วันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

จีน (1937) : เหตุการณ์สังหารโหดที่ นานกิง

จีน (1937) : เหตุการณ์สังหารโหดที่ นานกิง

การสังหารหมู่นานกิง (Nanking Massacre หรือ Nanjing Massacre)  เป็นการสังหารหมู่และการข่มขืนยามสงคราม (War Rape) ซึ่งเกิดขึ้นเป็นเวลา 6 สัปดาห์หลังญี่ปุ่นยึดนครนานกิง ซึ่งถือว่าเป็นอดีตเมืองหลวงของสาธารณรัฐจีนที่ปกครองโดยพรรคก๊กมินตั๋ง  ระหว่างสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง

ในช่วงนี้ พลเรือนและทหารจีนที่ถูกปลดอาวุธหลายแสนคนถูกทหารกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นฆ่า  ทั้งยังเกิดการข่มขืนและฉกชิงทรัพย์อย่างกว้างขวาง  นักประวัติศาสตร์และพยาน ประเมินว่า มีผู้ถูกฆ่าระหว่างเวลานั้น 250,000 ถึง 300,000 คน ผู้ก่อการสังหารหมู่หลายคน ซึ่งขณะนั้นถูกตราว่าเป็นอาชญากรรมสงคราม ภายหลังถูกไต่สวนและตัดสินว่ามีความผิด ณ ศาลชำนาญพิเศษอาชญากรรมสงครามนานกิง และถูกประหารชีวิต ในการนี้ เจ้าชายยาซูฮิโกะ อาซากะ พระอนุวงศ์ญี่ปุ่น อันเป็นผู้ก่อการเหตูการณ์นี้ ทรงรอดจากการฟ้องคดีอาญา เพราะ ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ให้ความคุ้มครอง

18 กันยายน ค.ศ.1931 แมนจูกัว
กองทัพจักรวรรดินิยมญี่ปุ่นได้กรีธาทัพใหญ่เข้ายึดครองดินแดน 3 มณฑลทางภาคอีสานของจีน หรือที่เรียกว่า ดินแดนแมนจูเรีย อันได้แก่มณฑลเฮยหลงเจียง, เหลียวหนิง และจี้หลิน จากนั้นจึงได้อุปโลกน์อัญเชิญอดีตจักรพรรดิผู่อี๋ (ปูยี) จักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ชิง ที่ถูก ดร.ซุนจงซาน (ซุนยัตเซ็น) โค่นล้มลงไปในปี ค.ศ.1911 ขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองดินแดน “แมนจูกัว” (หม่านจูกัว)  แต่รัฐบาลส่วนกลางที่นําโดยจอมพล เจี่ยงเจี้ยสือ กลับนิ่งเฉย เพราะต้องการให้ ญี่ปุ่น เป็นกันชน ระหว่างจีนกับรัสเซียแทน ทําให้แลดูเสมือนหนึ่ง จีนยอมก้มหัวให้กับจักรวรรดินิยม และหันกลับมามุ่งแต่จะกําจัดพรรคคอมมิวนิสต์ภายในประเทศที่กําลังแข็งแกร่งขึ้น แทนที่จะทําลายล้างศัตรูผู้รุกราน

เหตุการณ์ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 พรรคก๊กมินตั๋งที่เป็นรัฐบาล เริ่มต้นต่อสู้กันเองภายในกับพรรคคอมมิวนิสต์ที่เป็นฝ่ายต่อต้านรัฐบาล

7 กรกฎาคม ค.ศ. 1937 วิกฤตการณ์ตองเจ็ด หรือ วิกฤติสะพานมาร์โคโปโล - ยึดปักกิ่ง
ได้เกิดเหตุการณ์สําคัญที่ชาวจีนเรียกกันว่า “เหตุการณ์ตองเจ็ด” หรือ “หลูโกวเฉียวซื่อเปี้ยน  วิกฤตการณ์สะพานมาร์โคโปโล” นั่นคือ วันที่ 7 เดือน 7 ปี 1937 กองทหารลูกพระอาทิตย์ได้ก่อเหตุการณ์ตะวันเพลิงขึ้นที่สะพานมาร์โคโปโล ใกล้กรุงเป่ยจิง (ปักกิ่ง) ถือเป็นจุดพลิกฝันเหตุการณ์ที่สําคัญของสงคราม คือ ในวันนั้นทหารญี่ปุ่นได้มาซ้อมรบอยู่ที่อําเภอ หว่านผิง ใกล้สะพานมาร์โคโปโล แล้วอ้างว่ามีทหารญี่ปุ่นได้สูญหายไปคนหนึ่ง จึงเข้าบุกค้นบ้านเรือนของราษฎรและสถานที่สําคัญต่างๆ ฝ่ายทหารจีนที่รักษาการณ์อยู่ได้ประท้วง แต่กองทหารญี่ปุ่นไม่พอใจ จึงเกิดการปะทะกันขึ้นครั้งแรกที่สะพานมาร์โคโปโลแห่งนั้น

นับจากเหตุการณ์ในวันนั้น กองทัพจักรวรรดินิยมญี่ปุ่นก็ได้เสริมกําลังเข้าภาคเหนือของจีน เพื่อเปิดฉาก สงครามรุกรานจีนทั้งประเทศ จนกระทั่งในปลายเดือนกรกฎาคมปีนั้นเอง ทหารญี่ปุ่นก็ได้บุกเข้าโจมตีกรุงเป่ยจิง และ นครเทียนจิน (เทียนสิน) อย่างหนัก และสามารถยึดทั้งสองเมืองดังกล่าวไว้ได้อย่างง่ายดาย จากนั้นจึงกระจายกําลังเข้ายึดครองจีนภาคเหนือเป็นการใหญ่

13 สิงหาคม ค.ศ. 1937 ยึดเซี่ยงไฮ้
หลังจากนั้น ทหารญี่ปุ่นขยายสงครามเข้าสู่จีนภาคตะวันตก  บุกเข้าโจมตีเมืองเศรษฐกิจที่สําคัญในภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะ นครช่างไห่ (เซียงไฮ้) ได้สร้างกระแสคุกคามรัฐบาล กว๋อหมินต่าง (ก๊กหมินตั๋ง) ที่ตั้งอยู่ที่ นครหนานจิง ที่ตั้งอยู่ห่างกันไม่ไกล ในสภาพเช่นนี้นี่เอง จอมพลเจี่ยงเจี้ยสือ ถูกบีบคั้นอย่างหนัก จําเป็นต้องหันมาสู้รบกับกองทัพญี่ปุ่น

สถานการณ์เข้าขั้นคับขัน กองทัพกว๋อหมินต่างได้เกณฑ์ทหารชาวจีนกว่า 700,000 คน ผสานไปยังกองกําลังของพรรคคอมมิวนิสต์จีน โดยมีจอมพลเจี่ยงเจี้ยสือมาบัญชาการรบในฐานะผู้บัญชาการทหารสูงสุด เพื่อต่อสู้กับกองทหารญี่ปุ่นผู้รุกราน การต่อสู้เป็นไปอย่างดุเดือดเลือดพล่านในทุกสมรภูมิ แต่แล้วกองกําลังของพรรคกว๋อหมินต่างก็มิอาจต้านทานแสนยานุภาพของทหารญี่ปุ่นได้

นครช่างไฮได้ถูกตีแตกในวันที่ 12 พฤศจิกายน หลังจากการต่อสู้อันยาวนานกว่า 3 เดือน ผลจากการศึกในครั้งนั้น ทหารญี่ปุ่นตายไปมากกว่า 40,000 คน ฝ่ายทหารจีนบาดเจ็บและล้มตายไปถึงกว่า 200,000 คน

เมื่อเมืองซ่างไห่ แตก คนจีนหลายหมื่นคนต่างอพยพหนีไปที่นครหนานจิง บางส่วนหนีไปฮ่องกง แต่ใครที่หนีไปนานจิง หากรู้ไม่ พวกเขากำลังหนีเสือปะจรเข้ อย่างแท้จริง

เพราะหลังจากที่ ซ่างไห่ ถูกยึด กองทัพทหารญี่ปุ่นก็มิรอช้า มุ่งหน้าไปที่ นครหนานจิง เพื่อหวังยึดต่อให้ได้ทันที โดยญี่ปุ่นได้ยกพล เคลื่อนผ่านเข้ายึดเมืองซูโจว  ในวันที่ 19 พฤศจิกายน, เมืองหวูซี ในวันที่ 27 พฤศจิกายน, เมืองฉางโจว ในวันที่ 29 พฤศจิกายน และเมืองเจิ้งเจียง ในวันที่ 9 ธันวาคม

ญี่ปุ่นบุกนานกิง
กองทัพญี่ปุ่นอาศัยที่ นครนานกิง ซึ่งยุคนั้นถือว่าเป็นเมืองหลวงของประเทศจีน  นานกิงนั้นถูกล้อมด้วยแม่น้ำ 2 ด้าน (แม่น้ำแยงซีเกียง โอบล้อม)  ทำให้ญี่ปุ่นอาศัยแม่น้ำเป็นกำแพงสกัดคนจีนที่หวังจะหนี กองทัพญี่ปุ่นจึงเดินทัพเข้าด้านหน้าเมือง แยกเป็น 3 ทัพ คือ กองหนึ่งมุ่งเข้าตะันตกทางใต้ หรือ ทางรถไฟสายเซี่ยงไฮ้-นานกิง  อีกกองมุ่งมาจากทางน้ำของเซี่ยงไฮ้เพื่อตีโอบนานกิง

เมื่อตอนญี่ปุ่น บุกไปทีเมืองซูโจว ในวันที่ 19 พฤศจิกายน นั้น กองทัพญี่ปุ่นฆ่าทุกคนในเมืองซูโจว จากพลเมืองจีน 3 แสนคน เหลือไม่ถึง 500 คน

20 พฤศจิกายน ค.ศ.1937 เริ่มปูพรมนานกิง 
ในระหว่างที่กองกําลังญี่ปุ่นทางบกกำลังเคลื่อนทัพมุ่งหน้าไปยังนานกิง แต่บนน่านฟ้า เครื่องบินของญี่ปุ่นก็ระดมทิ้งระเบิด โดยมีเป้าหมายที่จะทำลาย นครหนานจิง มีการประมาณว่า ในช่วงระหว่างเดือนสิงหาคมถึงพฤศจิกายน ก่อนที่ทหารทางบกของญีั่ปุ่นจะเดินทางมาถึง  ได้มีเครื่องบินมาทิ้งระเบิดที่หนานจิงถึงกว่า 650 เที่ยว ได้ทําลายชีวิต บ้านเรือน และทรัพย์สินไปอย่างราบคาบบ

ไม่ช้า รัฐบาลพรรคกว๋อหมิน ตัดสินใจย้ายเมืองหลวงจากนครหนานจิง ถอยร่นไปอยู่ที่เมืองฉงชิง (จุงกิ่ง) ทางตอนกลางของประเทศแทน ในวันที่ 20 พฤศจิกายน โดยได้ทิ้งทหารไว้รักษา เมืองหนานจิงเพียง 100,000 คน และแต่งตั้งให้แม่ทัพถึงเซิงจวื้อ เป็นผู้บัญชาการทหารรักษานครหนานจิง

10 ธันวาคม ค.ศ. 1937 ก๊กมินตั๋งยอมแพ้ 
กองทัพญี่ปุ่นทางบก ก็เคลื่อนพลมาถึงชาน เมืองหนานจิง แม่ทัพถังเซิงจวื้อได้ระดมพลออกไปต้าน ทว่าหลังจากที่สู้รบกันอยู่ได้ราวเพียง 3 วัน กองทัพกว๋อหมินต่างก็ต้องล่าถอยยอมแพ้ต่อกองทัพญี่ปุ่น ในเวลา 17.00 น. ของวันที่ 12 ธันวาคมนั้นเอง ตอนนั้น เมืองนานกิง ยังมีพลเมืองเกือบ 1 ล้านคน

13 ธันวาคม ค.ศ. 1937 นานกิงแตก 
13 ธันวาคม 1937 ถือเป็นวันแห่งประวัติศาสตร์ของทั้งสองชาติได้ถูกจดจารจารึกไว้  เมื่อกองทหารญี่ปุ่นได้เคลื่อนทัพเข้าสู่ประตูเมืองอันมั่นคงแข็งแกร่ง ที่สร้างมาแต่ครั้งสมัยราชวงศ์หมิงของนครหนานจิง ทั้ง 13 ประตู โดยเริ่มเข้าทางประตูจงฮวาเหมินเป็นแห่งแรก และนับจากนั้นไปอีก 6 สัปดาห์ กองทหารญี่ปุ่นก็ได้เริ่มปฏิบัติการเข่นฆ่าหมู่ต่อประชาชนชาวหนานจิงไปถึงกว่า 300,000 คน!!

จากภาพในหอนิทรรศการผสานกับฉากในภาพยนตร์ ทําให้เราเห็นภาพนี้ได้อย่างแจ่มชัดที่กองทหารญี่ปุ่นได้เคลื่อนทัพผ่านเข้ามายังประตูเมืองเหล่านี้ แล้วไล่ฆ่าผู้คนพร้อมจุดไฟเผาบ้านเรือนจนเมืองทั้งเมืองแทบร้างเต็มไปด้วยซากปรักหักพังและขี้เถ้ากองเพลิง

ในขณะที่เชงเสียนและเรโกะ ต้องอาศัยอยู่อย่างหลบ ๆ ซ่อน ๆ เพราะจะเปิดตัวอยู่ข้างชาวจีน ชาวจีนก็รับไม่ได้ จะอยู่ข้างญี่ปุ่น ญี่ปุ่นก็รับไม่ได้เช่นกัน เพราะความเป็นคนญี่ปุ่นของเรโกะ ทําให้คนจีนไม่ยอมรับ เพราะตอนนั้นคนจีนนั้นเลือดรักชาติกําลังร้อนแรง เมื่อประเทศชาติกําลังถูกญี่ปุ่นย่ำยีรุกราน หรือความเป็นคนจีนของเชงเสียน หัวหน้าครอบครัวก็ต้องประสบภัย เมื่อญี่ปุ่นเข้ายึดครองเมืองได้สําเร็จ และดําเนินการปราบปรามกวาดล้างชาวจีนให้สิ้นซาก

ภาพถ่ายของการเข่น ฆ่า สังหาร จนศพท่วมถมทับดุจกองภูเขาเลากา บางภาพก็ถ่ายให้เห็นศพที่ถูกนําไปกองทิ้งไว้เต็มเกลื่อนบนฝั่งแม่น้ำฉางเจียง (แยงซี) บางภาพก็แสดงถึงการทรมานเพื่อสังหารอย่างเลือดเย็น มองชีวิตเพื่อนมนุษย์ “อีกฝ่ายหนึ่ง” เป็นดั่ง ผักปลา จะกระทําย่ำยีบีฑาอย่างไรก็ได้ และภาพอื่นๆ อีกมากมายอันน่าประหวั่นพรั่นพรึงและสยดสยองในความรู้สึกเป็นยิ่งนัก

ภาพที่สะท้านใจผู้คนมากที่สุด ก็คือ ภาพของนายทหารญี่ปุ่นนักฆ่า 2 คน ที่ยืนอย่างมาดมั่นอหังการให้ช่างภาพของหนังสือพิมพ์โตเกียวเดลินิวส์ (Tokyo Daily News) ถ่ายภาพ หลังจากที่วันนั้น ทั้งสองคนเพิ่งสังหารหมู่ชาวจีนที่เชิงเขาจื่อจินซาน  ชานเมือง หนานจิง โดยบินสุเกะ มูไก (Binsuke Mukai) ได้สังหารไป 106 คน ส่วนของอิวา โนดะ (Iwa Noda) ได้สังหารชีวิตคนไป 105 คน และทั้งสองยังให้สัมภาษณ์อย่างเลือดเย็นอีกว่า การเข่นฆ่ายังจะคงดําเนินต่อไปจนกว่าจะถึงเป้าหมายที่ 150 ชีวิตต่อคนต่อวัน! โอ้พระเจ้า!!! นี่มันปีศาจชัดๆ

นอกจากนี้ ยังมีฉากที่นายทหารญี่ปุ่นสั่งฆ่ายิงกราดต่อทหารจีนที่ตกเป็น เชลยศึก รวดเดียวหลายพันคน เพียงเพราะต้องการแก้ปัญหาความลําบากที่จะหาข้าวให้ทหารเหล่านี้ได้กินกัน ที่น่าสลดหดหู่กว่านั้นก็คือ คนจีนที่รอดตายได้หนีกระเสือกกระสนไปหลบภัยอยู่ในเขตปลอดภัยที่หน่วยกาชาดสากลและองค์กรปกป้องสิทธิมนุษยชนจากนานาชาติ ที่ร่วมกันจัดตั้งขึ้นเป็นเขต ปลอดอาวุธ และปลอดทหาร บนเนื้อที่ประมาณ 3.8 ตารางกิโลเมตร แต่แออัดยัดเยียดไปด้วยผู้ประสบภัยถึงกว่า 250,000 คน แต่ถึงกระนั้นทหารญี่ปุ่นก็ยังไม่หนําใจ นํารถถังบุกเข้าทําลายเขตลี้ภัยสงครามนี้ โดยไม่ฟังเสียงตัวแทนจากนานาชาติที่เข้าขวางกั้น

พวกเขาเหล่านี้บุกเข้าไปก็เพียงเพื่อต้องการปล้น ฆ่า และฉุดคร่ากระทําชําเรา ไม่ว่าจะเป็นสาวแก่แม่ม่ายหรือแม้กระทั่งแต่เด็ก ๆ รวมถึงเชงเสียนและเรโกะ ก็ได้จบชีวิตลงอย่างน่าเศร้า ณ เขตภัยสงครามแห่งนี้ด้วยเช่นกัน เหตุการณ์ในครั้งนี้นี่เองที่ได้ถูกบันทึกไว้ และได้รับการขนานนามว่าเป็นความอัปยศครั้งหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ที่เรียกว่า “การกระทําชําเราแห่งหนานจิง” หรือ “The Rape of Nanking”

เลือดของประชาชนและทหารไหลนองไปทั่วลําน้ำหวงผู่ ย้อม แม่่น้ำ ฉางเจียง ที่ไหลผ่านกลางนครหนานจิง จนแดงฉาน ย้อมแผ่นดินจีนทิศภาคตะวันออกให้กลายเป็นสีเลือด ประวัติศาสตร์หน้านี้ได้ถูกบันทึกไว้ด้วยเลือดสด ๆ ของประชาชาติจีนที่โลกจะไม่มีวันลืมเลือน!!!

จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1944 ญี่ปุ่นได้เริ่มเพลี่ยงพล้ำในหลายสมรภูมิ เพราะการเปิดศึกหลายด้านและความอ่อนล้าของกองกําลังและหลังจากที่พันธมิตร อย่าง เยอรมนีได้ยอมแพ้ต่อฝ่ายสัมพันธมิตร อย่างไม่มีเงื่อนไขใน วันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 ถัดจากนั้นมาอีก 3 เดือน คือในวันที่ 6 และ 9 สิงหาคม สหรัฐอเมริกาก็ได้ทิ้งระเบิดปรมาณู 2 ลูกลงที่เมืองฮิโรชิมาและนางาซากิ

15 สิงหาคม ค.ศ. 1945 เวลา 12.00 น.
ญี่ปุ่น หลังจากถูกระเบิดนิวเคลียร์ทําลายล้าง 2 เมืองใหญ่ ไปได้ 6 วัน 15 สิงหาคม 1945 ผู้นําสูงสุดของญี่ปุ่นคือ จักรพรรดิฮิโรฮิโตะ จึงได้ประกาศยอมแพ้สงครามต่อฝ่ายสัมพันธมิตร ประเทศในเอเชียบูรพาทั้งหลายต่างโห่ร้องไชโยกันไปทั่วโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับชาวจีนทั้งประเทศ

เติ้งจวอหลิน ภรรยาของเติ้งเสี่ยวผิงได้เคยเล่าให้ เหมาเหมา บุตรสาวฟังถึงความปีติลิงโลดใจของกองทหารพรรคคอมมิวนิวต์จีนที่ตั้งกองบัญชาการอยู่ที่เมืองหยานอาน ทางตอนเหนือของมณฑลส่านซี ต่อเหตุการณ์ในครั้งนั้นไว้ตอนหนึ่งว่า

“…ทันทีที่คน ทยานอาน ได้ยินข่าวชัยชนะ ทั่วทั้งภูเขาต่างกู่ร้องเสียงไชโย  ผู้คนหัวเราะ กระโดดโลดเต้น ตีฆ้องกลอง จุดประทัด คนไหนหาประทัดจุดไม่ได้ ก็อุตส่าห์ฉีกเสื้อผ้าหรือฉีกสําลีออกมาจากผ้าห่มเอามาจุดไฟ เพื่อแสดงความยินดีปรีดา

ทั่วทั้งหยานอาน ทั่วทั้งประเทศจีน พริบตาเดียวกลายเป็นมหาสมุทรแห่งความเริงร่า…”

สงครามต่อต้านจักรวรรดินิยมญี่ปุ่นผู้รุกราน ในช่วง 8 ปีอันขมขื่นที่สุดในหน้าประวัติศาสตร์ของความสัมพันธ์ของ 2 ประเทศ ได้จบลงด้วยชีวิตของทหารจีนกว่า 4 ล้านคน และประชาชนจีนบาดเจ็บล้มตายลงอีกกว่า 18 ล้านคน โดยเฉพาะการสังหารหมู่ที่หนานจิงนี้ ถือเป็นตัวแทนแห่งความโหดร้ายและอัปยศที่สุดของ มหาสงครามโลกครั้งที่ 2

มีซากศพที่ถูกขุดค้นพบโดยองค์กรสาธารณกุศลต่าง ๆ นับรวมได้ถึงกว่า 185,000 ศพ ยังไม่รวมถึงอีก กว่า 100,000 ร่างที่ถูกเผาและสูญหายไป เมื่อรวมแล้วจึงคะเนผู้เสียชีวิตได้ราว 300,000 คน จะเป็นรองก็เพียงเฉพาะการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวกว่า 6 ล้านชีวิตของนาซีเยอรมันเท่านั้น

ผู้บัญชาการทหารของญี่ปุ่นที่สั่งการสังหารหมู่แห่ง หนานจิงใน 6 สัปดาห์นั้น คือ โคโซอูฟู (Kosoufu) ในวัย 66 ปี ได้ถูกตัดสินคดีโดยคณะตุลาการจาก 11 ชาติ ในเดือนมีนาคม ปี ค.ศ. 1947 ให้ประหารชีวิตโดยการยิงเป้าที่ประตู จงฮวาเหมิน ประตูเมืองแห่งแรกที่เขาได้เคลื่อนพลทั้งกองทัพเข้าเหยียบย่ำ เมืองหนานจิงแห่งนี้ ให้ตกตายไปรับใช้กรรมร่วมกับอาชญากรสงคราม ผู้มีส่วนร่วมในการสังหารหมู่อีก 28 คน ที่ได้ถูกตัดสินให้ประหารชีวิตไปก่อนหน้านี้แล้ว

ผู้กระทําความผิดได้ถูกชดใช้กรรมไปแล้ว แต่เหยื่อผู้บริสุทธิที่ถูกกระทํา และยังมีลมหายใจอีกจํานวนมาก ใครล่ะที่จะชดใช้ความรู้สึกอันเจ็บปวดอย่างทุกข์ทร ทรมานที่พวกเขาได้รับอยู่ บาดแผลทางกายนั้นรักษาได้ไม่ยาก..แต่บาดแผลทางใจนี้สิ จะรักษาได้ฉันใด?


วีรสตรีแห่งนานกิง


ทหารอาสาหญิงชาวจีน อายุ 24 ปี ชื่อ เฉิงเปิ่นฮัว  จากมณฑลอานฮุย  สามีและตัวเธอ เข้าร่วมกับกองกำลังต่อต้านกองทัพญี่ปุ่น โดยอยู่ กองทัพลูกเสือ 1194  เพื่อปกป้องบ้านเกิด  แต่สามีเธอถูกจับและถูกสังหารไปก่อน  ถัดมาเธอก็ถูกทหารญี่ปุ่นจับได้ระหว่างถูกปิดล้อมและตกเป็นเชลยศึกของทหารญี่ปุ่น 

ทหารญี่ปุ่นจึงข่มขืนเธอ และไม่นานหลังจากนั้น ความตายกำลังมาเยือน ช่างภาพญี่ปุ่นต่องการถ่ายรูปเธอไว้ เฉิงเปิ่นฮัว ยืนกอดอกพร้อมกับยิ้มแล้วมองไปที่กล้องถ่ายรูป  (รูป 1-2 การแต่งกายของเธอ เป็นชุดลูกเสืออาสาสมัคร) 

ไม่นานถัดมา เธอก็ถูกประหารชีวิต ด้วยการให้ทหารญี่ปุ่นใช้ดาบปลายปืนกระหน่ำแทง เสียบร่างจนสิ้นใจ  ภาพนี้ถือเป็นภาพที่โด่งดังไปทั่วโลก

2 ภาพหลังเป็นภาพที่ได้รับการเปิดเผยเมื่อไม่นานมานี้ จากการค้นหาภาพจากช่างภาพญี่ปุ่น (ถือเป็นภาพหาดูยากมากๆ) ทหารญี่ปุ่นที่รอดมาได้เล่าเหตุการณ์นั้นว่า  เธอเป็นคนที่สวยมาก และกองทัพญี่ปุ่นพยายามเค้นความลับจากเธอ แต่เธอกับหัวเราะและทำท่าทาง ดูถูกทหารญี่ปุ่น และไม่ตอบคำถามใดๆ ทำให้ทหารญี่ปุ่นมองว่า เธอไร้คุณค่า และสั่งประหารเธอ