วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

จีน (ฺBC600-1200) ตัวจริง มังกรหยก - สำนักชวนจินก่า (ฉวนเจิน)

สำนักฉวนเจิน (全真教) หรือฉวนเจินเต้า (อักษรจีน: 全真道) เป็นลัทธิเต๋าสำนักหนึ่งที่นักพรตหวัง ฉงหยาง (จีนกลาง) หรือเฮ้งเต็งเอี้ยง  ก่อตั้งขึ้นทางตอนเหนือของจีนราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 ในสมัยราชวงศ์จิน เมื่อจักรวรรดิมองโกลรุกรานจีนสมัยราชวงศ์ซ่งในปี ค.ศ. 1254 นักพรตเต๋าสำนักนี้มีบทบาทสำคัญในการปกป้องสันติภาพ จนสามารถรักษาชีวิตของประชาชนโดยเฉพาะชาวฮั่นได้หลายพันคน

ปุพื้น ลัทธิเต๋า
ในยุคศตวรรษที่ 5 นั้น หลายศาสนาต่างหลั่งไหลเข้าประเทศจีน โดยมีทั้ง โชโรอัสเตอร์  ศาสนาพุทธ ขณะที่ภายในประเทศ จีน เอง ก็มีการพัฒนาแนคิดปรัชญาขึ้นเอง นั่นคือ เล่าจื้อ และ ขงจื้อ ที่พยายามหล่อหลอมชีวิตความเป็นอยู่ของชาวจีนที่มีมากกว่า 2000 ปีเข้ากับแนวความคิดปรัชญาของลัทธิตนเอง

เหล่าจื้อ หรือเล่าจื้อ
จุดเริ่มต้นของลัทธิเต๋า คือ เล่าจื้อ ที่เกิดเมื่อ 604 ปีก่อนคริสตกาล ตำนานกล่าวว่า ตอนเกิด ท่านก็แก่อายุ 72 ปีแล้ว โดยเฉพาะเป็นเด็กก็มีผมหงอกแล้ว นั่นเป็นที่มาของชื่อ เล่าจื้อ ที่แปลว่า เด็กแก่ หรือ ครูเฒ่า นั่นเอง

เดิมท่านเป็นชาวรัฐฉ้อ ตำบลหลี ชื่อเดิมที่แท้จริง ชื่อ ยื้อ แซ่ลี้  ต่อมา เมื่อท่านได้งานทำเป็นบรรณารักษ์ของหอสมุดหลวง ในราชสำนักจิว ชื่อเสียงก็เริ่มโด่งดัง เนื่องจาก สติปัญญาของท่านสูงส่งกว่าคนทั่วไปอย่างชัดเจน ครั้งหนึ่ง ขงจื้อ เดินทางมาพบเล่าจื้อ เล่าจื้อได้กล่าวว่า "กลับไปเสียเถิด แล้วท่านก็ควร ลด ละ เลิก ความหยิ่ง ความอยาก ของท่านด้วยนะ"

แนวคิดของ เล่าจื้อ คือ ท่านไม่ชอบชีวิตที่หรูหรา ชอบใช้ชีวิตสบายๆ โดยมองว่า ทุกคนมุ่งมั่นที่จะสร้างชื่อเสียง เงินทองและอำนาจ ทำให้ทั้งเมืองเต็มไปด้วย คนขี้โกง เมื่อเบื่อหน่ายโลกแล้ว ท่านจึงนั่ง เกวียนเทียมวัว มุ่งหน้าไปยังธิเบต พอถึงประตูเมือง นายประตูขอให้ท่านช่วยเขียนปรัชญาการแห่งการใช้ชีวิต ท่านจึงได้เขียนตำรา อักษรจีน จำนวน 5,500 ตัว  ก่อนที่ท่านจะเดินทางหายไป โดยที่ไม่มีใครพบท่านอีกเลย

คัมภีร์ เต๋าเต๋อจิง 
ชื่อคัมภีร์ที่ท่านเล่าจื้อเขียนไว้ คือ  เต๋า-เต๋อ-จิง แปลว่า คัมภีร์แห่งมรรค และพลัง โดยคำว่า เต๋า ทุกวันนี้ก็ยังมีคนตีความหมายของมัน บางคนแปลว่า หนทาง หรือ มรรค ขณะที่บางคนแปลว่า เต๋า คือ จุดกำเนิด และ จุดดับของทุกสรรพสิ่ง โดย มันคือพลังที่หลั่งไหลไปทั่ว แต่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ พลังจะไหลเวียนจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งเสมอ ดังนั้น เต๋า จึงไม่ใช่ศาสนา แต่เป็นเพียง ปรัชญาธรรม เท่านั้น

แนวคิดหลักคือ การพยายามใช้ชีวิตร่วมกับธรรมชาติ ตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไป ไม่ว่าจะ ขบนธรรมเนียมประเพณี สิ่งของใช้ฟุ่มเฟือย และ สิ่งที่ฝืนธรรมชาติ ออกไปให้หมด โดยพยายามใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และสงบ แต่ต่อมากลับมีคนไปตีความ จุดกำเนิดแห่งสรรพสิ่งและพลัง  ซึ่งนำไปรวมกับไสยศาสตร์และความเชื่อโบราณ จนทำให้ระยะหลัง ลัทธิเต๋า ถูกมองว่า เป็นเรื่องไสยศาสตร์ไป

ในนิยายกำลังภายใน
ในนิยายกำลังภายในเรื่อง "มังกรหยก" ของกิมย้ง สำนัก ช้วนจินก่า เป็นสำนักนักพรตเต๋าที่ เฮ้งเตงเอี้ยงก่อตั้ง มีศิษย์น้องชือ จิวแปะทง ฉายาเฒ่าทารก และลูกศิษย์อีก 7 คน  ภายหลังถูกพวกมองโกลบุกและทำลาย สำนักจึงสูญหายไปจากยุทธภพ

เรื่องจริง ในประวัติศาสตร์
เฮ้งเตงเอี้ยง หรือ หวังฉงหยาง (จีนกลาง) หรือฉายา "ผู้อยู่ท่ามกลางความสว่างไสว" ถูกเอ่ยชื่อถึงในมังกรหยก เดิมชื่อ ก่อออกบวช คือ เฮ้ง เฮ่าเนี่ยม หรือ หวังจงฟู่ (จีนกลาง)  เกิดในรัชสมัยซ่งเหนือ ในรัชสมัยของฮ่องเต้ ฮุ่ยจง ครอบครัวมีฐานะ วัยเด็กได้รับการฝึกสอนศาสตร์ทุกแขนง เคยเข้าสอบจอหงวนสายบุ๋น หลายรอบ แต่สอบไม่เคยได้ ต่อมาจึงหันมาเอาดีด้านบู๊ แทน สามารถสอบจอหงวนบู๊ได้อันดับหนึ่ง ดังนั้น ในนิยาย มังกรหยก ที่เฮ้งเต็งเอี้ยงได้ เป็นอันดับหนึ่งในยุทธภพ นั้น เป็นเรื่องไม่เกินจริงไปนัก

ตำนาน เล่าว่า เฮ้งเฮ่าเนียม ได้พบกับ ปรมาจารย์ลัทธิ เต๋า ชื่อ จงลี่เฉวียน (鍾離權)และหลวี่ตงปิน(呂洞賓)หนึ่งในคณะแปดเซียน ( เป็นบัณฑิตในรัชสมัยถัง แต่ลัทธิเต๋าจัดให้ท่านอยู่ใน กลุ่มโป๊ยเซียน โดยมักแสดงเป็นบัณฑิตที่ เหน็บกระบี่เพื่อปราบภูตผีปีศาจ) ท่านจึงได้ชักชวนให้บำเพ็ญตน และสั่งสอนหลักวิชาเต๋าให้เฮ้งเฮ่าเนียม

ต่อมาจึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น เฮ้งเตงเอี้ยง ตามชื่อเทศกาล เต็งเอี้ยง (วันที่ 9 เดือน9 ) และตัดขาดลูกเมีย ออกบำเพ็ญตน โดยอาศัยอยู่ที่ เขาจงน้ำ (จงหนาน ในภาษาจีนกลาง) โดยเรียกดินแดนนี้ว่า สุสานคนเป็น เนื่องจาก แม้มีชีวิตอยู่แต่ไม่สนใจโลกีย์วิสัยอีกต่อไป ผ่านไป 7 ปี เมื่อสำเร็จธรรมขั้นสูงแล้ว จึงเปลี่ยนชื่อเป็น เฮ้งเอี้ยงจื่อ (ผู้สว่างไสว ดุดดวงอาทิตย์) และได้รับศิษย์ทั้งหมด 7 คน ทั้ง 7 คนได้บรรลุธรรมเช่นกัน

โดยยุคสมัยนั้น กิมก๊ก (บรรพบุรุษของมองโกล) ได้บุกตีแผ่นดินซ้อง หรือซ่ง เฮ้งเตงเอี้ยง ได้ร่วมกับ สำนักลัทธิเต๋าอื่นๆ ต่อต้านทหารกิมก๊ก ตำนานเล่าว่า มีคนชื่อ จิวแป๊ะทง ชาวเมือง หนิงไฮบ้านเดียกับ เบ๊เง็ก  มาเชิญท่านไปเทศนาธรรม และให้พำนักอยู่ที่อารามกิมเหลียน (ดอกบัวทอง) แต่ตกกลางคืน กลับมีแสงเพลิงลุกโชนขึ้นผู้คนต่างตกใจ  เมื่อผู้คนไปมุงดูเหตุการณ์ กลับพบว่า เฮ้งเตงเอี้ยง ท่านกำลังเดินอยู่บนกองเพลิง จึงไ้ดฉายาว่า ผุ้อยู่ท่ามกลางความสว่าง

อย่างไรก็ดี สำนักฉวนจิน หรือชวนจินก่า นั้นที่แปล่า "ทุกสิ่งล้วนเป็นสัจจะ"  โดยเป็นการผสมแนวคิดระหว่าง ลัทธิเต๋า ขงจื้อ และ พุทธ มากกว่า เพราะ นักบวชใน ลัทธิเต๋า นั้น สามารถแต่งงานมีภรรยา และลูกได้ แต่นักบวชในนิกาย ชวนจินก่า จะเข้มงวดกว่า เพราะนักบวช ชวนจินก่า ต้องถือศีล คล้ายพระสงฆ์ คือ ต้องรักษาพรมจรรย์ ไม่เขียนยันต์ปลุกเสก ไม่เล่นแร่แปรธาตุ เน้นเพียงศึกษาธรรมะ และฝึกลมปราณ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงเท่านั้น อย่างไรก็ดี  เฮ้งเตงเอี้ยงนั้น เสียชีวิตเมื่ออายุเพียง 58 ปีเท่านั้น

7 ศิษย์ช้วนจินก่า
มีปรากฏว่า ในบันทึก หนังสือ ซื้อปิ้ง (วิพากษ์คำร้อยกรอง) ในสำนักช้วนจินก่า มีบุคคลเด่นล้ำทั้งสิ้น 7 คน คือ ช้วนจินฉิกจื้อ หรือ เจ็ดผู้ล้วนจริง ประกอบไปด้วย นักพรตทั้ง 7 แห่งนิกาย ช้วนจินก่า ซึ่งเป็นศิษย์ที่ได้รับการถ่ายทอดฝีมือจาก เฮ้งเต็งเอี้ยง โดยตรง ดังนี้

เบ๊เง็ก ฉายา ตั้งเอี้ยงจื้อ - เจ้าสุริยัน ศิษย์คนที่ 1 ของเฮ้งเต็งเอี้ยง และเป็นเจ้าสำนักต่อจากเฮ้งเต็งเอี้ยง

คูชู่กี 
丘處機 ฉายา เชี่ยงชุนจินหยิน-อริยบุคคลผู้เป็นอมตะ  ในนิยายจะเป็นผู้มีพลังฝีมือสูงสุดในบรรดานักพรตทั้ง 7 คน เขาเป็นคนตั้งชื่อให้กับ เอี๊ยคัง และ ก๊วยเจ๋ง อีกด้วย

ตัวจริง เขามีชีวิตอยู่ช่วง ปี 1148-1227 โดยอดีต ถูกเข้าใจผิดว่า เป็นผู้แต่งนิยายเรื่อง ไซอิ๋ว อีกด้วย  เนื่องด้วย เคยเดินทางไป พบเจงกิสข่าน แถว อุเบกิซสถาน โดยลูกศิษย์ของท่าน นำมาเขียนเรื่อง เชี่ยงชุนจินหยินไซอิ๋วกี่ โดยที่คำว่า ไซอิ๋วกี่ ที่แปลว่า บันทึกการเดินทางไปตะวันตก นี่เองที่ไปพ้องกับเรื่อง ไซอิ๋ว ที่แปลว่า การเดินทางไปตะวันตกเช่นกัน  คนรุ่นหลังยุคหนึ่ง จึงเข้าใจผิดว่า ท่านเป็นคนแต่งเรื่อง ไซอิ๋ว

ประวัติการเเดินทางไปตะวันออกลาง มีดังนี้ ในช่วงศตวรรษที่ 12 นั้นแผ่นดินจีน แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ จิน ซ่ง และ มองโกล โดยเดิมท่านคิวชูกี่ ถือเป็นนักปราชญ์ ที่ ทั้ง 3 ดินแดนต่าง เดินทางมาเชิญให้ท่านไปอยู่ด้วย แต่ ท่านไม่ยอมไปอยู่ด้วย โดยตอนนั้น ท่านอายุถึง 73 ปีแล้ว  ถัดมา เตมูจิน หรือ เจงกิสข่าน นั้นต้องการ วิถีแห่งการเป็นอมตะ และปรัชญาการปกครอง จึงได้ส่งหนังสือเชิญท่านไปอยู่ด้วย โดยในหนังสือเขียนด้วยถ้อยคำง่ายๆ และถ่อมตัว ท่านจึงรับปากเดินทางไปให้คำชี้แนะ

ต่อมาท่านเดินทางไปยังเมืองเยี่ยน (ปักกิ่ง) เพื่อพบท่านเตมูจิน แต่เมื่อไปถึง ท่านเตมูจิน กลับออกไปทำศึกแถวพวก ซาร์มากันต์ (แถว อุเบกิซสถาน) ท่านจึงได้เดินทางนับหมื่นลี้เพื่่อไปพบท่านเตมูจิน ในตำนานระบุว่า ท่านใช้เวลาเดินทางถึง 2 เดือนเศษ นักประวัติศาสตร์เชื่อว่า ท่านคิวชูกี่ ต้องการยั้บยั้งสงครามที่กำลังแผ่ไปทั่วโลก จึงเสี่ยงเป็นเสี่ยงตายยอมเดินทางนับพันลี้ไปยับยั้งสงครามมากกว่า

เมื่อคิวชูกี่เสี่ยงชีวิตไปพบท่าน เตมูจิน พร้อมศิษย์ 18 คน แต่ท่านได้แนะนำเตมูจินว่า "ผู้ปรารถนาพิชิตใต้หล้า ยอมไม่ชมชอบการฆ่าฟัน"   เตมูจิน ถามถึงปรัชญาการปกครอง ท่านตอบเพียงสั้นๆ ว่า "เคารพสวรรค์ รักปวงประชา" สุดท้าย เตมูจินถามถึงเรื่อง ชีวิตอมตะ ท่านตอบเพียง "จิตผ่อนคลาย งดเว้นตัณหา"

หลังจากสนทนากัน เตมูจิน นั้นนับถือท่านมาก ถึงกับเรียกท่านว่า เทพคิ้ว  เลยทีเดียว  แม้สงครามจะยังไม่จบสิ้น แต่เตมูจินก็ปรับเปลี่ยนวิธีการทำสงคราม โดยมักจะฆ่าคนที่ไม่ยอมด้วยการฆ่าล้างเมือง เหลือเพียงจับเป็นเชลยเท่านั้น  นอกจากนี้ยังปรับเปลี่ยนกฎหมายเพื่อลดความรุนแรงลง และเมื่อเตมูจินกลับมาที่ปักกิ่ง (เยี่ยน) ในปี 1394  ก็ได้สร้างอุทยานอารามเมฆขาว "ไป๋หยุนกวาน" ที่ยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน ให้กับ สำนักชวนจินก่า เพื่อใช้เป็นฐานในการเผยแพร่แนวคิดลัทธิเต๋า  หลังจากนั้น เตมูจิน ยังส่งสารแสดงความเคารพในตัว เทพคิ้ว อยู่เป็นเนืองๆ อีกด้วย

เฮ้งชู่อิด ฉายา เง็กเอี้ยงจื้อ - อาทิตย์หยก ในสำนักฝีมือเป็นอันดับ 3 รองจากเบ๊เง็กและคูชู่กี
ท่ำชู่ตวน ฉายา เชี่ยงจินจื้อ - คนจริงยืนยาว
เล่าชูเหียน ฉายา เชี่ยงแชจื้อ - คนจีรัง
ฮึ่งไต้ฮง ฉายา ก้วงเล้งจื้อ - ผู้ไพศาล
ซุนปุกยี่ (น่าจะเป็น ภรรยาของ หม่ายู) ฉายา เช็งเจ็งซั่วยิ้น - ผู้วิสุทธิ์พเนจร นักพรตหญิงแห่งชวนจิน

หยิ่นจื้อผิง (尹志平)'หรือ ชื่อในนิยายกิมย้ง คือ  อี่จี้เพ้ง ต่อมาเปลี่ยนเป็น เจินจื้อปิ่ง เนื่องจากการมีตัวตนอยู่จริงนั่นเอง ประวัติตัวจริง คือ  อายุ 14 ได้พบกับท่านเบ๊เง็ก แล้วเลื่อมใส จึงได้สืบทอดวิชาจาก ท่านชิวชู่จี (คิ้วชูกี่) และหวังชู่อี้ (เฮ้งชูฮิด)  โดยเมื่อท่านคิวชูกี เสียชีวิต หยิ่นจือผิง จึงได้รับสืบทอด ลัทธิฉวนเจิน โดยลัทธิเต๋าในยุคของท่านนั้นลักธิเต๋า นั้นกลายเป็นศาสนาประจำชาติมองโกลไป จึงได้รับการสนับสนุนจาก โอเกไดข่าน ลูกคนที่ 3 ของเตมูจิน ต่อมาในปี 1238 จึงได้มอบหมายตำแหน่งต่อให้ หลี่จื้อฉาง ศิษย์อีกคนของ คิวชู่กี่ เป็นผู้สืบทอดสำนักต่อไป และคนนี้เองที่เป็นคนบันทึกเรื่อง ไซอิ๋วกี่ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น