วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2563

จีน(719-756) - ปริศนาการจากไป ของ หยางกุ้ยเฟย

ปริศนาการจากไปของ หยางกุ้ยเฟย
หยางกุ้ยเฟย ฉายา มวลผกาละอายนาง (ผกา แปลว่า ดอกไม้) ถือเป็น 1 ใน 4 ยอดหญิงงามในประวัติศาสตร์จีน และมีตัวตนอยู่จริง ขณะที่อีก 3 คนที่เหลือ คือ ไซซี เตียวเสี้ยน หวางเจาจวิน ทุกวันนี้ยังคลุมเครือว่า มีตัวตนจริงหรือไม่  อย่างไรก็ดี 3 สาวที่เหลือนั้นมีชื่อเสียงด้านดีต่อแผ่นดิน แต่หยางกุ้ยเฟยคนเดียวเท่านั้นที่ได้ฉายา นางงามล่มแผ่นดิน

ข้อเสียของเธอ คือ เธอเป็นคนมีลักษณะอวบอั๋น ทำให้เธอมีกลิ่นตัวที่ค่อนข้างแรง เธอจึงต้องอาบน้ำในสระน้ำ ฮวาชิง (ปัจจุบันยังปรากฎอยู่ที่เมืองซีอาน)  และต้องสวมใส่เสื้อผ้าอบกลิ่นดอกไม้ และทาแป้งหอมเพื่อกลบกลิ่นกาย



สนมเอก หยางกุ้ยเฟย ชื่อเดิมคือ หยางอวี้หวน (楊玉環) มีชีวิตอยู่ในปี 719-756 เป็นชาวเมืองหย่งเล่อ มีความสามารถในทางดนตรีขับร้องและฟ้อนรำ ที่จริงเป็นชายาของเจ้าชายโซ่วอ๋อง โอรสองค์ที่ 18 ของฮ่องเต้ถังเสวียนจง ภายหลังถังเสวียนจงพบว่า หยางอี้หวน มีรูปโฉมงดงาม คิดจะเรียกเข้าวัง ดังนั้นจึงตั้งให้เป็นนักบวชหญิงฉายาไท่เจิน ในปีค.ศ. 745 จึงได้เข้าวัง เป็นที่โปรดปรานของถังเสวียนจง จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็น สนมเอกหรือกุ้ยเฟย (ในขณะนั้นถังเสวียนจงมีพระชนมายุ 61 พรรษา ส่วนหยางกุ้ยเฟยมีอายุเพียง 27 ปีเท่านั้น)

หยางกุ้ยเฟยไม่เพียงแต่มีใบหน้าที่งดงาม มีทรวดทรงดีออกไปทางอิ่มอวบสมบูรณ์ หากแต่เธอยังสันทัดการเล่นดนตรีและเต้นรำอีกด้วย เล่ากันมาว่า ฮ่องเต้เคยเอาบทเพลง”หนีซางอวี่อีฉวี่” ที่พระองค์นิพนธ์ขึ้นให้หยังกุ้ยเฟยดู พอดูจบเธอก็สามารถร้องเพลงและเต้นรำตามดนตรีได้ในกิริยาที่สวยงามมาก ประหนึ่งนางฟ้าลงมาจากสวรรค์ จักรพรรดิจึงโปรดหยังกุ้ยเฟยเป็นพิเศษ นัยว่าความเป็นมาของบทเพลงนี้เกิดจากจักรพรรดิถางเสวียนจงเสด็จประพาสเขานวี่เอ๋อซาน ทัศนียภาพสวยประหลาดประดุจอยู่บนสวรรค์ พระองค์ทรงได้ยินเสียงดนตรีไพเราะบทหนึ่งบนเขา พอกลับวังหลวงก็ทรงบันทึกไว้ตามความทรงจำ แล้วนำมาผสมผสานกับ เพลงอินเดียบทหนึ่งจึงได้เป็นบทเพลง“หนีซางอวี่อีฉวี่”นี้ เรื่องเล่าอีกเรื่องหนึ่งเล่ากันว่า จักรพรรดิถางเสวียนจงทรงพาหยังกุ้ยเฟยไปชมดอกบัวขาวที่ปลูกในสระไท่เย่ฉือของวังต้าหมิงในฤดูใบไม้ร่วงปีหนึ่ง ทรงอุทานพร้อมกับทรงชี้ หยังกุ้ยเฟยว่า”ดอกบัวแม้จะสวย แต่ก็ไร้วิญญาณ จะสู้ดอกไม้ที่พูดได้ของเราได้อย่างไร” จากนั้นมา “ดอกเจี่ยอวี่ฮัว ”ซึ่งแปลว่าดอกไม้ที่เข้าใจคำพูดก็กลายเป็นสำนวนที่ชื่นชมนางงามของคนยุคหลัง

นอกจากนี้ สนมเอกหยางคนนี้ ชอบกินลิ้นจี่เป็นที่สุด  ในแต่ละปี  จะต้องมีม้าตายไปมากมาย เพียงเพราะต้องส่งลิ้นจี่จากทางใต้ขึ้นไปให้ สนมเอกหยางกุ้ยเฟย เสวย โดยต้องใช้ทหารม้าขี่ส่งต่อกันเป็นทอดๆ ทั้งวันทั้งคืน เพื่อใช้ขนลิ้นจี่เข้าวัง (เนื่องจากลิ้นจี่เป็นผลไม้ที่เน่าเสียง่ายและปลูกได้เฉพาะทางใต้ของจีนเท่านั้น )

ครอบครัว
เนื่องจากหยังกุ้ยเฟยเป็นที่โปรดปรานของจักรพรรดิ ญาติตระกูลหยังก็พลอยได้รับยศถาบรรดาศักดิ์ไปด้วย โดยเฉพาะพ่อและพี่ชาย คือ หยังกว๋อจง ผู้มักใหญ่ใฝ่สูง ได้รับแต่งตั้งเป็นอัครเสนาบดี มีอำนาจในการบริหารประเทศแทนจักรพรรดิ ส่วนองค์จักรพรรดิลุ่มหลงแต่ ความงามของหยังกุ้ยเฟยและความสุขสำราญส่วนพระองค์

ทุกครั้งที่นางจะนั่งรถม้า ต่างก็มีบรรดาขุนนางใหญ่บังคับรถม้าให้ด้วยตัวเอง นางมีช่างถักทอและปักผ้าถึงเจ็ดร้อยคนมีผู้คนมากมายแย่งกันมอบของกำนัลต่างๆ ให้ เนื่องจากขุนนางจางจิ่วจางและหวังอี้มอบของกำนัลให้นางต่างก็ได้เลื่อนตำแหน่ง ดังนั้นบรรดาขุนนางทั้งหลายต่างก็หวังที่จะได้รับผลตอบแทนเช่นเดียวกัน หยางกุ้ยเฟยโปรดปรานลิ้นจี่จากแดนหลิ่งหนาน ก็มีผู้คนคิดหาวิธีที่จะนำส่งมาถึงเมืองฉางอานให้เร็วที่สุด

การปกครองเริ่มเสื่อมโทรมเน่าเฟะทุกที ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นต่างๆนับวันรุนแรงยิ่งขึ้น ในที่สุดก็ระเบิดกลายเป็นเหตุการณ์ “กบฏอันลู่ซานและสื่อซือหมิน”

กบฎอันลู่ซาน
อันลู่ซานนั้นไม่ใช่ชาวฮั่น แต่ได้รับการแต่งตั้งเป้นถึงแม่ทัพ เขาได้รับการอวยยศจาก ถังเสวียนจง อย่างรวดเร็ว แต่เขากลับไม่ถูกกับ หยังกว๋อจง ไปด้วย แต่ อันลู่ซาน ก็เป็นคนโปรดของถังเสวียนจง ขนาดที่ถังเสวียนจง มอบอำนาจให้อันลู่ซานสามารถอวยยศให้ใครก็ได้โดยไม่ต้องผ่านราชสำนัก

ปีค.ศ.755 อันลู่ซานได้ย้ายแม่ทัพชาวฮั่น 32 คน ไปอยู่ชายแดน และแต่งตั้งให้ ชาวอารยชน เข้ามาแทน 32 คน หยางกว๋อจง รีบทูลรายงานและเสนอถังเสวียนจงว่า ให้แย่งกำลังของ อันลู่ซานออกเป็น 3 ส่วนไม่เช่นนั้น อันลู่ซานจะต้องก่อกบฎในไม่ข้า ถังเสวียนจง ก็สั่งให้ทำเช่นนั้น และยังส่งคนจากราชสำนักไปประกบอันลู่ซานด้วย แต่อันลู่ซานกลับติดสินบนเจ้าหน้าที่คนดังกล่าว แต่ถูกจับได้ ทำให้ราชสำนักมีคำสั่งให้ส่งตัวอันลู่ซานเข้ามาสอบสวน ที่ฉางอาน

อีกด้านหนึ่ง หยางกว๋อจง ก็ส่งคนไปลอบสังหาร คนสนิทของอันลู่ซานที่อยู่ในเมือง ฉางอาน ทำให้อันลู่ซาน ก่อกบฎ โดยอันลู่ซานได้อ้างว่ามีราชสารลับมาให้กำจัด หยางกว๋อจง จึงสั่งให้กองทัพจากชายแดนเดินทางมาที่เมืองหลวง แต่เมื่อสามารถพิชิต ลั่วหยางได้ ก็ตั้งตัวเป็นฮ่องเต้ทันที

แต่ปี ค.ศ. 756 แม่ทัพถัง ชื่อ จางซวิน นำกำลัง 2000 นาย เข้าโจมตีกองทัพ 40000 ขอ อันลู่ซานสำเร็จ แต่กองทัพอื่นของอันลู่ซานกลับเคลื่อนที่เข้าโจมตีต่อเนื่อง เมื่อตีทะลุด่านท่งกวน แตกได้ ทหารของอันลู่ซานก็มายืนประชิดเมืองฉางอานอย่างรวดเร็ว

ถึงตอนนี้ ถังเสวียนจง ตัดสินใจหนีออกจากเมืองหลวง ไปยังเสฉวน เมื่อไปถึง เนินหม่าเหวย  บรรดาทหารหลวงไม่ยอมเดินทางต่อ เพราะต่างโกรธแค้น คนจากตระกูลหยาง โดยเฉพาะ หยางกว๋อจง ที่ผิดใจกับ อันลู่ซาน ทำให้เกิดกบฎ ทหารหลวงจึงได้แอบเอาตัว หยางกว๋อจง ไปสังหาร และขอให้ ถังเสวียนจง สั่งประหารชีวิต หยางกุ้ยเฟย เพราะ หยางกั๋วจงนั้นเป็นพี่ชาย ดังนั้นน้องสาวอย่าง หยางกุ็ยเฟย ย่อมไม่อาจหลีกเลี่ยงความผิดได้  นอกจากนี้ ถังเสวียนจง ยกให้รัชทายาท(ไทจื้อ) หลี่เหิง ดุแลต่อ ส่วนตัวเอง หลบหนีไปอาศัยอยู่ที่เมือง เฉิงตู

หลี่เหิงขึ้นเป็นฮ่องเต้ ส่วนสถานการณ์ที่เมืองหลวงนั้น กองทัพอันลู่ซานบุกเมืองหลวงแตก สั่งประหารชีวิตเชื่อพระวงศ์ถีงที่หนีไม่ทันทั้งหมด ทุกอย่างของราชวงศ์ถังกำลังจะพังพินาศ

ปาฎิหารย์
ปี ค.ศ. 757 อันลู่ซานกลับถูก อันชิ่งชีว์ ลูกชายของตนเองสังหาร ทำให้แม่ทัพต่างไม่ยอมรับ และกบฎอ่อนแอลงทันที ส่วนถังซู่จง กลับไปยืมกองกำลังจาก ทูเจี๋ย ชาวอาหรับ และ อุยกุร์ เข้าตีเมืองฉางอานกลับได้สำเร้จ

ขณะเดียวกัน จางซวิน ที่มีกองกำลังแค่ 10000 ตั้งกองกำลังที่เมืองสุยหยาง เพื่อรับมือกองทัพเยี่ยนที่มีถึง 150000 คน พวกเขาใช้เวลาตีเมืองแต่ก็ไม่สำเร็จ จึงใช้กลยุทธ์ล้อมเมือง จนเสบียงหมด กองทัพของจางซวิน ต้องกินเนื้อพลเมืองแทนอาหาร ก่อนที่เมืองจะแตก พวกเขาเหลือคนเพียง 400 คนเท่านั้น สุดท้ายเมืองก็แตก จางซวิน ถูกประหารชีวิต

การต่อสู้ที่สุยหยางทำให้กองทัพของ อันชิ่งชีว์ นั้นอ่อนล้า และหมดเสบียงไปจำนวนมาก จนในที่สุด ปี ค.ศ.757 กองทัพถัง และพันธมิตรก็สามารถตีเมืองลั่วหยางสำเร็จ

ตำนานการประหารชีวิต หยางกุ้ยเฟย
จักรพรรดิถางเสวียนจงหนีไปลี้ภัยอยู่ในแคว้นสู่ พอไปถึงจุดแวะพักที่เนินหว่าเหว่ย ทหารที่ติดตามไปก็ได้ก่อการกบฏฉับพลัน ฆ่าอัครเสนาบดี หยางกว๋อจง และบีบบังคับให้จักรพรรดิประหารหยังกุ้ยเฟย จักรพรรดิจำพระทัยใช้ขันทีเกาลี่สื้อไปทูล พระราชทานผ้าแพรให้หยังกุ้ยเฟยให้ผูกคอตนเอง ในที่สุด หยังกุ้ยเฟย ขณะมีชนมายุได้ 38 พรรษาก็ได้ผูกพระศอสิ้นพระชนม์ที่ต้นสาลี่หน้าวิหารของจุดแวะพักนั้น

หลังจากหยางกุ้ยเฟยผูกคอตาย หลุมศพของนางอยู่ที่เนินหมาเหว่ย

แต่ทว่าทำไมหลังจากนั้นหนึ่งปีขณะที่กำลังย้ายหลุมศพของนาง กลับไม่ศพของนางแล้ว พบเพียงถุงหอม กับ รองเท้าข้างหนึ่ง ของนางเท่านั้น สิ่งนี้เป็นหลักฐานว่า หยางกุ้ยเฟย ไม่ได้เสียชีวิตที่หมาเหวยพัว ในทันที แต่กลับถูก “แผนแอบสับเปลี่ยน” ช่วยเอาไว้แล้วลี้ภัยหนีไป

เล่ากันว่า ฉลองพระบาทข้างหนึ่ง หล่นลงในระหว่างย้ายพระศพของหยังกุ้ยเฟยกลับ ถูกยายคนหนึ่งเก็บไป หากมีคนมาขอดู ต้องจ่ายค่าดูร้อยเหรียญ ยายคนนี้จึงรวยขึ้นมาด้วยฉลองพระองค์ข้างนี้ของหยังกุ้ยเฟย

ตำนาน
การสิ้นพระชนม์ของหยังกุ้ยเฟย มันบันทึกที่แตกต่างกัน เริ่มจาก 2 ปีให้หลัง ฮ่องเต้ถังเสียนจงก็มีบัญชาลับให้คนไปขุดศพของสนมเอกหยาง แต่คนงานกลับมารายงานว่า หาศพของนางไม่เจอ ได้แต่เพียง ‘ถุงหอม’ กลับมาถวายแทน

ประวัติศาสตร์บันทึกต่างกัน คือ ฉบับเก่าเขียนในสมัยราชวงศ์ถังระบุว่า  “กล้ามเนื้อและผิวหนังเน่าเสียแล้ว ถุงหอมยังคงอยู่” แต่ใน บันทึกราชวงศ์ถังฉบับใหม่ที่เขียนโดยราชวงศ์ซ่ง ระบุเหลือเพียง ถุงหอม เท่านั้น

ปัจจุบัน ทางอำเภอหม่าเหวย ยังมีการบูรณะหลุมศพของ สนมเอกหยาง ซึ่งไม่เพียงมีหลุมศพที่สูง 3 เมตร ปูด้วยอิฐสีเขียวแน่นหนาแล้ว ยังมีรูปสลักของนางตั้งอยู่ด้วย แต่หลุมที่เห็นในวันนี้แตกต่างจากเรื่องเล่าตกทอดเมื่อ 1,000 ปีก่อนของคนในหมู่บ้านหงเหมย เมืองตูเจียงเยี่ยนในเขตมณฑลซื่อชวน ว่า เดิมทีมันเป็นเพียงแท่นหินหน้าหลุมที่สลักอักษร ‘หยาง’ เพียงตัวเดียว และเป็นหลุมศพลึกลับมานาน 1,000 ปีแล้ว

แต่ ช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม (ค.ศ.1966-1976) แท่นหินนี้ได้หายไปอย่างไร้ร่องรอย พื้นที่ที่เป็นหลุมศพถูกปล่อยรกร้าง เหลือแต่แท่นบูชาหน้าหลุมที่แตกหัก จนเมื่อปีค.ศ.1997 มีการขุดค้นสุสานดังกล่าว พบโลงไม้ยาว 1.7 เมตร กว้าง 45 เซนติเมตร ภายในบรรจุศพผู้หญิงที่ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นใคร


ตำนานหนีไปญี่ปุี่น
มีนิทานเล่ามากมาย บางคนเห็นว่า หยังกุ้ยเฟยไม่ได้ผูกพระศอสิ้นพระชนม์สมัยนั้น คนที่ผูกคอตายเป็นนางกำนัลคนหนึ่ง ส่วนหยังกุ้ยเฟยองค์จริงหนีไปยังญี่ปุ่น ผู้ติดตามยังมีลูกสะใภ้และหลานของเสนาบดีหยางกั๋วจง เล่ากันว่า หลังจากย้ายไปอยู่ญี่ปุ่นที่หมู่บ้านริมทะเลชื่อ จิวจิ่น แล้ว ครั้งหนึ่งหยังกุ้ยเฟยยังได้ช่วยจักรพรรดิญี่ปุ่นกำจัดรัฐประหารภายในวัง ใ ห้สงบลงอีกด้วย ปัจจุบัน ในประเทศญี่ปุ่นยังมีสุสานของหยังกุ้ยเฟยอยู่สองแห่ง

ในปีค.ศ.1963 มีสาวญี่ปุ่นคนหนึ่งได้แสดงหนังสือวงศ์ตระกูลของครอบครัวตนผ่านโทรทัศน์ บอกว่าเธอเป็นทายาทของหยังกุ้ยเฟย ขณะในปี 2002 ดาราดังชาวญี่ปุ่นอย่าง นาง Yamagutsi Momoe ก็ประกาศว่า ตนเองก็เป็นเชื้อสายของหยังกุ้ยเฟยเช่นกัน พร้อมทั้งแสดงเอกสาร หลักฐานประกอบด้วย แน่นอนเธอเกิดที่หมู่บ้าน จิวจิ่น อีกด้วย

นอกจากนี้ ยังมีวรรณคดีพื้้นบ้านของญี่ปุ่น 2เรื่อง ที่บรรยายการมาญี่ปุ่นของหยางกุ้ยเฟยอีกด้วย โดยระบุการมาถึงในปี ค.ศ. 757 อย่างไรก็ดี การเดินทางไปญ๊่ปุ่นสมัยนั้นเป็นไปได้ยาก เพราะหลวงจีนเจี้ยนเจิน ที่มีชีวิตอยู่ในสมัยราชวงศ์ถัง ต้องการเดินทางไปญี่ปุ่นเพื่อเผยแพร่ศาสนา กลับต้องใช้เวลาถึง 11 ปี พร้อมกับ ความล้มเหลวถึง 5 ครั้งกว่าจะไปถึงญี่ปุ่น ดังนั้น มันเป็นเรื่องที่ยากมาก แต่ข้อโต้แย้งนี้กลับถูกตีตกไป เพราะคณะฑูตของราชวงศ์ถังนั้น เดินทางไปที่ญี่ปุ่นถึง 17 ครั้ง

นอกจากนี้ เมื่อนางมาถึงญี่ปุ่น นางในที่ช่วยเหลือนางก็พยายามหาทางให้กุ้ยเฟยส่งข่าวไปหาจักรพรรดิถัง

ภายหลังความวุ่นวาย”กบฏอันลู่ซานและสื่อซือหมิน”สิ้นสุดลง จักรพรรดิเคยส่งทูตออกทะเลไปตามหาหยังกุ้ยเฟย และได้พบพระนางที่เขต kutsi ของญี่ปุ่น ทูตคนนี้ยังได้ถวายพระพุทธรูป 2 องค์ของจักรพรรดิถังเสวียนจง แด่หยังกุ้ยเฟย ส่วนพระนางก็ได้ฝากปิ่นหยกปักผมมาถวายจักรพรรดิ พระพุทธรูป 2 องค์ดังกล่าวยังประดิษฐานในวัดแห่งหนึ่งในเขต kutsi ในที่สุด หยังกุ้ยเฟยสิ้นพระชนม์ลงที่ญี่ปุ่นและพระศพฝังไว้ในลานบ้านแห่งหนึ่งของเขต kutsi ปัจจุบัน ท้องที่นั้นยังมีเจดีย์ธรรมจักรซึ่งถือเป็น ป้ายสุสานของหยังกุ้ยเฟย เจดีย์ธรรมจักรเป็นเจดีย์หิน 5 องค์ที่สร้างบนสุสานของหยังกุ้ยเฟย หน้าสุสานตั้งแผ่นไม้ 2 แผ่น ข้อความที่แกะสลักบนแผ่นไม้ข้างหนึ่งเขียนคำอธิบายเจดีย์ธรรมจักร อีกข้างหนึ่งเขียนชีวประวัติของหยังกุ้ยเฟย ชาวญี่ปุ่นนิยมไปบูชาไซ่นไหว้หยังกุ้ยเฟยหน้าสุสาน เพราะเชื่อว่าจะได้ลูกที่สวยและน่ารัก ปัจจุบัน ญี่ปุ่นเปิดสุสานของหยังกุ้ยเฟยเป็นสถานที่ท่องเที่ยวให้นักท่องเที่ยวเข้าชม

ไม่ว่าจะอย่างไรแล้ว หยางกุ้ยเฟยเสียชีวิตที่ เนินหมาเหว่ย หรือหนีไปถึงญี่ปุ่นได้ สุดท้ายแล้ววิญญาณของเธออยู่ที่ไหน ก็ยังเป็นปริศนาจวบจนทุกวันนี้



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น