรักภักดี องค์ชาย ฝูซู ก็ยอมฆ่าตัวตาย ตามราชโองการปลอม นอกจากนี้ยังสั่งประหาร เมิ่งเถียน
เมื่อเดินทางถึงเสียนหยาง ทั้งคู่จึงประกาศ ข่าวการตายของจิ๋นซีฮ่องเต้ แล้วยกให้ องค์ชาย หูไห่ ขึ้นเป็นฮ่องเต้ องค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์ฉินแทน ขึ้นเป็น ฉินเออร์ซื่อฮ่องเต้ ส่วน องค์ชาย หูไห่ ต่างตอบแทน จ้าวเกา ด้วยการเลื่อนตำแหน่งให้เป็น หลางจงลิ่ว กุมอำนาจภายในวังทั้งหมด
หลังจากนั้นค่อยจัดงานศพของจิ๋นซี โดยฝังที่เขาหลีซาน หรือเขาม้าดำ โดยฮ่องเต้ รัชกาลที่ 2 สั่งให้ เมียที่ไม่มีลูกกับจิ๋นซีฮ่องเต้ สั่งให้นำตัวไปฝังทั้งเป็นตามฮ่องเต้องค์ก่อนอีกด้วย ขณะที่ไม่นานถัดมาก็สั่งประหารลูกชายและลุกสาวของจิ๋นซีฮ่องเต้อีก รวม 22 คน
รวมถึง เมิ่งอี้ น้องชายของเมิ่งเถียนที่ยังเป็นแม่ทัพ ก็โดนสั่งประหารด้วย นอกจากนี้ยังสั่งประหารเสนาบดี ที่เป็นฝั่งตรงข้ามทั้งหมด แล้วก็สั่งขยายวังอี้ผาง ทำถนนเพื่อให้ฮ่องเต้เสด็จ ขนานใหญ่ และสุดท้ายคือ ขึ้นภาษีอย่างไม่หยุดยั้ง
ล่มสลาย
จ้าวเกานั้นเหิมเกริมหนักขนาดสั่งประหารบุคคลที่คิดจะทูลเตือน ฮ่องเต้องค์ใหม่ เรื่องความเดือดร้อนของประชาชน โดยจ้างเกานั้นถึงขนาดใส่ร้าย หลี่ซื่อ คนที่ปลอมราชโองการมาด้วยกัน ด้วยการยุยงให้ฮ่องเต้สั่งประหารด้วย วิธี 5 ม้าแยกร่างเลยทีเดียว และให้ จ้าวเกานั้น ขึ้นกุมอำนาจแทนหลี่ซือ
นอกจากนี้ เขาทดสอบว่า ใครซื่อสัตย์ต่อเขา ด้วยการเอากวางมา แล้วเขาชี้บอกว่า เป็นม้า หากใครตอบว่า เป็นกวาง ข้าราชการคนนั้นจะโดนสั่งประหาร จึงเกิดสำนวนที่ว่า "ชี้กวางเป็นม้า" แสดงถึงอำนาจของเขาในขณะนั้น
ในที่สุดปี 209 ก่อนคริสตศักราช ก็เกิดกบฎเฉินเชิง และหวู่กวง แต่รอบนี้ราชสำนักสามารถปราบสำเร็จ จนสุดท้าย หลิวปังร่วมมือกับ เซี่ยงอวี่ ก่อกบฎอีกทาง ฮ่องเต้องค์ใหม่รู้ความจริง ที่ถูกจ้าวเกาหลอกใช้ พยายามสั่งประหารจ้าวเกา แต่สายไปเสียแล้ว เพราะตอนนั้น จ้าวเกา คือ เจ้าของวังไปเสียแล้ว จ้าวเกาจึงสั่งปลงพระชนม์ ฮ่องเต้หูไห่ แทน ขณะอายุเพียง 24 ปี ในปี 207 ปีก่อนคริตศักราช จ้าวเกา ก็สถาปนา ซืออิง (子嬰) ขึ้นเป็นพระเจ้าฉินองค์ที่ 3 แทน แต่ ซืออิง นี่เองที่เป็นคนสั่งประหาร จ้าวเกา 9 ชั่วโคตร หลังจากนั้น ซื่ออิง นี่เองที่เป็นคนเปิดประตูวัง ยอมจำนน ต่อ กลุ่มกบฎของหลิวปัง ผู้สถาปนาราชวงศ์ฮั่น
ถือเป็นการจบสิ้นราชวงศ์ฉิน ที่มีอายุเพียง 15 ปี อย่างเป็นทางการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น