วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2561

ทำไมคนจีนนิยมไหว้เจ้าด้วย ส้ม สัปะรด และ ทับทิม

ทำไมคนจีนนิยมไหว้เจ้าด้วย ส้ม สัปะรด และ ทับทิม

หลายคนสงสัย เกี่ยวกับ ชนิดหรือประเภทของผลไม้ที่นำมาไหว้พระบูชาเทพ คนโบราณมักนิยมเอาชื่อหรือคำพ้องต่างๆเข้ามาเป็นนัยหรือเป็นเคล็ดในการไหว้ ทั้งนี้เพื่อให้รับรู้ถึงความเป็นมงคลในการเซ่นไหว้เทพยาดา

แต่สำหรับพิธีกรรมการเซ่นไหว้แล้ว ต้องแยกออกเป็น 2 ส่วน

กรณีที่จัดเครื่องไหว้พระพุทธเจ้า , พระโพธิสัตว์ ฯลฯ ไม่มีข้อห้ามในเรื่องของชื่อ หรือ คำพ้องเกี่ยวกับผลไม้หรือของไหว้ต่างๆแต่อย่างใด สามารถนำมาเซ่นไหว้ได้หมด ไม่มีข้อห้ามใดๆ    
เว้นแต่ห้ามถวายเครื่องคาวทุกชนิดเท่านั้น 

กรณีที่เซ่นไหว้เทพ , ไหว้เจ้า , เจ้าที่และบรรพบุรุษ ชื่อและคำพ้องของผลไม้หรือสิ่งของที่นำมาไหว้ จะมีความนัยสำคัญ และ ยึดถือกันอย่างจริงจัง เช่น กรณีสิ่งของที่มีสีขาวล้วน ไม่ว่าจะเป็นขนมคาวหวาน , ผลไม้   ก่อนที่จะนำไปเซ่นไหว้เทพ ,  ไหว้เจ้า , เจ้าที่และบรรพบุรุษ   จะต้องหากระดาษสีแดงหรือสีน้ำแดง(สีที่ผลิตเพื่อเสริมในอาหาร) มาคาดมาแต้มให้สิ่งของเหล่านั้นมีสีแดงเสียก่อนหลายคนคงเคยสังเกตเห็นว่า ทำไมซาลาเปาหรือหมั่นโถที่มีแป้งสีขาว จะต้องมีสีชมพูหรือสีแดงแต่งแต้มเอาไว้เสมอ นั่นก็เป็นเพราะคติความเชื่อข้างต้นนี่เอง 

เหตุที่เจาะจงเป็นสีแดง   เพราะชาวจีนเชื่อกันว่า สีแดงคือสีมงคล , สีสวัสดิโชค สีแห่งความมีชีวิตชีวา และเป็นสีแห่งความร่าเริงสดชื่นดุจสีของพระอาทิตย์พระจันทร์ 

และนี่คือ ผลไม้ที่ควรนำมาไหว้ เจ้าที่ เทวดา และบรรพบุรุษ

ส้ม
ส้ม หมายถึง ความมีโชคดี ประสบแต่สิ่งดีๆ เป็นสิริมงคลแก่ตนและครอบครัวส้ม (จวี๋) คือ สิ่งที่เป็นมงคลที่สุด เป็นความมงคลสิ่งแรกนั้นก็คือ ชื่อว่า จวี๋ คือ ความโชคดี เพราะสีของส้มหมายถึง สีทอง ชาวจีนจึงให้ความนิยมมากเป็นพิเศษ เหมือนกับการมอบทองให้แก่กัน


สับปะรด
ภาษาจีนคือ ฮ่งไล้ หมายถึง โชคดีกำลังจะมาถึง คำว่า ฮง แปลว่า เฮง  ไล้ แปลว่า กำลังมา อั้งไล้ แปลโดยรวมหมายถึง โชคลาภกำลังจะมาหา การมอบสับปะรด ถือเป็นการอวยพรให้ผู้รับ มีโชคลาภ มั่งคั่งร่ำรวย กิจการเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า

ทับทิม 

ชาวจีนเชื่อว่า ทับทิม เป็นเครื่องหมายแห่ง ความอุดมสมบูรณ์ และ การมีลูกหลานมากมาย โดยยืดถือจากผลของทับทิมมีเมล็ดมากมายมาเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์อย่างมากมายนั่นเอง ชาวจีนจึงนิยมให้ทับทิมเป็นของขวัญวันแต่งงาน เพื่อเป็นการอวยพรให้คู่บ่าวสาวมีลูกมากๆ ไว้สืบตระกูล

สาลี่
สาลี่ มีนัยหมายถึงการรักษาคุณงามความดีเอาไว้อย่างมั่นคง หรืออีกนัยหนึ่ง, เป็นการรักษาซึ่งโชคลาภเงินทองมิให้เสื่อมถอย ฯลฯ

องุ่น
ผลองุ่น มีนัยหมายถึงความเจริญรุ่งเรืองทั้งหน้าที่การงานและชีวิตครอบครัว เข้าทำนองว่าทำมาค้าคล่องท้องอิ่ม ฯลฯ

แอปเปิ้ล

แอปเปิ้ล มีนัยหมายถึง การมีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์ ปราศจากโรคาพยาธิมาเบียดเบียน มีสุขภาพแข็งแรงไม่เจ็บไม่ไข้ ฯลฯ

พลับ
ผลพลับ มีนัยหมายถึงจิตใจที่หนักแน่น (อยู่ในธรรม) อย่างมั่นคง สามารถล่วงพ้นอุปสรรคนานาได้อย่างราบรื่น, มีความขยันมั่นเพียรเป็นที่ตั้ง ฯลฯ

ส่วนนี่เป็นผลไม้ที่ไม่ควรนำมาไหว้เจ้าที่ 
 เทวดา และบรรพบุรุษ

มะม่วง
มะม่วงในภาษาจีนเรียกว่า “ส่วย” เสียงจะคล้ายๆ กับ “ซวย” ไม่เป็นมงคล

มังคุด

มังคุด เพราะชื่อไทยไปพ้องกับคำคว่า “คุด” ที่ไม่เป็นมงคลในหมู่คนจีน เพราะ “คุด” มีความหมายว่าไม่เจริญงอกงาม

น้อยหน่า

น้อยหน่า เป็นคำพ้องเสียงในภาษาไทย นั่นคือ ทำอะไรแล้วมักมีอุปสรรค เล็กน้อย จุกๆจิกๆ อยู่เสมอๆ 

ลูกท้อ

ลูกท้อ เชื่อกันว่า ทำอะไรแล้ว จะท้อแท้ เบื่อหน่าย ไม่มีกำลังใจ


ระกำ

ระกำ เชื่อกันว่า ทำอะไรแล้ว มักจะไม่ประสบความสำเร็จ

กระดาษเงินกระดาษทอง

กระดาษเงินกระดาษทอง

ประวัติที่มาของการเผา กระดาษเงิน กระดาษทอง แท้ที่จริงเริ่มมาจากรัชสมัย พระเจ้าลังไท่จง (พ.ศ. 1170-1193) แห่งราชวงศ์ถัง ที่พระองค์ส่งเสริมให้มีการเผากระดาษเงินกระดาษทอง ก็คือ ตอนที่ครองราชย์ใหม่ ๆ ด้วยทรงเป็นห่วง เกรงว่าบ้านเมืองจะไม่สงบเรียบร้อย อัครเสนาบดีเว่ยเจิงจึงถวายแผนการว่า ขอให้พระองค์ทรงทำเป็นว่าป่วยหนักแล้ววิญญาณได้ไปท่องเที่ยวในนรก และได้ถูกพวกผีเปรตมากมายห้อมล้อม วิงวอนให้พระองค์ทรงโปรดสงเคราะห์ช่วยเหลือ พระองค์ได้รับปากว่ารอให้กลับเมืองมนุษย์ก่อนแล้วจะหาวิธีส่งเงินทองไปให้พวกเขา ด้วยเหตุนี้จึงได้แนะนำส่งเสริมให้ประชาชนเผากระดาษเงินกระดาษทองสงเคราะห์พวกเปรต

โดยเป็นกุศลโลบายของ พระเจ้าล้งไท่จง เพื่อ สนับสนุนให้เกิดอาชีพ สร้างงานให้ประชาชน และ ให้ประะชาชนสำนึกรู้ว่า นรกมีจริง บาปบุญคุณโทษมีจริง เป็นการเตือนสติไม่ให้ประชาชนกระทำผิดกฎหมาย ด้วยเหตุดังกล่าว จึงส่งเสริมการเผากระดาษเงินกระดาษทอง ประชาชนก็เชื่อคิดว่าเป็นความจริง จึงไม่กล้าทำบาปทำชั่ว บ้านเมืองจึงเกิดความร่มเย็นสงบสุขนับแต่นั้นมา

คนจีนเชื่อกันว่า เมื่อตายไปแล้วจะไปยังอีกภพโลกหนึ่ง เรียกว่า "อิมกัง" ดังนั้นลูกหลานจึงต้องส่งเงินทองไปให้ เพื่อแสดงความกตัญญู ด้วยการไหว้เจ้า แล้วเผากระดาษเงินกระดาษทองไปให้ และการไหว้เจ้ายังเป็นสิริมงคลแก่ลูกหลาน ให้มีความสุขความเจริญ ซึ่งกระดาษเงินกระดาษทองบางแบบใช้ไหว้เจ้า บางแบบใช้ไหว้บรรพบุรุษการเผากระดาษเงินกระดาษทองจะต้องทิ้งไว้สักพัก เพื่อให้ทุกคนได้เส้นไหว้เสร็จ ก็จะทำการ "เหี่ยม" หรือจบเหนือศีรษะ ระหว่างนี้ให้ทำการอธิฐานขอพรไปด้วย แล้วจึงนำไปเผา เมื่อไฟมอดแล้วจึงไหว้ลา เป็นการเสร็จพิธี

การเผา เครื่องใช้ และ คนใช้
เริ่มขึ้นเมื่อพิธีศพกษัตริย์จิวซีจง(周世宗) พ.ศ.1501 พวกข้าราชการทำกระดาษเงินกระดาษทองเผาถวายแล้วใช้กันสืบมา ส่วนเครื่องกระดาษที่ทำเป็นของใช้และเด็กรับใช้นั้น คงเนื่องจากสมัยโบราณ พวกข้าทาสมักจะถูกนำไปฝังทั้งเป็นกับพิธีฝังศพเจ้านายที่ตนอยู่ด้วย ต่อมา(ก่อนสมัยขงจื๊อ)ประเพณีนี้ก็ถูกยกเลิกไปแล้ว คงเอาดินปั้นเป็นรูปคนรูปเครื่องใช้ฝังรวมกับศพ ครั้งเมื่อมีกระดาษจึงทำเป็นกระดาษแล้วเผาให้ผู้ตาย

ประเภทของกระดาษเงินกระดาษทอง


กอจี๊ หรือ จี๊จุ้ย เป็นกระดาษเงินกระดาษทองชิ้นใหญ่ มีกระดาษแดงตัดเป็นลายตัวหนังสือว่า "เผ่งอัน" เป็นคำอวยพร แปลว่า โชคดดีใช้สำหรับไหว้เจ้าที่ ไหว้เทพยดาฟ้าดิน และองค์เทพต่างๆ ปกติจะไหว้คู่กับ กิมเงี้งเต้า

กิมจั้ว หรือ งึ้งจั๊ว หมายถึงกระดาษเงินกระดาษทอง เวลาจะไหว้จะทำเป็นชุด ก่อนไหว้ลูกหลานจ้องนำมาพับเป็นรูปดอกไม้ ใช้ไหว้ได้ทุกอย่าง 


                                    
กิมเต้า หรือ งึ้งเต้า หรือ ถังเงินถังทอง รูปร่างเป็นเหมือนถังกลมๆ ใช้ไหว้เจ้าที่ ไหว้เทพยดาฟ้าดิน 


กิมเตี๊ยว คือ แท่งทอง ใช้ไหว้บรรพบุรุษ ไหว้คนตาย เสมือนว่าเป็นการเผาทรัพย์สมบัติตามไปให้บรรพบุรุษ


ค้อซี คือ กระดาษทอง ก่อนใช้ให้พับเป็นรูปร่างก่อน เช่น พับเป็นเรือ เรียกว่า "เคี้ยวเท่าซี" เชื่อกันว่าการพับเรือ จะให้มูลค่าสูงกว่าการพับอย่างอื่น ใช้ไหว้ได้ทุกอย่าง รวมทั้งไหว้คนตาย โดยเฉพาะ พิธีทำกงเต๊ก ลูกหลานต้องพับ ค้อซี ให้มากที่สุด 



อิมกังจัวยี่ คือ แบงก์กงเต็กนั่นเอง  ปัจจุบัน มีทั้งแบงค์ ทั้งเหรียญ แล้วก็ยังมีออกมาในรูปแบบ สมาร์ทโฟนกระดาษ กระเป๋าสตางค์ เสื้อผ้า ของใช้ที่ทำจากกระดาษ เสมือนเป็นการจำลองสิ่งของเครื่องใช้ เพื่อไหว้และเผาไปให้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วได้ใช้บนสรวงสวรรค์

อ่วงแซจิ่ว ใช้ไหว้บรรพบุรุษ โดยเผาให้เพื่อเป็นใบเบิกทางไปสู่สวรรค์สำหรับผู้ตาย



เต๋าบ้อเพ้า หรือ เพ้า คือ ชุดของเทพเจ้า คล้ายกับที่คนไทยถวายผ้าห่มพระพุทธรูป มีการทำของเจ้าหลายองค์ เช่น ชุดของเจ้าแม่กวนอิม เจ้าแม่ทับทิม พระพุทธ



กิมฮวย เป็นการไหว้เพื่อขอพรจากเทพทุกพระองค์ ในเรื่องยศถาบรรดาศักดิ์จะไหว้คู่กับอั่งติ๋ว ถือว่าเป็นการไหว้เจ้าที่ตี่จู่เอี๋ย กุ๋ยจื๊อบ่อ เทียนโห่วเซี่ยบ้อ กิมกวงเล่าอ๊วงบ้อ ซำเปาฮุกโจ้ว (ซำเสี่ยจู่ฮุก)เทียนตี่แป่บ้อ ฮั่วท้อเซียนซือ ไฉ่ซิ้งเอี๊ย ไท้ส่วยเอี๊ย ส่วนมากการไหว้ด้วย กิมฮวย จะมีการปักบนส้ม และถวายแด่องค์เจ้า เพื่อถือเป็นขององค์เจ้า


ตั้วกิม สำหรับไหว้บรรพบุรุษ  เป็นกระดาษเงินกระดาษทอง ที่ญาติสนิทนำไปไหว้ผู้ตาย ต้องพับเป็นเคียวเท่าซี แต่ห้ามหักท้ายกระดก โดยไหว้ 1 ครั้งมีมากกว่า 48 แผ่นขึ้นไป ต้องมากกว่ากิมจั๋วและอวงแซจี๊ อิมกังจัวยี่ ถือเป็นกระดาษไหว้บรรพบุรุษ และบรรพบุรุษนำไปใช้เพื่อความเจริญรุ่งเรืองต่อลูกหลานอีกด้วย



ตั้วกิม สำหรับไหว้เจ้าที่ และ เทพเจ้า ต่างๆ เป็นกระดาษเงินกระดาษทองขอบส้ม พับเป็นเคียวเท่าซี่ และมีกระดาษแดงแปะตรงกลาง ใช้ไหว้เจ้าที่ ขอเรื่องความสุข การงานเจริญรุ่งเรืองที่ญาติสนิท

วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2561

เทศกาลจีน : เทศกาลกินเจ หรือ เจียะฉ่าย

เทศกาลกินเจ หรือ เจี๊ยะฉ่าย

คำว่า "เจ" ในภาษาจีนทางพุทธศาสนาฝ่ายมหายานมีความหมายว่า "อุโบสถ"  คำดั้งเดิมจะอ้างอิงจากการรักษาศีล 8 หรืออุโบสถศีล นั่นเอง โดยที่ ในทางพุทธเถววาท จะไม่รับประทานอาหารหลังเที่ยงวันไปแล้ว แต่สำหรับพุทธนิกายมหายานนั้น การรักษาอุโบสถศีลจะรวมถึงการไม่รับประทานเนื้อสัตว์ด้วย เราจึงนิยมเรียกการไม่ทานเนื้อสัตว์รวมไปกับการกินเจ

ในปัจจุบันผู้ที่รับประทานอาหารทั้ง 3 มื้อ แต่ไม่กินเนื้อสัตว์ก็ยังคงเรียกว่า "กินเจ" ดังนั้นความหมายของคนกินเจ ไม่เพียงแต่ไม่ทานเนื้อสัตว์ แต่ยังต้องดำรงตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม มีความบริสุทธิ์ สะอาด ทั้งกาย วาจา ใจ คือรักษาศีล 8 ด้วย 


 "การกินเจ" หมายถึง การถือศีลที่ไม่กินของสดคาว ซึ่งมาจากรากศัพท์คำภาษาจีนที่เรียกว่า "เจี๊ยะฉ่าย" หมายถึง การกินอาหารผัก อาหารที่มาจากพืชผักธรรมชาติ ไม่มีเนื้อสัตว์ปะปน และไม่ปรุงด้วยผักฉุน 5 ชนิด ได้แก่ กระเทียม หัวหอม หลักเกียว กุยช่าย ใบยาสูบ และงดเว้นน้ำนมสด นมข้นด้วย เพราะถือว่าเป็นของสดของคาว 

ช่วงเวลากินเจ 
ประเพณีกินเจที่ชาวจีนเรียกกันว่า "เก้าอ๊วงเจ" หรือ "กิ้วอ๊วงเจ" แปลว่า "เจเดือน 9" เริ่มต้นในวันขึ้น 1 ค่ำ ถึง 9 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจีน รวม 9 วัน 9 คืน ตรงกับเดือน 11 หรือเดือนตุลาคมของไทย (ตามปฏิทินสากล) โดยคำว่า "เก้าอ๊วง" หรือ "กิ้วอ๊วง" แปลว่า "พระราชา 9 องค์" หรือนพราชา หมายถึงผู้เป็นใหญ่ทั้ง 9 ซึ่งเป็นที่มาของประเพณีกินผักกินเจ
                                       
ตำนานการกินเจ เก้าอ๊วงฝ่ายมหายาน 
การกินเจ เพื่อสักการบูชาพระพุทธเจ้าในอดีตกาล 7 องค์ ดังมีในพระสูตร ปั๊กเต๊าโก๋ว ฮุดเชียวไจเอียงชั่วเมียวเกง กล่าวไว้คือ พระวิชัยโลกมนจรพุทธะ พระศรีรัตนโลกประภาโมษอิศวรพุทธะ พระเวปุลลรัตนโลกวรรณสิทธิพุทธะ พระอโศกโลกวิชัยมงคลพุทธะ พระวิสุทธิอาศรมโลกเวปุลลปรัชญาวิภาคพุทธะ พระธรรมมติธรรมสาครจรโลกมโนพุทธะ พระเวปุลลจันทรโภคไภสัชชไวฑูรย์พุทธะ และพระมหาโพธิสัตว์อีก 2 องค์ คือพระศรีสุขโลกปัทมอรรถอลังการโพธิสัตว์ และพระศรีเวปุลกสังสารโลกสุขอิศวรโพธิสัตว์ รวมเป็น 9 องค์ (หรือ "เก้าอ๊วง") 

ทรงตั้งปณิธานจักโปรดสัตว์โลก จึงได้แบ่งกายมาเป็นเทพเจ้า 9 องค์ด้วยกันคือ ไต้อวยเอี๊ยงเม้งทัมหลังไทแชกุน ไต้เจียกอิมเจ็งกื้อมึ้งงวนแชกุน ไต้กวนจิงหยิ้งลุกช้งเจงแชกุน ไต้ฮั่งเฮี่ยงเม้งม่งเคียกนิวแชกุน ไต้ปิ๊กตังง้วนเนี้ยบเจงกังแชกุน ไต้โพ้วปั๊กเก๊กบู๊เอียกกี่แชกุน ไต้เพียวเทียนกวนพัวกุงกวนแชกุน ไต้ตั่งเม้งงั่วคูแชกุน ฮุ้ยกวงไตเพียกแชกุน เทพเจ้าทั้ง 9 องค์ ทรงอำนาจตบะอันเรืองฤทธิ์บริหารธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ และทอง ทั่วทุกพิภพน้อยใหญ่สารทิศ
ตำนาน การกินเจ เพื่อ ราชวงศ์ซ้อง 
กินเจเพื่อเป็นการบูชา “กษัตริย์เป๊ง” ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ซ้อง ซึ่งได้ฆ่าตัวตายขณะที่เสด็จไปไต้หวัน โดยทางเรือ เมื่อมีพระชนนมายุได้ 9 พรรษา พิธีบูชาเพื่อระลึกถึงราชวงศ์ซ้องนี้ มีแต่เฉพาะในมณฑลฮกเกี้ยนซึ่งเป็นดินแดนผืนสุดท้ายของราชวงศ์ซ้องเท่านั้น โดยชาวฮกเกี้ยนได้จัดทำพิธีดังกล่าวนี้ขึ้นด้วยการอาศัยศาสนาบังหน้าการเมือง การที่เผยแผ่มาสู่เมืองไทยได้นั้นเพราะชาวจีนจากฮกเกี้ยนนำมาเผยแผ่

มาถึงตรงนี้ ต้องบอกก่อนว่า  คนจีน ไม่ว่าจะแผ่นดินใหญ่ ไต้หวัน ฮ่องกง ไม่มีประเพณี กินเจ นะครับ  ดังนั้น การที่บอกว่า คนฮกเกี้ยน เป็นผู้นำไปเผยแพร่นั้น อาจจะไม่ใช่
ตำนาน การกินเจที่ภูเก็ต 
มีคณะงิ้วจากเมืองจีน มาเปิดการแสดงที่อำเภอกะทู้นานเป็นแรมปี บังเอิญช่วงนั้นเกิดโรคระบาดขึ้น คณะงิ้วจึงจัดให้มีพิธีกินเจ และสร้างศาลเจ้าขึ้นเพื่อสะเดาะเคราะห์ หลังจากนั้นโรคระบาดก็หาย ชาวกะทู้เกิดความศรัทธาจึงปฏิบัติตาม หลังจากประกอบพิธีอยู่ประมาณ 2-3 ปี ก็มีผู้คนเลื่อมใสมากขึ้นเรื่อย ๆ ประกอบกับอยากได้พิธีกินเจที่สมบูรณ์แบบตามประเพณีมณฑลกังไส ประเทศจีน จึงได้ส่งตัวแทนไปนำควันธูป (เหี่ยวเอี้ยน) จากกังไสให้ลอยมาถึงภูเก็ต โดยในการเดินทางกลับจะต้องคอยจุดธูปต่อกันมิให้ดับมอด ศาลเจ้ากะทู้จึงได้ชื่อว่าเป็นต้นตำรับของพิธีกินเจในปัจจุบัน

จังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดที่จัดประเพณีการกินเจอย่างยิ่งใหญ่ทุก ๆ ปี โดยมาจากรากฐานความเชื่อเดียวกัน คนจีนเรียก "เจเดือนเก้า" แต่ถ้านับตรงกับเดือนไทยก็จะได้ตรงกับเดือน 11 ดังนั้นเทศกาลกินเจที่ภูเก็ตจึงมีขึ้นหลังเทศกาลกินเจทั่ว ๆ ไป

ทำไมเมืองจีนที่เป็นต้นกำเนิดเจียะฉ่ายถึงได้สูญหายไปแล้ว หลายๆคนคงมีคำถาม ในเมื่อเรานำประเพณี พิธีปฏิบัตินี้มาจากเมืองจีน แล้วทำไมที่เมืองจีนซึ่งเป็นต้นกำเนิดแท้ๆ ถึงไม่มีประเพณีนี้แล้ว เวลาที่คนต่างชาติพูดถึงเจียะฉ่าย พูดถึง vegetarian festival จะต้องนึกถึงเมืองไทย โดยเฉพาะที่ภูเก็ต
ที่เมืองจีน นั้นประเพณีนี้ ได้สูญหายไปแล้ว โดยมี 2 ทฤษฎี คือ
1. ช่วงทศวรรษที่ 60 ได้มีการ "ปฏิวัติวัฒนธรรม" ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวได้มีการเผาตำราการแสดง ตำราศิลปะ ต่างๆเป็นจำนวนมาก ซึ่งตำราการปฏิบัติพิธีกรรมเจียะฉ่ายก็ได้ถูกเผาไปด้วยในช่วงเวลานั้น และไม่มีใครกล้าปฏิบัติพิธีกรรมต่างๆ แม้กระทั่งการแสดงงิ้วซึ่งเป็นการแสดงขั้นสูงสุดและเป็นศิลปะประจำชาติยังผิดกฏหมาย นับประสาอะไรกับการปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อศาสนาก็ย่อมที่จะไม่มีใครกล้าปฏิบัติ ทำให้เทศกาลเจี๊ยะฉ่ายนั้นสูญหายไปจากประเทศจีน

2. ในอดีต สมาคมลับ หงเหมิน (หรืออั้งยี่ที่คนไทยเรียก) โดยมีอีกชื่อ คือ ซันเห่อฮุ่ย (หรือองค์ 3 Triad) ที่พัฒนามาจาก พรรคฟ้าดิน ที่มุ่งโค่นชิงฟื้นหมิง โดยจุดกำเนิดในตำนานเล่าว่า พระทั้ง 5 ที่หนีจากเหตุการณ์เผาวัดเส้าหลิน ในยุคฮ่องเต้ คังซี

ขณะนั้น ราชวงศ์ชิงเห็นว่า สมาคมหงเหมิน อาจใช้เทศกาลกินเจบังหน้าเพื่อรวบรวมพวกพ้อง ที่มณฑลฮกเกี้ยน ทำให้สั่งยกเลิกเทศกาลกินเจ ทำให้เทศกาลกินเจเสื่อมไปด้วย อย่างไรก็ดี สมาคมหงเหมินยังคงแพร่กระจายไปยังจีนโพ้นทะเล โดยเฉพาะไทยกับมาเลเซียทำให้ โรงเจ บางโรงเจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บางที่ยังคงมีการเขียนคำว่า โค่นชิงฟื้นหมิง อยู่ด้วย

เทศกาลจีน : เทศกาลไหว้พระจันทร์ และ ตำนานเทพธิดาฉางเอ๋อ

เทศกาลไหว้พระจันทร์(中秋节)และ ตำนานเทพธิดาฉางเอ๋อ (嫦娥奔月的神话故事)
ตำนานของเทพธิดา ฉางเอ๋อ (嫦娥cháng é) เป็นเทพธิดาแห่งดวงจันทร์ตามความเชื่อของจีน โดยนางประทับเฉพาะแต่บนดวงจันทร์เท่านั้น ซึ่งตำนานของเทพธิดาฉางเอ๋อนั้นก็มีมากมาย แต่หนึ่งในนั้นก็มีหนึ่งฉบับที่ชาวจีนนิยมเล่าให้กับลูกหลานฟัง และเรื่องราวก็มีอยู่ว่า

ในยุคโบราณกาล มีดวงอาทิตย์พร้อมกันส่องแสงมากมายถึง10 ดวง ทำให้แผ่นดินร้อนดังไฟ น้ำในทะเลแห้งเหือด สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้คนบนโลกมนุษย์อย่างมาก
และแล้วก็มีชายผู้กล้าท่านหนึ่งนามว่า โห้วอี้(后羿hòuyì)ซึ่งเป็นผู้ที่มีพละกำลังมหาศาล หาใครเทียบเทียมิได้ เขาได้ใช้ลูกธนูสวรรค์ยิงขึ้นไปยังดวงอาทิตย์ เพียงแค่อึดใจเดียวก็ยิงดวงอาทิตย์ตกไปถึง 9 ดวง ดวงอาทิตย์ดวงสุดท้ายเห็นดังนั้น จึงตกใจเป็นอย่างมาก พร้อมกับร้องขอชีวิต โห้วอี้ จึงสั่งให้ดวงอาทิตย์ดวงนั้น นับจากนี้เป็นต้นไปต้องขึ้นและลงเป็นเวลาทุกวัน รับใช้ผู้คนบนโลกมนุษย์แต่โดยดี จากเหตุการณ์ครั้งนั้น ผู้คนจึงนับถือและยกย่องให้ โห้วอี้ ให้เป็นผู้นำ
โห้วอี้ มีภรรยานามว่า ฉางเอ๋อ(嫦娥) ซึ่งเป็นหญิงที่รูปสวยงดงาม ใจดีและอ่อนน้อม ทุกคนล้วนแต่ชอบนาง รวมไปถึง โห้วอี้ ก็รักนางสุดหัวใจ
วันหนึ่ง โห้วอี้ได้น้ำอมฤต(长生不老药 cháng shēng bù lǎo yào)มาจากเจ้าแม่หวางหมู่(王母娘娘) หากใครได้ดื่มกินแล้วจะได้ขึ้นสวรรค์และมีชีวิตเป็นอมตะ เป็นหนุ่มสาวตลอดไป แต่โห้วอี้ไม่อยากจากนางอันเป็นที่รักขึ้นสวรรค์ไปเพียงลำพัง จึงได้ฝากน้ำอมฤตนั้นไว้ให้ ฉางเอ๋อ เป็นผู้ดูแลโห้วอี้ มีศิษย์น้องผู้หนึ่งชื่อว่า เฝิงเหมิง(逢蒙féng méng) ซึ่งเป็นคนขี้อิจฉา พอได้รู้ว่าโห้วอี้มีน้ำอมฤตจึงคิดจะขโมยมาเป็นของตัวเอง คืนวันเพ็ญเดือน 8 โห้วอี้ ได้ออกไปล่าสัตว์ แต่ เฝิงเหมิง ได้หาข้ออ้างไม่ออกไปด้วยและได้แอบเข้าไปในที่พักของ ฉางเอ๋อ เพื่อบังคับให้นางมอบน้ำอมฤตให้กับตน ฉางเอ๋อไม่มีทางเลือก จึงได้ดื่มน้ำอมฤตเข้าไปแทน ทันใดนั้น นางก็ล่องลอยออกไปทางหน้าต่าง และบินสูงขึ้นไปเรื่อยๆ แต่เนื่องจากฉางเอ๋อยังอาลัยอาวรณ์โห้วอี้สามีผู้เป็นที่รัก ในที่สุดนางก็ได้ออกจากโลกมนุษย์และหยุดลงที่ดวงจันทร์
เมื่อโห้วอี้ได้ทราบข่าว ก็เจ็บปวดมาก พยายามที่จะวิ่งไปให้ถึงดวงจันทร์ แต่ทว่ายิ่งวิ่งเข้าใกล้ดวงจันทร์มากเท่าไหร่ ดวงจันทร์ก็ยิ่งห่างไกลออกมากเท่านั้น ไม่มีทางที่จะเข้าใกล้ดวงจันทร์ได้เลย โห้วอี้ คิดถึง ฉางเอ๋อ เอาแต่นั่งรำพึงรำพันไปยังดวงจันทร์ ดวงจันทร์ที่ทั้งกลมทั้งนวลสว่างนั้น ก็เหมือนดัง ฉางเอ๋อ ได้มองลงมาหาตน
ในคืนวันเพ็ญเดือน 8 ของปีที่สองนั้น ฉางเอ๋อ ได้ออกมาจาก วังดวงจันทร์ และมองมายังโลกมนุษย์ นางคิดถึง   โห้วอี้ เป็นอย่างมาก ใบหน้าที่สวยสดงดงามของ ฉางเอ๋อ นั้นยิ่งทำให้ดวงจันท์สวยงามยิ่งขึ้นไปอีก โห้วอี้และชาวบ้านต่างก็คิดถึงฉางเอ๋อ จึงจัดงานไหว้พระจันทร์ขึ้นเพื่อระลึกถึงฉางเอ๋อที่อยู่บนดวงจันทร์ ปีแล้วปีเล่า จากรุ่นสู่รุ่น และเรื่องราวของฉางเอ๋อนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของที่มาของเทศกาลไหว้พระจันทร์ในคืนวันเพ็ญเดือน 8 (ตามปฏิทินจันทรคติ)
ในอดีต ชาวจีนโดยเฉพาะหญิงสาวจะสวดขอพรจาก ฉางเอ๋อ เพื่อที่ขอให้มีความเยาว์วัยและงดงามตลอดไปดุจดั่งนาง
เทศกาลไหว้พระจันทร์ หรือ เทศกาลตงชิว  เป็นเทศกาลตามวัฒนธรรมจีน ที่มีขึ้นกลางฤดูใบไม้ร่วง เพื่อเฉลิมฉลองฤดูกาลเก็บเกี่ยว โดยจะมีขึ้นในคืนวันเพ็ญเดือน 8 ตามปฎิทินจันทรคติ ของชาวฮั่น นอกจากนี้ ชาวจีนยังถือว่าดวงจันทร์เป็นสัญลักษณ์แทนพลังอิน(หยิน)หรือพลังฝ่ายเพศหญิง อันเป็นพลังที่มีอิทธิพล ในฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว
ประเพณีไหว้พระจันทร์แต่โบราณ ส่วนมากเป็นหน้าที่ของสตรีหรือแม่บ้านแม่เรือน ดังคำกล่าวที่ว่า " ผู้ชายไม่ไหว้พระจันทร์ ผู้หญิงไม่ไหว้เทพเจ้าเตาไฟ 男不圓月 女不祭灶" ดังนั้นนอกจากบนโต๊ะบูชาจะเต็มไปด้วยขนมหวานและผลไม้ชนิดต่างๆแล้ว ขนมเปี๊ยะที่ได้ทำขึ้นเป็นพิเศษเฉพาะเทศกาลเรียกว่าขนมไหว้พระจันทร์
นอกจากนี้แล้ว ยังมีอีกตำนานหนึ่งที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ขณะที่ชาวฮั่นที่ถูกปกครองอย่างกดขี่จากชาวมองโกล (ราชวงศ์หยวน) ตอนนั้น มองโกลได้ส่งทหารไปประจำทุกบ้าน บ้านละ 1 คนเพื่อคอยสอดส่อง ต่อมาท่านหลิวปั๋วเวิน ได้แอบส่งสาสน์บอกต่อ ๆ กันในไส้ขนม ความว่า คืนนี้เมื่อเวลายาม 3 ให้ทุกบ้านจัดการสังหารทหารมองโกลให้หมด อันเป็นที่มาของขนมไหว้พระจันทร์


ประวัติขนมไหว้พระจันทร์ไส้เม็ดบัว



นอกจากนี้แล้ว ในเทศกาลไหว้พระจันทร์ จะมีขนมชนิดหนึ่ง เรียกว่า "ขนมไหว้พระจันทร์" (月饼) ที่มีสันฐานกลมคล้ายขนมเค้ก ทำจากแป้ง มีไส้ต่าง ๆ เป็นธัญพืช ใช้เซ่นไหว้และรับประทานกันจนเป็นเอกลักษณ์สำหรับเทศกาลนี้
ค.ศ.1889 ณ เมืองกวางเจา มณฑลกวางตุ้ง ภัตตาคาร เหลียนเซียงโหลว(蓮香樓) เดิมเป็นร้านขายขนมมาก่อน ร้านนี้ได้ทำขนมเปี๊ยะชนิดหนึ่งโดยการใช้เม็ดบัวทำไส้ขนมเปี๊ยะ ต่อมาร้านนี้เปลี่ยนชื่อเป็น 連香樓 โดยเปลี่ยนอักษร 蓮 เป็น 連 คำว่า 連香 แปลว่า หอมติดต่อกัน ส่วนคำว่า 蓮香 ซึ่งเป็นชื่อร้านเดิม แปลว่า บ้านดอกบัวหอม
ค.ศ.1910 บัณฑิตนามว่า เฉินหรูเยว่(陳如岳) ลิ้มลองขนมเปี๊ยะสูตรใหม่ที่ทางร้านคิดขึ้นแล้วรู้สึกอร่อย จึงเติมอักษร 艸(草) ที่ด้านบนอักษร 連 เป็นอักษร 蓮 ตั้งแต่นั้นร้านนี้ก็กลับมาใช้ชื่อ 蓮香樓 อีกครั้ง ในปีเดียวกันร้านนี้ได้รับการขานนามว่าเป็น ราชาแห่งภัตตาคาร กวางตุ้ง (ช่วงปฎิวัติวัฒนธรรม ร้านนี้ถูกปิดตัว และกลายเป็นของรัฐบาล  ก่อนจะกลายมาเป็นของเอกชนอีกครั้งแต่มีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์แบรนด์ บ้านดอกบัวบนขนมไหว้พระจันทร์)
ขนมไหว้พระจันทร์แบบที่คนทั่วโลกรู้จัก คือ ขนมไหว้พระจันทร์สูตรกวางตุ้ง มีต้นกำเนิดจากภัตตาคารแห่งนี้ เมื่อคนกวางตุ้งและฮ่องกงอพยพไปทำงานที่เมืองฝรั่ง เช่น อเมริกา ออสเตรเลีย ก็นำสูตรขนมเปี๊ยะไหว้พระจันทร์ไปด้วย ตั้งแต่นั้นขนมเปี๊ยะสูตรนี้เป็นที่รู้จักทั่วโลก ตัวขนมไหว้พระจันทร์สูตรนี้ก็มีลักษณะคล้ายเค้กฝรั่ง เอาวิธีการทำขนมฝรั่งมาดัดแปลงเป็นขนมเปี๊ยะ
นั่นคือ ขนมไหว้พระจันทร์สูตรกวางตุ้งดั้งเดิมคือ ไส้เม็ดบัว ส่วนขนมไหว้พระจันทร์ส่วนใหญ่ในประเทศไทยนั้นที่มีตราประทับสีแดงบนหน้าขนม นั่นคือ สูตรฮกเกี้ยน และ แต้จิ๋ว

วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2561

!จีน(1895) กบฎนักมวย อี้เหอถวน - กบฎของเหล่าจอมยุทธ์

กบฎนักมวยอี้เหอถวน - การลุกฮือของเหล่าจอมยุทธ์

ปูพื้น
1834-1843  สงครามฝิ่น
ครั้งที่ 1
อังกฤษ พยายามนำฝิ่นเข้ามาขายในจีน แต่จีนไม่ยอมทำลายฝิ่นทิ้ง เกิดสงครามฝิ่นครั้งที่ 1 จีนพ่ายแพ้ต้องลงนามสัญญานานกิง เปิดเมืองท่า 5 แห่ง และเช่าเกาะฮ่องกง ต่อมา ฝรั่งเศสและอเมริกาก็เอาบ้าง

1850-1864 
กบฎชาวนา ไทผิงเทียนกั๋ว นำโดย หงซิ่วเฉวียน 
 (洪秀全) นับถือคริสต์  พวกเขาไม่พอใจที่จีนโดนค่าปฎิกรรมสงคราม และต้องมาขึ้นภาษีกับประชาชน ดังนั้น ประชาชนต้องการการเปลี่ยนแปลง กบฎสามารถยึดภาคใต้ของจีนได้ แต่ความอ่อนแอของตนเองทำให้พ่ายแพ้ และราชวงศ์ชิงต้องไปขอร้องอังกฤษให้มาปราบกบฎ  สงครามกลางเมืองครั้งนั้น คาดว่ามีคนจีนตายถึง 20-70 ล้านคน

1856-1860 สงครามฝิ่นครั้งที่ 2
จีนไปยึดเรือแอโร่ ที่มีคนจีนเป็นเจ้าของแต่จดทะเบียนเป็นเรืออังกฤษ อังกฤษขอคืน แต่จีนปฎิเสธ
แถมนักบวชชาวคริสต์ถูกฆ่าตาย จึงบุกเผาพระราชวังฤดูร้อน 2 หลัง คือ ชิงอี และหยวนหมิงหยวน 
ช่วงวันที่ 18-19 ตุลาคม 1860 จีนยอมจำนนด้วยเกรงว่า ต่างชาติจะบุกยึดพระราชวังต้องห้ามที่ปักกิ่ง โดยลงนาม สนธิสัญญาปักกิ่ง ยุติการสู้รบกับอังกฤษวันที่ 24 ตุลาคม 1860 

1894 สงครามซิโนญี่ปุ่นครั้งที่ 1 
ญี่ปุ่นเข้าแทรกแซงเกาหลี โดยลัมล้างรัฐบาลนิยมจีน เอารัฐบาลนิยมญี่ปุ่นขึ้นแทน โดยเฉพาะการลอบสังหารพระราชินีเมียงซองของเกาหลี โดยเรือรบจีนและญี่ปุ่นก็ปะทะกัน แต่จีนพ่ายแพ้ ครั้งนั้นถือว่า จีนตกต่ำอย่างมากเพราะเดิมญี่ปุ่นเป็นลุกไล่ของจีนมาโดยตลอด นอกจากนี้ยังต้องเซ็นสัญญาชิโมโนเซกิ และต้องจา่ยค่าปฎิกรรมสงครามให้ญี่ปุ่น200 ล้านตำลึง

1895 ปฎิรูป 100 วัน
ฮ่องเต้กวางสู ต้องการปรับปรุงประเทศโดยริเริ่มการปฎิรูป 100 วัน แต่พระนางซูสีไทเฮา ที่มีลักษณะ หัวอนุรักษ์นิยม ไม่เห็นด้วยจึงจับฮ่องเต้ กวางสู ขังไว้  ความขัดแย้งต่างๆ เริ่มครุกกรุ่น จึงเกิด กบฎจอมยุทธ์

กบฎจอมยุทธ์
义和团 - อี้เหอถวน เรามักได้ยินคนแปลว่า กบฏนักมวย แต่ความจริง อี้เหอ แปลว่า คุณธรรมร่วมใจ และ เดิมคำว่า ถวน นั้นแปลงมาจากฉวนที่แปลว่า มวย ต่อมา มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มย่อยๆ ตามโรง (ถวน) จึงเรียกอี้เหอถวน ดังนั้น ต้องแปลว่า "การลุกฮือของเหล่าจอมยุทธ์คุณธรรม" เพราะเหล่า จอมยุทธ์ นั้น ไม่ใช่นักมวยที่ต่อยมวยข้างถนน แต่เป็นเหล่าจอมยุทธ์กังฟูที่ใช้เพลงหมัด กระบี่ พลอง ทวน หอก ดาบ ในการต่อสู้


จุดเริ่มต้นมา กบฎนักมวย เริ่มในปี 1895 ผู้ว่าเมืองซานตง ได้ขอแรงนักสู้กลุ่มที่เรียกว่า สมาคมดาบใหญ่ ให้ช่วยไล่ล่าโจรป่า ซึ่งได้ผลดี สมาคมสามารถจับหัวหน้าโจรได้หลายคนเป็นที่ชื่นชมของทางการ แต่ พวกโจรหัวใส เปลี่นไปเข้ารีตเป็นคริสต์ เพราะตอนนั้นมีกฏห้ามสังหารชาวคริสต์ พวกนักสู้ไม่สนบุกเข้าไปฆ่า ผู้ว่าเลยโดนสั่งให้ประหาร หัวหน้ากลุ่มนักสู้ พวกนักสู้กลุ่มอื่นๆ จึงเกิดความคับแค้นใจ เลยรวมตัวกันเป็น สมาคมมวยสามัคคีธรรม สมาคมนี้แม้แต่ หวางซี่ปิง ปรมาจารย์ไท่จี๊ก็เข้าร่วมด้วย โดยตอนแรกนั้น มีจุดมุ่งหมายเพียง รักษาคุณธรรม และกำจัดขุนนางชั่ว เท่านั้น โดยในตอนแรก มวยคุณธรรมนี้ มักจะอ้าง การสวดมนต์ เพื่อให้สามารถต่อสู้กับปืนได้ หนังเหนียว และอยู่ยงคงกระพัน

ช่วงนั้นคนจีนเริ่มต่อต้านศาสนาคริสต์ เพราะพวกเขาสอนให้ไม่ไหว้บรรพบุรุษอีกต่อไปซึ่งขัดกับหลักของขงจื้อ เหล่ามิชชันนารี ต่างต่อต้านศีลธรรมแบบดั้งเดิมของจีน ทำให้ชาวจีนเริ่มทนไม่ไหว โดยเริ่มมีการยื่นคำขาด "เอามิชชันนารีกับฝิ่นของคุณกลับไป คุณจะได้รักการต้อนรับ"

1 พฤศจิกายน 1897 มิชชันนารี 2 คนชาวเยอรมันถูกฆ่าตาย (เรียกว่าเหตุการณ์ Juye) ทำให้กษัตรย์วิลเลี่ยมที่ 2 ของเยอรมันส่งทหารเรือเข้ามาที่ซานตง เขตปกครองเยอมัน ทั้งการเงิน เหมือง และรถไฟ เป็นของรัฐบาลเยอรมันและพยายามยึดทุกอย่างในซานตง เพื่อรักษาความปลอดภัยของชาวเยอรมัน
 

จุดเริ่มต้นของปัญหา เริ่มในปี 1898 เกิดข้อขัดแย้งเรื่อง ปัญหาที่ดินของศาสนาคริสต์ และพุทธ ขึ้น เนื่องจาก เหล่ามิชชันนารี อ้างว่า ที่ดินผืนนี้เป็นของชาวคริสต์มาตั้งแต่ยุคคังซีฮ่องเต้ ดังนั้น พวกเขามีสิทธิ์ที่จะสร้างโบสถ์คริสต์บนพื้นที่ของวัดพุทธ ทำให้ชาวบ้านไม่พอใจ เพราะนี่เป็นวัดพุทธประจำหมู่บ้าน ชาวบ้านจึงรวมตัวกันบุกเข้าไปทำลายโบสถ์ แล้วก็ก่อกบกฎอี้เหอถวน หรือ  กบฎจอมยุทธ์ ขึ้น ตอนนี้ ไฟแห่งความไม่พอใจต่างชาติที่กดขี่จีนมาตลอด 50-70 ปีที่ผ่านมา จุดติดขึ้นแล้ว และได้ลามไปทั่วประเทศจีนอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ สมาคมมวยสามัคคีธรรมที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงใหญ่

ในครั้งแรก พวกกบฎหลีกเลี่ยงคำว่า ฉวน เพราะถูกห้ามไม่ให้ฝึกกังฟู ทำให้พวกเขาเปลี่ยนเป็นถวน แทน เพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมายราชวงศ์ชิง

แต่กลุ่มกบฎทั่วไปนั้น ไม่สามารถสร้างขุมกำลังได้มากมาย ต่อมา มีกลุ่มการเมืองจากเหล่าขุนนางหัวโบราณที่ต่อต้านต่างชาติเข้าแทรกแซงคอยสนับสนุนด้านการเงินด้วย โดยเฉพาะกลุ่มขุนนางหัวโบราณที่เคยต่อต้านการปฎิรูป 100 วัน ที่ต้องการกำจัดต่างชาติ โดยเริ่มมีใบปลิว ชูคำขวัญ เชิดชูราชวงศ์ชิง กำจัดต่างชาติ ขึ้น ทำให้ กลุ่มกบฎขยายตัวอย่างรวดเร็ว

อี้เหอถวนจะมีสัญลักษณ์คือ โพกหัว และมีสายคาดเอว  มีเป้าหมายขับไล่ต่างชาติ ไม่มีผู้นำสูงสุด มีแต่ผู้นำย่อยกลุ่มเล็กๆ 25-100 คนเท่านั้น โดยมีการตั้ง โรง (โรงงาน โรงหลอม หรือที่สาธารณะ ) เพื่อเปิดรับสมัครหรือรวมตัวกัน 

เดือนมีนาคม 1900 ที่เมืองเทียนจิน มีการรวมตัวของกลุ่มอี้เหอถวน หลายจุด โดยมีผู้นำคนสำคัญอย่าง จางเต๋อเฉิง เฉาฟู่เทียน และหลินเฮยเอ๋อ (ฉายา เจ้าแม่บัวเหลือง เพราะเล่นงิ้วเล่นเป็นเจ้าแม่บัวเหลือง) และเป็นหัวหน้าคณะตะเกียงแดง (กลุ่มเด็กสาวอายุ 12-18 ปี) จะสวมกระโปรงแดง และถือตะเกียงแดง ส่วนคณะตะเกียงน้ำเงินเป็นผู้หญิงทั่วไป ตะเกียงเขียวเป็นหญิงหม้าย และตะเกียงดำเป็นหญิงสูงวัย

นอกจากนี้ยังมี จอมยุทธ์อย่าง ดาบใหญ่หวังอู่ ดาบเดี่ยวหลี่ไจ้อี่ ฝ่ามือแปดทิศเฉิงถิงหัว  หมี่จังฮั่วหยวนเจี่ย  และไท้เก็กหยางปันโอ่ว (ลูกของหยางลู่ฉาน)

วันที่ 20 มีนาคม 1900 กบฎนักมวย ได้สังหาร มิชชันนารีชาวเยอรมัน การไล่สังหารและเผาโบสถ์ศาสนาคริสต์นั้นทำให้เยอรมัน ฝรั่งเศส อังกฤษ นั้นไม่พอใจอย่างมาก ต่างส่งกองกำลังมาคุ้มครองคนในชาติของตน

เดือนเมษายน 1900 เหล่าพันธมิตรต่างชาติ ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐ เยรอมัน รัสเซีย อิตาลี ออสเตรียส่งหทารมาชุดแรกจำนวน 245 คน โดยเดินทางมาโดยรถไฟ โดยอ้างว่า ทหารเหล่านี้ส่งมาคุ้มครองคนของชาติตนเอง เหล่าทหารพันธมิตรมุ่งหน้ามาที่ปักกิ่งโดยรถไฟ

พฤษภาคม 1900 กบฎอี้เหอถวน ได้ทำลายรถไฟสายเป่าติ้ง-เทียนจิน พร้อมนำทัพกว่า 10000 คน มาสกัดทหารต่างชาติ  นอกจากนี้ กลุ่มกบฎ ยังมีการขยายไปจัดตั้ง โรง เพื่อรับสมัครทั่วปักกิ่ง โดยพวกใหม่จะได้เรียนวิชามวยดอกบ๊วย ที่มาจากลัทธิบัวขาว

เดือนมิถุนายน 1900 เหล่าทหารต่างชาติที่เดินทางมาโดยรถไฟ แต่ทางรถไฟเสียหายต้องลงเดิน และเจอกบฎที่มีจำนวนเยอะกว่ามาก ตอนนี้ทหารชุดนี้ถูกกลุ่มกบฎล้อมไว้ได้  วันที่ 5 มิถุนายน ปีนั้น นักการฑูตญี่ปุ่นโดนสังหาร ครั้งนี้เองที่ทำให้ญี่ปุ่นส่งทหารเข้าร่วมด้วย อย่างไรก็ดี มีข่าวลือว่า มีเด็กในชุดนักมวย ถูกฆ่าทหารเยอรมันตาย ทำให้กลุ่มนักมวยต่างลุกฮือทั่วประเทศและไล่เผาโบสถ์คริสต์หนักกว่าเดิม โดยเฉพาะในเมืองปักกิ่ง

ถึงตอนนี้ ทหารพันธมิตรต่างชาติ 8 ชาติ รวมตัวกันประมาณ 2000 คน (มากสุดคือรัสเซีย 900 คน และอังกฤษ 500 คน) ถูกส่งมาเพื่อบุกไปที่เทียนจิน  ความจริงแล้ว พวกเขาต้องการยึดรถไฟคืน มากกว่าจะส่งมาช่วยทหารที่ถูกล้อมไว้ เพราะในรถไฟมีอาวุธปืนและปืนใหญ่ จำนวนมาก (ราคารวมกันไม่น้อยกว่า 3 ล้านปอนด์สเตอริง) เพราะพวกเขากลัวว่า หากกลุ่มกบฎได้ไปสถานการณ์จะยิ่งแย่ลงไปอีก และพวกเขาก็เดินทางมาถึงเทียนจินในเดือนกรกฎาคม 1900

วันที่ 14 กรกฎาคม 1900 กบฎนักมวยได้เข้าปะทะกับกองกำลังทหาร 8 ชาติ ที่เมืองเทียนจิน  แต่ฝ่ายกบฎพ่ายแพ้ ทำให้กองทัพพันธมิตร 8 ชาติมุ่งหน้าไปเมืองปักกิ่งต่อ ตอนนี้ราชวงค์ชิงออกคำสั่งตี 2 หน้า โดยมีขุนนางบางคนสั่งให้กบฎต่อสู้กับคนจีน ขณะที่เมื่อกบฎพ่ายแพ้ ทหารของพวกเขากลับปล่อยให้ทหารต่างชาติมุ่งหน้ามาที่กรุงปักกิ่งอย่างง่ายดาย

ย้อนกลับไปเดือนมิถุนายน 1900 พระนางซูสีไทเฮาออกมาประกาศว่า พวกเรากำลังล่มสลาย ข้าคงไม่สามารถไปสู้หน้าบรรพบุรุษได้ ขอให้พวกเราสู้จนตัวตาย  เป็นการประกาศอย่างเป็นทางการครั้งแรก และถือเป็นการประกาศสงครามกับต่างชาติอย่างเป็นทางการ และสั่งให้ทหารร่วมมือกับกบฎ และส่งสาสน์ไปยังฑูตต่างชาติให้ย้ายออกไปภายใน 24 ชั่วโมง

คนจีนรอเวลานี้มานาน ความแค้นกว่าศตวรรษจะได้ล้างแค้นในครั้งนี้ คนจีนนับล้านคนต่างลุกฮือ ทำร้ายต่างชาติตามท้องถนน ทำให้ต่างชาติต่างไปหลบซ่อนตัวในสถานฑูต แต่สุดท้ายคนจีนก็บุกทำลายสถานฑูตทั้ง 8 ชาติ ในกรุงปักกิ่ง หลังครบ 24 ชั่วโมง

กลับมาเดือนกรกฎาคม 1900 เมื่อกองทัพพันธมิตรมาถึงปักกิ่ง หัวหน้าทัพใหญ๋คือ เยอรมัน มีคำสั่งให้ปล้น ฆ่า ข่มขืน ได้ตามสบาย บันทึกระบุว่า มีคนจีนตายกว่า 50000 ศพในปักกิ่ง ทหารต่างชาติไล่ฆ่าคนจีนไปทั่วท้องถนน หากเจอสาวก็จะข่มขืน ขณะเดียวกัน ทหารต่างชาติอย่างญี่ปุ่นก็ถูกพบว่า ศพเหล่านี้โดนตัดลิ้นและควักลูกตา โดยกลุ่มกบฎมักจะซุ่มตามตรอกเพื่อดักโจมตี ขณะเดียวกัน อากาศในตอนนั้นร้อนถึง 42 องศา ทำให้กบฎไปดักซุ่มทำร้ายตามบ่อน้ำ

สถานการณ์ในปักกิ่งวุ่นวายมาก แต่เหล่าจอมยุทธ์กลับสู้ไม่ถอย ผู้คนหนีกันจ้าละหวั่น จางเต๋อเฉิง และเฉาฟู่เถียน สู้จนตัวตาย เฉิงถิงหัว และหวังอู่ บุกด่านต่างชาติจนโดนยิงตาย หัวของผู้นำ 14 คน รวมหวังอู่ถูกตัดไปแขวนที่กำแพงเมือง

หลินเฮยเอ๋อ เจ้าแม่บัวเหลือง หายสาบสูญ โดยมีข่าวลือว่า เหล่าสาวๆ ถูกจับเป็นเชลยแล้ว ข่มขืนจนเสียชีวิต  ส่วนหยางปันโฮ่ว ที่แม้จะสังหารต่างชาติไปได้มาก และรอดมาได้ แต่ถูกราชวงศ์ชิงไล่ออกจากครูฝึกกองทัพ หลังจากนั้นไม่นานก็ตรอมใจตาย เพราะทนอัปยศไม่ได้ ส่วนฮั่วหยวนเจี่ย แม้จะรอดไปได้ ตกดึก กลับเข้าเมืองมาขโมยศีรษะอาจารย์คือดาบใหญ่หวังอู่ กลับออกไปฝัง


ตี 4 วันที่ 15 สิงหาคม 1900 พระนางซูสีไทเฮา ฮ่องเต้ ฮองเฮาและ ข้าราชบริพารปลอมตัวเป็นชาวนาหลบหนีออกจากกรุงปักกิ่งไปซีอาน และให้ หลี่จางหง(李鸿章) ต้องเดินทางไปเจรจากับต่างชาติ โดยผลเจรจายืนยันว่า กลุ่มกบฎเหล่านั้นเป็นกลุ่มโจรที่ทางการต้องปราบให้สิ้น นั่นคือ ซูสีไทเฮา เอาตัวรอด และทรยศต่อกลุ่มกบฎแล้ว

แต่ระหว่าง 1 ปี ปักกิ่งอยู่ภายใต้กองกำลัง 8 ชาติได้แบ่งเมืองปักกิ่งออกเป็นโซนๆ ให้แต่ละชาติดูแลกันเอง กองกำลังต่างชาติบุกค้นบ้านเรือนแทบทุกหลังเพื่อตามล่า พวกกบฎนักมวย โดยจับพวกกบฎนักมวยไปประหาร  ณ เวลานี้ ความจริง มีกบฎนักมวยจากทั่วประเทศ แต่โดนทหารของราชวงศ์ชิงที่เปลี่ยนข้างสังหารหมด  หนังสือพิมพ์ระบุว่า นี่คือ เทศกาลการปล้มสะดม โดยทหารพันธมิตรไล่ฆ่าทุกคนและปล้น ทุกวันในหมู่ต่างชาติ จะมีการนำสิ่งของที่ปล้มมาได้มาประมูลกัน เป็นแบบนี้ตลอดระยะเวลา 1 ปี 

ปีถัดมา หลังพันธมิตร 8 ชาติ ยึดครองปักกิ่งได้ ก็ได้มีการลงนามอีกครั้ง คือ สนธิสัญญา ซินโฉ่ว กับ 8 ชาติพันธมิตร และอีก 3 ชาติ คือ เนเธอร์แลนด์ สเปน และเบลเยี่ยมด้วย โดยจีนต้องชดใช้ค่าปฎิกรรมสงครามกว่า 450 ล้านตำลึง หรือจำนวนเท่ากับประชากรจีนในสมัยนั้น  และต้องรื้อป้อมปืนใหญ่ ที่ต้ากู และตลอดเส้นทางระหว่างปักกิ่งถึง เทียนจิน รวมถึงเง่ื่อนไขต่างๆอีกมาก ส่วนญี่ปุ่นขอเพิ่มคือ จีนต้องส่งขุนนางไปขอขมาที่ญี่ปุ่น ในกรณีฑูตญี่ปุ่นที่เสียชีวิต ภายหลังลงนามแล้ว ซูสีไทเฮาจึงเดินทางกลับปักกิ่งในปี 1902

หลังเหตุการณ์นี้เอง ที่ซูสีไทเฮา  จึงเริ่มดำเนินการปฎิรูปตามที่กวางสี่เคยปฎิบัติ โดยเฉพาะการศึกษา การทหาร ตำรวจ ที่ถูกลือเพื่อสร้างใหม่หมด แต่ไม่นาน ซูสีไทเฮา และกวางสี ก็เสียชีวิตในปี 1908

ต่อมา ดร.ซุนยัดเซ็น ทนความฟอนเฟะของประเทศไม่ไหว จึงก่อการปฎิวัติราชวงศ์ชิง โดยก่อตั้ง สหสันนิบาตจีน (สมาคมถงเหมิน (中國同盟會) ต่อมาคือ พรรคคณะชาติ หรือ ก๊กมินตั๋ง)  และเมื่อรวบรวมคนได้ก็ก่อ ปฎิวัติซินไฮ่  จนปี1912 ก็สามารถก่อตั้งรัฐบาลชั่วคราว เรียกเป็นสาธารณรัฐจีน และปลดฮ่องเต้ลงได้ 











วิดีโอสงครามฝิ่น








วิดิโอ เพลงสรรเสริญ ดร.ซุนยัดเซ็น


เทศกาลจีน : เทศกาลไหว้บะจ่าง

เทศกาลไหว้บะจ่าง หรือ เทศกาลตวนอู่ 端午节

เริ่มจาก  ชวีหยวน 屈原 (ประมาณก่อน ค.ศ. 339 - 278) ขุนนางตงฉินและกวีรักชาติ ผู้ทิ้งร่างลงแม่น้ำ มี่หลัวเจียง ด้วยรู้สึกสิ้นหวังกับบ้านเมือง จากนั้นพอชาวบ้านทราบข่าวต่างรู้สึกสูญเสีย พากันทิ้งก้อนข้าวเหนียวห่อใบไผ่ลงน้ำให้ฝูงปลากิน จะได้ไม่ไปกัดกินศพของชวีหยวน
เชื่อกันว่า เทศกาลตวนอู่ เป็นเทศกาลที่ผู้คนจัดรำลึกถึงชวีหยวน ทว่า จะว่าไปกำเนิดเทศกาลตวนอู่นั้น จากการศึกษาในยุคหลังพบว่า ประเพณีโยนก้อนข้าวเหนียวเพื่อเซ่นไหว้แม่น้ำ หรือ การล่องเรือมังกร มีหลักฐานมาก่อนเรื่องราวของชวีหยวน เรื่องนี้มีหลายสำนวน มีทั้งเรื่อง โกวเจี้ยน ซ้อมเรือมังกร เรื่องของหญิงกตัญญูเฉาเอ๋อร์ แต่ที่ดูจะใกล้เคียงกับเรื่องของชวีหยวน และเกิดขึ้นก่อนเรื่องราวของชวีหยวน
นั่นคือ เรื่องของ อู๋จื่อซวี 伍子胥 จอมทัพแคว้นอู๋ ที่พยายามทักท้วงอู๋หวังฟูชา. 吴王夫差 ไม่ให้หลงเสน่ห์ไซซี และให้อู๋หวังฟูชา เข้าตีแคว้นเยว่ ก่อนจะถูกแคว้นเยว่ตี สุดท้าย อู๋จื่อซวี กลับถูก อู๋หวังฟูชา มอบกระบี่ให้ฆ่าตัวตาย ก่อนปลิดชีพตัวเอง อู๋จื่อซี สั่งเสียว่าให้ดวงตาของเขาไปแขวนไว้ที่ประตูเมือง เขาอยากจะเห็นทัพแคว้นเยว่มาถล่มแคว้นอู๋ด้วยตาตัวเอง
คำสั่งเสียเข้าถึงหู อู๋หวังฟูชา ทำให้เขาโกรธมาก สั่งให้นำศพ อู๋จื่อซวี ไปทิ้งลงแม่น้ำเฉียนถังเจียง 钱塘江 ชาวบ้านต่างพากันนำข้าวเหนียวห่อใบไผ่ทิ้งลงแม่น้ำให้ปลากิน แทนที่จะกัดกินศพของท่านอู๋ แต่กรณีท่านอู๋ งมศพขึ้นมาได้แล้วชาวบ้านตั้งศาลที่ริมแม่น้ำนั่นเอง และมีพิธีรำลึกในวันที่ห้าเดือนห้า หรือตวนอู่เจี๋ยนี่เอง
สันนิษฐานว่า พอเกิดกรณีชวีหยวนแล้ว ชาวบ้านก็ใช้ธรรมเนียมปฏิบัติเดียวกับที่มีผู้ทำพิธีเซ่นไหว้ บวงสรวง อู๋จื่อซวี ภายหลังเรื่องเล่าของชวีหยวน กลับ “ดัง” กว่า เลยกลายเป็นที่มาของเทศกาลบะจ่างแต่ผู้เดียวไปโดยปริยาย

วิวัฒนาการบะจ่าง ยุคแรกใช้ข้าวหลามแทนการห่อ
บะจ่าง หรือ จ้งจื่อ(粽子) ในยุคแรกใช้ข้าวฟ่าง เรียกว่า เจี๋ยวสู่(角黍) คำว่า จ้ง(棕) เดิมใช้อักษร 椶 พจนานุกรมสมัยราชวงศ์ฮั่น ซัวเหวินเจี๋ยจื้อ《説文解字》 อธิบายว่าหมายถึง ข้าวห่อใบอ้อ
ในเอกสารสมัยราชวงศ์ถังชื่อว่า ชูเสวียจี้《初學記》 มีข้อความอธิบายเพิ่มโดยอ้างเอกสารสมัยราชวงศ์เหลียงชื่อ ซวี่ฉีเสียจี้《續齊諧記》ว่า ในวันที่5เดือน5 คือวันที่ขุนนางภักดีนาม ชวีหยวน โดดน้ำตาย คนเซ่นไหว้ด้วยด้วย เจี๋ยวสู่(角黍) โดยทำอย่างข้าวหลาม คือเอา เจี๋ยวสู่ยัดใส่กระบอกไม้ไผ่แล้วโยนลงน้ำ ในสมัยราชวงศ์ฮั่นมีคนนึงฝันเห็นวิญญาณชวีหยวน วิญญาณแจ้งว่าของเซ่นไหว้ที่โยนลงน้ำโดนงูและมังกรกิน เวลาเซ่นไหว้ให้เอาใบหน่อไม้น้ำปิดปากกระบอกไม้ไผ่ ผูกด้วยเชือกสี งูและมังกรจะกลัวไม่กล้ากิน
ภายหลังคนก็ไม่ใช้ข้าวหลาม ขั้นตอนยุ่งยาก ต้องหากระบอกไม้ไผ่ เลยเปลี่ยนมาเป็นเอา ขนมจ้าง หรือ จ้ง(粽) ซึ่งเป็นข้าวห่อด้วยใบหน่อไม้น้ำสำหรับเซ่นไหว้ชวีหยวน ต่อมาจึงใช้ จ้ง ซึ่งเป็น ข้าวห่อใบอ้อ มาเซ่นไหว้แทนใบหน่อไม้น้ำ