หวั่นหรง คามลับอันน่าเศร้าของฮองเฮาคนสุดท้าย
ฮองเฮาคนสุดท้ายของราชวงศ์ชิงหรือคนสุดท้ายของจีน หว่านหร่ง (婉容 ชื่อเต็มคือ โกวปู้โลว วั่นหรง แปลว่า ผู้มีใบหน้าอันเลอโฉม ) หรือ เกรซ เกิด วันที่ 13 พฤศจิกายน 1904-20 มิถุนายน 1946) เป็น ชาวแมนจู กองธงขาว เป็นบุตรสาวของ หร่ง หยวน รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยในรัฐบาลชิง
หว่านหรง ถือเป็นคนที่มาจากตระกูลที่ร่ำรวย และโดดเด่นมากในยุคนั้น เธอเกิดที่ปักกิ่ง แต่บิดาส่งเธอไปเรียนที่โรงเรียนมิชชั่นนารีชาวอเมริกา ที่เทียนจิน ทำให้เธอได้เรียนภาษาอังกฤษ เปียโน และดนตรีแจ๊ส นอกจากนี้ เธอยังชอบกินอาหารตะวันตก ขี่จักรยาน และ ชอบพูดภาษาอังกฤษและชอบถ่ายรูปอีกด้วย
ผู๋อี้โกรธจัด
องค์หญิง ตงเจิน (มณีบูรพา) ระบุในรายงานว่า หวั่นหรง นั้นเกลียดญี่ปุ่นอย่างมาก เพราะทำให้เธอต้องมาอยู่ในที่อากาศหนาวเหน็บ และยังทำให้ความรักของเธอล่มสลายอีกด้วย
มีชู้กับองค์รักษ์
ฮองเฮาคนสุดท้ายของราชวงศ์ชิงหรือคนสุดท้ายของจีน หว่านหร่ง (婉容 ชื่อเต็มคือ โกวปู้โลว วั่นหรง แปลว่า ผู้มีใบหน้าอันเลอโฉม ) หรือ เกรซ เกิด วันที่ 13 พฤศจิกายน 1904-20 มิถุนายน 1946) เป็น ชาวแมนจู กองธงขาว เป็นบุตรสาวของ หร่ง หยวน รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยในรัฐบาลชิง
ช่วงเดือนมีนาคม 1922 ขณะที่ฮ่องเต้ ผูอี้ อายุได้ 16 ปี ผู้ใหญ่ในวังต่างคัดเลือก บุตรรีจากตระกูลที่ร่ำรวย จากภาพถ่ายที่ถุกส่งเข้ามาในวัง เพื่อให้ฮ่องเต้เลือกจากรูปถ่าย แต่รูปถ่ายในสมัยนั้นกลับไม่ชัดเจนเท่าไหร่ ทำให้ผูอี้ แยกภาพสตรีต่างๆ ไม่ค่อยออก ในตอนแรก ผูอี้เลือก เหวินซิ่ว แต่ผู้ใหญ่ในวังกลับไม่พอใจ และจัดการประชุมขึ้น ทำให้ผูอี้ต้องเลือก หว่านหรง เพราะหวานหรงนั้นหน้าตาดีกว่าคนอื่นและมาจากตระกูลที่มีชื่อเสียง ซึ่งตอนนั้น หว่านหรงก็อายุเท่ากับผู๋อี้ด้วย คือ 16 ปีเท่ากัน อย่างไรก็ดี เหวินซิ่ว ก็ยังได้เข้าวังมาในฐานะของนางสนม
(ความจริง ตอนนั้น ไทเฮาหลงยู่ ได้ ลงปรมาภิไธย สละราชบังลังก์ไปแล้ว ตั้งแต่ ปฎิวัติซินไฮในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ปี 1912 คนจีนบางคนจึงกล่าวได้ว่า หว่านหรงไม่ใช่ ฮองเฮาคนสุดท้าย เพราะตอนนั้นไม่มีระบบฮ่องเต้แล้ว)
หลังแต่งงาน ผูอี้ไม่ได้สนใจหวั่นหรงเลย แต่กลับไปสนิทสนมกับ พี่ชายของหวั่นหรง จนเป็นเพื่อนที่สนิทที่สุดในชีวิตของผู๋อี้เอง ทำให้ทั้งคู่ต่างใช้ชีวิตสนุกๆ ไป ตามภาษาวัยรุ่น จุดนี้เองที่ นักประวัติศาสตร์เชื่อว่า เพราะผู๋อี้สนิทสนมกับพี่ชายของหว่านหรงมาก จึงมอง หว่านหรง เป็นน้องสาวมากกว่าที่จะเป็น ภรรยา เพราะหว่านหรงคือ น้องสาวของเพื่อนสนิท
(ความจริง ตอนนั้น ไทเฮาหลงยู่ ได้ ลงปรมาภิไธย สละราชบังลังก์ไปแล้ว ตั้งแต่ ปฎิวัติซินไฮในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ปี 1912 คนจีนบางคนจึงกล่าวได้ว่า หว่านหรงไม่ใช่ ฮองเฮาคนสุดท้าย เพราะตอนนั้นไม่มีระบบฮ่องเต้แล้ว)
หลังแต่งงาน ผูอี้ไม่ได้สนใจหวั่นหรงเลย แต่กลับไปสนิทสนมกับ พี่ชายของหวั่นหรง จนเป็นเพื่อนที่สนิทที่สุดในชีวิตของผู๋อี้เอง ทำให้ทั้งคู่ต่างใช้ชีวิตสนุกๆ ไป ตามภาษาวัยรุ่น จุดนี้เองที่ นักประวัติศาสตร์เชื่อว่า เพราะผู๋อี้สนิทสนมกับพี่ชายของหว่านหรงมาก จึงมอง หว่านหรง เป็นน้องสาวมากกว่าที่จะเป็น ภรรยา เพราะหว่านหรงคือ น้องสาวของเพื่อนสนิท
แต่ถัดมาไม่นาน วัยรุ่นยุคนั้น กลับมีแฟชั่น นิยมการสูบซิการ์ บุหรี่ และฝิ่นตามแบบฝรั่ง ทำให้ เธอเริ่มสูบบุหรี่และฝิ่น ตามแฟชั่นของวัยรุ่นยุคนั้น โดยผู๋อี้ ก็ไม่ว่าอะไรเธอเรื่องนี้ แต่ในหนังสือชีวประวัติของผู๋อี้ ผู๋อี้ระบุว่า เขาเป็นคนไม่ชอบกลิ่นควันบุหรี่ ทำให้เขาเลือกที่จะอยู่ห่างๆ หว่านหรง เท่านั้น
ช่วงที่ยังใช้ชีวิตอยู่ในวัง หว่านหรง สนิทสนมกับ แหม่มครูสอนภาษาอังกฤษ แม้แต่ครูก็ยังชมว่าเธอเป็นคนฉลาดตั้งใจเรียนอย่างมาก เธอเป็นวัยรุ่นที่ร่าเริง ชอบถ่ายรูป ทั้งแฟชั่นแบบตะวันตก และแบบจีน นอกจากนี้
ช่วงที่ยังใช้ชีวิตอยู่ในวัง หว่านหรง สนิทสนมกับ แหม่มครูสอนภาษาอังกฤษ แม้แต่ครูก็ยังชมว่าเธอเป็นคนฉลาดตั้งใจเรียนอย่างมาก เธอเป็นวัยรุ่นที่ร่าเริง ชอบถ่ายรูป ทั้งแฟชั่นแบบตะวันตก และแบบจีน นอกจากนี้
ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1
แม้ว่า ผูอี้จะได้อยู่ราชวังต้องห้ามต่อไป และได้รับเงินดูแล 4 ล้านหยวนต่อปี แต่เป็นยุคข้าวยากหมากแพง ตอนนั้น มีขบวนการก่อตั้งพรรค คอมมิวนิสต์
ตุลาคม 1924 มีการรัฐประหาร หรือเรียกว่า " การปฎิวัติปักกิ่ง " โดย นายพล เฟิ่ง ยู่เสียง ทำให้วันที่ 5 พฤศจิกายน 1924 ปูยีต้องออกจากราชวังต้องห้าม ทำให้เธอต้องออกจากวัง มุ่งหน้าไปเทียนจิน เขตปกครองญี่ปุ่น โดยอาศัยในบ้านส่วนตัวขนาดเล็ก 3 ชั้น ที่นั่นเธอรู้สึกอับอาย และหดหู่ สถานการณ์ตอนนี้ ทำให้เธอเริ่มเครียด และเสพฝิ่นมากขึ้น
อย่างไรก็ดีเทียนจินก็ยังเป็นเมืองที่เจริญก้าวหน้า และเป็นเมืองท่าสำคัญ ทำให้ยังมีสังคมไฮโซ และทำให้เธอยังคงได้ช๊อปปิ้ง และ เที่ยวโรงละคร และเต้นรำ มีชีวิตอยู่ในแวดวงไฮโซ ของเมืองเทียนจินได้
ผู๋อี้โกรธจัด
ช่วงนี้มีข่าวว่า ทหารของ เจียงไคเช็ค บุกทำลายสุสานบรรพบุรุษราชวงศ์ชิง แถมยังขโมยไข่มุกดำ และพระมาลา (หมวก)ของพระนางซูสีไทเฮาไปทำรองเท้าเป็นของขวัญให้ภรรยาของเจียงไคเช็กด้วย ทำให้ผู๋ยีนั้นโกรธมาก และ ต้องการล้างแค้น เจียงไคเช็ก ทำให้ผู๋อี้ไปยอมรับข้อเสนอเป็นฮ่องเต้หุ่นเชิดของ ญี่ปุ่น นั่นคือ ประเทศแมนจูกัว
ขณะนั้นเอง เมื่อรัฐบาลสาธารณรัฐจีนทราบข่าว ก็ประกาศทันทีว่า ผู๋อี้เป็นกบฎ แต่ก็ไม่สามารถฝ่าวงล้อมของญี่ปุ่นไปจับเขาได้ อย่างไรก็ดี ญี่ปุ่นส่งสายลับมาประกบติด และคอยขู่บังคับ รวมถึงด่าทอ ผู๋อี้ ตลอดเวลา นอกจากนี้ ญึ่ปุ่นยังคอยกำจัดคนรอบข้างของผูอี้ออกไปทีละคนๆ โดยเฉพาะทหารองครักษ์ ที่ถูกกีดกันออกไปทีละคนๆ
ขณะนั้นเอง เมื่อรัฐบาลสาธารณรัฐจีนทราบข่าว ก็ประกาศทันทีว่า ผู๋อี้เป็นกบฎ แต่ก็ไม่สามารถฝ่าวงล้อมของญี่ปุ่นไปจับเขาได้ อย่างไรก็ดี ญี่ปุ่นส่งสายลับมาประกบติด และคอยขู่บังคับ รวมถึงด่าทอ ผู๋อี้ ตลอดเวลา นอกจากนี้ ญึ่ปุ่นยังคอยกำจัดคนรอบข้างของผูอี้ออกไปทีละคนๆ โดยเฉพาะทหารองครักษ์ ที่ถูกกีดกันออกไปทีละคนๆ
ช่วงนี้ หวั่นหรง ใช้ชื่อ อลิซาเบธ ขณะที่ผู๋ยี ใช้ชื่อว่า เฮนรี่ แม้ว่าพวกเขาจะได้ใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันตลอด แต่ความสันพันธ์กลับเริ่มแย่ลง ในปี 1931 พระสนม เหวินซิ่ว ขอหย่ากับผูอี้ แม้ ผูอี้ จะด่าหวั่นหรงเรื่องนี้ แต่ไม่มีใครรู้ความจริงเรื่องนี้ ในที่สุด ผูอี้ก็จำต้องหย่ากับสนมเหวินซิ่ว ตอนนี้ความสัมพันธ์ของทั้งคู่ระหว่างปูยี กับหวั่นหรง เริ่มห่างกันมากขึ้น อย่างไรก็ดี นักประวัติศาสตร์ เชื่อกันว่า หว่านหรง ยังรู้จักผิดชอบชั่วดี และไม่ยอมตกเป็นฮองเฮาหุ่นเชิดของญี่ปุ่นมากกว่า ขณะที่ผู๋อี้นั้น ต้องการเป็นฮ่องเต้หุ่นเชิดของญี่ปุ่นเพื่อล้างแค้น
ปีถัดมา เกิดภัยภิบัติน้ำท่วมครั้งใหญ่ หว่านหรง บริจาคไข่มุก และสร้อยหยก เพื่อบรรเทาภัย ทำให้หนังสือพิมพ์ต่างชื่นชมในตัวเธอ ขณะที่ต่อมา ผู๋อี้ ก็บริจาคด้วยเช่นกัน
ปี 1931 องค์หญิงตงเจิน หรือ คาวาชิมะ สายลับญี่ปุ่น ได้รับคำสั่ง ให้นำหวั่นหรง ไปแมนจูกัว ให้ได้ เพราะ หว่านหรง เธอปฎิเสธที่จะไปอยู่แมนจูเรีย แน่นอนว่า องค์หญิงตงเจิน นั้นถือว่าเป็นญาติรุ่นพี่รุ่นน้องกับ ผู๋อี้ เลยทีเดียว ทำให้ผู๋อี้นั้นสบายใจที่มีญาติมาอยู่ด้วย แต่สำหรับหว่านหรงแล้ว เธอหวาดระแวงญีุ่่ปุ่นอย่างมาก เพราะเธอถูกองค์หญิงตงเจิน ตามติดทุกฝีก้าว นอกจากนี้ ทหารญี่ปุ่นยังชอบตะโกนด่าทออย่าสม่ำเสมออีกด้วย ทำให้ เธอตัดสินใจที่จะหนี แต่เธอกลับถูกญี่ปุ่นจับได้ ดังนั้น การหลบหนีจึงเป็นไปไม่ได้อีกต่อไป ช่วงนี้ แม้เธอจะติดฝิ่นอย่างหนัก แต่เธอก็ยังคงแต่งกายสวยงามอยู่ในช่วงนั้น
มีชู้กับองค์รักษ์
ตามหนังสือชีวประวัติ from emperor to citizen (我的前半生)ของผู่หยี(溥儀) ส่วนที่ตัดออกไปคือ หวานหรงติดฝิ่นอย่างหนัก และช่วงนั้น หว่านหรง มีชู้กับองครักษ์ จนมีลูกสาวกับองค์รักษ์ เนื้อหาในหนังสือระบุว่า “ปี1935 เนื่องจากหวานหรงตั้งครรภ์ และกำลังจะคลอด ผมต้องเผชิญหน้ากับปัญหา สภาพจิตใจของผมแย่จนไม่สามารถบรรยายได้ ผมทั้งโกรธ ทั้งไม่อยากให้คนญี่ปุ่นรู้เรื่องนี้ ทางออกทางเดียวคือ ระบายอารมณ์ กับ หวานหรง”
ในตอนนี้ ทุกคนรู้แล้วว่า มีการทำผิดประเวณีเกิดขึ้นแล้ว ผู๋อี้นั้นถูกญี่ปุ่นตำหนิเรื่องนี้อย่างรุนแรง และต้องการประหารทารกน้อย โดยให้นายแพทย์ญี่ปุ่นที่ทำคลอดนั้นฉีดยา แต่ผู๋อี้ยืนยันว่า เขาจะปล่อยให้เด็กคนนี้ได้ลืมตาดูโลก และหวังให้เด็กเติบโตขึ้นมาอย่างเงียบๆ
แต่ในหนังสือชีวิประวัติของเขาที่เขียนด้วยมือของเขาเอง ฉบับก่อนที่จะตีพิมพ์ ระบุว่า ตัวผู๋อี้เองเป็นคนโยนเด็กลงในเตาไฟ ด้วยมือตัวเอง แต่นักประวัติศาสตร์หลายคนก็ยังเชื่อว่า เด็กนั้นน่าจะเสียชีวิตก่อนที่ผู๋อี้จะโยนเด็กเข้าเตาเผาแล้วในตอนนี้ ทุกคนรู้แล้วว่า มีการทำผิดประเวณีเกิดขึ้นแล้ว ผู๋อี้นั้นถูกญี่ปุ่นตำหนิเรื่องนี้อย่างรุนแรง และต้องการประหารทารกน้อย โดยให้นายแพทย์ญี่ปุ่นที่ทำคลอดนั้นฉีดยา แต่ผู๋อี้ยืนยันว่า เขาจะปล่อยให้เด็กคนนี้ได้ลืมตาดูโลก และหวังให้เด็กเติบโตขึ้นมาอย่างเงียบๆ
การที่ลูกสาวเสียชีวิตนี่เอง ทำให้หว่านหรงคิดถึงลูกจนเป็นโรคประสาท เธอเสพฝิ่นอย่างหนัก สภาพร่างกายและจิตใจ อยู่ในสภาพย่ำแย่มาก และไม่สามารถร่วมกิจกรรมใดๆ กับประเทศแมนจูกวอได้อีกต่อไป ถึงตอนนี้ หว่านหรงมีสภาพเข้าใกล้คนเสียสติเข้าไปทุกทีแล้ว ตอนนี้เธอไม่มีแม้แต่ การล้างหน้า อาบน้ำ ตัดผม ตัดเล็บ ปล่อยผมกระเซะกระเซิง แม้แต่ พ่อของเธอที่มาเยี่ยมเธอก็รับสภาพของเธอไม่ได้เช่นกัน จนในที่สุด พ่อของเธอก็เลิกมาเยี่ยมในที่สุด
ช่วงระยะเวลาสั้นๆ ผู๋อี้ ก็ได้แต่งงานใหม่กับ เด็กอายุ 16 คือ ถัน อวี้หลิง โดยให้เป็นนางสนมแทนตำแหน่งของ เหวินซิ่ว ถึงตรงนี้ ในรายงานของผู๋อี้ระบุว่า เขาไม่ได้มีอะไรกับ ถัน อวี้หลิง เช่นเดิม ทำให้ นักประวัติศาสตร์เชื่อว่า ผู๋อี้ น่าจะเป็นหมัน ที่อาจเกิดความผิดพลาดในวัยเด็กก็เป็นได้ เพราะมีเมียถึง 3 คน แต่ไม่มีการระบุเรื่องการหลับนอน หรือการมีลูกเลย
หลังสงครามโลกครั้งที่2
หลังจากที่ญี่ปุ่นประกาศแพ้สงคราม ในวันที่ 11 สิงหาคม 1945 กองทัพโซเวียต ใช้ปฎิบัติการ พายุเดือนสิงหาคม บุกแมนจูกัวอย่างรวดเร็ว โซเวียตสามารถยึด ตงเป่ย อย่างรวดเร็ว
ถึงตรงนี้ ญี่ปุ่นมีเพียงเครื่องบินลำเล็กๆ เพื่อให้หลบหนีไปที่ญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ผู๋อี้ กลับเลือกผู๋เจี๋ย น้องชาย และหลานอีก 3 คน และหมอหนึ่งคน เพื่อขึ้นเครื่องบิน ขณะที่หว่านหรง และนางสนม ถัน อวี้หลิง นั้นให้ขึ้นรถไฟหลบหนี
แต่ช้าไปเสียแล้ว โซเวียตบุกมาถึงเครื่องบินเรียบร้อยแล้ว หวานหรงจึงหนีตามผู้ติดตามไปเรื่อยๆ จนถูกกองทัพคอมมิวนิสต์จับได้ และมีการเคลื่อนย้ายไปหลายที่ ระหว่างที่เธออยู่ในคุก เธอมักจะหมดสติ และตะโกนอย่างบ้าคลั่ง แถมยังสลบไปพร้อมกับ ฉี่และอ๊วกของเธอเอง ทำให้ผู้คุมขังมักสมเพชเธออย่างมาก
แต่โชคดีที่ในคุก พรรคคอมมิวนิสต์ ยังให้ เจ้าหญิง ซางะฮิโระ และพระราชธิดา คอยดูแลเธออยู่ใกล้ๆ ภายในคุกเดียวกัน แต่ไม่นานผู้คุมก็ย้ายทั้งสองออกมา ทำให้ หวั่นหรงต้องอยู่คนเดียวอย่างเดียวดาย
สุดท้าย เธอก็เสียชีวิตที่คุกเหยียนจี๋ มณฑลจี๋หลิน ในวันที่10 มิถุนายน 1946 ในวัยเพียง 39 ปี เนื่องจากเธอขาดฝิ่นอย่างหนัก บางคนว่า ศพของเธอถูกเผาในคุก ขณะที่บางคนบอกว่า ศพเธอถูกโยนทิ้งในภูเขา จนทุกวันนี้ก็ยังไม่มีใครรู้ว่า ศพของหวานหรง อยู่ที่ไหน หลังจากนั้น 3 ปี ผู่อี้ได้ข่าวเสียชีวิตของหวานหรง แต่เขาก็ไม่ได้แสดงอารมณ์ใดๆออกมา
ในหนังสือประวัติของผู๋อี้ ระบุว่า เขาแต่งงาน 4 ครั้ง เป็นฮองเฮา 1 สมมเอก 1 และสนมรองอีก 2 คน ทั้งหมดเป็นเพียง การแต่งงานเฉพาะในนามเท่านั้น พวกเธอคือคนโชคร้ายสำหรับข้าพเจ้า
เรื่องผู่หยีเป็นหมัน กับการมีมีชู้ของหวานหรงนั้น น่าเชื่อถือมาก จากหนังสือ เสด็จอาคนสุดท้าย(末代皇叔载涛 )กับ ขันทีคนสุดท้าย(中国最后一位太监) นอกจากนี้ ในกระเป๋าสตางค์ของผูยี นั้นมีแต่รูปของยูหลิง และมีลายเซ็นระบุว่า ผูยีนั้นรัก ผูหลิงมากกว่า (และเป็นการยืนยันว่าเขาไม่ได้เป็นเกย์)
นอกจากนี้มีคนวิเคราะห์ว่า ผูอี้นั้นมองเธอเป็นแค่เพื่อนในวัยเด็ก เพราะผูอี้นั้น สนิทกับน้องชายแท้ๆของหวั่นหรง อย่างมาก
ในปี 2006 พี่น้องต่างมารดาของเธอ คือ โกวปู้โลว สุ่นฉี ก็สร้างอนุสรณ์สถานให้กับหวั่นหรง ในทิศตะวันตกของสุสานราชวงศ์ชิง แม้ว่า ภายในจะไม่มีศพของเธอเลยก็ตามแต่ในนั้น มีกระจกที่ถือของใช้ส่วนตัว อยู่ภายในแทน
ภาพ ลายมือข้างหลังภาพที่อยู่ในกระเป๋าสตางค์ของผู๋ยี
อย่างไรก็ดี แม้จะเป็นชีวประวัติที่เขียนด้วยลายมือของผูอี้ แต่ก็มีคนแย้งว่า พรรคคอมมิวนิสต์นั้นบังคับให้เขียนเพื่อแลกกับการปล่อยตัว เพื่อให้พรรคคอมมิวนิสต์นั้นนำไปใช้ในการโฆษณาชวนเชื่อ โดยเฉพาะเรื่องอี้อฉาว และเรื่องการแบ่งชนชั้น
นอกจากนี้มีคนวิเคราะห์ว่า ผูอี้นั้นมองเธอเป็นแค่เพื่อนในวัยเด็ก เพราะผูอี้นั้น สนิทกับน้องชายแท้ๆของหวั่นหรง อย่างมาก
ในปี 2006 พี่น้องต่างมารดาของเธอ คือ โกวปู้โลว สุ่นฉี ก็สร้างอนุสรณ์สถานให้กับหวั่นหรง ในทิศตะวันตกของสุสานราชวงศ์ชิง แม้ว่า ภายในจะไม่มีศพของเธอเลยก็ตามแต่ในนั้น มีกระจกที่ถือของใช้ส่วนตัว อยู่ภายในแทน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น