วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2563

50 ปี ไต้หวัน ภายใต้ญี่ปุ่น

หลี่เติงฮุย (李登輝) อดีตประธานาธิบดีไต้หวันคนแรกที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง เคยกล่าวไว้ว่า  “ผมคือคนญี่ปุ่น แต่ผมก็เป็นคนญี่ปุ่นที่ยังไงก็ไม่ใช่คนญี่ปุ่นอยู่ดี... ดังนั้นหากคนไต้หวันต้องการเป็นคนญี่ปุ่น เขาจะต้องเป็นญี่ปุ่นให้มากกว่าคนญี่ปุ่น”


ที่มา ไต้หวัน
ไต้หวัน เป็นเกาะที่อยู่ทางใต้ ญี่ปุ่น แต่อยู่เหนือฟิลิปปินส์ และอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจีน (อยู่ระหว่างเซี่ยงไฮ้ กับ ฮ่องกง) มีขนาดแค่ 3.6 หมื่นตารางกิโลเมตรเท่านั้น   ชาวพื้นเมืองดั้งเดิม มีลักษณะคล้ายคนฟิลิปปินส์ (อะบอริจิ้น) มากกว่า ชาวจีน

ในปี ค.ศ. 1517 นักเดินเรือชาวโปรตุเกสแวะมาตั้งชื่อให้กับเกาะนี้ว่า เกาะฟอร์โมซา (Formosa) แปลว่าเกาะสวยงาม โดยไม่ได้เข้ามารุกรานเกาะนี้แต่อย่างใด แค่ผ่านมาตั้งชื่อให้เฉยๆ ไม่ถึงร้อยปีถัดมา (ค.ศ. 1624) ชาวดัตช์ก็เข้ายึดเกาะนี้ไว้ และ 2 ปีถัดมาชาวสเปนก็เข้ามาแย่งชิงไป และชาวดัตช์ก็แย่งชิงกลับมาได้ในที่สุด (ค.ศ. 1641)

ฝ่ายปกครองจากแผ่นดินจีนคงยังไม่ได้สนใจเกาะนี้มากนัก ถ้าไม่เป็นเพราะศึกระหว่างราชวงศ์ชิงผู้ไล่ล่ากับผู้ภักดีต่อราชวงศ์หมิง คือ แม่ทัพเจิ้งเฉิงกงแห่งราชวงศ์หมิง ต้องล่าถอยจากแผ่นดินใหญ่มาตั้งหลักที่นี่ เจิ้งเฉิงกงจึงเปิดศึกขับไล่ชาวดัตช์ออกไป (ค.ศ. 1662) ไต้หวันจึงกลายเป็นฐานที่มั่นสุดท้ายของราชวงศ์หมิง และเมื่อราชวงศ์ชิงกำจัดฐานที่มั่นนี้ได้ ในปี ค.ศ. 1683 ไต้หวันจึงกลายเป็นหนึ่งในเขตปกครองของราชวงศ์ชิงของจีน

 ปี 1871 คนจากอาณาจักรริวกิว (ก่อนนะถูกผนวกเป็นญี่ปุ่น)  เดินทางมา 69 คน ก็อ้างสิทธิในดินแดนนี้ 1872 อาณาจักรริวกิวอ้างว่า เกาะไต้หวันเป็นของอาณาจักรริวกิว ซึ่งเป็นของญี่ปุ่น เพราะไม่มีวัฒนธรรมจีนอยู่เลย แต่จีนอ้างว่า มีคนบางส่วนเท่านั้นที่เป็นคนจีน ส่วนที่เหลือเป็นคนป่าเถือน  จึงเป็นรัฐเอกราชของจีน

ในช่วงที่ราชวงศ์ชิงปกครองเกาะไต้หวัน ชาวไต้หวันส่วนใหญ่ซึ่งอพยพมาจากมณฑลฝูเจี้ยน (福建) และมณฑลกว่างตง (廣東) ที่มีฐานะยากจน กลุ่มคนเหล่านี้มิได้มีวัฒนธรรมอันรุ่งเรืองติดตัวมาด้วย ทำให้มีเพียงวัฒนธรรมของชนพื้นเมืองดั้งเดิมที่ค่อนข้างชัดเจน

หลังจากจีนพ่ายแพ้ญี่ปุ่นในสงครามซิโนจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง (甲午戰爭) หรือ สงครามเจี๋ยอู่ ( 甲午戰爭)  ในปี  ค.ศ. 1895  ทำให้จีนต้องเซ็น สนธิสัญญาชิโมโนเซกิ ภาษาจีนเรียกว่า"สนธิสัญญาหม่ากวน"  กคาบสมุทรเหลียวตง เกาะไต้หวัน และดินแดนเผิงหูให้ญี่ปุ่นทั้งหมด แถมต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามสูงถึง 200,000,000 ตำลึง

การเข้ามาช่วงแรก อาณานิคมของญี่ปุ่น
วันที่ 25 พฤษภาคม 1895 ไต้หวันก็เกิดโกลาหล กลุ่มชาวจีนประกาศเอกราชจากจีน และประกาศสาธารณรัฐโปรตุเกส (ฟอร์โมซ่า) และชิงเลือกตั้งประธานธิบดี แต่ผู้ได้รับเลือกกลับหนีไปจีนแผ่นดินใหญ่ ครั้งนี้เองที่กองทัพญี่ป่นนั้นไล่สังหารกลุ่มทหารอาสาท้องถิ่นอย่างดุเดือด และสามารถปราบได้ในเดือนตุลาคม  ประธานธิบดีคนที่สองก็หนีกลัจีนแผ่นดินใหญ่เช่นกัน ทำให้สาธารณรัฐโปรตุเกส มีอายุเพียง 182 วัน ทางนายพล คาบายามะ ซูเคโนริ รายงานกลับญ๊่ปุ่นว่า เกาะนี้ปลอดภัย แต่ก็มีการสังหารคนไต้หวันที่ต่อต้านอยู่เนืองๆ คาดว่า ระยะเวลาการเข้าปกครองของญี่ปุ่นช่วงแรกมีคนไต้หวันเสียชีวิตประมาณ 14000 คน (ประมาณ 0.9% ของจำนวนประชากร

เหลียวไท่ชิงกลายเป็นบุคคลที่มีรูปร่างเหมือนโรบินฮู้ดในการต่อต้านญี่ปุ่น

กองทัพญี่ปุ่นเดินทางมาถึง พฤษภาคม 1895  พร้อมกับคำถามทั่วโลกว่า ญี่ปุ่นไม่ใช่ตะวันตกจะมีอาณานิคมได้หรือไม่  โดยในปี 1897 รัฐบาลญี่ปุ่นมีการถกเถียงกันว่า จะขายเกาะนี้ให้กับฝรั่งเศสดีหรือไม่ แต่แล้วญี่ปุ่นก็ตัดสินใจ จัดตั้งองค์กรเพื่อปกครองไต้หวันขึ้นโดยทหารญี่ปุ่น เพื่อใช้ปราบปรามการก่อความไม่สงบ

โดยมีการแต่งตั้ง Kodama Gentaro ขึ้นมาปกครองด้านความมั่นคง  และพลเรือนที่เก่งกาจ คือ Goto Shimpei (มือขวาของเรียวมะ) มาเป็นหัวหน้าฝ่ายมหาดไทย นี่คือจุดเริ่มต้นของรัฐบาลอาณานิคมของญี่ปุ่น  โดยวางกฎหมายใหม่ทั้งหมดที่แตกต่างจากกฎหมายที่ ญี่ปุ่น ขณะนั้น คนญี่ปุ่นหลายคนยังเชื่อว่า เกาหลีและไต้หวัน มีวัฒนธรรมที่ใกล้เคียงญี่ปุ่นและสามารถกลมกลืนกันได้ แทนที่ญี่ปุ่นจะปกครองแบบอาณานิคม อย่างไรก็ดีในช่วงแรกของการเข้ามาของญี่ปุ่น พวกเขาเลือกปกครองแบบอาณานิคม

โดย่ช่วงแรกนั้น เศรษฐีและขุนนางจำนวนมากเดินทางกลับจีนแผ่นดินใหญ่ เพราะหวั่นเกรงความไม่ปลอดภัย ส่วนชาวไต้หวันที่ยังอยู่บนเกาะรวมตัวกันต่อต้านจักรวรรดิญี่ปุ่นอย่างหนัก แม้ญี่ปุ่นจะพยายามเผยแพร่วัฒนธรรมญี่ปุ่น แต่ชาวไต้หวันยังคงยืนหยัดในการศึกษาวัฒนธรรมดั้งเดิมของตน ในด้านการศึกษา ญี่ปุ่นผลักดันนโยบาย “การศึกษาของพลเมือง” เด็กทุกคนต้องได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานหกปี

ชาวไต้หวันบางส่วนยังคงยืนหยัดศึกษาและเผยแพร่วัฒนธรรมจีน ประชาชนบางส่วนนิยมรวมตัวกันที่ศาลเจ้าเพื่อทำกิจกรรม เช่น เล่าเกร็ดเกี่ยวกับประเทศจีน ชมงิ้ว ฟังดนตรี ฯลฯ ต่อมามีปัญญาชนไต้หวันก่อตั้งโรงเรียนที่เรียกว่า “ซูฝาง” (書房) เพื่อเผยแพร่ภาษาและวัฒนธรรมจีนมิให้สูญหาย เมื่อญี่ปุ่นพัฒนาด้านการศึกษาอย่างจริงจัง ซูฝางยังช่วยเสริมความรู้ควบคู่ไปกับการเรียนการสอนปกติของโรงเรียน

เมื่อญี่ปุ่นเข้าปกครองไต้หวัน ชาวไต้หวันก็กลายเป็นพลเมืองชั้น 2 ไปโดยปริยาย ชาวญี่ปุ่นมีสิทธิต่างๆ เหนือกว่าชาวไต้หวันในหลายด้าน เช่น การเลือกตั้ง การประกอบกิจการ ฯลฯ รัฐบาลญี่ปุ่นแต่งตั้งข้าราชการในหน่วยงานราชการขั้นพื้นฐานกว่าครึ่งขึ้นเอง อาชีพที่สงวนไว้สำหรับชาวญี่ปุ่นคือผู้พิพากษา ช่างฝีมือระดับสูง และผู้บริหารราชการ ส่วนชาวไต้หวันที่มีศักยภาพขณะนั้นนิยมประกอบอาชีพทนายความ หรือ แพทย์

รัฐบาลญี่ปุ่นไม่ส่งเสริมให้ชาวไต้หวันประกอบกิจการขนาดใหญ่ เช่น อนุญาตให้บริษัทญี่ปุ่นดำเนินกิจการโรงงานน้ำตาลขนาดใหญ่ได้เท่านั้น แม้โรงงานน้ำตาลช่วยยกระดับเทคโนโลยีการผลิตของไต้หวัน แต่เป็นการผูกขาดทรัพยากรธรรมชาติ และถือเป็นการผูกขาดการเลือกสินค้าด้านการเกษตรของประชาชนด้วย ผู้บริหารและผู้ควบคุมโรงงานที่รู้วิธีบริหารจัดการล้วนเป็นชาวญี่ปุ่น ส่วนชาวไต้หวันเป็นเพียงคนงานทั่วไปเท่านั้น มีเพียงธุรกิจขนาดเล็กเกี่ยวกับการเกษตรที่ญี่ปุ่นอนุญาตให้ชาวไต้หวันเป็นเจ้าของ ได้แก่ ธุรกิจขนส่งสินค้าเกษตร ธุรกิจสีข้าว ธุรกิจโม่แป้ง ฯลฯ

ชาวไต้หวันจำนวนมากไม่เห็นด้วยกับการกดขี่ข่มเหงของญี่ปุ่น พยายามเรียกร้องความเท่าเทียม หลายต่อหลายครั้งที่ประชาชนและชาวพื้นเมืองพากันลุกฮือ แต่ทุกครั้งล้วนประสบความล้มเหลว บ้างถูกกวาดล้างอย่างรุนแรงจากกำลังทหาร บ้างก็ถูกสังหารหมู่

ดูดซึม
แต่เหตุการณ์ต่อต้านที่รุนแรงสุด เกิดใน่ช่วงปลายปี 1915 ซึ่งเรียกว่า เหตุการณ์ Tapani  หลังเหตุการณ์ นี้ญี่ปุ่นก็เปลี่ยนนโยบายให้ผ่อนปรนมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงก่อนที่ญี่ปุ่นจะเข้าสู่สงครามจีน ญี่ปุ่นครั้งที่ 2  ที่มีชาวไต้หวัน คือ Xie Jishi ที่เกิดที่ไต้หวัน แต่ได้เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศของแมนจูกัว และญี่ปุ่น นอกจากนี้ ญี่ปุ่นเปลี่ยน เป็น นโยบาย ดูดซึมวัฒนธรรม แทน โดยเฉพาะการศึกษาที่ใช้ภาษาญี่ปุ่น การแพทย์ และศาสนาชินโต และเริ่มถ่ายทอดเทคโนโลยี

ญี่ปุ่นพัฒนาเกาะไต้หวัน
จักรวรรดิญี่ปุ่นดำเนินการปฏิวัติเกษตรกรรมในไต้หวัน ซึ่งถือเป็นการปฏิวัติเกษตรกรรมครั้งแรกของเอเชีย ญี่ปุ่นส่งเสริมการทำปศุสัตว์ เพาะปลูกพืชชนิดใหม่ ใช้ปุ๋ยเคมี วางแผนระบบชลประทาน ฯลฯ นอกจากนี้ยังตั้งโรงงานน้ำตาลทดแทนการทำน้ำตาลที่ใช้แรงงานมนุษย์และสัตว์แบบเดิม จนน้ำตาลกลายเป็นสินค้าที่สร้างรายได้มหาศาล

ไต้หวันยังได้รับการพัฒนาด้านต่างๆ เช่น เริ่มใช้ไฟฟ้า สร้างทางรถไฟเชื่อมโยงกันเป็นระบบ ก่อตั้งธนาคารไต้หวัน รวมทั้งเปิดท่าเรือสำคัญสองแห่ง คือ ท่าเรือเกาสง (高雄港) และท่าเรือจีหลง (基隆港) ขณะเดียวกันเกษตรกรญี่ปุ่นจำนวนหนึ่งก็ย้ายถิ่นฐานมาตั้งรกรากที่ภาคตะวันออกของเกาะไต้หวันซึ่งเรียกว่าโฮ่วซาน (後山) ส่งผลให้พื้นที่โฮ่วซานซึ่งไร้ประโยชน์ กลายมาเป็นแหล่งเพาะปลูกที่ให้ผลผลิตจำนวนมาก

ขณะที่ระบบชลประทานที่ญี่ปุ่น สร้างไว้ เช่น อ่างเก็บน้ำหวู่ซานโต ที่เป็นเขื่อนขนาดใหญ่ที่สุดในย่านนั้นถูกสร้างขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1920  เพราะที่ราบ Chianan มักเกิดปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้งและดินเค็ม เมื่อสร้างเขื่อนเสร็จ ชาวบ้านก็สามารถเพาะปลูกได้ โดยมีรูปปั้นของวิศวกร ยัตตะ โยอิจิ เป็นอนุสรณ์สถานเพื่อรำลึกเกี่ยวกับบุคคลผู้นี้

ส่วนด้านสาธารณสุข ญี่ปุ่นได้จัดตั้งตำรวจอนามัย มีหน้าที่ควบคุมดูแลสุขอนามัยของประชาชนในชีวิตประจำวัน มาตรการด้านสาธารณสุขที่เข้มงวดทำให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ขณะเดียวกันญี่ปุ่นก็ผลักดันการแพทย์สมัยใหม่ ด้วยการฝึกอบรมแพทย์จากมหาวิทยาลัยไถเป่ยตี้กั๋ว (台北帝國大學) ให้ออกรักษาผู้ป่วยตั้งแต่เมืองใหญ่ไปจนถึงชนบทห่างไกล นอกจากนี้ยังนำเอาวัฒนธรรมต่างๆ มาถ่ายทอดสู่ไต้หวัน ทั้งในด้านภาษาศาสตร์ ศาสนา ศิลปะ ดนตรี ฯลฯ

ในช่วงครึ่งหลังของการปกครอง ชาวไต้หวันเริ่มยอมรับวัฒนธรรมญี่ปุ่น มีการใช้ภาษาญี่ปุ่นในชีวิตประจำวัน ใน ค.ศ. 1940 ทำเนียบผู้ว่าการประกาศสนับสนุนให้ชาวไต้หวันใช้ชื่อญี่ปุ่นแทนชื่อจีน นอกจากนี้รัฐบาลญี่ปุ่นยังส่งเสริมให้ประกอบพิธีกรรมของศาสนาชินโตอย่างแพร่หลาย


ความสัมพันธ์ระหว่างไต้หวันกับจีนแผ่นดินใหญ่
ใน ค.ศ. 1911 เกิดการปฏิวัติซินไฮ่ (辛亥革命) และการสถาปนาสาธารณรัฐจีน การปฏิวัติครั้งนี้ชาวไต้หวันหลายคนได้เข้าร่วมด้วย เช่น หลัวฝูซิง (羅福星 ค.ศ. 1886-1914) ผู้เคยเป็นสมาชิกพรรคปฏิวัติของซุนยัดเซ็น (孫中山 ค.ศ. 1866-1925) ต่อมาการเคลื่อนไหว 4 พฤษภาคม (五四運動) ค.ศ. 1919 ก็มีชาวไต้หวันเข้าร่วมเช่นกัน อันที่จริงชาวไต้หวันและชาวจีนแผ่นดินใหญ่มิได้ตัดขาดความสัมพันธ์กันเสียทีเดียว ทั้งสองฝ่ายยังไปมาหาสู่กันเช่นเดิม ผู้นำการปฏิวัติฝั่งจีนแผ่นดินใหญ่ เช่น ซุนยัดเซ็น และเหลียงฉี่เชา (梁啟超) ก็เคยเดินทางมาที่เกาะไต้หวัน และได้รับการต้อนรับอย่างดีจากชาวไต้หวัน
หลังจากเกิดสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่ 2 (中日戰爭) และสงครามมหาเอเชียบูรพา (太平洋戰爭) ญี่ปุ่นได้เพิ่มมาตรการควบคุมไต้หวันเข้มงวดมากยิ่งขึ้น

ความลำบากของชาวไต้หวันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1939-1945) ญี่ปุ่นต้องการแรงสนับสนุนจากไต้หวันอย่างมาก โดยเฉพาะทรัพยากร และวัสดุต่างๆที่ผลิตที่ไต้หวัน เพื่อใช้ทำสงคราม นั่นทำให้ญี่ปุ่นยิ่งเน้นการหล่อหลอมไต้หวันให้เป็นเนื้อเดียวกับคนญี่ปุ่น พวกเขาเปลี่ยนนโยบาย ดูดซึม เป็น  ยุทธการ Kōminka คือหล่อหลอมอย่างสมบูรณ์ โดยมุ่งเน้นสร้างจิตวิญญาณแบบญี่ปุ่น และเน้นให้ชาวไต้หวันเข้าร่วมสงคราม

ยุทธการนี้ มีตั้งแต่ ให้ชาวไต้หวัน พูดภาษาญี่ปุ่น  ใส่ชุดแบบญี่ปุ่น อยู่บ้านแบบญี่ปุ่น และเปลี่ยนศาสนาเป็นชินโต โดยปี1940 มีการออกกฎหมายยอมรับให้เปลี่ยนชื่อเป็นชื่อภาษาญี่ปุ่น นอกจากนี้ ยังสนับสนุนให้มีการก่อตั้งกองทัพอาสาชาวไต้หวัน เพื่อมุ่งหน้าสู่สงครามอีกด้วย  โดยที่โด่งดัง คือ หน่วยอาสา ทาคาซาโกะ หน่วยอาสาสมัครที่ก่อตั้งขึ้น โดยตระกูลทาคาซาโกะและชาวไต้หวันท้องถิ่นที่ต้องการช่วยเหลือกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น

ชาวไต้หวันจำนวนมากโดยเฉพาะแพทย์ ถูกส่งตัวไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีนเพื่อช่วยเหลือ กองทัพญี่ปุ่น ย้อนกลับไปค.ศ. 1932 ญี่ปุ่นก่อตั้งประเทศแมนจูกัว (滿洲國) ได้สำเร็จ ขณะนั้นชาวไต้หวันทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีนยังคงมีสถานะด้อยกว่าชาวญี่ปุ่น แต่สูงกว่าชาวจีนท้องถิ่น ฝ่ายญี่ปุ่นไม่นับว่าชาวไต้หวันเป็นชาวญี่ปุ่น ส่วนชาวจีนแผ่นดินใหญ่มองว่าชาวไต้หวันเป็นพวกญี่ปุ่น ปรากฏการณ์นี้ทำให้ชาวไต้หวันสับสนกับสถานภาพของตนเอง

ช่วงหลังของสงครามมหาเอเชียบูรพา ชาวไต้หวันนับหมื่นคนถูกส่งตัวไปทำสงครามอยู่ในแถบหนานหยาง (南洋) ซึ่งส่วนใหญ่ล้มตายและบาดเจ็บจำนวนมาก  และบางส่วนถูกส่งไปทำงานที่โรงงานเครื่องบินที่ญี่ปุ่น ทดแทนแรงงานญี่ปุ่นที่ขาดแคลน

ขณะนั้นเสบียงอาหารของญี่ปุ่นเริ่มร่อยหรอ ชาวไต้หวันจึงได้รับส่วนแบ่งน้อยลง ส่งผลให้ชาวไต้หวันต้องอยู่อย่างอดๆ อยากๆ ไม่ต่างกับการถูกบังคับให้เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างไม่ยินยอมพร้อมใจ

ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐอเมริกามองว่า เกาะไต้หวันมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ต่อญี่ปุ่น กองทัพอเมริกันจึงวาแผนโจมตีเกาะไต้หวัน เดือนตุลาคม ค.ศ. 1944 กองทัพอเมริกันทิ้งระเบิดโจมตีเกาะไต้หวัน ทำให้ถนนหนทาง ทางรถไฟ ท่าเรือ โรงงาน รวมทั้งสถานที่ราชการได้รับความเสียหายอย่างหนัก ธุรกิจต่างๆ ได้รับผลกระทบ สถานการณ์ตึงเครียดเช่นนี้ทำให้ชาวเมืองจำนวนมากอพยพไปยังชนบท

สิ้นสุด สงครามโลกเมื่อปี ค.ศ. 1945
ต่อมาอเมริกาทิ้งระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิม่าและนางาซากิ ส่งผลให้ญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้สงครามในวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1945 พร้อมกับประกาศยกเลิกการปกครองไต้หวันอย่างเป็นทางการ ด้วยเหตุนี้

ญี่ปุ่นทิ้งหลายสิ่งหลายอย่างไว้บนเกาะไต้หวัน หากมองในแง่ดี ญี่ปุ่นนำพาเอาความทันสมัยและเทคโนโลยีเข้ามาสู่เกาะไต้หวัน แต่หากมองในแง่ร้าย ชาวไต้หวันถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างหนักในหลากหลายด้าน ปัจจุบันเกาะที่งดงามแห่งนี้ยังคงหลงเหลือกลิ่นอายวัฒนธรรมญี่ปุ่นอยู่ไม่น้อย และเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร แม้ไต้หวันจะได้รับอิสรภาพจากญี่ปุ่นมานานกว่า 70 ปี แต่สถานะของไต้หวันก็ยังคงคลุมเครือในสายตาชาวโลกอยู่จนถึงทุกวันนี้

ไต้หวันกลับคืนสู่จีนหลังจากญี่ปุ่นพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่สองในปี ค.ศ. 1945 แต่ในแผ่นดินใหญ่ยังคงต่อเนื่องด้วยสงครามกลาง เมืองระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์และพรรคก๊กมินตั๋ง

พรรคก๊กมินตั๋ง
แต่สุดท้ายเกาะสวยงามแห่งนี้ ก็ไม่พ้นวิบากกรรม  สุดท้ายพรรคก๊กมินตั๋งพ่ายแพ้และถอยร่นจนต้องหลบหนีมาที่ไต้หวัน คล้ายกับ ทัพของเจิ้งเฉิงกง แห่งราชวงศ์หมิง

เจียงไคเช็ก ผู้นำรัฐบาลก๊กมินตั๋ง ไม่ได้ถอยร่นมาไต้หวันมาตัวเปล่าๆ นอกจากเงินทองซึ่งเป็นทุนสำรองของจีนมากที่สุดเท่าที่จะขนมาได้ กับสมบัติในพระราชวังต้องห้ามกว่า 20 ลำเรือ ยังนำผู้คนถึง 1.5 ล้านคนข้ามมาด้วย และส่วนใหญ่คือ ทหาร พ่อค้า ปัญญาชน

สรุป 
ญี่ปุ่นได้บังคับยึดครองเกาะไต้หวันซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของจีน พร้อมกับใช้เกาะไต้หวันเป็นแหล่งทรัพยากรและปราการด่านแรกทางทิศใต้ของประเทศ ญี่ปุ่นปกครองไต้หวันตั้งแต่ยุคราชวงศ์ชิง ค.ศ. 1895 จนถึงยุคสาธารณรัฐจีนใน ค.ศ. 1945

ช่วงเวลา 50 ปีอาจดูยาวนาน ตลอดระยะเวลาดังกล่าวญี่ปุ่นพัฒนาไต้หวันในหลากหลายด้าน ทั้งด้านการศึกษา เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ฯลฯ จนไต้หวันก้าวเข้าสู่ความทันสมัยอย่างรวดเร็ว

อย่างไรก็ดี มรดกกรณี สนธิสัญญา ชิโมโนเซกิ ยังมีอีกเรื่อง คือ กรณีพิพาท หมู่เกาะ เซ็งกากุ ที่เป็นเกาะร้างขนาดเล็ก ระหว่าง จีน กับ ญี่ปุ่นอีกด้วย

ใครที่มีเพื่อนเป็นชาวไต้หวัน บอกผมหน่อย ว่า คุณอยากเป็นคนจีน หรือ คนญี่ปุ่นมากกว่ากัน

วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2563

จี่เสี้ยงหลาน ขุนนางเจ้าสำราญ ข้างกาย เฉียนหลงฮ่องเต้

จี่เสี้ยงหลาน (纪晓岚) (1724 - 1805) ขุนนางนักปราชญ์ ข้างกาย เฉียนหลงฮ่องเต้

ยุคสมัยอันรุ่งเรืองของแผ่นดินจีน ภายใต้เฉียนหลงฮ่องเต้ ราชวงศ์ชิง นั้นมี เหอซิน เป็น ขุนนางกงฉิน แต่เหอซิน เป็นคนโปรดของเฉียนหลง มีตำแหน่งใหญ่โต นั่งควบหลายตำแหน่งเป็นรองก็แค่เฉียนหลง ฮ่องเต้ แต่มีขุนนางตงฉินคนหนึ่งในยุคสมัยเดียวกันเป็นนักปราชญ์ฝีปากกล้า นั่นคือ จี่เสี้ยงหลาน นั่นเอง

หลายคนเชื่อว่า จี่เสี้ยงหลาน  นี่คือ ต้นแบบของอุ้ยเสี่ยวป้อในนิยายของกิมย้ง แต่อุ้ยเสี่ยวป้อไม่มีตัวตนจริง แต่จี่เสี้ยงหยาน นั้นมีตัวตนจริงแต่อยู่ในยุคของหลานคังซีฮ่องเต้ นั่นคือ ยุคของเฉียนหลงฮ่องเต้

---------------

จี่เสี้ยงหลาน เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1724 ในรัชสมัยฮ่องเต้หย่งเจิ้ง ที่เหอเจียน มณฑลเหอเป่ย เป็นลูกของรัฐมนตรีมหาดไทย และนักโบราณคดี จี่เสี้ยงหยาน เป็นคนฉลาด มีไหวพริบ สนุกสนาน เฮฮา แต่ก็เป็นคนซื่อตรง เขาฉายแววอัจฉริยะตั้งแต่เด็ก จนมีฉายาว่า “อัจฉริยะแห่งเหอเจียน” บันทึกระบุว่า  เขามีความจำเป็นเลิศ  อ่านหนังสือเพียงรอบเดียวก็สามารถจดจำได้หมด นอกจากนี้ เขายังมีความสามารถพิเศษ คือ เขาสามารถมองกลางคืนได้เหมือนกลางวัน แต่ความสามารถนี้ค่อยๆหายไปเมื่อโตขึ้น

อายุ 8 ขวบ พ่อของเขาพา จี่เสี้ยงหลาน ไปสมัครทดสอบความเป็นอัจฉริยะ ผ.อ.อำนวยการสอบครั้งนั้น รับราชการมาได้ 3 ปี เห็นเด็กอายุ 8 ขวบมาสมัคร ก็อยากลองภูมิ วัดความเก่งด้านวิชาการด้วย การแต่งกลอนต่อกลอน ผ.อ. 3 ปี จึงเปิดกลอนด้วย

เด็กน้อย 8 ขวบรึ จะมุ่งมั่นสอบ...
จี่เสี้ยงหลาน ไม่รีรอ ต่อ กลอนตอบกลับทันที ...
ขุนนนาง 3 ปีรึ จะซื่อสัตย์ภักดี...
ผ.อ.อำนวยการสอบถึงกับอึ้งกับคำตอบ

สมัยวัยรุ่นอายุ 18 ปี ในบันทึกราชวงศ์ชิง บันทึกว่า เขาหมกมุ่นในเรื่องกามรมย์อย่างหนัก เขามักหมกตัวอยู่ในหอโคมแดง โดยบางวัน เขาจัดทั้งเช้า กลางวัน และเย็นถึงดึกอีก 3 รอบ เลยทีเดียว ว่ากันว่า เขาสามารถเสร็จสมถึง 5 ครั้งในหนึ่งวัน วนไปแบบนี้ตลอดทุกวัน เรื่องการหมกตัวในหอโคมแดงนี้ เขาเที่ยวตั้งแต่วัยรุ่นไปถึงแก่เลยทีเดียว

นอกจากนี้ เขายังชอบกินเนื้อหมูเป็นชีวิตจิตใจ ในหนึ่งมื้อเขากินเนื้อสัตว์ไปหลายชั่ง และเกลียดการกินข้าวมาก ถึงขนาดมีกลอนว่า การกินข้าว เป็นการดูถูกกระเพาะของตนเอง  แต่ในระยะหลังเขาหันไปกินเนื้อวัวแทน แต่เขาก็ไม่แตะเนื้อเป็ด เพราะเขากินแล้วจะอาเจียน
.
ปี ค.ศ. 1747 อายุ 23 ปี สามารถสอบบัณฑิตระดับจังหวัดได้ อีก 7 ปีต่อมาเขาก็เข้าสอบบัณฑิตระดับราชวัง (จองหงวน) ได้อันดับ 22 ของประเทศ (ตำแหน่งจองหงวน คือต้องได้อันดับหนึ่งของประเทศเท่านั้น)

แม้ว่า จี่เสี้ยงหลาน จะสามารถสอบผ่านการคัดเลือกรับราชการ แต่เพราะเป็นคนขี้เหร่ (บันทึก ระบุว่า สมัยวัยรุ่นถึงกลางคน เขาเป็นคนที่อ้วนและตัวดำ) มีลักษณะพูดติดอ่าง แถม สายตาสั้น ฮ่องเต้เฉียนหลงที่ยึดหลักการคัดเลือกคนเข้าทำงาน แม้ จี่เสี้ยงหลาน จะมีความสามารถเป็นเลิศ แต่เมื่อจี่เสี้ยงหลาน บุคลิกไม่ดี จึงให้แค่ตำแหน่งงาน เสนาบดีด้านพิธีการ เท่านั้น เป็นตำแหน่งที่ไม่มีบทบาทความสำคัญใดๆ  แต่กลับเป็นตำแหน่งขุนนางที่ได้ใกล้ชิดฮ่องเต้มากที่สุด

อย่างไรก็ดี มีบันทึกระบุว่า เขาสะสมหนังสือนับหมื่นเล่มที่บ้านของเขา โดยถูกเก็บในโกดังส่วนตัวของเขาถึง 4 แห่ง

เฉียนหลงไว้วางใจและเชื่อใจเขาอย่างมาก ทำให้มักจะมอบหมายงานเล็กๆ ให้เขาไปทำหน้าที่แทน เช่น เป็นประธานอำนวยการสอบบัณฑิตระดับราชวัง

ทดสอบปัญญา
วันหนึ่งมี ขันทีแก่คนหนึ่ง เดินทามาจากใต้ การพูดจึงมีสำเนียงใต้  เห็น จี่เสี้ยงหลาน และได้ยินกิตติศัพท์ด้านความรู้ของเขาก็ต้องการทดสอบภูมิของเขา โดยเริ่มถามเป็นกลอนสำเนียงทางใต้ว่า "คนตัวเล็ก  ฤดูหนาว สวมใส่เสื้อ ฤดูร้อน สบัดพัด  ฤดูใบไม้ผลิ เขาจะต้องทำอะไร"

จี่เสี้ยงหลาน ต่อกลอนกลับไปทันทีว่า  "ขันทีแก่ เดินทางมาเหนือ เขาต้องทำอะไร แล้วรอฤดูอะไรอยู่"
เมื่อตอบกลับไปดังนี้  ขันทีแก่ ก็ได้แต่ชื่นชมเขา

แต่งกลอนหนึ่ง
เมื่อฮ่องเต้เฉียนหลงนั้น ชอบตั้งโจทย์ เพื่อให้  จี่เสี้ยงหลาน ตอบ

ครั้งหนึ่งที่ประพาสทางใต้ ระหว่างล่องเรือในทะเลสาบ ฮ่องเต้เห็นชายชรานั่งตกเบ็ดบนเรือลำน้อยอย่างสบายใจ อารมณ์ศิลปินจึงเกิด เขาต้องการแต่งกลอนไว้เป็นที่ระลึก เฉียนหลงจึงโยนไปให้จี้เสี่ยวหลานช่วยแต่งกลอน โดยมีโจทย์ว่าต้องมี คำว่า หนึ่ง อยู่ในกลอนนั้น 10 คำ

“หนึ่งถ่อ หนึ่งพาย หนึ่งเรือน้อย
หนึ่งประมง หนึ่งคันเบ็ด
หนึ่งเคาะ หนึ่งครวญ อีกหนึ่งยิ้ม
หนึ่งครองครอบ หนึ่งธารน้ำ”

ในที่สุด จี่เสี้ยงหลาน ก็สามารถใช้ไหวพริบแต่งเป็นกลอน เชิดชู เอาใจ เฉียนหลงฮ่องเต้ ที่ได้ครอบครองแผ่นดินทางใต้ ได้

สูบบุหรี่
จี่เสี้ยงหลาน เป็นคนสูบบุหรี่ จนเขามีฉายาในวังว่า "จี่เสี้ยงหลาน ถุงกระเป๋า" เพื่อเอาไว้ดับบุหรี่ แต่ครั้งหนึ่งเฉียนหลงมีความกังวลใจอย่างมาก จึงอยากไหว้เจ้า และรีบเรียกใช้งาน จี่เสี้ยงหลาน อย่างเร่งด่วน ทำให้เขาไม่มีเวลาดับบุหรี่ ดังนั้นเขาจึงต้องซ่อนกระเป๋าบุหรี่ไว้ในรองเท้าเพื่อรีบตามไปไหว้เจ้า ควันไฟไหม้ในรองเท้า ทำให้จี่เสี้ยงหยาน ต้องทนต่อความเจ็บปวด และหวังว่าเฉียนหลงฮ่องเต้จะไหว้เจ้าเสร็จในไม่ช้า จนควันออกมาจากกางเกงของเขา ฮ่องเต้ถามเขาว่าเกิดอะไรขึ้น จี่เสี้ยงหลาน  รีบตอบกลับไปว่า: "ไฟ! ไฟไหม้" ฮ่องเต้รีบไล่เขาออกไปดับไฟ  จี่เสี้ยงหลาน ต้องรีบวิ่งออกไปด้วยเท้าข้างเดียว หลังจากวันนั้น จี่เสี้ยงหลาน ก็ต้องก็ต้องถือไม้เท้าช่วยเดินไว้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง

ตงฉิน กับกังฉิน
ครั้งหนึ่ง ในพระราชอุทยาน ฮ่องเต้มองหน้าขุนนางคนโน้นที คนนี้ที แล้วนึกในใจ ต่อมาก็หันไปถามจี่เสี้ยงหยาน

“บอกข้าหน่อยได้ไหม ความแตกต่างระหว่างตงฉินกับกังฉิน”

จี่เสี้ยงหยาน  นึกไม่ทันฮ่องเต้ ก็ตอบกลับไปแบบซื่อๆ ว่า  “ตงฉินย่อมซื่อสัตย์จงรักภักดี กังฉินย่อมคดโกงปลิ้นปล้อน”

“ซื่อสัตย์ จงรักภักดีมีความหมายอย่างไร” ฮ่องเต้ถามต่อ

“ย่อมหมายถึงรับใช้ฮ่องเต้ ถึงขนาดสามารถถวายชีวิตเป็นราชพลี” จี่เสี้ยงหยาน กราบทูล

จบคำกราบทูลนี้ ฮ่องเต้เฉียนหลงทรงจ้องหน้า จี่เสี้ยงหยาน  “ท่านเป็นตงฉินหรือกังฉิน”

“ข้าฯเป็นตงฉิน”

“หมายความว่า ถ้าข้าสั่งให้ท่านไปตาย ท่านก็พร้อมจะตายโดยไม่บิดพลิ้วกระนั้นหรือ” ฮ่องเต้เสียงเข้ม

จี่เสี้ยงหยาน  กราบทูลเสียงเข้ม “ใช่แล้ว พ่ะย่ะค่ะ”

โดยที่ไม่มีใครได้ทันคาดคิด เฉียนหลงทรงสั่งเสียงดังว่า “ท่านจี้ไปกระโดดน้ำตายที่สระน้ำตรงนั้นเดี๋ยวนี้”

จี่เสี้ยงหยาน อึ้ง แต่เมื่อเห็นสีหน้าของเฉียนหลงจริงจัง ก็เดินไปที่ริมสระน้ำตามรับสั่ง ถอดเสื้อคลุมพระราชทานออก ตั้งท่าจะกระโดดน้ำ แต่ก็หยุดชะงัก แล้วอ้าปากเหมือนพูดอะไรอยู่กับใครสักคน

ฮ่องเต้ เฉียนหลง ทรงจ้องตาไม่กะพริบ เมื่อไหร่ขุนนางนักปราชญ์คนโปรดจะกระโดดลงน้ำ แต่ทรงผิดคาด จี่เสี้ยงหยาน เดินย้อนกลับมากราบทูลว่า ข้ากำลังจะกระโดดลงน้ำอยู่แล้ว แต่มีเงาคนในสระน้ำยกมือห้าม

“ใครห้าม” ฮ่องเต้ถาม “ท่าน ฌีหยวน ห้าม” จี้เสี่ยวหลานตอบ

ฌีหยวน เป็นกวีเอกของจีนยุคโบราณ รับราชการเป็นรองนายกฯรัฐฉู่ แต่ถูกพวกกังฉินสุมหัวกันใส่ความ ต้องลาออก เนรเทศตนเองไปอยู่บ้านนอก วันหนึ่งก็ไปกระโดดน้ำตาย

ชาวบ้านรักฌีหยวน เมื่อรู้ข่าวก็ชวนกันเอาข้าวห่อไปทิ้งลงน้ำ ตั้งใจให้สัตว์น้ำกินข้าวห่อแทนแทะศพฌีหยวน จนเกิดเป็นประเพณีกินบ๊ะจ่าง เพื่อรำลึกถึงวัน ฌีหยวน ฆ่าตัวตาย

ฮ่องเต้ถาม เหตุใด ฌีหยวนถึงห้ามท่าน จี่เสี้ยงหยานตอบว่า วิญญาณ ฌีหยวน สถิตในน้ำนิรันดร บอกว่า "ข้าตายไม่ได้ เพราะชีวิตของข้านั้นเป็นเรื่องเล็ก แม้ คนภายหลังจะชื่นชมว่า ข้าตายเพราะจงรักภักดีเหมือน ฌีหยวน แต่ก็สาปแช่งเจ้านครรัฐฉู่ เมื่อเป็นเช่นนี้ ข้ายอมเสียชื่อว่ารักตัวกลัวตาย ดีกว่ายอมให้ใครๆกล่าวถึงพระองค์เฉียนหลงในแง่ไม่ดี”

เป็นอันว่า จี่เสี้ยงหยาน ใช้ไหวพริบระดับอัจฉริยะ รอดจากการกระโดดน้ำตาย

คนจีนมีกี่คน
อีกเหตุการณ์หนึ่งที่กล่าว ถึงความปราดเปรื่องของยอดนักปราชญ์ผู้นี้ เมื่อครั้งฉลองครองราชย์ครบ 60 ปี ของเฉียนหลง ประชาชนทุกสารทิศต่างมาร่วมชุมนุมถวายเกียรติถวายพระพรแก่เจ้าเหนือหัว เฉียนหลงเห็นประชาชนมากมาย จึงถามขึ้นลอยๆว่า “เดี๋ยวนี้ประชาชนมีทั้งหมดกี่คน”

คำถามง่ายแต่ตอบยาก เหล่าขุนนางต่างก้มหน้าหลบตา มีแต่ จี่เสี้ยงหยาน ที่ยังคงยิ้มแย้ม เฉียนหลง พยักหน้า จี้เสี่ยวหลานเป็นอันรู้ว่าเจ้าเหนือหัวต้องการคำตอบจากตัวเอง

“กระหม่อมเห็นว่า ทั้งแผ่นดิน มีคน แค่ 2 คน คนหนึ่งชื่อ...ชื่อเสียง อีกคนหนึ่งชื่อ...ผลประโยชน์ คนทุกคนเกิดมาล้วนย่อมมีความประสงค์สูงสุดด้วยกันทั้งนั้น บางคนพยายามสร้างตนให้มีชื่อเสียง บางคนพยามยามแสวงหาผลประโยชน์”

ช่วยเพื่อน
อีกเหตุการณ์หนึ่ง คือ  ครั้งหนึ่ง...เกิดปัญหาการเมือง ราชบัณฑิต อิ่นจ้วงถู กราบทูลความจริงในราชสำนักว่า มีขุนนางทุจริตคดโกง ราษฎรโกรธเคือง

เฉียนหลงฮ่องเต้ได้รับฟังก็โกรธมาก สั่งลงโทษ อิ่นจ้วงถู ถึงขั้นประหารชีวิต บิดาของ อิ่นจ้วงถู นั้นมาขอร้อง จี่เสี้ยงหลาน เพราะ พวกเขาสอบเข้าคัดเลือกรับราชการปีเดียวกัน คุ้นเคยกันจึงออกปากขอร้องให้ จี่เสี้ยงหลาน ช่วย จี่เสี้ยงหยานจึงรับปาก 

ในการประชุมขุนนาง จี่เสี้ยงหลาน ก็ทูลขอชีวิตเพื่อน แต่ผลออกมาตรงข้าม
เฉียนหลงฮ่องเต้ ยิ่งโกรธมากขึ้นไปอีก ชี้หน้าด่า จี่เสี้ยงหลาน ว่า

“ข้าเห็นเจ้าพอมีความรู้ทางอักษรศาสตร์ จึงให้เจ้าเป็นแม่กองเรียบเรียง “ซื่อคู่เฉวียนซู” (รวมชุดหนังสือสำคัญจากอดีตถึงปัจจุบัน) และเลื่อนตำแหน่งให้เจ้า  ความจริง ข้าแค่เลี้ยงเจ้าไว้ดูเล่นๆ เหมือนโสเภณี หรือ นักแสดง เพื่อคลายเครียด เจ้า.. จี่เสี้ยงหลาน กลับมาเสนอหน้า พูดเรื่องชาติ บ้านเมือง”

จี้เสี่ยวหลานตกใจจนเหงื่อโชก รีบโขกศีรษะขอรับโทษ กลับถึงบ้านก็ล้มป่วยอยู่หลายวัน

เฉียนหลง กล่าวเช่นนี้ โดยก่อนหน้านี้ เฉียนหลงฮ่องเต้ก็เคย ให้อภัย  จี้เสี่ยวหลาน มาแล้วครั้งหนึ่ง

ก่อนหน้านั้น คือ จี้เสี่ยวหลาน เคยถูกส่งไปรับราชการที่สำนักตุลาการ แต่ จี้เสี่ยวหลาน กลับตัดสินคดีผิดพลาดถึงกับต้องรับโทษ เฉียนหลงจึงตรัสว่า

“จี้เสี่ยวหลาน คนนี้ เดิมทีเป็นบัณฑิตโง่เขลา ข้าแค่ให้ไปทำงานชั่วคราว เขาจึงไม่คุ้นเคยกับงานที่ได้รับไปทำ สายตาก็สั้น ถ้าเขาทำงานไม่ผิดพลาดก็นับว่าแปลก จึงสมควรให้อภัย”

จี้เสี่ยวหลาน รอดตัวมาได้สองครั้ง บทเรียนนี้มีผลให้ จี้เสี่ยวหลาน ปรับตัว...ก้มหน้าก้มตาอ่านตำราโบราณ หากวันไหนฮ่องเต้ถามเรื่องการเมือง แม้เพียงเรื่องเล็กน้อย

“ข้าพเจ้าไร้ความสามารถ รู้เรื่องเพียง ตัวอักษร เล็กน้อย...เท่านั้น"

”เฉียนหลงได้ยินคำตอบนี้ก็พอใจ แล้วบอกกับ จี้เสี่ยวหลาน ในที่สุดเจ้าก็รู้ฐานะของตัวเอง”

หลังจากเหตุการณ์นั้น เขาก็ถุกเนรเทศไปอยู่ดินแดน ซินเจียงถึง 2 ปี ด้วยคดี เกลือ (ไม่มีในบันทึก)

มหาสารานุกรม
ก่อนที่เฉียนหลงจะเรียกตัวกลับมาทำงานใหญ่นั่นก็คือ “มหาสารานุกรม” ถือเป็นผลงานชิ้นโบว์แดง ของจี้เสี่ยวหลาน และเฉียนหลงฮ่องเต้ ในปี 1773 จี้เสี่ยวหลาน ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานในการจัดทำ “มหาสารานุกรม” ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสิ่งยิ่งใหญ่ของแผ่นดินจีน เทียบเท่ากับ กำแพงเมืองจีน เลยทีเดียว

มหาสารานุกรมนี้ใช้เวลาจัดทำถึง 10 ปี รวม 3,475 เล่ม ประกอบด้วย 79,000 บท มี 4 ชุด ต่อมาคัดลอกเพิ่มอีก 3 ชุด

แต่ระหว่าง การสร้าง มหาสารานุกรม นั้น เฉียนหลงฮ่องเต้เสด็จมาเยี่ยม แต่พบว่า จี้เสี่ยวหลาน นั้นทรุดโทรมลงอย่างมาก แต่เป็นอันรู้กันว่า เขาบากบั่นทำงานอย่างหนักจนไม่ได้เที่ยวหอโคมแดงเลย ทำให้ เฉียนหลงฮ่องเต้ต้องประทานเด็กรับใช้ให้ 2 คน คอยนอนข้างกาย จนเหตุการณ์กลับมาเป็นปกติ"

นอกจากนี้ยังมีหนังสือเด่นอีกเล่มคือ  "ประชุมเรื่อง การอ่านในกระท่อมมุงหลังคา"  ที่รวบรวมเนื้อเรื่องซุบซิบนินทาของชาวบ้านกว่า 12,000 เรื่อง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องขบขัน แต่ก็มีเรื่อง เวรกรรม สยองขวัญ และภูตผีปีศาจ ผสมปนเปกันไป หนังสือเล่มนี้มีตัวอักษรจีนมากกว่า 3 แสนตัว 

นอกจากนี้ยังมีหนังสือ ประชุมเรื่องสั้น ที่กล่าวเกี่ยวกับ การข่มขืนเด็ก มีการร่วมเพศต่างๆ ผีดิบ และอื่นๆ  ซึ่งหนังสือเรื่องนี้ไม่ควรให้เด็กอ่าน นักประวัติศาสตร์คาดว่า หนังสือเล่มนี้เอง ทีสะท้อนรสนิยมส่วนตัวของเขาด้วย เนื่องจาก เขาติดเซกส์จนอายุ 80 ก็ยังไม่วายยังคงเที่ยวย่านโคมแดง

 จี้เสี่ยวหลาน รับราชการอย่างซื่อสัตย์ภักดีจนกระทั่ง ปี 1805 ก็ถึงแก่อสัญกรรม ด้วยวัย 81 ปี งานศพเป็นไปอย่างยิ่งใหญ่สมเกียรติ

ที่น่าแปลก คือ คนบ้าตำรา บ้าเซกส์ เสพติดการกินเนื้อ ไม่กินผัก สูบบุหรี่ แต่เขากลับมีอายุถึง 81 ปี เลยทีเดียว

ในปี 1970 มีการขุดหลุมฝังศพเขา กลับพบว่า มีศพหญิงสาว 7 คน เลยหลุมของเขาเลยทีเดียว แต่ไม่พบศพของเขาและภรรยาเขา  ทำให้เชื่อว่า เขาอาจมีเมียน้อยถึง 7 คนเลย

โดยนักประวัติศาสตร์ เชื่อว่า ประชุมเรื่อง การอ่านในกระท่อมมุงหลังคา" บางเรื่องนั้นมาจากเรื่องราวของเขาเอง  เรื่องมีอยู่ว่า เศรษฐีคนหนึ่งได้แต่งงานกับภรรยาแสนสวย วันหนึ่งเขาป่วย

หมอจึงแนะนำเขาว่า ท่านเศรษฐี ท่านมีเซกส์มากเกินไป ท่านมีเซกส์จนไขกระดูกของท่านไม่เหลือแล้ว เหลือก็แต่ไขสมองของท่านเท่านั้น" 

ท่านเศรษฐีจึงถามกลับว่า  "แล้วไขสมองของข้าใช้ได้อีกกี่ยก"  555555





วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2563

!จีน(1936) จาง เสฺวเหลียง ผู้รักชาติ หรือกบฎ (กรณีซีอาน ชี้ชะตาชาติจีน)

กรณีซีอาน  12 ธันวาคม 1936 - 24 ธันวาคม 1936

เหตุการณ์เพียง 12 วันที่ชี้ชะตาประเทศจีนไปตลอดกาล หลังยุคล้มล้างราชวงศ์จีน ก็เกิดเป็นยุคขุนศึก ทหารแต่ละภูมิภาคตั้งตนเป็นใหญ่ ต่อมาเหลือแค่พรรคก๊กมินตั๋ง และคอมมิวนิสต์ รวมทั้งยังเจอภัยคุกคามจากจักรวรรดินิยมญี่ปุ่น

แต่มีบุคคลหนึ่งที่ชี้ชะตาทิศทางของประเทศ นั่นคือ  จางเสวียเหลียง (张学良) แม่ทัพระดับสูงของพรรคก๊กมินตั๋ง ผู้ก่อรัฐประหารด้วยการใช้กำลังควบคุมตัว เจียงไคเช็ค (蒋介石) ซึ่งเป็นผู้นำประเทศในขณะนั้น บังคับให้ปรับเปลี่ยนนโยบายของก๊กมินตั๋ง ให้ล้มเลิกปฏิบัติการปราบปรามพรรคคอมมิวนิสต์และหันมาร่วมกันต่อต้านญี่ปุ่น นับเป็นเหตุการณ์สำคัญหนึ่งในประวัติศาสตร์จีน ที่ชาวจีนเรียกกันว่า ‘กรณีซีอาน’(西安事变) ขณะที่ชาวไต้หวันรู้จักในชื่อของ ’รัฐประหารซีอาน’ หรือ ‘กบฏซีอาน’

ประวัติ จางเสวเหลียง
จาง เสฺวเหลียง (張學良 (1901 – 2001) ภายหลังใช้ชื่อว่า พีเทอร์ เอช. แอล. จาง (Peter H. L. Chang) และมีฉายาว่า เช่าไชว่ (少帥; "จอมพลหนุ่ม") เป็นผู้ปกครองภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน และ พื้นที่ส่วนใหญ่ในภาคเหนือของจีนโดยพฤตินัยหลังจากบิดาของเขาคือ  จาง จั้วหลิน (張作霖)  ผู้มีฉายาว่า ต้าไชว่ (大帥; "จอมพลเฒ่า") ถูกญี่ปุ่นลอบสังหารในวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1928 (พ่อของเขาเดิมได้รับการสนับสนุนจากญี่ปุ่น และได้ปกครองแมนจูกั๋ว  แต่ในปี 1927 กองทัพของเขาก็พ่ายแก่ พรรคก๊กมินตั๋ง ที่ปักกิ่ง ทำให้ญี่ปุ่นโกรธ และวางระเบิดเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 1928)

จาง เสฺวเหลียง เป็นชนวนให้เกิดอุบัติการณ์ซีอาน (西安事變) เมื่อ ค.ศ. 1936 เพราะจาง เสฺวเหลียง และพรรคพวกจับ เจียง ไคเชก หรือเจี่ยง เจี้ยฉือ (蔣介石) ผู้นำจีนจากพรรคก๊กมินตั๋ง (國民黨) ไปขังไว้ เพื่อบีบให้พรรคก๊กมินตั๋ง ยอมสงบศึกกับ พรรคคอมมิวนิสต์ (共产党) ที่ก่อกบฏ ทั้งต้องยอมก่อตั้งแนวร่วมต่อต้านญี่ปุ่นที่เข้ามายึดครองแมนจูเรีย

เหตุการณ์ที่ซีอาน
ในวันที่ 22 ตุลาคม 1936 ที่เมืองซีอาน เจียงไคเช็กประกาศเริ่มแผนการปราบปรามคอมมิวนิสต์ จางเสวียเหลียง และ หยางหูเฉิง ต่อต้านนโยบายใหม่ดังกล่าว และ พยายามเกลี้ยกล่อม เนื่องจากพวกเขาต่างประทับใจกับความสามารถในการป้องกันและการสู้รบที่มีประสิทธิภาพของฝ่ายคอมมิวนิสต์

ในขณะที่ทั้งสองฝ่ายได้ยุติสงคราม ประธานพรรคก๊กมินตั๋ง เจียง ไคเชก ได้บินไปยังเมืองซีอานช่วงต้นเดือนธันวาคมเพื่อตรวจสอบว่า ทำไมการรบถึงหยุดชะงัก

ในวันที่ 12 ธันวาคม บอดี้การ์ดของจางเข้าโจมตีคณะผู้ติดตามของเจียงไคเช็ค ในระหว่างการยิงปะทะนั้น เจียงเสี่ยวเสี้ยน ซึ่งเป็นทั้งหลานชายและบอดี้การ์ดของเจียงไคเช็ค ถูกสังหาร และ เจ้าหยวนชงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงโฆษณาการ ได้รับบาดเจ็บสาหัสทำให้เสีบชีวิตในหลายวันต่อมา สิ่งที่ตามมาคือ ความสับสนที่ผู้นำของจีนคิดว่าจางและหยางหูเชิงทำการรัฐประหาร และลักพาตัว เจียงไคเช็ค

หลังจากการลักพาตัวไปได้ชั่วโมงหนึ่งแล้ว จางส่งข้อเรียกร้อง 8 ข้อให้กับผู้นำทางการเมืองของจีนและต่างประเทศ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

จัดตั้งรัฐบาลผสมที่มีทั้งสมาชิกพรรคก๊กมินตั๋งและพรรคคอมมิวนิสต์

หยุดการต่อสู้ระหว่างกองกำลังปฏิวัติและกองกำลังคอมมิวนิสต์

ปล่อยตัวนักโทษทางการเมืองที่ถูกจับที่เซี่ยงไฮ้

ปล่อยตัวนักโทษทางการเมืองทั้งหมด

อนุญาตให้ชุมนุมประท้วงต่อต้านญี่ปุ่น

รับประกันเสรีภาพทางการเมืองให้กับประชาชนชาวจีนทุกคน

ปกครองประเทศจีนตามประสงค์ของดร.ซุนยัดเซน

รวมกลุ่มผู้นำสองฝ่ายเพื่อหารือเกี่ยวกับวิธีการจัดการกับการรุกรานญี่ปุ่น

พรรคก๊กมินตั๋งเกิดความคิดแตกแยกเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่ง เตรียมกำลังทหารเพื่อบุกซีอานช่วยเหลือเจียงไคเช็กออกมา  ขณะที่อีกฝ่ายเห็นว่า เจียงไคเช็กอาจโดนประหารไปแล้ว  แต่ มาดามเจียง หรือ ซ่งเหม่ยหลิง ส่งที่ปรึกษาชาวออสเตรเลีย ซึ่งเคยทำงานให้กับ จางเสวียเหลียง เป็นตัวแทนเจรจาของนางในวันที่ 14 ธันวาคม

ด้านฝ่ายพรรคคอมมิวนิสต์ก็เกิดความคิดแตกแยกเช่นกัน เหมาเจ๋อตุงและคนส่วนใหญ่ เรียกร้องให้ประหารเจียงไคเช็ก ขณะที่โจวเอินไหล และ จางเหวินเทียน สนับสนุนแนวคิดที่จะเจรจา เพราะคิดว่า เจียงไคเช็กเหมาะที่จะเป็นผู้นำในการขับไล่ญี่ปุ่น แม้ทั้งสองฝ่ายจะเห็นไม่ตรงกัน แต่สุดท้าย โจเซฟ สตาลิน ที่ต้องการลดอิทธิพลของญี่ปุ่นในเอเชียก็แนะนำให้พรรคคอมมิวนิสต์จีน ยุติการประหารเจียงไคเช็กแล้วหันหน้าเจรจากัน เหมาเจ๋อตุง และพรรคคอมมิวนิสต์ รู้ดีว่า พวกเขาจะประสบความสำเร็จได้ก็ด้วยการสนับสนุนจากสตาลิน จึงฟังคำแนะนำของสตาลิน จึงได้ส่งคณะผู้แทนไปเจรจาในวันที่ 17 ธันวาคม

วันที่ 22 ธันวาคม ซ่งเหม่ยหลิน ภรรยาเจียงไคเช็ก และ ซ่งซีเหวิน น้องชายของเธอ ก็รีบเดินทางมายังซีอานเพื่อเข้าร่วมการเจรจา

ในวันที่ 24 ธันวาคม จางเสวียเหลียง และ หยางหู่เฉิง จัดการสร้างข้อตกลงแบบละเอียดกับพรรคก๊กมินตั๋ง และ พรรคคอมมิวนิสต์ ทั้งสองฝ่ายร่วมตกลงเจรจาต่อสู้กับญี่ปุ่นและเจียงไคเช็คกับผู้นำประเทศคนอื่นๆ ที่ถูกจับได้รับการปล่อยตัว ในไดอารี่ของเจียงไคเช็คบันทึกว่าเป็นเหตุการณ์ที่อัปยศที่สุดในชีวิต แม้ว่าเขาจะมีอำนาจน้อยที่สุดในการเจรจาครั้งนี้ซึ่งจัดขึ้นเพื่อทำให้เขาหยุดการปราบปรามคอมมิวนิสต์จนกระทั่งสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สองจบลงในปี 1945 แต่ในช่วงสงครามเขาก็บ่อนทำลายคอมมิวนิสต์ทุกครั้งที่มีโอกาส

ในวันที่ 25 ธันวาคม จางเสวียเหลียง พา เจียงไคเช็ค กลับไปยังเมืองหลวงนานกิงเป็นการส่วนตัว เมื่อมาถึงนานกิง จางเสวียเหลียง ถูกจับกุมข้อหากบฎ เขาถูกไต่สวนในศาลทหารแทนที่จะเป็นศาลพลเรือนซึ่งยืนยันว่า จางเ ป็นผู้กระทำผิด แต่หลังจากการไต่สวนก็ได้รับนิรโทษกรรม แม้ว่าจางจะกักบริเวณเขาอยู่ในบ้านพักอย่างไม่มีกำหนด หลังจากพรรคก๊กมินตั๋งพ่ายแพ้ และเดินทางไปถึงไต้หวันแล้วจางเสวียเหลียงก็ยังถูกกักบริเวณต่อไปอีกจนถึงปี 1991 เมื่ออายุ 90 ปี เขาก็ได้ย้ายไปอยู่ฮาวายและอยู่ที่นั่นไปจนเสียชีวิตในปี 2001 เมื่ออายุ 100 ปี จางไม่เคยเปิดเผยเรื่องราวเพิ่มเติมเกี่ยวกับแรงจูงใจในการก่อกบฏของเขาจึงนำไปสู่ทฤษฎีสมรู้ร่วมคิด จาง อาจเป็นตัวแทนของพรรคคอมมิวนิสต์ซึ่งบงการการจับตัวเจียงไคเช็คทั้งหมดภายใต้การนำของผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์

หลังเหตุการณ์
ขณะที่จางเสวียเหลียงถูกกักบริเวณ หยางหู่เฉิงก็ถูกจับตัวกุมตัวแบบลับๆ และถูกคุมขังในคุก จนกระทั่งกันยายนปี 1949 ก่อนที่พรรคคอมมิวนิสต์จะบุกยึดเมืองนานจิง เมืองหลวงของก๊กมินตั๋ง หยางพร้อมกับภรรยาและลูกสองคนถูกประหารตามคำสั่งของเจียงไคเช็ค

จากเหตุการณ์ซีอานนี้ทำให้ทางจีนแผ่นดินใหญ่มองว่า เขาเป็นวีรบุรุษคนหนึ่ง เพราะทำให้ก๊กมินตั๋งต้องหันไปสู้กับญี่ปุ่น โดยเลิกทำสงครามกับพรรคคอมมิวนิสต์ ทำให้พรรคคอมมิวนิสต์มีเวลาได้ลืมตาอ้าปาก สามารถสั่งสมกำลังขึ้นมาได้ก่อนจะสามารถยึดประเทศได้ในภายหลัง

แต่ในมุมมองของทางสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) แล้วกลับมองว่าเขาเป็นอาชญากรเพราะทำให้สงครามต้านญี่ปุ่นต้องเริ่มขึ้นเร็วกว่าที่ควรจะเป็นทั้งๆที่เจียงไคเชกวางแผนว่าจะเริ่มต่อต้านญี่ปุ่นหลังจากที่จัดการพรรคคอมมิวนิสต์จนสิ้นซากแล้ว พอเป็นแบบนี้เลยทำให้พรรคคอมมิวนิสต์เหลือรอดอยู่จนเติบโตขึ้นและกลับมาโค่นล้มเขาและยึดครองประเทศได้ในที่สุด

เหตุการณ์นี้ถูกมองว่าเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญเหตุการณ์หนึ่งในประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่ที่ยุติความขัดแย้งชั่วคราวระหว่างก๊กมินตั๋งและคอมมิวนิสต์ซึ่งอนุญาตให้คอมมิวนิสต์รวมตัวและจัดระเบียบใหม่เป็นเวลาหลายปีและจุดยืนที่คอมมิวนิสต์ต่อต้านญี่ปุ่นยังช่วยสนับสนุนความนิยมเพิ่มเติมจนในที่สุดคอมมิวนิสต์เอาชนะสงครามกลางเมืองกับก๊กมินตั๋งซึ่งล่าถอยไปยังเกาะไต้หวันและประกาศสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี 1949

ลำดับเหตุการณ์กรณีซีอาน
12 ธ.ค. 1936 นายพลของจีนลักพาตัวเจียงไคเช็คเพื่อพยายามให้กองกำลังปฏิวัติและกองกำลังคอมมิวนิสต์ร่วมมือขับไล่ญี่ปุ่น
17 ธ.ค. 1936 พรรคคอมมิวนิสต์จีนส่งคณะไปยังซีอานตามคำแนะนำของโจเซฟ สตาลิน
22 ธ.ค. 1936 ซ่งเหม่ยหลินและซ่งซีเหวินมาถึงซีอานเพื่อเจรจาปล่อยตัวเจียงไคเช็ค
24 ธ.ค. 1936 นายพลจางเสวียเหลียงประสบความสำเร็จในการสร้างกองกำลังพันธมิตรก๊กมินตั๋งและคอมมิวนิสต์

3 พี่น้องตระกูลซ่ง

 The Soong sisters (สามพี่น้องตระกูลซ่ง ผู้ยิ่งใหญ่)
“คนจีนต้องไม่ฆ่าคนจีนด้วยกันเอง” หรือ 中国人不殺中国人

เริ่มต้น
เรื่องราวเริ่มจาก  ชาร์ลี ซ่ง หรือ ซ่งเจียซู่ เดินทางไปสหรัฐ อายุ 9 ขวบ เพื่อช่วยงานกิจการของลุงที่บอสตัน แต่เขาไม่ชอบงานนี้นัก เขาจึงหนีลุง แล้วแอบลงเรือกลับมา กัปตันเรือเห็นว่าเรือออกมาไกลแล้ว จึงฝากเขาไว้กับโบสถ์ ที่นั่นเขาได้เปลี่ยนศาสนา และได้ชื่อใหม่ อยู่ที่นั่นจนเรียนจบมหาวิทยาลัยจึงเดินทางกลับจีนในปี1886  โดยประกอบอาชีพ โรงพิมพ์ และเป็นหมอสอนศาสนาไปด้วย ได้ แต่งงานกับ หนีกุ้ยเจิน   倪桂珍หญิงที่นับถือศาสนาเดียวกัน โดยมีลูก 6 คนเป็นชาย 3 คนและหญิง 3 คน

เขาเสียชีวิตที่เซี่ยงไฮ้ด้วยโรคกระเพาะ ในปี 1918 อายุรวม 54 ปี

เรียงตามลำดับการเกิดดังนี้

1. ซ่งอ้ายหลิง (ลูกสาวคนโต) 宋藹齡 เสียชีวิตที่นิวยอร์ก ปี 1973

2. ซ่งชิงหลิง (ลูกสาวคนรอง)宋慶齡 เสียชีวิตที่ปักกิ่ง ปี 1981 อายุ 88 ปี

3. ซ่งจื่อหวุน หรือ ทีวี ซ่ง (ลูกชายคนโต)宋子文  (รัฐมนตรีคลังและรัฐมนตรีต่างประเทศของจีน , ผู้ว่าการธนาคารกลางของจีน) เสียชีวิตที่แคลิฟอร์เนีย ปี 1971

4. ซ่งเหม่ยหลิง (ลูกสาวคนเล็ก)宋美齡 เสียชีวิตที่นิวยอร์ก ปี 2003 อายุ 106 ปี 

5. ซ่งจื่อเหลียง (ลูกชายคนรอง) (นักธุรกิจที่นิวยอร์ค)宋子良 เสียชีวิตที่นิวยอร์ก ปี 1983 อายุ 84 ปี

6. ซ่งจื่ออัน (ลูกชายคนเล็ก) (ประธานกรรมการธนาคารกวางตุ้ง)宋子安 เสียชีวิตที่ ฮ่องกง ปี 1969

ปูพื้น

1912 ปฎิวัตซินไฮ่ แม้จะสำเร็จ แต่ ข้อตกลของหยวนซ์่อไข่ งกับ ดร. ซุนยัดเซ็น คือ ก่อนที่จะเขียนกฎหมายและมีการเลือกตั้ง จะยอมให้หยวนซื่อไข่ เป็นประธานธิบดีไปก่อนชั่วคราว แต่หยวนซ์่อไข่กลับหักหลัง หันกระบอกปืนใส่พรรคก๊กมินตั๋งแทน

1916 หยวนซื่อไข่ เสียชีวิต จีนก็กลายเป็นยุคขุนศึก ขุนศึกแต่ละกลุ่มตั้งตัวเป็นใหญ่  ทำให้พรรคก๊กมินตั๋งต้องไล่ปราบแต่ละก๊ก ฉะนั้น การปล้น ฆ่า ชิงทรัพย์มีอยู่ทั่วไป แม้หลุมฝังศพของพระนางซุสีไทเฮาก็ยังโดนขุดเพื่อปล้นเอาทรัพย์สมบัติที่ฝังไว้ และมีข่าวลือว่า มุกที่อยู่ในปากของพระนางซูสีไทเฮา ก็ถูกขโมยไป และตอนหลัง กลับกลายเป็นเครื่องประดับข้อเท้าของ ซ่งเหม่ยหลิง 宋美龄 หรือมาดามเจียงไคเชค

1925  ดร ซุนยัดเซ็น เสีย เจึยงไคเช็คขึ้นแทน เจียงไคเช็กต้องเผชิญหน้ากับพรรคคอมมิวนิสต์ที่แข็งแกร่งของ เหมาเจ๋อตุง

1931 ญี่ปุ่นบุกแมนจูเรีย และนานกิง  เจียงไคเช็ก ยืนยันว่า ไม่ว่าจะอย่างไร ญี่ปุ่นก็ต้องพ่ายแพ้ ดังนั้น การปราบความแตกแยกในประเทศสำคัญกว่า  ดังนั้นเขาเลือกที่จะใช้กำลังปราบพรรคคอมมิวนิสต์มากกว่าที่จะสู้กับญี่ปุ่น ทำให้เขาโดนลูกน้องจับตัวเพื่อบังคับให้เขาเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ ต่อต้านญี่ปุ่น

1945 ญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 และถอนทัพออกจากจีน

1949 พรรคก๊กมินตั๋งพ่ายแพ้ เจียงไคเช็ค และพวก ต้องอพยพไปไต้หวัน

ครอบครัวตระกูลซ่ง
ยุคสมัยนั้น  ปัญญาชนจำนวนมากออกมาเคลื่อนไหว ส่วนใหญ่เกิดจากความไม่พอใจต่อทางราชสำนักชิง ที่ใช้จ่ายอย่างฟุ้งเฟ้อ ไม่ดูแลทุกข์สุขของประชาชน ปล่อยให้อดอยากยากแค้น นอกจากนี้จีนยังอ่อนแอ โดนต่างชาติเฉือนดินแดนออก ต้องสูญเสียอำนาจอธิปไตยอย่างน่าอับอาย ทำให้เหล่าปัญญาชนรวมกันวางแผนก่อการปฎิวัติ

ครอบครัวของชาร์ลี ซ่ง ค่อนข้างมีฐานะทางการเงิน มั่งมีและอบอุ่น ลูกหลานทั้งหมดได้รับการศึกษาอย่างดีจากต่างประเทศ คุณพ่อจบสหรัฐ และเป็นหมอสอนศาสนา ที่สำคัญเป็นเพื่อนกับ ดร. ซุนยัดเซ็น  孙中山 ที่เพิ่งจบแพทย์จากอเมริกากลับมา และเป็นผู้นำก่อการโค่นล้มราชวงศ์ชิง清朝 นอกจากนี้ ชาร์ลี ซ่งยัง สนับสนุนด้านการเงิน และ ใช้โรงพิมพ์ที่ปกติใช้ตีพิมพ์พระคัมภีร์ไบเบิล แต่กลับเอามาพิมพ์ใบปลิวข่าวสารการปฎิวัติอีกด้วย

สามสาวพี่น้องตระกูลซ่ง ซึ่งจบการศึกษาจากต่างประเทศในช่วงที่สังคมจีนสิ้นสุดราชวงศ์ชิงสู่สังคมสมัยใหม่ ได้นำการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงในครอบครัวซ่ง ซึ่งส่งผลต่อสังคมทั้งประเทศจีนด้วย

พี่ใหญ่ซ่งอ่ายหลิง 宋蔼龄 หรือ แนนซี่ ซ่ง หลังจบการศึกษา ได้เริ่มงานเป็นเลขานุการของ ดร. ซุนยัดเซ็น ก่อนจะไปแต่งงานกับมหาเศรษฐี ข่งเสียงซี (孔祥熙) ทายาทรุ่นที่ 75 ของขงจื่อ (孔子)

ซ่งอ่ายหลิง ได้แสดงบทบาทด้วยการใช้เงินในเปิดทางต่างๆ  เช่น การออกทุนให้ ดร.ซุนก่อตั้งโรงเรียนทหารฮ๋วงผู่黄蒲 เพื่อมอบให้เจียงไคเชคซึ่งเป็นลูกน้องที่ได้รับความไว้วางใจเป็นผู้ดูแล หรือในคราวที่ เจียงไคเชค ถูกจับเป็นตัวประกันที่ซีอาน (西安) หลังถูกปล่อยตัวได้นั่งเครื่องบินมาลงที่หนานจิง (南京) แต่ไฟฟ้าในหนานจิงถูกญี่ปุ่นถลุ่มเสียจนไฟนำร่องของสนามบินใช้การไม่ได้ ซ่งอ่ายหลิงจึงได้ให้สามีติดต่อเพื่อนฝูงที่เป็นเศรษฐีในหนานจิง นำรถยนต์มาจอดเรียงแถว และเปิดไฟหน้ารถเป็นไฟนำร่องให้เครื่องบินลงจอดได้สำเร็จ

หลังจาก เจียงไคเช็ค กุมอำนาจในก๊กมินตั๋ง เจียงไคเช็ก เขาต้องการการสนับสนุนจากตระกูลซ่งที่ทรงอิทธิพล ซึ่ง ซ่งอ้ายหลิง นั้นมีข้อเสนอให้เขา โดยในปี 1927 เธอเสนอจะระดมทุนจากบรรดานายธนาคารในเซี่ยงไฮ้มาช่วยหนุนเจียงไคเช็กสำหรับซื้ออาวุธ แต่ทั้งนี้เธอมีเงื่อนไขว่าเมื่อมีการตั้งรัฐบาลใหม่ที่นานกิง เจียงไคเช็คต้องให้ ซ่ง จื่อ-เหวิน (Soong Tse-ven) น้องชายของเธอเป็นรัฐมนตรีคลัง ให้สามีเธอเป็นนายกรัฐมนตรี และ เจียงไคเช็ก ต้องแต่งงานกับ ซ่งเหมยหลิง น้องสาวคนเล็กของเธอ และต้องมีซ่งเหมยหลิงเป็นภรรยาเพียงคนเดียวเท่านั้น

ซ่งอ้ายหลิน ยังกล่าวหาว่า เฉิน เจี๋ย-หรู (จินนี่) ภรรยาของเจียงไคเช็คในขณะนั้นเป็นสายลับให้รัสเซียและขู่ให้เจียงกำจัดเธอออกไปให้พ้นทางโดยเร็ว

นอกจากนี้ ด้วยอำนาจเงินของ ซ่งอ้ายหลิน และความสัมพันธ์กับน้องสาวของเธอนี่แหละที่ให้พรรคคอมมิวนิสต์ กลับมาร่วมมือกับ พรรคก๊กมินตั๋ง เพื่อรบกับญี่ปุ่น แทนที่จะรบกันเอง และครั้งนี้เองที่ทำให้ 3 สาวพี่น้องได้กลับมาเจอกันอีกครั้ง

หลังจากก๊กมินตั๋งของเจียงไคเช็ก พ่ายแพ้แก่พรรคคอมมิวนิสต์ในปี 1949 ผัวเมียคู่ก็อพยพครอบครัวไปอยู่สหรัฐ

สาวคนกลางของตระกูลซ่งคือ ซ่งชิ่งหลิง 宋庆 龄 เมื่อจบการศึกษากลับจากต่างประเทศก็มาช่วยดร.ซุนยัดเซ็น  เธอเป็นที่ทำทุกสิ่งทุกอย่างโดยคำนึงถึงประเทศชาติก่อน การมาช่วยงานดร.ซุนได้นำไปสู่ความรักของทั้งคู่ ทั้งๆที่ ดร.ซุนยัดเซ็นนั้นมีภรรยาอยู่แล้ว แต่ทั้งคู่ก็แต่งงานกันที่ประเทศญี่ปุ่น ในปี 1915  เหตุการณ์นี้ ทำให้ชาลี ซ่ง บิดาของเธอไม่พอใจอย่างมาก จนถึงกับประกาศตัดสัมพันธ์กับดร.ซุนยัดเซ็น อย่างเด็ดขาด และ กล่าวหาดร.ซุนยัดเซ็นว่า เป็น “คนลวงโลก”ต่อว่าดร.ซุนยัดเซ็นว่า “กูทุ่มเททั้งเงินทองทั้งชีวิตเพื่อช่วยเหลือในการก่อการปฏิวัติ แต่ไม่ได้หมายถึงกูต้องยกลูกสาวให้เป็นทุนในการปฏิวัติด้วย”

มีอยู่ครั้งหนึ่ง ดร.ซุนยัดเซ็น ตกอยู่ในวงล้อม ของศัตรู แม้จะหลบหนีมาได้ แต่ ซ่งชิ่งหลิง 宋庆 龄 ผู้เป็นภรรยาก็ได้รับบาดเจ็บจนแท้งลูก และ มีลูกต่อไปไม่ได้

หลังการเสียชีวิตของ ดร. ซุนยัดเซ็นในปี 1925 ก่อน ดร.ซุนยัดเซ็นจะตาย ความปรารถนาของเขาคือ การปลุกสำนึกให้ชาวจีน และเกิดสันติภาพในประเทศจีน โดยเขามีการประกาศพินัยกรรม
มีข้อความดังต่อไปนี้
"ข้าพเจ้าอุทิศตนเพื่อการปฏิวัติมา 40 ปี เพื่อแสวงหาสันติภาพแก่จีน เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
ต้องปลุกจิตสำนึกของประชาชน รวมกับนานาประเทศที่ให้ความเสมอภาคแก่เรา
ตอนนี้ การปฏิวัติยังไม่สำเร็จเพื่อนร่วมชาติ จงต่อสู้ต่อไป อย่าท้อถอย"

หลังจากเสียชีวิตของ ดร. ซุนยัดเซ็น ทำให้ เจียงไคเช็ก ที่เป็นลุกน้องขึ้นมามีอำนาจแทน แต่เจียงไคเช็กเลือกที่กวาดล้าง พรรคคอมมิวนิสต์ อย่างหนัก แทนที่จะประนีประนอมกับเหมาเจ๋อตุง

ซ่งชิ่งหลิง มีอุดมการณ์อย่างแรงกล้าในการสร้างชาติ และรวมชาติให้เป็นปึกแผ่น ตามแนวคิดของดร.ซุนยัดเซ็น ทำให้เธอเกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงในก๊กมินตั๋ง แต่ น้องคนเล็ก ซ่งเหม่ยหลิง ตกลงปลงใจแต่งงานกับเจียงไคเชค ซึ่งมีอุดมการณ์ต่างกันอย่างหนัก ซ่ง ชิ่งหลิง พยายามยึดแนวทางของดร.ซุนยัดเซ็นในการประนีประนอมกับฝ่ายต่าง ๆ เพื่อช่วยกันสร้างชาติจีน แต่เจียงไคเชค ค้านหัวชนฝาและต้องล้มล้างคอมมิวนิสต์ให้หมด เข่นฆ่าผู้ที่สงสัยจะเป็นฝ่ายคอมมิวนิสต์ทุกคน จน ซ่งชิ่งหลิง ทนไม่ได้ ต้องออกมาประกาศยืนคนละข้างกับเจียงไคเชต และหันไปร่วมมือกับพรรคคอมมิวนิสต์อย่างเต็มตัว  ดังที่ดร.ซุนกล่าวว่า “ป่วยนอกรักษาง่าย ป่วยในเยียวยายาก” จึงต้องยุติปัญาภายในเพื่อเอาชนะศัตรูของชาติให้ได้ก่อน

หลังจากพรรคคอมมิวนิสต์มีชัยแล้ว ซ่งชิ่งหลิงก็ได้เป็นกรรมการในพรรคคอมมิวนิสต์  และเสียชีวิตในกรุงปักกิ่งเมื่อปี 1981 โดยขณะที่นอนป่วยใกล้สิ้นใจ ก็ได้ติดต่อไปยังน้องสาว ซ่งเหม่ยหลิง ซึ่งขณะนั้นพำนักอยู่ในอเมริกาให้กลับมาเพื่อเห็นหน้ากันครั้งสุดท้าย แต่ก็ไม่มีโอกาส เนื่องจากคนใกล้ชิดซ่งเหม่ยหลิงบอกว่าไม่ควรไปยุ่งกับพวกคอมมิวนิสต์

หลังเสียชีวิต ศพของซ่งชิงหลิง กลับไม่ได้ถูกฝังกับ ดร. ซุนยัดเซ็น  ในสุสานจงซาน 中山陵 ที่นานกิงเพราะคำสั่งเสียของเธอให้ฝังศพเธอที่สุสานตระกูลซ่ง ที่เซี่ยงไฮ้  แทน

หลายคนคิดว่า เธอน่าจะสำนึกผิดเรื่องที่ เธอเลือกซูนยัดเซ็นมากกว่าพ่อแม่ เพราะครั้งนั้น พ่อของเธอถึงขั้นตัดพ่อลุกกันเลยทีเดียว  นอกจากนี้ หลังจากที่เธอกลับมาเข้าข้างพรรคคอมมิวนิสต์ พรรคก๊กมินตั๋ง กลับโจมตีเธอ ว่า ดร. ซุนยัดเซ็น มีภรรยาเพียงคนเดียวคือ หลูมู่เจิน 卢慕贞 (ภรรยาคนแรกของซุนยัดเซ็น) ให้เธอไม่พอใจอย่างมาก

นอกจากนี้ ่ช่วงยุคปฎิวัติวัฒนธรรม พวกเรดการ์ด ที่เซี่ยงไฮ้ บุกทุบป้ายหลุมฝังศพตระกูลซ่ง ขุดกระดูกพ่อแม่ของเธอขึ้นมาทำลาย เมื่อ ซ่ง ชิงหลิง เห็นภาพถึงกับปล่อยโฮ เหล่านี้อาจเป็นเหตุให้เธอเลือกที่จะอยู่กับพ่อมากกว่า

สาวน้องนุชคนสุดท้อง-ซ่งเหม่ยหลิง 宋美龄 หรือ มาดามเจียง(1898-2003)  เธอเคยตั้งปณิธานว่า “ถ้าไม่ใช่ฮีโร่แล้วจะไม่ขอแต่งด้วย” ฉะนั้นเมื่อเจอเจียงไคเชคมาจีบซึ่งขณะนั้นเจียงไคเชคเป็นถึงผู้อำนวยการโรงเรียนทหารฮ๋วงผู่ ทหารในประเทศจีนส่วนใหญ่ย่อมเป็นลูกศิษย์ และ อยู่ใต้บังคับบัญชาของเขา เช่นเดียวกับพี่ใหญ่ซ่งอ่ายหลิง ก็ยุส่งอีกว่า หากซ่งเหม่ยหลิงแต่งงานกับเจียงไคเชคก็จะได้เป็นสตรีหมายเลยหนึ่งของประเทศ ขณะที่ตัวเขาเองได้แต่งงานกับบุรุษผู้ร่ำรวยที่สุดของประเทศแล้ว ส่วนซ่งชิ่งหลิงซึ่งแต่งงานกับดร.ซุน ก็มีบารมีและได้รับการเคารพยกย่องถึง “บิดาของชาติ”ถ้าลงเอยกันอย่างนั้นได้ ตระกูลซ่งก็จะเป็นตระกูลที่ทรงอำนาจยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศจีน ถึงกับสามารถเรียกได้ว่าเป็นราชวงศ์ตระกูลซ่ง 宋家皇朝 ทีเดียว

ในที่สุดครอบครัวตระกูลซ่งก็ยอมให้ลูกสาวคนเล็กแต่งงานกับเจียงไคเชค ซึ่งตอนนั้นเจียงไคเช็กมีลูกมีเมียแล้ว โดยให้เจียงไคเชคยอมรับเงื่อนไขสามประการของตระกูลคือ

1.จะต้องรักและไม่ทอดทิ้งซ่งเหม่ยหลิงตลอดจนชีวิตจะหาไม่
2.ต้องหย่าขาดกับภรรยาคนปัจจุบัน
3.จะต้องเปลี่ยนศาสนามาเป็นศาสนาคริสตร์ นิกายออโธด็อกซ์ เหมือนครอบครัวซ่ง

ครั้งสงครามจีน-ญี่ปุ่นนั้น ญี่ปุ่นบุกหนัก ประชาชนเรียกร้องให้จีนเลิกสู้กันเอง และให้รวมตัวกันสู้กับญี่ปุ่น ซึ่ง ซ่ง เหม่ยหลิง (น้องสาวคนเล็ก) สนับสนุนแนวคิดนี้  แต่เจียงไคเช็กยืนยันว่าต้องสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์ของเหมาเจ๋อตุงก่อน ค่อยสู้กับญี่ปุ่น (เขาเลือกที่ถอนทัพจากนานกิง เพื่อรักษากำลังพลไว้ ปล่อยให้ญี่ปุ่นบุกยึดนานกิงอย่างง่ายดาย)

ในปี 1936 เจียงไคเช็ก ต้องไปประชุมพรรคก๊กมินตั๋งที่ ซีอาน แต่เขากลับโดนลูกน้องควบคุมตัว โดยนายพล จางเสวียเหลียง และ หยางหู่เฉิง เพื่อบังคับให้ พรรคก๊กมินตั๋ง ร่วมมือกับ พรรคคอมมิวนิสต์ ต่อต้านญี่ปุ่น

พรรคก๊กมินตั๋ง ลงความเห็นว่า ให้ส่งเครื่องบินไปถล่มซีอาน แต่ซ่ง เหม่ยหลิงยับยั้งไว้ และตัดสินใจเดินทางไปซีอานเพื่อเจรจาช่วยเจียงไคเช็ก และยอมร่วมมือกับพรรคคอมมิวนิสต์ ต่อสู้กับญี่ปุ่น

ครั้งนั้นเอง สามพี่น้องตระกูลซ่ง ได้มาเจอกันอีกครั้ง และได้เดินทางไปเยี่ยมทหารในแนวหน้า ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความร่วมมือระหว่าง เหมาเจ๋อตุง กับ เจียงไคเช็ก

ครั้งนั้น ซ่ง เหม่ยหลิงถึงกับออกแถลงการณ์ ต่อต้านสินค้าญี่ปุ่น และรวบรวมชาวจีนต่อต้านญี่ปุ่น โดยก่อนสิ้นสงครามโลกคร้งที่ 2 เธอยังแสดงบทบาท โดยเดินทางไปขอให้สหรัฐสนับสนุน พรรคก๊กมินตั๋ง อีกด้วย

แต่หลังสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นยอมแพ้  ก็เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นในประเทศจีนอีกครั้ง ระหว่างก๊กมินตั๋ง กับพรรคคอมมิวนิสต์  แต่ครั้งนี้ พรรคคอมมิวนิสต์ สามารถยึดประเทศจีนได้สำเร็จ ทำให้พรรคก๊กมินตั๋ง เจียงไคเช็ก และซ่งเหม่ยหลิง ต้องอพยพไปไต้หวัน จบจวนเจียงไคเช็กตาย ซ่งเหม่ยหลิงก็อพยพไปใช้ชีวิตบั้นปลายในอพาร์ทเม้นหรูในกรุงนิวยอร์ก จนเสียชีวิตในปี 2003 ด้วยอายุรวม 106 ปี

อ้างอิงจาก คุณคมคิด
มีคำกล่าวกันว่า "คนหนึ่งรักเงิน คนหนึ่งรักอำนาจ คนหนึ่งรักชาติ" (一個愛錢、一個愛權、一個愛國 หรือ อี้เกอไอ้เฉียน อี้เกอไอ้เฉวียน อี้เกอไอ้กั๋ว) หมายความว่า พี่สาวคนโตแต่งกับขุนคลังเพราะเห็นแก่เงิน น้องสาวคนเล็กแต่งกับขุนศึกเผด็จการเพราะหลงอำนาจ พี่คนรองมีความรักชาติ เพราะแต่งกับบิดาของชาติและทำงานเพื่อชาติมาตลอด

คำกล่าวนี้ คับแคบยิ่งนัก ทั้ง 3 พี่น้องมีชะตากรรมที่พิเศษ เกิดในยุคที่พิเศษ ทั้ง 3 ล้วน รักชาติบ้านเมือง เพียงแต่รักกันคนละแบบ และผลแพ้ชนะของประวัติศาสตร์ทำให้ ผู้แพ้ และ ผู้ที่ปิดปากตัวเองถูกฉาบเคลือบไว้ด้วยภาพลักษณ์ด้านลบอย่างมีอคติ

วันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2563

วัน “เหตุการณ์ 228” ไต้หวันนองเลือด และ สยองขวัญสีขาว

"เกาะนี้มันน่าสงสารนะ ตอนแรกก็ญีปุ่นต่อมาก็จีน ทุกคนมาเพื่อเอาเปรียบ ไม่มีใครสนใจไยดีเราจริงๆ เลย”

จาก หนังเรื่อง City of Sadness

( 二二八事件)


เหตุการณ์ 228” ซึ่งเกิดขึ้นในวันที่ 28 .. 1947 ในไต้หวัน ไต้หวัน ตั้งแต่ช่วงที่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ไต้หวันเปลี่ยนจาก อาณานิคมญี่ปุ่น กลายเป็นพื้นที่ภายใต้การดูแลโดยรัฐบาลก๊กมินตั๋งซึ่งในขณะนั้นยังเป็นรัฐบาลที่ปกครองประเทศจีนแผ่นดินใหญ่



ภาษาไต้หวัน คือ ภาษาจีนกลาง และภาษาจีนฮกเกี้ยนแบบไต้หวัน (ไม่เหมือนฮกเกี้ยนแบบจีนแผ่นดินใหญ่) หรือเรียกอีกอย่างว่า ภาษาหมิ่นหนานแบบไต้หวัน โดยได้รับอิทธิพลมาจากมณฑลฝูเจี้ยน หรือภาษาหมิ่นใต้ แต่ปัจจุบัน ถูกภาษาจีนกลาง กลืนหมดแล้ว



ที่มา หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

เกาะฟอร์โมซ่า (เป็นชื่อเกาะเดิมที่สเปนเคยตั้งชื่อให้ แปลว่า เกาะสวยงาม) ก่อนสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ไต้หวันอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่นรวม 50 ปีของการปกครองของคือ ช่วงปี 1895-1945 ทำให้ประชาชนบางส่วนได้รับรู้วัฒนธรรมญี่ปุ่น ทั้งวัฒนธรรมชินโต และภาษาญี่ปุ่น ต่อมาวันที่ 24 ตุลาคม 1945 เฉินหยี ผู้ว่าการไต้หวันก็เข้ามารับตำแหน่งแทนผู้ว่าคนเดิมของญี่ปุ่น



ในปี 1945 รัฐบาลก๊กมินตั๋ง ตั้งหน่วยงานปกครองที่ไทเป แล้วก็สั่งกองทหารและข้าราชการจากประเทศจีนไปที่ไต้หวัน เพื่อจัดการรับดูแลไต้หวันจากญี่ปุ่น รัฐบาลก๊กมินตั๋งยึดกิจการต่างๆ ทั้งของภาครัฐและเอกชนจากฝ่ายญี่ปุ่น เช่น โรงงานน้ำตาลและบริษัทไฟฟ้า ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญมากในสังคมไต้หวัน ส่วนทรัพย์สินทางธุรกิจและทหารต่างๆ ที่คนญี่ปุ่นเหลือไว้ ก็ถูกยึดแล้วก็ส่งไปประเทศจีนอย่างมากมาย



กิจการที่เป็นของญี่ปุ่นต่างๆ รัฐบาลจึงได้ ผูกขาดในยาสูบ , น้ำตาล , การบูร , ชา , กระดาษ , สารเคมี , การกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม , การทำเหมืองแร่และปูนซีเมนต์ ทำให้ คนไต้หวันไม่ได้ประโยชน์จากการค้าขายสินค้าดังกล่าวได้ แน่นอนว่า การผูกขาดก็ก่อให้เกิดตลาดมืด และภาวะเงินเฟ้ออย่างหนัก เพราะสิ่งของต่างๆ ถูกส่งไปสนับสนุนสงครามกลางเมืองระหว่าง ก๊กมินตั๋ง และพรรคคอมมิวนิสต์ ที่แผ่นดินใหญ่



คนไต้หวันในช่วงเวลานั้นพูดได้เฉพาะภาษาญี่ปุ่นและภาษาแม่ (ส่วนใหญ่เป็นภาษาไต้หวัน) ส่วนคนจีนจากประเทศจีนที่ไปอยู่ที่ไต้หวัน ใช้ภาษาจีนกลางเป็นหลัก ดังนั้นจึงสามารถแยกได้ชัดว่าใครเป็นคนไต้หวัน ใครเป็นคนจีน จากการสนทนากันเพียงไม่กี่คำ ความไม่เข้าใจระหว่างคนจีนกับคนไต้หวันในแง่ภาษา สร้างปัญหาความขัดแย้งในสังคมอย่างมาก เนื่องจากเหตุผลทั้งการเมืองเศรษฐกิจและวัฒนธรรม ความไม่พอใจที่คนไต้หวันมีต่อคนจีนจึงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ



28 กุมภาพันธ์ 1947

วันที่ 27 .. 1947 มีตำรวจและเจ้าหน้าที่ตรวจสอบการค้า 10 คน เกิดทะเลาะวิวาทกับ แม่ค้าคนนึงชื่อ หลิง เจียงม่าย(林江邁)ซึ่งถูกเจ้าหน้าที่จับได้ว่าขายบุหรี่เถื่อน เจ้าหน้าที่ได้ลงโทษปรับแล้วก็พยายามยึดสินค้าของกลางไปด้วยทั้งหมด นางหลิงถูกกระแทกด้วยปืนที่หัวและหมดสติไปในระหว่างที่กำลังทะเลาะกับเจ้าหน้าที่อยู่นั้น ประชาชนที่ไปมุงดูเกิดความขุ่นเคืองและเข้าไปทำร้ายเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่จึงตอบโต้ด้วยการยิงปืนกราด ทำให้มีผู้ตายหนึ่งคน อันนี้คือจุดระเบิดของเหตุการณ์ 228



วันที่ 28 .. ฝูงชนผู้โกรธแค้นได้พากันไปชุมนุมบนทางเดินทางจากอาคารสถานีตำรวจไปถึงสำนักผูกขาดยาสูบ เพื่อเรียกร้องการรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ สุดท้ายแล้วฝูงชนไปถึงหน้าอาคารหน่วยงานปกครองไต้หวัน เพื่อขอความเป็นธรรมจาก เฉินุหยี(陳儀) ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการไต้หวันในขณะนั้น ทว่าทหารใช้ปืนยิงใส่ฝูงชนทำให้ประชาชนตายไปเป็นจำนวนมาก ฝูงชนที่ไทเปจึงออกอากาศทั่วเกาะประกาศว่าที่ไทเปเกิดความรุงแรง ชวนประชาชนไต้หวันลุกชึ้นมาสู้กับผู้มีอำนาจ ความไม่พอใจต่อรัฐฯ ของชาวไต้หวันจึงระเบิดออกมา การจลาจลแพร่ระบาดทั่วเกาะ การปะทะกันระหว่างประชาชนกับทหารเกิดขึ้นอย่างร้ายแรง กรณีที่คนไต้หวันใช้กำลังกับคนจีนโดยไม่มีเหตุผลก็เกิดขึ้นอย่างมากมายเช่นกัน

คนไต้หวันถึงขนาดมีกองกำลังชื่อ เพลิง27 ที่คอยก่อกวน และทำร้ายคนจีนแผ่นดินใหญ่ โดยการไล่ถามผู้คนตามท้องถนนด้วยภาษาไต้หวัน

ขณะนั้น ผู้ว่า เจรจาเพื่อรอกำลังเสริ่มจากแผ่นดินใหญ่ มีผู้นำท้องถิ่นในสังคมไต้หวันบางกลุ่ม ตั้งคณะกรรมการเพื่อจัดการเจรจากับหน่วยปกครองไต้หวัน พอให้รักษาความสงบในสังคมและขอความเป็นธรรมต่อประชาชน แต่พวกผู้นำไต้หวันไม่รู้ว่า ระหว่างการต่อรอง เฉินหยี ส่งข่าวไปถึงประเทศจีนให้เจียงไคเช็คอย่างลับๆ ว่าไต้หวันเกิดการจลาจล ขอให้ส่งกองทหารจากจีนมาปราบปรามประชาชนที่ไต้หวัน

วันที่ 8 มีนาคม 1947 กองทหารจากประเทศจีนขึ้นเกาะไต้หวันจากท่าเรือ จีหลง และเริ่มการสังหารหมู่ทั่วเกาะ ซึ่งถูกเรียกว่า “การสังหารหมู่มีนาคม”(三月大屠殺) จึงเริ่มต้นที่นี่ กลุ่มคนไต้หวันที่เป็นผู้นำหรือผู้รู้ท้องถิ่น รวมถึงนักข่าว นักศึกษา หมอ ศิลปิน และนักธุรกิจ ถูกทหารจับไปประหารชีวิตเป็นจำนวนมาก จากวันที่ 8 มี.. ถึงต้นเดือน พ.. 1947 คนไต้หวันที่เสียชีวิตในการปราบปรามและการสังหารหมู่ นับเกือบเกินหมื่นกว่าคน (มีชาวอเมริกัน ผู้ที่เดินทางมาถึงบอกว่า มีทั้งการปล้น ฆ่า ตัดคอ ข่มขืนสาวๆอีกด้วย)

รายงานอย่างเป็นทางการที่ส่งกลับนานจิง ระบุว่า มีผู้เสียชีวิต 4000 คน ขณะที่ไม่นับผู้สูญหายอีกจำนวนมาก แต่ชนชั้นสูงที่เคยเข้าข้างญี่ปุ่น นั้นถูกสั่งฆ่าหมด รวมถึงผู้นำท้องถิ่น และพวกฝักใฝ่คอมมิวนิสต์



เหตุการณ์ 228 คือจุดเริ่มต้นที่สำคัญของ แนวคิดปลดแอกไต้หวันเป็นเอกราช ทว่าหลังจากนั้นไม่นาน เมื่อวันที่ 19 .. 1949 รัฐบาลก๊กมินตั๋งก็ประกาศกฎอัยการศึก คนไต้หวันกลับโดนกดขี่ อย่างหนัก พวกเขาไร้เสรีภาพในการพูดและภาพสื่อ จนกระทั่งถึงปี 1987 ในระยะเวลาเผด็จการอย่างยาวนานที่เรียกว่า “ความสยองขวัญสีขาว” (白色恐怖) คนที่ถูกมองว่ามีแนวคิดฝ่ายซ้าย หรือ แนวคิดปลดแอกเอกราชไต้หวัน ถูกจำคุกและประหารจำนวนมาก รัฐบาลก๊กมินตั๋ง พยายามปิดปากพวกต่อต้านและ พยายามใช้ระบบการศึกษาล้างสมองเยาวชนของชาติ สร้างชาตินิยมจีนในสังคมไต้หวัน และพยายามลืม เหตุการณ์ 228 จากไม่มีใครกล้าพูด จนกลายเป็นว่าไม่มีใครคิดว่าต้องพูด


สยองขวัญสีขาว
ระยะเวลาของกฎอัยการศึกยาวนานถึง 38 ปี 57 วัน ตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม 1949 ถึง 15 กรกฎาคม 2530 ระยะเวลาของกฎอัยการศึกของไต้หวันเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานที่สุดของกฎอัยการศึกในโลกในเวลาที่ยกขึ้น แต่เนื่องจาก ถูกแซงหน้าในช่วงระยะเวลา 48 ปีของกฎอัยการศึกของซีเรียซึ่งกินเวลาตั้งแต่ปี 2506 ถึง 2554

กฎอัยการศึกของไต้หวัน เปรียบได้ดั่ง กฎหมายอาญาพิเศษของพรรคคอมมิวนิสต์ที่จีนแผ่นดินใหญ่ อยู่ภายใต้การดูแลของ หน่วยงานความมั่นคงของไต้หวัน และไม่ต้องคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ประชาธิปไตย เสรีภาพ หรืออะไรทั้งสิ้น พวกเขาใช้กฎหมายนี้ ทั้งทารุณ ฆ่า หรือแม้แต่ยึดทรัพย์ฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง ไม่ว่าจะฝั่งซ้าย ฝั่งนิยมญี่ปุ่น ฝั่งนิยมคอมมิวนิสต์ก็ตาม

กฎอัยการศึก เริ่มต้นด้วยการ ไม่ให้ตั้งพรรคการเมืองใหม่ นอกจาก ก๊กมินตั๋ง (นี่คือประชาธิปไตยแบบเจียงไคเช็ก) ห้ามประชาชนชุมนุมประท้วงตามท้องถนน ห้ามพูดถึง ผู้สูญหายหรือเสียชีวิต และห้ามออกนอกเคหะสถานในยามค่ำคืน

ขณะที่หนังสือพิมพ์ตีพิมพ์ได้ไม่เกิน 6 หน้า และมีเพียงแค่ 31 ฉบับเท่านั้น โดย 15 ฉบับเป็นของรัฐบาล และทหารเป็นเจ้าของ และแน่นอนว่า โดนสั่งเซนเซอร์เนื้อหาทางการเมืองทั้งหมด รวมถึงยังต้องคอยตีบทความโฆษณาชวนเชื่อต่างๆ ให้รัฐบาล และเจียงไคเช็ก ยังสนับสนุนให้เกิดลัทธิล่าแม่มด โดยสนับสนุนให้ประชาชนเปิดเผยรายชื่อ คนที่ ่น่าจะ ต่อต้านรัฐบาล หรือเป็นคอมมิวนิสต์ อีกด้วย

นอกจากนี้ ผู้ต้องสงสัยต้องถูกนำตัวมาพิจารณาคดีที่ศาลทหาร โดยมีคำพิพากษาเพียง 2 อย่างคือ ประหารหรือจำคุกเท่านั้น และหากพบว่า นักโทษมีแนวโน้มว่า จะก่อให้เกิดปัญหาจะถูกส่งไปจำคุกที่ เกาะกรีนไอส์แลนด์ตะวันออกของไต้หวัน แน่นอนว่า ความสยองขวัญสีขาว นี้เองพรากชีวิตผู้คนไปกว่า 20000 ชีวิต และ
เจียงไคเช็ก หัวใจวาย ตายในปี 1975 ทำให้เริ่มมีการผ่อนผันมากขึ้น โดยมีการก่อตั้งพรรคการเมือง ประชาธิปไตยก้าวหน้า (DDP) ในปี 1986 ปีถัดมา กฎอัยการศึกจึงถูกยกเลิกในปี 1987 โดย เจียงจิงกั๋ว ลุกชายของเจียงไคเช็ก


ขณะที่รัฐบาลไต้หวัน พยายามสร้างภาพใหม่ โดยมีการยกรูปปั้นเจียงไคเช็กออกจาก เขตทหาร เพื่อป้องกันภาพลักษณ์ที่ถูกมองข้ามเรื่อง ความเผด็จการของพรรคก๊กมินตั๋งในอดีต นอกจากนี้ หนังสือเรียนประวัติศาสตร์ ก็เขียนประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเหตุการณ์ 228 แบบคลุมเคลือ ไม่ชัดเจน แม้ว่าทุกวันนี้ ทุกปีของวันที่ 28 กุมภาพันธ์ จะเป็นรำลึกถึงสันติภาพแห่งชาติไต้หวัน และจะมีผู้เดินขบวนประท้วงให้นำผู้กระทำผิดในอดีตมาลงโทษให้ได้

ตราบใด ไต้หวันทุ่มเทเงินไปกับการยกย่องเจียงไคเช็ก เผด็จการตัวจริง ตราบนั้น ไต้หวันไม่มีวันค้นพบความยุติธรรม” นักศึกษาผู้ออกมาประท้วง กล่าว



1949: 713 Penghu incident [zh] or the Shantung student refugee incident, where secondary school students, refugees from Shandong province, were conscripted by force as child soldiers on July 13.[7]

1952: Chungli Yimin Middle School incident [zh]

1952: Luku incident [zh]

1953: Aborigine leaders Tang Shou-jen [zh] and Kao Yi-sheng [zh] are arrested and executed in 1954.

1960: Arrest of Lei Chen, publisher of the Free China Journal

1961: Su Tung-chi [zh] case

1968: Arrests of writers Chen Yin-chen [zh] and Chiu Yen-liang [zh], who supported independence

1972: Trials of Huang Chi-nan [zh] and Chung Chien-hsun [zh]

1979: Eight pro-democracy activists are arrested following a riot on December 10, later known as the Kaohsiung Incident.

1980: The mother and twin daughters of democracy activist Lin Yi-hsiung (arrested following the Kaohsiung incident) are stabbed to death on Feb. 28.

1981: Professor Chen Wen-chen is found dead on July 3 after a long interrogation session with government officials.

1984: Journalist Henry Liu is assassinated at his home in Daly City, California for writings disparaging President of the Republic of China Chiang Ching-kuo.



วันศุกร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2563

ดาบใหญ่หวังอู่ วีรบุรุษผู้กล้าแห่งยุคชิง

ดาบใหญ่หวังอู่ วีรบุรุษผู้กล้าแห่งยุคชิง

หวังอู่(王五) เป็นวีรบุรุษปลายยุคราชวงศ์ชิง(ค.ศ.1854-1900) มีชื่อจริงว่า หวังเจิ้งอี้(王正谊) เกิดที่ชางโจว อายุแค่สามขวบ พ่อป่วยตาย ต้องช่วยแม่ทำงานหาเลี้ยงตัวเอง มีประวัติว่า เขายากจนขนาดในคืนที่หนาวเหน็บ เขาและแม่ต้องกอดกันเพื่อให้ร่างกายอบอุ่น

ต่อมา เขาได้มาพบกับ หลี่ฟ่งกัง(李凤岗) เจ้าสำนักมวยหกบรรจบ (六合拳门) ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในเวลานั้น โดยเฉพาะฉายา ดาบคู่ หลี่ฟ่งกัง ได้รับ หวังเจิ้งอี้ เป็นศิษย์ เขาได้ฝึกวิชา มวยหกประสาน และอาวุธดาบ ตอนนั้นเขาถือเป็นพี่ใหญอันดับ 5 จึงได้รับฉายา เสี่ยวอู่จื้อ  มีอาวุธประจำกายคือ ดาบใหญ่ จึงมีฉายา หวังอู่ ดาบใหญ่ หรือ ต้าเตาหวางอู่  大刀王五 








หวังเจิ้งอี้ ได้กราบขอให้ หลี่ฟ่งกัง รับเขาเป็นศิษย์ แต่หลี่ฟ่งกัง ปิดประตูทุกครั้ง แต่หวังเจิงอี้ คุกเข่าอยู่หน้าประตูจน หลี่ฟ่งกัง ประทับใจและเห็นจิตวิญญาณของเขา จึงรับ หวังเจิ้งอี้ เป็นศิษย์

หวังอู่ นับถืออาจารย์คนนี้มากเพราะถือว่า หลี่ฟ่งกัง เป็นคนพาเขาออกจากความยากจน จนได้ชื่อใหม่ว่า หวังอู่ (หวัง มาจากแซ่ของเขา คือแซ่หวัง (王姓) ส่วนอู่ คือเป็นบุตรคนที่ 5) ดัวยความมุ่งมั่นที่จะพาตัวเองจากความยากจน เขาจึงต้องทั้งทำงานอย่างหนัก และมุ่งมั่นฝึกฝีมือจนอาจารย์มองเห็นแวว พาไปฝากกับศิษย์พี่ของเขา หลิวชื่อหลง(刘仕龙) และฝากให้ทำงานเป็นเปาเปียว หรือสำนักคุ้มภัยสินค้า


 กรุยทาง..ด้วยที่มีฝีมือในการใช้ดาบใหญ่จึงมีสมญานามว่า หวังอู่ดาบใหญ่(大刀王五) (ชื่อเต็มๆ จะเป็น (หวังอู่ ราชาแห่งดาบใหญ่) จนถูกจัดอยู่ในระดับ สิบยอดจอมยุทธ์ ในสมัยราชวงศ์ชิงตอนปลาย หนึ่งในนั้นคือ ฮั่วหยวนเจี่ย และ หวงเฟยหง

เข้าวัย 30 ปี ได้เดินทางไปเมืองหลวง เป่ยจิง เขาได้ฝากตัวเป็นศินย์ ซานซีต่ง (山西董) แห่งสำนักคุนหลุน ได้ฝึกปรือวิชาดาบเดี่ยว เพิ่มเติม 

อุปนิสัยของเขา เป็นคนยึดถือคุณธรรม ชอบคบหามิตรสหายที่ใจตรงกัน เขาได้รู้จักกับ ถันซื่อถง ฉายา จ้วงเฟย เป็นผู้มีการศึกษาดี ฝักใฝ่ทั้งบู๊ และบุ๋น จึงได้ฝากตัวเป็นศิษย์ ของ เขา ความสัมพันธ์ระหว่าง ถานซื่อถง กับ หวังอู่ จึงเป็นไปแบบทั้งมิตร ทั้งพี่ทั้งน้อง และศิษย์อาจารย์ไปพร้อมๆ กัน


รัชสมัยกวงสู(光绪) บ้านเมืองวุ่นวาย ในขณะนั้น หวังอู่ ร่วมกับเพื่อนสนิท ถานซื่อถง (谭嗣同) เปิดสำนักมวยฝูอู่อี้(父武义学) และสำนักคุ้มภัยหยวนชุ่น(源顺镖局) ตั้งอยู่นอกประตูเป่ยจิง  กิจการของหวังอู่รุ่งเรืองดี ขอบเขตบริการเหนือจรดด่านซานไห่กวน ใต้จรดลำน้ำชิงเจียงผู่ จนสำนักเปาเปียวของเขา ได้ขึ้นเป็น 1 ใน 8 สำนักคุ้มภัยที่มีชื่อในปักกิ่ง



ปฎิรูป 100 วัน
หลังสงครามซิโน จีน-ญี่ปุ่น วันที่ 11 มิถุนายน 1898 จักรพรรดิกวางซวี่จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการดำเนินการปฏิรูปประเทศอย่างเร่งด่วน เช่น การยกเลิกระบบสอบจอหงวนเพื่อเข้ารับราชการ มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยปักกิ่งเพื่อสอนวิชาความรู้สมัยใหม่ ส่งนักเรียนทุนไปเรียนเมืองนอก การปฏิรูปกองทัพ และสร้างรถไฟทั่วประเทศจีน รวมถึงแนวคิดที่เปลี่ยนการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นประชาธิปไตยโดยมีจักรพรรดิเป็นประมุขอีกด้วย

โดยมีการตั้งคณะที่ปรึกษาเพื่อเสนอแผนการที่จะปฏิรูปบ้านเมือง ซึ่งแกนนำนั้นมีทั้งหมด 6 คนหรือ รู้จักกันในนาม "หกผู้กล้ายุคปฏิรูป" อันประกอบด้วย ถาน ซื่อถง (谭嗣同) ,คัง ก่วงเหริน ,เลขานุการ หลิน ซู่ (林旭) ,หยาง เซินซิ่ว,  หยาง รุ่ย, และหลิว กวงตี้  และที่ปรึกษาคนสนิท (อาจารย์ของกวงซี่ ) คือ คัง โหยวเหว่ย

หวังอู่ กับ เพื่อนสนิท ถานชื่อถง(谭嗣同) เลือกที่จะสนับสนุน จักรพรรดิกวงสู ปฎิรูปการปกครองประเทศ เขารับปาก ถานซื่อถงว่า เขาจะดูแล และคุ้มครอง ถานชื่อถง(谭嗣同) เองทำให้ หวังอู่ต้องตามถานซื่อถงทุกฝีก้าว รวมถึงดูแล ที่อยู่อาศัย และ อาหารการกินด้วย

การปฏิรูปดังกล่าวนี้ได้รับการคัดค้านอย่างรุนแรงจากขุนนางฝ่ายอนุรักษ์นิยม โดยเฉพาะข่าวลือที่ว่า จักรพรรดิกวงสี่ จะยกเลิกระบบ 8 ธง ที่ขัดแย้งกับการปกครองของแมนจู อย่ารุนแรง จักรพรรดิกวงสูเห็นว่า ซูสีไทเฮาจะต้อขัดขวางการปฎิรูปนี้แน่ๆ เขาจึงวางแผนโค่นล้ม ซูสีไทเฮา

เขาจึงให้ ถาน ซื่อถง หนึ่งในคณะปฏิรูปเดินทางไปหา หยวน ซื่อไข่ เพื่อที่จะใช้กองทัพของเขาโค่นล้มอำนาจของซูสีไทเฮา แต่ว่าเหตุการ์ณนั้นก็ต้องกลับตาลปัตร เพราะหยวน ซื่อไข่ เลือกที่จะเอาข่าวนี้ไปกับหยงลู่ (Rong Lu) ขุนนางมือขวาของซูสีไทเฮาให้ทราบ เรื่องจึงถึงหูของ ซูสีไทเฮา นางจึงทำการรัฐประหารในช่วงเช้าของวันที่ 21 กันยายน ค.ศ.1898

ผลก็คือ แทนที่ การจับกุมพระนางซูสีไทเฮาจะประสบความสำเร็จ กลับกลายเป็น ฝ่ายคณะปฏิรูปที่ถูกจับกุมตัวแทน คณะปฏิรูปส่วนหนึ่งถูกประหารชีวิต ยกเว้น คังโหย่วเหวย์ และเหลียงฉีเชา ที่หลบลี้หนีภัยเอาตัวรอดไปประเทศญี่ปุ่นได้หวุดหวิด ส่วน จักรพรรดิกวางซวี่ถูกคุมตัวไว้ ณ ตำหนักหนานไห่หยิงไถ ซึ่งเป็นเกาะกลางทะเลสาบจำลอง พร้อมกับมีแถลงการณ์ออกมาว่า “พระองค์ทรงพระประชวรไม่สามารถออกว่าราชการได้” และการปฏิรูปที่เกิดขึ้นมา 103 วันก็สิ้นสุดลง (จึงเรียก เหตุการณ์นี้ว่า การปฎิรูป 100 วัน (百日維新)  อย่างไรก็ดี เหตุการณ์นี้เองที่กระตุ้นให้เหล่าคนรักชาติจีนทั้งประเทศตื่นจากการหลับไหล

การที่หวังอู่ไปสนับสนุนฝ่ายปฎิรูป และรับปากอาสาจะดูแลชีวิต.ถานซื่อถง..สมบัติของชาติผู้นี้... ตำนานเล่าว่า ระหว่างการเข้าจับกุม ถานซื่อถง พยายามจะช่วย ถานซื่อถง แต่ ถานซื่อถง กลับปฎิเสธ และพูดคำพูดอมตะว่า

"การปฎิวัติ ไมมีประเทศไหนไม่หลั่งเลือด ข้า ถานซื่อถง ขอหลั่งเลือดเป็นคนแรก " ทำให้หวังอู่หนีออกมาเพียงคนเดียว และเป็นที่มาของ คดีหกสุภาพบุรุษ(戊戌六君子案)...ในปลายยุคชิง

มีตำนานเล่าขานถึงวีรกรรมของ "หวางอู่ดาบใหญ่ ต้าเตาหวางอู่ “大刀王五” กันว่า เขาได้บุกฝ่าแดนประหารเข้าไปชิงศพของถันซื้อถง เพื่อนำศพถันซื่อถงกลับไปฝังที่บ้านเกิดของเขาที่ หลิวหยางมณฑลหูหนาน(湖南浏阳) จนสำเร็จ วีรกรรมครั้งนั้นเป็นที่กล่าวขานกันถึง ความกล้าหาญและน้ำมิตรที่มีต่อเพื่อน ของหวางอู่

โดย คณะปฎิรูป ส่วนใหญ่ ถูกฆ่าตายที่ตลาด ส่วน จักรพรรดิ กวังสู  สวรรคตก่อนพระนางซูสีไทเฮา 22 ชั่วโมง โดยมีข่าวลือว่า  เนื่องจากพระนางซูสีไทเฮาใกล้สวรรคต และไม่ยอมให้มีการปฎิรูปเด็ดขาด จึงเลือกวางยาพิษจักรรพรรดิกวังสูก่อนตัวเองจะสิ้นใจ โดยมีหลักฐานการขุดศพของจักรพรรดิขึ้นมาตรวจพบมีสารหนูมากกว่าคนธรรมดา 2000 เท่าของคนธรรมดา

คังโย่วเหว่ย และเหลียงฉีเชา  หลบหนีไปได้ โดยไปเคลื่อนไหวอยู่ต่างประเทศ เขาเลือกที่จะปฎิรูปประเทศ เป็นประชาธิปไตยแบบมีกษัตริย์เป็นประมุข ขณะที่ ดร.ซุนหยัดเซ็น ในตอนแรกเขาอยู่กลุ่มเคลื่อนไหวเดียวกัน แต่ตอนหลัง ดร.ซุนยัดเซ็น กลัวคนสับสน เพราะเขาเลือกที่จะปฎิรูปแบบประชาธิปไตยแบบประธานธิบดีเป็นประมุข คือ สาธารณรัฐจีน

หวังอู่ อี้เหอถวน
ค.ศ.1900 จางเต๋อเฉิง หัวหน้าขบวนนักมวยอี้เหอถวน เป็นเพื่อนกับ หวังอู่มาช้านาน จางเต๋อฉิง เป็ฯหัวหน้าคณะอี้เหอถวน ฐานที่ 1 ที่เดินทางมาจากเมืองเทียนสิน มาที่ปักกิ่ง เพื่อชักชวน หวังอู่ ไปร่วมทำศุึกกับกองทัพพันธมิตร 8 ชาติ

หวังอู่  สำนักซุนหยวนที่ปักกิ่ง เข้าร่วมกับ กบฎอี้เหอถวน หรือกบฎนักมวย(义和团) รับศึกกับฝรั่งต่างชาติ ทหารต่างชาติหลายคน ต้องคอขาดภายใต้ดาบใหญ่ของหวังอู่มากมาย

สิงหาคม 1900 จางเต๋องเฉิง ถูกฆ่าตาย  วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 1900 ราชวงศ์ชิงส่งทหารไปล้อมสำนักซุนหยวน ทำให้ หวังอู่ และคนอื่น ๆ ถูกจับกุม เพื่อไม่ให้คนอื่นเดือดร้อน หวังอู่เลือกที่จะเดินออกจากบ้านเพียงคนเดียว เขาถูกส่งตัวไปให้ทหารเยอรมัน และถูกประหารด้วยการยิงเป้าที่ประตูเมืองคลองตงเหอ  ในวัยเพียง 56 ปี และหัวถูกนำไปแขวนที่ประตูเมือง โดยมีข่าวลือ คือ ฮั่วหยวนเจี่ย ลูกศิษย์ของเขารีบเดินทางจากเทียนจิน มาที่ปักกิ่ง และในเวลากลางคืน ฮั่วหยวนเจี่ยเพียงคนเดียวก็ปีนขึ้นไปเอาหัวของหวังอู่ลงมา และฝังศพของอาจารย์เขาในคืนนั้น เพื่อให้ศพของอาจารย์อยู่ครบถ้วน

ตามตำนานกล่าวว่า ดาบของหวังอู่มีน้ำหนักมากกว่า 50 กิโลกรัมเลยทีเดียวดาบของเขาถูกเก็บไว้จนถึงปี 1958 นั่นคือหลังเหตุการณ์  "กระโดดก้าวใหญ่" ของเหมาเจ๋อตุง  มันจึงถูกนำมาหลอม  และการเสียชีวิตของเขา ถือเป็นการสิ้นสุด จิตวิญญาณแห่งดาบ ที่มีมานับพันปีของจีน

หวังอู่ ถือเป็นหนึ่งในวีรบุรุษกังฟู ของชาวจีน ที่คู่ควรกับการยกย่อง