วันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

จีน(203-282) - ตือโป๊ยก่าย ตัวจริง กับ พระภิกษุ จูซื่อสิง (朱士行) ภิกษุสงฆ์รูปแรกของจีน

จีน(203-282) - ตือโป๊ยก่าย ตัวจริง กับ พระภิกษุ จูซื่อสิง (朱士行) ภิกษุสงฆ์รูปแรกของจีน

ภิกษุ จูซื่อสิง (朱士行) พระสงฆ์รูปแรกของพุทธศาสนามหายานในประเทศจีน ถือเป็นต้นกำเนิด ตัวจริงของตือโป๊ยก่าย

เรื่องของ หมู  ไม่เพียงแต่เป็น สัตว์เลี้ยงเพื่อทำอาหารในวัฒนธรรมประเพณีจีนเท่านั้น ยังเป็นที่รู้จักกันดีในตัวละครวรรณกรรมเอก เรื่อง ไซอิ๋ว ที่ชื่อ  "ตือโป๊ยก่าย หรือ จูปาเจี้ย (豬八戒) ซึ่งไปเกี่ยวพันกับเกร็ดของพระภิกษุสงฆ์องค์แรกแห่งประเทศจีน

วรรณกรรมไซอิ๋ว หนึ่งในสี่สุดยอดวรรณกรรมของจีน ประพันธ์โดย อู๋เฉิงเอิน 吴承恩 มีชีวิตอยุ่ในปี ค.ศ.1506-1582 นักเขียน นวนิยายสมัยราชวงศ์หมิง เล่าเรื่องการเดินทางของพระถังซำจั๋ง กับลูกศิษย์ทั้งสาม เดินทางไปชมพูทวีปเพื่ออัญเชิญพระไตรปิฏก

ตัวละครหลักอย่าง พระถังซำจํ่ง อู๋เฉิงเอิน อ้างอิงจาก  พระภิกษุ เสวียนจั๋ง ที่ออกเดินทางไปแสวงหาพระไตรปิฎกในยุคราชวงศ์ถัง ที่มีชีวิตอยู่ช่วงปี ค.ศ. 602 – ค.ศ. 664) จนได้ฉายา ถัง ที่มาจากชื่อราชวงศ์ถัง และ  ซำจํ่ง ที่แปลว่า พระไตรปิฎก 

ในบทที่ 19 ของวรรณกรรมเรื่องไซอิ๋ง  เป็นการปรากฏตัวครั้งแรก ของตัวละครที่ชื่อว่า จูปาเจี้ย (豬八戒, ภาษาแต้จิ๋ว คือ  ตือโป้ยก่าย ) ลูกศิษย์คนที่ 2 ของพระถังซำจั๋ง

เชื่อกันว่า  ชื่อตัวละคร ตือโป้ยก่าย หรือ จูปาเจี้ย นั้น อู๋เฉิงเอิน ผู้ประพันธ์ได้ขอยืมมาจาก ชื่อของหลวงจีนองค์หนึ่งของรัฐ เว่ยกว๋อ (三国魏国) ในยุคสมัยสามก๊ก ที่ชื่อว่า จูซื่อสิง 朱士行(มีช่วงชีวิตอยู่ราว ค.ศ. 203-282 ท่านเกิดในปลายยุคราชวงศ์ฮั่น และเสียชีวิตในยุค สามก๊ก

จูจื่อสิง หรือ จูซื่อเหิง (朱子行、朱士衡)  ท่านมีฉายาทางธรรมว่า ปาเจี้ย ซึ่งมีความหมายว่า ศีลแปด นั่นเอง  ( 法号八戒) คนทั่วไปมักเรียกท่านว่า จูปาเจี้ย (朱八戒 )ที่แปลว่า  พระภิกษุถือศีลแปด แซ่จู

ประวัติของท่านจูปาเจี๋ย
ในค.ศ.250 เจ้านครเว่ยเส้าตี้ เฉาฟาง แห่งรัฐเฉาเว่ย ยุค 3 ก๊ก (嘉平二年 魏少帝曹芳) พระธรรมกาละ 沙门昙河迦罗  พระภิกษุสงฆ์ จากชมพูทวีป เดินทางมาจำพรรษาที่ วัดม้าขาว นครลั่วหยาง เพื่อเผยแผ่ธรรมะและแปลพระสูตร มีการอุปสมบทพระสงฆ์จีน ชื่อ จูซื่อสิง 朱士行เป็นภิกษุจีนรูปแรกที่อุปสมบทโดยมี พระธรรมกาละเป็นพระอุปัชฌาย์

พระภิกษุ จูซื่อสิง ศึกษาพระสูตร คัมภีร์ปารมิตาจุลสูตร《小品般若》 ด้วยความสงสัยไม่เข้าใจ จึงคิดจะไปสืบหาต้นฉบับ ได้ยินมาว่าที่ชายแดนตะวันตก มี "คัมภีร์ต้าปิ่ง"《大品经》ฉบับสมบูรณ์ จีงตัดสินใจเดินทางไปยังชายแดนตะวันตก

ท่านเริ่มออกเดินทางในปี ค.ศ.260 จากเมืองหย่งโจว ทางตะวันตกเฉียงเหนือของฉางอัน (雍州) ข้ามทะเลทรายถึงเมือง หย่งกว๋อ (โหตาน ซินเจียง) ก็พบพระสูตร "คัมภีร์ต้าปิ่ง" ท่านจึงอาศัยอยู่ที่นั่นเพื่อศึกษาและคัดลอกคัมภีร์อยู่ที่นั่น

ท่านคัดลอกได้พระสูตร 90 ผูก 6 แสนตัวอักษร จนกระทั่ง ค.ศ.282 ภิกษุจูซื่อสิง สั่งให้บรรดาลูกศิษย์นำพระสูตร"คัมภีร์ต้าปิ่ง" ที่คัดลอกเสร็จแล้ว ส่งกลับมายังเมือง ลั่วหยาง ตัวท่านเองยังคงอยู่จำพรรษาอยู่ที่นั่น จวบจนมรณภาพเมื่ออายุได้ 79 ปี

ท่านจูจื่อสิงจึงถือว่าเป็นพระภิกษุในพุทธศาสนามหายานองค์แรกในแผ่นดินจีน มีชื่อเสียงในแวดวงพุทธศาสนามหายาน

สรุป เขียนนิยาย ช่วงปี คศ 1500 (ยุคหมิง) อ้างอิงเหตุการณ์ พระถังซำจั๋ง ในปี คศ   600 (ยุคถัง) และอ้างอิงเหตุการณ์ ตือโป๊ยก่าย ในปี คศ 200 (ยุคสามก๊ก)

ตำนาน ตือโป๊ยก่าย
อู๋เฉิงเอิน ได้เขียน รายละเอียดปูมหลังของตัวละคร จูปาเจี้ย(จีนกลาง) นี้ว่า เมื่อชาติก่อนเคยเป็นองครักษ์พิทักษ์แดนสวรรค์ อยู่ชั้นดาวดึงส์ ตำแหน่ง เทียนเผิง หยวนซ่วย (天蓬元帥) บังคับบัญชามีหน้าที่ดูแลลำน้ำสวรรค์ทางช้างเผือก และมีอำนาจควบคุมทหาร 85,000 นาย

แต่เนื่องด้วยดื่มสุราในงานเลี้ยงชุมนุมเทวดา ผันเถาหุ้ย (蟠桃会 แต้จิ๋ว เพล้งถ่อหวย) ของเจ้าแม่ตะวันตก ซีหวังหมู่  จนเมามายขาดสติ แล้วไปลวนลามเทพธิดาดวงจันทร์ ฉางเอ๋อ (嫦娥) จึงถูกลงโทษให้กลับชาติไปเกิดใหม่ในโลกมนุษย์เพื่อชดใช้กรรม ด้วยบุคลิกรูปร่างที่แปลกประหลาด ครึ่งคนครึ่งสัตว์ ที่มีร่างเป็นคนแต่ใบหน้าเป็นหมู

ในตอนแรกมีนามว่า จูกังเลี่ย (豬剛鬛 หรือตือกังเจี่ย แปลว่า หมูขนแข็ง ) เป็นปีศาจหมู สิงสถิตอยู่ใน หมู่บ้านเกาเหล่าจวง (高老庄 แปลว่า หมู่บ้านเก่าที่อยู่สูง) ประพฤติตน ระรานหญิงสาวชาวบ้าน แปลงร่างเป็นมนุษย์รูปงาม หลอกล่อแต่งงานกับลูกสาวหัวหน้าหมู่บ้าน ชื่อ เกาชุ่ยหลาน ครั้งนั้น จูกังเลี่ย ต่างตั้งหน้าตั้งตาทำมาหากิน ไม่ทานเนื้อ กินเจ รักษาศีล เพื่อหวังให้ภรรยาคนสวยหลงรัก และหัวหน้าหมู่บ้านจะยกลูกสาวให้  แต่ในคืนงานวันแต่งงาน จูกังเลี่ย ก็กลับกินเหล้าเมามาย ศีลแตก จนเสียงานเสีย การ การแปลงร่างจึงเริ่มคลาย พ่อแม่เจ้าสาวจึงรู้ว่า คือปีศาจ ทั้งคู่จึงพากันหนีออกไปอาศัยอยู่นอกเมือง

 เมื่อพระถังซำจั๋งกับหงอคงเดินทางผ่านมา พระถังซำจั๋งเตือนหงอคงว่า นี่คือ ลูกศิษย์อีกคนที่จะเดินทางไปด้วย ทำให้หงอคง ต้องปราบ ตือโป๊ยก่าย เมื่อสิ้นฤทธ์ พระถังจึงให้ ตือโป๊ยก่าย กลับมารักษาศีลอีกครั้ง เหมือนเมื่อครั้งที่ ตือโป๊ยก่าย รับปากกับเจ้าแม่กวนอิมไว้   และกลายเป็นลูกศิษย์คนที่สอง ร่วมเดินทางไปชมพูทวีป โดยเจ้าแม่กวนอิมนั้น ตั้งสมญานามทางธรรมว่า จูอู๋เหนิง (豬悟能, แต้จิ๋ว; ตือหง่อเล้ง) แต่พระถังซำจั๋งขอเรียกว่า ตือโป๊ยก่าย หรือ จูปาเจี๋ย แทน

ตือโป๊ยก่าย หรือ จูปาเจี๋ย  มีอาวุธเป็นคราด 9 ซี่หลอมจาก เตาปากว้า ของไท่ซ่างเหล่าจวิน โดยเชื่อว่า อาวุธคราด 9 ซี่ ที่ อู๋เฉิงเอิน แต่งขึ้น นั้นคือ สังฆคุณ 9 หรือประโยชน์จากการรักษาศีล คือเมื่อรักษาศีลแล้วจะมี คุณวิเศษ 9 อย่าง ยกตัวอย่างเช่น จะกลายเป็นผู้มีคนเคารพนับถือ และกราบไหว้ได้อย่างสนิทใจ เหมือนกับที่ หัวหน้าหมู่บ้านนั้น ยกลูกสาวให้ เมื่อ ตือโป๊ยก่าย นับถือศีลอย่างเคร่งครัด

ศีล 8 คือ ข้อบังคับต่ำสุดของ ระดับอนาคามี โดยเป็นข้อกำหนดเพื่อใช้ควบคุม กาย วาจา และใจ เท่านั้น โดยศีล 8 นั้น ถือเป็น ศีลสูงสุดของ ระดับ ฆราวาส (บุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่สงฆ์)

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

จีน(BC256-BC195) - ฮั่นเกาจู่ ปฐมกษัตริย์ แห่ง ราชวงศ์ฮั่น

ฮั่นเกาจู่ (จีนกลาง ) หรือ ฮั่นโกโจ (ฮกเกี้ยน) ( 汉高祖 ฺBC 256 – BC195)  หรือ  หลิว ปัง (刘邦)

จักรพรรดิองค์ปฐมของราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (ปีค.ศ.220ก่อนคริสต์ศักราช)เป็นจักรพรรดิผู้มีกำเนิดจากสามัญชนและด้อยการศึกษา หนึ่งในสององค์ในประวัติศาสตร์จีน

ที่มา
หลิวปัง เกิดในอำเภอเพ่ยเสี้ยน (ปัจจุบันอยู่ในภาคเหนือของ มณฑลเจียงซู) เป็นลูกชาวนาธรรมดาที่มีฐานะยากจน บันทึกสมัยหลังระบุว่า หลิว ปัง เป็นคนโผงผางมุทะลุ แต่มีเสน่ห์ น้ำใจงาม ความอดทนเป็นเลิศ แต่มักเที่ยวเตร่ไปวัน ๆ ไปสนใจอ่านหนังสือ ไม่ชอบทำไร่ไถนา ไม่พอใจในการใช้แรงงาน และมักวิวาทกับเจ้าหน้าที่บ้านเมือง พ่อเขาจึงเรียกเขาว่า "นักเลงตัวน้อย" โดยมีเพื่อนซี้ ชื่อ ฝ่านไคว้ ร่วมจมหัวจมท้ายด้วยกันตั้งแต่วัยรุ่น

ต่อมาหลิว ปัง เข้ารับราชการ เป็นข้าราชการชั้นผู้น้อย แต่ได้เป็นถึง มือปราบโจรผู้ร้าย และ นายด่าน ในสมัยของราชวงศ์ฉิน แห่งรัฐฉู่ (楚国) ที่ตอนนั้นถูก ราชวงศ์ฉินยึดครองแล้ว ต่อมา หลิวปัง ถูกย้ายให้ไปคุม นักโทษ เพื่อไปสร้าง สุสานหลวง แต่หลิวปัง ผู้มีน้ำใจ กลับปล่อยตัวนักโทษ ก่อนที่เขาจะหลบหนีไป

เมื่อ จิ๋นซีฮ่องเต้ ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ฉิน สิ้นพระชนม์ลง ในปี 209 ก่อนคริสตกาล ทำให้บ้านเมืองตกอยู่ในความวุ่นวายทางการเมือง เกิดกบฎหลายกลุ่ม  หลิว ปัง รวบรวมสมัครพรรคพวกเข้าร่วมกบฏต่อต้านราชวงศ์ฉิน เข้ายึดเพ่ยเสี้ยน ต่อมานำกองทัพบุกยึด เสี่ยนหยาง เมืองหลวงของรัฐฉินได้สำเร็จ  จนสามารถบีบให้ จื่ออิง (子嬰) ฮ่องเต้ องค์สุดท้ายของราชวงศ์ฉิน ยอมจำนนได้เมื่อ 206 ปีก่อนคริสตกาล แต่เกิดเหตุการณ์งานเลี้ยงที่หงเหมิน ทำให้หลิวปังนั้นพลาดที่จะขึ้นเป็น ฮ่องเต้ ในครั้งนั้น

เมื่อสิ้นราชวงศ์ฉินแล้ว  เซี่ยง อฺวี่ (項羽) หรือฌ้อป้าอ๋อง ผู้นำกบฏอีกกลุ่ม แบ่งดินแดนฉินออกเป็นสิบแปดส่วน ให้หลิว ปัง เป็น "ราชาแห่งฮั่น" (漢王) ไปครองแคว้น ปาฉู่ (巴蜀) อันห่างไกลและกันดาร หลิว ปัง จึงนำทัพต่อต้าน เซี่ยง อฺวี่ และสามารถยึดได้ 3 แคว้น (三秦)  นำไปสู่สงครามที่เรียกว่า "สงครามฉู่–ฮั่น" (楚漢戰爭) เป็นเวลา 4 ปี

ในปี 202 ก่อนคริสตกาล  หลังเกิดยุทธการไกเซี่ย (垓下之戰) หลิวปัง นำกำลัง 3 แสนนาย ปิดล้อมกองทัพของเซี่ยวอวี่ ทำให้เซี่ยวอวี่จนมุม จำต้องฆ่าตัวตาย ในที่สุดหลิวปังได้รับชัยชนะเบ็ดเสร็จและ สถาปนาราชวงศ์ฮั่นขึ้นที่มณฑลซานตุงใน ในปีนั้นเอง

ปกครองบ้านเมือง
หลิวปังเป็นนักการเมืองและนักปกครองชั้นยอด เนื่องจากเคย เป็นลูกชาวนาผู้ต่ำต้อย หลิวปังจึงมีความเห็นอกเห็นใจและ เข้าใจในทุกข์สุขของประชาชนทั่วไป   โดยในแง่การทหาร  หลิวปัง ที่ออกรบกับเซี่ยงอวี่ หลิวปังมักจะแพ้มากกว่าชนะ  แต่ในแง่การเมืองแล้ว  หลิวปังชนะใจประชาชน รวมทั้งทหารหลวงของจักรพรรดิราชวงศ์ฉินด้วย และในที่สุด เขาก็ได้รับชัยชนะโดยสมบูรณ์

เมื่อหลิวปังสถาปนาราชวงศ์ซีฮั่น(ฮั่นตะวันตก)แล้วก็ได้ใช้มาตรการต่างๆ ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและทำการผลิต เนื่องจากสงครามได้ยืดเยื้อเป็นเวลาหลายปีจนทำให้จำนวนประชากรลดน้อยลง   ตามที่ลู่เจี่ยทูลเสนอ หลิวปังดำเนินนโยบายนุ่มนวลกว่าสมัยราชวงศ์ฉิน ปลดระวาง ทหารให้กลับบ้านเพื่อทำไร่ไถนา ยกเว้น การเกณฑ์แรงงาน (หมายถึงการที่ชนชั้นปกครองในสมัยโบราณบีบบังคับเกณฑ์ ประชาชนมาทำงานให้โดยไม่มีค่าตอบแทน) เป็นเวลาหลายปีเพื่อจะสามารถทำการเพาะปลูกให้ได้ผล อนุญาตให้บรรดาผู้ลี้ภัยสงคราม กลับคืนสู่ถิ่นฐานของตน โดยคืนบ้านและที่ดินให้ตามเดิม ให้อิสรภาพแก่ผู้ที่ต้องขายตัวเป็นทาสเพื่อจะได้ไม่อดตายและลดภาษีที่ดินลง

ทางด้านปัญหาการปกครองอาณาจักรนั้น  ในชั้นต้น  หลิวปังใช้การปกครองที่ผสมผสานกันระหว่างการรวมศูนย์อำนาจไว้ที่อำนาจส่วนกลางซึ่งองค์จักรพรรดิฉินซีฮ่องเต้เคยใช้กับการกระจาย อำนาจโดยแต่งตั้งขุนพลที่มีความดีความชอบเป็นพิเศษในสงคราม และเชื้อพระวงศ์สำคัญๆให้เป็นเจ้าหรือหวางไปครองเมืองโดยมีอำนาจ ปกครองดินแดนเขตแคว้น ศักดินาหรือเรียกว่า”ฟงกั๋ว”เวลาต่อมา หลิวปังเริ่มกำจัดพวก”หวาง”ที่ไม่ใช่เชื้อพระวงศ์ไปหมดและแต่ง ตั้ง”หวาง”ขึ้นใหม่9องค์ด้วยกัน ล้วนเป็นเชื้อพระวงศ์แซ่หลิวทั้งสิ้น

พวกซ่งหนู
ชนกลุ่มเร่ร่อน ไม่ทำการเกษตรทางเหนือ ชื่อ ”ซงหนู”(匈奴) ที่ เก่งกาจในการรบบนหลังม้า แม้ยุคฉินจะสร้างกำแพงเมืองจีน เพื่อป้องกันชาวซงหนูไว้แล้ว แต่เมื่อสิ้นราชวงศ์ฉิน ชาวซ่งหนู ต่างก็ถือโอกาสบุกรุกลงมาทางใต้ เพื่อปล้นสดมถ์สิ่งของเท่านั้น โดยไม่สนใจพื้นที่ของราชวงศ์ฮั่น 

ในปี 200 ปีก่อนคริสศักราช  หลิว ปังได้ยกทัพไปปราบปรามด้วยตนเอง แต่ตอนนั้น พวกซงหนู จากพวกเร่ร่อนรวมตัวกันเป็นสหพันธรัฐเรียบร้อยแล้วทำให้ หลิวปัง ถูกทหารม้าจำนวน 3 แสนนายของพวก”ซงหนู”โอบล้อมอยู่ถึงเจ็ดวันเจ็ดคืนที่ไป๋เติง (ทางตะวันออกเฉียงเหนือของมณฑลซานซี) หลังจากเอาตัวรอดมาได้ อย่างหวุดหวิด  หลิว ปัง ก็เริ่มใช้นโยบายปรองดองกับพวก”ซงหนู” ขึ้นและเปิดตลาดชายแดนระหว่างฮั่น กับ พวก ซงหนู ขึ้น เพื่อผ่อนคลาย ความสัมพันธ์อันตึงเครียดของสองฝ่าย

นอกจากนี้ ยังยกองค์หญิงให้แต่งงานกับ ผู้นำของซ่งหนู แถมยังคอยส่งเครื่องใช้ให้ใช้ เพื่อแลกกับการไม่รุกรานดินแดนแทน

ศึกษาจุดด้อย
หลิวปังในวัยหนุ่มเป็นผู้ที่ไม่มีพิธีรีตองและดูหมิ่นสำนักปรัชญาขงจื้อ  เมื่อตั้งตนเป็นจักรพรรดิแล้ว  พระองค์ทรงเห็นว่า  ตนเองได้พิชิตอาณาจักรมาได้ด้วยการรบบนหลังม้า  จึงเห็นว่า  หนังสือของสำนักปรัชญาขงจื้อไร้ประโยชน์ ลู่เจี่ยเสนาบดีจึงทูล ว่า”อาณาจักรนั้น สามารถพิชิตได้  แต่จะปกครองบนหลังม้าไม่ได้” หลิวปังจึงสั่งให้ลู่เจี่ยแต่งหนังสือ เพื่อสืบหาความผิดพลาดและความ ล้มเหลวของจักรพรรดิราชวงศ์ฉินที่ยังผลให้ราชวงศ์ฉินต้องถูกโค่นล้มในที่สุด เพื่อให้คนรุ่นหลังถือเป็น อุทาหรณ์และรับเป็นบทเรียน

หลิวปังตั้งตนเป็นจักรพรรดิในปี ฺBC202 และย้ายเมืองหลวงจากเสียนหยางไปยังเมืองฉางอาน แต่ศักราชของราชวงศ์ฮั่น เริ่มนับตั้งแต่หลิวปังได้รับแต่งตั้งเป็น”ฮั่นหวาง” ระหว่างนั้นเอง เขาเริ่มกำจัดเจ้าเมือง หรือหวางต่างๆ ที่ไม่ใช่เชื้อราชวงศ์ แม้จะเคยเป็นเพื่อนร่วมรบกันมาก็ตาม และแต่งตั้งเชื้อพระวงศ์ให้ขึ้นเป็น เจ้าเมืองแทน

 ในปีที่206ก่อนคริสต์ศักราช หลังจากจักรพรรดิหลิวปังสิ้นสวรรคตและจักรพรรดิราชวงศ์ฮั่นในภายหลังได้ถวายพระนามในฐานะปฐมจักรพรรดิของราชวงศ์ฮั่นว่า “ฮั่นเกาจู่”

หลิวปังยกทัพไปปราบปรามกลุ่มกบฏของอิงปู้ ถูกเกาทัณฑ์ยิงจน ประชวรหนักและสวรรคต ในปี ฺBC195

วันพุธที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ฺจีน(BC241-280) - หลวีฮองเฮา ฮองเฮาจิตวิปริต กับ มนูษย์หมู

หลังจาก หลิวปัง ปราบ ฌ้อปาอ๋อง หรือเซี่ยงอวี่ ได้สำเร็จ ก็ขึ้นครองราชย์ เป็น ฮั่นเกาจูฮ่องเต้ และสถาปนาราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ในปี 206 ปีก่อนคริสตศักราช

หลวี่ ฮองเฮา มีชื่อเดิมว่า หลวี่จื้อ หรือหลายคนเรียก่า   หลวี่โฮ้ว(吕后)  (241–180 ก่อนคริสต์ศักราช) เป็นมเหสีของฮ่องเต้อั่นเกาจู่ 漢高祖 หรือ หลิวปัง ผู้ก่อตั้งราชวงศ์ฮั่นตะวันตก  มีบุตรเป็นองค์ชายรัชทายาทชื่อ หลิวอิ๋ง (劉盈และมีลุกสาวอีกคนชื่อ องค์หญิงลู่หยวน 魯元



เดิมนั้น หลิวปัง ลูกชาวนา ขี้เกียจเรียนหนังสือ กินเหล้า เที่ยวเตร่  แต่มีเพื่อนฝูงมากมาย จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็น นายบ้านคอยดูแลความสงบภายในหมู่บ้าน แต่มาวันหนึ่ง พ่อของหลี่โฮ้ว เศรษฐีจัดงานเลี้ยงใหญ่โต หลิวปัง อยากเข้างานแต่ไม่มีเงินใส่ซอง  หลิวปัง เขียนหน้าซองว่า ให้หนึ่งหมื่น นอกจากนี้ในงานเขายังคุยโวโอ้อวด จนพ่อตาชอบใจ ยกลูกสาวคือ หลี่โฮ้ว ให้

หลี่โฮ้ว นั้นเป็นลูกสาวของพ่อค้าข้าวที่ร่ำรวย ทำให้พ่อและนาง สามารถผลักดันให้ หนุ่มลูกชาวนา อย่าง หลิวปัง ขึ้นเป็นฮ่องเต้ ด้วยกการส่งเสบียงให้กองทัพได้สม่ำเสมอ และ ทำให้ คนในตระกลูหลี่ ของนางนั้นมีอำนาจและบารมีในกองทัพด้วย จนกระทั่งปี 202 ก่อนคริสตกาล หลิวปังก็สามารถรวบรวมแผ่นดินได้ ขึ้นเป็นกษัตริย์ฮั่นเกาจู

เสร็จนาฆ่าโคถึก
หลี่ฮองเฮา ผู้นี้เอง เป็นคนเสนอ สามีที่เป็นฮ่องเต้ว่า เสร็จนาฆ่าโคถึก เสร็จศึกฆ่าขุนพล  นั่นคือ นางเป่าหู ฮั่นเกาจูฮ่องเต้ ว่า หานเซิ่น ที่ได้รับความดีความชอบจากการปราบเซี่ยงอวี่ ได้ไปเป็นอ๋องปกครอง แคว้นฉู่ แต่นางกลัวว่า หานเซิ่น จะก่อรัฐประหาร จึงเรียกตัวเข้าวัง ลดยศและคุมตัวที่วังหลวง 4 ปี ต่อมามีเจ้าเมืองคนหนึ่งก่อกบฎขึ้น ฮั่นเกาจูฮ่องเต้เดินทางไปปราบ หานเซิ่นได้ที วางแผนก่อกบฎที่เมืองหลวง แต่หลี่ฮองเฮา ได้ข่าววางแผนตลบหลัง หานเซิ่น สั่งประหาร 3 ชั่วโคตร จบชีวิตขุนพลที่ช่วยยก่อตั้งราชวงศ์

อีกคนคือ เผิงเยว์ ( 彭越)  ขุนพลอีกคนที่ร่วมรบกับหลิวปังมาได้รับความดีความชอบ ขึ้นเป็นอ๋องแห่งแคว้น เหลียง ครั้งหนึ่ง ฮั่นเกาจู ฮ่องเต้ สั่งให้กองทัพของแคว้นเหลี่ยงไปช่วยปราบกบฎ แต่เห็นหานเซิ่น จบชีวิต เผิงเยว์ จึงอ้างว่า ป่วย ไม่ยกทัพไปช่วย ฮ่องเต้เห็นว่า แคว้นเหลียงจะแข็งเมือง รวมถึง หลี่ฮองเฮา เป่าหูว่า หากให้ เผิงเยว์ ไปอยู่เสฉวน อาจเป็นการปล่อยเสือเข้าป่า (เหมือนที่เซี่ยงอว๊่เคยทำกับหลิวปัง)  จึงสั่งประหาร 3 ชั่วโคตร นอกจากนี้ หลี่ฮองเฮา ยังสับศพของเผิงเยว์ ส่งไปให้แคว้นต่างๆ ดู เป็นการเชือดไก่ให้ลิงดูอีกด้วย

ความโหดร้าย
ปลายรัชกาลของ หลิวปัง ทรงโปรดปรานนางสนมคนหนึ่งชื่อ สนมชีฮูหยิน 戚姬 ถึงขนาดเคยคิดจะปลด จางอ้าว สามีของลูกสาว องค์หญิง ลู่หยวน ออกจากตำแหน่ง จ้างหวัง  แล้วให้ ลูกชาย คือ หลิวหรูอี้ 劉如意 ที่เกิดกับ สนมซีฮูหยิน  ขึ้นแทน  ด้วยเหตุผลว่า จางอ้าว นั้น “เป็นคนจิตใจดีเกินไป” แต่เหล่าที่ปรึกษาที่อยู่ภายใต้อาณัติของหลี่ฮองเฮา ช่วยกันทัดทานเรื่องนี้ไว้ ทำให้ หลิวปัง ยกเลิกความคิด แต่มันก็ทำให้ หลี่ฮองเฮา ไม่พอใจเรื่องนี้อย่างมาก

เมื่อ หลิวปัง สิ้นชีพลง ในปี 195 ปีก่อนคริตกาล   หลิวอิ๋ง ขณะนั้นอายุเพียง  17 ปี ก็ได้ขึ้นครองราชย์ หลี่ฮองเฮา จึงขึ้นเป็น หลี่ไทเฮา และขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการแทนฮ่องเต้  เมื่อได้ตำแหน่ง หลี่ไทเฮา ก็วางแผนแก้แค้นสนมชีฮูหยิน เริ่มต้นด้วยการ สั่งโกนผม และปลดยศลงไปเป็นทาส ใส่โซ่ตรวนแล้ว ส่งตัวไปใช้แรงงาน โดยให้ไปโม่แป้ง

จากนั้นจึงเรียกตัว หลิวหรูอี้ ลูกชายของ สนมชีฮูหยิน ขณะนั้นอายุเพียง 12 ปี มาเข้าวัง เพื่อหวังสังหาร หากปรากฏว่า หลิวอิ๋ง กลับสนิทสนมกับ หลิวหรูอี้ มาก จึงคอยปกป้อง น้องชายต่างมารดามาโดย ตลอด พยายามอยู่ติดกับ หลิวหรูอี้ เพื่อมิให้ หลี่ไทเฮา มีโอกาส

วันหนึ่ง หลิวอิ๋ง ออกล่าสัตว์ ชวน หลิวหรูอี้ ไปด้วย แต่ หลิวหรูอี้ ซึ่งยังเล็กง่วงนอนไม่ยอมลุกจากเตียง จึงถูกทิ้งไว้เพียงลำพัง หลี่ฮองเฮา ใช้โอกาสนี้ ส่งมือสังหารลอบเข้ามาจับ หลิวหรูอี้ กรอกยาพิษตาย หลิวอิ๋ง เห็นน้องตายก็เสียใจนัก

ในงานเลี้ยงครั้งหนึ่งเขาเห็น หลี่ไทเฮา ทำท่าเบิกบานเป็นพิเศษ หลิวอิ๋ง จึงถามว่า "เสด็จแม่ยินดีเรื่องอะไร?"

หลี่ไทเฮาจึงกล่าวว่า "ตามมาสิ แม่จะให้ดูของประหลาด"

หลิวอิ๋งต้องแปลกใจเมื่อแม่พาเขาไปยัง ส้วมสกปรกแห่งหนึ่ง หลี่ไทเฮาชี้ให้ลูกดูเห็นเป็น สนมชีถูกตัดแขน ตัดขา ควักลูกตา ตัดหู ตัดลิ้น แล้วล่ามโซ่อยู่ในส้วม ให้รับประทานอุจจาระ สนมชีส่งเสียงร้องครวญครางเหมือนเสียงหมู มีชีวิตเยี่ยงหมูข้างห้องส้วม น่าอเนจอนาถใจยิ่งนัก จากสนมที่ฮ่องเต้หลงรักมาเป็นมนุษย์หมูสกปรกโสโครกโสมม ไร้แขนขาแถมตาบอดอีก ยิ่งกว่าตกสวรรค์อีกนะนี่

"นี่คือสัตว์ประหลาดเรียกว่า 'มนุษย์หมู' !" หลี่ไทเฮา อธิบาย

 หลิวอิ๋งเห็นภาพนั้นก็ตกใจมาก และเข้าใจแล้วว่า แม่ของตนเหี้ยมโหดเพียงใด เมื่อแม่สั่งอะไรมา หลิวอิ่งต้องทำตามอย่างไม่บิดพริ้ว มิเช่นนั้นอาจพบชะตากรรมเดียวกัน ทำให้หลิวอิงผู้เป็นฮ่องเต้ใช้ชีวิตไปวันๆ ทำตัวเสเพล ดืมเหล้า เพื่อไม่ให้เกะกะการกระทำของแม่ หลี่ไทเฮาอยากทำอะไรก็ตามใจ ปล่อยให้แม่ ออกว่าราชการและกุมอำนาจทั้งหมด

ยกน้องสาวต่างแม่เป็นแม่บุญธรรม
อีกเหตุการณ์ที่แสดงถึงความโหดเหี้ยม คือ ความจริงหลิวปัง นั้น มีเมียคนก่อน หลี่ฮองเฮา และมีลูกชายด้วยกัน ชื่อ หลิวเฝย หลิวปัง นั้นแต่งตั้งให้ หลิวเฝย ครองเมืองหลายแห่ง และถือเป็นพี่ชายต่างมารดาของ หลิวอิ๋ง

หลี่ไทเฮา จึงรับสั่งให้เรียกตัว หลิวเฝย เข้าเมืองหลวง เมื่อ หลิวอิ๋ง รู้ข่าว ก็จัดงานเลี้ยงรับรอง แต่ หลี่ไทเฮา นั้น พระราชทานเหล้าพิษให้ 2 จอก ขณะที่ หลิวเฝย กำลังยกแก้วขึ้น หลิวอิ๋งก็ยกอีกแก้วขึ้นตาม แต่หลี่ไทเฮา รีบปัดแก้วตกพื้น ทำให้หลิวเฝย ไม่กล้ากินเหล้าจอกนั้นต่อ

ที่ปรึกษาของหลิวเฝย แนะนำว่า หลี่ไทเฮานั้น รัก ลูกสาวคือ องค์หญิงลู่หยวน มาก  หลิวเฝยจึงต้องยอมรับ องค์หญิงลู่หยวนเป็นแม่บุญธรรม เพื่อให้รอดชีวิตจาก หลี่ไทเฮา ซึ่งหลี่ไทเฮานั้นก็ชอบใจเป็นอันมาก

ยกหลานเป็นเมีย
หลี่ไทเฮานั้น ให้ลูกสาวของ องค์หญิงลู่หยวน คือ จางฮองเฮา มาเป็นเมียของ หลิวอิ๋ง นอกจากนี้ หลิวอิ๋ง นั้น ไม่มีลุกกับจางฮองเฮา หลี่ไทเฮา จึงวางแผนไปเก็บเด็กชาวบ้านมาเลี้ยง 2 คน  แล้วฆ่าพ่อแม่เด็กเสียนำมาเป็นลูกของ จางฮองเฮา แทน

่นักประัติศาสตร์นั้นสงสัยว่า หลิวอิ่งนั้น เป็นคนไม่เอาไหนจริงๆ หรือเพียงแค่เขาเอาตัวรอดไปวันๆ อย่างยากลำบาก ที่สำคัญคือ เขาไม่กล้าแม้แต่จะชิงอำนาจจากแม่ของเขาด้วยซ้ำ  ไม่นานหลิวอิงก็ ล้มป่วยและเสียชีวิตลงในวัยแค่ 24 ปี

พอ หลิวอิ๋ง ป่วยตาย หลี่ไทเฮา ก็ให้ราชโอรสปลอม ชื่อหลิกง ที่เก็บมาเลี้ยงนั้น ขึ้นเป็นฮ่องเต้ต่อ แต่เมื่อเด็กรุ้ความ ก็ตะโกนว่า  หลี่ไทเฮา เป็นคนฆ่าพ่อแม่เขา สักวันเขาต้องล้างแค้น  เมื่อเรื่องนี้ถึงหู หลี่ไทเฮา ก็สั่งประหารฮ่องเต้เด็กทันที แล้วให้ราชโอรสอีกคน ชื่อหลิหง ขึ้นตำแหน่งฮ่องเต้แทน นางเรืองอำนาจอยู่หลายปี โดยในยุคของนาง นางไล่กวาดล้างคนตระกูลหลิวไปมากมาย และแต่งตั้งคนตระกูลหลี่ขึ้นมาเป็นอ๋องแทนถึง 4 แคว้น

ก่อนตายป่วยเป็นโรคประหลาด มีอาการประสาทหลอน ร้องโวยวายว่า เหล่าวิญญาณที่นางฆ่าตายจะตามมาทวงเอาชีวิตคืน จนที่สุด หลี่ไทเฮา เสียชีวิต ในปี 180 ปีก่อนศริสตศักราช ด้วยวัย 62 ปี  โจวป๋อ ผู้บัญชาการสูงสุด และเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งราชวงศ์ที่ยังมีชีวิตเหลืออยู่ ได้ก่อกบฎ กับตระกูลหลี่ และไล่กวาดล้างคนแซ่หลี่ รวมถึงราชโอรสปลอมที่เป็นฮ่องเต้ด้วย แล้วอัญเชิญ น้องชายต่างมารดาอีกคนของ หลิวอิ๋ง คือ หลิวเหิง ขึ้นเป็นฮ่องเต้  ชื่อ ฮั่นเซี่ยวเหวินตี้ หรือ ฮั่นเหวินตี้ ในปี 180 ก่อนคริสตศักราช

ฮั่นเหวินตี้
ย้อนประัติ ของ หลิวเหิง ที่รอดตาย จากหลี่ไทเฮา ได้ เพราะ แม่ของเขา คือ สนมโป ไม่ใช่สนมที่ฮั่นเกาจู หรือหลิวปังโปรดปรานมากนัก นอกจากนี้ ในปี 196 ปีก่อนคริสตศักราช หลิวปังได้แต่งตั้งให้ หลิวเหิง ไปเป็น อ๋องครองเมืองไต หัวเมืองชายแดน ที่นั่นเองแม้จะยากลำบากแต่ส่งผลดีให้หลิวเหิงนั้นรอดพ้นจากน้ำมือของ หลี่ไทเฮา

ครั้งหนึ่ง หลี่ไทเฮา เคยลองใจ หลิวเหิง ด้วยการจะแต่งตั้งให้ หลิวเหิง ไปครองเมืองจ้าว แต่หลิวเหิงปฎิเสธว่า สุขภาพไม่ค่อยดี อยากอยู่ชนบทมากกว่า ทำให้รอดจากการถูกกำจัดของหลี่ไทเฮา

และยุคของฮั่นเหวินตี้ นี่เองที่บ้านเมืองสงบสุข เขายกเลิกการลงโทษสถานหนัก เช่น การตัดจมูก ตัดข้อเท้า ต่างๆ และ หันเน้น การใช้แรงงาน และ เก็บค่าปรับแทน เพื่อแก้ไขปัญหาท้องพระคลังว่างเปล่า  ยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ลดภาษี จากร้อยละ 6.6 เหลือร้อยละ 3  นอกจากนี้ยังประกาศไม่รับของที่ประชาชนนำมาถวายใดๆ ทั้งสิ้น อีกด้วย

แม้แต่เมื่อประชวรหนัก ก็สั่งให้ผู้คนไม่ต้องสร้างสุสาน อาศัยเพียง เนินเขาก็พอเพียง สั่งห้ามให้ใช้แรงงานมาสร้างสุสานใดๆ ทั้งสิ้น  นอกจากนี้ยังสั่งให้จัดงานศพเพียง 3 วัน เหล่านางสนมต่างๆ  ก็ให้กลับไปอยู่กับบิดามารดา และไม่ต้องสนว่า พวกนางจะครองตัวเป็นม่ายต่อไปหรือไม่ก็ตามอีกด้วย

เหตุที่บ้านเมืองร่วมเย็นสงบสุข  ทำให้คนจีน เชื่อมั่นว่า ชีวิตของพวกเขาจะดีขึ้นไปตลอด จนภูมิใจ เรียกตนเองว่า ชาวฮั่น ในยุคนนี้เอง

---------------



วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

จีน(BC206) - หลิวปัง กับ งานเลี้ยงที่หงเหมิน

งานเลี้ยงที่ประตูหงเหมิน ( 鴻門宴) เป็นเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดใน 206 ปีก่อนคริสตกาล เป็นส่วนหนึ่งของสงครามฉู่-ฮั่น (206-202 ปีก่อนคริสตกาล) อันเป็นสงครามภายหลังสิ้นสุดราชวงศ์ฉิน เป็นการแย่งชิงความเป็นใหญ่ระหว่าง เซี่ยงอวี่ หรือ ฌ้อปาอ๋อง แห่งรัฐฉู่ กับ หลิวปัง แห่งรัฐฮั่น

โดยสถานที่ ๆ เกิดเหตุในปัจจุบัน คือ หมู่บ้านหงเหมินเปา ในอำเภอหลินตง เมืองซีอาน มณฑลส่านซี

ที่มา
หลังจากฉินซีฮ่องเต้ สามารถรวบรวมแผ่นดินได้เป็นปึกแผ่นในปี 221 ก่อนคริสตศักราช  แต่เนื่องจาก ราชวงศ์ฉิน ไม่ได้ดูแลประชาชน ขูดรีดราษฎรอย่างหนัก ทำให้ประชาชนเดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า ต่อมาจึงเกิดกบฎ โดยมี 2 ทัพที่เติบโตอย่างรวดเร็ว หนึ่งคือ กองทัพของเซี่ยงห=วี่ หรือช้อป่าอ๋อง ของแคว้นฉู่ และ หลิวปัง ที่เป็นเพียงขุนนางระดับล่างของแคว้นฉิน

เซี่ยงหวี่ นั้น แม้จะเป็นคนกล้าหาญ แต่ก็เป็นคนโหดเหี้ยม หยิ่งจองหอง ไม่ฟังความคิดเห็นคนอื่น สู้รบเก่ง ส่วนนหลิวปัง นั้น เป็นคนเจ้าเล่ห์ ใช้สมองของคนรอบข้าง ในการบัญชาการ  ทั้งสองพันธมิตรร่มกันก่อกบฎ สนับสนุนกัน และมีข้อตกลงว่า หากใครบุกตีเมืองเสี่ยนหยางของแคว้นฉินได้ก่อน คนนั้นจะได้เป็นฮ่องเต้

หลิวปังนั้นใช้กลยุทธ์ หากเมืองไหนยอมจำนน จะไม่สังหาร และปล้นสะดม ทหารฉินส่วนใหญ่จึงยอมเปิดประตูเมืองอย่างงายดาย ขณะที่เสี่ยงอวี่ นั้นเลือกที่จะบดขยี้ทุกเมืองที่ขวางหน้า ขณะที่จื้ออิง น้นได้สังหาร เจ้าเกา (ขันที) และสถาปนาขึ้นเป็นฮ่องเต้เรียบร้อยแล้ว แต่เห็นว่า ไคต่อต้านไม่ไหว จึงยอมยกให้หลิวปังอย่างง่ายด่าย

เข้าเมื่องเสี่ยนหยาง
ปี 207 กอ่นคริสตศักราช เซี่ยงหวี สติดกับกองทัพหลักของ ราชวงศ์ฉินที่ เมืองจวี้ลู่ ทำให้หลิวปังนำองทัพบุกเข้าตีเมืองเสียนหยาง ที่เป็นเมืองหลวงของแคว้นฉินได้สำเร็จ จัดวางกองทหารหลักไว้ชานเมือง และให้ทหารดูแลประชาชน  ทำให้ประชาชนต่างชื่นชมความเมตตา ของหลิวปัง เวลาน้้นทำให้ หลิวปังนั้น เตรียมขึ้นเป็นฮ่องเต้ ตามข้อตกลง

เซี่ยงอวี่ นั้น โกรธมาก เตรียมนำกองทัพบุกเข้าเมืองเสี่งหยาง แต่เซี่ยงป๋อ อาของเซี่ยงอวี่ นั้น สนิทชิดเชื้อกับ จางเหลียง ที่ปรึกษาของหลิวปัง จึงรีบขี่ม้าไปบอกข่าว กับจางเหลี่ยงก่อน เมื่อหลิวปังได้ฟังก็ตกใจ จางเหลี่ยงจึงครุ่นคิด เขารีบฝากจดหมาย ยืนยันว่า กองทัพของพวกเขาทำบัญชีรายชื่อทรัพย์สินในท้องพระคลังไว้ และให้หทารดูแลประชาชนรอให้ท่านเซี่ยงอวี่ มารับตำแหน่ง

แต่เซี่ยงป๋อนั้น ดูไม่สนิทใจที่จะยื่นหนังสือดังกล่าวให้ หลิวปังจึงได้ยกลูกสาวให้กับลูกชายของเซี่ยงป๋อ ทำให้เซี่ยงป๋อยอมไปพุดเจรจาให้ อีกทางนอกจากจดหมาย และยังบอก่า หลิวปังจะเดินทางมาขอโทษด้วยตนเอง ทีหงเหมิน  ทำให้เซี่ยงอวี่ยอมพักการโจมตีไว้ก่อน

งานเลี้ยงที่หงเหมิน
ฟั่นเจิง นั้นเมื่อได้ข่าวว่า เซี่ยงฮวี่เปลี่ยนใจก็โกรธมาก เตือนสติ่ว่า เดิมหลิวปัง เป็นคนละโมบ โลภมาก เจ้าชู้ แต่เมื่อตีเมืองเสี่ยงหยางสำเร็จ เขากับเปลี่ยนไป แสดงว่า หลิวปังวางแผนสูง ให้รีบสังหารหลิวปังเสียก่อน จึงคิดแผนจัดการ โดยภายในงานเลี้ยงฉลองชัยชนะของหลิวปัง ที่ด่านหงเหมิน ให้เซี่ยงอวี่พยายามกล่าวโทษหลิวปัง หากแก้ต่างไม่ได้ก็ให้ฆ่าเสียเลย  และหากพลาดก็ให้ล้อมสังหาร

ขณะที่ฝ่ายหลิวปังนั้น จางเหลียง  แนะนำ หลิวปังการแสดงออกท่าทาง และคำพูดบางอย่าง นอกจากนี้ ยังมีคนไปด่านเพียง หลิวปัง จางเหลียง และ ฝ่านไคว้ และหทารอีกเล็กน้อยเท่านั้น

เมื่อเดินทางไปถึง เซี่ยงอวี่ ก็ประกาศโทษ 3 ประการแก่หลิวปัง 1 ปล่อย จื้ออิง( ขันที) โดยไม่ลงอาญา 2 เปลี่ยนกฎหมาย  3 ส่งทหารไปสกัด เพื่อขวางทัพเซี่ยงอว๊๋

หลิวปังจึงตอบกลับว่า จื่ออิง ยอมจำนานแต่โดยดี หากเขาลงโทษไปจะเป็นการเกินอำนาจของเขา จึงรอให้เซี่ยงอวี่ จัดการเรื่องนี้แทน

การเปลี่ยนกฎหมาย ของราชวงศ์ฉินที่เข้มงวด และรุนแรง  ถ้าทิ้งไว้ กัวประชาชนจะลุกฮือต่อต้าน ก่อนที่เซี่ยงอวี่จะยกทัพมา  ดังนั้นเพื่อเป็นการลดความวุ่นวาย

กองทัพที่ส่งไป นั้น เพื่อป้องกันโจรผู้ร้าย เพราะหากมีกองทัพอื่นของฉิน มาทำอันตรายหรือไม่ จึงต้องสั่งให้ป้องกันด่านไว้ ก่อนที่ท่านเซี่ยงอวี่จะมาถึง

เมื่อหลิวปังแก้ข้อต่างได้สำเร็จ เซ่ี่ยงอวี่ ก็พอใจ แต่ ฟั่นเจิง กลับคิดว่า แผนแรกไม่สำเร็จ ให้ใช้แผนสอง  โดยพยายามส่งสัญญาณให้เซี่ยงอวี่ให้สัญญาณจู่โจม แต่เซี่ยงอวี่ไม่ยอมให้สัญญาณ

ในที่สุด เซี่ยงจวง ญาติของเซี่ยงอวี่ ได้เข้ามารำดาบให้แขกชม  จางเหลี่ยงรู้ดีว่า สถานการณ์ไว้ใจไม่ได้แล้ว จึงได้เดินออกมา บอกกับ ฝานไคว้ แล้วกลับเข้าไปในงานเลี้ยง ไม่นานฝานไคว้ ก็บุกเข้ามาในงานแล้วตะโกนว่า  ราชวงศ์ฉินฆ่าคนเป็นผักปลา แม่ทัพทั้งสอง ยกทัพมากปราบ ผู้ใดมาถึงก่อนจะได้ขึ้นเป็นฮ่องเต้ แต่ หลิวปังมาถึงก่อน แต่กลับไม่ตั้งตนเป็นฮ่องเต้  คอยดุแลทรัพย์สิน และประชาชนให้เป็นอย่างดี รอท่านเซี่ยงอวี่ มา ความดีความชอบของท่านแม่ทัพหลิวปังมีมากมาย ท่านเซี่ยงอวี่กลับไม่เห็น กลับไปเชื่อคำยุแหย่ ข้าพเจ้าเห็นวาไม่สมควรจึงฝ่าเข้ามาทัดทาน

จางเหลี่ยงเห็นดังนั้น ทำท่าไล่ ฟั่นจิงออกไป  หลังจากนั้น หลิวปัง แกล้งเมา และขออกมาปัสสาวะ โดยอให้จางเหลียงมาช่วยประคอง เมื่อได้จังหวะ ทั้งคู่ก็หนีกลับค่ายทันที

ฟ่านเจิง นั้น เห็นดังนั้น ก็กล่าวอย่างโกรธแค้นว่า สักวันหนึ่ง หลิวปังจะขึ้นเป็นฮ่องเต้

ยึดเมืองเสี่ยนหยาง
หลังจากเซี่ยงอวี่ เข้ายึดเมืองเสี่ยนหยางเขาก็จัดการสำเร็จโทษ เชือพระวงศ์ของราชวงศ์ฉินทั้งหมด  และเห็นว่า เมืองนี้เป็นเมืองของคนชั่ว เขาจึงสั่งเผาพระราชวังทั้งหมด

หลังจากนั้น หานเซิง แม่ทัพของเซี่ยงอวี่ไม่พอใจ จึงบอกว่า  คำกล่าวที่ว่า ชาวฉู่ เหมือนลิงได้เสื้อผ้า ไม่เกินความจริงไปนัก

เมื่อเซี่ยงอว๊่ได้ยิน ก็สั่งจับ หานเซิง ไปประหารด้วยการ ต้มทั้งเป็นทันที และตั้งตนเองเป็น ฉ้อป่าอ๋อง และแต่งตั้งหวาง (กษัตริย์) อีก 18 คนปกครองดินแดนต่างๆ  หลิวปังก้ได้เป็นหนึ่งใน 18 คนด้วย โดยได้ดินแดน ปาสู่ (มณฑลเสฉวนในปัจจุบัน) เป็นดินแดนทุรกันดาน มีแต่ภูเขาสูง

แม้ว่า หลิวปังจะโกรธมากที่ได้ดินแดนทุรกันดาร แต่จางเหลียว ก็เตือนว่า หากยกทัพไปตี มีแต่จะเสร็จเซี่ยงอวี่ในทันที

ไม่นานหลังจากรวบรวมกำลังแล้ว พอดีเกิดกบฎ อีกแคว้นฉี  ทำให้หลิวปังสบโอกาส เข้าตีด่านต่างๆ มุ่งสู่ดินแดนของแคว้นฉินเดิม ครั้งนี้ เซี่ยงอวี่ เลือกที่จะยกทัพไปตี กบฎที่แคว้นฉี แทนที่จะมาปราบหลิวปัง

หลิวปังยังคงใช้กลยุทธ์เดิม คือหากใครยอมจะไม่สังหารและปล้นสะดม มีหลายเมืองยอมเปิดทางให้หลิวปัง ขณะที่เมืองไหนไม่ยอมจะต้องพบกับยอดมแ่ทัพอย่าง หานซิ่น ขณะเดียวกัน หลิวปังก็เข้าตีเมืองเผิงเฉิง เมืองหลวงของแคว้นฉู่ และประกาศสงครามกับ เซี่ยงอวี่ทันที

กลับไปกลับมา
เซี่ยงอวี่ ทราบข่าว รีบนำทหารออกจากแคว้นฉี กลับมาที่เมือง เผิงเฉิง แคว้นฉู่ทันที  ถึงศึกนี้ ฮั่นจะมีถึง ห้าแสนหกหมื่นนาย แต่ฝ่ายฉู่ของเซี่ยงอว๊่มีเพียง สามหมื่นนายเท่าน้น  แต่เซี่ยงอว๊่นำทัพขี่ม้าบุกตะลุยจนกองทัพฮั่นแตกกระจาย ขณะที่หลิวปังรู้เรื่อง ก้รีบควบม้าหนี

กองทัพฮั่นแตก กองทัพกว่า แสนคน กองทัพสามหมื่นต้อนไปที่แม่น้ำ หลายคนพยายามว่ายน้ำหนี แต่ไม่เป็นผล กองทัพเซี่ยงอวี่นั้น ไล่ฆ่า จนขนาดศพขวางทางน้ำไม่สามารถไหลผ่านไปได้  ครั้งนั้น หลิวปังสูญเสียทหารไป สองแสนนาย พ่อและเมียโดนเซี่ยงอวี่จับเป็นตัวประกัน

สถานการณ์ตีกลับ


----------------
ทางฝ่ายเซี่ยงอวี่จึงคิดจะจัดการหลิวปังให้ได้อย่างเด็ดขาด ฟ่านเจิ้ง ที่ปรึกษาของเซี่ยงอวี่จึงคิดแผนที่จะจัดงานเลี้ยงฉลองให้แก่ความสำเร็จของหลิวปัง ที่ด่านหงเหมิน นอกเมืองเสียนหยางอออกไป ซึ่งแท้ที่จริงแล้วภายในงานจะซุ่มซ่อนอาวุธและมือสังหารไว้ เพื่อลอบสังหารหลิวปัง

ทางฝ่ายหลิวปังล่วงรู้แผนนี้ได้จาก เซี่ยงป๋อ ซึ่งเป็นญาติของเซี่ยงอวี่ และเป็นมิตรสหายกับหลิวปัง เซี่ยงป๋อแอบเอาข้อมูลนี้แจ้งแก่จางเหลียง ที่ปรึกษาคนสำคัญของหลิวปังเพื่อพร้อมรับมือ จางเหลียงสั่งให้หลิวปังเชิญเซี่ยงป๋อมาพบอย่างเป็นทางการพร้อมมอบเงินทองของมีค่าที่ได้จากเมืองเสียนหยางให้ แถมยังสัญญาว่าจะยกลูกชายของหลิวปังให้แต่งงานแก่ลูกสาวของเซี่ยงป๋อ เพื่อเกี่ยวดองความเป็นญาติกัน เซี่ยงป๋อได้กลับไปรายงานต่อเซี่ยงอวี่ว่า หลิวปังนั้นมิได้หักหลัง แต่กระนั้นงานเลี้ยงที่หงเหมินก็ยังมีขึ้นตามกำหนด กำหนดการสังหารนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อมีการแสดงการร่ายรำดาบหลังจากที่ดื่มกินกันไปแล้วพักใหญ่

หลิวปังได้พบหน้าเซี่ยงอวี่ก็ประกาศความยิ่งใหญ่ของเซี่ยงอวี่ทันที โดยยกให้ความดีความชอบที่ได้เข้าเสียนหยางก่อนเป็นเพราะเซี่ยงอวี่รับศึกกับ จางฮั่น แม่ทัพใหญ่ของรัฐฉิน จนไม่มีทหารเหลือต่อต้านตน การเดินทางของตนเองนั้นได้มาจากโชคที่ทางเซี่ยงอวี่ประทานให้ แถมที่เข้ามาควบคุมเมืองให้ก็เพื่อให้เซี่ยงอวี่เข้ามาสู่เมืองเสียนหยางอย่างสะดวก และการที่ตนเข้าเมืองเสียนหยางมานี้ ก็มิได้ตั้งตนเป็นอ๋อง เพราะต้องการจะมอบตำแหน่งนี้ให้แก่เซี่ยงอวี่ การอวยความยิ่งใหญ่นี้ ทำให้เซี่ยงอวี่ไม่ส่งสัญญาณให้มือสังหาร ออกมารำดาบตามแผนเสียที ฟ่านเจิ้งนั้นกระตุ้นเตือนหลายครั้งให้เซี่ยงอวี่ลงมือ สุดท้ายเมื่อเซี่ยงอวี่ไม่ยอมทำ ฟ่านเจิ้งจึงกระซิบให้เซี่ยงจวงซึ่งเป็นญาติอีกคนของเซี่ยงอวี่ และเป็นมือสังหารที่เตรียมไว้ออกมารำดาบทันที

เมื่อเห็นดังนั้น ฟานไขว้ แม่ทัพคนสนิทของหลิวปัง ได้ชักดาบออกมาสกัดกั้นเซี่ยงจวงทันที พร้อมกับตะโกนต่อว่าเตือนสติเซี่ยงอวี่ไปว่า หูเบา ไปหลงคำยุแหย่ของผู้ที่ต้องการให้สองฝ่ายแตกแยกกัน เมื่อฟังถ้อยความของฟานไขว้แล้ว เซี่ยงอวี่ก็ได้สั่งให้หยุดกิจกรรมทุกอย่าง และรินสุราคาราวะให้ฟานกุ้ย

ทางฝ่ายหลิวปังได้ทีก็แสร้งเมาแล้วเดินออกจากกระโจมจัดงาน โดยอ้างว่าจะไปปัสสาวะ โดยมีฟานไขว้เป็นคนประคองออกไปพร้อมกัน เมื่อออกมาไกลทั้งคู่ก็หนีกลับไปที่ค่ายของตัวเอง รอดพ้นการถูกสังหารอย่างหวุดหวิด หลังเหตุการณ์นี้ ฟ่านเจิ้งได้ถึงกับปรารภออกมาว่า ท้ายที่สุดสงครามครั้งนี้ เซี่ยงอวี่จะเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ และหลิวปังจะได้สถาปนาตนเองเป็นฮ่องเต้ ซึ่งก็เป็นจริงตามนั้นทุกประการ หลังจากนี้

ในวัฒนธรรม
เรื่องราวดังกล่าว ได้กลายมาเป็นเรื่องเล่าขานในวัฒนธรรมจีนจนถึงปัจจุบัน โดยมีสำนวนที่ว่า "項莊舞劍" หรือ "意在沛公" (พินอิน: Xiàng Zhuāng wǔ jiàn, yì zài Pèi Gōng) อันมีความหมายว่า "ใครบางคนถูกเรียกตัวให้ไปตาย หรือเรียกตัวให้ไปรับความผิด หรือการวางแผนเพื่อลอบสังหารโดยที่อีกฝ่ายไม่มีทางเลือก" ซึ่งเรื่องราวนี้ได้ถูกอ้างอิงถึงในวัฒนธรรมร่วมสมัย เช่น White Vengeance ภาพยนตร์ในปี ค.ศ. 2011 และThe Last Supper ภาพยนตร์ในปี ค.ศ. 2012 เป็นต้น

หลังจากนั้น หลิปังก็ทำศึกกับเี่ยงอี่เป็นเลา 4  ปี เรียก่า สงครามฉุ่ ฮํ่น คือ สงครามระห่างแค้นฉู่กับแค้นฉฮั่นนั่นเอง ในระยะเลา 4 ปีนี้ ทั่งคู๋ผลัดกันรุกผลัดกันรับ อย่าลืม่า ฉ้อป๋าอ๋อง หรือเี่ยอี่นั้น ถือเป็นเทพแห่งสงคราม 

โดยมีอยู่ช่งหนึ่ง มีเหตุการณ์สำคัญคือ เี่ยงอี่นั้น ได้มาปะทะกับกองทัพของ หลิปัง ที่กำลังล้อมเมืองิงหยางอยู่  แต่หลิปังเก็บตัเงียบ เี่ยงอี่ ร้องให้หลิปังออกมารบทุกัน แต่หลิปังนั้นไม่ยอมออกจากเมือง รอกองทัของหานสิ้นมาช่ย เี่ยงอี่นั้นให้คนไปนำ พ่อและภรรยาของหลิปังออกมามัดไ้ที่หม้อต้ม ขู่่า ถ้าหลิปังไม่ออกมา ตนจะต้มคนทั้งสอง  จางเหลียงเห็นดังนั้น จึงแนะนำหลิปัง่า ให้ส่งสารตัดพ่อตัดลูกไปก่อน ไม่เช่นน้นจะหลงกลฝ่ายเี่ยงอี่ได้ หลิปังนั้น เครียดมาก จึงถามกลับจางเหลียง่า หากต้มบิดาข้าจริงจะำทเช่นไร จางเหลียงบอก่า อย่าลืม่า เราดองญาติกับ เี่ยงป๋อ ไ้แล้ เี่ยงป๋อคงช่ยทัดทาน

หลิปัง ส่งสารไป่า  ข้ากับเจ้า เคยเป็ฯพี่นอ้งร่มสาบาน พ่อข้าก็คือพ่อเจ้า ถ้าเจ้าต้มพ่อเสร็จแล้ อย่าลืมแบ่งน้ำแกงให้ข้าถ่ยหนึ่งด้ย

เี่ยงอี่นั้น ได้อ่านสารก็โกรธมาก จะจับต้มจริงๆ แต่ เี่ยงป๋อ นั้นทัดทานไ้จริงๆ ทำให้พ่อกับภรรยาของหลิปังนั้นรอดชีิตหุดหดิด

พลิกสถานการณ์
หลังจากนั้น กองทัพของเี่ยงอี่กลับเสบียงหมดก่อน ขณะที่ฝ่ายของหลิปังน้้นได้เสบียงมาอย่างต่อเนื่อง  แต่หลิปังนั้นเป็ฯห่ง พ่อกับภรรยามาก จางเหลียงจีงออกอุบาย ให้เปิดทางเจรจาเพราะเชื่อ่า สถาณการณ์ของเี่ยงอี่นั้นเสียเปรียบ โดยขอให้ฝ่ายเี่ยงอ๊่นั้นส่งตัพ่อและภรรยาคืนมาก่อน

เี่ยงอี่ น้นเป็ฯคนื่อ จึงได้คืนตัพ่อและภรรยา โดยอาศัยคลองเป็ฯตักัน เพื่อทำสนธิสัญญาสงบศึก เมื่อทั้งคู๋ลงนามเสร็จ ก็กำลังจะแยกย้าย แต่จางเหลียง นั้นรีบไปกระิบบอก หลิปัง่า นี่คือโอกาสดีที่จะได้รบรม แผ่นดิน

หลิปังนั้น สงสัย่า เพิ่งลงนามสงบศึก จะกลับคำได้อย่างไร แต่จางเหลียง จึงเผย่า การสงบศึกเป็นเพียงกลศึก เพื่อต้องการให้เี่ยงอี่ ปล่อยพ่อและภรรยาเท่านั้น  ดังนั้น หลิปังจึงยอมเสียสัตย์เพื่อชาติ  สังกองทัพบุกตีกองทัพของเี่ยงอี่ ทันที

สุดท้าย หลิปัง ใช้กลยุทธ์ออกไปท้ารบกับเี่ยงอี่ เพื่อ หลอกล่อให้กองทัพของเี่ยงอี่ เข้ามาที่หุบเขา เี่ยงอี่ได้ยินหลิปังท้าก็โกรธมาก จึงยกทัพเข้าไปที่หุบเขา ที่เป็นจุดสังหาร  ครั้งนี้ กองทัพของเี่ยงอี่่พ่ายยับเยิน

ถึงตอนนี้ หลิวปังได้นำกองกำลังกว่า 300,000 นาย ล้อมกองทัพของเซี่ยงอวี่ ที่มีเพียง 8000 คนได้  ตอนนี้ หลิวปัง หานสิ้น เชื่อว่า ทหารของเซี่ยงอวี่นั้นอาจจะตีวงล้อมออกมาได้ จางเหลียงจึงแนะนำให้ใช้กลยุทธ์ ให้ทหารร้องเพลง แค้นฉู่ จากทั้ง สี่ทิศของกองทัพฮั่น เี่ยงอี่ได้ยินก็ตกใจ แล้ถามทหาร่่า ทหารฮํ่นได้ครอบครองดินแดนแคา้นฉู่ทั้งหมดแล้เหรอ  ทำไมชาแค้นฉินถึงมากมายขนาดนี้ ชาแค้นฉู่ไปเข้ากับฮํ่นแล้หรือ

เี่ยงอี่นั้น มีอี่จี หรือ หยูจี เป็นนางสนมที่อยู่ข้างกายเี่ยงอี่มาโดยตลอด เขาเลือกที่จะฝ่ากองทัพออกไป  แต่กลับยิ่งเสียไพร่พลลงอีก จนตัเองต้องถูกต้อนไปจนมุมที่แม่น้ำ ไก่เี่ย เพลงนี้ถือเป็ฯเพลงที่มีชื่อเสียงมากในประัติศาสตร์ โดยมีคามหมาย่า ข้าแข็.แกร่งขนาดขุนเขา จิติญญาณข้าขนาดเปลี่ยนยุคสมัย แต่เเลาที่มืดหม่นนี้ จะมีสิ่งใดมีคามหมายเล่า  หยูจีที่รักของข้า เจ้าจะเป็นเช่นไรต่อไป

เขาเลือกร้องเพลงนี้ ร่ำลากับนางหยูจี  และเลือกที่จะฝ่ากองทัพของหลิปังอีกรั้ง ด้ยทหารม้าเพียง 28 นาย เท่านั้น ในศึกครั้งสุดท้ายนี้แม้จะมีทหารเพียง 28 นาย แต่สามารถไล่ฆ่ากองทัพหลิปังได้นับร้อยนาย สุดท้าย เขาพบกับชายผู้หนึ่ง  ชายผู้นั้นกล่า่า ของเพียงท่านเี่ยงอี่ หนีข้ามแม่น้ำกลับไปตั้งต้นใหม่ ก็อาจชนะศึกในภายภากนหน้าได้  แต่เี่ยอีกลับตอบกลับ่า

ข้าพาลูกหลานจากเจียงตง มาแปดพันนาย บัดนี้ข้าเหลือตัคนเดีย ข้าจะมีหน้ากลับไปเจียงตงได้อย่างไร
เขาเลือกที่จะฝ่ากองทัพหลิปังอีกคร้ง เขาสังหารทหารของหลิปังไปอีกเป็นร้อยนาย แต่เขาเหนื่อยล้ามาก เขาเหลือบไปเห็น หลี่หม่าถง ลูกน้องเก่าของเขาเอง อยู่ในหมู่ทหารฮั่น  เี่ยงอีจึงกล่า่า ข้าได้ยิ่นห่า หลิปังสัญญา่า จะให้ทองพันตำลึงกับ ศักดินาหมื่นครัเรือน แก่ผู้นำหัของข้าไปมอบให้เขา บัดนี้ข้าขอมอบรางัลให้เจ้า หลี่หม่าถง พูดจบ เขาก็ฆ่าตัตายด้ยการเชือดคอตัเองด้ยอดาบ จบชีิในัย 30 ปีในปี 202 ปีก่อนคริศตกาล

ทำให้ หลิวปังสามารถสถาปนา ราชงศ์ฮั่น ได้สำเร็จ เป็นปฐมกษัตริย์ ฮั่นเกาจู่ ราชงศ์นี้เองที่ชาชีนต่างพร้อมใจกันเรียกตัเอง่า ชาฮั่น