วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

จีน(1928) ซุนเตี๋ยนอิง ตัวจริง ราชันย์แห่งโจรปล้นสุสาน กับ ตำนาน มุกเรืองแสง

วันที่ 15 พฤศจิกายน ปี ค.ศ. 1908 :ซูสีไทเฮา ได้สิ้นประชนม์ในวัย 74 ปี หลังการสวรรคตของฮ่องเต้        กวงซวี่เพียง 1 วัน

พระศพของพระนางถุกบรรจุไวในสุสานตะวันออกของราชวงศ์ชิง ชิงตงหลิง มณฑลเหอเป่ย ห่างจากราชวังต้องห้ามไปประมาณ  120 กิโลเมตร สุสานแห่งนี้ยังฝังศพของเหล่าฮ่องเต้ในราชงศ์ชิง อย่าง  ซุ่นจื่อ คังซี เฉียนหลง เสียนเฟิง ถงจื้อ อีกด้วย

ในสุสานของพระนางูสีไทเฮา นั้นเต็มไปด้วยทรัพย์สินมากมาย ทั้งทองคำและหยก เพชรพลอย อัญมณ๊ ที่นางโปรดปราน ถูกเก็บไว้อย่างสงบ  จนกระทั่ง ประเทศจีนเข้าสู่ยุคขุนศึก ในอีก 20 ปีถัดมา

ซุนเตี๋ยนอิง
ซุนเตี๋ยนอิง (孙殿英) 1889-1947 อดีตนักเลง แต่ตอนนั้นเป็นถึง นายพลแห่งกองพลที่ 12 ของก๊กมินตั๋ง  แม้ว่าตำแหน่งเขาจะเป็นเพียงขุนศึกระดับรอง แต่ในประวัติศาสตร์จีน เขาคือโจรปล้นสุสานที่มีชื่อเสียที่สุด  เพราะสุสานที่เขาปล้นคือ สุสานของซูสีไทเฮา และสุสานของเฉียนหลงฮ่องเต้


วันที่ 8 กรกฎาคม 1928 ซุนเตี๋ยนอิง ได้นำกองกำลังปิดล้อมสุสาน ชิงตงหลิง เพื่อไม่ให้มีผู้ใดสามารถเข้า ออกได้ โดยอ้างว่า กองกำลังทหารของเขาต้องคุ้มครองสุสานกษตริย์  เขาเริ่มต้นด้วยการวางระเบิดประตูสุสานแล้วเข้าชิงทรัพย์สมบัติ

บันทึกของหลี่เหลี่ยนอิง ขันทีคนสนิทของพระนางซูสีไทเฮา บันทึกไว้ว่า สุสานของซูสีไทเฮามีทรัพย์สมบัติมหาศาล เฉพาะในหีบศพ ก็บรรจุ พระพุทธรูปหยก และทองคำ 108 องค์ ม้าหยก 8ตัว เจดีย์หยก และหยกขาว 203 ชิ้น หยกแสงจันทร์ 85 ชิ้น ไข่มุก 24704 ลูก ที่สำคัญคือ ในปากของซูสีไทเฮานั้น ไข่มุกเรืองแสง ขนาดเท่าไข่นกพิราบ ที่เชือ่ว่า าสามารถรักษาศพไม่ให้เน่าเปื่อยได้

เหล่าโจรเข้าปล้นอย่างหยาบคาย หีบศพถูกเปิด พระศพของซูสีไเทเฮา ถูกลากออกมาทิ้งไว้กับพื้น  เพชร พลอยถูกขโมยออกไป ไม้เว้นแม้แต่ ไข่มุกที่อยู่ในปากก็ถูกง้างงัดเอาออกมา จนไม่เหลืออะไรเลย เหลือเพียงผ้าคลุมพระศพ

แต่หารู้ไม่ผ้าคลุมพระศพนั้นมีค่ามาก แม้จะเป็นเพียงผ้าขนาดแค่ 3 ตารางเมตร แต่มันมีมูลค่าสูงมาก เพราะด้ายนั้นปั่นทอจากทองคำแท้ๆ ปักเป็นพระสูตรในศาสนาพุทธเต็มทั้งผืน

เมื่อมีการออกข่าวออกไป ประชาชนจำนวนมาก ไม่พอใจการกระทำอันหยาบช้าเช่นนี้  เช่นเดียวกับ ปูยี อดีตฮ่องเต้ไร้บังลังก์ และมีการเรียกร้องให้สอบสวนเรื่องดังกล่าว แต่ซุนเตี๋ยนอิง กลับติดสินบนผู้รับผิดชอบ โดยเฉพาะข่าวลือ เรื่องที่ ซุนเตี๋ยนอิง นำมุกประดับของพระนางซูสีไทเฮาไปมอบให้เจียงไคเช็ก
แล้วเจียงไคเช็กนำไปมอบให้แก่ ซ่งเหม่ยหลิง ภรรยา เพื่อเอาไปประดับที่ข้อเท้า ทำให้ผู๋อี้นั้นตัดขาดคามสัมพันธ์กับคนจีนเลยทีเดีย และหันไปคบญี่ปุ่นแทน

สตรีผู้ยิ่งใหญ่ คับแผ่นดิน แม้แต่ฮ่องเต้ยังต้องยอมสยบ แต่เมื่อตายไป ศพกลับโดนทิ้งไว้บนพื้น

ประวัติของซุนเตี๋ยนอิง 
สมัยเด็ก ซุนเตี๋ยนอิง  ได้เรียนโรงเรียนเอกชน แต่เกเร เผาโรงเรียนทำให้โดนไล่ออกจากโรงเรียน ต่อมาวัยรุ่น กลายเป็นสิงห์นักพนัน และ ติดฝิ่นอย่างหนัก แต่เขาก็อาศัยอยู่ในวงการมืด และเป็นหัวหน้ากลุ่ม ในปี 1922 เขานำกองทัพใต้ดินของเขาผสมกับทหารจริง เข้าสู่กองทัพเหอหนาน  เขาได้เลื่อนตำแหน่งอย่างรวดเร็ว แต่หลังกองทัพแพ้ เขากลับกลายเป็นเพียงกลุ่มโจร เล็กๆก่อนที่จะกลับเข้าสู่กองทัพอีกครั้ง

แต่ในที่สุด กองทัพของซุนเตี๋ยนอิง ก็พ่ายแพ้แก่กองทัพของพรรคคอมมิวนิสต์ในวันที่ 2 พฤษภาคม 1947 พอปลายปี ซุนเตี๋ยนอิง ก็เสียชีวิตในค่ายกักกันนั่นเอง โดยสาเหตุจาก อาการขาดฝิ่นรุนแรง ในวัย 58 ปี

ชะตาชีวิตของ หลี่เหลี่ยนอิง ขันทีคู่ใจซุสีไทเฮา
กลับมาเรื่องหลี่เหลี่ยนอิง ขันทีคู่ใจซูสีไทเฮา หลังจาก ซูสีไทเฮาสิ้นพระชนม์ หลี่เหลี่ยนอิง ก็ไว้ทุกข์ให้ 100 วัน หลังจากนั้น ก็ชิงลาออกจากวังต้องห้าม ไปใช้ชีวิตเยี่ยงสามัญชน เพียง 3 ปีหลังจากนั้น  4 มีนาคม 1911 มีคนพบศีรษะของเขาที่ทะเลศสาบ โฮ่วไห่ ปักกิ่ง มีการสันนิษฐานว่า มาจากหลายสาเหตุ หนึ่งคือ ถูกหยวนซ์ื่อไข่ฆ่าปิดปาก หรือ อาจถูกขันทีคู๋แข่งอย่างเสียวต๋อจางล้างแค้น

ตำนานไข่มุกเรืองแสง
ตำนาน มุกเรืองแสง ความจริง มีการใช้มุกเรืองแสงตั้งแต่ยุคจิ๋นซีฮ่องเต้มาก่อนแล้ว แต่ด้วยการที่ชื่อ มุก คนเลยนึกว่าเป็นไข่มุก แต่ความจริง มันคือ แร่หินชนิดหนึ่ง ที่มีทั้งสีเขียวและสีแดง โดยมีพวกสารฟูลออร์สปาร์ ทำให้เรืองแสงได้ในที่มืด โดยมักจะเจียระไนให้เหมือนมีทรงกลมเหมือนไข่มุก โดยเดิมมันอยู่บน มงกุฎของพระนางซุสีไทเฮาถึง 9 เม็ด แต่ครั้นกบฎอี้เหอถวน  ซูสีไทเฮาได้สั่งให้นางสนมหวังแกะออกมา 4 เม็ด เพื่อให้สนมหวังไปมอบกำนัลแด่ หลี่หงจาง เพื่อเป็นกำลังใจในการเจรจากับพันธมิตรต่างชาติ แต่นางสนมหวังเก็บไว้กับตัว ขณะที่เมื่อซูสีไทเฮา เสียชีวิต ได้สั่งให้ หลี่เหลียนอิง ขันทีคู่ใจแกะเอาเม็ดที่ใหญ่ที่สุดใส่ปากพระนางซูสีไทเฮาเพื่อป้องกันศพเน่าเปื่อย

นั่นคือ ตอนนี้ มี  4 เม็ดอยู่ที่ นางกำนัลหวัง 4 เม็ดอยู่กับมงกุฎ และอีกเม็ดอยู่ในปาก ซูสีไทเฮา แต่เมื่อมีการปล้นสุสาน ทั้งมงกุฎและเม็ดในปาก จึงไปอยู่กับ ซุนเตี้ยนอิง แต่เหตุการณ์นั้น ประชาชนต่อต้านรุนแรงมาก ทำให้ ซุนเตี้ยนอิง ต้องนำมาคืน 

อย่างไรก็ดี มุก 5 เม้ดนั้น ถูกแยกกันเพื่อขายในตลาดมืดเสียแล้ว  ขณะที่เม็ดใหญ่สุดนั้น ตกอยู่ในมือของ ซ่งเหม่ยหลิง โดยถูกนำเอาไปที่ไต้หวันด้วย และได้ขายมันให้แก่ ร๊อกกี้เฟลเลอร์ มหาเศรษฐีในยุคนั้น  ส่วนที่อยู่กับ นางกำนัลหวังนั้น นางได้มอบให้กับสามีภรรยาที่ดูแลเธอยามแก่ ซึ่งต่อมาได้คืนให้กับประเทศจีนเรียบร้อยแล้ว

ชาวแมนจุนั้นเกลียดคนมณฑลเหอหนาน 2 คน คนหนึ่งคือ ซุนเตี๋ยนอิง จอมโจรปล้นสุสานราชวงศ์ชิง อีกคนคือ หยวนซื่อไข่ โจรขโมยประเทศจากชาวแมนจู

วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

จีน(1360) - ตัวจริง ดาบมังกรหยก พรรคเม้งก่า

ในเรื่อง “ดาบมังกรหยก” หรือ “มังกรหยก ภาค 3” กิมย้ง ได้แต่งให้ เตียบ้อกี๋ ตัวเอก เป็นหัวหน้าลัทธิเม้งก้า 明教 (แต้จิ๋ว) หรือ หมิงเจี๊ย (จีนกลาง)  หนึ่งในกลุ่มขบวนการที่ร่วมขับไล่มองโกลซึ่งปกครองจีนในยุคสมัยราชงศ์หยวนนั้น โดยลัทธิเม้งก้าที่กิมย้งอ้างถึงนั้นเป็นกลุ่มความเชื่อที่มีอยู่จริง และเคยแพร่หลายอยู่ในประเทศจีนมานานหลายร้อยปี

พรรคเม้งก่า หรือพรรคจรัสแสง
คำว่า เม้ง แปลว่า  แสงสว่าง หรือ ดวงอาทิตย์  (日) กับ พระจันทร์  (月) ผสมกันเป็นเม้ง (明) ลัทธินี้จึงมีพิธีไหว้ ทั้ง พระอาทิตย์ และดวงจันทร์

 โดยเดิมลัทธิแม้งก่า เป็น การนำคำสอนของศาสนาแมนนี เป็นฐากฐานสำคัญ ลัทธินี้ในจีนนั้น มักจะยกย่อง เตียวก๊ก หัวหน้าโจรโพกผ้าเหลือง ในยุคสามก๊ก เป็นศาสดา และบูชา เทพ แมนนี เป็นเทพสูงสุดประจำลัทธิ

เนื่องจากลัทธินี้มักจะอยู่เบื้องหลังพวก กบฎต่อต้านรัฐบาล จึงถูกมองว่า เป็นพรรคมาร ราชสำนักจึงไม่ชอบลัทธินี้  นอกจากนี้ ลัทธิเดิม คือ แมนนี่ เสียงคล้ายกับคำว่า มาร ในภาษาสันสฤต ที่หากออกเสียงโดยคนจีนจะยิ่งมีเสียงคล้ายกันมาก จึงเป็นที่มาของการเรียก พรรคมาร

แมนนี่
รากฐาน เดิม มาจาก ลัทธิแมนนี่ หรือ มณี  ดั้งเดิมกำเนิดจากทางเปอร์เซีย หรือ อิหร่านในปัจจุบัน  ถือกำเนิดในช่วงศตรรษที่ 3 โดยศาสดาชื่อ มณี  ถือเป็น สาวกแห่งแสงส่าง  โดยถือว่า ตนเองเป็นผู้สืบทอดคนสุดท้ายของ ผู้เผยแพร่คามจริงแก่ชาวโลก ตั้งแต่ โซโรอัสเตอร์ ที่เป็นลัทธิบูชาไฟ  พระพุทธเจ้า และพระเยซู โดยเชื่อว่า คำประกาศของศาสดาคนก่อนๆ นั้นยังมีข้อบกพร่อง และยังห่างไกลจากความจริงอันสมบูรณ์ ดังนั้น มณี จึงตั้งตนเป็นผู้เผยแพร่ความจริง อันเป็นสากล แทนศาสนาอื่นทั้งหมด โดยเป็นการผสมผสานคำสอนของศาสดาองค์ก่อนๆ เข้าด้วยกัน และป้องกันการบิดเบือนคำสอนเหมือนศาสนาอื่น ที่มักจะบันทึกคำสอนของศาสดา เมื่อศาสดาเสียชีวิตลงแล้ว ต่างกับ ลัทธิแมนนี ที่บันทึกทุกคำสอนของศาสดาในขณะที่ ศาสดายังมีชีวิตอยู่

แต่ในยุคถัดมา ลัทธิแมนนี กลับถูกมองเป็น พวกนอกรีต ทำให้ไม่นานก็หายไปจากยุโรป โดยเฉพาะอาณาจักรโรมันที่ล้างบางลัทธิแมนนี่อย่างหนักหน่วง แต่ช่วงศตรรษที่ 7 ประเทศจีนยุคนนั้นสามารถพิชิตเตอร์กิสถานลงได้  ทำให้มีผู้เผยแพร่ศาสนามณี  หรือฑูตจากเปอร์เซียได้เดินทางมาเยือนราชงศ์ถัง ในปี 694 ในรัชสมัยของ พระนางบู๊เช็กเทียน แต่ไม่นาถัดมา สมัยพระเจ้าถังอู่จง ยึดที่ดินทุกศาสนา มาทำไร่นาแทน ศาสานพุทธก็โดน เช่นเดียวกับ ลัทธิแมนนี่ ตอนนั้นเองที่ทำให้ ลัทธิแมนนี่ ถูกประกาศเป็นลัทธินอกรีตเช่นกัน ทำให้สาวกของลัทธิแมนนี่ต้องอยู่อย่างหลบๆ ซ่อนๆ แต่ยังคงเป็นศาสนาอันดับ 2 ในจีนรองจากศาสนาพุทธเท่านั้น

ช่วงที่อยู่อย่างหลบๆซ่อนๆ ลึกลับนี่เอง ที่ได้ผสมแนวคิดปรัชญาแนวคิดของลัทธิเต๋า ด้วย จึงกลายเป็น ลัทธิเม้งก่า โดยในปี ค.ศ. 920 นี่เอง ลัทธิเม้งก่าก็ก่อกบฎขึ้นในยุค 5 ราชวงศ์

จูหยวนจาง กับ ลัทธิบัวขาว 

หลังจากนั้น ชาวแมนนี่ ก็ผสมผสาน กับชาวพุทธ เกิดเป็นนิกายสุขาวดี  ต่อมาในยุคซ้องใต้ ก็กลายเป็นนิกายบัวขาว โดยจูหยวนจาง นี้เองที่ใช้คำสอนของลัทธินี้ ในการโค่นล้ม พวกมองโกล

ในยุคสมัยราชวงศ์ชิงนี่เอง ที่ลัทธิบัวขาว ต่อต้านราชวงศ์ชิง โดยไม่ยอมโกนหัว และแตกเป็นสมาคมลับมากมาย

ย้อนกลับมา ในช่วงล่มสลายของราชวงศ์หยวน ยุคนั้น จูหยานจาง ที่ต่อมเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชงศ์ หมิง นั้น กิมย้ง นำมาใช้เป็นตัวละครเล็กๆ ในดาบมังกรหยก โดยเมื่อก่อต้ั้งราชวงศ์สำเร็จ ก็ตั้งชื่อราชวงศ์ว่า หมิง หรือเหม็ง เพื่อยกย่องลัทธิเม้งก่า เลยทีเดียว   แม้ว่า นักประวิติศาสตร์จะแย้งว่า จูหยวนจาง เคยบวชเป็นพระในศาสนาพุทธมาก่อน ไม่น่าจะย้ายไปนับถือลัทธิเม้งก่าได้

แต่อย่าลืม่า จูหยวนจาง นั้น ได้ไปเข้ากับ กบฎโพกผ้าแดง ที่นับถือลัทธิ บัวขาว ซึ่งคือ เม้งก่า ที่ผสมกับศาสนาพุทธ สิ่งนี้เองที่เป็นหลักฐานยืนยันว่า ราชวงศ์เม้ง หรือ หมิงนั้น มาจากคำว่า เม้งก่า แน่นอน

3 ฑูตจากเปอร์เซีย
ในดาบมังกรหยกนั้นเตียบ่อกี้ประสบความพ่ายแพ้ ครั้งหนึ่ง กับ สามฑูต พิเศษจากพรรคเม้งก่า ที่พรรคเม้งก่า สาขา เปอร์เชียส่งเข้ามาเพื่อจัดการความไม่เรียบร้อยในพรคคเม้งก่าในจีน

เตียบ่อกี้นั้น แพ้อย่างยับเยิน ทั้งเรื่องยุทธวิธีการต่อสู้ที่แม้จะฝีมือและกำลังภายในสู้กับเตียบ่อกี้ไม่ได้แต่อาศัยสามคนสู้ เหมือนหนึ่งคนกลายเป็นคนทีมีสามเศียรหกกร โดยใช้อาวุธคือ  ป้ายประกาศิตอัคคี ทั้งหกป้ายที่สามทูตถือเป็นอาวุธ

สามทูตประกอบไปด้วย ทูตเมฆลิ่วล่อง ทูตลมศักดิ์สิทธิ์ และ ทูตจันทร์รำไพ ซึ่งเป็นสตรี ล้วนใช้หลักวิชาการต่อสู้ที่เตียบ่อกี้ และพรรคพวก ไม่เคยเจอ โดยระบุว่า แม้พลังยุทธ์ จะไม่สูงมาก แต่ในเรื่องกระบวนท่านั้นถือเป็นวิชาขั้นสุดยอด แล้ว หลักการต่อสู้ที่ว่านี้นำมาจากเคล็ดความบนป้ายประกาศิตอัคคีทั้ง 6 ป้ายที่บรรดาฑูตทั้งสามใช้เป็นอาวุธนั่นเอง ภายหลังเมื่อ เสี่ยวเจียว ช่วยแปลเคล็ดความในป้ายประกาศิตอัคคี จึงทำให้เตียบ่อกี้สามารถที่จะเอาชนะสามฑูตได้สำเร็จและทำให้พลังเคลื่อนย้ายจักรวาลของเขาสมบูรณ์แบบขึ้นมา

หลายคนอาจจะสงสัยว่า วิชาฝีมือทั้งพลังเคลื่อนย้ายจักรวาล และ วิชาบนป้ายประกาศิตอัคคี นี้มาจากใครกันแน่ เพราะ ในฉบับแปลเป็นไทยนั้นใช้ทับศัพท์และเรียกเป็นภาษาแต้จิ๋วว่าเป็น “ผู้เฒ่าภูผาฮาลซัน” ไม่ว่าจะเป็นเคล็ดวิชาที่จารึกไว้ หรือ แม้กระทั่งพลังเคลื่อนย้ายจักรวาล กิมย้งบรรยายผ่านตัวราชสีห์ขนทองว่า ผู้เฒ่าภูผานั้น เดิมเป็นลูกศิษย์สามพี่น้องของท่านมหาปราชญ์แห่งเปอร์เชีย ตอนหลังผู้เฒ่าภูผาฆ่าพี่น้องที่เหลือและตั้งตัวเป็นหน่วยล่าสังหารถึงขนาดเข้าไปลอบสังหาร พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดแห่งอังกฤษ กันทีเดียวแต่ไม่สำเร็จ เพราะพระมเหสีของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดพุ่งเข้ามาขวางเส้นทางมีดจนตายแทนไป

บุคคลๆ นี้น่าสนใจที่จะเช็กดูครับว่ามีตัวจริงหรือไม่ ในฉบับภาษาอังกฤษ ผู้เฒ่าภูผา นั้นมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า  “ฮัสซัน ไอ ซับบาห์" (Hassan-i Sabbāh) เกิดเมื่อปีคศ 1050 - 1124)  เป็นชาวเปอร์เชียโดยกำเนิด เป็นผู้ก่อตั้ง กลุ่มมุสลิม นาซารี  ต่อมาได้ยึดพื้นที่บนเทือกเขา Alborz แล้วก่อตั้งเป็นป้อมปราการ อลามุธ  ( Alamut)  เขาเป็นผู้มีฝีมือที่โดดเด่นทีสุดในเรื่องของการเป็นมือสังหารที่สามารถลอบสังหารอย่างมาก

อลามุธ ก็คือ ชื่อป้อมปราการในตำนานของชาวเปอร์เซีย เป็นศูนย์รวมของขบวนการมือสังหารแห่งยุค สาวกและลูกศิษย์นักล่าสังหารของฮัสซันนั้นเรียกกันเฉพาะว่า ฮัสซันชิน (Hashashin) หรือ ขณะที่ชาวยุโรปที่ไปทำสงครามครูเสด เรียกกลุ่มคนเหล่านี้ว่า แอสแซสซิน (Assassins) ซึ่งก็หมายถึงมือสังหารนั่นเอง

เรื่องราวของกลุ่มคนเหล่านี้ดังมากในยุคสงครามครูเสด และในบันทึกของมาร์โคโบโล อธิบายว่า เขาเป็นบุคคลน่าสะพรึงกลัว มีความสามารถหลากหลาย มีการศึกษา และทักษะการต่อสู้อย่างสูง ที่สำคัญเขามีเทคนิคในการโน้มน้าว คนหนุ่มให้หันมานับถือศาสนาอิสลามอย่างแรงกล้าอีกด้วย

ชาวยุโรปเรียก ฮาสซัน ว่า Lord Of The Dead Mountain ซึ่งก็หมายถึง เจ้าแห่งหุบเขาแห่งความตาย หรือ อลามุธ นั่นเอง

ตามประวัติของป้อมอลามุธและ ฮัสซันซิน นั้นเป็นองค์กรอิสระที่ไม่ขึ้นตรงกับใคร แต่เป็นแหล่งรวมการศึกษาของศาสนา อิสลาม โดยมีภารกิจหลัก คือ การเผยแพร่ศาสนาอิสลาม ต่อมาจึงกลายเป็นองค์กร แอซแซสซิน

กลุ่มของเขาถือเป็นอิสลามแบบอนุรักษ์นิยม หากใครไม่เห็นด้วย เขาจะส่งมือสังหารไปลบสังหาร ทั้งฝั่งเปอร์เซีย และ ฝั่งตะวันตก  ที่โด่งดังจริงๆ ก็คือ การลอบสังหาร กษัตริย์ อังกฤษ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ด ลองแชงส์ (The English King Edward Longshanks) เกือบสำเร็จโดยที่มีดที่จะตรึงหัวใจของกษัตริย์อังกฤษนั้นเบี่ยงไปนิดเดียวจากการเข้าขวางของสตรีข้างกายของกษัตริย์อังกฤษนะครับ

อย่างไรก็ดี พระเจ้าชาห์แห่งเปอร์เชีย ก็ส่งกองทัพเข้ามาจัดการกับค่ายนี้หลายครั้งแต่ก็ไม่เคยตีแตก  แต่พวกเขากลับถูก มองโกลส่งกองทัพที่โหดยิ่งกว่าเข้ามาทำลาย อลามุธ ราบเป็นหน้ากลองในปี คศ 1256 ซึ่งเป็นยุคของฮูกาลูข่าน ในเวลานั้นศาสดาของพวกเขาอย่าง ฮาสซัน นั้นตายไปนานแล้ว

อย่างไรก็ตามในประวัติศาสตร์ที่แท้จริงนั้น ฮาสซัน นั้นเป็นอิสลามที่เคร่งครัด จึงไม่น่าจะกลายเป็นนิกาย เม้งก่า ได้ เพราะฉะนั้นการที่กิมย้ง ระบุว่า ผู้เฒ่าภูผา เป็นพวกเดียวกับ พรรคเม้งก่า นั้นจึงน่าจะเป็นจินตนาการล้วนๆ และเทคนิคการผสมเรื่องของกิมย้งเอง  เนื่องจาก ลัทธิแมนนี่มาจากอิหร่าน และ อาสซัน ก็มาจากอิหร่าน ในยุคเดียวกับปลายราชงศ์หยวน หรือมองโกล มากกว่า




วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

จีน (ฺBC600-1200) ตัวจริง มังกรหยก - สำนักชวนจินก่า (ฉวนเจิน)

สำนักฉวนเจิน (全真教) หรือฉวนเจินเต้า (อักษรจีน: 全真道) เป็นลัทธิเต๋าสำนักหนึ่งที่นักพรตหวัง ฉงหยาง (จีนกลาง) หรือเฮ้งเต็งเอี้ยง  ก่อตั้งขึ้นทางตอนเหนือของจีนราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 ในสมัยราชวงศ์จิน เมื่อจักรวรรดิมองโกลรุกรานจีนสมัยราชวงศ์ซ่งในปี ค.ศ. 1254 นักพรตเต๋าสำนักนี้มีบทบาทสำคัญในการปกป้องสันติภาพ จนสามารถรักษาชีวิตของประชาชนโดยเฉพาะชาวฮั่นได้หลายพันคน

ปุพื้น ลัทธิเต๋า
ในยุคศตวรรษที่ 5 นั้น หลายศาสนาต่างหลั่งไหลเข้าประเทศจีน โดยมีทั้ง โชโรอัสเตอร์  ศาสนาพุทธ ขณะที่ภายในประเทศ จีน เอง ก็มีการพัฒนาแนคิดปรัชญาขึ้นเอง นั่นคือ เล่าจื้อ และ ขงจื้อ ที่พยายามหล่อหลอมชีวิตความเป็นอยู่ของชาวจีนที่มีมากกว่า 2000 ปีเข้ากับแนวความคิดปรัชญาของลัทธิตนเอง

เหล่าจื้อ หรือเล่าจื้อ
จุดเริ่มต้นของลัทธิเต๋า คือ เล่าจื้อ ที่เกิดเมื่อ 604 ปีก่อนคริสตกาล ตำนานกล่าวว่า ตอนเกิด ท่านก็แก่อายุ 72 ปีแล้ว โดยเฉพาะเป็นเด็กก็มีผมหงอกแล้ว นั่นเป็นที่มาของชื่อ เล่าจื้อ ที่แปลว่า เด็กแก่ หรือ ครูเฒ่า นั่นเอง

เดิมท่านเป็นชาวรัฐฉ้อ ตำบลหลี ชื่อเดิมที่แท้จริง ชื่อ ยื้อ แซ่ลี้  ต่อมา เมื่อท่านได้งานทำเป็นบรรณารักษ์ของหอสมุดหลวง ในราชสำนักจิว ชื่อเสียงก็เริ่มโด่งดัง เนื่องจาก สติปัญญาของท่านสูงส่งกว่าคนทั่วไปอย่างชัดเจน ครั้งหนึ่ง ขงจื้อ เดินทางมาพบเล่าจื้อ เล่าจื้อได้กล่าวว่า "กลับไปเสียเถิด แล้วท่านก็ควร ลด ละ เลิก ความหยิ่ง ความอยาก ของท่านด้วยนะ"

แนวคิดของ เล่าจื้อ คือ ท่านไม่ชอบชีวิตที่หรูหรา ชอบใช้ชีวิตสบายๆ โดยมองว่า ทุกคนมุ่งมั่นที่จะสร้างชื่อเสียง เงินทองและอำนาจ ทำให้ทั้งเมืองเต็มไปด้วย คนขี้โกง เมื่อเบื่อหน่ายโลกแล้ว ท่านจึงนั่ง เกวียนเทียมวัว มุ่งหน้าไปยังธิเบต พอถึงประตูเมือง นายประตูขอให้ท่านช่วยเขียนปรัชญาการแห่งการใช้ชีวิต ท่านจึงได้เขียนตำรา อักษรจีน จำนวน 5,500 ตัว  ก่อนที่ท่านจะเดินทางหายไป โดยที่ไม่มีใครพบท่านอีกเลย

คัมภีร์ เต๋าเต๋อจิง 
ชื่อคัมภีร์ที่ท่านเล่าจื้อเขียนไว้ คือ  เต๋า-เต๋อ-จิง แปลว่า คัมภีร์แห่งมรรค และพลัง โดยคำว่า เต๋า ทุกวันนี้ก็ยังมีคนตีความหมายของมัน บางคนแปลว่า หนทาง หรือ มรรค ขณะที่บางคนแปลว่า เต๋า คือ จุดกำเนิด และ จุดดับของทุกสรรพสิ่ง โดย มันคือพลังที่หลั่งไหลไปทั่ว แต่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ พลังจะไหลเวียนจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งเสมอ ดังนั้น เต๋า จึงไม่ใช่ศาสนา แต่เป็นเพียง ปรัชญาธรรม เท่านั้น

แนวคิดหลักคือ การพยายามใช้ชีวิตร่วมกับธรรมชาติ ตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไป ไม่ว่าจะ ขบนธรรมเนียมประเพณี สิ่งของใช้ฟุ่มเฟือย และ สิ่งที่ฝืนธรรมชาติ ออกไปให้หมด โดยพยายามใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และสงบ แต่ต่อมากลับมีคนไปตีความ จุดกำเนิดแห่งสรรพสิ่งและพลัง  ซึ่งนำไปรวมกับไสยศาสตร์และความเชื่อโบราณ จนทำให้ระยะหลัง ลัทธิเต๋า ถูกมองว่า เป็นเรื่องไสยศาสตร์ไป

ในนิยายกำลังภายใน
ในนิยายกำลังภายในเรื่อง "มังกรหยก" ของกิมย้ง สำนัก ช้วนจินก่า เป็นสำนักนักพรตเต๋าที่ เฮ้งเตงเอี้ยงก่อตั้ง มีศิษย์น้องชือ จิวแปะทง ฉายาเฒ่าทารก และลูกศิษย์อีก 7 คน  ภายหลังถูกพวกมองโกลบุกและทำลาย สำนักจึงสูญหายไปจากยุทธภพ

เรื่องจริง ในประวัติศาสตร์
เฮ้งเตงเอี้ยง หรือ หวังฉงหยาง (จีนกลาง) หรือฉายา "ผู้อยู่ท่ามกลางความสว่างไสว" ถูกเอ่ยชื่อถึงในมังกรหยก เดิมชื่อ ก่อออกบวช คือ เฮ้ง เฮ่าเนี่ยม หรือ หวังจงฟู่ (จีนกลาง)  เกิดในรัชสมัยซ่งเหนือ ในรัชสมัยของฮ่องเต้ ฮุ่ยจง ครอบครัวมีฐานะ วัยเด็กได้รับการฝึกสอนศาสตร์ทุกแขนง เคยเข้าสอบจอหงวนสายบุ๋น หลายรอบ แต่สอบไม่เคยได้ ต่อมาจึงหันมาเอาดีด้านบู๊ แทน สามารถสอบจอหงวนบู๊ได้อันดับหนึ่ง ดังนั้น ในนิยาย มังกรหยก ที่เฮ้งเต็งเอี้ยงได้ เป็นอันดับหนึ่งในยุทธภพ นั้น เป็นเรื่องไม่เกินจริงไปนัก

ตำนาน เล่าว่า เฮ้งเฮ่าเนียม ได้พบกับ ปรมาจารย์ลัทธิ เต๋า ชื่อ จงลี่เฉวียน (鍾離權)และหลวี่ตงปิน(呂洞賓)หนึ่งในคณะแปดเซียน ( เป็นบัณฑิตในรัชสมัยถัง แต่ลัทธิเต๋าจัดให้ท่านอยู่ใน กลุ่มโป๊ยเซียน โดยมักแสดงเป็นบัณฑิตที่ เหน็บกระบี่เพื่อปราบภูตผีปีศาจ) ท่านจึงได้ชักชวนให้บำเพ็ญตน และสั่งสอนหลักวิชาเต๋าให้เฮ้งเฮ่าเนียม

ต่อมาจึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น เฮ้งเตงเอี้ยง ตามชื่อเทศกาล เต็งเอี้ยง (วันที่ 9 เดือน9 ) และตัดขาดลูกเมีย ออกบำเพ็ญตน โดยอาศัยอยู่ที่ เขาจงน้ำ (จงหนาน ในภาษาจีนกลาง) โดยเรียกดินแดนนี้ว่า สุสานคนเป็น เนื่องจาก แม้มีชีวิตอยู่แต่ไม่สนใจโลกีย์วิสัยอีกต่อไป ผ่านไป 7 ปี เมื่อสำเร็จธรรมขั้นสูงแล้ว จึงเปลี่ยนชื่อเป็น เฮ้งเอี้ยงจื่อ (ผู้สว่างไสว ดุดดวงอาทิตย์) และได้รับศิษย์ทั้งหมด 7 คน ทั้ง 7 คนได้บรรลุธรรมเช่นกัน

โดยยุคสมัยนั้น กิมก๊ก (บรรพบุรุษของมองโกล) ได้บุกตีแผ่นดินซ้อง หรือซ่ง เฮ้งเตงเอี้ยง ได้ร่วมกับ สำนักลัทธิเต๋าอื่นๆ ต่อต้านทหารกิมก๊ก ตำนานเล่าว่า มีคนชื่อ จิวแป๊ะทง ชาวเมือง หนิงไฮบ้านเดียกับ เบ๊เง็ก  มาเชิญท่านไปเทศนาธรรม และให้พำนักอยู่ที่อารามกิมเหลียน (ดอกบัวทอง) แต่ตกกลางคืน กลับมีแสงเพลิงลุกโชนขึ้นผู้คนต่างตกใจ  เมื่อผู้คนไปมุงดูเหตุการณ์ กลับพบว่า เฮ้งเตงเอี้ยง ท่านกำลังเดินอยู่บนกองเพลิง จึงไ้ดฉายาว่า ผุ้อยู่ท่ามกลางความสว่าง

อย่างไรก็ดี สำนักฉวนจิน หรือชวนจินก่า นั้นที่แปล่า "ทุกสิ่งล้วนเป็นสัจจะ"  โดยเป็นการผสมแนวคิดระหว่าง ลัทธิเต๋า ขงจื้อ และ พุทธ มากกว่า เพราะ นักบวชใน ลัทธิเต๋า นั้น สามารถแต่งงานมีภรรยา และลูกได้ แต่นักบวชในนิกาย ชวนจินก่า จะเข้มงวดกว่า เพราะนักบวช ชวนจินก่า ต้องถือศีล คล้ายพระสงฆ์ คือ ต้องรักษาพรมจรรย์ ไม่เขียนยันต์ปลุกเสก ไม่เล่นแร่แปรธาตุ เน้นเพียงศึกษาธรรมะ และฝึกลมปราณ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงเท่านั้น อย่างไรก็ดี  เฮ้งเตงเอี้ยงนั้น เสียชีวิตเมื่ออายุเพียง 58 ปีเท่านั้น

7 ศิษย์ช้วนจินก่า
มีปรากฏว่า ในบันทึก หนังสือ ซื้อปิ้ง (วิพากษ์คำร้อยกรอง) ในสำนักช้วนจินก่า มีบุคคลเด่นล้ำทั้งสิ้น 7 คน คือ ช้วนจินฉิกจื้อ หรือ เจ็ดผู้ล้วนจริง ประกอบไปด้วย นักพรตทั้ง 7 แห่งนิกาย ช้วนจินก่า ซึ่งเป็นศิษย์ที่ได้รับการถ่ายทอดฝีมือจาก เฮ้งเต็งเอี้ยง โดยตรง ดังนี้

เบ๊เง็ก ฉายา ตั้งเอี้ยงจื้อ - เจ้าสุริยัน ศิษย์คนที่ 1 ของเฮ้งเต็งเอี้ยง และเป็นเจ้าสำนักต่อจากเฮ้งเต็งเอี้ยง

คูชู่กี 
丘處機 ฉายา เชี่ยงชุนจินหยิน-อริยบุคคลผู้เป็นอมตะ  ในนิยายจะเป็นผู้มีพลังฝีมือสูงสุดในบรรดานักพรตทั้ง 7 คน เขาเป็นคนตั้งชื่อให้กับ เอี๊ยคัง และ ก๊วยเจ๋ง อีกด้วย

ตัวจริง เขามีชีวิตอยู่ช่วง ปี 1148-1227 โดยอดีต ถูกเข้าใจผิดว่า เป็นผู้แต่งนิยายเรื่อง ไซอิ๋ว อีกด้วย  เนื่องด้วย เคยเดินทางไป พบเจงกิสข่าน แถว อุเบกิซสถาน โดยลูกศิษย์ของท่าน นำมาเขียนเรื่อง เชี่ยงชุนจินหยินไซอิ๋วกี่ โดยที่คำว่า ไซอิ๋วกี่ ที่แปลว่า บันทึกการเดินทางไปตะวันตก นี่เองที่ไปพ้องกับเรื่อง ไซอิ๋ว ที่แปลว่า การเดินทางไปตะวันตกเช่นกัน  คนรุ่นหลังยุคหนึ่ง จึงเข้าใจผิดว่า ท่านเป็นคนแต่งเรื่อง ไซอิ๋ว

ประวัติการเเดินทางไปตะวันออกลาง มีดังนี้ ในช่วงศตวรรษที่ 12 นั้นแผ่นดินจีน แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ จิน ซ่ง และ มองโกล โดยเดิมท่านคิวชูกี่ ถือเป็นนักปราชญ์ ที่ ทั้ง 3 ดินแดนต่าง เดินทางมาเชิญให้ท่านไปอยู่ด้วย แต่ ท่านไม่ยอมไปอยู่ด้วย โดยตอนนั้น ท่านอายุถึง 73 ปีแล้ว  ถัดมา เตมูจิน หรือ เจงกิสข่าน นั้นต้องการ วิถีแห่งการเป็นอมตะ และปรัชญาการปกครอง จึงได้ส่งหนังสือเชิญท่านไปอยู่ด้วย โดยในหนังสือเขียนด้วยถ้อยคำง่ายๆ และถ่อมตัว ท่านจึงรับปากเดินทางไปให้คำชี้แนะ

ต่อมาท่านเดินทางไปยังเมืองเยี่ยน (ปักกิ่ง) เพื่อพบท่านเตมูจิน แต่เมื่อไปถึง ท่านเตมูจิน กลับออกไปทำศึกแถวพวก ซาร์มากันต์ (แถว อุเบกิซสถาน) ท่านจึงได้เดินทางนับหมื่นลี้เพื่่อไปพบท่านเตมูจิน ในตำนานระบุว่า ท่านใช้เวลาเดินทางถึง 2 เดือนเศษ นักประวัติศาสตร์เชื่อว่า ท่านคิวชูกี่ ต้องการยั้บยั้งสงครามที่กำลังแผ่ไปทั่วโลก จึงเสี่ยงเป็นเสี่ยงตายยอมเดินทางนับพันลี้ไปยับยั้งสงครามมากกว่า

เมื่อคิวชูกี่เสี่ยงชีวิตไปพบท่าน เตมูจิน พร้อมศิษย์ 18 คน แต่ท่านได้แนะนำเตมูจินว่า "ผู้ปรารถนาพิชิตใต้หล้า ยอมไม่ชมชอบการฆ่าฟัน"   เตมูจิน ถามถึงปรัชญาการปกครอง ท่านตอบเพียงสั้นๆ ว่า "เคารพสวรรค์ รักปวงประชา" สุดท้าย เตมูจินถามถึงเรื่อง ชีวิตอมตะ ท่านตอบเพียง "จิตผ่อนคลาย งดเว้นตัณหา"

หลังจากสนทนากัน เตมูจิน นั้นนับถือท่านมาก ถึงกับเรียกท่านว่า เทพคิ้ว  เลยทีเดียว  แม้สงครามจะยังไม่จบสิ้น แต่เตมูจินก็ปรับเปลี่ยนวิธีการทำสงคราม โดยมักจะฆ่าคนที่ไม่ยอมด้วยการฆ่าล้างเมือง เหลือเพียงจับเป็นเชลยเท่านั้น  นอกจากนี้ยังปรับเปลี่ยนกฎหมายเพื่อลดความรุนแรงลง และเมื่อเตมูจินกลับมาที่ปักกิ่ง (เยี่ยน) ในปี 1394  ก็ได้สร้างอุทยานอารามเมฆขาว "ไป๋หยุนกวาน" ที่ยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน ให้กับ สำนักชวนจินก่า เพื่อใช้เป็นฐานในการเผยแพร่แนวคิดลัทธิเต๋า  หลังจากนั้น เตมูจิน ยังส่งสารแสดงความเคารพในตัว เทพคิ้ว อยู่เป็นเนืองๆ อีกด้วย

เฮ้งชู่อิด ฉายา เง็กเอี้ยงจื้อ - อาทิตย์หยก ในสำนักฝีมือเป็นอันดับ 3 รองจากเบ๊เง็กและคูชู่กี
ท่ำชู่ตวน ฉายา เชี่ยงจินจื้อ - คนจริงยืนยาว
เล่าชูเหียน ฉายา เชี่ยงแชจื้อ - คนจีรัง
ฮึ่งไต้ฮง ฉายา ก้วงเล้งจื้อ - ผู้ไพศาล
ซุนปุกยี่ (น่าจะเป็น ภรรยาของ หม่ายู) ฉายา เช็งเจ็งซั่วยิ้น - ผู้วิสุทธิ์พเนจร นักพรตหญิงแห่งชวนจิน

หยิ่นจื้อผิง (尹志平)'หรือ ชื่อในนิยายกิมย้ง คือ  อี่จี้เพ้ง ต่อมาเปลี่ยนเป็น เจินจื้อปิ่ง เนื่องจากการมีตัวตนอยู่จริงนั่นเอง ประวัติตัวจริง คือ  อายุ 14 ได้พบกับท่านเบ๊เง็ก แล้วเลื่อมใส จึงได้สืบทอดวิชาจาก ท่านชิวชู่จี (คิ้วชูกี่) และหวังชู่อี้ (เฮ้งชูฮิด)  โดยเมื่อท่านคิวชูกี เสียชีวิต หยิ่นจือผิง จึงได้รับสืบทอด ลัทธิฉวนเจิน โดยลัทธิเต๋าในยุคของท่านนั้นลักธิเต๋า นั้นกลายเป็นศาสนาประจำชาติมองโกลไป จึงได้รับการสนับสนุนจาก โอเกไดข่าน ลูกคนที่ 3 ของเตมูจิน ต่อมาในปี 1238 จึงได้มอบหมายตำแหน่งต่อให้ หลี่จื้อฉาง ศิษย์อีกคนของ คิวชู่กี่ เป็นผู้สืบทอดสำนักต่อไป และคนนี้เองที่เป็นคนบันทึกเรื่อง ไซอิ๋วกี่