วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2563

จีน(1919) - ขบวนการ 4 พฤษภา เหล่านักศึกษาชาตินิยม ที่ถูกแปลงไป ปฎิวัติวัฒนธรรม

4 พฤษภาคม 1919  มักอ้างอิงถึงช่วงเวลาในระหว่างปี ค.ศ 1915 - ค.ศ. 1921 โดยมากมักถูกบิดเบือนว่าว่าเป็น "ขบวนการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมใหม่"  แต่ความเป็นจริง มันคือ  "ขบวนการประท้วง ผลของสนธิสัญญาหลังสงครามโลกครั้งที่ 1" เพราะรัฐบาลจีน ยอมโอนอ่อนผ่อนตามประเทศมหาอำนาจ  เนื่องจากจีนอยู่ฝ่ายที่ชนะสงคราม เยอรมันอยู่ฝ่ายที่แพ้สงคราม แต่การประชุมสันติภาพที่แวร์ซาร์ส นั้น กลับจะให้โอนเขตเช่าของเยอรมัน คือ  เขตมลฑลซานตง ไปให้กับญี่ปุ่น แทน ทำให้มีนักศึกษาประมาณ 3000 คนออกมาประท้วง และต้องการให้ซานตงนั้น กลับคืนสู่จีน จนขยายวงกว้าง เป็น ขบวนการ 4 พฤษภาคม (五四运动)  และวันนั้นเอง ถือเป็นอีกจุดเปลี่ยนสำคัญของประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่

ที่มา
หลังเหตุการณ์ ปฎิวัติซินไฮ่ ในปี 1911 ราชวงศ์ชิงต้องล่มสลาย ถึงจะนำมาสู่ทฤษฎีการปกครองแบบใหม่ แต่มันกลับนำมาซึ่งยุคขุนศึกแทน  และอำนาจทางเมืองถูกแบ่งแยกออกเป็นกลุ่มผู้มีอิทธิพล มากกว่า ผลประโยชน์ของชาติ รัฐบาลกลาง หรือ รัฐบาลเป่ยหยาง ก็ไร้ประสิทธิภาพ จนเป็นยุคขุนศึก

สงครามโลกครั้งที่ 1
วันที่ 28 กรกฎาคม 1914 ก็เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 แต่สงครามครั้งนั้น เหตุการณ์การรบนั้นส่วนใหญ่จะอยู่ฟากทวีปยุโรปเป็นหลัก  จีนนั้นไม่ได้มีส่วนร่วมใดๆ เท่าใดนัก แต่ญี่ปุ่นนั้นกลับตัดสินใจเข้าร่วมกับสัมพันธมิตร โดยช่วงเวลา 70 วันนับตั้งแต่ วันที่ 23 สิงหาคม 1914  ญี่ปุ่นอาศัยจังหวะนี้เอง ขยายอำนาจในจีน โดยอ้างว่าต้องการญี่ปุ่นต้องการโจมตีกองทัพเยอรมันในจีน นั้นคือ พื้นที่ในเขตมณฑลซานตง หรือเขตปกครองของจักรวรรดิเยอรมัน ด้วย

ปีถัดมาคือปี ค.ศ. 1915 หยวนซื่อไข่ ในนามรัฐบาลเปยหยาง ก็ลงนามข้อตลงฉาวโฉ่  "ความต้องการ 21 ข้อ" ที่ทำไว้กับญี่ปุ่น เพื่อให้ญี่ปุ่นมีอำนาจเหนือเขต แมนจูเรีย เดิมข้อตกลงนี้ถูกปิดเป็นความลับ ก่อนที่สื่อมวลชนของญี่ปุ่นจะเผยแพร่ในประเทศญี่ปุ่น ทำให้ชาวจีนรับรู้ถึงเรื่องนี้ทีหลัง  ประชาชนจีนต่างเห็นตรงกันว่า นี่คือ "การขายชาติ" ของหยวนซื่อไข่ ครั้งนี้เอง เป็นการกระตุ้นกระแสชาตินิยมขึ้นครั้งแรกในหมู่ปัญญาชน เป็น เหตุการณ์อัปยศของชาวจีน

ต่อมาในวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1917 จีนก็เข้าร่วมกับกลุ่มประเทศสัมพันธมิตร  ญี่ปุ่นต้องการความร่วมมือกับประเทศจีน จึงชักจูง ต้วนฉี่รุ่ย (นายกรัฐมนตรีของจีนในตอนนั้น) โดยให้เงินกู้กับรัฐบาลจีน 145 ล้านเยน แบบลับๆ เรียกว่า สัญญาเงินกู้ Nishihara Loans เพื่อใช้พัฒนากองทัพ และชักชวนให้จีนเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร จีนจึงส่งทหารเข้าร่วมในสงคราม 140,000 คน โดยส่งไปเป็นแนวหน้าที่ฝรั่งเศส

นอกจากนี้ ระหว่างสงคราม มีจดหมายลับแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ระหว่าง จีน กับญี่ปุ่นอีกหลายอย่าง โดยเฉพาะการกู้เงินแต่ละครั้งที่มีการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์หลายอย่างระหว่างจีนกับญี่ปุ่นอีกด้วย

สงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลงในวันที่ 11 พฤศจิกายน 1918 โดยเยอรมันเป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงคราม  ฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นผู้ชนะสงครามได้จัดการประชุมสันติภาพขึ้นที่กรุงปารีส  โดยเริ่มต้นในวันที่ 18 มกราคม 1919 โดยมีตัวแทนจากหลายประเทศเข้าร่วมด้วย โดยวัตถุประสงค์หนึ่งในการประชุมสันติภาพ คือ การนำเอาดินแดนที่ยึดมาได้ นำมาเป็นของรางวัลแด่ประเทศผู้ชนะ นั่นเอง 

จีนนั้นส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุมด้วย โดยเริ่มต้น ทางจีนขอเสนออ  ยกเลิกสิทธิพิเศษต่างๆ ของต่างชาติทั้งหมดในจีน และขอให้เขตซานตง ภายใต้การดูแลของเยอรมันกลับมาอยู่ภายใต้การดูแลของจีน ที่สำคัญคือ จีน ยื่นข้อเสนอขอยกเลิกข้อตกลงแลกเปลี่ยน ลับๆ ระหว่างจีนกับญี่ปุ่นต่างๆ ช่วงสงครามโลก รวมถึง ข้อตกลง 21 ข้อ ที่ทำไว้กับญี่ปุ่นในยุค แมนจูเรียเดิม

แต่ที่ประชุม กลับตกลง ที่จะไม่แก้ไขสิทธ์ต่างๆ ของต่างชาติในจีน แถมยัง มอบสิทธิพิเศษของเยอรมันไปให้กับประเทศญี่ปุ่นแทนอีกด้วย

ทางจีนอ้างว่า หลังจากที่จีนเข้าร่วมสงครามในปี 1917 และได้ประกาศสงครามกับเยอรมันนั้นทำให้สัญญาและสิทธิต่างๆของเยอรมันในจีนนั้นสิ้นสุดไป โดยช่วงเวลานั้น จีนพยายามถ่วงเวลา และเจรจาการลงนามรับรองสนธิสัญญาแวร์ซาร์สอย่างหนัก แต่ก็ไร้ผล ในที่สุด วันที่ 28 มิถุนายน 1919 หลายประเทศก็ลงนามในสนธิสัญญาฉบับดังกล่าว โดยที่จีนไม่ได้ลงนาม ขณะที่จีนต้องไปเซ็นสัญญาสันติภาพฉบับแยกต่างหากับ เยอรมัน ในปี ค.ศ. 1921 แทน 

ประเทศจีน ตอนนั้นถือว่า กลายเป็นประเทศที่อัปยศ อดสู มาก เพราะตลอดระยะเวลา 80 ปีก่อนหน้านี้ จีนเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในสงครามมาตลอด  แต่ครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกที่จีนอยู่ฝ่ายชนะ แต่ประเทศจีนกลับต้องปฎิบัติตัวเสมือนเป็นผู้พ่ายแพ้สงครามอยู่ดี เพราะนอกจาก ประเทศจีน ที่อุตสาห์ส่งทหารไปรบที่แนวหน้านับแสนคน แต่สัญญาที่ทำไว้กับมหาอำนาจนั้นกลับไม่ได้รับการแก้ไขใดๆ เลย แถมยังต้องยกที่ดินเยอรมันไปให้ญี่ปุ่นอีกด้วย

การชุมนุม
ย้อนกลับมา ระหว่างประชุมสันติภาพที่ปารีสนั้น  วันที่ 1 พฤษภาคม 1919 นักศึกษาต่างทราบข่าวว่า ประเทศมหาอำนาจต่างปฎิเสธคำขอของประเทศจีนโดยเฉพาะ การยกมณฑลซานตง พร้อมสัมปทานรถไฟของเยอรมันให้กับ ประเทศญี่ปุ่นแทน ทำให้เหล่านักศึกษา รวมตัวกันภายในมหาวิทยาลัยตนเอง 

วันที่ 2 พฤษภาคม 1919 หนังสือพิมพ์ที่ได้สัมภาษณ์ ฑูตจีน ที่ยืนยันข่าวดังกล่าวต่างพาดหัวว่า  ซานตงตายแล้ว หรือ รถไฟตายแล้ว  แต่ฑูตจีนยืนยันว่า สนธิสัญญาต้องได้รับการลงนามจาก 5 ประเทศมหาอำนาจก่อน ยังอยู่ระหว่างเจรจา

วันที่ 4 พฤษภาคม 1919 เหล่านักศึกษามหาวิทยาลัย 13 แห่งรวมตัวกันประมาณ 3000 คน เริ่มต้นที่ปักกิ่ง พวกเขามุ่งหน้าเดินไปที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน เพิ่อต่อต้านมติการประชุมสันติภาพปารีส ด้วยสโลแกนว่า ทวงแผ่นดินคืนจากต่างชาติ กำจัดโจรขายชาติในประเทศ  , จะแย่งชิงแผ่นดินจีนไปก็ได้ แต่จะให้ญี่ปุ่นเฉยๆ คงไม่ได้ ,  คนจีนฆ่าได้ แต่จะไม่ก้มหัวให้เด็ดขาด , ประเทศตายแล้ว คนจีนต้องลุกขึ้น ,  นอกจากนี้ พวกเขายังยื่นข้อเสนอ ให้ยกเลิก ข้อเรียกร้อง 21 ข้อ ที่มีกับญี่ปุ่นก่อนหน้านี้อีกด้วย และใม่ให้ฑูตจีนลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซายส์อีกด้วย

พวกเขายังต้องการสร้างชาติที่เข้มแข็ง พวกเขาเห็นว่า การที่สังคมจีนยึดติดกับ ปรัชญาของขงจื้อ ที่มีอายุมากกว่า 2000 ปี เป็นเหตุให้ประเทศอ่อนแอ พวกเขาต้องการละทิ้งแนวคิดเดิมๆ รับแนวคิดแบบตะวันตกแบบ  “นายวิทยาศาสตร์” (賽先生) กับ “นายประชาธิปไตย” (德先生) จึงแพร่กระจายในหมู่ปัญญาชนชาวจีน

การชุมนุนขยายตัวอย่างรวดเร็ว และนำไปสู่การใช้ความรุนแรง นักศึกษาคนหนึ่งบุกไปเผาบ้าน เจ้าหน้าที่ ขนส่ง  ขณะที่ฑูตจีนประจำญี่ปุ่นอยู่ในบ้านหลังดังกล่าวด้วย เพราะทั้งคู่ถูกมองว่า เป็นพวกขายชาติ ใช้อำนาจช่วยเหลือเข้าข้างญี่ปุ่น

หลายสัปดาห์ต่อมา การชุมนุมขยายไปทั่วประเทศ เดือนมิถุนายน กรรมกรในเซี่ยงไฮ้ นัดหยุดงานเพื่อสนับสนุนขบวนการนักศึกษา และขยายไปยังกลุ่มธุรกิจอื่นๆ วันที่ 24 มิถุนายน ชาวจีนและนักศึกษาในฝรั่งเศสก็ปิดล้อมบ้านพักของคณะผู้แทนจีน เรียกร้องให้ปฎิเสธการลงนามในสนธิสัญญาดังกล่าว หนึ่งในนั้นคือ เจิ้งหยู่ซิ่ว สุภาพสตรีนักฆ่า ที่ผมทำคลิปไปแล้วนะครับ

ด้วยแรงกดดันอย่างรุนแรงจากประชาชนจีน รัฐบาลจีนจึงตัดสินใจปล่อยตัวนักศึกษาที่ถูกควบคุมตัว พร้อมปลดเจ้าหน้าที่ที่นิยมญี่ปุ่น 3 นายออกจากตำแหน่ง และตัวแทนของจีนในที่ประชุมสันติภาพก็ตัดสินใจปฏิเสธที่จะลงนามในสนธิสัญญาไป

เหตุการณ์ต่อเนื่อง
ช่วงปี 1966-1976 ทศวรรษแห่ง การปฎิวัติวัฒนธรรม นั้น เหมาเจ๋อตุง ก็นำแนวคิดนี้มาบิดเบือนจากขบวนการนักศึกษา และปัญญาชน ที่รักชาติ   มาใช้ในการโฆษณาชวนเชื่อ เรื่อง  "การปฎิวัติวัฒนธรรม" แทน  โดยใช้กระแสเหล่าปัญญาชน ชาตินิยม และต่อต้านระบบศักดินาแบบเก่าของลัทธิขงจื้อ เพื่อเข้าข้างแนวคิดแบบคอมมิวนิสต์ ที่ไม่มีการแบ่งชนชั้น แทนที่แนวคิดเดิมจะเป็นแนวคิดแบบ วิทยาศาสตร์และประชาธิปไตยแทน 

ดังนั้น วันที่ 4 พฤษภาคม 1989 เหล่านักศึกษาชาวจีน จึงออกมาเรียกร้องจิตวิญญาณแห่งปัญญาชน แบบดั้งเดิมอีกครั้ง  โดยออกมา "เรียกร้องประชาธิปไตย" เหมือน ขบวนการ 4 พฤษภา ดั้งเดิม จนเกิดเหตุปราบปรามนักศึกษา ที่ เทียมอันเหมิน อันโด่งดัง


วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2563

จีน (1735) - หลี่ซื่อเหนียง กระบี่บู๊ตึ้งสาว กับปริศนาของฮ่องเต้ ย่งเจิ้ง

ปูพื้นเรื่องหย่งเจิ้ง
ฮ่องเต้ ย่งเจิ้ง  雍正 หรือ องค์ชาย 4 โอรสของฮ่องเต้ คังซี  คลิปก่อน เราเล่าเรื่องที่ ฮ่องเต้ย่งเจิ้ง  เผาวัดเส้าหลินไปแล้ว  เหตุผลหลักๆ เลยคือ ฮ่องเต้ หย่งเจิ้ง นั้นเป็นคนขี้ระแวงมาก และเป็นคนที่กลัวกบฎเป็นที่สุด โดย ฮ่องเต้ย่งเจิ้ง นั้นมีการก่อตั้งหน่วยสืบราชการลับขึ้นตรงต่อฮ่องเต้ และจะส่งสายลับไปทั่วเพื่อให้คอยรายงานฮ่องเต้โดยตรง โดยเน้นไปที่การรายงานการก่อกบฎ และใช้ตรวจสอบทุจริต โดยเฉพาะเหล่าขุนนางขั้นผู้ใหญ่ที่คอยยักยอกภาษี ที่ต้องส่งเข้าสู่ส่วนกลาง แต่ความลับที่แท้จริงคือ ใช้ปราบพวกกบฎแม้แต่พี่น้องที่คิดจะก่อกบฎก็ตาม

นิยายที่โหดร้าย
ฮ่องเต้ ย่งเจิ้ง ในนิยายนั้น มักจะวาดภาพให้เขาเป็นคนโหดร้ายโดยเฉพาะละครซีรียส์เรื่อง ศึกสายเลือกที่  องค์ชายสี่ คนนี้ได้ฉายาว่า จักรพรรดิบังลังก์เลือด เพราะ ไม่ว่าจะเรื่อง ฆ่าฮ่องเต้คังซี ผู้เป็นบิดา วางยาพิษพี่ชาย ฆ่าน้อง และ ปลอมราชโองการจากองค์ชาย 14 ให้กลายมาเป็นองค์ชาย 4   ขณะเดียกัน ยังสั่งประหาร ขุนศึกที่ช่วยอุ้มชูขึ้นสู่บังลังก์อีกด้วย คือ เหนียนเกิงเหย้า ที่น้องสาวของเหยียนเกิงเหยายังเป็นนางสนมของหย่งเจิ้งอีกด้วย  ขณะที่เมื่อขึ้นเป็นฮ่งเต้ ก็ยังกดดันให้พี่น้องฆ่าตัวตายอีกด้วย

แต่ ความเป็นจริงแล้ว เราจะดูไปทีละข้อดังนี้  
สิ่งแรกคือ ฮ่องเต้คังซี นั้น นักประวัติศาสตร์ เชื่อว่า ฮ่องเต้ คังซีสรรคต  เพราะแก่ชรามากแล้ว มากกว่า เพราะตอนนั้น ฮ่องเต้ คังซี เองก็อายุถึง 68 ปีแล้ว  ขณะที่เรื่องการปลอมราชโองการ นั้นไม่สามารถทำได้ง่าย ๆ แน่ เพราะราชโองการนั้นมี 2 ฉบับคือ ภาษาจีน และภาษาแมนจู ซึ่งภาษาจีนนั้นอาจเป็นไปได้ แต่ภาษาแมนจู นั้นยากที่จะปลอมแปลงได้ 

เรื่องการชิงบังลังก์ ก็อธิบายดังนี้ ขณะที่ก่อนหน้านี้ องค์ชายใหญ่ และองค์ชาย 2 โดนข้อหาทำกุลไสย ทำให้โดนปลดยศลงไปก่อนแล้ว ขณะที่องค์ชาย 3 4 5 ก็เป็นอ๋อง ระดับ หมวกเหล็ก  โดยฮ่องเต้คังซี เองก็ ได้ลดบทบาทองค์ชายคนอื่นไปก่อนหน้าแล้ว โดยเฉพาะองค์ชาย 8  9 และ 10 ที่ถูกกักบริเวณ ขณะที่องค์ชาย 13 ถูกคุมขังอยู่แล้ว

ส่วนการไล่ฆ่า พี่น้อง นั้น ส่วนใหญ่แล้ว จะเป็นเรื่อง ที่ฮ่องเต้ย่งเจิ้งนั้น จับได้ว่า มีการทุจริต คอรัปชั่น หรือ ก่อกบฎ เนื่องจากเหล่าพี่น้องต่างก็เป็นระดับอ๋อง ที่คอยเก็บภาษีมาส่งส่วนกลางทั้งสิ้น แต่เงินภาษีกลับไม่เข้าส่วนกลาง ทำให้ ฮ่องเต้ย่งเจิ้งนั้น ต้องลงโทษถึงขั้นประหารชีวิต หรือ บีบบังคับให้ฆ่าตัวตาย

อีกเรื่องคือ การประหารแม่ทัพ นั่นคือ เหนียนเกิงเหย้า นั้น เป็นแม่ทัพที่ใช้เงินสุรุ่ยสุร่าย ฮ่องเต้ ย่งเจิ้นนั้น เป็นคนที่เน้นเรื่องการคลังมาก โดยตอนแรกได้ส่งคนไปตักเตือนและ ควบคุม เท่านั้น  แต่คนที่ส่งไปกลับโดนฆ่าตาย ทำให้ฮอ่งเต้ย่งเจิ้น นั้นตัดสินใจ ลดยศของเหนียนเกินเหย้า ลง  แต่เหนียนเกินเหย้า ก็ยังคงยโสโอหัง และเชื่อว่า ตนคือผู้อุ้มชูฮ่องเต้ และน้องสาวยังเป็นพระสนมของหย่งเจิ้งฮ่องเต้อีกด้วย  จนในที่สุดก็ ฮ่องเต้หย่งเจิ้ง ก็พระราชทานยาพิษให้ดื่ม

ทำงานหนัก
ข้อดี ของ ฮ่องเต้ ย่งเจิ้ง คือ การลดงบประมาณด้านทหารลงอย่างหนั และหันไปเน้นการเจรจากับประเทศที่เป็นศัตรูแทน ซึ่งทำให้ท้องพระคลังยุคนั้น ถือเป็นยุคที่มีเงินมากที่สุด โดยปกติ ย่งเจิ้ง ก่อนขึ้นเป็นฮ่องเต้ จะอยู่ที่ ราชวังหยวนหมิงหยวน 圆明园  คือ วังเดียวกับที่ต่อมา ถูกพันธมิตรต่างชาติ เผาทำลายไปนั่นเอง แม้ว่า หย่งเจิ้งจะเป็นคนที่เข้มงวดเรื่องภาษี แต่แกเน้นประสิทธิภาพอย่างมาก ดูได้จากหย่งเจิ้งนั้น ประกาศลดภาษีส่วนบุคคลลง เหลือเพียงภาษีที่ดินเท่านั้น ทำให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นด้วย

โดยข้อที่เด่นที่สุด ของ ฮ่องเต้ หย่งเจิ้ง คือ เป็นฮ่องเต้ที่ทำงานหนัก โดยฮ่องเต้หย่งเจิ้งนั้น เริ่มต้นทำงานทุกวันในเวลา ตีห้า  โดยฮ่องเต้หย่งเจิ้งนั้น จะหยุดทำงานแค่ วันเกิดตัวเองเท่านั้น แต่แล้วอยู่ดีๆ วันที่ 23 สิงหาคม ปี ค.ศ. 1735 ฮ่องเต้ ย่งเจิ้ง ก็เสด็จสวรรคต ด้วยวัยเพียง 56 ปี  แม้ในบันทึกจะระบุว่า ป่วยหนัก ก็ตาม แต่ก็มีข่าวลือว่า  ฮ่องเต้ย่งเจิ้งถูกลอบปลงพระชนม์ และถูกตัดหัว โดยคาดว่า ฆาตกรน่าจะเป็น จอมยุทธ์หญิง หลี่ื่ซื่อเหนี่ยง (吕四娘)

หลี่ซื่อเหนียง 
ประวัติของหลี่ซื่อเหนียงนั้นมีไม่มากนัก โดยเริ่มจาก ปู่ของเธอคือ หลี่ หลิวเหลียง 吕留良 เป็นปัญญาชนชาวฮั่น ที่เขียนหนังสือ และเปิดโรงพิมพ์เพื่อพิมพ์เอกสารต่อต้านราชงศ์ชิง โดยเฉพาะ งานวิจารณ์ การแบ่งชนชั้นชาวจีน กับ ชนเผ่าต่างๆ ในราชวงศ์ชิง โดยยุคนั้น คือ ชาวแมนจู ชาวนอกเมือง ชาวฮั่นเหนือ และสุดท้ายคือชาวฮั่นใต้ 

แน่นอนว่า เนื้อหาที่แท้จริง  คือการปลุกระดม ต่อต้านชิง กู้หมิง นั่นเอง และสิ่งนี้เองที่หมิ่นเหม่ต่อการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ   โดยหลี่ หลิวเหลียง นั้นมีลูก 7 คน คนโตคือ หลี่เป่าจง ที่ฉลาดขนาดสอบได้ตำแหน่ง ปั้งงัง หรือ บัณฑิตหน้าพระที่นั่งอันดับสอง เป็นรองเพียงตำแหน่ง จอหงวน เท่านั้น ทำให้ หลี่เป่าจง ต้องทำงานที่เมืองหลวง

เมื่อฮ่องเต้ย่งเจิ่ง ได้อ่านบทความของ หลี่ หลิว เหนียง  ก็โกรธจัด และออกเอกสาร 'ต้าอี้เจี๋ยมี๋ลู่' ขึ้นมาเพื่อโต้แย้งทฤษฎีการแบ่งชนชั้น และสั่งให้เผยแพร่ไปให้ทั่วประเทศ  นอกจากนี้ เพื่อเป็นการเชือดไก่ให้ลิงดู หย่งเจิ้ง ก็ให้ขุดศพหลี่หลิวเหลียงที่ตายไปนานแล้วขึ้นมาสับเป็นชิ้นๆ  รวมถึง สั่งประหารคนในครอบครัวอีกด้วย

นั่นคือ โทษประหารทั้งตระกูลนั่นเอง ส่งผลให้หลี่เป่าจง ลูกชายนั้นแม้ว่าจะรับราชการก็โดนโทษประหารไปด้วย แต่ข่าวสารยุคนั้น กว่าไปถึงภรรยา ก็ล่าช้าเกินไป  เพราะขณะนั้น ภรรยาของ หลี่เป่าจง ได้พาลูกสาว คือ หลี่ซื่อเหนียง เข้ามาที่ เมืองหลวง เพื่อมาเยี่ยม หลี่เป่าจง แต่หลี่เป่าจง กลับถูกประหารชีวิตไปแล้ว

แต่โชคดี ทั้งคู่ได้มาพบกับ ลูกน้องเก่าของ หลี่เป่าจง ก่อน จึงได้เล่าเหตุการณ์ต่างๆ ให้ฟังว่า ฮ่องเต้ย่งเจิ้ง  นั้น ตอบโต้ บทวิจารณ์ของ หลี่หลิวเหลียง แถมยังสั่งให้ขุดศพขึ้นมา เฆี่ยนให้ชาวบ้านดู นอกจากนี้ เหล่าศิษย์ หรือ ใครที่ยังครอบครอง สิ่งพิมพ์ของหลี่หลิวเหลียง ก็จะต้องโทษประหาร อีกด้วย

จากนั้น ลูกน้องเก่าจึงรีบพาแม่ลูกคู่นี้ไปหา หงตู้ ฉายา ปัญญาชนเร้นกาย ที่เป็นอดีตแม่ทัพสมัยฮ่องเต้คังซี แต่ลาออกมาใช้ชีวิตอย่างสงบ  เพื่อให้ช่วยดูแล แม่ลูกคู่นี้  แต่ หงตู้ นั้นต้องฝึกวิชายุทธ์ทุกเช้า หลี่์่ซื่อเหนียง จึงแอบฝึกตาม เมื่อ หงตู้ รู้ จึงรับ หลี่์ซื่อเหนียง เป็นศิษย์  โดยหงตู้ได้พา ไปพบกับแม่ชี อู้อิน อดีตองค์หญิงฉงเจิน ธิดาของฮ่องเต้ราชงศ์หมิง ที่นี่เอง หลี่์ซื่อเหนียง ยังได้ ฝึกวิชากระบี่บู๊ตึ้ง และวิชาตัวเบา

โดยตำนานเล่าว่า เธอลอบเข้าไปในวัง จับนางสนม ชื่อ ฮุ่ยเชี่ยน แล้วใช้ผ้าคลุมตัวไว้ ปลอมตัวเป็นฮุ่ยเชี่ยน เพื่อเข้าไปพบฮ่องเต้ย่งเจิ้น  เมื่อสบโอกาสก็ชักกระบี่ตัดหัว ฮ่องเต้ย่งเจิ้ง แล้วลอบเอาหัวของฮ่องเต้ย่งเจิ้งออกมานอกวัง  โดยมีข่าวลือว่า ในพิธีฝังพระศพนั้น ฮ่องเต้ย่งเจิ้ง ต้องใช้ศีรษะทองคำแทนหัวที่หายไปอีกด้วย

มาถึงตรงนี้ ฟังดูแล้ว เหมือนนิยายกำลังภายใน แต่ในทางประวัติศาสตร์ กลับมีหลักฐานยืนยันตัวตนของ หลี่ซื่อเหนียง อีกด้วย นั่นคือ บันทึกทำเนียบศิษย์บู๊ตึ้ง สายตัน ที่มีชื่อ หลีซื่อเหนียง อยู่จริงๆ  นั่นคือ เธอมีตัวตนจริง และเป็นศิษย์บู๊ตึ้งจริงๆ 

แต่หากมานับอายุกันแล้ว ในปีที่ฮ่องเต้ย่งเจิ้งสวรรคต นั้นคือ ปี ค.ศ. 1735 นั้น หลี่ซื่อเหนียง เอง กลับมีอายุเพียงแค่  13 ปีเท่านั้น ดังนั้นไม่น่าเป็นไปได้ที่ เด็กหญิงอายุ 13 ขวบ จะลอบเข้าวังไปฆ่าฮ่องเต้ได้ ดังนั้นเรามาดูเรื่องที่นักประวัติศาสตร์คาดคะเนเรื่องจริงกัน

ปริศนาการสรรคตของ หย่งเจิ้ง 

ฮ่องเต้ ย่งเจิ้ง นั้นเป็นคนที่ทรงงานหนัก ทำให้ร่างกายอ่อนแอ แต่แล้ว ได้รู้จักกับนักพรต เจี่ยซื่อฟาง 贾士芳  เมื่อได้ยาจากนักพรต อาการป่วยก็หายป่วยทันที  นับแต่นั้นมา ฮ่องเต้ย่งเจิ้ง ก็ได้รับยาปรุงจากนักพรต มาเสวย ทุกวัน นักประวัติศาสตร์ค้นพบหลักฐานชัดเจนว่า ทางวังมีการสั่ง สารเคมีเข้ามาปรุงยาจำนวนมาก  รวมไปถึง สารตะกั่วดำ นอกจากนี้ อีกหลักฐานหนึ่งก็คือ ในคืนวันที่ฮ่องเต้หยงเจิ้ง จะสวรรคต นั้นก็มีหลักฐานว่า คืนนั้นเองได้มีการลงนามแต่งตั้ง องค์ชาย หงลี่ ขึ้นเป็นองค์รัชทายาท ที่ต่อมาก็คือ ฮ่องเต้ เฉียนหลง นั่นเอง โดยหลังจาก ฮ่องเต้เฉียนหลงขึ้นนั่งบังลังค์แล้ว ก็ทรงไล่เหล่านักพรตออกจากวังทั้งหมด

นั่นคือ ตำนาน หลี่ซื่อเหนียง นั้น ตัวหลี่ซื่อเหนียงน่าจะมีตัวตนจริง แต่ตำนานฮ่องเต้หยงเจิ้งตายแบบไร้หัวนั้น เป็นแค่ตำนานอย่างแน่นอน

สิ่งที่อยากอธิบายตรงนี้ก็คือ ประวัติศาสตร์จีนนั้น คนจีนมักจะแยกเป็น 2 อย่าง คือประวัติศาสตร์แบบทั่วไป คือประวัติศาสตร์ที่ได้รับการตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว  อีกประเภทหนึ่ง ก็คือ ประวัติศาสตร์เถื่อน คือมักเป็นเรื่องเล่าขานของชาวบ้าน โดยในช่องนี้ ผมจะเรียกพวกนี้ว่า เป็นตำนาน เน้นอีกครั้ง แม้จะเป็นช่องผมจะเป็นแชนแนลประวัติศาสตร์ แต่ถ้าผมใช้คำว่า ตำนาน นั่นคือ มันน่าจะเป็นเรื่องแต่งเติมจากประวัติศาสตร์นะครับ  หากมีผู้มาคอมเม้นท์ว่า ช่องนี้มั่ว ข้าน้อยขอแจ้งอีกครั้งนะครับว่า ผมระบุไปแล้วนะครับว่า นี่คือตำนาน ที่สำคัญกว่าก็คือ ตำนานเรื่องเดียวกัน ก็ยังไม่ตรงกันเลย  อย่างครั้งนี้ บางตำนานว่า หลี่หนีวเหลียงเป็นพ่อหลี่ซื่อเหนียง แต่ บางตำนานว่า หลี่หนิวเหลียงเป็นปู่ของหลี่ซื่อเหนียง  สิ่งนี้เองครับที่ ทำให้คนที่อาจรู้เรื่องราวตำนานด้านเดียว ก็คิดว่า ตัวเองนั้นรู้เรื่องตำนานเหล่านี้ดีแล้ว แต่ความจริง ตำนานตัวมันเองก็ยังมีหลายเวอร์ชั่นเลยครับ

ครับถ้าชอบคลิปนี้อย่าลืมกดไลท์กดแชร์กด ซับให้ด้วยนะครับ


วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2563

จีน(1254-1324) ปริศนาเส้นทางสายไหมของ มาร์โก โปโล

มาร์โก โปโล (อิตาลี: Marco Polo) (15 กันยายน ค.ศ. 1254– 9 มกราคม ค.ศ. 1324 เป็นไปได้แต่ไม่เกิน มิถุนายน ค.ศ. 1325)

มาร์โกโปโล เกิดในปี ค.ศ. 1254 อยู่ในครอบครัว พ่อค้านักเดินทาง และ นักสำรวจชาวเวนิส-อิตาลี  และคนส่วนใหญ่เชื่อว่า  มาร์โก โปโล เป็นชาวตะวันตกคนแรกที่ได้เดินทางตามเส้นทางสายไหม ร่วมกับ บิดาและลุงของเขาไปยังประเทศจีน ซึ่งมาร์โคโปโล เรียประเทศจีนว่า คาเธ่ย์ โดยมีที่มา คือ เขาตั้งใจจะอ่านตามภาษารัสเซีย คือ กิไต แต่ มาโคโปโล กลับอ่านออกเสียงเป็น ภาษาละตินเพี้ยน จึงกลายเป็น คาเธ่ย์

จุดเริ่มต้นของเรื่องราว คือ  อยู่มาวันหนึ่งในราวปี ค.ศ.1269 พ่อ และ อา ของ มาร์โค โปโล คือ นิโคโล โปโล และ มัฟเฟโอ โปโล (Niccolo and Maffeo Polo) ที่เป็นพ่อค้าที่ร่ำรวย ได้เดินทางไปค้าขายแถบทางตอนใต้ของยูเครนในปัจจุบัน แต่ด้วยภัยสงครามของเผ่ามองโลกที่ไล่รุกรานมาถึงยุโรป ทำให้ ทั้งพ่อและอาของมาโคโปโล จึงต้องเดินทางหนีภัยสงครามมาที่ เมืองบูคารา ระเทศอุซเบกิสถานในปัจจุบัน  ซึ่งก็เป็นดินแดนที่อยู่ภายใต้การดูแลของอาณาจักรมองโกลเช่นกัน  และที่นั่นเอง ทั้งคู่ ได้พบกับตัวแทนของจักรพรรดิ์กุบไลข่าน ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์หยวน

โดยยุคสมัยนั้น กุบไลข่านสนใจเรื่องเกี่ยวกับวัฒนธรรมของชาวละตินและตะวันตก ตัวแทนของกุบไลข่าน จึงได้เชิญพี่น้องทั้งสองคนให้ติดตามไปเข้าเฝ้าจักรพรรดิ์ กุบไลข่าน  นิโคโล และมัฟเฟโอ ก็รับคำเชิญและตามผู้แทนดังกล่าวไปจนถึงเมืองจีน และได้เข้าเฝ้าองค์จักรพรรดิ์กุบไลข่าน ในปี ค.ศ. 1266 หลังจากที่ กุบไลข่านเพิ่งก่อตั้งราชวงศ์หยวน ได้ 2 ปี คือปี 1264 มาร์โค โปโล จึงมิใช่ชาวยุโรปคนแรกที่ไปเมืองจีนอย่างที่ใครหลายคนเคยเข้าใจกัน

กุบไล่ข่าน และราชวงศ์หยวน
ขอแวะอธิบายเรื่องราชวงศ์หยวนก่อนนะครับ หยวน นั้นมาจากศัพท์มองโกล ""เยเคอ มองกูล อูลุส"ที่แปลได้ประมาณ รัฐมองโกลอันยิ่งใหญ่นะครับ เนื่องจากสามารถโค่นล้มราชวงศ์ซ่งลงได้ โดยกุบไลข่าน สามารถโค่นล้มราชวงศ์ซ่งลงได้อย่างเด็ดขาด 

กรุณาอย่าสับสน กุบไลข่าน กับ เจสกิสข่าน เพราะ
 กุบไลข่าน แห่งราชวงศ์หยวนนี้ คนนี้คือหลานปู่ของ “เจงกิสข่าน” (成吉思汗)หรือ เถี่ยมู่เจิน (铁木真) หรือเตมูจิน นะครับ  เดิม กุบไลข่าน ชื่อ ฮูปี้เลี่ย (忽必烈) และเมื่อก่อตั้งราชวงศ์หยวน ก็เรียกตนเองว่า  หยวนซื่อจู่ (元世祖) เหตุผลที่ถือว่า กุบไล่ข่าน เป็นฮ่องเต้ องค์แรกแห่งราชวงศ์หยวน เพราะกุบไลข่าน นั้นสามารถยึดครองปักกิ่งได้สำเร็จ (สมัยนั้นชื่อเมืองต้าตู) ในปี 1271  นอกจากนี้ยังสามารถ ตีเมืองต้าหลี่ หรือยูนนานได้สำเร็จอีกด้วย รวมถึงยังสามารถบุกไปตีดินแดนของราชวงศ์ซ่งใต้ได้สำเร็จในปีค.ศ. 1279

โดยช่วงราชวงศ์หยวนนั้น มีการแบ่งชั้นวรรณะ ทั้งทางเชื้อชาติและอาชีพ โดยทางเชื้อชาติน้้นจะเรียงไปตามนี้ ราชวงศ์หยวน คนตะวันออก คนฮั่นเหนือ สุดท้ายคือ ชาวฮั่นใต้ที่ยึดติดกับราชวงศ์หมิงเป็นหลัก

ขณะที่อาชีพนั้นจะเรียงไป คือ ขุนนาง ข้าราชการ พระสงฆ์และนักบวชลัทธิเต๋า ไปเรื่อยๆ จนถึง โสเภณี นักปราชญ์ และ ขอทาน นั่นคือ เหล่านักปราชญ์นั้นอยู่ต่ำกว่าโสเภณี และอยู่เหนือกว่า ขอทานเพียงเท่านั้น และเนื่องจาก ชาวฮั่นนั้นอยู่ในวรรณะต่ำสุด ราชวงศ์หยวน จึงมักรีดภาษีชาวฮั่นอย่างหนักกว่าวรรณะอื่นอีกด้วย เพื่อสนองความฟุ้งเฟือ ขณะที่ ราชบังลังก์ก็มีการแย่งชิงกันจนสิ้นราชวงศ์หยวน เลยทีเดียว

มาถึงคาเธ่ย์
ย้อนกลับมา เรื่องหลักของเราอีกครั้ง กุบไลข่านเมื่อได้พบสองพี่น้องนี้ ก็พอใจอย่างมาก และได้ขอให้ทั้งสองนำสาส์นไปถวายองค์พระสันตปาปาเพื่อขอนักปราชญ์จำนวน 100 คน ใน 7 สาขา มาเพื่อช่วยการปกครองจีน เมื่อทั้งสองกลับมาถึงเวนิซ  เขาพบว่าพระสันตปาปาพึ่งสิ้นพระชนม์ และทางวาติกันยังไม่ได้ดำเนินการเลือกพระสันตปาปาองค์ใหม่

สองพี่น้องรอจนกระทั่งปี ค.ศ. 1271 (พ.ศ.1814) จึงตัดสินใจเดินทางกลับไปเฝ้ากุบไลข่าน อีกครั้ง ครั้งนี้ ได้นำลูกชายคือ  มาร์โค โปโล ที่มีอายุเพียง 17 ปี เดินทางไปด้วย ระหว่างการเดินทางได้เข้าเฝ้าพระสันตปาปาองค์ใหม่ที่พึ่งได้รับเลือก ณ กรุงเยรูซาเล็ม พระสันตปาปาได้มอบหมายให้พระโดมินิกันเดินทางไปด้วย เพียง 2 รูป ซึ่งทั้ง 2 ได้เปลี่ยนใจเดินทางกลับในเวลาต่อมา

คณะของครอบครัวโปโลจึงได้เดินทางข้ามที่ราบสูงพาเมียร์ หรือธิเบต ซึ่งสูงถึง 5000 ฟุต ต่อมาก็เดินทางข้ามทะเลทรายโกบี ไปจนถึงเมืองจีนได้สำเร็จ ใช้เวลาเดินทางทั้งสิ้น 3 ปี ระยะทางรวม 5600 กิโลเมตร  จึงได้เข้าเฝ้าองค์จักรพรรดิ์กุบไลข่านที่พระราชวังเมือง ชางตู  ที่นี่ เขาได้พบว่า มีการใช้กระดาษแทนเงิน ใช้ถ่านหินก่อไฟ ตลอดจนพบเห็นการแกะสลักไม้เพื่อใช้พิมพ์กระดาษอีกด้วย

เดินทางกลับ
นอกจากนี้ มาร์โคโปโล ยังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ตรวจการเดินทางทั่วแผ่นดินจีนตอนใต้ รวมถึงเป็นเจ้าเมืองหยางโจว ถึง 3 ปี หลังจากนั้นก็รับใช้ราชสำนักมองโกลอีกรวม 17 ปี ตอนนั้น ทางครอบครัวโปโลเกรงว่า ตอนนั้นกุบไลข่านอายุประมาณ 80 ปีแล้ว และเกรงว่า หากเปลี่ยนรัชกาลจะเกิดความไม่มั่นคงได้ จึงตัดสินใจเดินทางกลับ  ในตอนแรกกุบไลข่านไม่อนุญาติ แต่เนื่องจากเกิดเหตุให้ต้องนำตัวเจ้าหญิงมองโกลไปเป็นพระชายาที่เปอร์เซีย ทางกุบไลข่านจึงอนุญาติแต่ต้องนำองค์หญิงไปส่งที่เปอร์เซียด้วย ทำให้ครอบครัวโปโลได้กลับบ้านทางเรือ โดยในตอนแรกเดินทางนั้นมีคนทั้งหมด 600 คน แต่ ระหว่างเดินทางกลับ ไปติดมรสุมอยู่ถึง 5 เดือน และเรือได้แล่นผ่านทั้งศรีลังกา อินเดีย ไปจนถึงเปอร์เซีย เหลือคนที่ไปถึงที่นั่นเพียง 18 คนเท่านั้น

โดยในปี 1294 กุบไลข่านก็เสียชีวิตลง  ทำให้ครอบครัวโปโล ตัดสินใจกลับเวนิซ ในปี 1295 (พ.ศ.1838) ขณะนั้นเขาออายุถึง 41 ปีแล้ว ปรากฏว่าญาติๆ จำพวกเขาไม่ได้เลย และคิดว่าพวกเขาตายไปแล้ว มีเรื่องเล่าว่าพวกเขาได้นำทรัพย์สมบัติมีค่ากลับมาด้วย

เขียนหนังสือ
หลังจากนั้น นครรัฐเวนิซได้แพ้สงครามแก่รัฐเจนัว มาร์โค โปโล จึงถูกขังคุกรวมอยู่กับ รัสติเชลโล (Rustichello da Pisa) นักเขียนเรื่องราวเพ้อฝันประเภท แฟนตาซี ณ ที่คุมขังนี้เองที่รัสติเชลโลได้บันทึกเรื่องราวการเดินทางของมาร์โค โปโล ไว้เป็นลายลักษณ์อักษรตามคำบอกเล่าของเขา จนรวบรวมเป็นเล่ม สำเร็จ หนังสือมีชื่อว่า Il Milione อิลมีลีโอเน (เดิมหนังสือชื่อว่า  บันทึกการเดินทางของมาร์โคโปโล โดย Milione คือ อีกชื่อหนึ่งของเขา และแน่นอนมันแปลว่า หนึ่งล้าน ด้วย ทำให้ตอนหลังมีคนนำไปล้อว่า ชื่อหนังสือคือ เรื่องโม้ล้านเรื่อง ) เมื่อทั้งสองพ้นออกจากคุกมาได้ในปี ค.ศ. 1299 (พ.ศ.1842) จึงเริ่มมีการแจกสำเนาหนังสือฉบับนี้จากการคัดลอกด้วยมือ โดยได้รับการแปลถึง 4 ภาษา นักอ่านหลายคนอ่านแล้วคิดว่าเป็นเพียงเรื่องแต่ง และไม่ได้รับการยอมรับจากทางการเวนิซเท่าที่ควร

นอกจากนี้ เหตุการณ์ทั้งในยุโรปและจีนเอง ก็มีอุปสรรคในการเดินทางครั้งใหม่ เนื่องจาก ในจีนเอง จักรพรรดิ์กุบไลข่านสิ้นพระชนม์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1294 (พ.ศ.1837) ตั้งแต่ มาร์โค ยังเดินทางกลับไม่ถึงเวนิซ ชาวมองโกลเกิดการแตกแยกสู้รบกันเองจนอาณาจักรแตกสลาย และถูกขับออกจากจีน ด้านยุโรปก็เกิดกาฬโรคระบาด คร่าวชีวิตผู้คนไปถึงกว่าครึ่ง จนไม่มีใครคิดจะเดินทางไปจีน ส่วน มาร์โค โปโล นั้น ถึงแก่กรรมในปี ค.ศ. 1324 (พ.ศ.1867)

หนังสือของ มาร์โค โปโล ได้รับความสนใจอีกครั้งเมื่อมีการประดิษฐ์แท่นพิมพ์ในยุโรปในศตวรรษที่ 15 อิทธิพลสำคัญของหนังสือเล่มนี้ คือ เป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้โคลัมบัสต้องการออกเดินทางไปจีนโดยเส้นทางอื่นจนไปพบทวีปอเมริกาก่อนในที่สุด หนังสือเล่มนี้จัดได้ว่ามีทั้งส่วนที่เป็นคุณูปการและส่วนที่สร้างความสับสนให้กับคนรุ่นหลังปนเปกันอยู่พอสมควร

ก่อนมาร์โคโปโล เสียชีวิตเขาเป็นพ่อค้าที่ร่ำรวย แต่มีนักอ่านไปเยี่ยมแกที่บ้าน พร้อมกับถามมาร์โคโปโลว่า "ยอมรับเถอะว่า หนังสือที่เขียนขึ้นมานั้นเป็นเรื่องโม้ทั้งเพ" แต่มาร์โคโปโล กลับตอบแบบยืนยันเช่นเดิมว่า  "นี่ยังเล่าได้ไม่ถึงครึ่งของเรื่องจริงที่เขาพบเจอเลย"

คนจับผิดหนังสือของเขาดังนี้
เส้นทางการเดินทางที่อ้างถึงคลุมเครือ ไม่ชัดเจน มีผู้พยายามทดลองเดินทางตามเส้นทางในหนังสือแล้วไม่สำเร็จ แต่ความคลุมเครือนี้ กลับเป็นเรื่องที่ดี เพราะทำให้ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส แทนที่จะเดินทางตามรอยมาร์โคโปโล แต่คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส พยายามหาเส้นทางอื่นที่จะเดินทางไป นั่นคือ ทางทะเล จนเป็นเหตุ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส นั้นค้นพบทวีปอเมริกา

มีการเล่าถึงรายละเอียดความเป็นอยู่ และอารยธรรมของชาวจีนที่ขณะนั้นเหนือกว่าชาวยุโรปมาก เช่น ศาสนา การใช้เงินกระดาษ การใช้ถ่านหินทำความร้อน ชีวิตที่หรูหราของราชสำนักมองโกล การสร้างถนนและคลอง การสวมผ้าไหม สุขอนามัยต่างๆ แต่บางเรื่องกลับไม่พูดถึงเลย เช่น การดื่มน้ำชา การใช้ตะเกียบ การมัดข้อเท้าของเด็กหญิง และกำแพงเมืองจีน รวมถึง การพิมพ์หนังสือที่จีนที่มีมาก่อน Gutenberg จะเกิดอีกหลายปี

นอกจากนี้ เอกสารที่ประเทศจีนหรือมองโกล ก็ไม่มีเอกสารใดๆ กล่าวถึง มาร์โคโปเลเลย แม้ว่า ผู้ที่ยังเชื่อว่า มาร์โค โปโล เดินทางไปจีนจริง จะกล่าวแก้ตัวว่า เขาอาจใช้ชื่ออื่นในภาษาจีน  แต่ในสารคดีที่แก้ตัวก็ไม่ได้กล่าวว่า มาร์โคโปโล นั้นใช้ชื่ออะไรขณะที่อยู่ประเทศจีน เป็นเพียงเรื่องที่คาดเดาไปเท่านั้น

ฝ่ายที่ไม่เชื่อการเดินทางของ มาร์โค โปโล ยังแสดงความแปลกใจที่ กุบไลข่าน ทรงแต่งตั้งชาวต่างประเทศที่มีอายุน้อย อย่าง มาร์โค โปโล เป็นข้าราชการต่างพระเนตรพระกรรณ แต่ฝ่ายที่ยังเชื่อ มาร์โค โปโล เห็นว่าไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เพราะจักรวรรดิ์มองโกลมักใช้นโยบายการตั้งตัวแทนเพื่อใช้ในการสอดแนมเช่นนี้เป็นปกติอยู่แล้ว

นอกจากนี้ ในหนังสือก็ยังเล่าเรื่องส่วนตัวของ มาร์โค โปโล ไว้น้อยมาก และมีการสงสัยว่าทำไมอยู่ดีๆ ตระกูลโปโลซึ่งอยู่ในจีนเป็นสิบปีถึงคิดจะเดินทางกลับบ้านเกิด ทำไมไม่แต่งงานมีครอบครัวที่นั่น ฝั่งที่เชื่อก็อธิบายว่า อาจเป็นเพราะจักรพรรดิ์กุบไลข่านใกล้จะสิ้นพระชนม์ มาร์โคโปโล และครอบครัวโปโลอาจเกรงว่าจะมีภัยการเมืองมากระทบต่อสถานะของตน

ขณะที่ หนังสือของ มาร์โค โปโล มักเรียกชื่อต่างๆ เป็นภาษาเปอร์เซีย หรือตุรกี แทนที่จะเป็นภาษาจีน ทำให้เกิดความสงสัยว่า เรื่องราวของ มาร์โคโปโล เขาอาจเป็นเพียงการปะติดปะต่อคำบอกเล่าต่อๆ กันมาของบรรดาพ่อค้าชาติต่างๆ ที่อยู่ในอาหรับเท่านั้น ตัวมาร์โคโปโลเองก็อาจไม่ได้เดินทางไปจีนด้วยตัวเอง

ส่วน ด้านความเชื่อที่ว่า มาร์โค โปโล เป็นผู้ให้กำเนิดพาสต้า ที่คล้ายๆ กับบะหมี่ของจีน ความจริงอันนี้เป็นเพียงความเชื่อของคนส่วนใหญ่เท่านั้น เพราะความจริงแล้ว หนังสือของเขาก็ไม่เคยอวดอ้างเรื่องเหล่านี้ไว้เลย และความเป็นจริงคือ ชาวอาหรับเป็นผู้นำข้าวสาลีและพาสต้าเข้ามายังยุโรปตั้งหลายร้อยปีก่อนหน้าที่ มาร์โค โปโล จะเกิดด้วยซ้ำ

บันทึกการเดินทางของเขาก็แสนหลือเชื่อ ไม่ว่าจะพบเจอชนเผ่าร่างยักษ์ หรือถ่านสีดำไร้เปลวไฟแต่กลับร้อนได้นานมาก (ถ่านในปัจจุบันนั่นเอง) เมื่อลองเดินทางตามบันทึกก็พบว่าตรงกับที่มาร์โค โปโล เล่าไว้

ทั้งนี้ ฝ่ายที่ไม่เชื่อว่า มาร์โค โปโล เดินทางไปเมืองจีนจริงๆ เช่น Frances Wood ผู้แต่งหนังสือเรื่อง Did Marco Polo Go to China?  ก็ไม่ได้ประณามว่า มาร์โคโปโล โกหกมดเท็จซะทีเดียว ในสารคดี Wood ก็อธิบายว่า หนังสือของ มาร์โค โปโล นั้นถูกเขียนขึ้นโดย รัสติเชลโล ที่ถูกเขียนขึ้นขณะอยู่ในคุกเมืองเจนัว ด้วยกัน และในระยะแรก การเผยแพร่หนังสือดังกล่าวกระทำโดยการคัดลอกด้วยมือต่อๆ กันมา ซึ่งอาจเกิดความผิดเพี้ยนและ แต่งเติมขึ้นได้ และยังมีความเป็นไปได้ด้วยว่า มาร์โค โปโล อาจจะไม่มีตัวตนจริงๆ เป็นเพียงตัวละครที่ รัสติเชลโล สมมติขึ้นมาในหนังสือ อย่างไรก็ดี เราไม่ได้หมายความว่า รัสติเชลโล จะเป็นคนปลิ้นปล้อนหลอกลวง แต่ว่าเป็นการเขียนหนังสือเกี่ยวกับภูมิศาสตร์โลก หรือ หนังสือท่องเที่ยวในยุคนั้น ปกติจะมีการแต่งเติมสีสันเข้าไปเพื่อความสนุกอยู่แล้ว

ไม่ว่าฝ่ายไหนจะเชื่อเรื่อง มาร์โค โปโล เพียงใดก็ตาม สิ่งที่สรุปตรงกันคือ ทุกฝ่ายยังคงยอมรับความสำคัญในหนังสือของเขา ที่ได้ทำให้ชาวยุโรปได้เปิดหูเปิดตา เห็นว่ายังมีชนชาติอื่นอีก เช่น จีน ที่มีอารยธรรมเหนือกว่าตน และเป็นแรงบันดาลใจให้นักเดินทางรุ่นหลังๆ ได้ออกมาเผชิญโลกภายนอก จนเกิดการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ในเวลาต่อๆ มา


วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2563

จีน (1891-1859) เจิ้งหยูซิ่ว - สุภาพสตรีนักฆ่า ผู้ล้มราชวงศ์ชิง

เจิ้งหยูซิ่ว (郑毓秀) - สุภาพสตรีนักฆ่า ผู้ล้มราชวงศ์ชิง
สาวงามชั้นสูงในชุดกี่เผ้าสวมเครื่องประดับราคาแพง เดินเฉิดฉายในสังคมชั้นสูง แถมเป็นทนายความคนแรกของประเทศจีน คุณคงไม่คิดว่า สตรีผู้นี้คือ มือวางระเบิดแห่งยุคล้มราชวงศ์ชิง ชื่อของเธอ คือ  เจิ้งหยูซิ่ว(郑毓秀)


วัยเด็ก

เจิ้งหยู่ซิ่ง เกิดวันที่ 20 มีนาคม 1891 ถือเป็นตอนท้ายของยุคปลายราชวงศ์ชิง โดยยุคสมัยนั้น เกิดนักปฎิวัติและนักคิดขึ้นมากมาย หนึ่งในนั้นคือ ในขณะที่สิทธิสตรี ก็เริ่มปล่อยให้ผู้หญิงได้รับการศึกษามากขึ้นกว่าแต่ก่อน และสามารถเปิดเผยตัวในวงสังคมมากขึ้น

พ่อของเธอ เป็นเจ้าหน้าที่ในราชวงศ์ชิง เจิ้งหยู่ซิ่ง เป็นคนฉลาด แม่ของเธอมักสอนให้อ่านบทความธรรมะ แต่เธอเป็นพวกหัวกบฎต่อต้านวัฒนธรรมจีน ไม่ว่าจะเรื่อง ความเชื่อ 3 คุณธรรม 4  หรือแม้แต่เรือง การรัดเท้าเหมือนสตรีทั่วไปในยุคนั้น ที่เชื่อว่า สตรีที่เท้าใหญ่จะไม่สามารถหาคนแต่งงานได้ ก็ตาม

โชคดีที่ ครอบครัวของเธอนั้นร่ำรวยจากการที่ปู่ของเเธอไปค้าขายกำไรที่ฮ่องกง  แต่ตัวเธอกลับเป็นเด็กมีปัญหา หากคนในบ้านไม่ตามใจเธอ เธอจะหนีออกจากบ้าน ในปี 1905 เธอจึงถูกส่งไปเรียนโรงเรียนสตรีที่เทียนจิน เพื่อให้ได้รับการศึกษาแบบตะวันตกตั้งแต่เด็ก ในปี 1907 เธอกับน้องสาว ก็ถูกส่งไปเรียนที่ญี่ปุ่น ที่นี่เอง เธอก็ได้เข้าร่วมกับ คณะปฎิวัติของซุนยัดเซ็น เพื่อต่อต้านราชวงศ์ชิง และไม่นานต่อมาเธอก็กลับมาที่ประเทศจีน

ลอบสังหาร 

ช่วงปี 1905 -1908 ขณะนั้น ซุนยัดเซ็น และพันธมิตร ได้รับแรงสนับสนุนเพื่อโค่นล้มราชวงศ์ชิงอย่างแรงกล้า แม้ว่า คณะปฎิวัติจะเปิดตัวการก่อกบฎมาแล้วถึง 6 ครั้ง แต่ก็ล้มเหลวทั้งหมด ทำให้เหล่าเยาวชนจำนวนมากต้องล้มตาย ทำให้ สมาคมพันธมิตร ถงเหมินฮุย ถูกตราหน้าว่า "ใช้ความบ้าคลั่งที่ชั่วร้าย หลอกลวงเยาวชนให้ไปตาย ขณะที่ตัวเองใช้ชีวิตมีความสุขอยู่ในต่างประเทศ"

และจุดนี้เอง ที่คณะปฎิวัติมองว่า ควรเปลี่ยนกลยุทธ์จากการก่อปฎิวัติ มาเป็นการลอบสังหารแทน โดยเฉพาะ เจ้าหน้าที่ตำแหน่งสำคัญๆ ในราชวงศ์ชิง และเพื่อเป็นการพิสูจน์ว่า เหล่าผู้นำก็ไม่กลัวตายเช่นกัน เริ่มต้นจาก  วังจิงเว่ย วางแผนจะเดินทางมาปักกิ่ง เพื่อเคลียร์สถานการณ์และรับมอบระเบิดที่ปักกิ่งเพื่อใช้ในการลอบสังหาร

เหลียวจงไข เขียนจดหมายถึง เจิ่งหยูซิ่ว ขอให้ เธอช่วย วังจิงเว่ย ในภารกิจแผนลอบสังหารครั้งนี้  เมื่อทั้งสองได้พบกัน วังจิงเว่ย บอกกับ เจิ่งหยู่ซิ่ว ว่า "ที่สถานีรถไฟปักกิ่ง มีการตรวจสอบอย่างเข้มงวด ตัวเขาเป็นผู้ชายอาจเป็นผู้ต้องสงสัย หากจะขนระเบิดเข้าไป จึงอยากขอร้อง เธอ ให้ช่วยนำระเบิดเข้าไปที่ปักกิ่งแทน" เธอตกลงรับปากทันที

เธออาศัยความกล้าหาญ และชื่อเสียงทางสังคม และความช่วยเหลือจากเพื่อนต่างชาติ เพื่อใช้สิทธิพิเศษทางการฑูต ทำให้ คณะปฎิวัติ สามาถขนระเบิดเข้าไปปักกิ่งได้สำเร็จ และคณะปฎิวัติก็เริ่มต้นลอบสังหารสมาชิกคนสำคัญของราชวงศ์ชิงได้สำเร็จหลายครั้ง

ลอบสังหารหยวนซือไข่
หลังเหตุการณ์ปฎิวัติซินไฮ่ในปี 1911 กลุ่มของซุนยัดเซ็น ก่อตั้งรัฐบาลที่ทางภาคใต้ของจีน และกำลังวางแผนยกพลขึ้นเหนือ แต่ฝั่งราชวงศ์ชิงนั้นมีการเรียกตัว หยวนซื่อไข่ กลับมาเป็นแม่ทัพ เพื่อต่อสู้กับกลุ่มของซุนยัดเซ็น แต่เดือนมกราคม 1912 ทั้งสองฝ่ายต้องการเจรจาให้ฮ่องเต้สละราชสมบัติ

ก่อนการเจรจาระหว่างทั้ง 2 ฝ่ายจะเริ่มขึ้น ในวันที่ 9 มกราคม 1912 คณะปฎิวัติ รับข่าวมาว่า มีแนวโน้มสูงที่การเจรจาอาจล้มเหลว เนื่องจาก หยวนซื่อไข่ คือ ผู้ต่อต้านการเจรจาหลัก ดังนั้น แผนการลอบสังหารหยวนซื่อไข่ จึงถูกจัดตั้งขึ้นที่ย่านตลาดในถนน หวังฟูจิง  เริ่มต้นด้วยการ แบ่งสมาชิกออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มแรกนั่งในร้านน้ำชา กลุ่มที่สอง นั่งในร้านอาหาร กลุ่มที่สาม เดินในตลาด กลุ่มที่ 4 อยู่ในกลุ่มคนเข็นรถ ทุกกลุ่มมีระเบิดติดตัว และรอเพียงเวลา หยวนซื่อไข่ เดินผ่านมาทางนี้เท่านั้น

โชคดีที่ วันที่ 15 มกราคม 1912 คณะปฎิวัติ ได้ข่าวใหม่มาว่า คนหลักในการต่อต้านการเจรจาฝ่ายราชวงศ์ชิงคือ นายพล เหลียงปี้  ไม่ใช่ หยวนซื่อไข่ ทำให้มีการยกเลิกแผนก่อนไม่กี่ชั่วโมง แต่บางคนยังไม่ได้รับรายงานดังกล่าว จึงยังคงดำเนินการตามแผนที่วางไว้ อย่างไรก็ดี พวกเขากลับทำงานพลาด ถูกจับไปหลายสิบคน เวลานั้น เจิ้งหยูซิว แม้จะอยู่ในกลุ่มนั้น แต่ อาศัยความเฉลียวฉลาด หลบหนีจากที่เกิดเหตุได้ทันท่วงที

ลอบสังหาร นายพลเหลียงปี้
แม้ว่า เจิ้งหยูซิ่ว จะรอดมาได้ แต่เธอก็ยังไม่ยอมแพ้ คณะปฎิวัติยังคง วางแผนลอบสังหาร นายพลเหลียงปี้ ต่อไป โดย นายพล เหลียงปี้ ( 良弼 )  นี้มีผู้คุ้มกันมากมาย และยังเป็นคนหลักในการขัดขวางการเจรจาในการสละราชสมบัติของราชวงศ์ชิงอย่างหัวชนฝาเลยทีเดียว ทำให้ตอนนี้ นายพลเหลียงปี้ เป็นเป้าหมายหลักของ คณะปฎิวัติ

แต่คนรับภารกิจหลักครั้งนี้ เป็น เจี่ยเซ่ง เปียง  ซึ่งเป็นคนรักของ เจิ้งหยูซิ่ว ทำให้เธอเศร้ามาก แต่พวกเขาก็วางแผนมาเป็นอย่างดี โดยใช้กลยุทธ์การเข้าประชิดตัว และสามารถปาระเบิดใส่ นายพลเหลียงปี้ ได้สำเร็จ ทำให้นายพลเหลียงปี้ เสียชีวิตในวันที่ 29 มกราคม 1912 ทำให้การเจรจาระหว่างคณะปฎิวัติกับราชวงศ์ชิงนั้นสำเร็จอย่างราบรื่น

ทำให้ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 1912 หลงยู่ไทเฮา พระมารดาบุญธรรมของปูยีฮ่องเต้ ก็ออกมาประกาศสละราชบังลังก์ทั้งน้ำตา อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะปฎิวัติล้มล้างราชวงศ์สำเร็จ แต่ตัวเจิ้งหยู๋ซิ่ว เองกลับถูกไล่ล่าจาก หยวนซื่อไข่ ทำให้เธอต้องหลบหนีไปประเทศศึกษาที่มหาวิทยาลัย ปารีส ซอร์บอน ในประเทศฝรั่งเศส ที่สำคัญ คือ เธอสามารถจบปริญญาเอก ด้านกฎหมาย จากมหาวิทยาลัยปารีสซอร์บอน

4 พฤษภาคม 
ย้อนกลับมาระหว่างที่เธอศึกษาที่ประเทศฝรั่งเศส  สงครามโลกครั้งที่ 1 จบพอดี  ประเทศที่ชนะสงครามโลกครั้งที่ 1 จึงร่วมกันจัดการประชุมสันติภาพขึ้นที่กรุงแวร์ซาย์ ประเทศฝรั่งเศส เพื่อร่างสนธิสัญญาแวร์ซาย ประเทศจีนขณะนั้น แม้ว่าจีนจะอยู่ข้างฝ่ายชนะสงคราม ที่มีต่อเยอรมัน  แต่ในสนธิสัญญาแวร์ซาร์ส กลับระบุให้ยกดินแดนส่วนของเยอรมันที่ได้สิทธิพิเศษในจีน ให้กับประเทศญี่ปุ่นแทน และยังบีบให้จีนลงนามในสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมครั้งนี้อีกด้วย

เหตุการณ์นี้ ทำให้นักศึกษามหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศจีนออกมาชุมนุนประท้วง หรือเรียกว่า เหตุการณ์ 4 พฤษภา โดยเหล่านักศึกษาออกมาประท้วงไม่ยอมให้ตัวแทนจากประเทศจีนลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซาส์ เด็ดขาด เมื่อเจิ้งหยูซิ่ว ทราบข่าว เธอก็เป็นตัวแทนนักเรียนจีนในประเทศฝรั่งเศส และประกาศทันที ถ้าขืนลงนามในสนธิสัญญานี้ เจิ้งหยู่ซิ่งคนนี้จะไม่ให้อภัยพวกคุณแน่ แน่นอนว่า การประท้วงครั้งนี้ก็ทำให้ตัวแทนจากประเทศจีนไม่กล้าลงนามสนธิสัญญาแวร์ซาร์ส ครั้งนี้

ทนายความ
เมื่อเธอจบการศึกษา เธอจึงกลับมาร่วมก่อตั้ง บริษัทกฎหมายในเซี่ยงไฮ้ กับสามีของเธอ คือ เว่ยเต้าหมิง 
 (魏道明) ทำให้เธอได้เป็นทนายความหญิงคนแรกในประเทศจีน นอกจากนี้ยังได้รับตำแหน่ง ผู้อำนวยการศาลในเมืองเซี่ยงไฮ้ ต่อมาได้เป็น ผู้กำกับดูแลศาลชั่วคราว ในเซี่ยงไฮ้ สุดท้ายได้เป็นถึง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการศึกษาธิการ และยังเป็นผู้หญิงเพียงคนเดียวที่ได้ร่วมร่างกฎหมายให้กับประเทศจีน

แต่เมื่อ เว่ยเต้าหมิง รับตำแหน่งทางการฑูต เธอตัดสินใจสละทุกตำแหน่ง ติดตามไปเป็นภรรยานักการฑูต แต่ในปี 1948 สามีของเธอก็ตัดสินใจสละตำแหน่ง และลี้ภัยที่ประเทศบราซิล  แต่ครอบครัวของเธอกลับล้มเหลวในการทำธุรกิจ ทำให้เธอต้องประสบปัญหาด้านการเงิน จึงเลือกที่จะย้ายไปพักอาศัยที่สหรัฐอเมริกา

ในปี 1954 เธอก็ได้รับข่าวร้ายว่าเธอป่วยเป็นมะเร็ง จนทำให้เธอต้องเนื้อที่หัวไหล่ทิ้ง (บางข่าวระบุว่า ต้องตัดแขนทิ้ง) ไม่นานต่อมา  เธอรู้ดีว่า เธอไม่สามารถกลับจีนแผ่นดินใหญ่ได้ เธอจึงขอเดินทางเข้าไต้หวัน โดยร้องขอต่อเจียงไคเช็ก แต่คำขอเธอเดินทางมาช้าเกินไป สุดท้ายเธอต้องปิดฉากชีวิตที่ยากแค้นและเงียบเหงาในวันที่ 16 ธันวาคม 1959 ในประเทศสหรัฐอเมริกา


วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2563

จีน( 1966-1969) เปี้ยนจงหวิน เหยื่อแห่งยุคปฎิวัติวัฒนธรรมจีน

การปฎิวัติวัฒนธรรมของจีน

ขอปูพื้นก่อนนะครับ  ตามที่เคยเล่าให้ฟังเกี่ยวกับเรื่อง การปฎิวัติวัฒนธรรมจีน มาหลายคลิปแล้ว แต่มักจะเฉียวไปเฉียวมา ครั้งนี้ขออธิบายอีกครั้งนะครับ เรื่องการปฎิวัติวัฒนธรรมของจีนนั้นเกิดขึ้นหลังความล้มเหลวอย่างหนัก ของ นโยบายการปฎิวัติอุตสาหกรรมแบบก้าวกระโดดครั้งใหญ่ ที่เป็นนโยบายของเหมาเจ๋อตุง 毛泽东 ที่ประกาศใช้ในปี 1958 แต่นโยบายนี้กลับทำให้ ผู้คนอดอยาก ยากจน และเรื่องนี้เองที่ทำให้เหมาเจ๋อตุงนั้นเสียผู้เสียคนอย่างมาก เนื่องจาก เขาโดนโจมตีจากรอบด้านทั้งภายในพรรคคอมมิวนิสต์เอง และ ประชาชนทั้งแผ่นดินที่เริ่มต่อต้านเขา

ขณะที่หลิวเส้าฉี เติ้งเสี่ยวผิง พยายามเข้ามาแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจครั้งนี้ แต่พวกเขาเลือกแก้ปัญญา แบบเอียงไปทางขวา คือ มีความเป็นทุนนิยมมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ให้ชาวนาสามารถนำผลผลิตส่วนเกินมาขายได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้มากยิ่งขึ้น แทนที่จะทำตามเป้าหมายเท่านั้น

แต่ เหมาเจ๋อตุง นั้นเห็นว่า หลิวเส้าฉี เติ้งเสี่ยวผิง  และประชาชนจีน นั้นพยายามเจือจางความเป็นสังคมนิยมลง และเพิ่มความโน้มเอียงเข้าสู่ทุนนิยมมากขึ้น ที่เหมาเรียกว่า "พวกโน้มเอียงที่จะนิยมขวา" เหมาเจ๋อตุงจึงต้องการปลดหลิวเส้าฉี และพวกหัวเอียงขวา ออก

โดยจุดเริ่มต้นของการปฎิวัติวัฒนธรรม นั้นเริ่มจาก บทประพันธ์ที่ชื่อ การปลดไฮรุย  ออกจากตำแหน่ง 海瑞罢官 ของ หวู่ฮั่น(吴晗 ที่เป็นรองผู้ว่าปักกิ่งสมัยน้้น และเขายังเป็นนักประวัติศาสตร์อีกด้วย หวู่ฮั่นยกบทประพันธ์ดังกล่าวมาเสียดสี  โดยเนื้อหาเป็นเรื่องของ ขุนนางยุคราชวงศ์ซ่ง ที่ออกมาวิพากษ์วิจารย์ฮ่องเต้ จนถูกปลดออก 

บทประพันธ์นี้เอง มีคนวิจารณ์ว่า เปรียบเสมือนกับเหตุการณ์สดๆ ร้อนๆ ที่เหมาเจ่อตุง เพิ่งปลด  เผิงเตอหวย รัฐมนตรีกลาโหมที่เพิ่งออกมาวิพากย์วิจารณ์ความล้มเหลวของนโยบายก้าวกระโดดครั้งใหญ่ ด้วยข้อหา โน้มเอียงไปนิยมขวา และแน่นอนว่า กรณีนี้ ก็ทำให้ตัวหวู่ฮั่นเองนั้น เป็นปัญญาชนรายแรกๆ ที่ถูกเล่นงานจาก การปฎิวัติวัฒนธรรม

กองทัพเห้งเจีย
โดยผมขอข้ามเรื่อง เจียชิงกับแก๊งออฟโฟร์ ไปก่อนนะครับ เพราะ ผมเตรียมคลิปนี้ไว้รออยู่แล้ว จึงขอข้ามมาเล่าเรื่องนี้ก่อนนะครับ จึงขออธิบายเฉพาะ ส่วนของ “กลุ่มเรดการ์ด” (红卫兵Red Guards คือ กลุ่มเยาวชนจากสถาบันการศึกษาตั้งแต่มัธยมไปจนถึงมหาวิทยาลัย คือ กองกำลังสำคัญของเหมาที่เขาเปรียบว่าเป็น “เห้งเจีย” เทพเจ้าวานรที่เคยอาละวาดทั้งเมืองบาดาลและสรวงสวรรค์มาแล้ว และเขาต้องการเห้งเจียจำนวนมากเพื่อทำลายปีศาจร้าย ภายใต้การรณรงค์เพื่อกำจัด “สี่เก่า” อันประกอบด้วย อุดมคติ, จารีต, วัฒนธรรม และ สันดาน ที่ถูกอ้างว่าเป็นของพวกระบอบเก่า ด้วยวิธีการอันรุนแรงต่อกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้าม ที่บางคนถึงขั้นหมายเอาชีวิต การเหยียดหยามต่อหน้าสาธารณชน การทำลายโบราณสถาน และวัตถุทางวัฒนธรรม

เบื้องต้นกลุ่มพิทักษ์แดงเริ่มการโจมตี ทำร้ายเจ้าหน้าที่ในสถานศึกษา ก่อนขยายตัวไปถึงเจ้าหน้าที่ของพรรค และผู้ที่ถูกตราหน้าว่าเป็น “ศัตรูทางชนชั้น” ในวงกว้าง เกิดการสังหารหมู่ในปักกิ่งและหลายเมืองทั่วประเทศ บางครั้งกลุ่มพิทักษ์แดงก็ตีกันเอง หลายครั้งมีการใช้อาวุธหนัก และกองทัพก็เข้ามามีส่วนร่วมในความขัดแย้งด้วย

เอกสารลับของจีนยังเคยบันทึกถึงเรื่องราวสุดโหดของเหล่าเด็กนักเรียน และนักศึกษา กลุ่มพิทักษ์แดงว่า พวกเขาไม่เพียงทรมาณเหยื่อจนเสียชีวิต บางครั้งถึงกับ “กินเนื้อ” ของเหยื่อเหล่านี้ด้วย ส่วนตัวเลขผู้เสียชีวิตที่แน่นอนยังไม่อาจหาข้อสรุปได้ มีการประเมินตั้งแต่ 5 แสนราย ไปจนถึง 8 ล้านราย

แต่สุดท้าย “เห้งเจีย” เหล่านี้ก็สิ้นฤทธิ์ด้วยฝีมือของเหมาเองที่ใช้ประโยชน์ของเด็กๆได้สมปรารถนา กำจัดเหล่าเสี้ยนหนามสำคัญอย่าง หลิว เซ่าฉี และเติ้ง เสี่ยวผิง รวมถึงกลไกของพรรคที่เป็นอุปสรรคได้สำเร็จ และสุดท้าย กองทัพปลดปล่อยประชาชนเองที่เข้ามาสลายกลุ่มปัญญาชนรุ่นเยาว์ที่มีสมาชิกกว่า 20 ล้านคน ด้วยการส่งตัวพวกเขาไปใช้ชีวิตในไร่นาในชนบทจนเสร็จสิ้นทำให้พวกเขาแทบหมดอนาคต

เปี้ยนจงหวิน
ขอเริ่มต้นเหยื่อรายแรก แห่งการปฎิวัติวัฒนธรรม คือ เปี้ยนจงหวิน 卞仲耘 (1916-1966) รองผู้อำนวยการโรงเรียนสตรี แห่งมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ปัจจุบันคือ โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยปักกิ่ง เป็นเพียงหญิงวัย 50 ปี และเป็นแม่ของลูก 4 คน โดยโรงเรียนแห่งนี้ มีความสำคัญมาก เพราะมีลูกของเหมาเจ๋อตุง ลูกของเติ้งเสี่ยวผิง และลูกของหลิวเส้าฉีศึกษาอยู่ที่โรงเรียนแห่งนี้ด้วย

มิถุนายน ในปี 1966 ความบ้าคลั่งยุคปฎิวัติวัฒนธรรมกำลังเริ่มต้น โดยเริ่มต้นจากนักเรียนและนักศึกษา ทำให้รัฐบาลกลางของหลิวเส้าฉี นั้นออกคำสั่งให้ นักเรียนและนักศึกษาเคลื่อนไหวเฉพาะในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยเท่านั้น ตอนนั้นโรงเรียนแห่งนี้ยังไม่มีครูใหญ่ เปี้ยนจงหวินเป็นเพียงรองครูใหญ่เท่านั้น ดังนั้น เปี้ยนจงหวินจึงเสมือนครูใหญ่  และ เปี้ยนจงหวิน ยังเป็นคณะกรรมการกลางของโรงเรียนอีกด้วย เธอจึงออกคำสั่ง ห้ามเด็กนักเรียนเคลื่อนไหวเด็ดขาด นี่เองทำให้เหล่านักเรียนที่เป็นเรดการ์ดนั้นไม่พอใจเธออย่างมาก

พวกเรดการ์ด มาชี้นิ้วด่าครูคนนี้ หนึ่งในความผิดที่เด็กๆกล่าวหาครูคนนี้ คือ ขณะซ้อมแผ่นดินไหว เปี้ยนจงหวินไม่ยอมปลดภาพประธานเหมาเจ๋อตุง บนผนังห้องไปด้วย แต่กลับทิ้งไว้แบบนั้น

วันที่ 1 สิงหาคม 1966 เรดการ์ดในโรงเรียน เริ่มจับ เพื่อนๆ ที่เป็นมือไม้ของคณะกรรมการกลาง และบรรดาลูกๆ ของผู้ปกครองที่ถูกประนามว่า นิยมเอียงขวา จับตัวมาไต่สวนและประจาน

แต่แล้ว วันที่ 4 สิงหาคม 1966 เรดการ์ดของโรงเรียน บุกเข้าไปห้องพักครู จับครู 7-8 คน รุมกระหน่ำด้วยไม้ และแส้หนัง อย่างหนักหน่วง แม้ว่า วันนั้น เปี้ยนจงหวิน เธอกลับบ้านด้วยสภาพสะบักสะบอม เธอบอกสามีเธอว่า เธอโดนพวก เด็กนักเรียนเรดการ์ด ทุบตี และสามีเธอบอกให้เธอหนีไปเสีย แต่เธอปฎิเสธและยืนกรานที่จะไปทำงานต่อในวันรุ่งขึ้น

เช้าวันที่ 5 สิงหาคม 1966 เธอจับมืออำลงสามี แล้วมุ่งหน้าไปที่โรงเรียน ในวันนั้นเอง คณะกรรมการโรงเรียน ทั้งหมด ถูกจับไปประจานด้วยการแขวนป้ายกระดาษ พร้อมตัวอักษร "แก๊งต่อต้านการปฎิวัติ วัฒนธรรม" พร้อมกับถูกคุกเข่าที่สนามหน้าโรงเรียน

ถึงตอนนี้ เหล่าเด็กนักเรียนเรดการ์ด บางคนตะโกนประจานพร้อมกับหยิบกรรไกรไปกร้อนผม แต่ปลายกรรไกรก็ทิ่มที่หนังหัวจนเลือดไหล ขณะที่บางคนนำขาเก้าอี้ พร้อมตะปู ไปพาดคณะกรรมการ และบางคนเอาหมึดราดไปที่หัวของคณะกรรมการ

แต่ เปี้ยนจงหวิน ตอนนั้น เจ็บปวดเจียนตาย แต่นักเรียนยังบังคับให้เธอไปขัดส้วม ในที่สุดเปี้ยนจงหวินก็ล้มลง น้ำลายฟูมปากและเสียชีวิตลง โดยเด็กสาวคนที่ไปเตะเข้าที่หัวเปี้ยนจงหวินอย่างแรง คือ หลิวถิงถิง เรดการ์ดที่เป็น หนึ่งในลูกสาวของ หลิวเส้าฉี ประธานธิบดีประเทศจีนในขณะนั้น ทั้งๆที่พ่อของเธอคือ กลุ่มคนที่โดนประนามว่า เป็นพวกเอียงขวา

ขณะที่เปี้ยนจงหวนิ ใกล้เสียชีวิต เหล่านักเรียนเรดการ์ดกลับไม่มีใครยอมเอาตัวเธอส่งโรงพยาบาลที่อยู่ห่างออกไปเพียงถนนเดียว แถมวันถัดมา หัวหน้าเรดการ์ดของโรงเรียนยังประกาศกึกก้องว่า "ธรรมะย่อมชนะอธรรม เปี้ยนจงหวิน เธอสมควรตายแล้ว"

นี่คือเหยื่อรายแรกของการปฎิวัติวัฒนธรรม ที่กำลังจะมีอีกหลายหมื่นศพตามมา พร้อมกับความถูกต้องในการกระทืบและทำร้ายคนในที่สาธารณะ  เพราะ นี่คือทศวรรษแห่งความบ้าคลั่งของคนจีน ที่ไม่ต่างกับซอมบี้

หลังจากเหตุการณ์นี้ สามีของ เปี้ยนจงหวิน นำเงินไปซื้อกล้องถ่ายรูปที่ดีที่สุด เพื่อถ่ายรูปเป็นหลักฐานทุกอย่าง พร้อมกับเก็บเสื้อผ้า ปอยผม ทุกอย่างของเปี้ยนจงหวิน  เพื่อหวังว่า วันหนึ่ง ภรรยาของเธอจะได้รับความเป็นธรรม นอกจากนี้ ลูกสาวของเติ้งเสี่ยวผิง ที่เป็นหนึ่งในแก๊งเรดการ์ด คือ เติ้งหยง ยังเข้าไปข่มขู่สามีของเปี้ยนจงหวินว่า ให้อยู่ห่างๆ อีกด้วย

ผู้นำนักเรียนเรดการ์ด
ถึงตอนนี้คงอยากรู้แล้วว่า ใครคือผู้นำกลุ่ม เรดการ์ดในโรงเรียนแห่งนี้  นั่นคือ ซ่งปินปิน คือ เด็กสาวไว้ผมเปีย สวมแว่น ดูเป็นเด็กเรียนไร้เดียงสา  แต่ความจริงเธอคือ หัวหน้ากลุ่มเรดการ์ด ที่ทุบตี ทารุณกรรม เปี้ยนจงหวิน คุณครูของเธอเองจนเสียชีวิต

ซ่งปินปิน 宋彬彬 เธอ คือ ส่วนหนึ่งของการโฆษณาชวนเชื่อ ในยุคปฎิวัติวัฒนธรรมที่เหล่ากลุ่มเยาวชนเรดการ์ดต่างเอาเยี่ยงอย่าง ซ่งปินปิน เธอเป็นลูกสาวของ นายพลซ่งเหรินโฉง หนึ่งใน 8 ผู้อาวุโสของพรรคคอมมิวนิสต์ เธอจึงได้เป็นผู้นำกลุ่มเรดการ์ด

ในปี 2014 ซ่งปินปิน ในวัย 65 ปี เธอออกมาแถลงการณ์ ขอโทษกับพฤติกรรมของเธอและเพื่อนๆ แม้ว่า เธอจะออกมาขอขมาต่อพฤติกรรมของเธอ แต่ข่าวลือ คือ เธอเคยเอาน้ำร้อนลวกหญิงชราจนตาย  บีบบังคับให้ลูกต้องฆ่าพ่อ  และแข่งขันกันโบยตีคนที่ไม่นิยมเหมา อีกด้วย 

แต่เหตุการณ์ที่พีคที่สุดของ ซ่งปินปิน คือ วันที่ 5 สิงหาคม 1966 เธอเพิ่งจะฆ่าเปี้ยนจงหวินไปหมาด  แต่วันที่ 18 สิงหคม 1966 เพียง 13 วันหลังจากที่เธอสังหาร เปี้ยนจงหวิน เธอกลับได้พบกับประธานเหมาที่จตุรัสเทียนอันเหมิน  และยังสวมปลอกแขน ให้กับประธานเหมาเจ๋อตุง เสื้อของเธอเพิ่งเปื้อนเลือดของเปี้ยนจงหวิน  ที่สำคัญกว่านั้นคือ ประธานเหมา ยังออกใบอนุญาติให้ฆ่า "Licence to Kill" ให้กับ ซ่งปินปิน ด้วยการถามเธอว่า
เธอชื่ออะไร ชื่อ ปินปิน (อ่อนโยน) หรือ  ไม่ได้นะ เธอต้องชื่อ ซ่ง เหย่าอู๋ (ซ่ง ร่วมพลังสู้)  เพื่อเป็นใบประกาศิตว่า กระทืบคนเพื่อเหมา ไม่ผิดกฎหมาย

หลังจากวันที่ 18 สิงหาคม 1966 นี้เอง มีครูและผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษาโดนสังหารไป 1772 คน

แต่ 2 ปีถัดมา พ่อของเธอ คือ ซ่งเหรินโฉง กลับกลายเป็น ผู้ไม่รักเหมา ซะเอง และต้องการล้มเหมา แต่เขากลับถูกเรดการ์ดลากตัวมาทำร้าย และประจาน ครั้งนั้นเอง ซ่งปินปินนั้น ถูกส่งตัวไปชนบท แต่เธออาศัยเส้นสายกลับมาเรียนที่มหาวิทยาลัยปักกิ่งได้สำเร็จจนจบ และไปเรียนต่อที่ MIT ประเทศสหรัฐ แต่งงานอยู่ที่สหรัฐ ใช้ชีวิตที่นั่น จนกระทั่งปี 2003 เธอถึงได้กลับมาใช้ชีวิตในประเทศจีนอีกครั้ง  โดยอยู่แต่เพียงในแวดวงชนชั้นสูง

ย้อนกลับไปในยุคนั้นอีกครั้ง ถ้าพูดถึง เรื่องการโฆษณาชวนเชื่อ ในยุคนั้น ในมหาวิทยาลัยปักกิ่ง นั่นก็ตัวดีเลย โดยมีอาจารย์ชื่อ เนี่ยหยวนจื่อ คือ ผู้จุดประกายความคุ้มคลั่งแห่งยุคปฎิรูปวัฒนธรรม เธอเป็นแค่ อาจาย์สอนวิชาปรัชญาในมหาวิทยาลัยปักกิ่งเท่านั้น

วันที่ 5 สิงหาคม วันเดียวกับที่ เปี่ยนจงเหวิน เสียชีวิตนั้น ประธานเหมา เขียนหนังสือพิมพ์กำแพง ว่า ถล่มกองบัญชาการ  ที่พุ่งเป้าไปที่ หลิวเส้าฉี ประธานธิบอดีจีน ที่เป็นใหญ่รองจากเหมา

เนี่ยหยวนจื่อ เธอ คือ คนระดับปัญญาชน ผู้คลั่งเหมา เธอออกตามล่า คนไม่รักเหมาไปพร้อมๆ กับเหล่าเยาวชนเรดการ์ด เธออาศัยหนังสือพิมพ์กำแพง เขียนข้อความซ้ำแล้วซ้ำเล่า กล่าวหาคนนั้นคนนี้ว่า ไม่รักชาติ ชังชาติ ทรยศต่อชาติ ไม่จงรักภักดีประธานเหมา ต้องกวาดล้างให้สิ้นซาก

อีก 2 ปีถัดมา กระแสตีกลับ เธอกลับถูกสั่งจำคุก สิ้นอิสรภาพไป 18 ปี จนเธอต้องหนีไปอาศัยที่ฮ่องกง และเขียนหนังสือระบายความผิด และเชื่อว่า การพยายามบังคับให้คนอื่นคิดเหมือนตนนั้น โดยต้องรักในคนคนเดียวกันนั้น และเที่ยวไปชี้นิ้วด่าคนคิดต่างอย่างไร้เหตุผล ว่าชังชาติ ไม่ใช่คนที่สมควรมีชีวิตอยู่ สิ่งเหล่านี้ล้วนนำมาซึ่งหายนะต่อประเทศชาติต่างหาก

นอกจากเธอออกมาสารภาพผิดแล้ว เธอยังออกมาสนับสนุน ประชาธิปไตย เสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่เท่าเที่ยมกัน อีกด้วย

หลิว เส้า ฉี
ส่วนหลิว เส้า ฉี 刘少奇 ในตอนนั้น เขาถือว่ามีอำนาจเป็นรองเพียง ประธานเหมาเท่านั้น และเขายังเป็นคนฟื้นฟูเศรษฐกิจที่เพิ่งพังพินาศจาก นโยบายก้าวกระโดดคร้้งใหญ่ อีกด้วย แต่เขาพร้อมเพื่อนสหายคือ เติ้งเสี่ยวผิง และเฉินหยุน เลือกที่แก้ปัญหาเศรษฐกิจแบบทุนนิยม  เขาจึงถูกตราหน้าว่า เป็นผู้นำแห่งแนวทางทุนนิยม 

จุดนี้เอง ที่ประธานเหมา ต้องกำจัดเขา และทำให้เขาต้องพบจุดจบที่น่าเศร้า ทั้งเอน็จอนาถ บอบช้ำทั้งร่างกายและจิตใจ โดยเหมาอ้างว่า หลิวเส้าฉี คือ ผู้นำกระแสทุนนิยมมาสู่จีน และจะทำให้กระแสสังคมนิยมเหือดหายไป 

ในเดือนมิถุนายน 1966 ก็เริ่มมีขบวนการ ยามแดง หรือ Red Guards ออกมาก่อความวุ่นวาย หลิวเส้าฉี ส่งคณะปฎิบัติการ ลงพื้นที่เพื่อเข้าควบคุมสถานการณ์ สถาบันการศึกษาทั่วกรุงปักกิ่ง  โดยเฉพาะการออกคำสั่ง 8 ประการ เพื่อกำจัดขอบเขตการเคลื่อนไหวของกลุ่มนักศึกษา

แต่เหมาเจ๋อตุง เห็นว่า การต่อต้านการเคลื่อนไหวของมวลชนนั้น เป็นลักษณะสนับสนุนการแบ่งแยกชนชั้น ทำให้เหมาเจ๋อตุง เขียนหนังสือพิมพ์กำแพง ว่า  ถล่มกองบัญชการ นั่นถือเป็นการเปิดฉาก ต่อสู้กับหลิวเส้าฉี อย่างเป็นทางการ

วันที่ 12 สิงหาคม 1966 หลังจากที่ เปี้ยนจงหวิน เสียชีวิต 7 วัน ก็มีคำสั่งปลดหลิวออกจากตำแหน่งรองประธานพรรคคอมมิวนิสต์ โดยเหมาให้หลินเปียวเข้ามารับตำแหน่งแทน ขณะที่หลิวเส้าฉี ก็ยังคงเป็นประธานธิบดีอยู่เช่นเดิม ขณะที่วันที่ 17-19 สิงหาคม มีการประชุมกับโฑูตจากต่างชาติ หลิวเส้าฉีกลับไม่ปรากฎตัว

ขณะที่วันที่ 1 ตุลาคม 1966 เป็นวันชาติจีน หลิวเส้าฉี ก็ปรากฎตัวอีกครั้งบนประตูเทียนอันเหมิน ขณะที่หลิวได้เขียนบทความวิจารณ์ตนเอง ทำให้เหมาให้โอกาสเขาในการปรับปรุงตัว พร้อมประกาศว่า ไม่ควรประนามหลิวเส้าฉี บนหนังสือพิมพ์กำแพงอีกต่อไป

แต่แล้ววันที่ 6 มกราคม 1967 เรดการ์ด พยายามลวง หลิวเส้าฉี และภรรยาไปไต่สวนกลางสวนสาธารณะ แต่โชคดี โจวเอินไหล เข้ามาขัดขวางไว้ได้ทันทำให้ทั้งสองคนปลอดภัย คืนนั้น หลิวเส้าฉี เข้าพบ เหมาเจ๋อตุง พร้อมกับยื่นใบลาออกทุกตำแหน่ง และขอไปเป็นชาวนาในชนบทพร้อมภรรยา แต่เหมาไม่ยอมรับการลาออก พร้อมกับให้หลิวเส้าฉี ไปอ่านหนังสือและพักผ่อน

แต่ในเดือนกุมภาพันธ์ 1967 โจวเอินไหลพร้อมพรรคพวก วิจารณ์ นโยบายการปฎิวัติวัฒนธรรม ทำให้เหมาเจ่อตุงนั้นไม่พอใจอย่างมาก แต่เหตุการณ์นี้กลับส่งผลกระทบต่อ หลิวเส้าฉี แทน และทำให้เหมารับรู้ว่า มีคนสายทุนนิยมอยู่ในพรรคคอมมิวนิสต์ จริง และหัวหน้ากลุ่มสายทุนนิยมก็คือ หลิวเส้าฉี นั่นเอง

วันที่ 7 เมษายน 1967 เรดการ์ด ก็บุกที่พักของ หลิวเส้าฉี ที่จงหนานไห่(中南海) ที่เป็นเขตพำนักของผู้นำระดับสูงของพรรค แต่ครั้งนี้ โจวเอินไหลไม่ได้ห้ามปรามเหมือนครั้งก่อน  แถมยังปล่อยให้มีการบุกเข้าไปไต่สวน และทำร้ายร่างกายหลิวเส้าฉี ที่ขณะนั้นยังดำรงตำแหน่งประธานธิบดี  ก่อนที่จะโยนเข้าคุกขังเดี่ยวที่เรือนจำ กรุงปักกิ่ง ขณะที่ ลูกสองคนของเขา คือ หลิวหยุ่นเจิน (刘允真) และหลิวเทา (刘涛) บุตรชายและบุตรสาวที่เกิดจากภรรยาคนก่อน กลับไปเข้าร่วมเป็น เรดการ์ด และประกาศตัดความสัมพันธ์กับบิดา

ขณะที่เมียของ หลิวเส้าฉี คือ หวังกวงเหม่ย ก็ประสบชะตากรรมไม่แพ้กัน เธอถูกเรดการ์ดลากท่ามกลางฝูงชนที่บ้าคลั่ง ทุบตี ด่าทอ แถมถูกเอา สายห้อยคอที่ทำจากปิงปองมาล้อเลียนสร้อยไข่มุก และยังถูกจับใส่่เสื้อกี่เพ้าที่ยั่วยวน พร้อมกับกล่าวหาเธอว่า แต่งชุดเหมือนพวกบ้าทุนนิยม ก่อนจะโดนข้อหา เป็นสายลับให้สหรัฐอเมริกา โดนจับขังคุกเช่นเดียวกัน

โดยมีคำสั่งปลดเขาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดี ในเดือนตุลาคม ปี 1968 ตอนนั้นเขาเป็นโรคเบาหวานอยู่แล้ว เมื่อถูกทำร้ายร่างกายทำให้ร่างกายเขาอ่อนแอลงอย่างรวดเร็ว ต่อมาก็เป็นโรคปอดบวม

วันที่ 17 ตุลาคม 1969 ขณะนั้น หลิวเส้าฉี ลมหายใจเขาอ่อนระโทยมาก เนื่องจากโรคปอดบวม จนถูกย้ายไปที่คุกเมืองไคเฟิง และจบชีวิตในวันที่ 12 พฤศจิกายน 1969 ในวัย 71 ปี  อย่างไรก็ดี ในวันนั้นเองก็มีการเผาศพของเขาอย่างลับๆ ด้วยความเร่งด่วนและระบุสาเหตุการตาย ว่า เป็นโรคติดต่อร้ายแรง และไม่มีการลงข่าวแต่อย่างใด

เหตุการณ์มาแดงขึ้นในปี 1972 เนื่องจาก ลูกๆ ของหลิวเส้าฉี ต้องการเยี่ยมพ่อของเขาจึงเขียนจดหมายถึง เหมาเจ๋อตุง เหมาเจ๋อตุงจึงตอบกลับว่า พ่อของหนู เสียชีวิตไปตั้งแต่ปี 1969 แล้ว

ส่วนภรรยาของหลิวเส้าฉี ได้รับการปล่อยตัวในปี 1979 และทันได้อยู่ดู จุดจบของ เจียชิง และแก๊งออฟโฟร์ ที่เป็นมือไม้ของการปฎิวัติวัฒนธรรม

นี่ขนาดเป็นคนระดับประธานธิบดีของ ประเทศจีน ยังไม่เว้น หากคุณไม่นิยมเหมา และทุกวันนี้ ผู้นำรัฐบาลจีนหลายคนก็มาจากพกวเรดการ์ด เดิมทั้งนั้น พวกเขา พยายามทำให้การปฎิวัติวัฒนธรรมมันหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์พร้อมกับคำโฆษณาชวนเชื่อใหม่ๆ มาโดยตลอด

ครั้งในสายตาผมแล้ว เหมาเจ๋อตุงนั้น นอกจากจะล้มเหลว ด้านนโยบายก้าวกระโดดที่มีคนล้มตายจำนวนมาก ยังล้มเหลวกับ นโยบาย ปฎิวัติวัฒนธรรมอีก ทำให้ผู้คนล้มตายหลายล้านคนอีกครั้ง ผมมองว่า เหมาเจ๋อตุงนั้น โหดร้ายไม่ต่างกับสตาลินเลยทีเดียวครับ ใครคิดเห็นอย่างไรก็คอมเม้นท์ไว้ได้นะครับ

อย่างไรก็ดี ใครชอบคลิปนี้ก็อย่าลืมกดไลค์กดแชร์กดซับสไคท์ให้ด้วยนะครับ 

วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2563

!จีน(1878-1916) - เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ ภาคแยก - เฉินฉีเหม่ย หัวหน้าทีมสังหารของก๊กมินตั๋ง

เฉินฉีเหม่ย 陈其美 หัวหน้าทีมล่าสังหารของก๊กมินตั๋ง หรือ ราชาแห่งการลอบสังหาร

วันนี้ขอเล่าเรื่อง เฉินฉีเหม่ย แต่จะขอเฉลย เรื่องตัวจริง เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ ก่อนครับ คราวก่อนเหมือนลืมเล่าหลายอย่างครับ

หนัง เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้  น้้น ผสมผสานบุคลิกของตัวจริงในประวัติศาสตร์ ให้เข้ากับบุคลิกในนิยายมากกว่า  ที่จะเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์แบบแท้ๆ 

ตัวเอกของเรื่องนี้ คือ สวีเหวินเฉียง เป็นนักเรียนมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ที่เข้าร่วมการประท้วง ในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ต่อมาถูกจำคุก 3 ปี ทำให้ความรู้สึกเขาคือ การประท้วงที่ผ่านมามันเป็นเรื่องไร้สาระ หลังออกจากคุก เขามุ่งหน้าไปที่ เซี่ยงไฮ้ นครแห่งโอกาสในยุคนั้น ที่นั่นเองเขาได้พบกับติงลี่ คนขายสาลี่ในสลัม เหมือนกับชีวิตจริงของตู้เย่วชิง หนึ่งในเจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ ที่ได้ฉายาตอนต้นว่า ลูกแพรเย่ว์ชิง ก่อนที่จะเป็น ตู้หูใหญ่  โดยเขามีพี่น้อง ที่สนิทกันมากคือ สวีเปาชู (xu baushu) หรือฉายา มิสเตอร์ สวี่ 

ติงลี่นั้นฝันอยากเป็นเหมือนฝงจิ้งเหยา เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ในยุคนั้น ซึ่งฝงจิ้งเหยา  นั้นคือ ผู้ทรงอิทธิพลในเซี่ยงไฮ้ ที่คบค้าสมาคมกับ คุณนายทากามาดะ ทีเ่ป็นสายลับญี่ปุ่น โดยเป็นคนจีนที่ไปเติบโตที่ญี่ปุ่น นั่นคื อ โดยคาดว่า ฝงจิ้งเหยา นั้น เหมือกัน จางเสี่ยวหลิน ที่เป็นเจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ ที่ไปคบค้าสมาคมกับญี่ปุ่น 

ขณะที่องค์หญิงตงเจิน ที่เคยทำคลิปนั้นก็ไปคล้ายกับ คุณนายทากามาดะ

แต่ที่จบไม่เหมือนกันคือ เขาแค่เคยวางแผนลอบสังหาร จางเสียวหลิน เท่านั้น ขณะที่เขาเสียชีวิตจากการที่โดนสายลับญ๊่ปุ่นสังหาร


บ่ายวันที่ 18 พฤษภาคม 1916 เสียงปืนดังหลายนัดในบ้านเลขที่ 14  ถนนตั้นสุ่ยลู่ 淡水路  แต่ในสมัยนั้น ถนนสายนี้ยังใช้ชื่อเดิมว่า ถนนซาพอไซ่ 萨坡赛 อยู่ในเขตเช่าฝรั่งเศส   เสียงปืนเหล่านี้เป็นการลอบสังหาร ผู้ที่ได้ฉายาว่า  ”ราชาแห่งการลอบสังหาร” เฉินฉีเหม่ย  暗杀之王 陈其美

เจ้าหน้าที่ตำรวจแห่งเขตเช่าฝรั่งเศสเร่งมาถึงที่เกิดเหตุ เจ้าของคดีเป็น นายตำรวจชื่อ  หวงจินหรง 黄金荣 หรือ”หวงหน้าปรุ” ที่ในเวลาต่อมา เขากลายเป็น 1 ใน 3 เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้แห่งแก๊งชิงปัง (อีกสองคนคือ ตู้เยว่เซิง 杜月笙 และ จางเซียวหลิน张啸林)

เฉินฉีเหม่ย ไม่ใช่คนธรรมดา เขาเป็นถึงสมาชิกระดับสูงของกลุ่มปฎิวัติ ถงเหมิงฮุ่ย 同盟会 เขาถือเป็นระดับแขนขาของ ดร. ซุนยัดเซ็น  นอกจากนี้เขายังมีความสัมพันธ์อันดีกับ แก๊งชิงปัง แก๊งใต้ดินที่มีอิทธิพลในเซี่ยงไฮ้อีกด้วย ดังนั้น การตายของเขาย่อมไม่ธรรมดา  แล้วใครหน้าไหนถึงกล้าปลิดชีพบุคคลระดับนี้?

ประวัติ 
เฉินฉีเหม่ย พื้นฐานเป็นคนเจ้อเจียง เขาเกิดในตระกูลพ่อค้าที่ไม่ได้มีฐานะร่ำรวยอะไรมาก เกิดเมื่อ มกราคม ค.ศ. 1878 สมัยเด็กเป็นเด็กเป็นเด็กเกเร ตอนอายุ 15 เมื่อพ่อเสียชีวิตลง เฉินก็ออกมาโลดแล่น

ในปี 1901 หลังจากที่ ราชวงศ์ชิง ลงนามสงบศึกกับต่างชาติในกรณีกบฎอี้เหอถวน ทำให้ประชาชนยากจนลงอีก ปี 1902 ประชาชนจีนก็ไม่ทนต่อราชวงศ์ชิง โดยเริ่มต้นก่อกบฎไปทั่วประเทศ โดยเริ่มต้นจากที่ หู่เป่ย์ ไป เหอเป่ย์  ถัดมา 2 ปี  เซี่ยถิงอี้ นำกำลังชาวนาบุกยึด ทำลายที่ทำการอำเภอ สำนักงานเก็บภาษี และโบสถ์ฝรั่งหลายแห่ง

ปีนั้นเอง พี่ชายของ เฉินฉีเหม่ย เพิ่งเดินทางกลับจากญี่ปุ่น พี่ชายของเขาได้ไปพบความเจริญที่ญี่ปุ่น จึงเล่าเรื่องที่ญี่ปุ่นให้กับ เฉินฉีเม่ย ฟัง นี่เองเป็นจุดเริ่มต้นของ "ราชาแห่งการลอบสังหาร"

ปีถัดมาคือ ปี 1903 เฉินเดินทางไปเริ่มต้นชีวิตที่เซี่ยงไฮ้ มหานครแห่งโอกาส โดยเริ่มต้น อาชีพด้วยการเป็นเสมียนในร้านค้าแห่งหนึ่ง ระหว่างนั้น เฉินฉีเม่ย ก็ได้เข้าเป็นสมาชิก ของ ชิงปังอีกด้วย 

วันที่ 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1904  ซุนยัดเซ็น ก็ก่อตั้ง กลุ่มพันธมิตรจีน ชื่อ จงกว๋อ ถงเหมิงฮุ่ย  โดยดร.ซุนยัดเซ็น เดินทางไปขอร้องเพื่อ รวม สมาคม ซิงจงฮุ่ย สมาคม หวาซิงฮุ่ย สมาคม กวงฝูฮุ่ย เข้าด้วยกัน โดย เหล่าพันธมิตร ถงเหมิงฮุ่ย ได้กำหนดให้ใช้ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่นเป็นที่ตั้งของ กองบัญชาการกลาง

แต่แล้วในปี 1906 ด้วยการช่วยเหลือของพี่ชาย เฉินฉีเหม่ย ในวัย 28 ปี ก็ได้รับโอกาสไปเรียนต่อที่ญี่ปุ่น เขาเลือกเรียน โรงเรียนนักเรียนตำรวจ ที่กรุงโตเกียว แต่ก็ไม่ได้เอาจริงเอาจังอะไร เพราะสิ่งที่ดึงดูดความสนใจของเขาตอนนั้น คือ เหล่ามิตรสหายนักเรียนชาวจีนในญี่ปุ่น กำลังมุ่งมั่นวางแผนเพื่อ “ล้มเจ้า”

ที่โตเกียวนี่เองเขาได้พบกับ เจียงไคเช็ก ขณะนั้น เฉินอายุ 30 ปี แต่เจียงอายุเพียง 19 ปีที่มาเรียนวิชาทหารที่ญี่ป่น ทั้งคู่ได้สาบานเป็นพี่น้องร่วมสาบานกัน เนื่องจากทั้งคู่มาจากเจ้อเจียง เช่นกัน เจียงไคเช็กตอนนั้นนับถือ เฉินฉีเม่ยอย่างมาก   นอกจากนี้ เขายังได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกพันธมิตร “ถงเหมิงฮุ่ย” ทั้งคู่อีกด้วย

ปี 1906 เจียงไคเช็กกลับมาเยี่ยมบ้านเกิด แต่เขารับงานจากแก๊งชิงปัง โดยบุกไปในคุก เพื่อชิงตัว นักโทษของแก๊งชิงปัง และนักโทษการเมือง โดยมีข่าวลือว่า เฉินฉีเม่ยนี่เองเป็นคนพาเจียงไคเช็กไปรับงานกับแก๊งชิงปัง ต่อมาเจียงก็รับงานฆาตกรรม รีดทรัพย์และปล้นสดมถ์ โดยมีหลักฐานของตำรวจอยางเป็นทางการ

ปี 1908 ซุนยัดเซ็น สั่งให้ เฉินฉีเหม่ย กลับมาที่จีน เพื่อวางเครือข่ายคณะปฎิวัติใน ลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง อันประกอบไปด้วย  เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และปักกิ่ง โดยให้เขาประสานงานกับ  ซ่งเจี่ยหรง และ ถานเหริ่นเฟิง เพื่อก่อตั้งกองกำลังติดอาวุธ  แต่การปฎิวัติในครั้งแรกนั้นล้มเหลว กลุ่มพันธมิตรส่วนใหญ่ต้องหนีเข้าไปในเวียดนาม

ปฎิวัติซินไฮ่
เมื่อเกิดการปฏิวัติอู่ชาง 1911  (武昌起义) หรือเรียกกันง่ายๆ ว่า สองสิบ (双十) เนื่องจากเกิดขึ้นในวันที่ 10 เดือน 10 ขณะที่ชื่ออย่างเป็นทางการ คือ การปฏิวัติซินไฮ่ (辛亥革命) เนื่องจากตามปฏิทินจันทรคตินั้นเป็น ปี ค.ศ. 1911 ซึ่งชาวจีนเรียกว่า ปีซินไฮ่

เช้าวันที่ 3 พฤศจิกายน ทั้งเมืองเซี่ยงไฮ้เงียบสงัด ร้านรวงปิดเงียบ  เฉินฉีเหม่ยเป็นหัวหอกต่อต้านแมนจู ได้รวบรวมผู้คน 3000 คนจากแก๊งชิงปัง จนขุนนางราชสำนักที่คุมกองกำลังต่างต้องหนีเอาตัวรอด รวมถึงหลานชายของ หลี่ หงจาง ที่คุมกองกำลังอยู่ที่ เจียงหนานในเวลานั้น พร้อมประกาศว่า เซี่ยงไฮ้ เริ่มต้นการปฏิวัติแล้ว เฉินฉีเหม่ยได้รับการแต่งตั้งเป็น แม่ทัพว่าการแห่งเมืองเซี่ยงไฮ้

วันที่ 29 ธันวาคม ค.ศ.1911 ดร.ซุนเดินทางกลับมาที่จีน นำผู้แทนจาก 17 มณฑล ที่ประกาศแยกตัวเป็นอิสระมารวมตัวกันที่ นานจิง เตรียมการจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราว โดยเลือกดร.ซุนยัดเซ็น เป็นประธานาธิบดีเฉพาะกาล

สังหารพันธมิตร
ก่อนการเจรจาระหว่างพันธมิตร ถงเหมินฮุ่ย กับ ราชวงศ์ชิง  วันที่ 14 มกราคม 1912  เกิดการแตกแยกกันภายในพันธมิตรปฎิวัติ คือระหว่างง ถงเหมินฮุ่ย  กลุ่มของ เฉินฉีเหม่ย  กับกลุ่ม เถาเฉิงจัง 陶成章 ของสมาคม กวงฟู่ฮุ่ย ที่มารวมกลุ่มกัน เพื่อล้มราชวงศ์ชิง  แต่เกิดขัดคอกันเอง เพราะ เถาเฉิงจัง นั้นต้องการสนับสนุน หยวนซื่อไข่ มากกว่า ดร.ซุนยัดเซ็น 

เถาเฉิงจัง นั้น เขาเป็นคนที่จริงจังในเรื่องปฎิวัติอย่างมาก และมีมุมมองที่ต่างจากเฉินฉีเม่ย โดยเฉพาะการที่เฉินฉีเม่ย สนิทสนมกับพวกองค์กรใต้ดิน อย่างชิงปัง  และมีพฤติกรรมเที่ยวบ่อน และซ่อง เป็นประจำ โดยความจริงทั้งคู่ไม่ถูกกันตั้งแต่เป็นนักเรียนที่ญี่ปุ่นแล้วด้วย โดยครั้งนั้น มีอีกแนวคิดคือ เฉินฉีเม่ยน้นกำลังได้ขึ้นเป็นผู้ว่าเจ้อเจียง แต่เหล่าพันธมิตร และเถาเฉิงจัง นั้นไม่เห็นด้วยที่จะยกตำแหน่งสำคัญให้เฉินฉีเม่ย

ดังนั้น เฉินฉีเหม่ยจึงเลือกที่จะกำจัดเขา แต่คนที่ลงมือฆ่าเถาเฉิงจัง กลับไม่ใช่ เฉินฉีเหม่ย แต่กลับกลายเป็นน้องชายร่วมสาบานของเขา คือ "เจียงไคเช็ค"

เหตุการณ์ เริ่มในเวลาประมาณ ตีสอง ของวันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 1912 เจียงไคเช็คพร้อม หวังจู่ชิง 王竹卿  ฝ่าความมืดมุ่งตรงไปที่โรงพยาบาลในเขตเช่าฝรั่งเศส เมืองเซี่ยงไฮ้ ทั้งสองเดินเข้าไปในห้องคนไข้ที่มี เถาเฉิงจัง นอนครึ่งหลับครึ่งตื่น อยู่  และเป็น หวังจู่ชิง ที่ลั่นไกยิงที่หน้าอกของ เถาเฉิงจัง แล้วเจียงไคเช็ก คอยซ้ำ เถาเฉิงจัง ตายคาที่ด้วยวัยเพียง 34 ปี

ไม่กี่วันต่อมา หวังจู่ชิง ที่ถูกพบกลายเป็นศพ ก็เกิดข่าวลือไปทั่วว่า เป็นการฆ่าล้างแค้น แต่ข่าวบางกระแส เชื่อว่า น่าจะเป็นการฆ่าปิดปากโดย เฉินฉีเหม่ยและเจียงไคเช็ค มากกว่า

วันที 28 มกราคม 1912 มีจดหมายเปิดผนึกถึง ดร.ซุนยัตเซ็น ประณามการแตกหักระหว่างพันธมิตรในถงเหมินฮุ่ย ดร.ซุนยัตเซ็น ขณะนั้นอยู่ที่ นานจิง ออกหนังสือชี้แจง ยกย่อง เถาเฉิงจัง ว่า เป็นระยะเวลายาวนานที่เขาคอยวิ่งเต้นช่วยเหลือกันและกันเสมอมา และขอให้เจ้าหน้าที่หาตัวคนร้ายมาเพื่อปลอบโยนจิตใจเหล่าวิญญูชนให้ได้ สิ่งที่หลายคนสงสัยคือ  ลุกน้องของเขาเองนั่นแหละ คือ คนร้ายเองรึเปล่า

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 1912 เจียงไคเช็คถูกสั่งให้นั่งเรือจากเซี่ยงไฮ้ไปเก็บตัวที่ญี่ปุ่น ในบันทึกส่วนตัวของเจียงไคเช็ก ระบุว่า การสังหาร เถาเฉิงจัง คือ จุดเริ่มต้นแห่งการไว้วางใจ

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1912 หยงลู่ไทเฮา พระมารดาของปูยี ประกาศสละราชบังลังก์

วันที่ 1 เมษายน ค.ศ.1912 ดร.ซุนยัดเซ็น ยอมลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดี เพื่อเปิดทางให้มีการเจรจาสันติภาพกับหยวนซื่อข่าย แต่เมื่อหยวนสื่อข่ายได้กุมอำนาจบริหารประเทศไว้ในมือ ได้แล้ว เขาสั่งย้ายทำเนียบรัฐบาลจาก นานจิงไปอยู่ เป่ยจิง และ ขึ้นเป็นประธานธิบดีเฉพาะกาลแทน ดร.ซุนยัดเซ็น

ไล่ล่าก๊กมินตั๋ง 
มีนาคม ค.ศ.1913 ประธานาธิบดีหยวนสื่อไข่ เริ่มลงมือกำจัดศัตรูทางการเมือง โดยเฉพาะพรรคก๊กมินตั๋ง วันที่ 20 มีนาคม 1913 ซ่งเจียเหริ่น ถูกยิงเสียชีวิตที่สถานีรถไฟเซี่ยงไฮ้  เป็นเหยื่อรายแรกที่เป็นสมาชิกของ ถงเหมินฮุย ที่ถูกลอบสังหาร เมื่อดร.ซุนยัดเซ็น รู้ข่าว ก็รีบเดินทางกลับจากญี่ปุ่นทันที และประกาศกร้าวว่า เขาต้องกำจัด หยวนซื่อไข่ ให้ได้ แต่ตอนนั้น หยวนสื่อไข่ กำลังวางแผนถอนรากถอนโคนพรรคก๊กมินตั่งให้สิ้นซาก

วันที่ 23 กรกฎาคม 1913  เฉินฉีเหม่ย ประกาศให้เซี่ยงไฮ้เป็นรัฐอิสระ แต่กองทัพจากปักกิ่ง ก็บดขยี้กองปฎิวัติที่เซี่ยงไฮจนพ่ายแพ้อย่างรวดเร็ว   เฉินฉีเหม่ยต้องหนีตายกลับไปญี่ปุ่น ก่อนที่จะลอบกลับเข้ามาที่เซี่ยงไฮ้ เพื่อก่อตั้งกองกำลังอย่างลับๆ ที่เซี่ยงไฮ้อีกครั้ง

ราชาแห่งการลอบสังหาร
หลังจากเขาหลบหนีกลับจากญี่ปุ่นเข้าจีน  ในปี 1913 ตอนนี้ในเมืองเซี่ยงไฮ้ มีเครือข่ายลับ ของหยวนซือไข่ไปทั่ว

เฉินฉีเหม่ย เริ่มต้นภารกิจลับ ด้วยการไปลอบสังหารคนของหยวนซื่อไข่ โดยเริ่มต้นสังหาร ผู้ว่าราชการจังหวัด ต่อมาก็ส่งแจกันระเบิดไปให้ที่บ้าน เหล่าคนที่สนับสนุนหยวนซื่อไข่ รวมถึงไปลอบฆ่า เซี่ยรุ่ยฟาง ผู้จัดการหนังสือพิมพ์เซี่ยงไฮ้ ที่เป็นกระบอกเสียงให้ หยวนซื่อไข่

25 ตุลาคม ค.ศ.1915 ดร.ซุนแต่งงานกับซ่งชิ่งหลิงที่โตเกียว สหายร่วมรบผู้ภักดี

ปีนั้น หยาวนซื่อไข่ วางแผนให้ตัวเองขึ้นเป็นฮ่องเต้ แต่แล้ว วันที่ 10 พฤศจิกายน 1915  มือขวาที่หยวนสื่อไข่ ถูกส่งมาปกครองเซี่ยงไฮ้ คือ เจิ้งเหว่ยเฉิง  แต่กลับถูกลอบวางระเบิด โดยลูกน้องของ เฉินฉีเหม่ย ที่สะพาน ไป่ตู่ ในเซี่ยงไฮ้

ตอนนี้ เฉินฉีเหม่ย ใช้วิธีการลอบสังหารเพื่อสังหารบุคคลสำคัญจำนวนมาก ไม่ว่าจะ อดีตเพื่อนร่วมคณะปฎิวัติ นักเลง หรือ ศัตรูทางการเมืองที่สนับสนุนหยวนซื่อไข่

แต่การที่ เฉินฉีเหม่ย ลอบสังหารคนของหยวนซื่อไข่ นั้น ก็ทำให้ หยวนซื่อไข่ นั้นตัดสินใจตามล่า เขาเช่นกัน  โดยสั่งให้ จางซงฉาง ผู้ว่าราชการกองทัพเซี่ยงไฮ้ ไล่ล่า เฉินฉีเหม่ย

โดนลอบสังหาร
เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 1916 เฉินฉีเหม่ย ตอนนั้น พักอยู่ที่บ้านพักของชาวญี่ปุ่น ยามาดะ จูนซาบุโร่ บ้านเลขที่ 14 ถนน Saposai (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นถนน Yingshi เปลี่ยนจากถนน Tamsui ในปี 1950)

เฉินฉีเม่ย นั้นถูกวางแผนซ้อนแผน โดยอ้างว่า มีชาวญี่ปุ่นจะให้ความช่วยเหลือด้านการเงินกับพรรคก๊กมินตั๋ง ซึ่งชาวญี่ปุ่นมักให้ความช่วยเหลือ ดร.ซุนยัดเซ็นอย่างสม่ำเสมออยู่แล้ว ทำให้เฉินฉีเม่ยนั้นยอมเผยตัว  แต่กลับถูกฆ่าโดยนักฆ่าโดยลูกน้องของ หยวนซื่อไข่ ที่ส่งไปล่าสังหาร

มีการจัดพิธีศพของ เฉินฉีเหม่ย ที่ เซี่ยงไฮ้ ซึ่งมีผู้คนนับหมื่นไปร่วมงาน โดยมีคนเห็น ซุนยัตเซ็นเดินทางมาเคารพศพ ด้วย  วันต่อมาศพก็ถูกฝังที่ เมืองหูโจว มณฑลเจ้อเจียง ผู้พลีชีพแก่คณะปฎิวัติ

ในที่สุด ราชามือสังหาร ก็ถูก ลอบสังหาร เสียเอง

อย่างไรก็ดี ด้วยคำสาบานกับเจียงไคเช็ก ก็ทำให้เจียงนั้นรับเอาหลานของเฉินฉีเม่ย มาเลี้ยงดู  คือ เฉิน ลีฟู่ กับเฉินกัวฟู ต่อมาก็กลายเป็นหัวหน้าหน่วย เสื้อเชิ๊ตน้ำเงิน หรือ สายลับนั่นเอง โดยทั้งคู่ก็ได้เป็นบุคคลสำคัญของพรรคก๊กมินตั๋งต่อมาด้วย

วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

จีน(1928) ซุนเตี๋ยนอิง ตัวจริง ราชันย์แห่งโจรปล้นสุสาน กับ ตำนาน มุกเรืองแสง

วันที่ 15 พฤศจิกายน ปี ค.ศ. 1908 :ซูสีไทเฮา ได้สิ้นประชนม์ในวัย 74 ปี หลังการสวรรคตของฮ่องเต้        กวงซวี่เพียง 1 วัน

พระศพของพระนางถุกบรรจุไวในสุสานตะวันออกของราชวงศ์ชิง ชิงตงหลิง มณฑลเหอเป่ย ห่างจากราชวังต้องห้ามไปประมาณ  120 กิโลเมตร สุสานแห่งนี้ยังฝังศพของเหล่าฮ่องเต้ในราชงศ์ชิง อย่าง  ซุ่นจื่อ คังซี เฉียนหลง เสียนเฟิง ถงจื้อ อีกด้วย

ในสุสานของพระนางูสีไทเฮา นั้นเต็มไปด้วยทรัพย์สินมากมาย ทั้งทองคำและหยก เพชรพลอย อัญมณ๊ ที่นางโปรดปราน ถูกเก็บไว้อย่างสงบ  จนกระทั่ง ประเทศจีนเข้าสู่ยุคขุนศึก ในอีก 20 ปีถัดมา

ซุนเตี๋ยนอิง
ซุนเตี๋ยนอิง (孙殿英) 1889-1947 อดีตนักเลง แต่ตอนนั้นเป็นถึง นายพลแห่งกองพลที่ 12 ของก๊กมินตั๋ง  แม้ว่าตำแหน่งเขาจะเป็นเพียงขุนศึกระดับรอง แต่ในประวัติศาสตร์จีน เขาคือโจรปล้นสุสานที่มีชื่อเสียที่สุด  เพราะสุสานที่เขาปล้นคือ สุสานของซูสีไทเฮา และสุสานของเฉียนหลงฮ่องเต้


วันที่ 8 กรกฎาคม 1928 ซุนเตี๋ยนอิง ได้นำกองกำลังปิดล้อมสุสาน ชิงตงหลิง เพื่อไม่ให้มีผู้ใดสามารถเข้า ออกได้ โดยอ้างว่า กองกำลังทหารของเขาต้องคุ้มครองสุสานกษตริย์  เขาเริ่มต้นด้วยการวางระเบิดประตูสุสานแล้วเข้าชิงทรัพย์สมบัติ

บันทึกของหลี่เหลี่ยนอิง ขันทีคนสนิทของพระนางซูสีไทเฮา บันทึกไว้ว่า สุสานของซูสีไทเฮามีทรัพย์สมบัติมหาศาล เฉพาะในหีบศพ ก็บรรจุ พระพุทธรูปหยก และทองคำ 108 องค์ ม้าหยก 8ตัว เจดีย์หยก และหยกขาว 203 ชิ้น หยกแสงจันทร์ 85 ชิ้น ไข่มุก 24704 ลูก ที่สำคัญคือ ในปากของซูสีไทเฮานั้น ไข่มุกเรืองแสง ขนาดเท่าไข่นกพิราบ ที่เชือ่ว่า าสามารถรักษาศพไม่ให้เน่าเปื่อยได้

เหล่าโจรเข้าปล้นอย่างหยาบคาย หีบศพถูกเปิด พระศพของซูสีไเทเฮา ถูกลากออกมาทิ้งไว้กับพื้น  เพชร พลอยถูกขโมยออกไป ไม้เว้นแม้แต่ ไข่มุกที่อยู่ในปากก็ถูกง้างงัดเอาออกมา จนไม่เหลืออะไรเลย เหลือเพียงผ้าคลุมพระศพ

แต่หารู้ไม่ผ้าคลุมพระศพนั้นมีค่ามาก แม้จะเป็นเพียงผ้าขนาดแค่ 3 ตารางเมตร แต่มันมีมูลค่าสูงมาก เพราะด้ายนั้นปั่นทอจากทองคำแท้ๆ ปักเป็นพระสูตรในศาสนาพุทธเต็มทั้งผืน

เมื่อมีการออกข่าวออกไป ประชาชนจำนวนมาก ไม่พอใจการกระทำอันหยาบช้าเช่นนี้  เช่นเดียวกับ ปูยี อดีตฮ่องเต้ไร้บังลังก์ และมีการเรียกร้องให้สอบสวนเรื่องดังกล่าว แต่ซุนเตี๋ยนอิง กลับติดสินบนผู้รับผิดชอบ โดยเฉพาะข่าวลือ เรื่องที่ ซุนเตี๋ยนอิง นำมุกประดับของพระนางซูสีไทเฮาไปมอบให้เจียงไคเช็ก
แล้วเจียงไคเช็กนำไปมอบให้แก่ ซ่งเหม่ยหลิง ภรรยา เพื่อเอาไปประดับที่ข้อเท้า ทำให้ผู๋อี้นั้นตัดขาดคามสัมพันธ์กับคนจีนเลยทีเดีย และหันไปคบญี่ปุ่นแทน

สตรีผู้ยิ่งใหญ่ คับแผ่นดิน แม้แต่ฮ่องเต้ยังต้องยอมสยบ แต่เมื่อตายไป ศพกลับโดนทิ้งไว้บนพื้น

ประวัติของซุนเตี๋ยนอิง 
สมัยเด็ก ซุนเตี๋ยนอิง  ได้เรียนโรงเรียนเอกชน แต่เกเร เผาโรงเรียนทำให้โดนไล่ออกจากโรงเรียน ต่อมาวัยรุ่น กลายเป็นสิงห์นักพนัน และ ติดฝิ่นอย่างหนัก แต่เขาก็อาศัยอยู่ในวงการมืด และเป็นหัวหน้ากลุ่ม ในปี 1922 เขานำกองทัพใต้ดินของเขาผสมกับทหารจริง เข้าสู่กองทัพเหอหนาน  เขาได้เลื่อนตำแหน่งอย่างรวดเร็ว แต่หลังกองทัพแพ้ เขากลับกลายเป็นเพียงกลุ่มโจร เล็กๆก่อนที่จะกลับเข้าสู่กองทัพอีกครั้ง

แต่ในที่สุด กองทัพของซุนเตี๋ยนอิง ก็พ่ายแพ้แก่กองทัพของพรรคคอมมิวนิสต์ในวันที่ 2 พฤษภาคม 1947 พอปลายปี ซุนเตี๋ยนอิง ก็เสียชีวิตในค่ายกักกันนั่นเอง โดยสาเหตุจาก อาการขาดฝิ่นรุนแรง ในวัย 58 ปี

ชะตาชีวิตของ หลี่เหลี่ยนอิง ขันทีคู่ใจซุสีไทเฮา
กลับมาเรื่องหลี่เหลี่ยนอิง ขันทีคู่ใจซูสีไทเฮา หลังจาก ซูสีไทเฮาสิ้นพระชนม์ หลี่เหลี่ยนอิง ก็ไว้ทุกข์ให้ 100 วัน หลังจากนั้น ก็ชิงลาออกจากวังต้องห้าม ไปใช้ชีวิตเยี่ยงสามัญชน เพียง 3 ปีหลังจากนั้น  4 มีนาคม 1911 มีคนพบศีรษะของเขาที่ทะเลศสาบ โฮ่วไห่ ปักกิ่ง มีการสันนิษฐานว่า มาจากหลายสาเหตุ หนึ่งคือ ถูกหยวนซ์ื่อไข่ฆ่าปิดปาก หรือ อาจถูกขันทีคู๋แข่งอย่างเสียวต๋อจางล้างแค้น

ตำนานไข่มุกเรืองแสง
ตำนาน มุกเรืองแสง ความจริง มีการใช้มุกเรืองแสงตั้งแต่ยุคจิ๋นซีฮ่องเต้มาก่อนแล้ว แต่ด้วยการที่ชื่อ มุก คนเลยนึกว่าเป็นไข่มุก แต่ความจริง มันคือ แร่หินชนิดหนึ่ง ที่มีทั้งสีเขียวและสีแดง โดยมีพวกสารฟูลออร์สปาร์ ทำให้เรืองแสงได้ในที่มืด โดยมักจะเจียระไนให้เหมือนมีทรงกลมเหมือนไข่มุก โดยเดิมมันอยู่บน มงกุฎของพระนางซุสีไทเฮาถึง 9 เม็ด แต่ครั้นกบฎอี้เหอถวน  ซูสีไทเฮาได้สั่งให้นางสนมหวังแกะออกมา 4 เม็ด เพื่อให้สนมหวังไปมอบกำนัลแด่ หลี่หงจาง เพื่อเป็นกำลังใจในการเจรจากับพันธมิตรต่างชาติ แต่นางสนมหวังเก็บไว้กับตัว ขณะที่เมื่อซูสีไทเฮา เสียชีวิต ได้สั่งให้ หลี่เหลียนอิง ขันทีคู่ใจแกะเอาเม็ดที่ใหญ่ที่สุดใส่ปากพระนางซูสีไทเฮาเพื่อป้องกันศพเน่าเปื่อย

นั่นคือ ตอนนี้ มี  4 เม็ดอยู่ที่ นางกำนัลหวัง 4 เม็ดอยู่กับมงกุฎ และอีกเม็ดอยู่ในปาก ซูสีไทเฮา แต่เมื่อมีการปล้นสุสาน ทั้งมงกุฎและเม็ดในปาก จึงไปอยู่กับ ซุนเตี้ยนอิง แต่เหตุการณ์นั้น ประชาชนต่อต้านรุนแรงมาก ทำให้ ซุนเตี้ยนอิง ต้องนำมาคืน 

อย่างไรก็ดี มุก 5 เม้ดนั้น ถูกแยกกันเพื่อขายในตลาดมืดเสียแล้ว  ขณะที่เม็ดใหญ่สุดนั้น ตกอยู่ในมือของ ซ่งเหม่ยหลิง โดยถูกนำเอาไปที่ไต้หวันด้วย และได้ขายมันให้แก่ ร๊อกกี้เฟลเลอร์ มหาเศรษฐีในยุคนั้น  ส่วนที่อยู่กับ นางกำนัลหวังนั้น นางได้มอบให้กับสามีภรรยาที่ดูแลเธอยามแก่ ซึ่งต่อมาได้คืนให้กับประเทศจีนเรียบร้อยแล้ว

ชาวแมนจุนั้นเกลียดคนมณฑลเหอหนาน 2 คน คนหนึ่งคือ ซุนเตี๋ยนอิง จอมโจรปล้นสุสานราชวงศ์ชิง อีกคนคือ หยวนซื่อไข่ โจรขโมยประเทศจากชาวแมนจู

วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

จีน(1360) - ตัวจริง ดาบมังกรหยก พรรคเม้งก่า

ในเรื่อง “ดาบมังกรหยก” หรือ “มังกรหยก ภาค 3” กิมย้ง ได้แต่งให้ เตียบ้อกี๋ ตัวเอก เป็นหัวหน้าลัทธิเม้งก้า 明教 (แต้จิ๋ว) หรือ หมิงเจี๊ย (จีนกลาง)  หนึ่งในกลุ่มขบวนการที่ร่วมขับไล่มองโกลซึ่งปกครองจีนในยุคสมัยราชงศ์หยวนนั้น โดยลัทธิเม้งก้าที่กิมย้งอ้างถึงนั้นเป็นกลุ่มความเชื่อที่มีอยู่จริง และเคยแพร่หลายอยู่ในประเทศจีนมานานหลายร้อยปี

พรรคเม้งก่า หรือพรรคจรัสแสง
คำว่า เม้ง แปลว่า  แสงสว่าง หรือ ดวงอาทิตย์  (日) กับ พระจันทร์  (月) ผสมกันเป็นเม้ง (明) ลัทธินี้จึงมีพิธีไหว้ ทั้ง พระอาทิตย์ และดวงจันทร์

 โดยเดิมลัทธิแม้งก่า เป็น การนำคำสอนของศาสนาแมนนี เป็นฐากฐานสำคัญ ลัทธินี้ในจีนนั้น มักจะยกย่อง เตียวก๊ก หัวหน้าโจรโพกผ้าเหลือง ในยุคสามก๊ก เป็นศาสดา และบูชา เทพ แมนนี เป็นเทพสูงสุดประจำลัทธิ

เนื่องจากลัทธินี้มักจะอยู่เบื้องหลังพวก กบฎต่อต้านรัฐบาล จึงถูกมองว่า เป็นพรรคมาร ราชสำนักจึงไม่ชอบลัทธินี้  นอกจากนี้ ลัทธิเดิม คือ แมนนี่ เสียงคล้ายกับคำว่า มาร ในภาษาสันสฤต ที่หากออกเสียงโดยคนจีนจะยิ่งมีเสียงคล้ายกันมาก จึงเป็นที่มาของการเรียก พรรคมาร

แมนนี่
รากฐาน เดิม มาจาก ลัทธิแมนนี่ หรือ มณี  ดั้งเดิมกำเนิดจากทางเปอร์เซีย หรือ อิหร่านในปัจจุบัน  ถือกำเนิดในช่วงศตรรษที่ 3 โดยศาสดาชื่อ มณี  ถือเป็น สาวกแห่งแสงส่าง  โดยถือว่า ตนเองเป็นผู้สืบทอดคนสุดท้ายของ ผู้เผยแพร่คามจริงแก่ชาวโลก ตั้งแต่ โซโรอัสเตอร์ ที่เป็นลัทธิบูชาไฟ  พระพุทธเจ้า และพระเยซู โดยเชื่อว่า คำประกาศของศาสดาคนก่อนๆ นั้นยังมีข้อบกพร่อง และยังห่างไกลจากความจริงอันสมบูรณ์ ดังนั้น มณี จึงตั้งตนเป็นผู้เผยแพร่ความจริง อันเป็นสากล แทนศาสนาอื่นทั้งหมด โดยเป็นการผสมผสานคำสอนของศาสดาองค์ก่อนๆ เข้าด้วยกัน และป้องกันการบิดเบือนคำสอนเหมือนศาสนาอื่น ที่มักจะบันทึกคำสอนของศาสดา เมื่อศาสดาเสียชีวิตลงแล้ว ต่างกับ ลัทธิแมนนี ที่บันทึกทุกคำสอนของศาสดาในขณะที่ ศาสดายังมีชีวิตอยู่

แต่ในยุคถัดมา ลัทธิแมนนี กลับถูกมองเป็น พวกนอกรีต ทำให้ไม่นานก็หายไปจากยุโรป โดยเฉพาะอาณาจักรโรมันที่ล้างบางลัทธิแมนนี่อย่างหนักหน่วง แต่ช่วงศตรรษที่ 7 ประเทศจีนยุคนนั้นสามารถพิชิตเตอร์กิสถานลงได้  ทำให้มีผู้เผยแพร่ศาสนามณี  หรือฑูตจากเปอร์เซียได้เดินทางมาเยือนราชงศ์ถัง ในปี 694 ในรัชสมัยของ พระนางบู๊เช็กเทียน แต่ไม่นาถัดมา สมัยพระเจ้าถังอู่จง ยึดที่ดินทุกศาสนา มาทำไร่นาแทน ศาสานพุทธก็โดน เช่นเดียวกับ ลัทธิแมนนี่ ตอนนั้นเองที่ทำให้ ลัทธิแมนนี่ ถูกประกาศเป็นลัทธินอกรีตเช่นกัน ทำให้สาวกของลัทธิแมนนี่ต้องอยู่อย่างหลบๆ ซ่อนๆ แต่ยังคงเป็นศาสนาอันดับ 2 ในจีนรองจากศาสนาพุทธเท่านั้น

ช่วงที่อยู่อย่างหลบๆซ่อนๆ ลึกลับนี่เอง ที่ได้ผสมแนวคิดปรัชญาแนวคิดของลัทธิเต๋า ด้วย จึงกลายเป็น ลัทธิเม้งก่า โดยในปี ค.ศ. 920 นี่เอง ลัทธิเม้งก่าก็ก่อกบฎขึ้นในยุค 5 ราชวงศ์

จูหยวนจาง กับ ลัทธิบัวขาว 

หลังจากนั้น ชาวแมนนี่ ก็ผสมผสาน กับชาวพุทธ เกิดเป็นนิกายสุขาวดี  ต่อมาในยุคซ้องใต้ ก็กลายเป็นนิกายบัวขาว โดยจูหยวนจาง นี้เองที่ใช้คำสอนของลัทธินี้ ในการโค่นล้ม พวกมองโกล

ในยุคสมัยราชวงศ์ชิงนี่เอง ที่ลัทธิบัวขาว ต่อต้านราชวงศ์ชิง โดยไม่ยอมโกนหัว และแตกเป็นสมาคมลับมากมาย

ย้อนกลับมา ในช่วงล่มสลายของราชวงศ์หยวน ยุคนั้น จูหยานจาง ที่ต่อมเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชงศ์ หมิง นั้น กิมย้ง นำมาใช้เป็นตัวละครเล็กๆ ในดาบมังกรหยก โดยเมื่อก่อต้ั้งราชวงศ์สำเร็จ ก็ตั้งชื่อราชวงศ์ว่า หมิง หรือเหม็ง เพื่อยกย่องลัทธิเม้งก่า เลยทีเดียว   แม้ว่า นักประวิติศาสตร์จะแย้งว่า จูหยวนจาง เคยบวชเป็นพระในศาสนาพุทธมาก่อน ไม่น่าจะย้ายไปนับถือลัทธิเม้งก่าได้

แต่อย่าลืม่า จูหยวนจาง นั้น ได้ไปเข้ากับ กบฎโพกผ้าแดง ที่นับถือลัทธิ บัวขาว ซึ่งคือ เม้งก่า ที่ผสมกับศาสนาพุทธ สิ่งนี้เองที่เป็นหลักฐานยืนยันว่า ราชวงศ์เม้ง หรือ หมิงนั้น มาจากคำว่า เม้งก่า แน่นอน

3 ฑูตจากเปอร์เซีย
ในดาบมังกรหยกนั้นเตียบ่อกี้ประสบความพ่ายแพ้ ครั้งหนึ่ง กับ สามฑูต พิเศษจากพรรคเม้งก่า ที่พรรคเม้งก่า สาขา เปอร์เชียส่งเข้ามาเพื่อจัดการความไม่เรียบร้อยในพรคคเม้งก่าในจีน

เตียบ่อกี้นั้น แพ้อย่างยับเยิน ทั้งเรื่องยุทธวิธีการต่อสู้ที่แม้จะฝีมือและกำลังภายในสู้กับเตียบ่อกี้ไม่ได้แต่อาศัยสามคนสู้ เหมือนหนึ่งคนกลายเป็นคนทีมีสามเศียรหกกร โดยใช้อาวุธคือ  ป้ายประกาศิตอัคคี ทั้งหกป้ายที่สามทูตถือเป็นอาวุธ

สามทูตประกอบไปด้วย ทูตเมฆลิ่วล่อง ทูตลมศักดิ์สิทธิ์ และ ทูตจันทร์รำไพ ซึ่งเป็นสตรี ล้วนใช้หลักวิชาการต่อสู้ที่เตียบ่อกี้ และพรรคพวก ไม่เคยเจอ โดยระบุว่า แม้พลังยุทธ์ จะไม่สูงมาก แต่ในเรื่องกระบวนท่านั้นถือเป็นวิชาขั้นสุดยอด แล้ว หลักการต่อสู้ที่ว่านี้นำมาจากเคล็ดความบนป้ายประกาศิตอัคคีทั้ง 6 ป้ายที่บรรดาฑูตทั้งสามใช้เป็นอาวุธนั่นเอง ภายหลังเมื่อ เสี่ยวเจียว ช่วยแปลเคล็ดความในป้ายประกาศิตอัคคี จึงทำให้เตียบ่อกี้สามารถที่จะเอาชนะสามฑูตได้สำเร็จและทำให้พลังเคลื่อนย้ายจักรวาลของเขาสมบูรณ์แบบขึ้นมา

หลายคนอาจจะสงสัยว่า วิชาฝีมือทั้งพลังเคลื่อนย้ายจักรวาล และ วิชาบนป้ายประกาศิตอัคคี นี้มาจากใครกันแน่ เพราะ ในฉบับแปลเป็นไทยนั้นใช้ทับศัพท์และเรียกเป็นภาษาแต้จิ๋วว่าเป็น “ผู้เฒ่าภูผาฮาลซัน” ไม่ว่าจะเป็นเคล็ดวิชาที่จารึกไว้ หรือ แม้กระทั่งพลังเคลื่อนย้ายจักรวาล กิมย้งบรรยายผ่านตัวราชสีห์ขนทองว่า ผู้เฒ่าภูผานั้น เดิมเป็นลูกศิษย์สามพี่น้องของท่านมหาปราชญ์แห่งเปอร์เชีย ตอนหลังผู้เฒ่าภูผาฆ่าพี่น้องที่เหลือและตั้งตัวเป็นหน่วยล่าสังหารถึงขนาดเข้าไปลอบสังหาร พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดแห่งอังกฤษ กันทีเดียวแต่ไม่สำเร็จ เพราะพระมเหสีของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดพุ่งเข้ามาขวางเส้นทางมีดจนตายแทนไป

บุคคลๆ นี้น่าสนใจที่จะเช็กดูครับว่ามีตัวจริงหรือไม่ ในฉบับภาษาอังกฤษ ผู้เฒ่าภูผา นั้นมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า  “ฮัสซัน ไอ ซับบาห์" (Hassan-i Sabbāh) เกิดเมื่อปีคศ 1050 - 1124)  เป็นชาวเปอร์เชียโดยกำเนิด เป็นผู้ก่อตั้ง กลุ่มมุสลิม นาซารี  ต่อมาได้ยึดพื้นที่บนเทือกเขา Alborz แล้วก่อตั้งเป็นป้อมปราการ อลามุธ  ( Alamut)  เขาเป็นผู้มีฝีมือที่โดดเด่นทีสุดในเรื่องของการเป็นมือสังหารที่สามารถลอบสังหารอย่างมาก

อลามุธ ก็คือ ชื่อป้อมปราการในตำนานของชาวเปอร์เซีย เป็นศูนย์รวมของขบวนการมือสังหารแห่งยุค สาวกและลูกศิษย์นักล่าสังหารของฮัสซันนั้นเรียกกันเฉพาะว่า ฮัสซันชิน (Hashashin) หรือ ขณะที่ชาวยุโรปที่ไปทำสงครามครูเสด เรียกกลุ่มคนเหล่านี้ว่า แอสแซสซิน (Assassins) ซึ่งก็หมายถึงมือสังหารนั่นเอง

เรื่องราวของกลุ่มคนเหล่านี้ดังมากในยุคสงครามครูเสด และในบันทึกของมาร์โคโบโล อธิบายว่า เขาเป็นบุคคลน่าสะพรึงกลัว มีความสามารถหลากหลาย มีการศึกษา และทักษะการต่อสู้อย่างสูง ที่สำคัญเขามีเทคนิคในการโน้มน้าว คนหนุ่มให้หันมานับถือศาสนาอิสลามอย่างแรงกล้าอีกด้วย

ชาวยุโรปเรียก ฮาสซัน ว่า Lord Of The Dead Mountain ซึ่งก็หมายถึง เจ้าแห่งหุบเขาแห่งความตาย หรือ อลามุธ นั่นเอง

ตามประวัติของป้อมอลามุธและ ฮัสซันซิน นั้นเป็นองค์กรอิสระที่ไม่ขึ้นตรงกับใคร แต่เป็นแหล่งรวมการศึกษาของศาสนา อิสลาม โดยมีภารกิจหลัก คือ การเผยแพร่ศาสนาอิสลาม ต่อมาจึงกลายเป็นองค์กร แอซแซสซิน

กลุ่มของเขาถือเป็นอิสลามแบบอนุรักษ์นิยม หากใครไม่เห็นด้วย เขาจะส่งมือสังหารไปลบสังหาร ทั้งฝั่งเปอร์เซีย และ ฝั่งตะวันตก  ที่โด่งดังจริงๆ ก็คือ การลอบสังหาร กษัตริย์ อังกฤษ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ด ลองแชงส์ (The English King Edward Longshanks) เกือบสำเร็จโดยที่มีดที่จะตรึงหัวใจของกษัตริย์อังกฤษนั้นเบี่ยงไปนิดเดียวจากการเข้าขวางของสตรีข้างกายของกษัตริย์อังกฤษนะครับ

อย่างไรก็ดี พระเจ้าชาห์แห่งเปอร์เชีย ก็ส่งกองทัพเข้ามาจัดการกับค่ายนี้หลายครั้งแต่ก็ไม่เคยตีแตก  แต่พวกเขากลับถูก มองโกลส่งกองทัพที่โหดยิ่งกว่าเข้ามาทำลาย อลามุธ ราบเป็นหน้ากลองในปี คศ 1256 ซึ่งเป็นยุคของฮูกาลูข่าน ในเวลานั้นศาสดาของพวกเขาอย่าง ฮาสซัน นั้นตายไปนานแล้ว

อย่างไรก็ตามในประวัติศาสตร์ที่แท้จริงนั้น ฮาสซัน นั้นเป็นอิสลามที่เคร่งครัด จึงไม่น่าจะกลายเป็นนิกาย เม้งก่า ได้ เพราะฉะนั้นการที่กิมย้ง ระบุว่า ผู้เฒ่าภูผา เป็นพวกเดียวกับ พรรคเม้งก่า นั้นจึงน่าจะเป็นจินตนาการล้วนๆ และเทคนิคการผสมเรื่องของกิมย้งเอง  เนื่องจาก ลัทธิแมนนี่มาจากอิหร่าน และ อาสซัน ก็มาจากอิหร่าน ในยุคเดียวกับปลายราชงศ์หยวน หรือมองโกล มากกว่า




วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

จีน (ฺBC600-1200) ตัวจริง มังกรหยก - สำนักชวนจินก่า (ฉวนเจิน)

สำนักฉวนเจิน (全真教) หรือฉวนเจินเต้า (อักษรจีน: 全真道) เป็นลัทธิเต๋าสำนักหนึ่งที่นักพรตหวัง ฉงหยาง (จีนกลาง) หรือเฮ้งเต็งเอี้ยง  ก่อตั้งขึ้นทางตอนเหนือของจีนราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 ในสมัยราชวงศ์จิน เมื่อจักรวรรดิมองโกลรุกรานจีนสมัยราชวงศ์ซ่งในปี ค.ศ. 1254 นักพรตเต๋าสำนักนี้มีบทบาทสำคัญในการปกป้องสันติภาพ จนสามารถรักษาชีวิตของประชาชนโดยเฉพาะชาวฮั่นได้หลายพันคน

ปุพื้น ลัทธิเต๋า
ในยุคศตวรรษที่ 5 นั้น หลายศาสนาต่างหลั่งไหลเข้าประเทศจีน โดยมีทั้ง โชโรอัสเตอร์  ศาสนาพุทธ ขณะที่ภายในประเทศ จีน เอง ก็มีการพัฒนาแนคิดปรัชญาขึ้นเอง นั่นคือ เล่าจื้อ และ ขงจื้อ ที่พยายามหล่อหลอมชีวิตความเป็นอยู่ของชาวจีนที่มีมากกว่า 2000 ปีเข้ากับแนวความคิดปรัชญาของลัทธิตนเอง

เหล่าจื้อ หรือเล่าจื้อ
จุดเริ่มต้นของลัทธิเต๋า คือ เล่าจื้อ ที่เกิดเมื่อ 604 ปีก่อนคริสตกาล ตำนานกล่าวว่า ตอนเกิด ท่านก็แก่อายุ 72 ปีแล้ว โดยเฉพาะเป็นเด็กก็มีผมหงอกแล้ว นั่นเป็นที่มาของชื่อ เล่าจื้อ ที่แปลว่า เด็กแก่ หรือ ครูเฒ่า นั่นเอง

เดิมท่านเป็นชาวรัฐฉ้อ ตำบลหลี ชื่อเดิมที่แท้จริง ชื่อ ยื้อ แซ่ลี้  ต่อมา เมื่อท่านได้งานทำเป็นบรรณารักษ์ของหอสมุดหลวง ในราชสำนักจิว ชื่อเสียงก็เริ่มโด่งดัง เนื่องจาก สติปัญญาของท่านสูงส่งกว่าคนทั่วไปอย่างชัดเจน ครั้งหนึ่ง ขงจื้อ เดินทางมาพบเล่าจื้อ เล่าจื้อได้กล่าวว่า "กลับไปเสียเถิด แล้วท่านก็ควร ลด ละ เลิก ความหยิ่ง ความอยาก ของท่านด้วยนะ"

แนวคิดของ เล่าจื้อ คือ ท่านไม่ชอบชีวิตที่หรูหรา ชอบใช้ชีวิตสบายๆ โดยมองว่า ทุกคนมุ่งมั่นที่จะสร้างชื่อเสียง เงินทองและอำนาจ ทำให้ทั้งเมืองเต็มไปด้วย คนขี้โกง เมื่อเบื่อหน่ายโลกแล้ว ท่านจึงนั่ง เกวียนเทียมวัว มุ่งหน้าไปยังธิเบต พอถึงประตูเมือง นายประตูขอให้ท่านช่วยเขียนปรัชญาการแห่งการใช้ชีวิต ท่านจึงได้เขียนตำรา อักษรจีน จำนวน 5,500 ตัว  ก่อนที่ท่านจะเดินทางหายไป โดยที่ไม่มีใครพบท่านอีกเลย

คัมภีร์ เต๋าเต๋อจิง 
ชื่อคัมภีร์ที่ท่านเล่าจื้อเขียนไว้ คือ  เต๋า-เต๋อ-จิง แปลว่า คัมภีร์แห่งมรรค และพลัง โดยคำว่า เต๋า ทุกวันนี้ก็ยังมีคนตีความหมายของมัน บางคนแปลว่า หนทาง หรือ มรรค ขณะที่บางคนแปลว่า เต๋า คือ จุดกำเนิด และ จุดดับของทุกสรรพสิ่ง โดย มันคือพลังที่หลั่งไหลไปทั่ว แต่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ พลังจะไหลเวียนจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งเสมอ ดังนั้น เต๋า จึงไม่ใช่ศาสนา แต่เป็นเพียง ปรัชญาธรรม เท่านั้น

แนวคิดหลักคือ การพยายามใช้ชีวิตร่วมกับธรรมชาติ ตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไป ไม่ว่าจะ ขบนธรรมเนียมประเพณี สิ่งของใช้ฟุ่มเฟือย และ สิ่งที่ฝืนธรรมชาติ ออกไปให้หมด โดยพยายามใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และสงบ แต่ต่อมากลับมีคนไปตีความ จุดกำเนิดแห่งสรรพสิ่งและพลัง  ซึ่งนำไปรวมกับไสยศาสตร์และความเชื่อโบราณ จนทำให้ระยะหลัง ลัทธิเต๋า ถูกมองว่า เป็นเรื่องไสยศาสตร์ไป

ในนิยายกำลังภายใน
ในนิยายกำลังภายในเรื่อง "มังกรหยก" ของกิมย้ง สำนัก ช้วนจินก่า เป็นสำนักนักพรตเต๋าที่ เฮ้งเตงเอี้ยงก่อตั้ง มีศิษย์น้องชือ จิวแปะทง ฉายาเฒ่าทารก และลูกศิษย์อีก 7 คน  ภายหลังถูกพวกมองโกลบุกและทำลาย สำนักจึงสูญหายไปจากยุทธภพ

เรื่องจริง ในประวัติศาสตร์
เฮ้งเตงเอี้ยง หรือ หวังฉงหยาง (จีนกลาง) หรือฉายา "ผู้อยู่ท่ามกลางความสว่างไสว" ถูกเอ่ยชื่อถึงในมังกรหยก เดิมชื่อ ก่อออกบวช คือ เฮ้ง เฮ่าเนี่ยม หรือ หวังจงฟู่ (จีนกลาง)  เกิดในรัชสมัยซ่งเหนือ ในรัชสมัยของฮ่องเต้ ฮุ่ยจง ครอบครัวมีฐานะ วัยเด็กได้รับการฝึกสอนศาสตร์ทุกแขนง เคยเข้าสอบจอหงวนสายบุ๋น หลายรอบ แต่สอบไม่เคยได้ ต่อมาจึงหันมาเอาดีด้านบู๊ แทน สามารถสอบจอหงวนบู๊ได้อันดับหนึ่ง ดังนั้น ในนิยาย มังกรหยก ที่เฮ้งเต็งเอี้ยงได้ เป็นอันดับหนึ่งในยุทธภพ นั้น เป็นเรื่องไม่เกินจริงไปนัก

ตำนาน เล่าว่า เฮ้งเฮ่าเนียม ได้พบกับ ปรมาจารย์ลัทธิ เต๋า ชื่อ จงลี่เฉวียน (鍾離權)และหลวี่ตงปิน(呂洞賓)หนึ่งในคณะแปดเซียน ( เป็นบัณฑิตในรัชสมัยถัง แต่ลัทธิเต๋าจัดให้ท่านอยู่ใน กลุ่มโป๊ยเซียน โดยมักแสดงเป็นบัณฑิตที่ เหน็บกระบี่เพื่อปราบภูตผีปีศาจ) ท่านจึงได้ชักชวนให้บำเพ็ญตน และสั่งสอนหลักวิชาเต๋าให้เฮ้งเฮ่าเนียม

ต่อมาจึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น เฮ้งเตงเอี้ยง ตามชื่อเทศกาล เต็งเอี้ยง (วันที่ 9 เดือน9 ) และตัดขาดลูกเมีย ออกบำเพ็ญตน โดยอาศัยอยู่ที่ เขาจงน้ำ (จงหนาน ในภาษาจีนกลาง) โดยเรียกดินแดนนี้ว่า สุสานคนเป็น เนื่องจาก แม้มีชีวิตอยู่แต่ไม่สนใจโลกีย์วิสัยอีกต่อไป ผ่านไป 7 ปี เมื่อสำเร็จธรรมขั้นสูงแล้ว จึงเปลี่ยนชื่อเป็น เฮ้งเอี้ยงจื่อ (ผู้สว่างไสว ดุดดวงอาทิตย์) และได้รับศิษย์ทั้งหมด 7 คน ทั้ง 7 คนได้บรรลุธรรมเช่นกัน

โดยยุคสมัยนั้น กิมก๊ก (บรรพบุรุษของมองโกล) ได้บุกตีแผ่นดินซ้อง หรือซ่ง เฮ้งเตงเอี้ยง ได้ร่วมกับ สำนักลัทธิเต๋าอื่นๆ ต่อต้านทหารกิมก๊ก ตำนานเล่าว่า มีคนชื่อ จิวแป๊ะทง ชาวเมือง หนิงไฮบ้านเดียกับ เบ๊เง็ก  มาเชิญท่านไปเทศนาธรรม และให้พำนักอยู่ที่อารามกิมเหลียน (ดอกบัวทอง) แต่ตกกลางคืน กลับมีแสงเพลิงลุกโชนขึ้นผู้คนต่างตกใจ  เมื่อผู้คนไปมุงดูเหตุการณ์ กลับพบว่า เฮ้งเตงเอี้ยง ท่านกำลังเดินอยู่บนกองเพลิง จึงไ้ดฉายาว่า ผุ้อยู่ท่ามกลางความสว่าง

อย่างไรก็ดี สำนักฉวนจิน หรือชวนจินก่า นั้นที่แปล่า "ทุกสิ่งล้วนเป็นสัจจะ"  โดยเป็นการผสมแนวคิดระหว่าง ลัทธิเต๋า ขงจื้อ และ พุทธ มากกว่า เพราะ นักบวชใน ลัทธิเต๋า นั้น สามารถแต่งงานมีภรรยา และลูกได้ แต่นักบวชในนิกาย ชวนจินก่า จะเข้มงวดกว่า เพราะนักบวช ชวนจินก่า ต้องถือศีล คล้ายพระสงฆ์ คือ ต้องรักษาพรมจรรย์ ไม่เขียนยันต์ปลุกเสก ไม่เล่นแร่แปรธาตุ เน้นเพียงศึกษาธรรมะ และฝึกลมปราณ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงเท่านั้น อย่างไรก็ดี  เฮ้งเตงเอี้ยงนั้น เสียชีวิตเมื่ออายุเพียง 58 ปีเท่านั้น

7 ศิษย์ช้วนจินก่า
มีปรากฏว่า ในบันทึก หนังสือ ซื้อปิ้ง (วิพากษ์คำร้อยกรอง) ในสำนักช้วนจินก่า มีบุคคลเด่นล้ำทั้งสิ้น 7 คน คือ ช้วนจินฉิกจื้อ หรือ เจ็ดผู้ล้วนจริง ประกอบไปด้วย นักพรตทั้ง 7 แห่งนิกาย ช้วนจินก่า ซึ่งเป็นศิษย์ที่ได้รับการถ่ายทอดฝีมือจาก เฮ้งเต็งเอี้ยง โดยตรง ดังนี้

เบ๊เง็ก ฉายา ตั้งเอี้ยงจื้อ - เจ้าสุริยัน ศิษย์คนที่ 1 ของเฮ้งเต็งเอี้ยง และเป็นเจ้าสำนักต่อจากเฮ้งเต็งเอี้ยง

คูชู่กี 
丘處機 ฉายา เชี่ยงชุนจินหยิน-อริยบุคคลผู้เป็นอมตะ  ในนิยายจะเป็นผู้มีพลังฝีมือสูงสุดในบรรดานักพรตทั้ง 7 คน เขาเป็นคนตั้งชื่อให้กับ เอี๊ยคัง และ ก๊วยเจ๋ง อีกด้วย

ตัวจริง เขามีชีวิตอยู่ช่วง ปี 1148-1227 โดยอดีต ถูกเข้าใจผิดว่า เป็นผู้แต่งนิยายเรื่อง ไซอิ๋ว อีกด้วย  เนื่องด้วย เคยเดินทางไป พบเจงกิสข่าน แถว อุเบกิซสถาน โดยลูกศิษย์ของท่าน นำมาเขียนเรื่อง เชี่ยงชุนจินหยินไซอิ๋วกี่ โดยที่คำว่า ไซอิ๋วกี่ ที่แปลว่า บันทึกการเดินทางไปตะวันตก นี่เองที่ไปพ้องกับเรื่อง ไซอิ๋ว ที่แปลว่า การเดินทางไปตะวันตกเช่นกัน  คนรุ่นหลังยุคหนึ่ง จึงเข้าใจผิดว่า ท่านเป็นคนแต่งเรื่อง ไซอิ๋ว

ประวัติการเเดินทางไปตะวันออกลาง มีดังนี้ ในช่วงศตวรรษที่ 12 นั้นแผ่นดินจีน แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ จิน ซ่ง และ มองโกล โดยเดิมท่านคิวชูกี่ ถือเป็นนักปราชญ์ ที่ ทั้ง 3 ดินแดนต่าง เดินทางมาเชิญให้ท่านไปอยู่ด้วย แต่ ท่านไม่ยอมไปอยู่ด้วย โดยตอนนั้น ท่านอายุถึง 73 ปีแล้ว  ถัดมา เตมูจิน หรือ เจงกิสข่าน นั้นต้องการ วิถีแห่งการเป็นอมตะ และปรัชญาการปกครอง จึงได้ส่งหนังสือเชิญท่านไปอยู่ด้วย โดยในหนังสือเขียนด้วยถ้อยคำง่ายๆ และถ่อมตัว ท่านจึงรับปากเดินทางไปให้คำชี้แนะ

ต่อมาท่านเดินทางไปยังเมืองเยี่ยน (ปักกิ่ง) เพื่อพบท่านเตมูจิน แต่เมื่อไปถึง ท่านเตมูจิน กลับออกไปทำศึกแถวพวก ซาร์มากันต์ (แถว อุเบกิซสถาน) ท่านจึงได้เดินทางนับหมื่นลี้เพื่่อไปพบท่านเตมูจิน ในตำนานระบุว่า ท่านใช้เวลาเดินทางถึง 2 เดือนเศษ นักประวัติศาสตร์เชื่อว่า ท่านคิวชูกี่ ต้องการยั้บยั้งสงครามที่กำลังแผ่ไปทั่วโลก จึงเสี่ยงเป็นเสี่ยงตายยอมเดินทางนับพันลี้ไปยับยั้งสงครามมากกว่า

เมื่อคิวชูกี่เสี่ยงชีวิตไปพบท่าน เตมูจิน พร้อมศิษย์ 18 คน แต่ท่านได้แนะนำเตมูจินว่า "ผู้ปรารถนาพิชิตใต้หล้า ยอมไม่ชมชอบการฆ่าฟัน"   เตมูจิน ถามถึงปรัชญาการปกครอง ท่านตอบเพียงสั้นๆ ว่า "เคารพสวรรค์ รักปวงประชา" สุดท้าย เตมูจินถามถึงเรื่อง ชีวิตอมตะ ท่านตอบเพียง "จิตผ่อนคลาย งดเว้นตัณหา"

หลังจากสนทนากัน เตมูจิน นั้นนับถือท่านมาก ถึงกับเรียกท่านว่า เทพคิ้ว  เลยทีเดียว  แม้สงครามจะยังไม่จบสิ้น แต่เตมูจินก็ปรับเปลี่ยนวิธีการทำสงคราม โดยมักจะฆ่าคนที่ไม่ยอมด้วยการฆ่าล้างเมือง เหลือเพียงจับเป็นเชลยเท่านั้น  นอกจากนี้ยังปรับเปลี่ยนกฎหมายเพื่อลดความรุนแรงลง และเมื่อเตมูจินกลับมาที่ปักกิ่ง (เยี่ยน) ในปี 1394  ก็ได้สร้างอุทยานอารามเมฆขาว "ไป๋หยุนกวาน" ที่ยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน ให้กับ สำนักชวนจินก่า เพื่อใช้เป็นฐานในการเผยแพร่แนวคิดลัทธิเต๋า  หลังจากนั้น เตมูจิน ยังส่งสารแสดงความเคารพในตัว เทพคิ้ว อยู่เป็นเนืองๆ อีกด้วย

เฮ้งชู่อิด ฉายา เง็กเอี้ยงจื้อ - อาทิตย์หยก ในสำนักฝีมือเป็นอันดับ 3 รองจากเบ๊เง็กและคูชู่กี
ท่ำชู่ตวน ฉายา เชี่ยงจินจื้อ - คนจริงยืนยาว
เล่าชูเหียน ฉายา เชี่ยงแชจื้อ - คนจีรัง
ฮึ่งไต้ฮง ฉายา ก้วงเล้งจื้อ - ผู้ไพศาล
ซุนปุกยี่ (น่าจะเป็น ภรรยาของ หม่ายู) ฉายา เช็งเจ็งซั่วยิ้น - ผู้วิสุทธิ์พเนจร นักพรตหญิงแห่งชวนจิน

หยิ่นจื้อผิง (尹志平)'หรือ ชื่อในนิยายกิมย้ง คือ  อี่จี้เพ้ง ต่อมาเปลี่ยนเป็น เจินจื้อปิ่ง เนื่องจากการมีตัวตนอยู่จริงนั่นเอง ประวัติตัวจริง คือ  อายุ 14 ได้พบกับท่านเบ๊เง็ก แล้วเลื่อมใส จึงได้สืบทอดวิชาจาก ท่านชิวชู่จี (คิ้วชูกี่) และหวังชู่อี้ (เฮ้งชูฮิด)  โดยเมื่อท่านคิวชูกี เสียชีวิต หยิ่นจือผิง จึงได้รับสืบทอด ลัทธิฉวนเจิน โดยลัทธิเต๋าในยุคของท่านนั้นลักธิเต๋า นั้นกลายเป็นศาสนาประจำชาติมองโกลไป จึงได้รับการสนับสนุนจาก โอเกไดข่าน ลูกคนที่ 3 ของเตมูจิน ต่อมาในปี 1238 จึงได้มอบหมายตำแหน่งต่อให้ หลี่จื้อฉาง ศิษย์อีกคนของ คิวชู่กี่ เป็นผู้สืบทอดสำนักต่อไป และคนนี้เองที่เป็นคนบันทึกเรื่อง ไซอิ๋วกี่ 

วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2563

จีน (1930-2010) เป๋ห่าว vs เหลยเล่อ ตำนาน โจรตัดโจร แห่งทศวรรษที่ 60

เป๋ห่าว vs เหลยเล่อ ตำนานโจร ตัด โจร แห่งทศวรรษที่ 60

ในยุค 90 มีหนังฮ่องกง 2 เรื่องที่สร้างจากชีประัติของอาชญกร 2 เรื่องที่ดัง เรื่องแรก เกี่ยข้องกับ ชีประัติของราชายาเสพติด เป๋ห่า ชื่อเรื่องคือ  To be Number One หรือ เป๋ห่าเป็นเจ้าพ่อ ที่แสดงโดย หลี่เหลี่ยงเหว่ย ในปี 1991 ขณะเดียวกันปีนั้น ก็มีหนังออกมาอีกเรื่อง เป็นเรื่องชีประัติของ ตำรจ เหลยเล่อ  ชื่อ  Lee Rock หรือ ตำรวจตัดตำรวจ ที่แสดงโดย หลิวเต๋อหัว   แต่แล้วในปี 2017 นั้น มีหนังที่รีเมคทั้งสองเรื่อง ชื่อ เรื่อง Chasing the Dragon ที่ ดอนนี่ เย็น แสดงเป็น เป๋ห่าว และ หลิวเต๋อหัว กลับมารับบท ตำรวจ เหลยเล่อ ที่เคยเล่นบทนี้มาก่อน นั้นคือ เรื่องราของ เป๋ห่าว ราชายาเสพติดอันดับหนึ่งของเอเชีย กับ เหลยเล่อ ตำรวจมือปราบฮ่องกง ฉายา มือปราบห้าร้อยล้านเหรียญ ที่เป็นเจ้าของตำนาน โจร ตัดโจร แห่งยุคทศรรษที่ 60

ชื่อหนังเรื่อง Chasing The Dragon  "ไล่มังกร " ( 追龍 : 追龙 ) เป็นคำแสลงในภาษาจีน นั่นคือ การสูดไล่สูดไอระเหยจาก ยาเสพติด เช่น เฮโรอีน โดย การไล่ล่า นั้นคือ การเผายาเสพติดที่ไม่ใช้ความร้อนมากเกินไป เพราะจะเผาไหม้เร็วเกินไป โดยอาจใช้อลูมิเนียมฟอยล์ ช่วยลดความร้อยลง เมื่อ เผายาเสพติดจนเกิดควันขึ้นมา นักเสพจะใช้ท่อ “ไล่ล่า” ควัน เพื่อใช้ในการสูดดม จึงวิธีการเสพยาเสพติดนี้ว่า การไล่ล่ามังกร ซึ่งชื่อหนังมาเปรียบเปรย การไล่ล่า เป๋ห่าว เจ้าพ่อยาเสพติด กับ เหลยเล่อ ตำรวจมือปราบนั่นเอง ทำไมยิ่งไล่ล่า คนไล่ล่ากลับยิ่งสนุก

ทศรรษที่ 60 ฮ่องกงได้ชื่อ่า เป็นทศรรษที่มืดมนที่สุดของฮ่องกง จนมีสุภาษิต่า  ตำรจคอยค บคุม นรก( แก๊ง ไตรแอด)  นรก(ไตรแอด) คอยคบคุมคามปลอดภัยของผู้คน โดยมีตำรจ 4 คนที่คอยคบคุมแก๊งอาชญกรรมใต้ดิน หนึ่งในั้นคือ เหล่ยเล่อ

อึ้งซิกโฮ ( 吳錫豪 ; 吴锡豪) หรือเป๋ห่าว
ขอเริ่มต้นจากชีประัติ  ฝั่งโจรก่อน คือ เป๋ห่าว  ชื่อจริง คือ อึ้งเซ็กห่าว 吳錫豪 หรือ “เป๋ห่าว เจ้าพ่อแก๊งมาเฟีย ราชาเฮโรอินชาวแต้จิ๋วคนดังแห่งฮ่องกงในยุคทศรรษที่ 50s ผู้โด่งดังในช่วงเวลาที่องค์กรนอกกฎหมายในฮ่องกงรุ่งเรืองถึงสุดขีด ขณะที่องค์กรตำรวจก็ตกต่ำสุดขีดด้วยปัญหาคอร์รัปชัน เช่นกัน

เป๋ห่าว เกิดในปี 1930 เขาเกิดที่กวางตุ้ง แหล่งกำเนิดของชาวแต้จิ๋ว อึ้งซิกโฮ ได้รับฉายาว่า เป๋ห่าว  หรือ "Limpy Ho" ที่แปลเป็นไทย ่า ไอ้ห่าอ่อนปวกเปียก  หลังจากเขาได้รับบาดเจ็บที่ขาในการต่อสู้บนท้องถนน ย้อนกลับไปช่วงปี 1960 ประเทศจีนเป็นยุคนโยบาย ก้ากระโดด ของเหมาเจ๋อตุงึ่งนโยบายที่ผิดพลาด ทำให้ประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ เกิดความอดอยากไปทั่วประเทศ อึ้งซิกโฮ จึงต้องแอบหลบหนีจากจีนแผ่นดินใหญ่เข้าไปยังฮ่องกง

เขาเข้ามาฮ่องกงมาในช่งทศรรษที่ 50 หลังจากที่ ตู้เยว่ชิง เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ ราชาขายฝิ่น มาเสียชีวิตที่ฮ่องกงในปี 1951 งเป็นระยะเลาที่ไม่นาน เมื่อมาถึงฮ่องกงเขา แรกเริ่มเขารับทำงานทุกอย่าง โดยเริ่มต้นจากการขายดอกไม้  จนในที่สุด เขาก็รู้จักกับ 2 พี่น้องตระกูลหม่า ชีิตของเขาก็เปลี่ยนไปขายยาเสพติดโดยเฉพาะฝิ่นแทน จนในที่สุด เขาก็สามารถเข้าเป็นสมาชิกของแก๊งค์ 14K ได้สำเร็จ  ช่วงต้นปี 1967 เป๋ห่าว ก็เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการค้าของเถื่อนของฝิ่นและมอร์ฟีน เขาแต่งงานกับ เซิฉนยู่หยิ่งCheng Yuet-Ying ( ประเพณีจีน : 鄭月英 ; จีนจีน : 郑月英 ) ซึ่งยังมีส่วนร่วมในการค้ายาเสพติด ยุคนั้น เป๋ห่าว อาศัยเครือข่ายคนแต้จิ๋ สร้างเครือข่ายยาเสพติดอย่างยิ่งใหญ่ไปทั่เอเชีย คลอบคลุมเครือข่ายทั้งฮ่องกง , มาเก๊า , ไทย , ไต้หวัน , สิงคโปร์ ,อังกฤษและอเมริกา

ช่งนี้เองที่เขาได้รู้จักกับ นายตำรจ เหลยเล่อ และนับถือเป็นพี่ชาย จนในที่สุด เป๋ห่า ก็เป็นผู้สนับสนุนหลักของสถานีตำรจทุกแห่งในเกาลูน โดยเฉพาะที่เหลยเล่อ ดูแล 

แต่แล้วเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 1974 เป๋ห่าวกลับถูกจับกุมพร้อมภรรยา และ พรรคพก รม 9 คน  โดยข้อหาลักลอบขนฝิ่นและมอร์ฟีนจำนน  20 ตันจากประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ในฮ่องกง  สื่อตีพิมพ์ฉายาเขาทันทีว่า "นายใหญ่" ตำรวจฮ่องกง อธิบายมีหลักฐานว่า เป๋ห่าว โอนเงินจำนวนหลายล้านเหรียญสหรัฐต่อเดือน ไปที่ประเทศไทย เพื่อชำระค่ายาเสพติด โดยมีหลักฐานคือ การโอนเงิน 32.6 ล้านเหรียญสหรัฐมายังไทยเพื่อชำระค่ายาเสพติด ที่เมื่อนำไปขายที่ฮ่องกงจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 10-15 เท่า ทำให้ เป๋ห่าว ถูกตัดสินว่ากระทำผิด ในเดือนพฤษภาคม 1975 ต้องโทษจำคุกถึง 30 ปี

ไม่นานต่อมา ภรรยาของเขาถูกพิพากษาในดคีเดียกัน และถูกตัดสินลงโทษจำคุกถึง 16 ปีและถูกปรับ 1 ล้านหยวน

ขณะอยู่ในคุก เป๋ห่าว กลับกลายเป็นชาวพุทธที่เคร่งครัดอย่างเต็มตัว ในเดือนเมษายน 1991 ผู้พิพากษาของฮ่องกง ประกาศลดหย่อนโทษจำคุกของเขาเหลือ 4 ปีครึ่ง แต่ช่วงกรกฎาคม ปีนั้นเอง  เป๋ห่าว ก็ได้รับการวินิจฉัยจากหมอว่า เขาเป็นโรคมะเร็งตับระยะสุดท้าย และคาดว่าเขาจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกิน 6 สัปดาห์ เขาจึงได้รับการนิรโทษกรรม

แต่แล้ วันที่ 14 สิงหาคม 1991 หลังจากเป๋ห่าว ต้องติดคุกนานถึง 16 ปี เป๋ห่าวก็ได้รับการปล่อยตัวออกมา แต่เขากลับไม่ได้กลับบ้าน แต่ต้องย้ายตัเองไปอยู่ที่โรงพยาบาลควีนแมรี่ แทน อีก 2-3 สัปดาห์ต่อมา เขาก็เสียชีวิตเมื่อวันที่  8 กันยายน 1991 อายุ 61 ปี ส่วนภรรยาเขาก็ได้รับการปล่อยตัวจากคุกในปี 1992 ไม่ได้ไปงานศพของสามี

เหลยเล่อ หรือ Lee Rock 吕乐
คู่ปรับและคู่หู ของเป๋ห่าว คือ ตำรวจ เหลยเล่อ หรือ Lee Rock ถือเป็น หนึ่งในสี่สุดยอด มือปราบอาชญกรรมฮ่องกงที่คอยคบคุมแก๊งอาชกกรรมใต้ดิน เหล่ยเล่อ ถือเป็นตำรวจที่มีความเชี่ยวชาญด้านองค์กรอาชญกรรมใต้ดินมากก่าใครเป็นพิเศษ เหลยเล่อ สร้างผลงานไว้มากมาย แต่ฉายาสุดท้ายของเขาคือ .มือปราบห้าร้อยล้านเหรียญ”

เดิมเขาเป็นเด็กหนุ่มเติบโตที่กวางตุ้ง เช่นเดียวกับ เป๋ห่าว ต่อมาหลบหนีเข้ามาที่ฮ่องกงเช่นกัน เขาเริ่มต้นอาชีพที่ฮ่องกง ด้วยการเป็นบุรุษไปรษณีย์ และถัดมาเป็นหนุ่มรถลาก ต่อมาในปี 1940 เขาจึงเข้า กองตำรวจลาดตะเน และ การลาดตะเตามท้องถนนทุกันนี่เอง ทำให้เขาได้รู้จักและสนิทสนม กับแก๊งค์อาชญกรรมหลายคน ต่อมา เขาก็ได้เลื่อนตำแหน่งเป็น สายสืบ ของกรมตำรวจ

ช่งนี้เอง ที่มีหลักฐานมนตอนหลัง ยืนยัน่า เขาทั้งรับเงินสินบนจากผู้ใต้บังคับบัญชา และตัเขายังติดสินบน หัหน้าของเขาอีกด้ย เพื่อตำแหน่งหน้าที่การงาน นอกจากนี้ ตัเหล่ยเล่อ ยังเป็น คนรบรม ค่าคุ้มครองแก๊งอาชญกรรมใต้ดิน ไม่่า จะ ยาเสพติด บ่อน ่อง ต่างๆ  ในเขตดูแลของเขาอีกด้ย

แต่แล้ ปี 1955 ขณะที่แก๊ง 14K กำลังจัดงานเลี้ยงอยู่ เหลยเล่อ ก็นำกำลังตำรวจบุกเข้าไปจับกุมแก๊ง 14K  ผลงานครั้งนั้นเองทำให้เขาได้เลื่อนตำแหน่งเป็น สายสืบอาวุโส ไม่กี่ปีถัดมา เกิดการจราจลที่ฮ่องกง เนื่องจากกรณี วันชาติจีน หรือวัน 10 2 ตัว คือ วันที่ 10 ตุลาคม ที่มี กลุ่ม คนรักชาติ กับ คนกลุ่มผู้นิยมพรรคคอมมิวนิสต์ โดยสหภาพแรงงาน ที่มีสายสัมพันธ์โดยตรงกับกรุงปักกิ่ง และกำลังได้รับอิทธิพลจากกลุ่มเรดการ์ด  ออกมาชูป้ายประท้ง รัฐบาลอังกฤษ  แต่ต่างฝ่ายต่างมีแก๊งค์ใต้ดินอยู่เบื้องหลัง แต่แก๊งส่นใหญ่สนับสนุนแนคิดของพรรคก๊กมินตั๋งมากก่า  เหตุการณ์นี้ แม้แต่กิมย้ง หรือ หลุยส์ชา เองก็ต้องหลบหนีออกจากฮ่องกงไปเป็นระยะเลา 1 ปี

เนื่องจาก เหล่ยเล่อ เป็นผู้เชี่ยวชาญกับแก๊งค์อาชญากรรม ครั้งนั้น เขาจึงได้รับตำแหน่งสำคัญในการจัดการกับการจราจลครั้งนี้ เมื่อการปราบจราจลเสร็จสิ้น  เขาก็ได้รับการเลื่อนตำแหน่ง พร้อมกับย้ายไปอยู่สถานีตำรวจที่มีความสำคัญมากขึ้น ขณะที่ตำแหน่งหน้าที่การงานก็เติบโตอย่างต่อเนื่อง

แต่ความสำเร็จในชีวิตของเขากลับได้มาจากความสกปรกทั้งสิ้น ไม่ว่าจะการแต่งงานกับลูกสาวผู้มีอิทธิพล จนเขาสามารถเล่นเกมชิงอำนาจ ทั้งยศและตำแหน่งภายในกรมตำรวจได้ ในที่สุด เขาก็สามารถเลื่อนยศจนเป็นตำรวจระดับสูงได้สำเร็จ 

อย่างไรก็ดี ในช่งนี้ เขาื้อบ้านหลังใหม่ นักข่า ดันไปถามเขา่า บ้านหลังนี้มีราคา 500 ล้านเหรียญ จริงหรือไม่ แม้เขาจะไม่ตอบ และได้แต่ส่ายหน้า แต่เรื่องนี้เองที่ทำให้เขาได้รับฉายา มือปราบ 500 ล้านเหรียญ และเมื่อเรื่องนี้ รู้ถึงหู ผู้่าการฮอ่งกง เรื่องก็ร้อนทันที  มีคำสั่งลงทันที ให้มีการสอบสนเรื่องนี้อย่างจริงจัง โดยเฉพาะการตั้งหน่ยงานอิสระ ICAC ขึ้นเพื่อตรจสอบและปฎิรูประบบตำรจ ทั้งหมด

ในปี 1967 เหลยเล่อ ถูกพักงานเนื่องจาก เขาถูกกล่าวหาว่า มีส่นพัพันกับการทุจริตคอรัปชั่น ในตอนแรกเขาเชื่อ่า เรื่องจะเงียบหายไป แต่แล้ เรื่องนี้ไปถึงประเทศอังกฤษ ที่เป็นผู้ปกครองยุคนั้น ก็ทำเรื่องอย่างจริงจัง  เขาได้ข่า นี้มา ทำให้ ปีถัดมา เขาชิงลาออกก่อนกำหนด ในัยแค่ 48 ปี   จนกระทั่งปี 1973 เขาก็่ตัดสินใจย้ายครอบครัว ทั้งภรรยา และลูก 8 คนอพยพไปอยู่ที่แคนาดา

แต่แล้วปี 1976 เขาก็ถูกตั้งข้อกล่าวหาว่า “มีทรัพย์สินไม่เหมาะสมกับฐานะ” ถ้าเป็นคนไทยก็คือข้อหา “ร่ำรวยผิดปกติ” นั่นเอง เนื่องจากถูกสืบสวนพบว่า เหลยเล่อ มีทรัพย์สินในครอบครองมากมาย ซึ่งเชื่อกันว่า มาจากากรคอรัปชั่นสมัยที่เขายังเป็นตำรวจ กลายเป็นเรื่องฉาวโฉ่

ทรัพย์สินของเขาที่ถูกค้นพบในตอนนั้น ถูกศาลสั่งอาญัติทันที 100 ล้านเหรียญฮ่องกง โดยทรัพย์สินหลักๆ ของเขากลับเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ที่ฮ่องกง และเงินสดจำนน 8 ล้านเหรียญฮ่องกง แต่เขาไหวตัวทัน เนื่องจากกฎหมายแคนาดา กับฮ่องกงนั้นมีการส่งผู้ร้ายข้ามแดนได้ เขาจึงรีบย้ายตัวเองกลับมาอยู่ที่ ไต้หวัน แทน เพราะฮ่องกงกับไต้หัน นั้นไม่มีข้อตกลงเรื่องส่งตัผู้ร้ายข้ามแดนต่อกัน

แต่ในปี 1979 เขายังคงซื้อคอนโดหรูที่ไต้หวัน นั่นแสดงให้เห็นว่า ทรัพย์สินของเขาอีกมากที่ยังไม่ได้ถูก อาญัติทั้งหมด  เขาอาศัยอยู่ที่ไต้หวัน จนได้เป็นพลเมืองที่ไต้หวัน แต่ลูกชายทั้ง 7 คนยังคงอยู่ที่แคนาดาต่อไป

ในวันที่ 13 พฤษภาคม ปี 2010 เขาก็เสียชีวิตลงด้วยโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร ที่แคนาดา ศพของเขาถูกฝังที่แคนนาดา

คนหนึ่งมุ่งมั่นมาที่ฮ่องกงเพื่อเป็นโจร ขณะที่อีกคนมุ่งมั่นมาที่ฮ่องกงเพื่อเป็นตำรวจ แต่สุดท้ายกลับเป็นโจรทั้งคู่ และเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งทั้งคู่ โอ้ อนิจจา เหมือนดั่งเพลง เจ้าพ่อเี่ยงไฮ้ คลื่นัดาด โหมกระหน่ำ สายน้ำไหลเชี่ยรากไม่เคยหยุดนิ่ง ชะล้างเรื่องราบนโลกไปจนหมดสิ้น   กระแสคลื่นหมุนเกลียีทั้งทุกข์ มีทั้งสุข คละเคล้าอยู่ในเกลียคลืนทั้งเสียงหัเราะและเสียงร้องไห้  คาสำเร็จและคามล้มเหล
มิอาจมองออกได้ในกระแสคลื่นนั้น

วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2563

จีน(1296-1372) ชือ ไน่อัน กับปริศนาใครแต่งเรื่อง ซ้องกั๋ง?

ชือ ไน่อัน (施耐庵 หรือ 施耐菴  ราว ค.ศ. 1296–1372) เป็นนักประพันธ์ชาวจีนจากเมืองซูโจว มณฑลเจียงซู เชื่อกันว่า ชือ ไน่อัน เป็นผู้ประพันธ์นวนิยายเรื่อง ซ้องกั๋ง (แต้จิ๋ว) หรือ ซ่งเจียง(宋江) ซึ่งเป็นชื่อ ตัวละครเอกของเรื่อง ส่วนชื่อนิยายจริงๆ นั้น ชื่อ สุยหู่จ้วน หรือ 108 ผู้กล้าแห่งเขาเหลียงซาน ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่สุดยอดวรรณกรรมจีน ในที่นี้ของเรียกตามแบบคนไทย คือ ซ้องกั๋ง นะครับ

ข้อมูลเกี่ยวกับชีวประวัติของชือ ไน่อัน มีเพียงเล็กน้อย เชื่อกันว่า ซื่อ ไน่อัน น่าจะเป็น อาจารย์ของ หลัวก้วนจง ผู้ประพันธ์นิยายอิงประัติศาสตร์เรื่อง สามก๊ก ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเรื่องในสี่สุดยอดวรรณกรรมจีน นักวิชาการบางคนตั้งข้อสงสัยเกี่ยวการมีตัวตนของ ชือ ไน่อัน บ้างก็ว่า "ชือ ไน่อัน" เป็นเพียงนามแฝงของ หลัวก้วนจง

ดังนั้น มี 2 ประเด็นสำคัญ คือ 1 ซื่อไน่อัน มีตัวตนจริงหรือไม่  2. เขาเป็นคนแต่งเรื่อง ซ้องกั๋ง หรือ 108 ผู้กล้าแห่งเขาเหลียงซานจริงหรือไม่

ประวัติ ซื่อไน่อัน
เข้าประเด็นแรก  ในตอนแรกนั้น เรารู้เพียงว่า เขาน่าจะมีชีวิตคาบเกี่ยวระหว่าง ปลายราชวงศ์หยวนไปจนถึงต้นราชวงศ์หมิง คือ รัชสมัยของจูหยนจางเท่านั้น โดยเมื่อตรวจคำศัพท์ในซ้องกั๋งหลายคำแล้ว นักประวัติศาสตร์จึงเชื่อว่า ชื่อ ไน่อัน น่าจะเกิดที่ เมืองซูโจว มณฑลเจียงซู  แล้วจึงไปสืบเสาะจากประวัติพื้นบ้าน ย่านนั้นต่ออีกที จึงพบเรื่องราวดังนี้

ซื่อไนอัน น่าจะสืบเชื้อสายมาจาก ซื่อ จือเซี้ยง 1 ใน 72 ศิษย์ของขงจื้อ และมาตั้งรกรากที่ซูโจว ชื่อจริง น่าจะชื่อว่า เอียนต้วน ส่วน ไน่อำ หรือไน่อัน เป็นชื่อฉายา เขาเป็นคนเรียนเก่งมาก ต่อช่วงสงครามมองโกล นั้น เขาหลีกหนีความวุ่นวาย ไปแต่งนิยายเรื่อง "ซ้องกั๋ง"

หลังจูหยวนจางก่อตั้งราชงศ์สำเร็จ อายุ 29 ปี เขาก็สอบได้ตำแหน่ง โกยนั้ง คือตำแหน่งบัณฑิตอันดับหนึ่งของมณฑล อายุ 35 ปี สอบได้ตำแหน่งจิ้นสือ คือบัณฑิตหน้าพระที่นั่ง โดยบันทึกในสุสานระบุว่า  ตำแหน่งจิ้นสือที่เขาสอบได้ อยู่ลำดับเดียวกับ หลิวป๋ออุน กุนซือที่ปรึกษาของจูหยวนจาง ผู้พิชิตมองโกลเลยทีเดียว

ต่อมา ซื่อไน่อัน เข้ารับราชการอยู่ 16 ปี ตัวเขากลับเจอขุนนางกลั่นแกล้ง เขาจึงลาออกแล้วย้ายไปอยู่เมืองซูโจว พร้อมน้องชาย และลูกศิษย์ ชื่อ หล่อก้วนตง

โดยตอนแรก เขารับสอนหนังสือ ภายในท้องถิ่น จนคนท้องถิ่นให้ความเคารพ และเรียกฉายาเขาว่า ไน่อำกง นอกจากนี้แล้ว เขายังสอนวาดภาพอีกด้วย เขาเป็นคนเข้มงวดเรือ่งการวาดภาพมาก ในจำนวนนี้มี ภาพวาดของตัวละครในซ้องกั๋งด้วย 108 ภาพ สิ่งนี้เองทำให้เชื่อว่า เขาแต่งเรื่องซ้องกั๋ง เสร็จก่อนแล้ว

โดย กุนซือหลิวป๋อกุน(刘伯温) มีครอบครองอยู่ถึง 2 ภาพ กุนซือ หลิวป๋อกุน ได้ทูลเสนอ จูหยวนจาง หลายครั้งเรื่องการรับ ซือไน่อัน เข้าเป็นผู้ติดตามเขา แต่กลับเป็น ซือไน่อัน เองที่ปฎิเสธมาการเข้ารับราชการอีกครั้ง โดยมักจะอ้างตัวว่า สุขภาพไม่ดี นักประวัติศาสตร์ ยืนยันว่า สถานที่ในนิยายเรื่องซ้องกั๋งนั้น ส่วนใหญ่จะอยู่ย่านแถบเมืองซูโจว

ความสามารถของซือไน่อัน ไม่เป็นรองใครในแผ่นดิน เขาเก่งทั้ง งานประพันธ์ แตกฉานวิชาแพทย์ ตรวจดูดวงชะตา และฮวงจุ้ย นอกจากนี้ เขายังมีวิชากังฟูติดตัวอีกด้วย

ปราบนักเลงโรงน้ำชา
ตำนานเล่าว่า ครั้งหนึ่ง ช่วงต้นราชวงศ์หมิง ซือไน่อัน ไปนั่งจิบน้ำชาที่โรงเตี๊ยม แต่กลับมีนักเลงมาก่อความวุ่นวายในโรงเตี๊ยม ซือไน่อันจึงเดินไปตักเตือน กลุ่มนักเลงไม่พอใจ จึงได้หยิบพลองเหล็กหวดไปที่ซือไนอัน แต่ซือไนอัน เอียวตัวหลบได้ และถีบไปที่นักเลงคนนั้น ทำให้นักเลงเสียหลักล้มลง ซือไน่อันจึงหยิบพลองเหล็กพาดไปที่นักเลงคนนั้นแทน ทำให้นักเลงต้องวิ่งหนีไป

ปราบนักเลงเทศกาลโคมไฟ
อีกครั้งหนึ่ง ซือไน่อัน เดินไปเที่ยวเทศกาลโคมไฟ ได้พบกับนักเลงกำลังลวนลามหญิงสาว เขาจึงเดินไปตักเตือนอันธพาล แล้วจับนักเลงเหวี่ยงกระเด็นออกไป ทำให้นักเลงต้องรีบวิ่งหนีไป

แต่ 2-3 วันถัดมา กลับยกพวก 7-8 คนมาเพื่อล้างแค้น ซื่อไน่อัน แต่ ซื่อไน่อัน กลับไปหยิบเชือกมามัดผูกกับขาข้างหนึ่งของเขาเอง แล้วให้อันธพาล 7-8 คนช่วยกันดึง เพื่อลากขาของเขา แต่ทั้ง 7 คนกลับไม่สามารถดึงขาของ ซือไน่อัน ให้ขยับเขยื้อนได้ เมื่ออันธพาลเห็นดังนั้น จึงเข้าใจแล้วว่า พกเรากำลังพบกับยอดฝีมือ จึงได้ขอโทษแล้วรีบหลบหนีไป

จากหลักฐานต่างๆ สรุปได้ว่า ซือไนอัน มีตัวตนจริง แต่ชื่อ ซือไน่อัน อาจไม่ใช่ชื่อจริง เป็นเพียงฉายา

ปริศนา ซ้องกั๋ง ‘108 ผู้กล้าแห่งเขาเหลียงซาน’
จริง 3 ส่วน แต่ง 7 ส่วน"

เรามาเข้าประเด็นหลักของวันนี้ ว่า ซื่อไน่อัน นั้น เป็นคนแต่งเรื่อง ซ้องกั๋ง หรือ ฉุยหู่จ้วน (จีน: 水滸傳; พินอิน: Shuǐhǔ Zhuàn) หรือในชื่อไทยว่า   108 ผู้กล้าแห่งเขาเหลียงซาน จริงหรือไม่

ก่อนอื่นของเล่าเรื่องย่อ ของเรื่อง ซ้องกั๋ง  เนื้อเรื่อง เกี่ยวกับ การรวมตัวกันของกลุ่มโจร 108 คนในช่วงรัชสมัย ฮ่องเต้ ซ่งฮุ่ยจง ที่ขึ้นชื่อว่า ยุคบ้านเมืองอ่อนแอ ฮ่องเต้ไม่มีคามสามารถ โดนขุนนางกังฉินคอยเป่าหู และใช้อำนาจไปอย่างมิชอบ โดนเฉพาะขุนนางกังฉิน ชื่อ เกาฉิว

โดยตอนแรกจะเป็นเรื่องราวการรวมตัวของเหล่าผู้กล้า และชีวประวัติของแต่ละตัวละคร โดยมีตัวละครเอกคือ ซ้องกั๋ง หรือ  ซ่งเจียง(宋江) ที่มีฉายา หยาดพิรุณทันกาล ที่อาจจะมีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ เพราะมีชื่อปรากฎในพงศาวดารราชวงศ์ซ่ง รวมถึง ในชีวประวัติของ จางซูเย่ ที่ระบุการก่อการต่อต้านรัฐบาลของซ่งเจียง

แต่ในนิยายระบุว่า  เขาหัวหน้ากลุ่มโจร ที่มีหัวหน้าใหญ่ 36 คน และหัวหน้ารอง 72 คน ซึ่งนำมาจาก นิทานสุ่ยหู่ (水浒故事)ซึ่งนิทานพื้นบ้าน ที่ไม่ปรากฎชื่อผู้แต่ง จึงเกิดประเด็นสงสัยว่า ซือไน่อัน นั้นเป็นผู้แต่งนิยาย เรื่อง ซ้องกั๋ง เองทั้งหมด หรือ เป็นเพียงคนรวบรวม นิทานพื้นบ้านเหล่านี้เท่านั้น

สิ่งถัดมาคือ ตัวละครทั้ง 108 คนนั้น มีประวัติความเป็นมา เหมือนกันหมด คือ ทุกคนถูกขุนนางกลั่นแกล้ง กดขี่ข่มเหง จึงหนีออกมารวมตัวเป็นโจร ที่เขาเหลียงซาน เพื่อปราบเหล่าขุนนางชั่ว โดยในตอนแรกจะเ้นไปที่ การรวมกลุ่มและประวัติของแต่ละคน เช่น พระหลู่จื้อเซิน สื่อจิ้น หลินชง อู่ซ่ง (บู๊ซ้ง) หลี่ขุย ซ่งเจียง เป็นต้น แต่ช่วงกลางเรื่องถึงท้ายเรื่อง กลับเปลี่ยนเป็น กลุ่มโจรเข้ารับราชโองการจากฮ่องเต้ ซึ่งความจริงเป็นแผนของเกาฉิว เพื่อหลอกให้ไปปราบกลุ่มกบฎต่างๆ แต่กลับพลาดท่าเสียที ผู้กล้าหลายคนต้องเสียชีวิตเป็นอันมาก

โดยในตอนจบนั้น เมื่อปราบกบฎได้หมด ซ่งเจียง ก้ได้รับพระราชทานเหล้าจากฮ่องเต้ แต่เกาฉิว กลับแอบใส่ยาพิษลงไปในเหล้า ทำให้ซ่งเจียงนั้นเสียชีวิต และไม่สามารถรวมกลุ่มผู้กล้าได้อีกต่อไป

โดยในตอนจบนั้น ให้ อ่องเต้ ซ่งฮุ่ยจง ฝันว่า เหล่าผู้กล้าแห่งเขาเหลียงซานนั้น แท้ที่จริง เป็น เทพยาดาจุติลงเกิดเพื่อปราบยุคเข็ญ เมื่อพวกเขาได้พบกัน ก็สาบานตัวเป็นพี่น้องกัน และกล่าวประนามฮ่องเต้ว่า อ่อนแอ หูเบา พร้อมจะรุมทำร้ายฮ่องเต้ ทำให้ฮ่องเต้ซ่งฮุ่ยจง ต้องสะดุ้งตื่น

ใครแต่งกันแน่
ตามที่อธิบายไว้ตอนต้น เรื่องตอนต้นเรื่องนั้น เป็นการรวบรวมชีวประวัติจากนิทานพื้นบ้าน ที่ปรากฎในพงศาวดารจริง แต่ส่วนหลังนั้น กลับเป็นเรื่องการทำสงครามปลีกย่อย ที่ใช้ตัวละครจำนวนมาก

โดยในส่วนแรกนั้น ได้อธิบายแล้วว่า ตัวละครบางตัวนั้นได้ปรากฎชื่อในพงศาวดาร มาบ้างแล้ว และมีเนื้อเรื่องที่คล้ายกับนิทานพื้นบ้านสุ่ยหู (水浒故事)ที่ไม่ปรากฎชื่อผู้แต่ง แต่ ในเรื่องพี่น้องทั้ง 36 คน แรกเริ่ม นั้น กลับปรากฎในชื่อ หนังสือ กุ่ยซินจ๋าซือ (癸辛雜識) แต่งโดยโจวมี่ (周密) ราวคริสตศตวรรษที่ 13 สมัยราชวงศ์ซ่งใต้ โดยกล่าวถึงตัวละครหลักๆ เช่น ซ่งเจียง หลูจุ้นอี้ อู๋ย่ง กวนเซิ่ง สามพี่น้องหย่วน หลิ่วถัง ฮัวหยง

ทำให้เชื่อว่า ตัวละครรอง คือ 72 คนนั้น น่าจะถูกแต่งในภายหลัง หรืออาจเป็น นิยายพื้นบ้านที่ถูกรวบรวมเพิ่มขึ้น แต่เรื่องนี้นั้นถูกเล่าต่อๆ กันมา

สิ่งนี้เองทำให้ผู้คนสงสัยว่า ผู้แต่งเรื่อง “ซ้องกั๋ง” (宋江) อาจจะเป็นลูกศิษย์ของซือไน่อัน คือ  หลัวก้วนจง  (罗贯中) มากกว่า เพราะมีการศึกษาผลงานเรื่อง “ซันซุ่ยผิงเยาจ้วน” (三遂平妖传) พบว่ามี 13 บทในเรื่องนี้ที่ถูกนำไปใส่ไว้ในเรื่อง ซ้องกั๋ง  แสดงให้เห็นว่า “ซ้องกั๋ง” อาจจะเป็นผลงานของ หลัวก้วนจง

โดยเฉพาะการค้นพบประโยคที่ว่า “ซือไน่อัน แต่ง  หลัวก้วนจง เรียบเรียง” ในหนังสือ “จงอี้สุยหู่จ้วนอี้ไป่เจวี้ยน” (忠义水浒传百卷) ซึ่งเป็นต้นฉบับของเรื่อง ซ้องกั๋ง  นอกจากนี้ ยังพบประโยคที่ว่า “ซือไน่อันรวบรวม หลัวก้วนจงแก้ไข”  ในหนังสือ “ซ้องกั๋ง” ของ เทียนตูไว่เฉิน (天都外臣) ซึ่งเป็น “ซ้องกั๋ง” ฉบับที่เก่าที่สุดที่ยังพบได้ในปัจจุบัน  เพราะฉะนั้น  ข้อสันนิษฐานนี้จึงมีความน่าเชื่อถือ อย่างน้อย ก็น่าจะเป็นผลงานร่วมกันมากกว่า

โดยนักประวัติศาสตร์เชื่อว่า  เนื้อเรื่องเดิม น่าจะมีเพียง 36 คน ต่อมาจึงเพิ่มให้ครบ 108 ตามความเชื่อเรื่องโชคชะตาในลัทธิเต๋ามากกว่า

อีกทฤษฎีชื่อว่า ซือไน่อัน นั้นเป็นคนแต่งส่วนแรก ต่อมาเนื้อหาส่วนหลังนั้น น่าจะถูกแต่งโดย หล่อก้วนจง เพราะสังเกตุจากท้ายเรื่องนั้น มันเป็นการทำศึกขนาดใหญ่ มีการใช้เล่ห์เหลี่ยม และมีการกระจายบทตัวละครย่อยเป็นอันมาก ที่มีลักษณะการประพันธ์เหมือน สามก๊ก อย่างชัดเจน

นักประวัติศาสตร์จับผิดเรื่องยุคสมัย
นักประวัติศาสตร์ศึกษาช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์ในนิยายเรื่อง “ซ้องกั๋ง” กลับพบว่า บางเหตุการณ์เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในยุคของ ฮ่องเต้ เจียจิ้ง (嘉靖年间) หรือ หมิงซื่อจง ราชวงศ์หมิงนั้นมี หมิงซื่อจง 2 คน อีกคนเป็นคนสุดท้ายราชวงศ์หมิง

แต่ซือไน่อัน นั้นอยู่ในยุคของ จูหยวนจางที่เป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์หมิง ซึ่งเป็นยุคก่อน ฮ่องเต้เจียจิ้ง ถึง 100 ปี โดยเฉพาะลักษณะการปกครอง และลัทธิเต๋า ที่เฟื่องฟูในกลางยุคราชวงศ์หมิง นั้น ไม่มีทางเกิดขึ้นได้ในยุคของซือไน่อัน  จึงเป็นอีกข้อสันนิษฐานว่า คนแต่งอาจอยู่ในยุคกลางราชวงศ์หมิงมากกว่า นั่นคือ กัวซวิน (郭勋) เพราะ “ซ้องกั๋ง” ฉบับหนึ่งร้อยตอน ของกัวซวิน ควรจะเป็นฉบับแรกสุด

เพราะในยุค ฮ่องเต้เจียจิ้ง นั้น เนื่องจากนิยายเรื่องนี้ เน้นไปที่การปลุกระดมการต่อต้านรัฐบาลที่ปกครอง ทำให้ผู้แต่ง อาจต้องการปกปิดชื่อเนื่องจากหลีกเลี่ยงการับโทษจากนิยายที่เขียนก็เป็นได้ จึงไปยืมชื่อของคนในอดีตมาแทน

โดยนิยายเรื่องนี้ กลับถูกแบนในช่วงระยะเวลาของ ฮ่องเต้ ฉงเจิน หรือ หมิงซื่อจง อีกคน ซึ่งเป็นรัชกาลสุดท้ายของราชวงศ์หมิง เนื่องจากเกิดกบฎไพร่ ที่นำโดย หลี่จื้อเฉิง  (李自成 1606 - 1645?)

สุดท้าย  ปริศนาที่ว่า ซือ ไน่อัน เป็นผู้แต่งวรรณกรรมเรื่อง “ซ้องกั๋ง” จริงหรือไม่นั้น ก็ยังคงมีข้อสงสัยอยู่อีกหลายจุด  และปริศนานี้จะคลี่คลายเมื่อไร  ก็ยังมิอาจทราบได้ อย่างไรก็ดี กระแสหลักยังคงยอมรับกันว่า ซือไน่อัน นั้นเป็นผู้แต่งเรื่อง สุยหูจ้วน หรือ 108 ผู้กล้าแห่งเขาเหลีียงซาน

ซ้องกั๋ง กับนิยายกำลังภายใน
สุ่ยหู่จ้วน ฉบับเต็มนั้นจะมีความยาว 120 บท โดยเวอร์ชั่นที่ได้รับการตีพิมพ์อย่างแพร่หลายในรัชสมัยราชวงศ์หมิงั้น หยางติ้งเจี้ยน(楊定見) เป็นผู้เรียบเรียง แต่ในเวอร์ชั่นของชาวตะวันตกจะเหลือเพียง 100 บาท นั่นถือขาดตอน ปราบกบฎเถียนหู่ และหวังชิ่ง

แต่เวอร์ชั่นของไทยที่แปลโดย สมเด็จเจ้าพระยาบรมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) นั้นจะแปลมาจากเวอร์ชั่น 120 บท เพราะมีเรื่องราวตอนปราบกบฏเถียนหู่และหวังชิ่งอยู่ด้วย

แต่เวอร์ชั่นที่นิยมอ่านกันจริงๆ จะเป็นเพียงเวอร์ชั่น 70 บท ที่จบเพียงแค่รวบรวมผู้กล้าครบ 108 คนเท่านั้น ขณะที่มีการแต่งเสริมเติมแต่งในฉบับต่างๆ หรือเรียกว่า Spin Off  ออกมาอีกมามาย ตั้งแต่ยุคราชวงศ์หมิง มาจนถึงราชวงศ์ชิงกันเลยทีเดียว

ขณะที่ นิยายกำลังภายในยุคใหม่ ก็มีการกล่าวอ้างนิยายเรื่อง 108 ผู้กล้าเขาเหลียงซาน เช่นกัน  ยกตัวอย่างเช่น

ก๊วยเซาเทียน บิดาของก๊วยเจ๋งในเรื่องมังกรหยกของกิมย้ง สืบเชื้อสายมาจากกัวเซิ่ง ฉายาบัณฑิตมือวิเศษ ของจูชง

ขณะที่ หนึ่งในเจ็ดประหลาดกังหนำ ฉายา นักปราชญ์มือวิเศษ  ก็มาจากฉายาของ เซียวย่าง ที่ใช้พู่กันเป็นอาวุธ

ในตอนท้ายเรื่องมังกรหยกภาคสอง อึ้งเอี๊ยะซือนำกลยุทธ์ เหลียนฮวนหม่า  ของ ฮูเหยียนจั๋ว มาประยุกต์ใช้ในการศึกกับมองโกลที่เซียงเอี๊ยง นอกจากนี้ ฮูเหยียนจั๋ว ยังเคยบุกเขาดอกท้อ ของหลี่จง กับโจวทง อีกด้วย

เซี่ยวลี้ปวยตอ มีดบินไม่พลาดเป้าของโกวเล้ง ดูเหมือนจะมีต้นแบบมาจาก มีดบินของหลี่อิง (ตัวละครเอกที่ แซ่หลี่ เหมือนกัน)

ตัวอย่างที่น่าสนใจของ อุนสุยอัน อีกสองเรื่องคือ หลวงจีนที่หลงรักสตรี และ สตรีที่หลงรักหลวงจีนนอกจากนี้ ชื่อฉายาของชาวยุทธในนวนิยายกำลังภายในของนักเขียนอีกหลายคน ยังดัดแปลงมาจาก นิยายเรื่อง 108 ผู้กล้าเขาเหลียงซานอีกด้วย