วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2565

!จีน (BC160-93) ตงฟางซัว - แก่ ใจดี สปอร์ต ตลก สายเปย์ และ ตัวจริงของ นักพรตผลทารก ในไซอิ๋ว

จฺีน BC190-93 ตงฟางซัว - แก่ สปอร์ต ใจดี  ตัวจริงของ นักพรตผลทารก ในไซอิ๋ว

ตงฟางซัว เขาเป็นบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถอย่างหาตัวจับได้ยาก แต่มีน้อยคนจะเข้าใจความหมายในคำพูดของเขา จนฟังดูเหมือนเขาเล่าเรื่องตลก แต่แท้จริงแล้ว คนยุคปัจจุบัน ถึงกับการยกย่องให้เขาเป็นถึง เทพเจ้าแห่งการพูดคุย เนื่องจาก อารมณ์ขัน และ ความเฉลียวฉลาด ที่ผสมผสานกัน 

ยิ่งเมื่อเทียบกับองค์ความรู้ และ ความสามารถที่เขามี ก็จะยิ่งเข้าใจว่า เขาถือเป็นบุคคลที่เก่งระดับหาตัวจับยากมากคนหนึ่งในประวัติศาสาตร์จีนเลยทีเดียว หลี่ไป๋ ยังเคยเอยชื่อเขาว่า ผู้คนในโลกนี้ไม่มีใครไม่รู้จัก ตงฟางซัว ผู้เป็นอมตะ  อีกด้วย

ข้างกาย ฮั่นหวู่ตี้ มักปรากฎชื่อ เว่ยชิ่ง และ หลานชาย ฮั่วชวี่ปิ้ง สุดยอดนักรบ แต่จะมีสักกี่คนที่ให้ความสนใจกับ คนข้างกายฮั่นหวู่ตี้อย่าง ตงฟางซัว

ตงฟางซัว (東方朔 ตงฟางซัวว 160 - 93 ปีก่อนค.ศ.) มีชื่อรองคือ หม่าเฉี้ยน (曼倩) เป็นชาวผิงหยวน ปัจจุบัน คือ มณฑลซานตง เขาเป็นคนยุคแรกๆ ที่นับถือ ลัทธิเต๋า  วัยเด็ก เป็นเด็กกำพร้า พี่ชายและพี่สะใภ้ต้องช่วยเลี้ยงดูตั้งแต่ยังเด็ก 

ขณะที่เขาอายุ 20 ปีเป็นช่วงเวลากับที่ ฮั่นหวู่ตี้ ประกาศคัดเลือกบุคคลที่มีความสามารถเข้ารับราชการ ตงฟางซัว ที่อาศัยอยู่ในชนบท เมื่อเขาทราบข่าว เขาตื่นเต้นมาก เขารีบร่ำลาพี่ชายและพี่สะใภ้  เดินทางไปเมืองหลวงยุคนั้น คือ นครฉางอาน

Resume


เมื่อเขาเดินทางมาถึงเมืองหลวง จึงรับรู้จากชาวเมืองว่า หากต้องการจะให้ ฮั่นหวู่ตี้ เรียกตัวเข้าวัง จะต้องเขียนหนังสือแนะนำตัวเองเสียก่อน หรือเรียกง่ายๆ ว่า Resume  คนอื่นๆ ต่างก็เขียนบทความแสดงความคิดเห็นทางการเมือง แต่ตงฟางซัวไม่เหมือนใคร เขาเขียนหนังสือแนะนำตน ดังนี้

"เกล้ากระหม่อม มีนามว่า ตงฟางซัว เป็นชาวผิงหยวน อายุ 22 ปี ตัวสูงกว่า 8 ฉือ มีดวงตาสดใสดั่งไข่มุก  มีฟันขาวดั่งเปลือกหอย หน้าตาหล่อเหลาเอาการ "

อายุ 13 ได้ศึกษาตำราซ่างซู 

อายุ 15 ได้ร่ำเรียนกระบี่ 

อายุ 16 ได้ศึกษาคัมภีร์ ซือจิงและซูจิง นอกจากนี้กระหม่อมสามารถท่อง สารานุกรมได้ถึง 220,000 ตัวอักษร
อายุ 19 ได้ศึกษาตำราพิชัยสงครามอู๋ฉี่และ ซุนจื่อ จนเชี่ยวชาญ 

นอกจากนี้ยังแข็งแกร่งราว เมิ่งเปิน (孟贲 วีรบุรุษผู้กล้าแห่งแคว้นโจว) ว่องไวดั่ง ซิ่งจี้ (慶忌 เทพวานรแห่งแคว้นอู๋) เฉลียวฉลาดดั่ง เป้าซูหยา (鮑叔牙 ขุนนางแห่งแคว้นฉี) ถ้า เหว่ยเซิ่ง 尾生 ผู้ซื่อสัตย์ เป็นสมุหนายกได้ ข้าก็เป็น อัครมหาเสนาบดี ของท่านได้เช่นกัน" 

กระหม่อมยังได้รับการศึกษาจากศิษย์ขงจื้อผู้หนึ่ง คนอย่างเกล้ากระหม่อม หากไม่ได้รับการสนับสนุนคงเป็นที่น่าเสียดายยิ่ง ดังนั้น เกล้ากระหม่อม จึงขอเสนอตัวต่อฝ่าบาท ขอพระองค์อย่าทำให้เกล้ากระหม่อมต้องผิดหวัง "

พอ ฮั่นอู่ตี้ ได้อ่านหนังสือแนะนำตัวสุด ขี้โม้ โอ้อวด  ของตงฟางซัว พระองค์ก็ทรงหัวร่อ งอหาย ทันที  และ คิดว่า คนผู้นี้มั่นใจในตนเองเกินไปจนน่าขันเสียจริงๆ จนอยากเห็นหน้าค่าตา เรียกตัวเข้าวัง แต่ ฮั่นหวู่ตี้  ต้องผิดหวัง ทั้งหน้าตาที่ไม่หล่อ และรูปร่างที่ไม่แข็งแกร่งเหมือนที่โม้ไว้  แต่เมื่อเรียกตัวเข้ามาแล้ว เขาจึงให้ตำแหน่ง สำนักงานรับเรื่องร้องเรียจากราษฎรที่ประตูวัง เท่านั้น

แต่นักประวัติศาสตร์ เชื่อว่า ฮั่นหวู่ตี้ ไม่ได้สนใจเรื่องขี้โม้ต่างๆ  แต่สนใจ เนื้อความจดหมายที่แสดงให้เห็นถึง ความรู้ และ สติปัญญา ในด้านต่างๆ ของเขา มากกว่า

ประตูม้าทองคำ

แรกเริ่ม เขาถูกเรียกตัวให้ไปทำงานที่ สำนักงานรับเรื่องร้องเรียนจากราษฎรที่ประตูวัง  ตอนนี้เขายังไม่ได้รับราชการด้วยซ้ำ แต่ก็ได้เบี้ยหวัดในแต่ละเดือน และที่สำคัญคือ  เขายังไม่ได้ใกล้ชิดกับ ฮั่นอู่ตี้ อีกด้วย

แต่แล้ววันหนึ่งเขาก็ได้พบกับ กลุ่มคนแคระที่เลี้ยงม้าให้ ฮั่นอู่ตี้ เขาก็เข้าไปพูดจายั่วยุ  ข่มขู่ คนแคระทันที

คนเช่นพวกท่าน ทำการเกษตรก็ไม่ได้ รับราชการก็ทำอะไรไม่เป็น ตีฆ้องออกศึกก็ไม่ได้ ช่างไร้ประโยชน์ต่อประเทศชาติจริงๆ สักวัน องค์ฮ่องเต้จะต้องสั่งฆ่าพวกเจ้าทิ้งเป็นแน่แท้  พวกเจ้ารีบไปขอความเมตตาจากองค์ฮ่องเต้ซะ  ก่อนที่จะเกิดเรื่องเถอะ 

คนแคระรีบไปเข้าเฝ้า เพื่อขอความเมตตาต่อ ฮั่นหวู่ตี้ ฮั่นหวู่ตี้ ไม่พอใจเรื่องนี้อย่างมาก รีบออกคำสั่งให้เรียกตัว ตงฟางซัว เข้าเฝ้าด่วน  ตงฟางซั่ว กลับอธิบายแบบติดตลกว่า

คนแคระสูงเพียง 3 ฟุต ได้เงินเดือนเป็นข้าว 1 กระสอบ ข้าสูงถึง 9 ฟุต แต่ได้เงินเดือนเป็น 1 กระสอบเท่ากัน ทั้งๆ ที่ คนแคระตัวเล็ก กินเล็กน้อยก็อิ่มหนำแล้ว  แต่ข้าตัวใหญ่ ทำให้ข้าต้องกินเยอะ  นั่นทำให้ข้าหิวโหย และ อดอยาก

ดังนั้น  ถ้าท่านเห็นว่า ข้ายังมีประโยชน์ ก็อย่าให้ข้าต้องทนอดอยากเลย แต่ถ้าเห็นว่า ข้าไร้ประโยชน์ก็ปล่อยให้ข้ากลับบ้านไป หางานอย่างอื่นทำเถอะ ท่านฮ่องเต้"

ฮั่นหวู่ตี้ ได้ยินก็หัวเราะชอบใจ ในไหวพริบปฎิภาณ รับสั่งให้เขาไปรับตำแหน่งที่ จินหม่าเหมิน หรือ ประตูม้าทองคำ ที่เป็น สำนักรับส่งบุคคลสาธารณะเข้าออกวัง ตอนนี้เองที่ทำให้เขาได้เริ่มต้นเข้าใกล้ ฮั่นอู่ตี้ เพิ่มขึ้น

แม้เขาจะอยู่รับราชการที่หอประตูม้าทองคำ แต่คร้้งหนึ่งเขาเคยเปรียบตัวเองไว้สูงส่ง ดังนี้ 

นักปราชญ์ในอดีต เลือกอยู่อาศัยอย่างสันโดษ บนภูเขา และในกระท่อม
แต่ตัวข้า สามารถอยู่อย่างสันโดษในประตูม้าทองคำ ของราชสำนักได้ 
ทำไมนักปราชญ์อย่างข้า ต้องไปอยู่อย่างสันโดษบนภูเขากันละ 

การละเล่นทายสิ่งของ
ถัดมา เป็นการละเล่นระหว่างฮ่องเต้ และเหล่าขุนนาง คือ การซ่อนสิ่งของเพื่อให้ทายสิ่งของที่ ฮั่นหวู่ตี้
มักจะเป็นคนเอาของไปซ่อน และให้ขุนนางทายของสิ่งนั้นคืออะไร 

ครั้งหนึ่ง ฮั่นหวู่ตี้ นำตุ๊กแกไปซ่อนในชาม ตงฟางซัว ประกาศทันทีว่า ข้าศึกษาศาสตร์ขงจื้อมา ทราบว่า สิ่งของนั้น เป็นมังกรไม่มีเขา งูไม่มีขา และสามารถไต่กำแพงได้ ดังนั้น มันต้องเป็น .........ไม่จิ้งจก ก็ตุ๊กแกแน่ๆ  เหตุการณ์ครั้งนั้น ทำให้เขากลายเป็นคนโปรดของฮั่นหวู่ตี้ ทันที

แต่เรื่องนี้ ก็ทำให้เขาเริ่มสร้างศัตรู เช่นกัน เพราะคนใกล้ชิดของ ฮั่นหวู่ตี้ ได้คอยทูลกับ ฮั่นหวู่ตี้ ว่า  ตงฟางซั่ว เขาเป็นเพียงแค่ คนที่เดาสิ่งของที่ซ่อน ถูกต้องเพราะบังเอิญเท่านั้น ไม่ได้มีความสามารถอะไร  ดังนั้น คู่แข่งคนนี้จึงมักท้าแข่งกับ ตงฟางซั่ว  ต่อหน้าเหล่าขุนนางครั้งแล้วครั้งเล่า  ที่น่าแปลกคือ เขาสามารถทายได้ถูกทุกครั้ง และทำให้เขาสามารถขยับตำแหน่งขึ้นเป็นคนโปรดของ ฮั่นหวู่ตี้ ได้อย่างไม่ยากเย็น

นอกจากนี้  เขายังได้พูดจาติดตลก ต่อหน้า พระพักตร์อีกหลายครั้ง ในที่สุดเขาก็ได้มาเป็นหนึ่งในคณะผู้ติดตามฮ่องเต้ เป็น ราชเลขาธิการส่วนพระองค์

แม้ว่า  ฮั่นหวู่ตี้ จะทรงโปรด ตงฟางซัว แต่พระองค์ ก็ยังถือว่า เขาเป็นเพียง นักแสดงตลก แม้จะมีสติปัญญา แต่ก็มิอาจให้ทำการใหญ่ได้

แต่ในใจของตงฟางซัว มีอุดมการณ์อันยิ่งใหญ่ เขาจึงรู้สึกอึดอัด ครั้งหนึ่งตงฟางซัว ทนไม่ไหวจึงเขียนฎีการายงานด้านการเกษตรและด้านการทหารทูลต่อฮ่องเต้ หลายครั้ง ด้วยหวังว่าตนอาจได้รับตำแหน่งขุนนางที่มีอำนาจอย่างแท้จริง 

แต่หนังสือของเขา มักโดนขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ตีตก และมองเขาเป็นเพียงขุนนางชั้นผู้น้อย ที่สนิทชิดเชื้อฮั่นหวู่ตี้ เท่านั้น  และไม่เห็นด้วยกับหนังสือฎีกาของเขา  ยิ่งพอ ฮั่นหวู่ตี้ ได้อ่าน พระองค์กลับรู้สึกเหมือนเป็นเรื่องตลก จึงไม่ได้ใส่พระทัยอะไรมาก   อาจเป็นเพราะ ตงฟางซัว มีความสามารถในการเล่าเรื่องตลกได้ดี พอเขาจะทำเรื่องจริงจังคนอื่นก็ยังมองว่าเป็นเรื่องตลกอยู่ดี

เหตุการณ์เหล่านี้เอง ทำให้เขารับรู้ได้เลยว่า เขาตกอยู่ในสถานการณ์ที่ เขายืนอยู่บนเส้นด้ายกลางภูผา เพราะเขาอยู่ท่ามกลาง การประจบสอพลอ และ การใส่ร้ายป้ายสี ของบรรดาเหล่าขุนนาง  และ เขายังต้องพยายามระมัดระวังคำพูดคำจาของตัวเขา กับ ฮ่องเต้ มากขึ้น เพราะ การอยู่ใกล้ชิดกับ ฮ่องเต้ เปรียบเสมือน การนั่งอยู่ข้างพยัคฆ์ร้ายดีๆ นี่เอง

ช่วงน้้น เขาถึงกับแต่งหนังสือ "การต้อนรับแขก"  ที่เป็นหนังสือสอนการพูดจาแบบ หลบความหมายที่ลึกซึ้ง หลักการการพูดจา ในหนังสือของเขา คือ 
1. ต้องอาศัยการสังเกต ปฎิกริยา อาการต่างๆ ของผู้ฟัง ก่อนที่จะ วิจารณ์ หรือ ตำหนิในเรื่องต่างๆ
2. ต้องตอบโต้ด้วย ความไพเราะ และอาศัย ไหวพริบ ปฎิภาณ ช่วยขัดเกลา 
3. โดยบางครั้ง อาจต้องอาศัย ความตลกขบขัน กลบเกลื่อน

อุทยาน ซ่าหลิงหยวน
แม้ว่า ตงฟางซั่วจะไม่ประสบความสำเร็จในการยื่นฎีกาหลายครั้ง แต่ ตงฟางซัว ก็พยายามยื่นเรื่องแนวนี้อีกหลายครั้ง ยกตัวอย่างเช่น ครั้งหนึ่ง ฮั่นหวู่ตี้รู้สึกว่า การเล่นเกมส์ออกป่าล่าสัตว์นั้น เขาต้องเดินทางไปป่าเพื่อล่าสัตว์ถึง 3 วัน 3 คืน ทำให้เสียเวลามาก  ดังนั้น ฮั่นหวู่ตี้ จึงต้องการสร้างอุทยานสวนป่า ไว้ใกล้ๆ พระราชวัง คือ อุทยาน ซ่าหลิงหยวน แทน เพื่อลดเวลาเดินทางในการเกมส์การล่าสัตว์ ซึ่งต้องใช้งบประมาณจำนวนมหาศาล และยังต้องขับไล่ผู้คนที่ทำนาออกไปจากพื้นที่อีกด้วย

ตงฟางซัว ยื่นเรื่องคัดค้านเรื่องนี้ทันที โดยกล่าวว่า 

ความสุภาพ และความอ่อนนน้อมถ่อมตน จะนำมาซึ่ง พรจากสวรรค์
ความเย่อหยิ่ง และ ความฟุ้งเฟ้อจะนำมาซึ่ง หายนะจากสวรรค์ 
ตอนนี้ ฮ่องเต้ คิดว่า วังของตัวเองใหญ่ไม่พอ กว้างไม่พอ 
ลองคิดดู พื้นที่ดังกล่าว ปลูกข้าวได้มากมาย ประชาชนกินดีอยู่ดี
แต่กลับถูกกำหนดให้สร้างเป็น อุทยาน ให้กลายเป็นที่อยู่อาศัยของเสือ และ กวาง
แต่ประชาชนกลับไร้ซึ่งที่อยู่อาศัยแทน ช่างน่าเศร้าใจจริงๆ "

และยังยกตัวอย่าง
แคว้นโจว สร้างวังใหญ่โต ทำให้เจ้าชายก่อกบฎ 
แคว้นฉู่ สร้างวังทำให้ชาวฉู่ ก่อกบฎ
ฉินซีฮ่องเต้  สร้างพระราฃวัง กลับนำไปซึ่งความโกลาหล 

แม้ ฮั่นหวู่ตี้ จะรับฟัง แต่ก็ยังคงออกคำสั่งให้ดำเนินการสร้าง อุทยานป่า ซ่าหลิงหยวน ต่อไปอยู่ดี แต่ฮั่นหวู่ตี้ ก็ยังยินดีและชื่นชม ต่อความกล้าหาญ และความจงรักภักดี จึงได้มอบรางวัล เป็นทอง 100 ตำลึง เป็นของรางวัลแก่ตงฟางซัว

จนหลังๆ  ตงฟางซั่ว ตัดสินใจไม่เอ่ยถึงเรื่องแนวทางการบริหารบ้านเมืองมากนัก  ฮั่นหวู่ตี้ ก็ไม่ใส่พระทัย ดังนั้น ตงฟางซั่ว จึงล้มเลิกความคิดได้แต่ตีสีหน้าเล่าเรื่องตลก และให้ความเห็นเล็กๆ น้อยๆ ต่อองค์ฮ่องเต้พอใจไปวันๆ เท่านั้น

คดีแอบหั่นเนื้อ
โดยปกติ ฮั่นหวู่ตี้ จะแจกเนื้อให้กับ ข้าราชการและคนรับใช้เป็นประจำ  แต่วันหนึ่งขันทีที่รับผิดชอบการหั่นเนื้อแจกมาสาย ตงฟางซั่วจึงหยิบดาบหั่นเนื้อส่วนของตัวเอง แล้วบอกกับทุกคนว่า ในวันที่อากาศร้อนเช่นนี้ รีบนำเนื้อกลับบ้านดีกว่า แล้วก็ห่อใส่แขนเสื้อ กลับบ้าน

ขันทีที่รับผิดชอบการหั่นเนื้อ ทราบเรื่องก็รีบไปรายงานเรื่องนี้ต่อฮั่นหวู่ตี้ ฮั่นหวู่ตี้ จึงมีรับสั่งให้ ตงฟางซัว เข้าเฝ้าด่วน พร้อมออกคำสั่งทันที ตงฟางซัว เรื่องนี้ เจ้าสมควรตำหนิตัวเองอย่างไร !!

ตงฟางซัว จึงโค้งคำนับ 2 ครั้ง ก่อนตะโกนด่าทอว่า  ตงฟางซัว ตงฟางซัว เจ้ารับรางวัลโดยไม่รอคำสั่ง เจ้าฝ่าฝืนพระราชโองการ เจ้าชั่วช้ายิ่งนัก ตงฟางซัว เจ้ากล้าดียังไง ถึงกล้าชักดาบออกมาแล่เนื้อที่ยังไม่เน่าเสีย นำกลับบ้านไปมอบให้กับภรรยาตัวน้อย  เจ้ากล้าดียังไง เจ้าตงฟางซัว

ฮั่นอู่ตี้ หัวเราะลั่น พร้อมกับกล่าวว่า ข้าสั่งให้เจ้าสารภาพความผิดของตัวเอง ไม่ได้ให้ยกย่องตัวเอง สักหน่อย ......... หลังจากเหตุการณ์นี้ ฮั่นอู่ตี้ยังพระราชทานรางวัล เหล้ากับเนื้อแมว ให้เขานำไปมอบให้ภรรยาเขาเพิ่มอีกด้วย

ปลบใจคดีองค์ชาย หลานฮ่องเต้
ในอดีต พี่สาวของฮ่องเต้ ฮั่นอู่ตี้ มีลูกชายเพียงคนเดียว และเห็นว่า บุตรชายคนนี้ เป็นคนหยิ่งผยองตั้งแต่เด็ก  เมื่อพี่สาวใกล้เสียชีวิต จึงได้ใช้ ทองคำ 1000 ตำลึง มอบให้แก่ ฮั่นอู่ตี้ เพื่อใช้ไถ่โทษประหารแก่ องค์ชายคนนี้ไว้ก่อน ฮั่นอู่ตี้ก็ตอบตกลงไปเช่นนั้น

แต่ยิ่ง แม่เสียชีวิตลง องค์ชาย องค์นี้ กลับเริ่มหยิ่งยโสมากขึ้นกว่าเดิม ครั้งหนึ่งเขาเมาและฆ่าคนตาย ทำให้เขาถูกจับกุม บรรดาข้าราชการชั้นสูงต่างขอร้องต่อ ฮั่นอู่ตี้ โดยให้ความเห็นว่า แม่ของเขาได้จ่ายเงินเพื่อไถ่โทษประหารไว้แล้ว และฮั่นอู่ตี้ก็ได้ตอบตกลงเรื่องนี้ไปแล้วด้วย 

ฮั่นหวู่ตี้ ตอบกลับพร้อมน้ำตาว่า ใช่ พี่สาวได้มอบบุตรชายคนนี้ให้ข้าดูแล แต่กฎหมายถูกเขียนโดยบรรพบุรุษที่ล่วงลับ หากข้าฝ่าฝืน ข้าจะมีหน้าไปพบเหล่าบรรพบุรุษได้อย่างไร ว่าแล้วก็ตัดสินประหารชีวิต องค์ชายท่านนี้

ตอนนี้ ภายในวังมีแต่คนเศร้าเรื่องดังกล่าว แต่แล้ว วัง ก็ได้จัดงานราชสมภพ ของฮ่องเต้  ทำให้ ตงฟางซัว ก็ได้มีโอกาสพบกับฮั่นอู่ตี้ เขากล่าวว่า 

กระหม่อมได้รับรู้มาว่า

ฮ่องเต้ที่รอบรู้ และ เรืองอำนาจ มิอาจหลีกเลี่ยงศัตรูได้
การลงโทษ ก็มิอาจแยกแยะสายเลือด กับความเท่าเทียมได้
การแยกแยก ความความเที่ยงธรรม ออกจาก ความเห็นแก่ตัว นั่นคือ วิถีแห่งฮ่องเต้ที่ยิ่งใหญ่

ก่อนที่ ตงฟางซั่วจะยกเหล้าขึ้นมาชวนฮั่นอู่ตี้ ดื่ม และอวยพรให้ ฮ่องเต้ทรงพระเจริญ

เขายังกล่าวต่อว่า 
ความสุขที่มากเกินไปจะทำให้ กระแสหยางไหลล้น
ความเศร้าที่มากเกินไปจะทำให้ กระแสหยิน เสียหาย 
การสูญเสียสมดุลแห่งหยินหยาง จะทำให้กระแสชี่ล่องลอย
และจะทำให้สูญเสียจิตวิญญาณ สิ่งนี้จะทำให้ความชั่วร้ายเข้ามารุกราน

นักวิจัยประวัติศาสตร์ วิเคราะห์ว่า ตงฟางซัว เลือกเวลาที่เหมาะสมในการพูดแล้ว จะทำให้คนอื่นไม่เกลียดคำพูดของคุณ เพราะเขาเลือกที่จะปลอบประโลมฮ่องเต้ในงานวันเกิดของเขา ซึ่งหลักการนี้จะอยู่ในตำราดังกล่าวด้วย

คดีตัดสินประหารชีวิตทหาร
ครั้งหนึ่ง มีทหารไปฆ่ากวาง ในอุทยาน ซ่าหลิงหยวน โดยไม่ได้รับพระราชทานอนุญาต ทำให้เหล่าข้าราชการนำตัว ทหารคนนั้น มาให้ ฮั่นอู่ตี้ ตัดสินประหารชีวิต  ฮั่นอู่ตี้ หันไปขอความเห็นกับ ตงฟางซัว เขากลับกล่าวทูลกับ ฮั่นอู่ตี้ ไว้ดังนี้

ชายคนนี้สมควรรับโทษประหาร  ด้วยเหตุผล 3 ประการ ดังนี้
1. ปล่อยให้มือฮ่องเต้ ต้องแปดเปื้อนเลือด เพราะ กวางเป็นเหตุ 
2. ประชาชนชาวฮั่น จะได้เห็นว่า ฮ่องเต้องค์นี้ เห็นชีวิตของกวาง มีคุณค่ามากกว่า ชีวิตมนุษย์
3. ข้าศึกอย่างซ่งหนู พยายามอย่างหนักที่จะวางแผนฆ่าทหารฮั่นให้ได้  แต่ กวาง ตัวนี้กลับเก่งกว่า พวกซ่งหนู อีก เพราะมันสามารถฆ่าทหารฮั่นได้อย่างง่ายดาย

เมื่อฮั่นอู่ตี้ ได้ยินก็ไม่พูดอะไร และให้พระราชทานอภัยโทษแก่ทหารที่ฆ่ากวางนั้น

คดีไวน์อมตะ

ครั้งหนึ่ง ฮั่นอู่ตี้ สั่งให้ข้าราชการช้้นสูงจำนวนหนึ่งออกเดินทางไปตามหา ยาอายุวัฒนะ  เวลาผ่านไปเนิ่นนาน พวกเขายังคงหา ยาอายุวัฒนะ ไม่ได้ 

แต่พวกเขาได้ปลอม เหล้าอายุวัฒนะขึ้นมา เมื่อถึงเวลานำมาถวายแก่ ฮั่นอู่ตี้  ตงฟางซั่ว ก็รีบประกาศว่า เหล้าอายุวัฒนะนี้ เป็นของแท้ หรือไม่ ข้าจะเป็นผู้ทดสอบเอง  และหยิบเหล้านั้นมาดื่มทันที 

ฮั่นอู่ตี้ โมโหมาก ที่ชิงตัดหน้ากินยาอายุวัฒนะไป รีบสั่งให้นำตัว ตงฟางซัว ไปประหารชีวิต

แต่ ตงฟางซั่วกลับสวนกลับว่า   หากเหล้าเป็นยาอายุวัฒนะจริง ท่านจะสามารถฆ่าข้าได้หรือ หากฆ่าข้าได้แสดงว่า เหล้าเป็นของปลอม  แล้วข้าเป็นคนทดสอบเหล้าอมตะนี้ จะมีความผิดอันใดหรือ

ฮั่นอู่ตี้ไม่พูดอะไร ก็เงียบไป เรื่องนี้ถูกอ้างอิงในนิยาย เรื่องไซอิ๋วด้วย เดี๋ยวจะเล่าให้ฟังตอนท้ายนะครับ

การเปลี่ยนภรรยาทุกปี
นอกจากนี้  เขาเป็นคนที่เปลี่ยนภรรยาทุกปี โดยกำหนดเงื่อนไขว่า ต้องเป็นหญิงสาวหน้าตาดี อายุยังน้อย และต้องเป็นชาวนครฉางอาน เท่านั้น สิ่งนี้เองที่ทำให้เขาภาพลักษณ์ไม่ดี  เขาก็มักโดนขุนนางชั้นผู้ใหญ่โจมตีเขา เรื่องนี้ และ ทำให้เขาโดนติฉินนินทาจากเหล่าขุนนาง โดยเฉพาะเรื่องที่เขาลุ่มหลงในความงามอย่างขาดความยับยั้งชั่งใจ 

แม้ ฮั่นหวู่ตี้ จะรับรู้เรื่องนี้  แต่ก็ไม่ได้สนใจเรื่องดังกล่าว แถมยังให้รางวัลเพื่อให้เขาไปมอบใหักับภรรยาอยู่สม่ำเสมออีกด้วย

ก่อนเสียชีวิต
จนเมื่อตงฟางซั่วใกล้เสียชีวิต เขาจึงได้ส่ง บทกลอน  ให้ฮั่นหวู่ตี้ ผ่านขันทีคนสนิทของพระองค์ ดังนี้

"แมลงมัก บินว่อน แต่เกาะที่ริมรั้ว 
สุภาพบุรุษ ที่ซื่อตรง มีคุณธรรม เขาจะไม่เชื่อเรื่อง ใส่ร้ายป้ายสี และคำประสบสอพลอ

การประสบสอพลอ และ การใส่ร้ายป้ายสี จะไม่มีวันสิ้นสุด
สิ่งนี้จะทำให้ ประเทศ ไม่มีวันสงบสุข"

เมื่อฮั่นหวู่ตี้ ได้ทราบเรื่อง กลับตกใจ แล้วพูดว่า

"นี่... ตงฟางซัว พูดจริงจัง เป็นด้วยหรือนี่ ? "

ตงฟางซัว รับใช้ราชสำนักมายาวนานหลายปี ปกติพูดคุยแต่เรื่องตลก จู่ๆ ก็พูดเรื่องจริงจังอย่างนี้ ฮั่นหวู่ตี้ ก็ย่อมรู้สึกแปลกใจไม่น้อย 

ดั่งสุภาษิตโบราณ ที่ว่าไว้ว่า

"เมื่อนกใกล้จะตาย เสียงของมันจะเศร้ามาก

เมื่อคนใกล้จะตาย เสียงของเขาจะไพเราะมาก"

หลังจากที่ตงฟางซัว เสียชีวิตไม่นานก็เกิดเหตุการณ์  “กบฏมนต์ดํา” (巫蠱之禍) มูลเหตุ อันเนื่องมาจาก ฮั่นหวู่ตี้ ไปเชื่อคำใส่ร้ายป้ายสี ของขุนนางบางกลุ่ม ว่า องค์รัชทายาท หลิวจี้ ทำคุณไสยแก่ องค์ฮ่องเต้
เพื่อให้มีอันเป็นไป ทำให้ องค์รัชทายาทต้องก่อกบฎ ไล่ฆ่าเหล่าขุนนางที่ใส่ร้ายป้ายสีเขา  เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้ผู้คนล้มหายตายจากนับแสนคนเลยทีเดียว   ซึ่งตรงตามคำทำนายของเขา 

นอกจากนี้ ในหนังสือประวัติศาสตร์ หลายเล่ม ระบุตรงกันว่า เขาเป็นคนที่อยู่เบื้องหลังหลายเรื่องของ ฮั่นหวู่ตี้ ไม่ว่าจะพยายาม ลดความฟุ่มเพื่อยของราชสำนักลง เรื่องความเมตตาต่อประชาชน และ การสังหารเหล่าขุนนาง ปัจจุบัน เขาได้ชื่อว่า เป็น เทพเจ้าแห่งการพูดจาข้ามเรื่อง ซึ่งถือเป็นศิลปในการพูดจาแขนงหนึ่ง คือ การใช้เรื่องตลก มาเล่าเรื่องที่จริงจัง ผ่านการเสียดสี ประชดประชัน หรือการโน้วน้าวแบบอ้อมค้อม

ในนิยายเรื่องไซอิ๋ว 
ใน นิยายเรื่องไซอิ๋ว ตอนที่ 12  คือ ตอน ผลไม้เด็กทารก ที่จะมีนักพรตระดับเซียน ชื่อ เจิ้นหยวนต้าเซียน ที่ใช้ชื่อนักพรต ว่า  หม่าเฉี้ยน ซึ่งเป็นชื่อรองของ ตงฟางซั่ว อีกด้วย และอย่าลืมว่า ตงฟางซั่ว คือ ผู้ที่นับถือลัทธิเต๋าคนแรกๆ ของยุค ดังนั้นเขาจะถูกยกย่องเป็น เซียนแห่งลัทธิเต๋าย่อมไม่แปลก

ในเรื่องไซอิ๋ว มี  2 คนที่ขโมยผลลูกท้อสวรรค์ที่เป็นอมตะ ได้ คือ หงอคง หรือ หวู่คง อีกคนคือเซียนนักพรต ตงฟางซัว  

ระหว่างที่ นักพรตเซียน เข้าจับกุมคณะของ พระถังซัมจัง ที่เพิ่งขโมยผลไม้ทารกอายุยืน มาก็มี การเล่นลิ้น เล่นคำ พูดเหมือนกับตัวจริง อีกด้วย 

โดยในปริศนาในตอนนี้ มีนักวิเคราะห์ไซอิ๋ว เชื่อว่า  หงอคงพ่ายแพ้ต่อคำพูดของนักพรต หม่าเฉี้ยน มากกว่า  เพราะ ลำพัง อิทธิฤิทธิ์ของ เซียนนักพรต ย่อมสู้หงอคงไม่ได้อยู่แล้ว

เรื่องนี้ ยังเกี่ยวข้องกับ ยาอายุวัฒนะ และการขโมย อีกด้วย โดยเชื่อว่า มาจากชีวิตจริง ตอน แย่งชิงเหล้าอมตะจากฮั่นอู่ตี้ กับ การได้รับ พระราชทาน ลูกท้อ จากฮองเฮา อีกด้วย

นอกจากนี้ ยังมีคนวิเคราะห์เรื่องไซอิ๋วอีกว่า นักพรตเซียน หม่าเฉี้ยน ยังกล่าวถึงหงอคง
อีกว่า "ในสมัยที่ท้องฟ้ายังเป็นยุคฮั่น มีลิงตัวหนึ่งตกลงมาจากท้องฟ้าและ ถูกกักขังไว้ในภูเขาห้านิ้ว"   ซึ่งไม่ต้องสงสัยเลย ว่า คนเขียน หวู่ เฉินเอิง นั้น ให้พระถังซัมจั๋ง ออกเดินทางในยุคสมัยราชวงศ์ถัง  ดังนั้นในยุคที่ หงอคง อาละวาดบนสวรรค์ เมื่อ 500 ปีก่อน ก็จะต้องเป็น ยุคสมัยราชวงศ์ฮั่น อย่างแน่นอน อย่างที่ในนิยายระบุ เพราะราชวงศ์ถัง กับราชวงศ์ฮั่นนั้น ห่างกัน 400-600 ปีพอดี  เป็นการยืนยัน ตัวละครเซียนนักพรต คนนี้มาจาก ยุคฮั่น และ คือ ตัวจริง ตงฟางซัว อย่างแน่นอน

วันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

!จีน (701-762) หลี่ไป๋ โป๊ะเซียนแห่งไหสุรา กวีเอกของแผ่นดินจีน

หลี่ ไป๋ ( 李白) (ค.ศ. 701-762)

หลี่ไป๋ นับเป็น ยอดกวีจีนที่ยิ่งใหญ่แห่งราชวงศ์ถัง ได้รับยกย่องเป็น "เซียนแห่งกวี"  詩仙 ถือเป็นหนึ่งในสองคนเท่าที่ปรากฏในประวัติศาสตร์งานประพันธ์ของจีน  ชื่อของเขามักจะเคียงคู่กันกับชื่อของ ตู้ฝู่

บทกวีของหลี่ไป๋ได้รับอิทธิพลจากลัทธิเต๋า และการนิยมชมชอบการดื่มสุรา เช่นเดียวกับ ตู้ฝู่ หลี่ไป๋ นั้น ดื่มเหล้าเก่งขนาดมีชื่อติดอันดับอยู่ใน โป๊ยเซียนแห่งไหสุรา หรือบางคนแปลว่า  8 ผู้เป็นอมตะจากไหสุรา ก็คือแปลว่า 8 ผู้กินเหล้าแล้วไม่เมา แห่งยุคราชวงศ์ถัง (飲中八仙, Eight Immortals of the Wine Cup) 

หลีไป๋ เขาเป็นคนมีฐานะดี มาจากครอบครัวเป็นพ่อค้าที่มีฐานะดี  จึงสามารถออกเดินทางท่องเที่ยวไปได้เรื่อยๆ  ต่างกับคนอื่นที่ยากจนจนต้องเร่ร่อนพเนจรไปในที่ต่างๆ  


งานกวีนิพนธ์ของหลี่ไป๋ยังคงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน มีมากกว่า 1,100 ชิ้น มีสไตล์ทีแตกต่าง ล้ำค่า สง่างาม  และโรแมนติก โดยเฉพาะบทกวีเขาจะใช้แนวคิด เชิงพรรณนาเกินจริง และการเปรียบเทียบแบบสุดขั้ว แต่สำหรับการใช้คำ เขามักจะเลือกที่จะใช้คำทั่วไป แต่กลับเรียงประโยคที่สวยงาม และ เป็นธรรมชาติ

ต่างชาติมีการแปลบทกวีของเขาไปเป็นภาษาตะวันตกครั้งแรกในปี คศ 1862 โดย มาร์ควิส ดีเฮอร์วีย์ เดอ แซงต์เดนีส์ ในหนังสือ Poésies de l'Époque des Thang และต่อมาในปี  คศ 1901 งานกวีนิพนธ์ของหลี่ไป๋ก็เป็นที่รู้จักกว้างขวางในแวดวงวรรณกรรมตะวันตก เมื่อสำนักพิมพ์ Herbert Allen Giles พิมพ์เผยแพร่ผลงานเรื่อง "ประวัติศาสตร์วรรณคดีจีน" (History of Chinese Literature)

ประวัติ
ตำนานชีวิตของเขานั้นมีหลายตำนาน  เริ่มจาก หลี่ไป๋เป็นลูกพ่อค้าที่ร่ำรวย สถานที่เกิดยังไม่ทราบแน่ชัด แต่จากการสันนิษฐานของนักประวัติศาสตร์ เชื่อได้ว่า เขาน่าจะอยู่อาศัยในแถบเอเชียกลาง หรือ ประเทศ คีร์กิซสถาน ในปัจจุบัน เมื่ออายุได้ 5 ขวบ ครอบครัวของเขาย้ายมาที่เจียงหยู ใกล้กับเมืองเฉิงตูในมณฑลเสฉวน อย่างไรก็ดี แม้ว่า บิดาของเขาจะเป็นพ่อค้า แต่ก็เชื่อว่า บิดาของเขาก็น่าเป็นคนที่ชื่นชอบบทกวีเช่นกัน โดยมีตำนานเรื่องการตั้งชื่อ ของ หลี่ไป๋ ดังนี้

หลี่ไป๋ ในวัย 7 ขวบ ตอนนั้น พ่อของเขาก็ยังไม่ได้ตั้งชื่อให้เขา แต่ตอนนั้น บิดาของเขาคิดจะตั้งชื่อให้บุตรชายอย่างจริงจัง  เมื่อบิดาเขามองไปยังลานบ้านก็เห็นต้นไม้เขียวชะอุ่ม และเริ่มออกดอกบานสะพรั่ง ทำให้เขาเริ่มร่ายกวี

“春国送暖百花开,迎春绽金它先来”

“อุ่นไอใบไม้ผลิร้อยบุบผาเบ่งบาน ต้อนรับฤดูกาลใบไม้ผลิ”

มารดาของหลี่ไป๋ ก็ต่อบทกลอนทันที ว่า

“火烧叶林红霞落,”

“ใบไม้แดงดั่งเพลิง ร่วงหล่นพราว”

เด็กชายหลี่ไป๋ที่มีอายุแค่เจ็ดขวบ ได้ฟังก็สามารถต่อกลอนบทสุดท้ายทันทีว่า

“李花怒放一树白。”

“ดอกหลี่ฮวา พร่างพราว ขาวทั้งต้น”

จากปณิธานกวีบทนี้นั่นเอง  จึงเป็นที่มาให้ บิดาของเขาเอาคำว่า ไป๋ 白 ที่แปลว่า ขาว จากคำสุดท้ายของวรรคมาตั้งเป็นชื่อ หลี่ไป๋ เขาจึงได้ชื่อเป็น หลี่ไป๋ นับแต่นั้นเป็นต้นมา

ขณะที่อีกตำรา เชื่อว่า เขาสืบเชื้อสายจาก ฮ่องเต้  เพราะ ตอนนั้น ฮ่องเต้ถังไท่จง ชื่อเดิมคือ หลี่ซื่อหมิน บางคนเดาว่า เขาคงไม่กล้าใช้แซ่หลี่ เหมือนกับ ฮ่องเต้ แบบมั่วๆ แน่นอน หากตัว หลี่ไป๋ ไม่มีเชื้อสายฮ่องเต้อยู่เลย แต่ทฤษฎีนี้ มีระบุใน ตำนานราชวงศ์ถังใหม่ เท่านั้นไม่มีหลักฐานใดๆ ยืนยัน 

ตัว หลี่ไป๋ นั้นได้รับอิทธิพลทางความคิดจากปรัชญาของขงจื้อและ ลัทธิเต๋า ในวัยเด็ก เขาเป็นเด็กที่ชอบอ่านหนังสือ และร่ายกระบี่อย่างมาก  ทำให้หลี่ไป๋น้้น เป็นที่คนที่ลำพองตัว และ มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง ใจนักเลง เปิดผย และรักอิสระ 

แม้ว่า ครอบครัวของเขาจะมั่งคั่งมากมาย แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้เขาได้รับโอกาสเหมาะในการเข้าไปเป็นขุนนางในราชวงศ์ถัง แม้ว่า ตัวเขาจะเคยคิดที่จะเป็นขุนนาง แต่ ตัวเขาก็ไม่เคยเดินทางไปสอบเข้ารับตำแหน่งขุนนางเลย

พอย่างเข้าอายุ 25 ปี เขาเลือกที่จะเดินทางออกจากเสฉวน เดินทางท่องเที่ยวไปทั่วประเทศจีน แต่จุดนี้เองทำให้ เขาเริ่มต้นแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างปัญญาชน ทำให้ตัวหลี่ไป๋เอง เริ่มสะสมประสบการณ์และสามารถเพิ่มพูนสติปัญญาให้กับตนเองได้อย่างรวดเร็ว

ปี ค.ศ. 735 หลี่ไป๋ ขณะที่เขาอายุ 35 ปี เขาเริ่มคบหาเพื่อนสนิท 5 คน แต่เพื่อนสนิท 5 คนนี้เมาหัวราน้ำทุกวัน จนได้ฉายาว่า 6 เจ้าสำราญแห่งห้วยจู๋ซี ที่ภูเขาฉูไหล ในชานตุง อย่างไรก็ดี หลี่ไป๋ ตอนนี้ เขาเริ่มมีชื่อเสียงในหมู่ปัญญาชนแล้ว โดยเฉพาะ ด้านบทกวี และแล้วเขาก็เริ่มคิด เรื่องการสอบเข้ารับราชการอีกครั้ง

เขาจึงเดินทางไปยังเมืองฉางอาน เมืองหลวงในขณะนั้น  ถึงตรงนี้ จะมีบางตำนานเล่าว่า เขาได้เดินทางไปที่นั่นเพื่อ เคารพเป็นลูกศิษย์ของอาจารย์ลัทธิเต๋า นาม หวูจวิน  เมื่อฮ่องเต้รับสั่งให้อาจารย์เข้ารับราชการ หลี่ไป๋จึงต้องเดินทางตามอาจารย์ไปเข้ารับราชการด้วย มากกว่าที่เขาจะตั้งใจสอบเข้ารับราชการเอง  

แต่บางตำนานเล่าว่า  เพราะชื่อเสียงของเขา เขาจึงได้รับการแนะนำตัวแก่ฮ่องเต้ ถังเสวียนจง แต่บทสรุปคือ ปี ค.ศ. 742 เขาก็สามารถเข้าสู่ สภาการศึกษา ซึ่งเป็นสภานักปราชญ์ของฮ่องเต้ และเขายังได้รับตำแหน่ง ฮ่านหลิน หรือ ที่ปรึกษาส่วนตัวของฮ่องเต้ ด้านอักษรศาสตร์ 

ภายในวัง เขายังคงปฎิบัติตัวเป็นคนเจ้าสำราญย์ ยังคงดื่มเหล้าอย่างหนักเช่นเดิม จนเขาได้รับฉายาว่า โป๊ยเซียนในไหสุรา แห่งราชวงศ์ถัง  แม้ว่า วันรุ่งขึ้น เขาจะต้องเข้าเฝ้าฮ่องเต้ คืนนี้เขาก็ยังคงดื่มเหล้าอยู่เช่นเดิม

หลี่ไป๋ อยู่ในฐานะกวีในราชสำนักได้ไม่ถึง 2 ปี เขาก็ต้องระเห็จออกจากวัง โดยเหตุอันไม่ควร 

ตำนานเล่าเรื่อง การออกจากวังของหลี่ไป๋ นั้น มี 2 ตำนานคือ

ตำนานแรก  ก่อนหน้าเขาเคยเมาหนักแล้ว สั่งให้ขันทีคนดัง เกาหลี่ซื่อ  คนสนิทฮ่องเต้ ถอดรองเท้าให้เขา ซึ่ง เกาหลี่ซื่อ ก็ถอดรองเท้าให้เขา แต่ผูกใจเจ็บ จึงใส่ร้ายเขาทีหลัง ว่าบทกวีเขานั้น นำ หยางกุ้ยเฟย สนมคนโปรดของฮ่องเต้ไปเปรียบเปรยเรื่องหน้าตา ทำให้หยางกุ้ยเฟยโกรธมาก   แต่โชคดี ที่ หลี่ไป๋ ก็ถือเป็นคนโปรดของฮ่องเต้เช่นกัน ทำให้เขาได้รับเงินก้อนใหญ่ เพื่อแลกกับการออกจากวัง 

ขณะที่อีกตำนาน กลับปั้นให้เขาเป็นคนดีเลยทีเดียว โดยเล่าว่า หลี่ไป๋ เข้าไปในวัง และได้พบกับความฟอนเฟะของราชสำนัก ทำให้เขาตัดสินใจออกเดินทางออกจากวัง หลังจากนั้นหลี่ไป๋ก็เดินทางท่องเที่ยวไปทั่วแผ่นดินจีนโดยมิได้ตั้งรกรากที่ไหนอีกเลยตลอดชั่วชีวิต

จนในที่สุด  เขาได้พบกับ ตู้ฝู่ ในฤดูใบไม้ร่วงของปี ค.ศ. 744 และอีกครั้งในปีถัดมา พวกเขาก็ไม่ได้พบกันอีกเลยหลังจากนั้น แต่ ตู้ฝู่ ก็ยังให้ความสำคัญต่อมิตรภาพระหว่างพวกเขาเสมอ (บทกวีของตู้ฝู่หลายบทเกี่ยวข้องกับ หลี่ไป๋ ในขณะที่หลี่ไป๋เขียนถึงตู้ฝู่เพียงบทเดียว)

ในช่วงของ กบฏอันลู่ซาน ขณะนั้น หลี่ไป๋ อายุถึง 52 ปีแล้ว เขากลับไปเสนอให้เงินทุนสนับสนุน กลุ่มกบฎอันลู่ซาน  โดยไม่ทราบสาเหตุใดแน่ชัดว่า หลี่ไป๋เขาทำไปเพื่อเหตุผลอะไร  แต่เมื่อกลุ่มกบฎอันลู่ซัน พ่ายแพ้ ก็ส่งผลให้ หลี่ไป๋ ต้องถูกเนรเทศไปด้วย อีก 7 ปีต่อมา เขาถึงได้รับการอภัยโทษซึ่งตอนนั้นเขาก็อายุ 59 ปีแล้ว

หลี่ไป๋เสียชีวิตในวัย 61 ปี ในปี ค.ศ. 762 ที่ มณฑลอานฮุ่ย  คนส่วนใหญ่ในประเทศจีน เชื่อตามตำนานดังว่า เขาเสียชีวิตเพราะ เขานั่งเรือออกไปกินเหล้า แล้วเมา เลยกระโดดไล่จับเงาจันทร์ในแม่น้ำ โดยเฉพาะ บทกวีดังของเขา คือ บทไล่จับเงาพระจันทร์ในแม่น้ำ

แต่เรื่องตลก ก็คือ หาก หลี่ไป๋ ไล่จับเงาจันทร์ จนจมน้ำเสียชีวิตแล้ว บทกวีนี้มันจะเกิดขึ้นได้อย่างไร

ขณะที่ นักประวัติศาสตร์ เชื่อว่า เขาน่าจะเสียชีวิต เพราะพิษจากสารตะกั่ว เนื่องจาก เขาเป็นคนชื่นชอบการดื่มยาอายุวัฒนะ  ส่วนกลุ่มสุดท้าย คือ นักประวัติศาสตร์จีนอีกกลุ่มเชื่อว่า เขาน่าจะเสียชีวิตเพราะพิษสุราเรื้อรังมากที่สุด  เพราะเขากินสุราอย่างหนักมาตั้งแต่ยังหนุ่มจนอายุ 61 แล้ว ก็ไม่น่ารอดจากโรคนี้ไปได้

สุดท้ายนี้ขอจากลาด้วย บทกวี ไล่จับเงาจันทร์ในน้ำ ของหลี่ไป๋ ปิดท้ายกันนะครับ

花間一壺酒   หนึ่งป้านสุรา ท่ามกลาง มวลบุปผา

獨酌無相親    แม้นสรสรวล เฮฮา แต่เดียวดาย ไร้คู่ผูกพัน

舉杯邀明月   ยกจอกสุรา ขึ้นฟ้า เชิญน้องจันทร์  ดื่มด่ำ

對影成三人    พบเงาจันทร์  เป็นดั่งพยาน ยืนยัน 

月既不解飲    แต่น้องจันทร์  มิอาจ ดื่มด่ำได้ 

影徒隨我身    แต่น้องจันทร์ ยังคงมีเงา  อยู่รอบตัว

暫伴月將影    ทั้งเงาและน้องจันทร์ ยังคง อยู่เคียงกัน

行樂須及春    อิ่มเอม สุขสันต์ ดั่ง ฤดูวสันต์

我歌月徘徊    ยามข้าร้องเพลง น้องจันทร์นั้น เคลื่อนคล้อย

我舞影零亂    แต่ยามข้าเต้น  เงาจันทร์ กลับกระส่าย

醒時同交歡    ยามสร่างเมา ใกล้เข้ามา ยิ่งสุขใจ 

醉後各分散    ยามจากลา  ความเมามาย มลายหาย

永結無情游    ความผูกพันระหว่าง เงาและน้องจันทร์ ยังเป็นดั่ง นิจนิรันดร

相期邈雲漢    ข้าขอสัญญา  เราจะเจอกัน บนสวรรค์ ทางช้างเผือก.....

วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

!จีน(429-500) จู่ชงจือ นักคณิตศาสตร์ กับค่า PI

จู่ชงชื้อ นักคณิตศาสตร์อัจฉริยะของจีน แม้ว่า จู่ชงจือ จะไม่ได้เป็นคนประดิษฐ์ สี่สิ่งสุดยอดของจีน คือ เข็มทิศ ดินปืน กระดาษ และ การพิมพ์ แต่เขาก็ถือว่า อยู่ระดับเดียวกัน เพราะ เขาเป็นคนคำนวณค่า Pi ที่ ละเอียดที่สุดแหน่งยุค เพราะอีก 1,000 ปีต่อมาถึงมีคนที่สามารถชนะเขาได้ 

จู่ชงชื้อ (祖冲之 Tsu-Chung-Chih ค.ศ.429–500 ) ถือเป็นนักคณิตศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของประเทศจีน  เกิดที่เมือง เว่ยหยวน อยู่ในช่วงยุคราชวงศ์เหนือ-ใต้  เป็นนักคณิตศาสตร์และนักดาราศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ในสมัยโบราณของจีน บรรพบรุษของเขาล้วนทำงานในด้านการวิจัยปฎิทินดาราศาสตร์

สมัยเด็ก 
ปู่ของเขาทำงานให้ราชวงศ์จิ้น โดยรับตำแหน่ง หัวหน้าสร้างอาคารและวัง เมื่อเกิดสงครามครั้งใหญ่ ทำให้ราชวงศ์จิ้นตะวันตกถึงคราวล่มสลาย   ทำให้พ่อของ จู่ชงจือ ก็รับตำแหน่งนี้ต่อมา  สิ่งนี้เองเพาะบ่มให้ จู่ชงจือ มีความรู้ด้านดาราศาสตร์ และคณิตศาสตร์ติดตัวมาตั้งแต่เด็ก

ค่า Pi
การคำนวณหาค่า Pi ถือเป็นหัวข้อสำคัญในยุคนนั้น  และถือเป็นความลำบากอย่างยิ่งในวิชาคณิตศาสตร์ในสมัยนั้น นักคณิตศาสตร์หลายคนในสมัยโบราณของจีนต่างมุ่งมั่นในการคำนวณหาค่า Pi โดยถือกันว่า ใครคำนวณหาค่าได้ตำแหน่งทศนิยมละเอียดมากเท่าไร ก็ยิ่งมีความสามารถมากขึ้นเท่านั้น ในราวคริสต์ศักราชที่ 464 ขณะที่ จู่ชงจือ มีอายุ 35 ปี เขาก็ได้เริ่มต้นลงมือคำนวณหาค่า Pi

ย้อนกลับไป ก่อนสมัยของ จู่ชงจือ ผู้คนได้รับรู้จากภาคปฏิบัติมาว่า ความยาวของเส้นรอบวงมีค่าเป็น 3 เท่ากว่าๆ ของความยาวของเส้นผ่าศูนย์กลาง แต่ยืนยันไม่ได้ว่า ตัวเลขที่แน่นอนคือเท่าไร

สูตรคณิตศาสตร์ในสมัยปัจจุบันนี้  คือ 2PiR = เส้นรอบวง หรือ เส้นผ่านสูญสูตร x Pi = เส้นรอบวง

แต่นักคณิตศาสตร์ปัจจุบัน รู้ดีว่า ค่า Pi นี้เป็นค่า อตรรกยะ คือ เป็นตัวเลขทศนิยมที่ไม่ซ้ำกันเลย 

ก่อนสมัย จู่ชงจือ ก็มีนักคณิตศาสตร์โบราณชาวจีน ในยุคสามก๊ก ชื่อ  หลิววุย  ได้คำนวณค่า Pi  ด้วยสูตรการตัดวงกลมออกด้วย รูปหลายเหลี่ยม ให้มากที่สุด  กล่าวคือ ใช้เส้นรอบรูปทั้งหมดของรูปหลายเหลี่ยมด้านเท่าที่ บรรจุไว้ในรูปวงกลมให้ใกล้เคียงกับเส้นรอบวงมากที่สุดก็จะเป็น ความยาวของเส้นรอบวง ด้วยวิธีการนี้ หลิววุย สามารถ คำนวณหาค่า ได้ถึงทศนิยมตำแหน่งที่ 4 บนพื้นฐานของนักคณิตศาสตร์ในรุ่นก่อน

จู่ชงจือ ได้ใช้ความ พยายามอย่างขยันหมั่นเพียร ในที่สุด คำนวณค่า ได้อยู่ระหว่าง 3.1415926 -3.1415927 ซึ่งนับว่าถูกต้องถึงทศนิยมตำแหน่งที่ 7 แต่ไม่มีการบันทึกว่า จู่ชงจือได้ค่านี้มาด้วยสูตรอะไร แต่ก็ถือว่า เป็นสถิติ ของค่า Pi ของทศนิยมตำแหน่งที่ 7 กว่าที่นักคณิตศาสตร์ชาวตะวันตกจะคิดทศนิยมตำแหน่งที่แซงได้ ต้องใช้เวลามากกว่า 1,000 ปี 

เรียงลำดับดังนี้  อาร์คีมีดิส นั้นคิดค่า Pi ได้ เพียง 4 ตำแหน่ง คือ  3.1408 ในปี ก่อน ค.ศ.200 
ขณะที่ ลุดอลฟ์ คิดค่า Pi ได้ถึง 20 ตำแหน่ง ในปี 1596
FrançoisViete นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ที่คิดค่า Pi ได้ หลายตำแหน่งมาก ในปี 1600 Viete นั้นเหนือว่าคนอื่นคือ เขาใช้สมการคณิตศาสตร์ ของ อาร์คีมีดิส มาจัดรูปแบบ อนุกรมแบบอนันต์  หลังจากนั้นในศตวรรษที่ 20 การคำนวณก็สามารถทำได้หลายร้อยหลัก ขณะที่ หลังจากมีคอมพิวเตอร์เราก็สามารถคำนวณได้หลายล้านหลัก

เพื่อยกย่องคุณงามความดีของจู่ชงจือ นักคณิตศาสตร์จีนบางท่าน เสนอให้เรียกค่า ว่า”ค่าจู่” แทนที่จะเรียกค่า Pi

สูตรปริมาตรวงกลม
นอกจากผลงานด้านการคำนวณค่า แล้ว จู่ชงจือ ยังร่วม กับลูกชายของตนคำนวณ ปริมาตรทรงกลมด้วยวิธีการที่แยบยล ล้ำเลิศ นักคณิตศาสตร์ชาวอิตาลี กว่าจะคิดวิธีการนี้ได้ก็ เป็น เวลาอีก 1,000 ปีให้หลังเช่นกัน ชาวตะวันตกเรียกว่า กฏคาวาเลียริ (cavalieri) ในวงการคณิตศาสตร์จีนได้เรียกกฏนี้ว่า “กฏของจู่” เพื่อ ยกย่องคุณูปการอันใหญ่หลวงของ จู่ชงจือ และลูกชายของเขา

การหาปริมาณของที่ทรงกลม ของเขา คือ เป็นπ D ยกกำลัง 3 /6 โดยที่ D เป็นเส้นผ่าศูนย์กลาง (เทียบเท่าสูตรปัจจุบัน คือ  4 π r ยกกำลัง 3 /3)

ตรงจุดนี้ผมก็ไม่แน่ใจว่า ยุคสมัยนั้นจะมีค่า ยกกำลังแล้วหรือยัง นะครับ อันนี้ผมลอกคนอื่นมานะครับ

นอกจากนี้เขายังสามารถคำนวณสิ่งเหล่านี้ไดัอีก 
- เขาคำนวณว่า  1 ปี มี 365.24281481 วัน ซึ่งใกล้เคียงกับค่าปัจจุบัน คือ  365.24219878 วัน
อันนี้เอง ที่ทำให้ เรารู้ว่า ในทุก 4 ปีเราต้องชดเชย 1 วันในเดือนกุมภาพันธ์ ที่จะมี 29 วัน หรือเราเรียกว่า ปีอธิกสุรทิน (อะ ทิก สุ ระ ทิน) แต่จะมีข้อยกเว้น คือ ทุกๆ 100 ปี ก็จะต้องยกเว้น ปีอธิกสุรทิน 1 ปี เพื่อให้เศษใกล้เคียงมากที่สุด  

- เขาคำนวณ การโคจรของดวงจันทร์ที่หมุนรอบโลก 1 รอบ ได้คือ  27.21223 วัน ซึ่งใกล้เคียงกับค่าปัจจุบัน คือ  27.21222 วัน 
(ขณะที่ โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ไปในทางเดียวกัน ทำให้รอบการเกิด วันเพ็ญ-วันเพ็ญ กลายเป็น 29.6 วัน เรียกว่า เดือนจันทรคดิ หรือ เวลา 1 เดือนนั่นเอง)
(การรู้ 2 ค่าข้างต้น ทำให้สามารถคำนวณสุริยคราสได้)

(ดวงจันทร์จะหมุนรอบโลก =   
ปฏิทินจันทรคติไทย คือ ดวงจันทร์จะมี 
เริ่มต้นจาก 
เดือนดับ หรือ แรม 15 ค่ำ (ดวงจันทร์มืดสนิท ดวงจันทร์จะอยู่ด้านเดียวกับ ดวงอาทิตย์ แต่ทิศดวงจันทร์ที่รับแสงจะด้านดวงอาทิตย์ เลยหัวด้านมืดมาที่โลก เนื่องจากดวงจันทร์อยู่ทิศเดียวกับ ดวงอาทิตย์ทำให้ เราอาจะเห็น ดวงจันทร์ในตอนกลางวันด้วย ) 
ข้างขึ้น 3ค่ำ  4 ค่ำ ไปเรื่อยๆ  (ตอนนี้ ดวงจันทร์ทุกวัน จะค่อยๆ ขึ้น   ดวงจันทร์จะยังอยู่ฝั่งเดียวกับดวงอาทิตย์ )
วันเพ็ญ หรือ ขึ้น 15 ค่ำ (ดวงจันทร์จะเต็มดวง เพราะอยู่ตรงข้ามดวงอาทิตย์ โลกอยู่ตรงกลาง ทำให้ดวงจันทร์สะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์มามากที่สุด )
และข้างแรม (ดวงจันทร์จะค่อยๆเป็นเสี้ยวเล็กลงๆ) 


- การคำนวณ 1 ปีของดาวพฤหัสประมาณ 11.858 ปี ซึ่งใกล้เคียงกับ 11.862 มากอย่างที่เรารู้ในวันนี้

สิ่งประดิษฐ์
สิ่งประดิษฐ์ เขาสร้าง โรงงาน ค้อนพลังน้ำ , เรือกลไฟ ที่ใช้เท้าปั่นไปปั่นน้ำ (เป็นเรือที่ใช้ขนส่งของเท่านั้น และเป็นเรือที่เร็วที่สุดในยุคนั้น ที่ไม่ใช้ลม) รวมถึง รถม้าชี้ใต้ (เป็นรถที่จะวิ่งไปทางทิศใต้เสมอ โดยมีการพัฒนาการใช้แม่เหล็ก และเฟืองท้าย เป็นหลักสำคัญ แม้ในยุคสามก๊ก จะมีคนคิดค้นได้แล้ว แต่มีการให้พลังงานโดยคนอยู่ภายใน  แต่ ของ จู่ นั้นทำให้สามารถใช้งานได้จริง)



จู่ชงจือเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่คิดอัตราส่วนระหว่างเส้นรอบวงกับเส้นผ่านศูนย์กลางถึงตัวเลขหลักที่ 7 หลังจุดทศนิยมคนแรกในโลก อาล์ กาซี(阿尔卡西AL- KASHI) นักคณิตศาสตร์ชาวอาหรับ(阿拉伯)ในศตวรรษที่ 15 และเวียต(韦达VIETE) นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสในศตวรรษที่ 16 ได้คำนวณอัตราส่วนระหว่างเส้นรอบวงกับเส้นผ่านศูนย์กลางถึงตัวเลขหลักที่ 16 หลังจุดทศนิยม ถึงได้นำหน้าเขาไป นอกจากนี้ จู่ชงจือยังได้เรียบเรียงตำราคณิตศาสตร์ "จุ้ยสู้(缀术)" ซึ่งได้รวบรวมผลงานทางคณิตศาสตร์ของเขาในสมัยราชวงศ์ถัง "จุ้ยสู้" ยังเป็นหนึ่งในบรรดาตำราการสอนคณิตศาสตร์ที่สำคัญด้วย

สิ่งที่จู่ชงจือค้นพบ

- ค่าPI ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น

- คำนวณเวลาหนึ่งปีเท่ากับ 365.24281481 วัน ซึ่งใกล้เคียงกับปัจจุบันที่ได้ค่า 365.24219878

- คำนวณหนึ่งปีของดาวพฤหัสเท่ากับ 11.858ปี ซึ่งปัจจุบันได้ค่า 11.862

คำนวณจำนวนของการซ้อนกันระหว่างดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ได้ 27.21223 ใกล้เคียงกับปัจจุบันมากคือ 27.21222 ทำให้เขาทำนายสุริยุปราคาได้ถึง4ครั้งในรอบ23ปี

- คิดค้นสูตรปริมาตรวงกลม 4πr³/3

- ค้นพบกฎของคาวาเลียรี (Cavalieri's principle) ก่อนคาวาเลียรีถึง 1000ปี (แต่หลิวฮุยค้นพบก่อนแล้ว) ดู






วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

ฮองเฮาหม่า (1332-1382) ฮองเฮาเท้าโตของจูหยวนจาง

หม่าชิวเซียง จักรพรรดินีเท้าโตแห่งราชวงศ์หมิง

ฮองเฮาหม่า หรือ จักรพรรดินีหม่า  (Empress Ma: 馬皇后) หรือ ชื่อเป็นทางการคือ สมเด็จพระจักรพรรดินีเซี่ยวฉีเกา (Empress Xiaocigao: 孝慈高皇后) ในจักรพรรดิหงอู่ (จูหยวนจาง) พระนามเดิม "หม่าชิวเซียง" 

จุดกำเนิด

จุดเริ่มต้นของเธอ มีระบุไว้ในตำนานเท่านั้น ไม่ได้มีรายละเอียดในพงศาวดารราชวงศ์หมิงแต่อย่างใด  จึงมีความหลากหลายในแต่ละตำนาน

อย่างไรก็ดี ตำนานระบุว่า  เธอเกิดในปี ค.ศ.1332 ในครอบครัวยากจน ตำนานไม่ได้ระบุชื่อบิดา มารดา แต่ครอบครัวเป็นเพียงชาวบ้านธรรมดาๆ เข้าขั้นยากจน ต้องระหกระเหเร่ร่อนเพื่อเอาชีวิตรอดไปวันๆ หม่าชิวเซียงที่ยังเด็กจึงต้องเดินติดสอยห้อยตามไปด้วยทุกที่ เธอต้องเดินทางผ่านเส้นทางทุรกันดารทำให้เท้าของนางมีขนาดใหญ่โตกว่าเท้าสตรีทั่วไป

หม่าชิวเซียง ในวัยเด็ก ไม่ได้มีรูปโฉมสะสวยหรือกิริยางดงามตามแบบฉบับสตรีที่ได้รับการประคบประหงมอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือน ไร้การศึกษา ตลอดเวลานางต้องเผชิญความเหนื่อยยากจนร่างกายมีความแข็งแกร่งบึกบึน

หลังจากที่บิดาของเธอ ได้พบ "กัวจื่อซิง" ขุนศึกที่กำลังตั้งตัวเป็นใหญ่ บางตำนานว่า บิดาของนางเกิดล้มป่วย  บางตำนานว่า บิดาของเธอต้องคดีฆาตกรรมจึงต้องหลบหนี  แต่ที่สุดแล้ว เขาตัดสินใจยกนางให้เป็นลูกบุญธรรมของ กัวจื่อซิง

ตรงนี้ ตำนานระบุว่า ทำให้เธอได้รับการศึกษา และฝึกงานบ้านงานเรือน อย่างดีจาก ภรรยาของ กั่วจื่อซิง 

พออายุ 20 ปี เธอกลับเป็นคนที่มีบุคลิก สงบเสงี่ยม นิ่งและใช้สติปัญญาเป็นหลักในการคิดเสมอ  ไม่ว่าจะตกอยู่ในสถานะการณ์ที่ร้อนรนเช่นไรก็ตาม นอกจากนี้ เธอยังมีลักษณะอ่อนโยน จิตใจดีงาม และ ไม่นิยมพูดคำหยาบคาย ไม่ว่าจะเกิดเรื่องอะไร ที่สำคัญเธอไม่เคยแสดงอารมณ์เกรี้ยวกราดอย่างจริงจังเลยสักครั้ง 

จูหยวนจางปรากฎตัว

การปรากฏตัวของจูหยวนจางทำให้ กัวจื่อซิง มองเห็นแวว จึงยก บุตรีบุญธรรม  หม่าชิวเซียง ให้เป็นภรรยา ความสัมพันธ์ของทั้งคู่ไม่ได้หวานชื่นโรแมนติกแต่กลับเต็มไปด้วยความช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน จนเรื่องราวความรักของทั้งคู่ ติด หนึ่งในเรื่องรักโรแมนติกแห่งราชวงศ์หมิงกันเลยทีเดียว

เมื่อจูหยวนจางนำกองกำลังออกรบอยู่แนวหน้า หม่าชิงเซียงก็จะคอยดูแลความสงบเรียบร้อยอยู่แนวหลังและเตรียมพร้อมเสมอหากต้องหยิบจับอาวุธเพื่อช่วยเหลือสามีทำศึกเสมอ

เรื่องราวความรักของทั้งคู่นั้นน่าเอ็นดูมาก โดยเฉพาะเรื่องแผลที่หน้าอก โดยในที่นี้จะขอเล่าเรื่องตามตำนานที่ยาวที่สุดนะครับ เพราะมีหลายตำนาน  

จูหยวนจาง ตอนนั้น กำลังสร้างผลงานโดดเด่นจนบุตรชายแท้ๆ ของ กัวจื่อซิง อิจฉาริษยา วางแผนใส่ร้ายจูหยวนจาง ว่ากำลังไปเข้ากับพวกอื่น จนจูหยวนจาง  ถูกกักบริเวณไม่ให้อาหารตกถึงท้อง หม่าชิงเซียง จึงแอบนำขนมผิงอุ่นๆ ซุกเอาไว้ในอกเพื่อแอบเอาไปให้สามีกิน

ทว่าครั้งหนึ่ง ขณะ นำขนมผิงไปให้สามี หม่าชิวเซียง บังเอิญเจอกับ กัวจื่อซิง กับแม่บุญธรรมของเธอ เมื่อลูกชาย เห็นลักษณะผิดปกติ ก็รับทราบได้ทันทีว่านางกำลังแอบเอาอาหารไปให้จูหยวนจาง  จึงแกล้งถ่วงเวลาสนทนาให้นานกว่าปกติ

ตอนนั้น นางต้องอดทนรับไอความร้อนจากขนมผิงอยู่นานจนทำให้มีแผลเป็นที่หน้าอก เมื่อแม่บุญธรรมของนาง รู้สึกผิดปกติ  จึงรีบสั่งให้นำตัวนางเข้าห้องครัวทันที และนำตัวมารักษา โดยได้กำชับกับบุตรชาย ให้รีบปล่อยตัว  จูหยวนจาง และส่ง จูหยวนจาง ไปรบทางตอนใต้แทน ส่วนตัวเธอแม้จะอยู่แนวหลัง แต่ก็เริ่มต้นช่วยเหลือสามี ด้วยการ เย็บเสื้อ และทอรองเท้า เพื่อให้ทหารทุกคนมีชุดใส่เพื่อออกรบ 

เรื่องราวตอนนี้เองที่ ถูกบันทึก เป็นหนึ่งในเรื่องรักโรแมนติกแห่งราชวงศ์หมิง 

การศึก

ครั้งหนึ่ง จูหยวนจางถูกข้าศึกยิงธนูใส่ขาจนเจ็บสาหัส เดินไม่ไหว หม่าชิ่วเซียง ทราบข่าวสามีสุดที่รักตกอยู่ในอันตรายจึงดาหน้าฝ่าดงข้าศึก ไปช่วยสามี เธอแบกสามีขึ้นหลัง วิ่งหนีอย่างรวดเร็ว ถ้าไม่ได้เท้าโตๆของหม่าชิ่วเซียง จูหยวนจางอาจไม่มีลมหายใจจนได้มาเป็นฮ่องเต้แน่นอน

ราชินีหม่า

ภายหลังจูหยวนจาง สามารถสถาปนาราชวงศ์หมิงได้สำเร็จ  หม่าชิวเซียงจึงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีหม่า (หรือ ฮองเฮา หม่า) นางคอยช่วยเหลือในฐานะที่ปรึกษา ตรัสให้จูหยวนจางส่งเสริมคนดีมีความสามารถรับใช้แผ่นดินโดยไม่ใส่ใจชาติตระกูล บัดนี้ แม้พระนางจะมีอำนาจยิ่งใหญ่แต่ยังคงใช้ชีวิตสมถะเรียบง่าย ไม่นิยมความหรูหราฟุ่มเฟือย

ผิดกับ จูหยวนจาง ที่ได้ขึ้นชื่อว่าโหดร้ายกับขุนนาง แต่กับประชาชน จูหยวนจางกลับเป็นฮ่องเต้ระดับมหาราชเลยทีเดียว ส่วนหนึ่ง เป็นเพราะ การมีศรีภรรยา อย่าง ฮองเฮาหม่า อยู่ข้างๆ เป็นคู่คิดคอยเตือนสติ แถมยังคอยช่วยเหลือ ขุนนางหลายคนให้รอดตายก็เพราะ ฮองเฮา หม่า ที่คอยช่วยเหลือให้พันจากการถูกประหาร

สาวใช้ในวัง
ครั้งหนึ่ง มีสาวใช้ในวังคนหนึ่งทำงานผิดพลาด จูหยวนจาง โกรธจัดและกำลังจะออกคำสั่ง ฮองเฮาหม่า จึงแกล้งโกรธตัดหน้าสามี  และรีบออกคำสั่งให้ รีบส่งตัวเธอไปให้ กง จิ้งซี่ ตัดสินลงโทษทันที

จูหยวนจาง สงสัยอย่างมาก จึงรีบถามฮองเฮาหม่า  ฮองเฮาหม่าจึงตอบกลับว่า  หากท่านลงโทษพวกเธอตามความโกรธ นั่นหมายความว่า ท่านกำลังลำเอียง จึงควรส่งตัวไปให้ กง เจิ้งซี ตัดสินด้วยความเป็นธรรมจะดีกว่า" 

เหตุการณ์ครั้งนี้ จะเห็นได้ว่า ฮองเฮาหม่านั้น ปริพานไหวพริบนั้น ไม่ธรรมดา 

ความประหยัด
ที่สำคัญ เธอยังนิยมใช้เสื้อผ้าที่ผ่านการซักซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนกว่าเสื้อผ่าเหล่านั้นจะหมดสภาพไป   และเธอก็ไม่นิยมเปลี่ยนชุดใหม่ ที่สำคัญ เธอยังตั้งโรงทอผ้า ในราชวัง เพื่อใช้ผลิตเสื้อผ้าแจกจ่ายให้กับ ประชาชนที่ยากจน โดยเฉพาะผู้สูงอายุ นอกจากนี้ ยังสั่งสอนพระธิดา 2 องค์ ให้ ประหยัด โดยเฉพาะการสั่งสอนว่า พวกเธอเกิดในภาวะที่มั่งคั่งแล้ว ย่อมไม่รู้จักความยากลำบาก  ขอให้พวกเธอศึกษาความยากลำบากในการทอผ้าไว้เพื่อคอยระลึกถึงความยากลำบากเสมอ 

ความมัธยัด
ครั้งหนึ่ง รัฐบาลกำลังรีดภาษี เพื่อมาสร้างกำแพงเมือง 

เธอจึงถามจูหยวนจางว่า  ทำเช่นนี้แล้ว ชีวิตของประชาชน จะมั่นคงหรือไม่ ?  
จุหยวนจาง สงสัยจึงถามกลับว่า  คำถามนี้ หมายถึงเรื่องอะไร ?
เธอจึงตอบจูหยวนจางกลับว่า เด็กคนหนึ่งจะมีความมั่นคงในชีวิตหรือ ถ้าทุกครัั้งที่มีภัยพิบัติ แล้ว ทางวังต้องเอาอาหารไปแจก และทางวัง ทำได้แค่เพียงสวดมนตร์อ้อนวอนเท่านั้น 

เหตุการณ์นี้ ความจริงอ้างอิงจากที่จูหยวนจางก่อกบฎ เพราะภัยพิบัติทำให้ราชวงศ์หยวนต้องล่มสลายนั่นเอง
 
เธอกล่าวต่อว่า มันจะเป็นการดีกว่า ถ้าเราอดออมไว้ล่วงหน้า เพื่อเผชิญหน้ากับ ภัยพิบัติ และบอกกับจูหยวนจางว่า ในฐานะ ท่านเป็นผู้นำของประชาชน ท่านจึงควรเลี้ยงตัวเองให้น้อยลง และสนับสนุนให้ผู้อื่นให้มีมากขึ้น
 
หลังจากนั้น จูหยวนจางก็ลดขนาดกำแพงเมืองลง และลดการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยลง

การศึกษาทีคือสิ่งสำคัญ
หันมามองด้านการศึกษา ฮองเฮาหม่า เป็นคนที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาและให้เกียรติกับบุคลากรทางการศึกษาอย่างมาก ขุนพลทหารที่เก่งแต่การศึก แต่พอถามเรื่องวิชาการกลับไปไม่เป็น ฮองเฮาหม่าก็จับเหล่าขุนพลมาเรียนหนังสือ เพื่อให้เวลาอยู่ท้องพระโรงขุนพลทหารเหล่านี้จะได้อวดทักษะด้านวิชาการได้บ้าง หรืออย่างน้อยก็จะได้เข้าใจความคิดเห็นคนอื่นบ้าง

ครั้งหนึ่ง จูหยวนจางไปดูการแสดงโคมไฟ แล้วโคมไฟโคมหนึ่งทำเป็นรูปสตรีเท้าโตอุ้มแตงโมเดิน ซึ่งสื่อถึง ฮองเฮาหม่า  เพราะ ฮองเฮาหม่า เธอไม่ได้รัดเท้าเหมือนสตรีผู้ดีคนอื่นๆ เนื่องจากชีวิตเกิดมาก็ต้องวิ่งหนีในศึกสงครามแล้ว จูหยวนจาง ทรงกริ้วมากตำหนิว่า  ประชาชนไม่รู้จักใช้สติปัญญาว่าอะไรควรไม่ควร

หม่าฮองเฮาจึงกล่าวว่า 

ประชาชนไม่รู้จักคิดใช้สติปัญญา เพราะประชาชนยังด้อยการศึกษา พระองค์ไม่ควรโกรธประชาชน แต่ควรโทษตัวเองที่ไม่ทำให้ประชาชนมีสติปัญญาได้

จากเหตุการณ์นี้ ทำให้ จูหยวนจาง มีรับสั่งจัดตั้งโรงเรียนขึ้นมากมายหลายแห่งทั่วประเทศเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีการศึกษามากขึ้น

ฮองเฮาหม่า  แม้จะเป็นถึงฮองเฮาแล้ว แต่ก็ยังเสด็จทำนาร่วมกับประชาชน จึงถือเป็นสตรีที่ทำงานหนักมากมาโดยตลอดตั้งแต่ยังไม่เป็นฮองเฮา จนมาเป็นฮองเฮาก็ยังทำงานหนัก เพื่อพัฒนาบ้านเมืองหลังสงครามให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยหม่าฮองเฮาเคยพูดกับจูหยวนจางว่า

“แผ่นดินในปกครองของเรา หากยังมีคนอดอยากหิวโหย  คนยากไร้ นั่นไม่ใช่ความผิดของเขาที่เกิดมาจน แต่เป็นความผิดที่เกิดมาในยุคที่มีเราเป็นผู้ปกครองแผ่นดิน”

เสียชีวิต 

ในปี 1382 นางล้มป่วยหนักจนต้องนอนบนเตียง จูหยวนจาง เรียกบรรดาขุนนาง เพื่อร่วมกันสวดมนต์ และอธิษฐานให้ฮองเฮาหม่าหายป่วย   โดยจูหยวนจางได้เรียกหมอที่ดีที่สุดเพื่อมารักษาฮองเฮาหม่า

เธอกลับกล่าวกับ จูหยวนจางว่า ชีวิตและความตาย เป็นทางเดินของโชคชะตา คำอธิษฐานคืออะไร  ถ้าหมอให้ยาแก่ฉันแล้ว ฉันไม่หาย มันสมควรเป็นความผิดของหมอหรือ แล้วหมอสมควรโดนลงโทษหรือ  

ก่อนสวรรคต จูหยวนจาง ขอให้เธอสั่งเสีย เธอสั่งเสียว่า ฉันหวังว่า ท่านจะหาคนที่คู่ควรมาอยู่เคียงข้าง คอยรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เพื่อคอยสั่งสอนให้ลูกหลานทุกคนมีคุณธรรม รวมถึง ขุนนางต่างๆ ก็สามารถพึ่งพาพวกเขาได้ 

ในที่สุด ฮองเฮาหม่า ก็สวรรคตด้วยพระชนมายุ 50 พรรษา ในวันที่ 17 กรกฎาคม 1382  พระศพถูกฝังอยู่ที่สุสานหมิงเซี่ยวหลิงในเมืองนานจิง โดยตลอดรัชกาลที่เหลือจักรพรรดิหงอู่ไม่แต่งตั้งใครขึ้นเป็นฮองเฮาแทนที่นางเลย.

ปริศนา ลูกของเธอ

แม้ว่า พงศาวดารแห่งราชวงศ์หมิง  จะระบุว่า เธอมีโอรสกับ จูหยวนจาง 5 คน และธิดาอีก 2 คน แต่มีข่าวลือตั้งแต่ยุคราชวงศ์หมิงว่า ลูกทั้งหมดไม่ใช่ลูกของ ฮองเฮาหม่า

นอกจากนี้ เรื่องโอรสลูกคนสุดท้าย ที่มีลักษณะเอาแต่ใจตนเอง เมื่อได้รับตำแหน่ง ผู้ดูแลเมืองไคเฟิง เธอเป็นห่วงลูกชายคนนี้มาก เธอถึงกับถอดชุดเก่าของเธอมอบให้กับ สนมเจียง เพื่อไปดูแลเขา โดยกำชับกับสนมเจียงว่า ถ้าโอรสองค์นี้ ไม่เชื่อฟังเธอ เจ้าจงใส่ชุดของเธอ มุ่งหน้าไปแจ้งเรื่องนี้ต่อศาลได้เลย" สิ่งนี้เองที่ทำให้ โอรสองค์นี้เกรงกลัวต่อเรื่องนี้มาก ไม่กล้าทำอะไรที่ผิดไปจากคำสั่งเสียต่างๆ ของมารดา

ฮองเฮาหม่า ถือเป็นแบบอย่างที่ดีของสตรีจีนในยุคนั้นเลยทีเดียว

วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2565

เทศกาลจีน : เทศกาล ตรุษจีน(春节)

เทศกาล ตรุษจีน เทศกาล ตรุษจีน (春节) หรือ ภาษาจีนกลางเรียก เทศกาล ชุ่นเจี๋ย แปลว่า เทศกาล ฤดูใบไม้ผลิ เพราะ ฤดูใบไม้ผลิ ตามปฎิทินจีนแล้ว จะเริ่มต้นที่วัน ลีชุน ซึ่งเป็นวันแรกในทางสุริยคดติของปีปฎิทินจีน และยังหมายถึง วันสิ้นสุดฤดูหนาวอีกด้วย โดยคนจีนจะถือหลักว่า ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่จะกำจัดสิ่งเก่า รับสิ่งใหม่ เข้ามา

(ในอดีต ฤดูหนาว คือ คนจะเก็บตัวอยู่ในบ้าน เงียบเหงา ดังนั้น เมื่อสิ้นสุดฤดูหนาวและเข้าสู่ ฤดูใบไม้ผลิ จะหมายถึง การเริ่มต้นการทำงาน และเริ่มต้นเพาะปลูกได้ และหมายถึง ความรื่นเริง ได้เริ่มต้นขึ้นอีกแล้ว ซึ่งแนวคิดนี้เหมือนกับชาวตะวันตกเช่นกัน) โดยในปฎิทินของจีน จะเป็นวันที่ 1 เดือน 1 ยาวไปจนถึง วันที่ 15 (ยึดถือ 15 วันตามปีจันทรคติ) ถือว่า เป็นเทศกาลที่มีมายาวนานหลายศตวรรษ แล้ว บางคนบอกว่า ยาวนานกว่า 4000 ปีเลยทีเดียว ที่ประเทศจีน คืนก่อนวันตรุษจีน 1 วัน จะเป็นการรวมญาติสนิทมิตรสหาย หรือ ฉูซี่ ( 除夕) 

ส่วนประเพณีในประเทศไทย จะมีเพียง 3 วัน คือ วันไหว้ วันจ่าย และวันเที่ยว 

วันจ่าย หรือ วัน "ตือเส็ก"  หรือ  วันก่อนจะวันสิ้นปี   จะเป็นวันที่ชาวไทยเชื้อสายจีน จะออกจากบ้านไปซื้อของเซ่นไหว้ และผลไม้ต่างๆ โดยจะเป็นการจุดธูปอัญเชิญเจ้าที่ (ตี่จู่เอี๊ยะ) ให้ลงจากสวรรค์ เพื่อมารับการสักการบูชา หลังจากที่ 4 วันก่อนหน้านี้ ได้ไหว้อัญเชิญขึ้นสวรรค์ไปก่อนแล้ว แต่ความจริงแล้ว เจ้าที่ไม่ได้ไปไหน แต่มีเฉพาะ เจ้าซิ้ง (
เทพเจ้าเตาไฟ)  เท่านั้นที่ขึ้นสวรรค์


วันไหว้  
เช้ามืด  จะเริ่มต้น ไหว้ "ป้ายเล่าเอี๊ย"(拜老爺 / 拜老爷)
ตอนสาย  (ไม่เกินเที่ยง) จะไหว้ ป้ายแป๋บ้อ (拜父母) 
หรือ บรรพบุรุษที่เสียชีวิตไปแล้ว 
ตอนบ่าย  จะไหว้ "ป้ายฮ่อเฮียตี๋"(拜好兄弟)

ตกกลางคืน จะเป็นคืนก่อนวันปีใหม่  ญาติสนิทมิตรสหาย จะมารวมตัวกันทานอาหารร่วมกัน โดยในมื้อดังกล่าว ควรมี เกี๊ยว ด้วย เพราะเกี๊ยว ลักษณะเหมือนทองโบราณของจีนนั่นเอง 

ช่วงสาย - กลางคืน ของวันสิ้นปีนี้เอง ที่เหล่าญาติจะมารวมตัวกัน และแจกจ่าย"อังเปา" ให้แก่กัน

วันเที่ยว จะถือเป็นวันขึ้นปีใหม่  หรือวันที่ 1 ของปี (ชิวอิก)  โดยคนจีนจะปฎิบัติคือ การป้ายเจีย การไหว้ขอพร และอวยพรจากญาติผู้ใหญ่ และผู้ที่เคารพ โดยจะนำส้มสีทอง 4 ผล ไปมอบให้ (ส้มจะออกเสียงว่า กิก ที่พ้องเสียงกับคำว่า ความสุข หรือโชคลาภ 吉 
ขณะที่ ฮกเกี้ยน จะออกเสียงส้มว่า ก้าม ที่พ้องเสียงกับคำว่าทอง ส่วนที่ต้อง 4 ผล เพราะเสมือนโชคลาภ   ประกอบกัน 4 ตัวกลายเป็น 𡅕 )

วันเที่ยวนี้ คนจีนจะงดทำบาป ไม่พูดจาไม่ดีต่อกัน ไม่ทวงหนี้กัน ไม่จับไม้กวาด ไม่ทำงานหนัก และจะต้องแต่งกายด้วยเสื้อผ้าใหม่ ออกเยี่ยม และอวยพร นอกบ้าน

อั่งเปา
อั่งเปา" 红包 เป็นสำเนียงแต้จิ๋ว จีนกลางออกเสียงว่า "หงเปา" แปลตรงตัวว่า "ซองแดง" แต่ในความเป็นจริง ยุคโบราณของจีนมีการแจกเงินเด็ก ๆ ในบ้านช่วงตรุษจีนเหมือนกัน แต่เป็นรูปแบบของ "เหรียญ" ที่ร้อยต่อกันมาเป็นพวง มีชื่อเรียกว่า "ยาซุ่ยเฉียน" 压岁钱 แปลตรงตัวเลยคือ "เงิน กด อายุ" มาจากแนวความคิดหลายสาย ดังนี้ ตำนานบทหนึ่งเล่าว่าเป็นเงิน "ติดสินบน" ปีศาจ (สิ่งชั่วร้าย) ที่ชื่อว่า "ซุ่ย" 祟 เป็นอักษรที่พ้องเสียงกับคำว่า "ซุ่ย" 岁 ที่แปลว่าอายุ นึกภาพว่าในยุคโบราณ การแพทย์และยารักษาโรคยังไม่พัฒนาขนาดนี้ สิ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครองกลัวที่สุดคือ ลูกเจ็บป่วย ซึ่งก็เชื่อว่าเกิดจากการกระทำของสิ่งชั่วร้าย การให้เงินและตั้งชื่อว่า "เงิน กด ปีศาจ" จึงเป็นการแก้เคล็ด อีกตำนาน คำว่า "ยาซุ่ยเฉียน" 压岁钱 หรือ "เงิน กด อายุ" คือเป็นการกดอายุเอาไว้ไม่ให้ขยับไปไหน หมายความว่าอายุจะได้ยืนยาวขึ้น แม้ว่ากาลเวลาจะเปลี่ยนแปลงไปอีกหนึ่งปี แล้วมาจนถึงยุคปัจจุบัน ใครควรจะได้รับ "อั่งเปา" หรือ "เงินกดอายุ" กันบ้าง? เรื่องนี้คนจีนเขาก็สงสัย และมีการรวบรวมเอาไว้ ดังนี้ (แต่ละบ้านคงจะคิดไม่เหมือนกัน) 1.ผู้อาวุโสน้อยที่ยังไม่แต่งงาน 2.เด็กในบ้านที่ยังเรียนหนังสืออยู่ ส่วนคนที่ควรจะแจกอั่งเปาคือ 1.รุ่นพ่อแม่ ลุงป้าน้าอา 2.รุ่นปู่ย่า ตายาย 3.รุ่นลูกหลาน แต่ทำงานแล้ว สิ่งที่ชาวจีนถือมากคือ ควรให้สองมือ และ รับสองมือ อีกทั้งไม่ควรแกะซองต่อหน้าผู้ให้ 新正如意 新年發財 / การอวยพร จะประมาณนี้ครับ 新正如意 新年发财 แต้จิ๋ว: ซิงเจี่ยยู้อี่ซิงนี้หวกไช้ จีนกลาง: ซินเจิ้งหรูอี้ ซินเหนียนฟาฉาย ฮกเกี้ยน : ซินเจี่ยหยู่อี่ ซินนี่ฮวดจ๋าย จีนแคะ : ซินจึ้นหยู่อี๋ ซินเหนี่ยนฟั่ดโฉ่ย กวางตุ้ง : ซันจิงจู๋จี่ ซันหนินฟัดฉ่อย #แปลว่า : ขอให้ประสบโชคดี ขอให้มั่งมีปีใหม่

วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2565

!จีน(731-812) ซุนหงอคง ตัวจริง ผู้หลบหนีจากอัฟกันนิสถาน

พระอาจารย์เซน อู้คง 悟空禅师  หรือ อู้คงไฉซี ค.ศ. 731 - 812

ก่อนอื่นออกตัวก่อนว่า ผมแปลบางส่วนมากจาก ภาษาจีน และภาษาอังกฤษ ด้วยตัวเอง ดังนั้น อาจมีผิดพลาดบ้าง

เป็นที่เชื่อกันว่า ในวรรณกรรมเรื่องไซอิ๋ว นั้น ได้รับแรงบันดาลใจจากเรื่องจริงจากการเดินทางของ พระเสวียนจั๋ง หรือ พระถังซำจั๋ง ที่เดินทางไปอัญเชิญพระไตรปิฎก  ส่วน ตือโป๊ยก่าย หรือจูปาเจี๊ย  นั้น ได้รับแรงบันดาลใจจาก นักบวชในพุทธศาสนาชาวจีนคนแรก ที่บวชเรียน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 250  ซึ่งผมเล่าไปแล้วในคลิปเก่านะครับ ถ้าใครยังไม่ได้ดูก็ย้อนกลับไปดูได้นะครับ ผมจะทิ้งลิงค์ไว้ท้ายคลิปนะครับ 

ส่วน ซุนหงอคง นั้นเชื่อกันว่า อู๋เฉิงเอิน ผู้แต่งเรื่องไซอิ๋ว  น่าจะอ้างอิงจาก พระอาจารย์ เซนอู้คง หรือ อู้คงไฉซี  เพราะชื่อ อู้คง ก็มาจากชื่อของท่านพระอาจารย์นั่นเอง โดยทั้งพระอาจารย์เซนอู้คง และ พระถังซำจั๋งนั้น จะใช้เส้นทางเดินทางเช่นเดียวกัน แต่เป็นช่วงห่างกันประมาณ 100 ปี

ความจริงแล้ว มีพระที่ออกเดินทางไปตะวันตกมีมาแล้ว  3 ท่านที่มีชื่อเสียง คือ พระฝาเสี่ยน 法显 ออกเดินทางในปี ค.ศ.399 พระถังซำจั๋ง ปี ค.ศ. 627 (หรือสมัย ถังไท่จง)  และ พระอี้จิง ในปีค.ศ.  672 (ยุคสมัย     ของบู๊เช็กเทียน)

ขณะที่ พระถังซำจั๋ง ตัวจริง นั้น เป็นคนยุคต้นราชวงศ์ถัง คือ บวชเรียนตั้งแต่เด็ก และออกเดินทางไปช่วงฮ่องเต้ ถังไท่จง   และเดินทางจากเมืองหลวง คือ ฉางอัน ปัจจุบันคือ ซีอัน  เดินทางอ้อมไปอัฟกันนิสถาน แล้วเดินทางต่อไปศึกษาที่ มหาวิทยาลัยนาลันทา  แคว้นมคธ ประเทศอินเดีย

แต่พระอาจารย์อู้คง เป็นคนปลายยุคราชวงศ์ถัง คือออกเดินทางในยุคสมัยของฮ่องเต้ ถังเสวียนจง จากฉางอันเช่นกัน แต่เดินทางไปเพียงบวช และ ศึกษาที่แคว้นคันธาระ ประเทศอัฟกันนิสถานแทน แม้ว่า พระอาจารย์ทั้งสองท่าน ต้องเดินทางไปตะวันตก และอัญเชิญพระคัมภีร์กลับมาที่ประเทศจีน รวมถึงเมื่อกลับมาแล้วก็แปลคัมภีร์ต่างๆ เป็นภาษาจีน เช่นก็ตาม

โดยที่ความจริงแล้ว ตือโป๊ยก่าย หรือ จูปาเจี๊ย ได้เดินทางไปตะวันตก แต่ไปถึงแค่มณฑล ซินเจียง ในปี 260 ก่อนพระฝาเสี่ยน ด้วยซ้ำ และยังได้อัญเชิญคัมภีร์มาเช่นกัน

ที่มา

เริ่มต้นนั้น พระอาจารย์เซนอู้คง เดิมชื่อ เชอ เฟิ่งเจ่า สมัยเด็กได้รับเการอบรมให้ศรัทธาในแนวทางของขงจื้อ และได้รับการฝึกฝนการต่อสู้ตั้งแต่ยังเด็ก แต่เขาก็มียศเพียงนายทหารชั้นผู้น้อยเท่านั้น 

ปี 750
เรื่องราวเริ่มต้นในในปี ค.ศ. 750 ชาว จี้บิ่นกว๋อ   ผมก็ไม่แน่ใจนะครับว่า ออกเสียง จี้บิ่น ในตำราจีนถูกต้องหรือไม่ แต่ชาว จี้บิ่น นั้นตำราจีน จะเหมารวม ชนเผ่าโบราณที่อาศัยอยู่ลุ่มแม่น้ำคาบูล ประเทศ อัฟกันนิสถาน ในปัจจุบัน ตรงนี้ ตัวผมก็ไม่แน่ใจเรื่อง ชนชาติ จี้บิ่น เหมือนกันนะครับ แต่เอาเป็นว่า ตำราส่วนใหญ่แปลเป็นไทย จะแปล เป็น ชาวแคว้นคันธาระ )  โดยชาวแคว้นคันธาระ ได้ส่งคณะฑูตเดินทางมาเจริญสัมพันธไมตรี กับ  ฮ่องเต้ถังเสวียนจง ที่เมืองฉางอัน หรือ ซีอันในปัจจุบัน  

ทำให้ปีถัดมา  ฮ่องเต้ถังเสวียนจง จึงจัดส่งคณะฑูตประมาณ 40 คนเดินทางไปเยือน แคว้นคันธาระ เช่นกัน (บางตำราว่า ฮ่องเต้ถังเสวียนจง ส่งกองคาราวานเดินทางไปส่งคณะฑูตจาก แคว้นคันธาระกลับมาตุภูมิ)  โดยหนึ่งในคณะที่เดินทางไป คือ นายทหารชั้นผู้น้อย นาม  เชอ เฟิ่งเจ่า  จนถึงช่วงฤดูหนาวในปี คริสตศักราชที่  753  คณะฑูตก็เดินทางมาถึง แคว้นคันธาระ  (บางคนเรียกเป็นแคว้น บางคนว่าเป็นประเทศ เพราะมีระบบกษัตริย์ปกครองอยู่ ทำให้หลายคนก็สับสนว่าจะเรียกเป็นอะไรดี ในที่นี้ของเรียกเหมือนคนส่วนใหญ่คือ แคว้นคันธาระนะครับ  โดยปัจจุบัน แคว้นคันธาระ  ตั้งอยู่ระหว่าง หุบเขา เปศ วาร์  ชายแดนของประเทศปากีสถาน และเทือกเขาสุไลมาน ชายแดนของประเทศอัฟกันนิสถาน ) โดยคณะฑูตทั้งหมดก็ได้เข้าพบผู้ครองเมืองของที่นั่น

แคว้นคันธาระ 
ขออธิบาย เรื่อง แคว้นคันธาระ หรือ ประเทศ คันธาระ ก่อนนะครับ   ยุคก่อนที่  ท่าน เชอ เฟิ่งเจ่า จะเดินทางไปนั้น คือ ยุคที่ชาวตีเถียน  โดยราชวงศ์กุษาณะ เป็นผู้ปกครองแคว้นคันธาระ  ประมาณคริสตศควรรษที่ 3-5  นั้นถือเป็นยุคเฟื่องฟูสุดขีดของศาสนาพุทธ และฮินดู ในย่านนั้น เนื่องจาก ราชวงศ์กุษาณะ นั้นทรงสนับสนุนพระพุทธศาสนา นิกายมหายาน อย่างจริงจัง และพยายามส่งคณะฑูตไปเผยแพร่ศาสนาพุทธนิกายมหายานไปยัง ธิเบตและจีน นอกจากนี้ แคว้นคันธาระ ยังมีการสร้างพระพุทธรูป ที่เป็นวัฒนธรรมผสมระหว่าง กรีกกับอินเดีย เป็นครั้งแรกอีกด้วย

ปัจจุบัน ยังมีหลักฐานทั้งพระพุทธรูป และ คัมภีร์โบราณต่างๆ ที่เขียนโดย พระอรหันต์ที่นำพุทธศาสนาไปเผยแพร่ในแคว้นคันธาระจำนวนมาก โดยเป็นคัมภีร์โบราณอายุกว่า 2,000 ปี ที่เก็บไว้ในถ้ำก่อนที่ พวกตอลีบันจะมาทำลายในปี คริสตศักกราชที่ 2001  อย่างไรก็ดี ยังมีคัมภีร์โบราณ และบทสวดมนตร์โบราณ บางส่วนยังคงเก็บไว้ใน พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เมืองคาบูล ประเทศอัฟกันนิสถานในปัจจุบัน โดยบางส่วน รรัฐบาลนอร์เวย์ได้รับซื้อไว้ และนำมาบริจาคให้ประเทศไทย โดยตั้งไว้ให้ศึกษาที่ ภูเขาทอง วัดสระเกศ ก็อย่างลืมไปท่องเที่ยวและชมคัมภีร์อายุกว่า 2000 ปีกันนะครับ  

นอกจากนี้ยังมีหลักฐาน เป็นบันทึกของพระเสวียนจั๋ง หรือพระถังซำจั๋ง ที่ระบุว่า ได้เดินทางผ่านเส้นทางสายไหม และได้พบกับพระพุทธรูปแห่งเมืองบามิยัน โดยระบุว่า มีขนาดสูงกว่า พันเชียะ หรือ  300 เมตรเลยทีเดียว แต่น่าเสียดายที่พระพุทธรูปนี้ โดน ตอลีบันทำลายในปี 2001 เช่นกัน โดยภายในวัดสระเกศ ก็มีแบบจำลองพระพุทธรูปแบบบามิยัน อีกด้วย อย่าลืมไปเที่ยวกัน

ย้อนกลับมาเรื่องของ เชอ เฟิ่งเจาว
ล่วงเลยมาถึงปี ค.ศ. 757 ปีเดียวกันกับที่ราชวงศ์ถังสามารถปราบ กบฎอั่นลูซ่าน ได้สำเร็จ คณะฑูตก็ถึงกำหนดการที่จะต้องเดินทางกลับประเทศจีน   แต่ เชอ เฟิ่งเจ่าว กลับล้มป่วยอย่างหนักทำให้ไม่สามารถเดินทางกลับประเทศจีนพร้อมคณะฑูตได้ การล้มป่วยอย่างหนักของท่าน ทำให้ท่านได้ตัี้งอธิษฐานจิตว่า หากท่านหายป่วย จะขอบวชเป็นพระในพุทธศาสนา   เมื่อท่านหายป่วย จึงได้ปลงผมออกบวชตามคำอธิษฐานในปีนั้นเอง

ใน แคว้นคันธาระ ยุคที่ท่านได้บวชเรียนนั้น จะมีเมืองหลวงคือ เมืองเปชะวาร์  เมืองคาบูล  เมืองบาบิยัน และมีเมือง ตักสิลา ที่ถือเป็นจุดศูนย์รวมศาสนาพุทธแห่งยุคนั้น  ทำให้ท่านได้ศึกษาพระไตรปิฎก อย่างแตกฉาน  และได้พบกับเหล่าพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงของศาสนาพุทธจำนวนมากในยุคนั้นที่มักจะมารวมตัวกันที่นี่ นอกจากนี้ ท่านยังศึกษาพระคัมภีร์อย่างจริงจังจนต้องหันมาศึกษาภาษาสันสกฤต เพิ่มเติมอีกด้วย 

แต่ช่วงปี คริตศักราชที่ 650-700 นั้น ถือเป็นช่วงที่ศาสนาอิสลามเริ่มแผ่ขยายอิทธิพล ไปทั่วทั้งย่านนั้น  อันเนื่องมาจาก พระนบีมูฮะหมัด พระศาสดาของศาสนาอิสลามเสียขีวิตลง ในปี คริสตศักราชที่ 632  ทำให้เหล่า กาหลิบ ต้องการก่อตั้งประเทศอาหรับให้เป็นหนึ่งเดียวทั่วโลก เพื่อเผยแพร่ศาสนาอิสลาม ออกไป โดยเริ่มต้นที่ การพิชิตเปอร์เซีย หรือซีเรีย อิหร่าน ของอิสลามได้สำเร็จในช่วงทศวรรษที่ 650  ถือเป็นจุดเริ่มต้นการเผยแพร่ของศาสนาอิสลามอย่างจริงจัง และถือเป็นจุดสิ้นสุดของศาสนาโซโรอัสเตอร์ ในเปอร์เซีย จนหมดสิ้น  ก่อนที่จะขยายอิทธิพลเข้าสู่อิรัก หรือเมโสโปรเตเมีย  จุดนี้ นักประวัติศาสตร์ชาวอิสลามมักจะโต้แย้งว่า ประเทศต่างๆ ต่างหันมาเลื่อมใส ศาสนาอิสลามแบบค่อยเป็นค่อยไปมากกว่าการใช้กำลังทางทหาร แต่ความเป็นจริง คือเป็นแบบผสมผสาน 

ศาสนาอิสลาม ก็รุกรานมาเรื่อยมาจนถึงเทือกเขา  ฮินดู Kush  ที่ปัจจุบันคือ  อัฟกันนิสถานทางตอนใต้ ในปัจจุบัน  โดยมีหลักฐานว่า  ศาสนาอิสลาม ก็ได้รับความนิยมในหมู่ชนชั้นสูงในย่านนั้นด้วย เช่น เรื่องการยกเลิกโรงน้ำชา โรงผลิตเหล้าา   แต่ถึงตรงนี้ มีหลักฐานว่า ผู้ปกครองชาวอิสลาม เริ่มเก็บภาษีชาวพุทธ และเกษตรกรอย่างหนัก   ทำให้ สถานการณ์ของชาวพุทธย่านนั้นเริ่มเข้าขั้นวิกฤติ  ชาวพุทธจึงได้ทยอยอพยพออกจาก แคว้นคันธาระ มุ่งหน้าเข้าสู่ประเทศอินเดีย เพื่อหนีภัยจากการรุกรานของศาสนาอิสลาม   โดยเรื่องการรุกรานของอิสลาม มีระบุในบันทึกของ พระอี้จิง ที่เดินทางไปอินเดียก่อน เชอ เฟิ่งเจ่าว ประมาณ 50 ปีด้วย 

กบฎอั่นลู่ซาน 
ย้อนกลับไปไม่กี่ปีก่อน เรื่อง กบฎอั่นลู่ซาน นั้นเกิดจาก อั่นลู่ซาน ขุนพลนอกด่าน ในรัชสมัยฮ่องเต้ ถังเสวียนจง ในตอนท้าย กบฎสามารถยึดเมืองหลวง คือ เมือง ฉางอัน ได้  ฮ่องเต้ถังเสวียนจง ต้องอพยพหนีลงใต้ พร้อมกับส่งมอบตำแหน่งฮ่องเต้ให้กับ บุตรชาย คือ ถังซู่จง  แต่แล้วโชคก็เข้าข้าง กลุ่มกบฎอั่นลู่ซานนั้นเกิดแตกคอกันเอง 

ทำให้ ถังซุ่จง ขอยืมทหารจากชนเผ่า ทูเจี๊ย และ อูยกูร์ นำทหารเดินทางไกลมาปราบกบฎ ที่เมืองหลวง  ทำให้สามารถ ยึดเมืองหลวงกลับคืนได้เป็นผลสำเร็จในปี ค.ศ. 763 

แต่ นักประวัติศาสตร์มองว่า การที่ชาวทูเจี๊ยะ และชาวอูยกูร์ ยกทัพมาช่วย ราชวงศ์ถัง ในครั้งนั้น ทำให้กองทัพอาหรับ สามารถส่งผ่านอิทธิพลของศาสนาอิสลาม เข้ามาที่ย่านนั้นได้อย่างง่ายดายและถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของศาสนาในย่านนั้นเลยทีเดียว 

อย่างไรก็ดี  ช่วงนั้น ชาวอินโด อารยัน หรือ ชาวเอเชียกลางที่อพยพเข้ามาประชิดอินเดีย และเริ่มขับไล่ ชนพื้นเมืองอินเดีย หรือ ชาวดาวิเดียน ให้ลงใต้ หรือจับไปเป็นทาส 

ขณะที่ เชอ เฟิ่งเจาว ท่านพำนักอยู่ที่อินเดีย ท่านในฐานะ อดีตทหารของราชวงศ์ถัง ได้ส่งสาสน์ขอความช่วยเหลืออย่างเป็นทางการไปยัง ราชวงศ์ถัง ให้ส่งทหารมาคุ้มครองพาท่านกลับสู่มาตุภูมิ ตอนนี้แม้จะมีการส่งกองคาราวานจากราชวงศ์ถัง เดินทางมาช่วยคุ้มครอง แต่กองคาราวานก็เดินทางกลับด้วยเส้นทางเดิมที่ท่านเดินทางมา ทำให้เกิดความยากลำบาก เพราะ ท่านจะต้องเดินผ่านไปยังเทือกเขา ฮินดู กูช และผ่านภูเขาน้ำแข็งที่ไม่เคยละลาย 

แต่เมื่อท่านเดินทางมาถึง ทางตอนใต้ของซินเจียง แม้ว่าตอนนั้น กบฎอั่นลู่ซานจะจบไปแล้วก็ตาม แต่ทหารชายแดนของราชวงศ์ถัง ยังได้รับคำสั่งไม่ให้เปิดด่านรับบุคคลภายนอกที่ถือว่าเป็นบุคคลอันตราย

บางตำราระบุว่า ผู้ปกครองซินเจียง ยุคนั้นได้กักตัวพระอาจารย์ไว้ที่นั่นเป็นเวลาหลายปี  เพื่อให้เผยแพร่ศาสนาพุทธ โดยยังมีหลักฐานเป็น วัดพุทธขนาดใหญ่ที่สุดในซินเจียง เป็นหลักฐานว่า ท่านได้พำนักที่นั่นจริง ต่อมาก็เดินทางเส้นทางนั้นกลับมาเลย 

แต่บางตำรา กลับระบุว่า  การที่ท่านกลับเข้าด่านซินเจียงไม่สำเร็จ ทำให้ต้องเดินทางย้อนกลับอ้อมไปเข้าด้านทะเลทรายแทน  ซึ่งเป็นเส้นทางสายไหมดั้งเดิม เฉกเช่นนักเดินทางทั่วไป แต่การเมืองภูมิภาคในยุคนั้นอันตรายและอ่อนไหวอย่างมาก จนในที่สุด ท่านก็เดินทางมาถึงเมือง ยู่เถียน ทำให้ท่านสามารถเข้าด่านและตรวจเอกสารได้เป็นผลสำเร็จ 

ที่สำคัญคือ ท่านได้หอบเอาพระคัมภีร์โบราณกลับมาด้วยจำนวนมาก เช่น ทศภูมิกศาสตร์ (หรือคัมภีร์ 10 แผ่นดิน) คัมภีร์ทศพิศราชธรรม (หรือคัมภีร์ 10 อำนาจ)  และคัมภีร์กงเกวียน (คัมภีร์ล้อหมุน) ชื่อคัมภีร์หากแปลผิดต้องขออภัย   รวมถึง พระธาตุ ของพระพุทธเจ้ามาด้วย  จนกระทั่งเดินทางมาถึง ฉางอัน เมืองหลวงของราชวงศ์ถังในปี ค.ศ. 790 ในยุคสมัยของฮ่องเต้ ถังเสียนจง ครั้งนั้น ที่ชื่อเสียงของท่านขจรขจายไปไกล จนท่านได้รับฉายาว่า พระอาจารย์เซนอู้คง ( 悟空禅师) หรือ อู้คงไฉซี

หลังจากกลับมาท่านพักอาศัยอยู่ที่วัด จางจิง เมืองฉางอัน  จนช่วงท้ายของชีวิต ท่านก็ย้ายมาพำนักที่วัด ฉางฮันฮูฟา ที่มณฑลซ่านซี  แล้ว วันที่ 13 สิงหาคม ปี ค.ศ. 812 ท่านก็มรณภาพที่วัด ฉางฮัน ฮูฟา โดยมีการสร้างพระเจดีย์เพื่อเก็บอัฐิ ของท่านไว้ที่ยอดเขา  ที่ยังคงอยู่ตราบจนทุกวันนี้

ขอเปรียบเทียบตัวจริง กับ ตัวในนิยาย
ในนิยาย ไซอิ๋ว หรือ การเดินทางสู่ตะวันตก ของอู่เฉิงอัน นั้น แม้จะเป็นนิยายที่เน้นปรัชญาด้านศาสนาพุทธอย่างลึกซึ้ง แต่วรรณกรรมกลับผสมผสานตัวละครของ ลัทธิเต๋า ลงไปด้วย แต่ พระอาจารย์เซนอู้คงนั้น เป็นชาวพุทธอย่างแท้จริง โดยไม่มีความเชื่อในลัทธิเต๋าเลย 

ส่วนความเหมือนในนิยายคือ คือ หงอคง นั้น เริ่มต้น เง็กเซียนฮ่องเต้ ก็ให้ตำแหน่งเพียงนายทหารที่คอยให้อาหารม้าเท่านั้น ขณะที่ ฮ่องเต้ถังเสวียนจง ก็ให้ตำแหน่ง แก่ เฟิ่งเจ่าว เพียงทหารชั้นผู้น้อยที่คอยอารักขาคณะฑูตเท่านั้น  

ขณะที่ พระถังซัมจั๋งนั้น ทั้งตัวจริงและในนิยายเดินทางไปตะวันตกเพื่อ พระไตรปิฎก แต่พระอาจารย์อู้คงนั้น ตอนเดินทางไปก็ไม่ได้คาดหวัง พระคัมภีร์ แต่อย่างใด แต่เมื่อออกเดินทางแล้ว กลับได้บวชเรียน และ ได้คัมภีร์อื่นกลับมาแทน เช่นเดียวกับในวรรณกรรม   แต่ทั้งอาจารย์และลูกศิษย์ในนิยายก็ได้เรียนภาษาสันสกต อย่างจริงจังทั้งคู่

อย่างน้อยภาษาอังกฤษของ Monkey Wukong ก็ใกล้เคียงกับ Monk Wukong 

เอาละครับ ก็จบกันไปนะครับ  ส่วนถ้าใครอยากตามเรื่อง ตัวจริง ตือโป๊ยก่าย ผมก็ทิ้งลิงค์ไว้ให้แล้วนะครับ

วันนี้ก็ขอจบแค่นี้ก่อน วันหลังมีเรื่องสนุกๆ จะมาเล่าให้ฟังใหม่นะครับ