วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2563

จีน(1907-1971) หลินเปียว การตายปริศนาของ จอมพลแห่งการรบแบบกองโจร

หลินเปียว 林彪 เป็น จอมพล หนึ่งในไม่กี่คนสมัยสาธารณรัฐประชาชนจีน เขาได้ชื่อว่า เป็นบิดาแห่งระบบการรบแบบกองโจร เขารบร้อยครั้งชนะทั้งร้อยครั้ง   

ชีวิตทางการเมืองของหลินเปียว
หลินเปียว 林彪  เกิดวันที่ 5  ธันวาคม 1907  ยุคก่อนที่ราชวงศ์ชิงจะถูกโค่นล้มสลาย บิดาเป็นเจ้าของที่ดินขนาดเล็กในเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย นอกจากนี้ยังมีโรงงานขนาดเล็กอีกด้วย  หลินเปียวเป็นคนรูปร่างผอมสูง ใบหน้ารูปไข่ ผิวคล้ำ ขนคิ้วดกดำ ใบหน้าค่อนข้างหล่อเหลา  เป็นคนขี้อาย เคร่งขรึม ไม่ค่อยพูดมาก สติปัญญาเฉลียวฉลาด

ชีวิตครอบครัวของหลินเปียว หลินเปียวแต่งงานกับเย่ฉวิน 叶群 มีบุตรสองคนคือ  บุตรสาวหลินลี่เหิง 林立恒  และบุตรชายชื่อ หลินลี่กั๋ว 林立果

ภายหลังที่ราชวงศ์ชิงถูกโค่นล้มสลาย  เมื่ออยู่ชั้นมัธยม เขาได้สมัครเป็นสมาชิกกลุ่มเยาวชนสังคมนิยม เมื่ออายุเพียง 18 ปี

ในช่วงทศวรรษที่ 20 พรรคก๊กมินตั๋งกับพรรคคอมมิวนิสต์ ยังจับมือเป็นพันธมิตรเพื่อปราบขุนศึกทางเหนือ

เมื่อสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมแล้วเขาเดินทางไปสมัครเป็นนักเรียนทหาร ที่สถาบันการทหารหวั่มปั๋ว หรือ โรงเรียนนายร้อย หวงผู่ 黃埔軍校 เมืองกว่างโจว มณฑลกว่างตง เมื่อพ.ศ. 1925 โดยมีเจียงไคเช็คเป็นครูฝึกซึ่งรับช่วงมาจาก ดร.ซุนยัดเซ็น ที่สถาบันแห่งนี้ทำให้ เขาได้รู้จักกับโจวเอินไหลอีกด้วย

เขาเรียนอยู่ได้ไม่เต็มปี ก็ได้รับคำสั่งให้ไปดำเนินการแทรกซึม  กลุ่มขุนศึกทางภาคเหนือ จนได้รับตำแหน่งผู้ช่วยหัวหน้าหมวดกองทหาร เพียงไม่กี่เดือนก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายพัน

การเดินทางไกล
ในปี  1934-1935 พรรคก๊กมินตั๋ง แตกหักกับพรรคคอมมิวนิสต์  ทำให้พรรคคอมมิวนิสต์ต้องหนีการไล่ล่าของพรรคก๊กมินตั๋ง พวกเขาจึงต้องเดินทัพไกล (Long March)  หลินเปียวจึงแยกตัวไปอยู่ พรรคคอมมิวนิสต์ ที่มี เหมาเจ๋อตุงและจูเต๋อ และก่อตั้งกองทัพแดง ( Red Army) ในปีนี้เขาได้รับยศเป็นนายพัน  ผู้บังคับกองพันทหารกองทัพปฏิวัติแห่งชาติ ซึ่งอายุไม่ถึง ๒๐ ปีด้วยซ้ำ

การเดินทางไกล ( Long March ) ฝ่ายเจียงไคเช็คหัวหน้าพรรคก๊กมินตั๋ง พยายามขับไล่พวกนิยมลัทธิคอมมิวนิสต์ออกจากองค์กร เพราะกลุ่มคอมมิวนิสต์พยายามสร้างพันธมิตร เจียงซี –โซเวียตขึ้นในประเทศจีน กลุ่มชาตินิยมที่มีเหมาเจ๋อตุง เป็นผู้นำ เหมาจึงพยายามหาสถานที่เหมาะที่จะตั้งป้อมต่อสู้กับพวกก๊กมินตั๋ง กองทัพของเหมาจึงเดินทางขึ้นไปทางทิศตะวันตกและทิศเหนือ ในช่วงปี 1934-1936 การเดินทางไกล หรือลองมาร์ช มีเหมาเจ๋อตุง หลินเปียว โจวเอินไหล จูเต๋อ หลี่เซียนเหนียน เติ้งเสี่ยวผิง เหอหลง เฉินอี้ หลิวโปเฉิง เผิงเต๋อฮวย เน่ยหยงเจิน เย่เจียนอิง หยางซ่างคุน หลิวเช่าฉี ตงปี้อู่ เป็นต้น และทหารกว่าแสนคน ผู้หญิง ต่างขนสัมภาระ แบกหาม รถม้า ลา ร่วมเดินทางจาก ภาคใต้ มุ่งหน้าสู่ ภาคเหนือและภาคตะวันตก ทั้งนี้แบ่งเป็นกองทัพย่อยๆ หลินเปียวเป็นผู้นำกองทัพที่หนึ่ง ส่วนเหมาเป็นผู้นำกองทัพที่สาม ผู้เดินทางต้องเดินทางผ่านทางทุรกันดาร ผ่านเทือกเขาสูงที่ปกคลุมด้วยหิมะ ผ่านหุบเหวหนทางแคบๆ ผ่านหนองคลองบึง  โดยเดินทางวันละ 50 ไมล์ รวมระยะทาง ๑๒๕๐๐ กิโลเมตร โดยเริ่มจากมณฑลเจียงซี จนถึงมณฑล ส่านซี  เป็นเวลา 394 วัน

เขาได้รับตำแหน่งบังคับบัญชากองพลที่ 1 มีปืนไรเฟิลสองหมื่นกระบอก ด้วยเทคนิคการสู้รบอย่างชาญฉลาดของหลินกับกองทัพก๊กมินตั๋ง ปืนทั้งหมดไม่ได้รับความเสียหายหรือสูญหายแม้แต่กระบอกเดียว

ก่อนอายุ 30 ปี เขาได้รับการยอมรับการสู้รบจากกองทัพแดง เขาได้เขียนบทความทางทหารลงในวารสารกองทัพแดง ได้รับการวิจารณ์อย่างกว้างขวาง ต่อมาได้รับการนำไปตีพิมพ์เป็นภาษาญี่ปุ่นและภาษารัสเซียอีกด้วย  เขาได้บังคับบัญชากองทัพแดง ต่อสู้กับกองทัพก๊กมินตั๋งอยู่ถึง 2 ปี จนถึงขั้นแตกหักที่เมืองหยานอ้านในเดือนธันวาคม 1936

หลินเปียวกับเปิ้งเต๋อหวย ได้รับการยอมรับว่า เป็นผู้เชี่ยวชาญการรบในกองทัพแดง ทั้งสองสนับสนุนเหมาในการเถลิงอำนาจ แต่อย่างไรก็ตาม หลินเปียวไม่ค่อยจะพอใจในยุทธวิธีของเหมามากนัก ในช่วง”การเดินทางไกล”พวกเขาติดตามเหมาเพื่อทำกิจกรรมทางการเมือง เปิงเต๋อหวยมีอายุแก่กว่าหลินเปียว 10 ปี ทั้งสองคนต่างช่วงชิงการเป็นหัวหน้า แต่หลินไม่ได้แสดงอาการออกนอกหน้า ต่างคนต่างแสดงภารกิจในการสั่งผู้ใต้บังคับบัญชา หลินเปียวไม่มีเรื่องที่ทำให้คนใต้บังคับบัญชาเดือดร้อน ทุกคนเชื่อฟังเขา ผู้ใต้บังคับของเขาเชื่อฟังเขาเมื่อเขาพูดหรือสั่ง

ส่วนหลินเปียว เป็นผู้เชี่ยวชาญในยุทธวิธีการหลอกล่อ การแปลงโฉมหน้า การทำให้ข้าศึกตกตะลึง การซุ่มโจมตี การโอบตีขนาบข้าง การจู่โจมทางข้างหลัง และวิธีรุกรบแบบพลิกแพลง เล่ห์เหลี่ยมอย่างหาตัวจับยาก ซึ่งแตกต่างจากนายพลเปิ้งเต๋อหวยอย่างสิ้นเชิง

กับเหมา หลินแสดงให้เห็นว่า ตัวเขาเป็นหนึ่งในกองทัพแดงที่ไม่เคยได้รับบาดเจ็บจากการสู้รบแม้แต่น้อยนิด ทั้ง ๆ ที่เขาต้องรบอยู่แนวหน้าเป็นร้อยๆครั้ง ในสนามรบที่เขาต้องบังคับบัญชากว่า 10 ปี ซึ่งลูกน้องเขาเข้าใจดี จนฝ่ายตรงกันข้ามตั้งค่าหัวเขาถึง หนึ่งแสนเหรียญสหรัฐ  เขาก็ยังปกติดี ไม่ได้รับบาดเจ็บและสุขภาพแข็งแรงดีด้วย

หลินเปียวผ่านทั้งสมรภูมิ จีนกับญี่ปุ่น  แม้ว่า ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เขาไปเคลื่อนไหวแถวแมนจูเรียและสามารถปลดปล่อยแมนจูเรียได้สำเร็จ แต่เขาก็ได้รับบาดเจ็บสาหัส ไม่นานเขาก็กลับมารับหน้าที่นายพลเพื่อก่อสงครามกลางเมืองกับ ก๊กมินตั๋งของเจียงไคเช็กต่อ สงครามครั้งนี้ เขาสามารถชนะทุกสมรภูมิที่กองทัพของเขาเดินทางผ่าน  ต่อมา เขายังนำทัพไปรบศึกสงครามเกาหลี และขึ้นเป็นจอมพล ในปี 1955

การปฎิรูปแบบก้าวกระโดดจนถึงปฎิวัติวัฒนธรรม
หลังความล้มเหลวของการพัฒนาประเทศแบบ ก้าวกระโดด ที่ต้องการเปลี่ยนจีนเป็นประเทศ อุตสาหกรรม อย่างรวดเร็ว แต่กลับล้มเหลวอย่างไม่เป็นทา ประชาชนกว่า 40 ล้านคนต้องอดอยาก ทำให้ความนิยมในตัวเหมาเจ๋อตุงนั้นถดถอย เหมาเจ๋อตุงเริ่มถุกต่อต้านจากคนรอบข้าง  จนเมษายน 1959 เหมาเจ่อตุง โดนปลดลงจากตำแหน่ง ประธานธิบดี และให้ หลิวเช่าฉี ขึ้นเป็นประธานธิบดีแทน

แต่ช่วงครี่งแรกของทศวรรษ 1960 กองทัพปลดปล่อยประชาชนได้พยายาม กระจาย สรรนิพนธ์เหมาเจ๋อตง (毛泽东著作选读) และ คติพจน์ประธานเหมา (毛主席语录) แจกจ่ายไปทั่วประเทศหลายร้อยล้านเล่ม  จนทำให้ เหมาเจ๋อตุง มีความมั่นใจในฐานสนับสนุนทางการเมืองและพร้อมที่จะประกาศ "การปฏิวัติวัฒนธรรม" ขึ้นใน ค.ศ. 1966 ผ่านภรรยาเขา คือ เจียชิง ที่สร้าง โฆษณาชวนเชื่อไปทั่วประเทศ และเพื่อรักษาอำนาจของตัวเขาเอง โดยอ้างผ่าน ขบวนการปฎิรุปวัตนธรรม

หลิวเส้าฉีตายปริศนาคนแรก
ในการปฏิวัติวัฒนธรรม วันที่ 5 สิงหาคม 1966 ประธานเหมา เขียนหนังสือพิมพ์กำแพง หัวข้อ "ถล่มกองบัญชาการ"  ที่พุ่งเป้าไปที่ หลิวเส้าฉี และเติ้งเสี่ยวผิง ขณะที่เติ้งเสี่ยวผิงนั้นถูกปลดทุกตำแหน่ง และต้องไปทำงานในโรงงานรถแทรกเตอร์ในมณฑลซ่านซี 

เมษายนปี 1967 กลุ่มเยาวชน เรดการ์ดบุกไป ทำเนียบจงไห่หนาน ลากตัว หลิวเส้าฉี ประธานธิบดี ไปวิจารณ์ตนเอง และโยนเข้าคุกขังเดี่ยวที่เรือนจำปักกิ่ง ฐานเป็นปฎิปักษ์กับเหมาเจ๋อตุง ต่อมาถูกย้ายไปขังคุกที่ เมืองไคเฟิง และจบชีวิตในวันที่ 12 พฤศจิกายน 1969  อย่างไรก็ดี ในวันนั้นเอง ก็มีการเผาศพของเขาอย่างลับๆ ด้วยความเร่งด่วนและระบุสาเหตุการตายเพียงว่า หลิวเส้าฉี เป็นโรคติดต่อร้ายแรง

หลินเปียว
ย้อนกลับมา เมษายน 1969 นายพลหลิวเช่าฉีถูกปลดจากตำแหน่ง หลินเปียวจึงได้รับอำนาจทางทหารทั้งหมด และเป็นทายาททางการเมือง ต่อจากประธานเหมา

การประชุมพรรคคอมมิวนิสต์ ในวันที่ 1 เมษายน ปี 1969 หลิวเปียว ถือว่าเป็นผู้ที่อยู่ในอำนาจสูงสุด ต่อจากเหมา ในขณะที่หลิวเช่าฉี ถูกโค่น และ โจวเอินไหลถูกลดบทบาทลง ในที่ประชุมสมัชชา หลินเปียวยังคงกล่าวสดุดีเหมาและสนับสนุนการใช้กองกำลังอาวุธ ประณาม หลิวเช่าฉี เป็นพวกต่อต้านการปฏิวัติ แก้ไขธรรมนูญ ให้ตนเองเป็นผู้สืบทอดอำนาจของเหมาในอนาคต หลังจากนั้น ชื่อของ หลิวเปียวกับเหมาเจ๋อตง มักจะปรากฏคู่กันเสมอ ในที่ต่าง ๆ ในการคัดเลือกผู้นำพรรคในครั้งใหม่ ได้คัดเลือก เหมาเจ๋อตง หลิวเปียว โจวเอินไหล และ คังเซิน เป็นสมาชิกถาวรคณะกรรมการกลางพรรค ทั้งสี่คนเป็นการได้รักษาตำแหน่งตนเองจาก ผลพวงของการปฏิวัติวัฒนธรรม

หลิวเปียว เรียกร้องให้แต่งตั้งตำแหน่งประธานาธิบดีที่ว่างอยู่ ตอนนั้น ซ่งชิงหลิง ภรรยาของซุนยัดเซ็นนั่งเป็นตัวแทนอยู่  ถึงตอนนี้ เหมาเจ๋อตุง รับรู้ถึง ความทะเยอทะยานของหลิวเปียวที่จะขจัดเหมาเจ่อตุง ออกจากอำนาจ และ “ศัตรูที่น่ากลัวที่สุด คือ สหายที่อยู่ข้างกาย” เพราะการที่หลินเปียวขอตำแหน่งรองประธานก็เพื่อให้เขามีความชอบธรรมที่จะได้ขึ้นเป็นประธานที่ยังว่าง  เมื่อเหมาถึงแก่อสัญกรรมแล้ว

ในเมื่อวันที่ 6 กันยายน 1969 ประธานเหมาได้เดินทางไปภาคใต้เพื่อพูดคุยกับผู้สนับสนุนพรรค จากสุนทรพจน์ของเหมาตอนหนึ่งว่า เขาไม่สบายใจเกี่ยวกับความขัดแย้งของ หลินเปียว กับ มาดามเจียงชิงภรรยาของเหมา ที่ลู่ซานในปี 1969 เหมาคิดว่า หลินเปียวจะไม่ฟังเขาอีกต่อไป และคอยจะโต้แย้งตลอดแต่ข่าวอีกด้านระบุว่า หลินเปียวกำลังวางแผนที่จะยึดอำนาจทำรัฐประหาร

เมื่อแผนการล้มเหลว หลินเปียวจึงคิดจะยึดอำนาจด้วยการใช้กำลัง เนื่องจากอำนาจในพรรคของเขานับว่ายิ่งน้อยลง ๆ หลินเปียวได้ร่วมกับลูกชาย หลินลิกั่ว และคนสนิทใกล้ชิดก่อการในเซี่ยงไฮ้ โดยวางแผนใช้กองทัพอากาศทิ้งระเบิดปูพรม เมื่อยึดอำนาจสำเร็จก็จัดการจับกุมพวกฝ่ายตรงข้ามและเขาก็ก้าวสู่อำนาจสูงสุด ดังที่เขาได้กล่าวในเอกสารชื่อ “อู่ชิยี่กงเฉินจี้ย่าว” ไว้ว่า “การต่อสู้เพื่อแย่งชิงอำนาจครั้งใหม่เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ถ้าเราไม่สามารถยึดอำนาจการนำปฏิวัติสำเร็จ อำนาจก็จะตกไปอยู่ในมือของคนอื่น”

เมื่อการยึดอำนาจไม่สำเร็จ ข่าวลือเกี่ยวกับการลอบสังหารเหมาเกิดขึ้นมาไม่ขาดระยะ ลือกันตั้งแต่เหมาการลอบสังหารเหมาบนขบวนรถไฟในปักกิ่ง การบุกเข้าไปลอบสังหารถึงที่พัก โดยคนใกล้ชิดของหลินเปียว หลังวันที่ 11 กันยายน หลินเปียว ก็ไม่เคยปรากฏให้เห็นในที่สาธารณะอีก ในขณะที่ผู้ใกล้ชิดของหลินเปียวที่หนีไปทางฮ่องกง ส่วนที่เหลือถูกจับกุมทั้งหมด

ภายในวันที่ 13 กันยายน หลินเปียวขึ้นเครื่องบินเตรียมหนีไปสหภาพโซเวียต แต่เครื่องบินไปตกในมองโกเลียใน ไม่มีผู้ใดรอดชีวิต ในวันเดียวกันทางปักกิ่งเรียกประชุมด่วนเกี่ยวกับเรื่องของหลินเปียว ถึงวันที่ 14 กันยายน ข่าวหลินเปียวเสียชีวิตจากเครื่องบินตกจึงทราบถึงรัฐบาลที่ปักกิ่ง ในวันที่ 1 ตุลาคม 1971 ทางการจีนประกาศงดจัดฉลองวันชาติที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน เพราะเกรงว่ากองทัพที่ภักดีต่อ หลินเปียว จะก่อการยึดอำนาจ เนื่องจากจะมีการขนอาวุธสงครามเข้ามาฉลองในปักกิ่ง และสืบสวนสอบสวนขบวนการยึดอำนาจด้วยการใช้กำลังของหลินเปียว

วาระสุดท้ายของชีวิต ที่ยังคลุมเครือ
ย้อนกลับมา บันทึกระบุว่า วันที่ 12 กันยายน 1971 โจวเอินไหล พบเอกสารลับ ตรีศูล 256  กลางดึกคืนนั้น หลินเปียวจึงรีบพาลูกชาย คือ หลินลี่กั่ว (林立果) กับภรรยา  เย่หวิน (叶群)  ตรงไปสนามบิน ซานไห่กวน เพื่อลี้ภัยไปสหภาพโซเวียต

แต่เครื่องบินได้บินไปถึงชายแดนมองโกเลียนอกกับรัสเซีย ปรากฏว่าน้ำมันหมด เครื่องบินตกใกล้เมือง อุนตุรข่าน (Undur Khan) พรมแดนมองโกเลียนอก ทั้งสามคนเสียชีวิตหมด ในวันที่ 13 กันยายน 1971

แต่ข่าวนี้ถูกปิดเงียบ อีกหนึ่งปีถัดมาจึงได้ประกาศให้ประชาชนได้รับรู้   ทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับตัวเขา ถูกกวาดล้างจนหมด และไม่มีสื่อใดๆ กล้าเอ่ยถึงชื่อของ หลินเปียว อีก

เอกสารทางการของจีนระบุว่า หลินเปียวเลิกโครงการ 571 (โครงการก่อรัฐประหารเหมาเจ๋อตุง ด้วยการระเบิดรถไฟของเหมาเจ๋อตุง ระหว่างแล่นจากหางโจวไปเซี่ยงไฮ้)  เมื่อแผนลอบสังหารล้มเหลวพวเขาจึงพยายามหลบหนีไปสหภาพโซเวียต แต่นายทหารคนสนิทของหลินเปียวกลับถูกจับกุม และในปี 1973 คนที่สนับสนุน หลินเปียว ถูกปลดออกจากพรรคคอมมิวนิสต์จีนทั้งหมด

หลังการอสัญกรรมของเหมาเจ๋อตุง ในปี 1976 เติ้งเสี่ยวผิง  (邓小平) สั่งให้มีการชำระคดีที่เกิดขึ้นในยุคปฎิวัติวัฒนธรรม ศาลพิพากษาคดีของหลินเปียว พร้อมกับ แก๊งสี่คน ยืนยันความผิดของหลินเปียว เย่ฉิน แะหลินลี่กั่ว ในการวางแผนก่อรัฐประหาร แต่ข้อกล่าวหานี้ กลับแปลกออกไป เพราะกฎหมายอาญาฉบับนี้ประกาศใช้เมื่อ 1 มกราคม 1980 จึงเป็นการใช้กฎหมายอาญาย้อนหลัง ขัดกับหลักยุติธรรมสากล นอกจากนี้ หากผู้ถูกกล่าวหา ไม่ตอบคำถาม หรือ ตอบไม่ครงคำถาม ก็ถือว่า ผู้ต้องหารับสารภาพ นั่นคือ กฎหมายดังกล่าวถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง

หรือ คือวางแผนสังหาร
หนังสือชื่อ Conspiracy and Death of Mao'Heir ระบุว่า หลิวเปียวไม่ได้เสียชีวิตจากเครื่องบินตก แต่ถูกเหมาเจ๋อตุง และโจวเอินไหล วางแผนสังหาร ด้วยจรวด

นั่นคือ ค่ำคืนนั้น เหมาเจ๋อตุง ได้เชิญ หลินเปียว ไปรับประทานอาหารค่ำที่บ้านพักเชิงเขา หลังจากเสร็จพิธี พูดจาล่ำลากันแล้ว หลินเปียว ภรรยา และขบวนรถผู้ติดตาม ลงจากบ้านพักของเหมาประมาณ 1 ไมล์ เขาก็ถูกทหารซุ่มรออยู่โจมตีด้วยจรวด  จนเสียชีวิตทั้งหมด ส่วนลูกชาย เมื่อได้ทราบข่าว พ่อโดนยิงตาย เขาก็รีบหนีขึ้นเครื่องบิน แต่โดนจรวดยิงที่ชายแดนก่อนที่จะไปโซเวียตสำเร็จ

วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2563

จีน (BC210) จิ๋นซีฮ่องเต้ จุดจบจิ๋นซีฮ่องเต้

ในปี 2002 นั้น มีการค้นพบ ม้วนไม้ไผ่ที่เนื้อหาระบุว่า ราชโองการของจิ๋นซีฮ่องเต้ ที่ให้ หัวเมืองต่างๆ ค้นหายาอายุวัฒนะ โดยมีม้วนไม้ไผ่บางอันเป็นสารส่งตอบกลับจากหัวเมืองต่างๆ ที่คอยรายงานเข้ามาเรื่องการแสวงหายาอายุวัฒนะอีกด้วย


สิ้นพระชนม์
ก่อนหน้านี้ จิ๋นซีฮ่องเต้ (秦始皇 ) มีขันทีคนหนึ่งทีโปรดปรานมาก ชื่อ จ้าวเกา เพราะเข้าวังมาพร้อมกับ อิ๋งเจิง ชื่อเดิมก่อนขึ้นครองราชย์ของจิ๋นซีฮ่องเต้   ทำให้จิ๋นซีนั้นสนิทสนมกับจ้าวเกา ขันทีคนนี้อย่างมาก เมื่อขึ้นเป็น จิ๋นซีฮ่องเต้ จ้าวเกาแม้จะไม่ใช่มหาอัครเสนาบดี แต่เขาก็เป็นรองเพียงจิ๋นซีฮ่องเต้เท่านั้น มีหน้าที่ดูแลตราประทับฮ่องเต้ และราชรถเป็นหลัก

ขณะที่ปี 210 ก่อนคริสตศักราชนั้น จิ๋นซีได้ออกเดินทางไปทั่วประเทศ เพื่อเซ่นไหว้ เหล่ากษัตริย์ในตำนาน แม้ว่า จิ๋นซี่ ฮ่องเต้นั้น สั่งให้ผู้คนเสาะแสวงหา ยาอายุวัฒนะ  แต่ยาอายุวัฒนะนี่เองที่ทำให้ จิ๋นซีสวรรคต  เพราะเชื่อหมอหลวง ที่เป็นนักเล่นแร่แปรธาตุ เพื่อใช้ปรุงยาอายุวัฒนะ  ทำให้พระองค์เสวยยาดังกล่าวระหว่างประพาสหัวเมืองซาชิว ในวันที่ 10 กันยายน ปี 210 ปีก่อนคริสตศักราช ซึ่งยาดังกล่าว เป็นยาเม็ดปรอทที่มากเกินไป ทำให้จิ๋นซีฮ่องเต้ ตายอย่างปัจจุบันทันด่วน เสียชีวิตขณะอายุเพียง 49 ปี

เรื่องสารปรอทนี้ แม้แต่ในสุสานจิ๋นซี นักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ไปตรวจสอบก็พบว่า มีสารปรอทเยอะมาก ทำให้เชื่อว่าสารปรอทจะทำให้ร่างกายไม่เน่าสลายอีกด้วย

ก่อนสิ้นพระชนม์ จิ๋นซีฮ่องเต้ได้มอบตราหยกให้ หลี่ซื่อ อัครมหาเสนาบดี เพื่อนำกลับไปมอบให้ องค์รัชทายาท ฝูซู เพื่อสถาปนา องค์ชาย ฝูซู ให้ขึ้นเป็นฮ่องเต้ องค์ถัดไป แต่จิ๋นซีหารู้ไม่ว่า เขามอบหมายงานให้ผิดคน

องค์ชายฝูซู นั้นเป็นคนจิตใจดี จนเข้าไปทูลเตือนจิ๋นซีฮ่องเต้บ่อยๆ จนถูกจิ๋นซีฮ่องเต้ ที่เป็นบิดา เนรเทศเขาไปคุมงานก่อสร้างกำแพงเมืองจีนที่กันดาร

แต่ด้วย ทั้งหลี่ซือ และ จ้าวเกา ขันทีคนสนิท ต่างก็เคยขัดแย้งกับ องค์ชายฝูซู นอกจากนี้ จ้าวเกานั้นเป็นอาจารย์ตั้งแต่เด็กของ องค์ชาย หูไห่อีกด้วย  พวกเขาจึงวางแผนมอบตำแหน่งฮ่องเต้ให้กับองค์ชาย หูไห่ แทน

แต่จากจุดที่จิ๋นซีฮ่องเต้ สวรรคตนั้นห่างไกลจากเมืองเสียนหยางมาก ต้องใช้เวลาเดินทางถึง 2 เดือน กว่าจะถึงเมืองหลวงคือ เสียนหยาง  กลิ่นศพคงคละคลุ้งไปหมด และเรื่องคงแตกก่อนเดินทางไปถึงเมืองเสียนหยางแน่นอน

หลี่ซือกับ จ้าวเกา จึงสั่งให้คนรับใช้ไปหาปลามาเพื่อบรรทุกให้เต็มคันรถไปด้วย เมื่อปลาเน่าก็เริ่มกลบกลิ่นศพของจิ๋นซีฮ่องเต้ไปด้วย  ทำให้ผู้คนในขบวนเสด็จไม่มีใครเฉลียวใจ ระหว่างเดินทางก็ปลดม่านลงตลอด นอกจากนี้ หลี่ซื่อ ยังต้องทำเป็นเข้าไปรายงานเป็นการส่วนตัวกับ "ศพของจิ๋นซีฮ่องเต้" แน่นอน หลี่ซือ ต้องทนกับกลิ่นศพนานถึง 2 เดือนทุกวัน   และยังจัดอาหาร 3 มื้อเฉกเช่นสมัยยังมีชีวิตอยู่อีกด้วย ผู้คนภายนอกหารู้ไม่ ฮ่องเต้ผู้ยิ่งใหญ่ที่รวบรวมประเทศจีนสำเร็จ ตอนนี้กลายเป็นศพไปแล้ว

ปลอมราชโองการ
ระหว่างเดินทางนี่เอง หลี่ซือ และ จ้าวเกา ได้ปลอมราชโองการ ส่งไปถึง รัชทายาทฝูซู ที่กำลังคุมงานก่อสร้างกำแพงเมืองจีน ให้ฆ่าตัวตาย  ด้วยความจงรักภักดี องค์ชาย ฝูซู ก็ยอมฆ่าตัวตาย ตามราชโองการปลอม นอกจากนี้ยังสั่งประหาร เมิ่งเถียน

เมื่อเดินทางถึงเสียนหยาง ทั้งคู่จึงประกาศ ข่าวการตายของจิ๋นซีฮ่องเต้  แล้วยกให้ องค์ชาย หูไห่ ขึ้นเป็นฮ่องเต้ องค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์ฉินแทน ขึ้นเป็น ฉินเออร์ซื่อฮ่องเต้  ส่วน องค์ชาย หูไห่ ต่างตอบแทน จ้าวเกา ด้วยการเลื่อนตำแหน่งให้เป็น หลางจงลิ่ว  กุมอำนาจภายในวังทั้งหมด

หลังจากนั้นค่อยจัดงานศพของจิ๋นซี โดยฝังที่เขาหลีซาน หรือเขาม้าดำ โดยฮ่องเต้ รัชกาลที่ 2 สั่งให้ เมียที่ไม่มีลูกกับจิ๋นซีฮ่องเต้ สั่งให้นำตัวไปฝังทั้งเป็นตามฮ่องเต้องค์ก่อนอีกด้วย ขณะที่ไม่นานถัดมาก็สั่งประหารลูกชายและลุกสาวของจิ๋นซีฮ่องเต้อีก รวม 22 คน

รวมถึง เมิ่งอี้ น้องชายของเมิ่งเถียนที่ยังเป็นแม่ทัพ ก็โดนสั่งประหารด้วย นอกจากนี้ยังสั่งประหารเสนาบดี ที่เป็นฝั่งตรงข้ามทั้งหมด แล้วก็สั่งขยายวังอี้ผาง ทำถนนเพื่อให้ฮ่องเต้เสด็จ ขนานใหญ่ และสุดท้ายคือ ขึ้นภาษีอย่างไม่หยุดยั้ง

ล่มสลาย
จ้าวเกานั้นเหิมเกริมหนักขนาดสั่งประหารบุคคลที่คิดจะทูลเตือน ฮ่องเต้องค์ใหม่ เรื่องความเดือดร้อนของประชาชน  โดยจ้างเกานั้นถึงขนาดใส่ร้าย หลี่ซื่อ คนที่ปลอมราชโองการมาด้วยกัน ด้วยการยุยงให้ฮ่องเต้สั่งประหารด้วย วิธี 5 ม้าแยกร่างเลยทีเดียว และให้ จ้าวเกานั้น ขึ้นกุมอำนาจแทนหลี่ซือ

นอกจากนี้ เขาทดสอบว่า ใครซื่อสัตย์ต่อเขา ด้วยการเอากวางมา แล้วเขาชี้บอกว่า เป็นม้า หากใครตอบว่า เป็นกวาง ข้าราชการคนนั้นจะโดนสั่งประหาร จึงเกิดสำนวนที่ว่า  "ชี้กวางเป็นม้า"  แสดงถึงอำนาจของเขาในขณะนั้น

ในที่สุดปี 209 ก่อนคริสตศักราช ก็เกิดกบฎเฉินเชิง และหวู่กวง แต่รอบนี้ราชสำนักสามารถปราบสำเร็จ จนสุดท้าย หลิวปังร่วมมือกับ เซี่ยงอวี่ ก่อกบฎอีกทาง  ฮ่องเต้องค์ใหม่รู้ความจริง ที่ถูกจ้าวเกาหลอกใช้ พยายามสั่งประหารจ้าวเกา แต่สายไปเสียแล้ว เพราะตอนนั้น จ้าวเกา คือ เจ้าของวังไปเสียแล้ว  จ้าวเกาจึงสั่งปลงพระชนม์ ฮ่องเต้หูไห่ แทน ขณะอายุเพียง 24 ปี  ในปี 207 ปีก่อนคริตศักราช จ้าวเกา ก็สถาปนา ซืออิง (子嬰) ขึ้นเป็นพระเจ้าฉินองค์ที่ 3 แทน แต่ ซืออิง นี่เองที่เป็นคนสั่งประหาร จ้าวเกา 9 ชั่วโคตร  หลังจากนั้น ซื่ออิง นี่เองที่เป็นคนเปิดประตูวัง ยอมจำนน ต่อ กลุ่มกบฎของหลิวปัง ผู้สถาปนาราชวงศ์ฮั่น

ถือเป็นการจบสิ้นราชวงศ์ฉิน ที่มีอายุเพียง 15 ปี อย่างเป็นทางการ


วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2563

จีน(719-756) - ปริศนาการจากไป ของ หยางกุ้ยเฟย

ปริศนาการจากไปของ หยางกุ้ยเฟย
หยางกุ้ยเฟย ฉายา มวลผกาละอายนาง (ผกา แปลว่า ดอกไม้) ถือเป็น 1 ใน 4 ยอดหญิงงามในประวัติศาสตร์จีน และมีตัวตนอยู่จริง ขณะที่อีก 3 คนที่เหลือ คือ ไซซี เตียวเสี้ยน หวางเจาจวิน ทุกวันนี้ยังคลุมเครือว่า มีตัวตนจริงหรือไม่  อย่างไรก็ดี 3 สาวที่เหลือนั้นมีชื่อเสียงด้านดีต่อแผ่นดิน แต่หยางกุ้ยเฟยคนเดียวเท่านั้นที่ได้ฉายา นางงามล่มแผ่นดิน

ข้อเสียของเธอ คือ เธอเป็นคนมีลักษณะอวบอั๋น ทำให้เธอมีกลิ่นตัวที่ค่อนข้างแรง เธอจึงต้องอาบน้ำในสระน้ำ ฮวาชิง (ปัจจุบันยังปรากฎอยู่ที่เมืองซีอาน)  และต้องสวมใส่เสื้อผ้าอบกลิ่นดอกไม้ และทาแป้งหอมเพื่อกลบกลิ่นกาย



สนมเอก หยางกุ้ยเฟย ชื่อเดิมคือ หยางอวี้หวน (楊玉環) มีชีวิตอยู่ในปี 719-756 เป็นชาวเมืองหย่งเล่อ มีความสามารถในทางดนตรีขับร้องและฟ้อนรำ ที่จริงเป็นชายาของเจ้าชายโซ่วอ๋อง โอรสองค์ที่ 18 ของฮ่องเต้ถังเสวียนจง ภายหลังถังเสวียนจงพบว่า หยางอี้หวน มีรูปโฉมงดงาม คิดจะเรียกเข้าวัง ดังนั้นจึงตั้งให้เป็นนักบวชหญิงฉายาไท่เจิน ในปีค.ศ. 745 จึงได้เข้าวัง เป็นที่โปรดปรานของถังเสวียนจง จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็น สนมเอกหรือกุ้ยเฟย (ในขณะนั้นถังเสวียนจงมีพระชนมายุ 61 พรรษา ส่วนหยางกุ้ยเฟยมีอายุเพียง 27 ปีเท่านั้น)

หยางกุ้ยเฟยไม่เพียงแต่มีใบหน้าที่งดงาม มีทรวดทรงดีออกไปทางอิ่มอวบสมบูรณ์ หากแต่เธอยังสันทัดการเล่นดนตรีและเต้นรำอีกด้วย เล่ากันมาว่า ฮ่องเต้เคยเอาบทเพลง”หนีซางอวี่อีฉวี่” ที่พระองค์นิพนธ์ขึ้นให้หยังกุ้ยเฟยดู พอดูจบเธอก็สามารถร้องเพลงและเต้นรำตามดนตรีได้ในกิริยาที่สวยงามมาก ประหนึ่งนางฟ้าลงมาจากสวรรค์ จักรพรรดิจึงโปรดหยังกุ้ยเฟยเป็นพิเศษ นัยว่าความเป็นมาของบทเพลงนี้เกิดจากจักรพรรดิถางเสวียนจงเสด็จประพาสเขานวี่เอ๋อซาน ทัศนียภาพสวยประหลาดประดุจอยู่บนสวรรค์ พระองค์ทรงได้ยินเสียงดนตรีไพเราะบทหนึ่งบนเขา พอกลับวังหลวงก็ทรงบันทึกไว้ตามความทรงจำ แล้วนำมาผสมผสานกับ เพลงอินเดียบทหนึ่งจึงได้เป็นบทเพลง“หนีซางอวี่อีฉวี่”นี้ เรื่องเล่าอีกเรื่องหนึ่งเล่ากันว่า จักรพรรดิถางเสวียนจงทรงพาหยังกุ้ยเฟยไปชมดอกบัวขาวที่ปลูกในสระไท่เย่ฉือของวังต้าหมิงในฤดูใบไม้ร่วงปีหนึ่ง ทรงอุทานพร้อมกับทรงชี้ หยังกุ้ยเฟยว่า”ดอกบัวแม้จะสวย แต่ก็ไร้วิญญาณ จะสู้ดอกไม้ที่พูดได้ของเราได้อย่างไร” จากนั้นมา “ดอกเจี่ยอวี่ฮัว ”ซึ่งแปลว่าดอกไม้ที่เข้าใจคำพูดก็กลายเป็นสำนวนที่ชื่นชมนางงามของคนยุคหลัง

นอกจากนี้ สนมเอกหยางคนนี้ ชอบกินลิ้นจี่เป็นที่สุด  ในแต่ละปี  จะต้องมีม้าตายไปมากมาย เพียงเพราะต้องส่งลิ้นจี่จากทางใต้ขึ้นไปให้ สนมเอกหยางกุ้ยเฟย เสวย โดยต้องใช้ทหารม้าขี่ส่งต่อกันเป็นทอดๆ ทั้งวันทั้งคืน เพื่อใช้ขนลิ้นจี่เข้าวัง (เนื่องจากลิ้นจี่เป็นผลไม้ที่เน่าเสียง่ายและปลูกได้เฉพาะทางใต้ของจีนเท่านั้น )

ครอบครัว
เนื่องจากหยังกุ้ยเฟยเป็นที่โปรดปรานของจักรพรรดิ ญาติตระกูลหยังก็พลอยได้รับยศถาบรรดาศักดิ์ไปด้วย โดยเฉพาะพ่อและพี่ชาย คือ หยังกว๋อจง ผู้มักใหญ่ใฝ่สูง ได้รับแต่งตั้งเป็นอัครเสนาบดี มีอำนาจในการบริหารประเทศแทนจักรพรรดิ ส่วนองค์จักรพรรดิลุ่มหลงแต่ ความงามของหยังกุ้ยเฟยและความสุขสำราญส่วนพระองค์

ทุกครั้งที่นางจะนั่งรถม้า ต่างก็มีบรรดาขุนนางใหญ่บังคับรถม้าให้ด้วยตัวเอง นางมีช่างถักทอและปักผ้าถึงเจ็ดร้อยคนมีผู้คนมากมายแย่งกันมอบของกำนัลต่างๆ ให้ เนื่องจากขุนนางจางจิ่วจางและหวังอี้มอบของกำนัลให้นางต่างก็ได้เลื่อนตำแหน่ง ดังนั้นบรรดาขุนนางทั้งหลายต่างก็หวังที่จะได้รับผลตอบแทนเช่นเดียวกัน หยางกุ้ยเฟยโปรดปรานลิ้นจี่จากแดนหลิ่งหนาน ก็มีผู้คนคิดหาวิธีที่จะนำส่งมาถึงเมืองฉางอานให้เร็วที่สุด

การปกครองเริ่มเสื่อมโทรมเน่าเฟะทุกที ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นต่างๆนับวันรุนแรงยิ่งขึ้น ในที่สุดก็ระเบิดกลายเป็นเหตุการณ์ “กบฏอันลู่ซานและสื่อซือหมิน”

กบฎอันลู่ซาน
อันลู่ซานนั้นไม่ใช่ชาวฮั่น แต่ได้รับการแต่งตั้งเป้นถึงแม่ทัพ เขาได้รับการอวยยศจาก ถังเสวียนจง อย่างรวดเร็ว แต่เขากลับไม่ถูกกับ หยังกว๋อจง ไปด้วย แต่ อันลู่ซาน ก็เป็นคนโปรดของถังเสวียนจง ขนาดที่ถังเสวียนจง มอบอำนาจให้อันลู่ซานสามารถอวยยศให้ใครก็ได้โดยไม่ต้องผ่านราชสำนัก

ปีค.ศ.755 อันลู่ซานได้ย้ายแม่ทัพชาวฮั่น 32 คน ไปอยู่ชายแดน และแต่งตั้งให้ ชาวอารยชน เข้ามาแทน 32 คน หยางกว๋อจง รีบทูลรายงานและเสนอถังเสวียนจงว่า ให้แย่งกำลังของ อันลู่ซานออกเป็น 3 ส่วนไม่เช่นนั้น อันลู่ซานจะต้องก่อกบฎในไม่ข้า ถังเสวียนจง ก็สั่งให้ทำเช่นนั้น และยังส่งคนจากราชสำนักไปประกบอันลู่ซานด้วย แต่อันลู่ซานกลับติดสินบนเจ้าหน้าที่คนดังกล่าว แต่ถูกจับได้ ทำให้ราชสำนักมีคำสั่งให้ส่งตัวอันลู่ซานเข้ามาสอบสวน ที่ฉางอาน

อีกด้านหนึ่ง หยางกว๋อจง ก็ส่งคนไปลอบสังหาร คนสนิทของอันลู่ซานที่อยู่ในเมือง ฉางอาน ทำให้อันลู่ซาน ก่อกบฎ โดยอันลู่ซานได้อ้างว่ามีราชสารลับมาให้กำจัด หยางกว๋อจง จึงสั่งให้กองทัพจากชายแดนเดินทางมาที่เมืองหลวง แต่เมื่อสามารถพิชิต ลั่วหยางได้ ก็ตั้งตัวเป็นฮ่องเต้ทันที

แต่ปี ค.ศ. 756 แม่ทัพถัง ชื่อ จางซวิน นำกำลัง 2000 นาย เข้าโจมตีกองทัพ 40000 ขอ อันลู่ซานสำเร็จ แต่กองทัพอื่นของอันลู่ซานกลับเคลื่อนที่เข้าโจมตีต่อเนื่อง เมื่อตีทะลุด่านท่งกวน แตกได้ ทหารของอันลู่ซานก็มายืนประชิดเมืองฉางอานอย่างรวดเร็ว

ถึงตอนนี้ ถังเสวียนจง ตัดสินใจหนีออกจากเมืองหลวง ไปยังเสฉวน เมื่อไปถึง เนินหม่าเหวย  บรรดาทหารหลวงไม่ยอมเดินทางต่อ เพราะต่างโกรธแค้น คนจากตระกูลหยาง โดยเฉพาะ หยางกว๋อจง ที่ผิดใจกับ อันลู่ซาน ทำให้เกิดกบฎ ทหารหลวงจึงได้แอบเอาตัว หยางกว๋อจง ไปสังหาร และขอให้ ถังเสวียนจง สั่งประหารชีวิต หยางกุ้ยเฟย เพราะ หยางกั๋วจงนั้นเป็นพี่ชาย ดังนั้นน้องสาวอย่าง หยางกุ็ยเฟย ย่อมไม่อาจหลีกเลี่ยงความผิดได้  นอกจากนี้ ถังเสวียนจง ยกให้รัชทายาท(ไทจื้อ) หลี่เหิง ดุแลต่อ ส่วนตัวเอง หลบหนีไปอาศัยอยู่ที่เมือง เฉิงตู

หลี่เหิงขึ้นเป็นฮ่องเต้ ส่วนสถานการณ์ที่เมืองหลวงนั้น กองทัพอันลู่ซานบุกเมืองหลวงแตก สั่งประหารชีวิตเชื่อพระวงศ์ถีงที่หนีไม่ทันทั้งหมด ทุกอย่างของราชวงศ์ถังกำลังจะพังพินาศ

ปาฎิหารย์
ปี ค.ศ. 757 อันลู่ซานกลับถูก อันชิ่งชีว์ ลูกชายของตนเองสังหาร ทำให้แม่ทัพต่างไม่ยอมรับ และกบฎอ่อนแอลงทันที ส่วนถังซู่จง กลับไปยืมกองกำลังจาก ทูเจี๋ย ชาวอาหรับ และ อุยกุร์ เข้าตีเมืองฉางอานกลับได้สำเร้จ

ขณะเดียวกัน จางซวิน ที่มีกองกำลังแค่ 10000 ตั้งกองกำลังที่เมืองสุยหยาง เพื่อรับมือกองทัพเยี่ยนที่มีถึง 150000 คน พวกเขาใช้เวลาตีเมืองแต่ก็ไม่สำเร็จ จึงใช้กลยุทธ์ล้อมเมือง จนเสบียงหมด กองทัพของจางซวิน ต้องกินเนื้อพลเมืองแทนอาหาร ก่อนที่เมืองจะแตก พวกเขาเหลือคนเพียง 400 คนเท่านั้น สุดท้ายเมืองก็แตก จางซวิน ถูกประหารชีวิต

การต่อสู้ที่สุยหยางทำให้กองทัพของ อันชิ่งชีว์ นั้นอ่อนล้า และหมดเสบียงไปจำนวนมาก จนในที่สุด ปี ค.ศ.757 กองทัพถัง และพันธมิตรก็สามารถตีเมืองลั่วหยางสำเร็จ

ตำนานการประหารชีวิต หยางกุ้ยเฟย
จักรพรรดิถางเสวียนจงหนีไปลี้ภัยอยู่ในแคว้นสู่ พอไปถึงจุดแวะพักที่เนินหว่าเหว่ย ทหารที่ติดตามไปก็ได้ก่อการกบฏฉับพลัน ฆ่าอัครเสนาบดี หยางกว๋อจง และบีบบังคับให้จักรพรรดิประหารหยังกุ้ยเฟย จักรพรรดิจำพระทัยใช้ขันทีเกาลี่สื้อไปทูล พระราชทานผ้าแพรให้หยังกุ้ยเฟยให้ผูกคอตนเอง ในที่สุด หยังกุ้ยเฟย ขณะมีชนมายุได้ 38 พรรษาก็ได้ผูกพระศอสิ้นพระชนม์ที่ต้นสาลี่หน้าวิหารของจุดแวะพักนั้น

หลังจากหยางกุ้ยเฟยผูกคอตาย หลุมศพของนางอยู่ที่เนินหมาเหว่ย

แต่ทว่าทำไมหลังจากนั้นหนึ่งปีขณะที่กำลังย้ายหลุมศพของนาง กลับไม่ศพของนางแล้ว พบเพียงถุงหอม กับ รองเท้าข้างหนึ่ง ของนางเท่านั้น สิ่งนี้เป็นหลักฐานว่า หยางกุ้ยเฟย ไม่ได้เสียชีวิตที่หมาเหวยพัว ในทันที แต่กลับถูก “แผนแอบสับเปลี่ยน” ช่วยเอาไว้แล้วลี้ภัยหนีไป

เล่ากันว่า ฉลองพระบาทข้างหนึ่ง หล่นลงในระหว่างย้ายพระศพของหยังกุ้ยเฟยกลับ ถูกยายคนหนึ่งเก็บไป หากมีคนมาขอดู ต้องจ่ายค่าดูร้อยเหรียญ ยายคนนี้จึงรวยขึ้นมาด้วยฉลองพระองค์ข้างนี้ของหยังกุ้ยเฟย

ตำนาน
การสิ้นพระชนม์ของหยังกุ้ยเฟย มันบันทึกที่แตกต่างกัน เริ่มจาก 2 ปีให้หลัง ฮ่องเต้ถังเสียนจงก็มีบัญชาลับให้คนไปขุดศพของสนมเอกหยาง แต่คนงานกลับมารายงานว่า หาศพของนางไม่เจอ ได้แต่เพียง ‘ถุงหอม’ กลับมาถวายแทน

ประวัติศาสตร์บันทึกต่างกัน คือ ฉบับเก่าเขียนในสมัยราชวงศ์ถังระบุว่า  “กล้ามเนื้อและผิวหนังเน่าเสียแล้ว ถุงหอมยังคงอยู่” แต่ใน บันทึกราชวงศ์ถังฉบับใหม่ที่เขียนโดยราชวงศ์ซ่ง ระบุเหลือเพียง ถุงหอม เท่านั้น

ปัจจุบัน ทางอำเภอหม่าเหวย ยังมีการบูรณะหลุมศพของ สนมเอกหยาง ซึ่งไม่เพียงมีหลุมศพที่สูง 3 เมตร ปูด้วยอิฐสีเขียวแน่นหนาแล้ว ยังมีรูปสลักของนางตั้งอยู่ด้วย แต่หลุมที่เห็นในวันนี้แตกต่างจากเรื่องเล่าตกทอดเมื่อ 1,000 ปีก่อนของคนในหมู่บ้านหงเหมย เมืองตูเจียงเยี่ยนในเขตมณฑลซื่อชวน ว่า เดิมทีมันเป็นเพียงแท่นหินหน้าหลุมที่สลักอักษร ‘หยาง’ เพียงตัวเดียว และเป็นหลุมศพลึกลับมานาน 1,000 ปีแล้ว

แต่ ช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม (ค.ศ.1966-1976) แท่นหินนี้ได้หายไปอย่างไร้ร่องรอย พื้นที่ที่เป็นหลุมศพถูกปล่อยรกร้าง เหลือแต่แท่นบูชาหน้าหลุมที่แตกหัก จนเมื่อปีค.ศ.1997 มีการขุดค้นสุสานดังกล่าว พบโลงไม้ยาว 1.7 เมตร กว้าง 45 เซนติเมตร ภายในบรรจุศพผู้หญิงที่ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นใคร


ตำนานหนีไปญี่ปุี่น
มีนิทานเล่ามากมาย บางคนเห็นว่า หยังกุ้ยเฟยไม่ได้ผูกพระศอสิ้นพระชนม์สมัยนั้น คนที่ผูกคอตายเป็นนางกำนัลคนหนึ่ง ส่วนหยังกุ้ยเฟยองค์จริงหนีไปยังญี่ปุ่น ผู้ติดตามยังมีลูกสะใภ้และหลานของเสนาบดีหยางกั๋วจง เล่ากันว่า หลังจากย้ายไปอยู่ญี่ปุ่นที่หมู่บ้านริมทะเลชื่อ จิวจิ่น แล้ว ครั้งหนึ่งหยังกุ้ยเฟยยังได้ช่วยจักรพรรดิญี่ปุ่นกำจัดรัฐประหารภายในวัง ใ ห้สงบลงอีกด้วย ปัจจุบัน ในประเทศญี่ปุ่นยังมีสุสานของหยังกุ้ยเฟยอยู่สองแห่ง

ในปีค.ศ.1963 มีสาวญี่ปุ่นคนหนึ่งได้แสดงหนังสือวงศ์ตระกูลของครอบครัวตนผ่านโทรทัศน์ บอกว่าเธอเป็นทายาทของหยังกุ้ยเฟย ขณะในปี 2002 ดาราดังชาวญี่ปุ่นอย่าง นาง Yamagutsi Momoe ก็ประกาศว่า ตนเองก็เป็นเชื้อสายของหยังกุ้ยเฟยเช่นกัน พร้อมทั้งแสดงเอกสาร หลักฐานประกอบด้วย แน่นอนเธอเกิดที่หมู่บ้าน จิวจิ่น อีกด้วย

นอกจากนี้ ยังมีวรรณคดีพื้้นบ้านของญี่ปุ่น 2เรื่อง ที่บรรยายการมาญี่ปุ่นของหยางกุ้ยเฟยอีกด้วย โดยระบุการมาถึงในปี ค.ศ. 757 อย่างไรก็ดี การเดินทางไปญ๊่ปุ่นสมัยนั้นเป็นไปได้ยาก เพราะหลวงจีนเจี้ยนเจิน ที่มีชีวิตอยู่ในสมัยราชวงศ์ถัง ต้องการเดินทางไปญี่ปุ่นเพื่อเผยแพร่ศาสนา กลับต้องใช้เวลาถึง 11 ปี พร้อมกับ ความล้มเหลวถึง 5 ครั้งกว่าจะไปถึงญี่ปุ่น ดังนั้น มันเป็นเรื่องที่ยากมาก แต่ข้อโต้แย้งนี้กลับถูกตีตกไป เพราะคณะฑูตของราชวงศ์ถังนั้น เดินทางไปที่ญี่ปุ่นถึง 17 ครั้ง

นอกจากนี้ เมื่อนางมาถึงญี่ปุ่น นางในที่ช่วยเหลือนางก็พยายามหาทางให้กุ้ยเฟยส่งข่าวไปหาจักรพรรดิถัง

ภายหลังความวุ่นวาย”กบฏอันลู่ซานและสื่อซือหมิน”สิ้นสุดลง จักรพรรดิเคยส่งทูตออกทะเลไปตามหาหยังกุ้ยเฟย และได้พบพระนางที่เขต kutsi ของญี่ปุ่น ทูตคนนี้ยังได้ถวายพระพุทธรูป 2 องค์ของจักรพรรดิถังเสวียนจง แด่หยังกุ้ยเฟย ส่วนพระนางก็ได้ฝากปิ่นหยกปักผมมาถวายจักรพรรดิ พระพุทธรูป 2 องค์ดังกล่าวยังประดิษฐานในวัดแห่งหนึ่งในเขต kutsi ในที่สุด หยังกุ้ยเฟยสิ้นพระชนม์ลงที่ญี่ปุ่นและพระศพฝังไว้ในลานบ้านแห่งหนึ่งของเขต kutsi ปัจจุบัน ท้องที่นั้นยังมีเจดีย์ธรรมจักรซึ่งถือเป็น ป้ายสุสานของหยังกุ้ยเฟย เจดีย์ธรรมจักรเป็นเจดีย์หิน 5 องค์ที่สร้างบนสุสานของหยังกุ้ยเฟย หน้าสุสานตั้งแผ่นไม้ 2 แผ่น ข้อความที่แกะสลักบนแผ่นไม้ข้างหนึ่งเขียนคำอธิบายเจดีย์ธรรมจักร อีกข้างหนึ่งเขียนชีวประวัติของหยังกุ้ยเฟย ชาวญี่ปุ่นนิยมไปบูชาไซ่นไหว้หยังกุ้ยเฟยหน้าสุสาน เพราะเชื่อว่าจะได้ลูกที่สวยและน่ารัก ปัจจุบัน ญี่ปุ่นเปิดสุสานของหยังกุ้ยเฟยเป็นสถานที่ท่องเที่ยวให้นักท่องเที่ยวเข้าชม

ไม่ว่าจะอย่างไรแล้ว หยางกุ้ยเฟยเสียชีวิตที่ เนินหมาเหว่ย หรือหนีไปถึงญี่ปุ่นได้ สุดท้ายแล้ววิญญาณของเธออยู่ที่ไหน ก็ยังเป็นปริศนาจวบจนทุกวันนี้