วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2563

จีน(1919) - ขบวนการ 4 พฤษภา เหล่านักศึกษาชาตินิยม ที่ถูกแปลงไป ปฎิวัติวัฒนธรรม

4 พฤษภาคม 1919  มักอ้างอิงถึงช่วงเวลาในระหว่างปี ค.ศ 1915 - ค.ศ. 1921 โดยมากมักถูกบิดเบือนว่าว่าเป็น "ขบวนการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมใหม่"  แต่ความเป็นจริง มันคือ  "ขบวนการประท้วง ผลของสนธิสัญญาหลังสงครามโลกครั้งที่ 1" เพราะรัฐบาลจีน ยอมโอนอ่อนผ่อนตามประเทศมหาอำนาจ  เนื่องจากจีนอยู่ฝ่ายที่ชนะสงคราม เยอรมันอยู่ฝ่ายที่แพ้สงคราม แต่การประชุมสันติภาพที่แวร์ซาร์ส นั้น กลับจะให้โอนเขตเช่าของเยอรมัน คือ  เขตมลฑลซานตง ไปให้กับญี่ปุ่น แทน ทำให้มีนักศึกษาประมาณ 3000 คนออกมาประท้วง และต้องการให้ซานตงนั้น กลับคืนสู่จีน จนขยายวงกว้าง เป็น ขบวนการ 4 พฤษภาคม (五四运动)  และวันนั้นเอง ถือเป็นอีกจุดเปลี่ยนสำคัญของประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่

ที่มา
หลังเหตุการณ์ ปฎิวัติซินไฮ่ ในปี 1911 ราชวงศ์ชิงต้องล่มสลาย ถึงจะนำมาสู่ทฤษฎีการปกครองแบบใหม่ แต่มันกลับนำมาซึ่งยุคขุนศึกแทน  และอำนาจทางเมืองถูกแบ่งแยกออกเป็นกลุ่มผู้มีอิทธิพล มากกว่า ผลประโยชน์ของชาติ รัฐบาลกลาง หรือ รัฐบาลเป่ยหยาง ก็ไร้ประสิทธิภาพ จนเป็นยุคขุนศึก

สงครามโลกครั้งที่ 1
วันที่ 28 กรกฎาคม 1914 ก็เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 แต่สงครามครั้งนั้น เหตุการณ์การรบนั้นส่วนใหญ่จะอยู่ฟากทวีปยุโรปเป็นหลัก  จีนนั้นไม่ได้มีส่วนร่วมใดๆ เท่าใดนัก แต่ญี่ปุ่นนั้นกลับตัดสินใจเข้าร่วมกับสัมพันธมิตร โดยช่วงเวลา 70 วันนับตั้งแต่ วันที่ 23 สิงหาคม 1914  ญี่ปุ่นอาศัยจังหวะนี้เอง ขยายอำนาจในจีน โดยอ้างว่าต้องการญี่ปุ่นต้องการโจมตีกองทัพเยอรมันในจีน นั้นคือ พื้นที่ในเขตมณฑลซานตง หรือเขตปกครองของจักรวรรดิเยอรมัน ด้วย

ปีถัดมาคือปี ค.ศ. 1915 หยวนซื่อไข่ ในนามรัฐบาลเปยหยาง ก็ลงนามข้อตลงฉาวโฉ่  "ความต้องการ 21 ข้อ" ที่ทำไว้กับญี่ปุ่น เพื่อให้ญี่ปุ่นมีอำนาจเหนือเขต แมนจูเรีย เดิมข้อตกลงนี้ถูกปิดเป็นความลับ ก่อนที่สื่อมวลชนของญี่ปุ่นจะเผยแพร่ในประเทศญี่ปุ่น ทำให้ชาวจีนรับรู้ถึงเรื่องนี้ทีหลัง  ประชาชนจีนต่างเห็นตรงกันว่า นี่คือ "การขายชาติ" ของหยวนซื่อไข่ ครั้งนี้เอง เป็นการกระตุ้นกระแสชาตินิยมขึ้นครั้งแรกในหมู่ปัญญาชน เป็น เหตุการณ์อัปยศของชาวจีน

ต่อมาในวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1917 จีนก็เข้าร่วมกับกลุ่มประเทศสัมพันธมิตร  ญี่ปุ่นต้องการความร่วมมือกับประเทศจีน จึงชักจูง ต้วนฉี่รุ่ย (นายกรัฐมนตรีของจีนในตอนนั้น) โดยให้เงินกู้กับรัฐบาลจีน 145 ล้านเยน แบบลับๆ เรียกว่า สัญญาเงินกู้ Nishihara Loans เพื่อใช้พัฒนากองทัพ และชักชวนให้จีนเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร จีนจึงส่งทหารเข้าร่วมในสงคราม 140,000 คน โดยส่งไปเป็นแนวหน้าที่ฝรั่งเศส

นอกจากนี้ ระหว่างสงคราม มีจดหมายลับแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ระหว่าง จีน กับญี่ปุ่นอีกหลายอย่าง โดยเฉพาะการกู้เงินแต่ละครั้งที่มีการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์หลายอย่างระหว่างจีนกับญี่ปุ่นอีกด้วย

สงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลงในวันที่ 11 พฤศจิกายน 1918 โดยเยอรมันเป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงคราม  ฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นผู้ชนะสงครามได้จัดการประชุมสันติภาพขึ้นที่กรุงปารีส  โดยเริ่มต้นในวันที่ 18 มกราคม 1919 โดยมีตัวแทนจากหลายประเทศเข้าร่วมด้วย โดยวัตถุประสงค์หนึ่งในการประชุมสันติภาพ คือ การนำเอาดินแดนที่ยึดมาได้ นำมาเป็นของรางวัลแด่ประเทศผู้ชนะ นั่นเอง 

จีนนั้นส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุมด้วย โดยเริ่มต้น ทางจีนขอเสนออ  ยกเลิกสิทธิพิเศษต่างๆ ของต่างชาติทั้งหมดในจีน และขอให้เขตซานตง ภายใต้การดูแลของเยอรมันกลับมาอยู่ภายใต้การดูแลของจีน ที่สำคัญคือ จีน ยื่นข้อเสนอขอยกเลิกข้อตกลงแลกเปลี่ยน ลับๆ ระหว่างจีนกับญี่ปุ่นต่างๆ ช่วงสงครามโลก รวมถึง ข้อตกลง 21 ข้อ ที่ทำไว้กับญี่ปุ่นในยุค แมนจูเรียเดิม

แต่ที่ประชุม กลับตกลง ที่จะไม่แก้ไขสิทธ์ต่างๆ ของต่างชาติในจีน แถมยัง มอบสิทธิพิเศษของเยอรมันไปให้กับประเทศญี่ปุ่นแทนอีกด้วย

ทางจีนอ้างว่า หลังจากที่จีนเข้าร่วมสงครามในปี 1917 และได้ประกาศสงครามกับเยอรมันนั้นทำให้สัญญาและสิทธิต่างๆของเยอรมันในจีนนั้นสิ้นสุดไป โดยช่วงเวลานั้น จีนพยายามถ่วงเวลา และเจรจาการลงนามรับรองสนธิสัญญาแวร์ซาร์สอย่างหนัก แต่ก็ไร้ผล ในที่สุด วันที่ 28 มิถุนายน 1919 หลายประเทศก็ลงนามในสนธิสัญญาฉบับดังกล่าว โดยที่จีนไม่ได้ลงนาม ขณะที่จีนต้องไปเซ็นสัญญาสันติภาพฉบับแยกต่างหากับ เยอรมัน ในปี ค.ศ. 1921 แทน 

ประเทศจีน ตอนนั้นถือว่า กลายเป็นประเทศที่อัปยศ อดสู มาก เพราะตลอดระยะเวลา 80 ปีก่อนหน้านี้ จีนเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในสงครามมาตลอด  แต่ครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกที่จีนอยู่ฝ่ายชนะ แต่ประเทศจีนกลับต้องปฎิบัติตัวเสมือนเป็นผู้พ่ายแพ้สงครามอยู่ดี เพราะนอกจาก ประเทศจีน ที่อุตสาห์ส่งทหารไปรบที่แนวหน้านับแสนคน แต่สัญญาที่ทำไว้กับมหาอำนาจนั้นกลับไม่ได้รับการแก้ไขใดๆ เลย แถมยังต้องยกที่ดินเยอรมันไปให้ญี่ปุ่นอีกด้วย

การชุมนุม
ย้อนกลับมา ระหว่างประชุมสันติภาพที่ปารีสนั้น  วันที่ 1 พฤษภาคม 1919 นักศึกษาต่างทราบข่าวว่า ประเทศมหาอำนาจต่างปฎิเสธคำขอของประเทศจีนโดยเฉพาะ การยกมณฑลซานตง พร้อมสัมปทานรถไฟของเยอรมันให้กับ ประเทศญี่ปุ่นแทน ทำให้เหล่านักศึกษา รวมตัวกันภายในมหาวิทยาลัยตนเอง 

วันที่ 2 พฤษภาคม 1919 หนังสือพิมพ์ที่ได้สัมภาษณ์ ฑูตจีน ที่ยืนยันข่าวดังกล่าวต่างพาดหัวว่า  ซานตงตายแล้ว หรือ รถไฟตายแล้ว  แต่ฑูตจีนยืนยันว่า สนธิสัญญาต้องได้รับการลงนามจาก 5 ประเทศมหาอำนาจก่อน ยังอยู่ระหว่างเจรจา

วันที่ 4 พฤษภาคม 1919 เหล่านักศึกษามหาวิทยาลัย 13 แห่งรวมตัวกันประมาณ 3000 คน เริ่มต้นที่ปักกิ่ง พวกเขามุ่งหน้าเดินไปที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน เพิ่อต่อต้านมติการประชุมสันติภาพปารีส ด้วยสโลแกนว่า ทวงแผ่นดินคืนจากต่างชาติ กำจัดโจรขายชาติในประเทศ  , จะแย่งชิงแผ่นดินจีนไปก็ได้ แต่จะให้ญี่ปุ่นเฉยๆ คงไม่ได้ ,  คนจีนฆ่าได้ แต่จะไม่ก้มหัวให้เด็ดขาด , ประเทศตายแล้ว คนจีนต้องลุกขึ้น ,  นอกจากนี้ พวกเขายังยื่นข้อเสนอ ให้ยกเลิก ข้อเรียกร้อง 21 ข้อ ที่มีกับญี่ปุ่นก่อนหน้านี้อีกด้วย และใม่ให้ฑูตจีนลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซายส์อีกด้วย

พวกเขายังต้องการสร้างชาติที่เข้มแข็ง พวกเขาเห็นว่า การที่สังคมจีนยึดติดกับ ปรัชญาของขงจื้อ ที่มีอายุมากกว่า 2000 ปี เป็นเหตุให้ประเทศอ่อนแอ พวกเขาต้องการละทิ้งแนวคิดเดิมๆ รับแนวคิดแบบตะวันตกแบบ  “นายวิทยาศาสตร์” (賽先生) กับ “นายประชาธิปไตย” (德先生) จึงแพร่กระจายในหมู่ปัญญาชนชาวจีน

การชุมนุนขยายตัวอย่างรวดเร็ว และนำไปสู่การใช้ความรุนแรง นักศึกษาคนหนึ่งบุกไปเผาบ้าน เจ้าหน้าที่ ขนส่ง  ขณะที่ฑูตจีนประจำญี่ปุ่นอยู่ในบ้านหลังดังกล่าวด้วย เพราะทั้งคู่ถูกมองว่า เป็นพวกขายชาติ ใช้อำนาจช่วยเหลือเข้าข้างญี่ปุ่น

หลายสัปดาห์ต่อมา การชุมนุมขยายไปทั่วประเทศ เดือนมิถุนายน กรรมกรในเซี่ยงไฮ้ นัดหยุดงานเพื่อสนับสนุนขบวนการนักศึกษา และขยายไปยังกลุ่มธุรกิจอื่นๆ วันที่ 24 มิถุนายน ชาวจีนและนักศึกษาในฝรั่งเศสก็ปิดล้อมบ้านพักของคณะผู้แทนจีน เรียกร้องให้ปฎิเสธการลงนามในสนธิสัญญาดังกล่าว หนึ่งในนั้นคือ เจิ้งหยู่ซิ่ว สุภาพสตรีนักฆ่า ที่ผมทำคลิปไปแล้วนะครับ

ด้วยแรงกดดันอย่างรุนแรงจากประชาชนจีน รัฐบาลจีนจึงตัดสินใจปล่อยตัวนักศึกษาที่ถูกควบคุมตัว พร้อมปลดเจ้าหน้าที่ที่นิยมญี่ปุ่น 3 นายออกจากตำแหน่ง และตัวแทนของจีนในที่ประชุมสันติภาพก็ตัดสินใจปฏิเสธที่จะลงนามในสนธิสัญญาไป

เหตุการณ์ต่อเนื่อง
ช่วงปี 1966-1976 ทศวรรษแห่ง การปฎิวัติวัฒนธรรม นั้น เหมาเจ๋อตุง ก็นำแนวคิดนี้มาบิดเบือนจากขบวนการนักศึกษา และปัญญาชน ที่รักชาติ   มาใช้ในการโฆษณาชวนเชื่อ เรื่อง  "การปฎิวัติวัฒนธรรม" แทน  โดยใช้กระแสเหล่าปัญญาชน ชาตินิยม และต่อต้านระบบศักดินาแบบเก่าของลัทธิขงจื้อ เพื่อเข้าข้างแนวคิดแบบคอมมิวนิสต์ ที่ไม่มีการแบ่งชนชั้น แทนที่แนวคิดเดิมจะเป็นแนวคิดแบบ วิทยาศาสตร์และประชาธิปไตยแทน 

ดังนั้น วันที่ 4 พฤษภาคม 1989 เหล่านักศึกษาชาวจีน จึงออกมาเรียกร้องจิตวิญญาณแห่งปัญญาชน แบบดั้งเดิมอีกครั้ง  โดยออกมา "เรียกร้องประชาธิปไตย" เหมือน ขบวนการ 4 พฤษภา ดั้งเดิม จนเกิดเหตุปราบปรามนักศึกษา ที่ เทียมอันเหมิน อันโด่งดัง