วันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

จีน(203-282) - ตือโป๊ยก่าย ตัวจริง กับ พระภิกษุ จูซื่อสิง (朱士行) ภิกษุสงฆ์รูปแรกของจีน

จีน(203-282) - ตือโป๊ยก่าย ตัวจริง กับ พระภิกษุ จูซื่อสิง (朱士行) ภิกษุสงฆ์รูปแรกของจีน

ภิกษุ จูซื่อสิง (朱士行) พระสงฆ์รูปแรกของพุทธศาสนามหายานในประเทศจีน ถือเป็นต้นกำเนิด ตัวจริงของตือโป๊ยก่าย

เรื่องของ หมู  ไม่เพียงแต่เป็น สัตว์เลี้ยงเพื่อทำอาหารในวัฒนธรรมประเพณีจีนเท่านั้น ยังเป็นที่รู้จักกันดีในตัวละครวรรณกรรมเอก เรื่อง ไซอิ๋ว ที่ชื่อ  "ตือโป๊ยก่าย หรือ จูปาเจี้ย (豬八戒) ซึ่งไปเกี่ยวพันกับเกร็ดของพระภิกษุสงฆ์องค์แรกแห่งประเทศจีน

วรรณกรรมไซอิ๋ว หนึ่งในสี่สุดยอดวรรณกรรมของจีน ประพันธ์โดย อู๋เฉิงเอิน 吴承恩 มีชีวิตอยุ่ในปี ค.ศ.1506-1582 นักเขียน นวนิยายสมัยราชวงศ์หมิง เล่าเรื่องการเดินทางของพระถังซำจั๋ง กับลูกศิษย์ทั้งสาม เดินทางไปชมพูทวีปเพื่ออัญเชิญพระไตรปิฏก

ตัวละครหลักอย่าง พระถังซำจํ่ง อู๋เฉิงเอิน อ้างอิงจาก  พระภิกษุ เสวียนจั๋ง ที่ออกเดินทางไปแสวงหาพระไตรปิฎกในยุคราชวงศ์ถัง ที่มีชีวิตอยู่ช่วงปี ค.ศ. 602 – ค.ศ. 664) จนได้ฉายา ถัง ที่มาจากชื่อราชวงศ์ถัง และ  ซำจํ่ง ที่แปลว่า พระไตรปิฎก 

ในบทที่ 19 ของวรรณกรรมเรื่องไซอิ๋ง  เป็นการปรากฏตัวครั้งแรก ของตัวละครที่ชื่อว่า จูปาเจี้ย (豬八戒, ภาษาแต้จิ๋ว คือ  ตือโป้ยก่าย ) ลูกศิษย์คนที่ 2 ของพระถังซำจั๋ง

เชื่อกันว่า  ชื่อตัวละคร ตือโป้ยก่าย หรือ จูปาเจี้ย นั้น อู๋เฉิงเอิน ผู้ประพันธ์ได้ขอยืมมาจาก ชื่อของหลวงจีนองค์หนึ่งของรัฐ เว่ยกว๋อ (三国魏国) ในยุคสมัยสามก๊ก ที่ชื่อว่า จูซื่อสิง 朱士行(มีช่วงชีวิตอยู่ราว ค.ศ. 203-282 ท่านเกิดในปลายยุคราชวงศ์ฮั่น และเสียชีวิตในยุค สามก๊ก

จูจื่อสิง หรือ จูซื่อเหิง (朱子行、朱士衡)  ท่านมีฉายาทางธรรมว่า ปาเจี้ย ซึ่งมีความหมายว่า ศีลแปด นั่นเอง  ( 法号八戒) คนทั่วไปมักเรียกท่านว่า จูปาเจี้ย (朱八戒 )ที่แปลว่า  พระภิกษุถือศีลแปด แซ่จู

ประวัติของท่านจูปาเจี๋ย
ในค.ศ.250 เจ้านครเว่ยเส้าตี้ เฉาฟาง แห่งรัฐเฉาเว่ย ยุค 3 ก๊ก (嘉平二年 魏少帝曹芳) พระธรรมกาละ 沙门昙河迦罗  พระภิกษุสงฆ์ จากชมพูทวีป เดินทางมาจำพรรษาที่ วัดม้าขาว นครลั่วหยาง เพื่อเผยแผ่ธรรมะและแปลพระสูตร มีการอุปสมบทพระสงฆ์จีน ชื่อ จูซื่อสิง 朱士行เป็นภิกษุจีนรูปแรกที่อุปสมบทโดยมี พระธรรมกาละเป็นพระอุปัชฌาย์

พระภิกษุ จูซื่อสิง ศึกษาพระสูตร คัมภีร์ปารมิตาจุลสูตร《小品般若》 ด้วยความสงสัยไม่เข้าใจ จึงคิดจะไปสืบหาต้นฉบับ ได้ยินมาว่าที่ชายแดนตะวันตก มี "คัมภีร์ต้าปิ่ง"《大品经》ฉบับสมบูรณ์ จีงตัดสินใจเดินทางไปยังชายแดนตะวันตก

ท่านเริ่มออกเดินทางในปี ค.ศ.260 จากเมืองหย่งโจว ทางตะวันตกเฉียงเหนือของฉางอัน (雍州) ข้ามทะเลทรายถึงเมือง หย่งกว๋อ (โหตาน ซินเจียง) ก็พบพระสูตร "คัมภีร์ต้าปิ่ง" ท่านจึงอาศัยอยู่ที่นั่นเพื่อศึกษาและคัดลอกคัมภีร์อยู่ที่นั่น

ท่านคัดลอกได้พระสูตร 90 ผูก 6 แสนตัวอักษร จนกระทั่ง ค.ศ.282 ภิกษุจูซื่อสิง สั่งให้บรรดาลูกศิษย์นำพระสูตร"คัมภีร์ต้าปิ่ง" ที่คัดลอกเสร็จแล้ว ส่งกลับมายังเมือง ลั่วหยาง ตัวท่านเองยังคงอยู่จำพรรษาอยู่ที่นั่น จวบจนมรณภาพเมื่ออายุได้ 79 ปี

ท่านจูจื่อสิงจึงถือว่าเป็นพระภิกษุในพุทธศาสนามหายานองค์แรกในแผ่นดินจีน มีชื่อเสียงในแวดวงพุทธศาสนามหายาน

สรุป เขียนนิยาย ช่วงปี คศ 1500 (ยุคหมิง) อ้างอิงเหตุการณ์ พระถังซำจั๋ง ในปี คศ   600 (ยุคถัง) และอ้างอิงเหตุการณ์ ตือโป๊ยก่าย ในปี คศ 200 (ยุคสามก๊ก)

ตำนาน ตือโป๊ยก่าย
อู๋เฉิงเอิน ได้เขียน รายละเอียดปูมหลังของตัวละคร จูปาเจี้ย(จีนกลาง) นี้ว่า เมื่อชาติก่อนเคยเป็นองครักษ์พิทักษ์แดนสวรรค์ อยู่ชั้นดาวดึงส์ ตำแหน่ง เทียนเผิง หยวนซ่วย (天蓬元帥) บังคับบัญชามีหน้าที่ดูแลลำน้ำสวรรค์ทางช้างเผือก และมีอำนาจควบคุมทหาร 85,000 นาย

แต่เนื่องด้วยดื่มสุราในงานเลี้ยงชุมนุมเทวดา ผันเถาหุ้ย (蟠桃会 แต้จิ๋ว เพล้งถ่อหวย) ของเจ้าแม่ตะวันตก ซีหวังหมู่  จนเมามายขาดสติ แล้วไปลวนลามเทพธิดาดวงจันทร์ ฉางเอ๋อ (嫦娥) จึงถูกลงโทษให้กลับชาติไปเกิดใหม่ในโลกมนุษย์เพื่อชดใช้กรรม ด้วยบุคลิกรูปร่างที่แปลกประหลาด ครึ่งคนครึ่งสัตว์ ที่มีร่างเป็นคนแต่ใบหน้าเป็นหมู

ในตอนแรกมีนามว่า จูกังเลี่ย (豬剛鬛 หรือตือกังเจี่ย แปลว่า หมูขนแข็ง ) เป็นปีศาจหมู สิงสถิตอยู่ใน หมู่บ้านเกาเหล่าจวง (高老庄 แปลว่า หมู่บ้านเก่าที่อยู่สูง) ประพฤติตน ระรานหญิงสาวชาวบ้าน แปลงร่างเป็นมนุษย์รูปงาม หลอกล่อแต่งงานกับลูกสาวหัวหน้าหมู่บ้าน ชื่อ เกาชุ่ยหลาน ครั้งนั้น จูกังเลี่ย ต่างตั้งหน้าตั้งตาทำมาหากิน ไม่ทานเนื้อ กินเจ รักษาศีล เพื่อหวังให้ภรรยาคนสวยหลงรัก และหัวหน้าหมู่บ้านจะยกลูกสาวให้  แต่ในคืนงานวันแต่งงาน จูกังเลี่ย ก็กลับกินเหล้าเมามาย ศีลแตก จนเสียงานเสีย การ การแปลงร่างจึงเริ่มคลาย พ่อแม่เจ้าสาวจึงรู้ว่า คือปีศาจ ทั้งคู่จึงพากันหนีออกไปอาศัยอยู่นอกเมือง

 เมื่อพระถังซำจั๋งกับหงอคงเดินทางผ่านมา พระถังซำจั๋งเตือนหงอคงว่า นี่คือ ลูกศิษย์อีกคนที่จะเดินทางไปด้วย ทำให้หงอคง ต้องปราบ ตือโป๊ยก่าย เมื่อสิ้นฤทธ์ พระถังจึงให้ ตือโป๊ยก่าย กลับมารักษาศีลอีกครั้ง เหมือนเมื่อครั้งที่ ตือโป๊ยก่าย รับปากกับเจ้าแม่กวนอิมไว้   และกลายเป็นลูกศิษย์คนที่สอง ร่วมเดินทางไปชมพูทวีป โดยเจ้าแม่กวนอิมนั้น ตั้งสมญานามทางธรรมว่า จูอู๋เหนิง (豬悟能, แต้จิ๋ว; ตือหง่อเล้ง) แต่พระถังซำจั๋งขอเรียกว่า ตือโป๊ยก่าย หรือ จูปาเจี๋ย แทน

ตือโป๊ยก่าย หรือ จูปาเจี๋ย  มีอาวุธเป็นคราด 9 ซี่หลอมจาก เตาปากว้า ของไท่ซ่างเหล่าจวิน โดยเชื่อว่า อาวุธคราด 9 ซี่ ที่ อู๋เฉิงเอิน แต่งขึ้น นั้นคือ สังฆคุณ 9 หรือประโยชน์จากการรักษาศีล คือเมื่อรักษาศีลแล้วจะมี คุณวิเศษ 9 อย่าง ยกตัวอย่างเช่น จะกลายเป็นผู้มีคนเคารพนับถือ และกราบไหว้ได้อย่างสนิทใจ เหมือนกับที่ หัวหน้าหมู่บ้านนั้น ยกลูกสาวให้ เมื่อ ตือโป๊ยก่าย นับถือศีลอย่างเคร่งครัด

ศีล 8 คือ ข้อบังคับต่ำสุดของ ระดับอนาคามี โดยเป็นข้อกำหนดเพื่อใช้ควบคุม กาย วาจา และใจ เท่านั้น โดยศีล 8 นั้น ถือเป็น ศีลสูงสุดของ ระดับ ฆราวาส (บุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่สงฆ์)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น