วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2563

จีน (1735) - หลี่ซื่อเหนียง กระบี่บู๊ตึ้งสาว กับปริศนาของฮ่องเต้ ย่งเจิ้ง

ปูพื้นเรื่องหย่งเจิ้ง
ฮ่องเต้ ย่งเจิ้ง  雍正 หรือ องค์ชาย 4 โอรสของฮ่องเต้ คังซี  คลิปก่อน เราเล่าเรื่องที่ ฮ่องเต้ย่งเจิ้ง  เผาวัดเส้าหลินไปแล้ว  เหตุผลหลักๆ เลยคือ ฮ่องเต้ หย่งเจิ้ง นั้นเป็นคนขี้ระแวงมาก และเป็นคนที่กลัวกบฎเป็นที่สุด โดย ฮ่องเต้ย่งเจิ้ง นั้นมีการก่อตั้งหน่วยสืบราชการลับขึ้นตรงต่อฮ่องเต้ และจะส่งสายลับไปทั่วเพื่อให้คอยรายงานฮ่องเต้โดยตรง โดยเน้นไปที่การรายงานการก่อกบฎ และใช้ตรวจสอบทุจริต โดยเฉพาะเหล่าขุนนางขั้นผู้ใหญ่ที่คอยยักยอกภาษี ที่ต้องส่งเข้าสู่ส่วนกลาง แต่ความลับที่แท้จริงคือ ใช้ปราบพวกกบฎแม้แต่พี่น้องที่คิดจะก่อกบฎก็ตาม

นิยายที่โหดร้าย
ฮ่องเต้ ย่งเจิ้ง ในนิยายนั้น มักจะวาดภาพให้เขาเป็นคนโหดร้ายโดยเฉพาะละครซีรียส์เรื่อง ศึกสายเลือกที่  องค์ชายสี่ คนนี้ได้ฉายาว่า จักรพรรดิบังลังก์เลือด เพราะ ไม่ว่าจะเรื่อง ฆ่าฮ่องเต้คังซี ผู้เป็นบิดา วางยาพิษพี่ชาย ฆ่าน้อง และ ปลอมราชโองการจากองค์ชาย 14 ให้กลายมาเป็นองค์ชาย 4   ขณะเดียกัน ยังสั่งประหาร ขุนศึกที่ช่วยอุ้มชูขึ้นสู่บังลังก์อีกด้วย คือ เหนียนเกิงเหย้า ที่น้องสาวของเหยียนเกิงเหยายังเป็นนางสนมของหย่งเจิ้งอีกด้วย  ขณะที่เมื่อขึ้นเป็นฮ่งเต้ ก็ยังกดดันให้พี่น้องฆ่าตัวตายอีกด้วย

แต่ ความเป็นจริงแล้ว เราจะดูไปทีละข้อดังนี้  
สิ่งแรกคือ ฮ่องเต้คังซี นั้น นักประวัติศาสตร์ เชื่อว่า ฮ่องเต้ คังซีสรรคต  เพราะแก่ชรามากแล้ว มากกว่า เพราะตอนนั้น ฮ่องเต้ คังซี เองก็อายุถึง 68 ปีแล้ว  ขณะที่เรื่องการปลอมราชโองการ นั้นไม่สามารถทำได้ง่าย ๆ แน่ เพราะราชโองการนั้นมี 2 ฉบับคือ ภาษาจีน และภาษาแมนจู ซึ่งภาษาจีนนั้นอาจเป็นไปได้ แต่ภาษาแมนจู นั้นยากที่จะปลอมแปลงได้ 

เรื่องการชิงบังลังก์ ก็อธิบายดังนี้ ขณะที่ก่อนหน้านี้ องค์ชายใหญ่ และองค์ชาย 2 โดนข้อหาทำกุลไสย ทำให้โดนปลดยศลงไปก่อนแล้ว ขณะที่องค์ชาย 3 4 5 ก็เป็นอ๋อง ระดับ หมวกเหล็ก  โดยฮ่องเต้คังซี เองก็ ได้ลดบทบาทองค์ชายคนอื่นไปก่อนหน้าแล้ว โดยเฉพาะองค์ชาย 8  9 และ 10 ที่ถูกกักบริเวณ ขณะที่องค์ชาย 13 ถูกคุมขังอยู่แล้ว

ส่วนการไล่ฆ่า พี่น้อง นั้น ส่วนใหญ่แล้ว จะเป็นเรื่อง ที่ฮ่องเต้ย่งเจิ้งนั้น จับได้ว่า มีการทุจริต คอรัปชั่น หรือ ก่อกบฎ เนื่องจากเหล่าพี่น้องต่างก็เป็นระดับอ๋อง ที่คอยเก็บภาษีมาส่งส่วนกลางทั้งสิ้น แต่เงินภาษีกลับไม่เข้าส่วนกลาง ทำให้ ฮ่องเต้ย่งเจิ้งนั้น ต้องลงโทษถึงขั้นประหารชีวิต หรือ บีบบังคับให้ฆ่าตัวตาย

อีกเรื่องคือ การประหารแม่ทัพ นั่นคือ เหนียนเกิงเหย้า นั้น เป็นแม่ทัพที่ใช้เงินสุรุ่ยสุร่าย ฮ่องเต้ ย่งเจิ้นนั้น เป็นคนที่เน้นเรื่องการคลังมาก โดยตอนแรกได้ส่งคนไปตักเตือนและ ควบคุม เท่านั้น  แต่คนที่ส่งไปกลับโดนฆ่าตาย ทำให้ฮอ่งเต้ย่งเจิ้น นั้นตัดสินใจ ลดยศของเหนียนเกินเหย้า ลง  แต่เหนียนเกินเหย้า ก็ยังคงยโสโอหัง และเชื่อว่า ตนคือผู้อุ้มชูฮ่องเต้ และน้องสาวยังเป็นพระสนมของหย่งเจิ้งฮ่องเต้อีกด้วย  จนในที่สุดก็ ฮ่องเต้หย่งเจิ้ง ก็พระราชทานยาพิษให้ดื่ม

ทำงานหนัก
ข้อดี ของ ฮ่องเต้ ย่งเจิ้ง คือ การลดงบประมาณด้านทหารลงอย่างหนั และหันไปเน้นการเจรจากับประเทศที่เป็นศัตรูแทน ซึ่งทำให้ท้องพระคลังยุคนั้น ถือเป็นยุคที่มีเงินมากที่สุด โดยปกติ ย่งเจิ้ง ก่อนขึ้นเป็นฮ่องเต้ จะอยู่ที่ ราชวังหยวนหมิงหยวน 圆明园  คือ วังเดียวกับที่ต่อมา ถูกพันธมิตรต่างชาติ เผาทำลายไปนั่นเอง แม้ว่า หย่งเจิ้งจะเป็นคนที่เข้มงวดเรื่องภาษี แต่แกเน้นประสิทธิภาพอย่างมาก ดูได้จากหย่งเจิ้งนั้น ประกาศลดภาษีส่วนบุคคลลง เหลือเพียงภาษีที่ดินเท่านั้น ทำให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นด้วย

โดยข้อที่เด่นที่สุด ของ ฮ่องเต้ หย่งเจิ้ง คือ เป็นฮ่องเต้ที่ทำงานหนัก โดยฮ่องเต้หย่งเจิ้งนั้น เริ่มต้นทำงานทุกวันในเวลา ตีห้า  โดยฮ่องเต้หย่งเจิ้งนั้น จะหยุดทำงานแค่ วันเกิดตัวเองเท่านั้น แต่แล้วอยู่ดีๆ วันที่ 23 สิงหาคม ปี ค.ศ. 1735 ฮ่องเต้ ย่งเจิ้ง ก็เสด็จสวรรคต ด้วยวัยเพียง 56 ปี  แม้ในบันทึกจะระบุว่า ป่วยหนัก ก็ตาม แต่ก็มีข่าวลือว่า  ฮ่องเต้ย่งเจิ้งถูกลอบปลงพระชนม์ และถูกตัดหัว โดยคาดว่า ฆาตกรน่าจะเป็น จอมยุทธ์หญิง หลี่ื่ซื่อเหนี่ยง (吕四娘)

หลี่ซื่อเหนียง 
ประวัติของหลี่ซื่อเหนียงนั้นมีไม่มากนัก โดยเริ่มจาก ปู่ของเธอคือ หลี่ หลิวเหลียง 吕留良 เป็นปัญญาชนชาวฮั่น ที่เขียนหนังสือ และเปิดโรงพิมพ์เพื่อพิมพ์เอกสารต่อต้านราชงศ์ชิง โดยเฉพาะ งานวิจารณ์ การแบ่งชนชั้นชาวจีน กับ ชนเผ่าต่างๆ ในราชวงศ์ชิง โดยยุคนั้น คือ ชาวแมนจู ชาวนอกเมือง ชาวฮั่นเหนือ และสุดท้ายคือชาวฮั่นใต้ 

แน่นอนว่า เนื้อหาที่แท้จริง  คือการปลุกระดม ต่อต้านชิง กู้หมิง นั่นเอง และสิ่งนี้เองที่หมิ่นเหม่ต่อการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ   โดยหลี่ หลิวเหลียง นั้นมีลูก 7 คน คนโตคือ หลี่เป่าจง ที่ฉลาดขนาดสอบได้ตำแหน่ง ปั้งงัง หรือ บัณฑิตหน้าพระที่นั่งอันดับสอง เป็นรองเพียงตำแหน่ง จอหงวน เท่านั้น ทำให้ หลี่เป่าจง ต้องทำงานที่เมืองหลวง

เมื่อฮ่องเต้ย่งเจิ่ง ได้อ่านบทความของ หลี่ หลิว เหนียง  ก็โกรธจัด และออกเอกสาร 'ต้าอี้เจี๋ยมี๋ลู่' ขึ้นมาเพื่อโต้แย้งทฤษฎีการแบ่งชนชั้น และสั่งให้เผยแพร่ไปให้ทั่วประเทศ  นอกจากนี้ เพื่อเป็นการเชือดไก่ให้ลิงดู หย่งเจิ้ง ก็ให้ขุดศพหลี่หลิวเหลียงที่ตายไปนานแล้วขึ้นมาสับเป็นชิ้นๆ  รวมถึง สั่งประหารคนในครอบครัวอีกด้วย

นั่นคือ โทษประหารทั้งตระกูลนั่นเอง ส่งผลให้หลี่เป่าจง ลูกชายนั้นแม้ว่าจะรับราชการก็โดนโทษประหารไปด้วย แต่ข่าวสารยุคนั้น กว่าไปถึงภรรยา ก็ล่าช้าเกินไป  เพราะขณะนั้น ภรรยาของ หลี่เป่าจง ได้พาลูกสาว คือ หลี่ซื่อเหนียง เข้ามาที่ เมืองหลวง เพื่อมาเยี่ยม หลี่เป่าจง แต่หลี่เป่าจง กลับถูกประหารชีวิตไปแล้ว

แต่โชคดี ทั้งคู่ได้มาพบกับ ลูกน้องเก่าของ หลี่เป่าจง ก่อน จึงได้เล่าเหตุการณ์ต่างๆ ให้ฟังว่า ฮ่องเต้ย่งเจิ้ง  นั้น ตอบโต้ บทวิจารณ์ของ หลี่หลิวเหลียง แถมยังสั่งให้ขุดศพขึ้นมา เฆี่ยนให้ชาวบ้านดู นอกจากนี้ เหล่าศิษย์ หรือ ใครที่ยังครอบครอง สิ่งพิมพ์ของหลี่หลิวเหลียง ก็จะต้องโทษประหาร อีกด้วย

จากนั้น ลูกน้องเก่าจึงรีบพาแม่ลูกคู่นี้ไปหา หงตู้ ฉายา ปัญญาชนเร้นกาย ที่เป็นอดีตแม่ทัพสมัยฮ่องเต้คังซี แต่ลาออกมาใช้ชีวิตอย่างสงบ  เพื่อให้ช่วยดูแล แม่ลูกคู่นี้  แต่ หงตู้ นั้นต้องฝึกวิชายุทธ์ทุกเช้า หลี่์่ซื่อเหนียง จึงแอบฝึกตาม เมื่อ หงตู้ รู้ จึงรับ หลี่์ซื่อเหนียง เป็นศิษย์  โดยหงตู้ได้พา ไปพบกับแม่ชี อู้อิน อดีตองค์หญิงฉงเจิน ธิดาของฮ่องเต้ราชงศ์หมิง ที่นี่เอง หลี่์ซื่อเหนียง ยังได้ ฝึกวิชากระบี่บู๊ตึ้ง และวิชาตัวเบา

โดยตำนานเล่าว่า เธอลอบเข้าไปในวัง จับนางสนม ชื่อ ฮุ่ยเชี่ยน แล้วใช้ผ้าคลุมตัวไว้ ปลอมตัวเป็นฮุ่ยเชี่ยน เพื่อเข้าไปพบฮ่องเต้ย่งเจิ้น  เมื่อสบโอกาสก็ชักกระบี่ตัดหัว ฮ่องเต้ย่งเจิ้ง แล้วลอบเอาหัวของฮ่องเต้ย่งเจิ้งออกมานอกวัง  โดยมีข่าวลือว่า ในพิธีฝังพระศพนั้น ฮ่องเต้ย่งเจิ้ง ต้องใช้ศีรษะทองคำแทนหัวที่หายไปอีกด้วย

มาถึงตรงนี้ ฟังดูแล้ว เหมือนนิยายกำลังภายใน แต่ในทางประวัติศาสตร์ กลับมีหลักฐานยืนยันตัวตนของ หลี่ซื่อเหนียง อีกด้วย นั่นคือ บันทึกทำเนียบศิษย์บู๊ตึ้ง สายตัน ที่มีชื่อ หลีซื่อเหนียง อยู่จริงๆ  นั่นคือ เธอมีตัวตนจริง และเป็นศิษย์บู๊ตึ้งจริงๆ 

แต่หากมานับอายุกันแล้ว ในปีที่ฮ่องเต้ย่งเจิ้งสวรรคต นั้นคือ ปี ค.ศ. 1735 นั้น หลี่ซื่อเหนียง เอง กลับมีอายุเพียงแค่  13 ปีเท่านั้น ดังนั้นไม่น่าเป็นไปได้ที่ เด็กหญิงอายุ 13 ขวบ จะลอบเข้าวังไปฆ่าฮ่องเต้ได้ ดังนั้นเรามาดูเรื่องที่นักประวัติศาสตร์คาดคะเนเรื่องจริงกัน

ปริศนาการสรรคตของ หย่งเจิ้ง 

ฮ่องเต้ ย่งเจิ้ง นั้นเป็นคนที่ทรงงานหนัก ทำให้ร่างกายอ่อนแอ แต่แล้ว ได้รู้จักกับนักพรต เจี่ยซื่อฟาง 贾士芳  เมื่อได้ยาจากนักพรต อาการป่วยก็หายป่วยทันที  นับแต่นั้นมา ฮ่องเต้ย่งเจิ้ง ก็ได้รับยาปรุงจากนักพรต มาเสวย ทุกวัน นักประวัติศาสตร์ค้นพบหลักฐานชัดเจนว่า ทางวังมีการสั่ง สารเคมีเข้ามาปรุงยาจำนวนมาก  รวมไปถึง สารตะกั่วดำ นอกจากนี้ อีกหลักฐานหนึ่งก็คือ ในคืนวันที่ฮ่องเต้หยงเจิ้ง จะสวรรคต นั้นก็มีหลักฐานว่า คืนนั้นเองได้มีการลงนามแต่งตั้ง องค์ชาย หงลี่ ขึ้นเป็นองค์รัชทายาท ที่ต่อมาก็คือ ฮ่องเต้ เฉียนหลง นั่นเอง โดยหลังจาก ฮ่องเต้เฉียนหลงขึ้นนั่งบังลังค์แล้ว ก็ทรงไล่เหล่านักพรตออกจากวังทั้งหมด

นั่นคือ ตำนาน หลี่ซื่อเหนียง นั้น ตัวหลี่ซื่อเหนียงน่าจะมีตัวตนจริง แต่ตำนานฮ่องเต้หยงเจิ้งตายแบบไร้หัวนั้น เป็นแค่ตำนานอย่างแน่นอน

สิ่งที่อยากอธิบายตรงนี้ก็คือ ประวัติศาสตร์จีนนั้น คนจีนมักจะแยกเป็น 2 อย่าง คือประวัติศาสตร์แบบทั่วไป คือประวัติศาสตร์ที่ได้รับการตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว  อีกประเภทหนึ่ง ก็คือ ประวัติศาสตร์เถื่อน คือมักเป็นเรื่องเล่าขานของชาวบ้าน โดยในช่องนี้ ผมจะเรียกพวกนี้ว่า เป็นตำนาน เน้นอีกครั้ง แม้จะเป็นช่องผมจะเป็นแชนแนลประวัติศาสตร์ แต่ถ้าผมใช้คำว่า ตำนาน นั่นคือ มันน่าจะเป็นเรื่องแต่งเติมจากประวัติศาสตร์นะครับ  หากมีผู้มาคอมเม้นท์ว่า ช่องนี้มั่ว ข้าน้อยขอแจ้งอีกครั้งนะครับว่า ผมระบุไปแล้วนะครับว่า นี่คือตำนาน ที่สำคัญกว่าก็คือ ตำนานเรื่องเดียวกัน ก็ยังไม่ตรงกันเลย  อย่างครั้งนี้ บางตำนานว่า หลี่หนีวเหลียงเป็นพ่อหลี่ซื่อเหนียง แต่ บางตำนานว่า หลี่หนิวเหลียงเป็นปู่ของหลี่ซื่อเหนียง  สิ่งนี้เองครับที่ ทำให้คนที่อาจรู้เรื่องราวตำนานด้านเดียว ก็คิดว่า ตัวเองนั้นรู้เรื่องตำนานเหล่านี้ดีแล้ว แต่ความจริง ตำนานตัวมันเองก็ยังมีหลายเวอร์ชั่นเลยครับ

ครับถ้าชอบคลิปนี้อย่าลืมกดไลท์กดแชร์กด ซับให้ด้วยนะครับ


วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2563

จีน(1254-1324) ปริศนาเส้นทางสายไหมของ มาร์โก โปโล

มาร์โก โปโล (อิตาลี: Marco Polo) (15 กันยายน ค.ศ. 1254– 9 มกราคม ค.ศ. 1324 เป็นไปได้แต่ไม่เกิน มิถุนายน ค.ศ. 1325)

มาร์โกโปโล เกิดในปี ค.ศ. 1254 อยู่ในครอบครัว พ่อค้านักเดินทาง และ นักสำรวจชาวเวนิส-อิตาลี  และคนส่วนใหญ่เชื่อว่า  มาร์โก โปโล เป็นชาวตะวันตกคนแรกที่ได้เดินทางตามเส้นทางสายไหม ร่วมกับ บิดาและลุงของเขาไปยังประเทศจีน ซึ่งมาร์โคโปโล เรียประเทศจีนว่า คาเธ่ย์ โดยมีที่มา คือ เขาตั้งใจจะอ่านตามภาษารัสเซีย คือ กิไต แต่ มาโคโปโล กลับอ่านออกเสียงเป็น ภาษาละตินเพี้ยน จึงกลายเป็น คาเธ่ย์

จุดเริ่มต้นของเรื่องราว คือ  อยู่มาวันหนึ่งในราวปี ค.ศ.1269 พ่อ และ อา ของ มาร์โค โปโล คือ นิโคโล โปโล และ มัฟเฟโอ โปโล (Niccolo and Maffeo Polo) ที่เป็นพ่อค้าที่ร่ำรวย ได้เดินทางไปค้าขายแถบทางตอนใต้ของยูเครนในปัจจุบัน แต่ด้วยภัยสงครามของเผ่ามองโลกที่ไล่รุกรานมาถึงยุโรป ทำให้ ทั้งพ่อและอาของมาโคโปโล จึงต้องเดินทางหนีภัยสงครามมาที่ เมืองบูคารา ระเทศอุซเบกิสถานในปัจจุบัน  ซึ่งก็เป็นดินแดนที่อยู่ภายใต้การดูแลของอาณาจักรมองโกลเช่นกัน  และที่นั่นเอง ทั้งคู่ ได้พบกับตัวแทนของจักรพรรดิ์กุบไลข่าน ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์หยวน

โดยยุคสมัยนั้น กุบไลข่านสนใจเรื่องเกี่ยวกับวัฒนธรรมของชาวละตินและตะวันตก ตัวแทนของกุบไลข่าน จึงได้เชิญพี่น้องทั้งสองคนให้ติดตามไปเข้าเฝ้าจักรพรรดิ์ กุบไลข่าน  นิโคโล และมัฟเฟโอ ก็รับคำเชิญและตามผู้แทนดังกล่าวไปจนถึงเมืองจีน และได้เข้าเฝ้าองค์จักรพรรดิ์กุบไลข่าน ในปี ค.ศ. 1266 หลังจากที่ กุบไลข่านเพิ่งก่อตั้งราชวงศ์หยวน ได้ 2 ปี คือปี 1264 มาร์โค โปโล จึงมิใช่ชาวยุโรปคนแรกที่ไปเมืองจีนอย่างที่ใครหลายคนเคยเข้าใจกัน

กุบไล่ข่าน และราชวงศ์หยวน
ขอแวะอธิบายเรื่องราชวงศ์หยวนก่อนนะครับ หยวน นั้นมาจากศัพท์มองโกล ""เยเคอ มองกูล อูลุส"ที่แปลได้ประมาณ รัฐมองโกลอันยิ่งใหญ่นะครับ เนื่องจากสามารถโค่นล้มราชวงศ์ซ่งลงได้ โดยกุบไลข่าน สามารถโค่นล้มราชวงศ์ซ่งลงได้อย่างเด็ดขาด 

กรุณาอย่าสับสน กุบไลข่าน กับ เจสกิสข่าน เพราะ
 กุบไลข่าน แห่งราชวงศ์หยวนนี้ คนนี้คือหลานปู่ของ “เจงกิสข่าน” (成吉思汗)หรือ เถี่ยมู่เจิน (铁木真) หรือเตมูจิน นะครับ  เดิม กุบไลข่าน ชื่อ ฮูปี้เลี่ย (忽必烈) และเมื่อก่อตั้งราชวงศ์หยวน ก็เรียกตนเองว่า  หยวนซื่อจู่ (元世祖) เหตุผลที่ถือว่า กุบไล่ข่าน เป็นฮ่องเต้ องค์แรกแห่งราชวงศ์หยวน เพราะกุบไลข่าน นั้นสามารถยึดครองปักกิ่งได้สำเร็จ (สมัยนั้นชื่อเมืองต้าตู) ในปี 1271  นอกจากนี้ยังสามารถ ตีเมืองต้าหลี่ หรือยูนนานได้สำเร็จอีกด้วย รวมถึงยังสามารถบุกไปตีดินแดนของราชวงศ์ซ่งใต้ได้สำเร็จในปีค.ศ. 1279

โดยช่วงราชวงศ์หยวนนั้น มีการแบ่งชั้นวรรณะ ทั้งทางเชื้อชาติและอาชีพ โดยทางเชื้อชาติน้้นจะเรียงไปตามนี้ ราชวงศ์หยวน คนตะวันออก คนฮั่นเหนือ สุดท้ายคือ ชาวฮั่นใต้ที่ยึดติดกับราชวงศ์หมิงเป็นหลัก

ขณะที่อาชีพนั้นจะเรียงไป คือ ขุนนาง ข้าราชการ พระสงฆ์และนักบวชลัทธิเต๋า ไปเรื่อยๆ จนถึง โสเภณี นักปราชญ์ และ ขอทาน นั่นคือ เหล่านักปราชญ์นั้นอยู่ต่ำกว่าโสเภณี และอยู่เหนือกว่า ขอทานเพียงเท่านั้น และเนื่องจาก ชาวฮั่นนั้นอยู่ในวรรณะต่ำสุด ราชวงศ์หยวน จึงมักรีดภาษีชาวฮั่นอย่างหนักกว่าวรรณะอื่นอีกด้วย เพื่อสนองความฟุ้งเฟือ ขณะที่ ราชบังลังก์ก็มีการแย่งชิงกันจนสิ้นราชวงศ์หยวน เลยทีเดียว

มาถึงคาเธ่ย์
ย้อนกลับมา เรื่องหลักของเราอีกครั้ง กุบไลข่านเมื่อได้พบสองพี่น้องนี้ ก็พอใจอย่างมาก และได้ขอให้ทั้งสองนำสาส์นไปถวายองค์พระสันตปาปาเพื่อขอนักปราชญ์จำนวน 100 คน ใน 7 สาขา มาเพื่อช่วยการปกครองจีน เมื่อทั้งสองกลับมาถึงเวนิซ  เขาพบว่าพระสันตปาปาพึ่งสิ้นพระชนม์ และทางวาติกันยังไม่ได้ดำเนินการเลือกพระสันตปาปาองค์ใหม่

สองพี่น้องรอจนกระทั่งปี ค.ศ. 1271 (พ.ศ.1814) จึงตัดสินใจเดินทางกลับไปเฝ้ากุบไลข่าน อีกครั้ง ครั้งนี้ ได้นำลูกชายคือ  มาร์โค โปโล ที่มีอายุเพียง 17 ปี เดินทางไปด้วย ระหว่างการเดินทางได้เข้าเฝ้าพระสันตปาปาองค์ใหม่ที่พึ่งได้รับเลือก ณ กรุงเยรูซาเล็ม พระสันตปาปาได้มอบหมายให้พระโดมินิกันเดินทางไปด้วย เพียง 2 รูป ซึ่งทั้ง 2 ได้เปลี่ยนใจเดินทางกลับในเวลาต่อมา

คณะของครอบครัวโปโลจึงได้เดินทางข้ามที่ราบสูงพาเมียร์ หรือธิเบต ซึ่งสูงถึง 5000 ฟุต ต่อมาก็เดินทางข้ามทะเลทรายโกบี ไปจนถึงเมืองจีนได้สำเร็จ ใช้เวลาเดินทางทั้งสิ้น 3 ปี ระยะทางรวม 5600 กิโลเมตร  จึงได้เข้าเฝ้าองค์จักรพรรดิ์กุบไลข่านที่พระราชวังเมือง ชางตู  ที่นี่ เขาได้พบว่า มีการใช้กระดาษแทนเงิน ใช้ถ่านหินก่อไฟ ตลอดจนพบเห็นการแกะสลักไม้เพื่อใช้พิมพ์กระดาษอีกด้วย

เดินทางกลับ
นอกจากนี้ มาร์โคโปโล ยังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ตรวจการเดินทางทั่วแผ่นดินจีนตอนใต้ รวมถึงเป็นเจ้าเมืองหยางโจว ถึง 3 ปี หลังจากนั้นก็รับใช้ราชสำนักมองโกลอีกรวม 17 ปี ตอนนั้น ทางครอบครัวโปโลเกรงว่า ตอนนั้นกุบไลข่านอายุประมาณ 80 ปีแล้ว และเกรงว่า หากเปลี่ยนรัชกาลจะเกิดความไม่มั่นคงได้ จึงตัดสินใจเดินทางกลับ  ในตอนแรกกุบไลข่านไม่อนุญาติ แต่เนื่องจากเกิดเหตุให้ต้องนำตัวเจ้าหญิงมองโกลไปเป็นพระชายาที่เปอร์เซีย ทางกุบไลข่านจึงอนุญาติแต่ต้องนำองค์หญิงไปส่งที่เปอร์เซียด้วย ทำให้ครอบครัวโปโลได้กลับบ้านทางเรือ โดยในตอนแรกเดินทางนั้นมีคนทั้งหมด 600 คน แต่ ระหว่างเดินทางกลับ ไปติดมรสุมอยู่ถึง 5 เดือน และเรือได้แล่นผ่านทั้งศรีลังกา อินเดีย ไปจนถึงเปอร์เซีย เหลือคนที่ไปถึงที่นั่นเพียง 18 คนเท่านั้น

โดยในปี 1294 กุบไลข่านก็เสียชีวิตลง  ทำให้ครอบครัวโปโล ตัดสินใจกลับเวนิซ ในปี 1295 (พ.ศ.1838) ขณะนั้นเขาออายุถึง 41 ปีแล้ว ปรากฏว่าญาติๆ จำพวกเขาไม่ได้เลย และคิดว่าพวกเขาตายไปแล้ว มีเรื่องเล่าว่าพวกเขาได้นำทรัพย์สมบัติมีค่ากลับมาด้วย

เขียนหนังสือ
หลังจากนั้น นครรัฐเวนิซได้แพ้สงครามแก่รัฐเจนัว มาร์โค โปโล จึงถูกขังคุกรวมอยู่กับ รัสติเชลโล (Rustichello da Pisa) นักเขียนเรื่องราวเพ้อฝันประเภท แฟนตาซี ณ ที่คุมขังนี้เองที่รัสติเชลโลได้บันทึกเรื่องราวการเดินทางของมาร์โค โปโล ไว้เป็นลายลักษณ์อักษรตามคำบอกเล่าของเขา จนรวบรวมเป็นเล่ม สำเร็จ หนังสือมีชื่อว่า Il Milione อิลมีลีโอเน (เดิมหนังสือชื่อว่า  บันทึกการเดินทางของมาร์โคโปโล โดย Milione คือ อีกชื่อหนึ่งของเขา และแน่นอนมันแปลว่า หนึ่งล้าน ด้วย ทำให้ตอนหลังมีคนนำไปล้อว่า ชื่อหนังสือคือ เรื่องโม้ล้านเรื่อง ) เมื่อทั้งสองพ้นออกจากคุกมาได้ในปี ค.ศ. 1299 (พ.ศ.1842) จึงเริ่มมีการแจกสำเนาหนังสือฉบับนี้จากการคัดลอกด้วยมือ โดยได้รับการแปลถึง 4 ภาษา นักอ่านหลายคนอ่านแล้วคิดว่าเป็นเพียงเรื่องแต่ง และไม่ได้รับการยอมรับจากทางการเวนิซเท่าที่ควร

นอกจากนี้ เหตุการณ์ทั้งในยุโรปและจีนเอง ก็มีอุปสรรคในการเดินทางครั้งใหม่ เนื่องจาก ในจีนเอง จักรพรรดิ์กุบไลข่านสิ้นพระชนม์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1294 (พ.ศ.1837) ตั้งแต่ มาร์โค ยังเดินทางกลับไม่ถึงเวนิซ ชาวมองโกลเกิดการแตกแยกสู้รบกันเองจนอาณาจักรแตกสลาย และถูกขับออกจากจีน ด้านยุโรปก็เกิดกาฬโรคระบาด คร่าวชีวิตผู้คนไปถึงกว่าครึ่ง จนไม่มีใครคิดจะเดินทางไปจีน ส่วน มาร์โค โปโล นั้น ถึงแก่กรรมในปี ค.ศ. 1324 (พ.ศ.1867)

หนังสือของ มาร์โค โปโล ได้รับความสนใจอีกครั้งเมื่อมีการประดิษฐ์แท่นพิมพ์ในยุโรปในศตวรรษที่ 15 อิทธิพลสำคัญของหนังสือเล่มนี้ คือ เป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้โคลัมบัสต้องการออกเดินทางไปจีนโดยเส้นทางอื่นจนไปพบทวีปอเมริกาก่อนในที่สุด หนังสือเล่มนี้จัดได้ว่ามีทั้งส่วนที่เป็นคุณูปการและส่วนที่สร้างความสับสนให้กับคนรุ่นหลังปนเปกันอยู่พอสมควร

ก่อนมาร์โคโปโล เสียชีวิตเขาเป็นพ่อค้าที่ร่ำรวย แต่มีนักอ่านไปเยี่ยมแกที่บ้าน พร้อมกับถามมาร์โคโปโลว่า "ยอมรับเถอะว่า หนังสือที่เขียนขึ้นมานั้นเป็นเรื่องโม้ทั้งเพ" แต่มาร์โคโปโล กลับตอบแบบยืนยันเช่นเดิมว่า  "นี่ยังเล่าได้ไม่ถึงครึ่งของเรื่องจริงที่เขาพบเจอเลย"

คนจับผิดหนังสือของเขาดังนี้
เส้นทางการเดินทางที่อ้างถึงคลุมเครือ ไม่ชัดเจน มีผู้พยายามทดลองเดินทางตามเส้นทางในหนังสือแล้วไม่สำเร็จ แต่ความคลุมเครือนี้ กลับเป็นเรื่องที่ดี เพราะทำให้ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส แทนที่จะเดินทางตามรอยมาร์โคโปโล แต่คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส พยายามหาเส้นทางอื่นที่จะเดินทางไป นั่นคือ ทางทะเล จนเป็นเหตุ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส นั้นค้นพบทวีปอเมริกา

มีการเล่าถึงรายละเอียดความเป็นอยู่ และอารยธรรมของชาวจีนที่ขณะนั้นเหนือกว่าชาวยุโรปมาก เช่น ศาสนา การใช้เงินกระดาษ การใช้ถ่านหินทำความร้อน ชีวิตที่หรูหราของราชสำนักมองโกล การสร้างถนนและคลอง การสวมผ้าไหม สุขอนามัยต่างๆ แต่บางเรื่องกลับไม่พูดถึงเลย เช่น การดื่มน้ำชา การใช้ตะเกียบ การมัดข้อเท้าของเด็กหญิง และกำแพงเมืองจีน รวมถึง การพิมพ์หนังสือที่จีนที่มีมาก่อน Gutenberg จะเกิดอีกหลายปี

นอกจากนี้ เอกสารที่ประเทศจีนหรือมองโกล ก็ไม่มีเอกสารใดๆ กล่าวถึง มาร์โคโปเลเลย แม้ว่า ผู้ที่ยังเชื่อว่า มาร์โค โปโล เดินทางไปจีนจริง จะกล่าวแก้ตัวว่า เขาอาจใช้ชื่ออื่นในภาษาจีน  แต่ในสารคดีที่แก้ตัวก็ไม่ได้กล่าวว่า มาร์โคโปโล นั้นใช้ชื่ออะไรขณะที่อยู่ประเทศจีน เป็นเพียงเรื่องที่คาดเดาไปเท่านั้น

ฝ่ายที่ไม่เชื่อการเดินทางของ มาร์โค โปโล ยังแสดงความแปลกใจที่ กุบไลข่าน ทรงแต่งตั้งชาวต่างประเทศที่มีอายุน้อย อย่าง มาร์โค โปโล เป็นข้าราชการต่างพระเนตรพระกรรณ แต่ฝ่ายที่ยังเชื่อ มาร์โค โปโล เห็นว่าไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เพราะจักรวรรดิ์มองโกลมักใช้นโยบายการตั้งตัวแทนเพื่อใช้ในการสอดแนมเช่นนี้เป็นปกติอยู่แล้ว

นอกจากนี้ ในหนังสือก็ยังเล่าเรื่องส่วนตัวของ มาร์โค โปโล ไว้น้อยมาก และมีการสงสัยว่าทำไมอยู่ดีๆ ตระกูลโปโลซึ่งอยู่ในจีนเป็นสิบปีถึงคิดจะเดินทางกลับบ้านเกิด ทำไมไม่แต่งงานมีครอบครัวที่นั่น ฝั่งที่เชื่อก็อธิบายว่า อาจเป็นเพราะจักรพรรดิ์กุบไลข่านใกล้จะสิ้นพระชนม์ มาร์โคโปโล และครอบครัวโปโลอาจเกรงว่าจะมีภัยการเมืองมากระทบต่อสถานะของตน

ขณะที่ หนังสือของ มาร์โค โปโล มักเรียกชื่อต่างๆ เป็นภาษาเปอร์เซีย หรือตุรกี แทนที่จะเป็นภาษาจีน ทำให้เกิดความสงสัยว่า เรื่องราวของ มาร์โคโปโล เขาอาจเป็นเพียงการปะติดปะต่อคำบอกเล่าต่อๆ กันมาของบรรดาพ่อค้าชาติต่างๆ ที่อยู่ในอาหรับเท่านั้น ตัวมาร์โคโปโลเองก็อาจไม่ได้เดินทางไปจีนด้วยตัวเอง

ส่วน ด้านความเชื่อที่ว่า มาร์โค โปโล เป็นผู้ให้กำเนิดพาสต้า ที่คล้ายๆ กับบะหมี่ของจีน ความจริงอันนี้เป็นเพียงความเชื่อของคนส่วนใหญ่เท่านั้น เพราะความจริงแล้ว หนังสือของเขาก็ไม่เคยอวดอ้างเรื่องเหล่านี้ไว้เลย และความเป็นจริงคือ ชาวอาหรับเป็นผู้นำข้าวสาลีและพาสต้าเข้ามายังยุโรปตั้งหลายร้อยปีก่อนหน้าที่ มาร์โค โปโล จะเกิดด้วยซ้ำ

บันทึกการเดินทางของเขาก็แสนหลือเชื่อ ไม่ว่าจะพบเจอชนเผ่าร่างยักษ์ หรือถ่านสีดำไร้เปลวไฟแต่กลับร้อนได้นานมาก (ถ่านในปัจจุบันนั่นเอง) เมื่อลองเดินทางตามบันทึกก็พบว่าตรงกับที่มาร์โค โปโล เล่าไว้

ทั้งนี้ ฝ่ายที่ไม่เชื่อว่า มาร์โค โปโล เดินทางไปเมืองจีนจริงๆ เช่น Frances Wood ผู้แต่งหนังสือเรื่อง Did Marco Polo Go to China?  ก็ไม่ได้ประณามว่า มาร์โคโปโล โกหกมดเท็จซะทีเดียว ในสารคดี Wood ก็อธิบายว่า หนังสือของ มาร์โค โปโล นั้นถูกเขียนขึ้นโดย รัสติเชลโล ที่ถูกเขียนขึ้นขณะอยู่ในคุกเมืองเจนัว ด้วยกัน และในระยะแรก การเผยแพร่หนังสือดังกล่าวกระทำโดยการคัดลอกด้วยมือต่อๆ กันมา ซึ่งอาจเกิดความผิดเพี้ยนและ แต่งเติมขึ้นได้ และยังมีความเป็นไปได้ด้วยว่า มาร์โค โปโล อาจจะไม่มีตัวตนจริงๆ เป็นเพียงตัวละครที่ รัสติเชลโล สมมติขึ้นมาในหนังสือ อย่างไรก็ดี เราไม่ได้หมายความว่า รัสติเชลโล จะเป็นคนปลิ้นปล้อนหลอกลวง แต่ว่าเป็นการเขียนหนังสือเกี่ยวกับภูมิศาสตร์โลก หรือ หนังสือท่องเที่ยวในยุคนั้น ปกติจะมีการแต่งเติมสีสันเข้าไปเพื่อความสนุกอยู่แล้ว

ไม่ว่าฝ่ายไหนจะเชื่อเรื่อง มาร์โค โปโล เพียงใดก็ตาม สิ่งที่สรุปตรงกันคือ ทุกฝ่ายยังคงยอมรับความสำคัญในหนังสือของเขา ที่ได้ทำให้ชาวยุโรปได้เปิดหูเปิดตา เห็นว่ายังมีชนชาติอื่นอีก เช่น จีน ที่มีอารยธรรมเหนือกว่าตน และเป็นแรงบันดาลใจให้นักเดินทางรุ่นหลังๆ ได้ออกมาเผชิญโลกภายนอก จนเกิดการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ในเวลาต่อๆ มา