วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2563

จีน (1891-1859) เจิ้งหยูซิ่ว - สุภาพสตรีนักฆ่า ผู้ล้มราชวงศ์ชิง

เจิ้งหยูซิ่ว (郑毓秀) - สุภาพสตรีนักฆ่า ผู้ล้มราชวงศ์ชิง
สาวงามชั้นสูงในชุดกี่เผ้าสวมเครื่องประดับราคาแพง เดินเฉิดฉายในสังคมชั้นสูง แถมเป็นทนายความคนแรกของประเทศจีน คุณคงไม่คิดว่า สตรีผู้นี้คือ มือวางระเบิดแห่งยุคล้มราชวงศ์ชิง ชื่อของเธอ คือ  เจิ้งหยูซิ่ว(郑毓秀)


วัยเด็ก

เจิ้งหยู่ซิ่ง เกิดวันที่ 20 มีนาคม 1891 ถือเป็นตอนท้ายของยุคปลายราชวงศ์ชิง โดยยุคสมัยนั้น เกิดนักปฎิวัติและนักคิดขึ้นมากมาย หนึ่งในนั้นคือ ในขณะที่สิทธิสตรี ก็เริ่มปล่อยให้ผู้หญิงได้รับการศึกษามากขึ้นกว่าแต่ก่อน และสามารถเปิดเผยตัวในวงสังคมมากขึ้น

พ่อของเธอ เป็นเจ้าหน้าที่ในราชวงศ์ชิง เจิ้งหยู่ซิ่ง เป็นคนฉลาด แม่ของเธอมักสอนให้อ่านบทความธรรมะ แต่เธอเป็นพวกหัวกบฎต่อต้านวัฒนธรรมจีน ไม่ว่าจะเรื่อง ความเชื่อ 3 คุณธรรม 4  หรือแม้แต่เรือง การรัดเท้าเหมือนสตรีทั่วไปในยุคนั้น ที่เชื่อว่า สตรีที่เท้าใหญ่จะไม่สามารถหาคนแต่งงานได้ ก็ตาม

โชคดีที่ ครอบครัวของเธอนั้นร่ำรวยจากการที่ปู่ของเเธอไปค้าขายกำไรที่ฮ่องกง  แต่ตัวเธอกลับเป็นเด็กมีปัญหา หากคนในบ้านไม่ตามใจเธอ เธอจะหนีออกจากบ้าน ในปี 1905 เธอจึงถูกส่งไปเรียนโรงเรียนสตรีที่เทียนจิน เพื่อให้ได้รับการศึกษาแบบตะวันตกตั้งแต่เด็ก ในปี 1907 เธอกับน้องสาว ก็ถูกส่งไปเรียนที่ญี่ปุ่น ที่นี่เอง เธอก็ได้เข้าร่วมกับ คณะปฎิวัติของซุนยัดเซ็น เพื่อต่อต้านราชวงศ์ชิง และไม่นานต่อมาเธอก็กลับมาที่ประเทศจีน

ลอบสังหาร 

ช่วงปี 1905 -1908 ขณะนั้น ซุนยัดเซ็น และพันธมิตร ได้รับแรงสนับสนุนเพื่อโค่นล้มราชวงศ์ชิงอย่างแรงกล้า แม้ว่า คณะปฎิวัติจะเปิดตัวการก่อกบฎมาแล้วถึง 6 ครั้ง แต่ก็ล้มเหลวทั้งหมด ทำให้เหล่าเยาวชนจำนวนมากต้องล้มตาย ทำให้ สมาคมพันธมิตร ถงเหมินฮุย ถูกตราหน้าว่า "ใช้ความบ้าคลั่งที่ชั่วร้าย หลอกลวงเยาวชนให้ไปตาย ขณะที่ตัวเองใช้ชีวิตมีความสุขอยู่ในต่างประเทศ"

และจุดนี้เอง ที่คณะปฎิวัติมองว่า ควรเปลี่ยนกลยุทธ์จากการก่อปฎิวัติ มาเป็นการลอบสังหารแทน โดยเฉพาะ เจ้าหน้าที่ตำแหน่งสำคัญๆ ในราชวงศ์ชิง และเพื่อเป็นการพิสูจน์ว่า เหล่าผู้นำก็ไม่กลัวตายเช่นกัน เริ่มต้นจาก  วังจิงเว่ย วางแผนจะเดินทางมาปักกิ่ง เพื่อเคลียร์สถานการณ์และรับมอบระเบิดที่ปักกิ่งเพื่อใช้ในการลอบสังหาร

เหลียวจงไข เขียนจดหมายถึง เจิ่งหยูซิ่ว ขอให้ เธอช่วย วังจิงเว่ย ในภารกิจแผนลอบสังหารครั้งนี้  เมื่อทั้งสองได้พบกัน วังจิงเว่ย บอกกับ เจิ่งหยู่ซิ่ว ว่า "ที่สถานีรถไฟปักกิ่ง มีการตรวจสอบอย่างเข้มงวด ตัวเขาเป็นผู้ชายอาจเป็นผู้ต้องสงสัย หากจะขนระเบิดเข้าไป จึงอยากขอร้อง เธอ ให้ช่วยนำระเบิดเข้าไปที่ปักกิ่งแทน" เธอตกลงรับปากทันที

เธออาศัยความกล้าหาญ และชื่อเสียงทางสังคม และความช่วยเหลือจากเพื่อนต่างชาติ เพื่อใช้สิทธิพิเศษทางการฑูต ทำให้ คณะปฎิวัติ สามาถขนระเบิดเข้าไปปักกิ่งได้สำเร็จ และคณะปฎิวัติก็เริ่มต้นลอบสังหารสมาชิกคนสำคัญของราชวงศ์ชิงได้สำเร็จหลายครั้ง

ลอบสังหารหยวนซือไข่
หลังเหตุการณ์ปฎิวัติซินไฮ่ในปี 1911 กลุ่มของซุนยัดเซ็น ก่อตั้งรัฐบาลที่ทางภาคใต้ของจีน และกำลังวางแผนยกพลขึ้นเหนือ แต่ฝั่งราชวงศ์ชิงนั้นมีการเรียกตัว หยวนซื่อไข่ กลับมาเป็นแม่ทัพ เพื่อต่อสู้กับกลุ่มของซุนยัดเซ็น แต่เดือนมกราคม 1912 ทั้งสองฝ่ายต้องการเจรจาให้ฮ่องเต้สละราชสมบัติ

ก่อนการเจรจาระหว่างทั้ง 2 ฝ่ายจะเริ่มขึ้น ในวันที่ 9 มกราคม 1912 คณะปฎิวัติ รับข่าวมาว่า มีแนวโน้มสูงที่การเจรจาอาจล้มเหลว เนื่องจาก หยวนซื่อไข่ คือ ผู้ต่อต้านการเจรจาหลัก ดังนั้น แผนการลอบสังหารหยวนซื่อไข่ จึงถูกจัดตั้งขึ้นที่ย่านตลาดในถนน หวังฟูจิง  เริ่มต้นด้วยการ แบ่งสมาชิกออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มแรกนั่งในร้านน้ำชา กลุ่มที่สอง นั่งในร้านอาหาร กลุ่มที่สาม เดินในตลาด กลุ่มที่ 4 อยู่ในกลุ่มคนเข็นรถ ทุกกลุ่มมีระเบิดติดตัว และรอเพียงเวลา หยวนซื่อไข่ เดินผ่านมาทางนี้เท่านั้น

โชคดีที่ วันที่ 15 มกราคม 1912 คณะปฎิวัติ ได้ข่าวใหม่มาว่า คนหลักในการต่อต้านการเจรจาฝ่ายราชวงศ์ชิงคือ นายพล เหลียงปี้  ไม่ใช่ หยวนซื่อไข่ ทำให้มีการยกเลิกแผนก่อนไม่กี่ชั่วโมง แต่บางคนยังไม่ได้รับรายงานดังกล่าว จึงยังคงดำเนินการตามแผนที่วางไว้ อย่างไรก็ดี พวกเขากลับทำงานพลาด ถูกจับไปหลายสิบคน เวลานั้น เจิ้งหยูซิว แม้จะอยู่ในกลุ่มนั้น แต่ อาศัยความเฉลียวฉลาด หลบหนีจากที่เกิดเหตุได้ทันท่วงที

ลอบสังหาร นายพลเหลียงปี้
แม้ว่า เจิ้งหยูซิ่ว จะรอดมาได้ แต่เธอก็ยังไม่ยอมแพ้ คณะปฎิวัติยังคง วางแผนลอบสังหาร นายพลเหลียงปี้ ต่อไป โดย นายพล เหลียงปี้ ( 良弼 )  นี้มีผู้คุ้มกันมากมาย และยังเป็นคนหลักในการขัดขวางการเจรจาในการสละราชสมบัติของราชวงศ์ชิงอย่างหัวชนฝาเลยทีเดียว ทำให้ตอนนี้ นายพลเหลียงปี้ เป็นเป้าหมายหลักของ คณะปฎิวัติ

แต่คนรับภารกิจหลักครั้งนี้ เป็น เจี่ยเซ่ง เปียง  ซึ่งเป็นคนรักของ เจิ้งหยูซิ่ว ทำให้เธอเศร้ามาก แต่พวกเขาก็วางแผนมาเป็นอย่างดี โดยใช้กลยุทธ์การเข้าประชิดตัว และสามารถปาระเบิดใส่ นายพลเหลียงปี้ ได้สำเร็จ ทำให้นายพลเหลียงปี้ เสียชีวิตในวันที่ 29 มกราคม 1912 ทำให้การเจรจาระหว่างคณะปฎิวัติกับราชวงศ์ชิงนั้นสำเร็จอย่างราบรื่น

ทำให้ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 1912 หลงยู่ไทเฮา พระมารดาบุญธรรมของปูยีฮ่องเต้ ก็ออกมาประกาศสละราชบังลังก์ทั้งน้ำตา อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะปฎิวัติล้มล้างราชวงศ์สำเร็จ แต่ตัวเจิ้งหยู๋ซิ่ว เองกลับถูกไล่ล่าจาก หยวนซื่อไข่ ทำให้เธอต้องหลบหนีไปประเทศศึกษาที่มหาวิทยาลัย ปารีส ซอร์บอน ในประเทศฝรั่งเศส ที่สำคัญ คือ เธอสามารถจบปริญญาเอก ด้านกฎหมาย จากมหาวิทยาลัยปารีสซอร์บอน

4 พฤษภาคม 
ย้อนกลับมาระหว่างที่เธอศึกษาที่ประเทศฝรั่งเศส  สงครามโลกครั้งที่ 1 จบพอดี  ประเทศที่ชนะสงครามโลกครั้งที่ 1 จึงร่วมกันจัดการประชุมสันติภาพขึ้นที่กรุงแวร์ซาย์ ประเทศฝรั่งเศส เพื่อร่างสนธิสัญญาแวร์ซาย ประเทศจีนขณะนั้น แม้ว่าจีนจะอยู่ข้างฝ่ายชนะสงคราม ที่มีต่อเยอรมัน  แต่ในสนธิสัญญาแวร์ซาร์ส กลับระบุให้ยกดินแดนส่วนของเยอรมันที่ได้สิทธิพิเศษในจีน ให้กับประเทศญี่ปุ่นแทน และยังบีบให้จีนลงนามในสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมครั้งนี้อีกด้วย

เหตุการณ์นี้ ทำให้นักศึกษามหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศจีนออกมาชุมนุนประท้วง หรือเรียกว่า เหตุการณ์ 4 พฤษภา โดยเหล่านักศึกษาออกมาประท้วงไม่ยอมให้ตัวแทนจากประเทศจีนลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซาส์ เด็ดขาด เมื่อเจิ้งหยูซิ่ว ทราบข่าว เธอก็เป็นตัวแทนนักเรียนจีนในประเทศฝรั่งเศส และประกาศทันที ถ้าขืนลงนามในสนธิสัญญานี้ เจิ้งหยู่ซิ่งคนนี้จะไม่ให้อภัยพวกคุณแน่ แน่นอนว่า การประท้วงครั้งนี้ก็ทำให้ตัวแทนจากประเทศจีนไม่กล้าลงนามสนธิสัญญาแวร์ซาร์ส ครั้งนี้

ทนายความ
เมื่อเธอจบการศึกษา เธอจึงกลับมาร่วมก่อตั้ง บริษัทกฎหมายในเซี่ยงไฮ้ กับสามีของเธอ คือ เว่ยเต้าหมิง 
 (魏道明) ทำให้เธอได้เป็นทนายความหญิงคนแรกในประเทศจีน นอกจากนี้ยังได้รับตำแหน่ง ผู้อำนวยการศาลในเมืองเซี่ยงไฮ้ ต่อมาได้เป็น ผู้กำกับดูแลศาลชั่วคราว ในเซี่ยงไฮ้ สุดท้ายได้เป็นถึง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการศึกษาธิการ และยังเป็นผู้หญิงเพียงคนเดียวที่ได้ร่วมร่างกฎหมายให้กับประเทศจีน

แต่เมื่อ เว่ยเต้าหมิง รับตำแหน่งทางการฑูต เธอตัดสินใจสละทุกตำแหน่ง ติดตามไปเป็นภรรยานักการฑูต แต่ในปี 1948 สามีของเธอก็ตัดสินใจสละตำแหน่ง และลี้ภัยที่ประเทศบราซิล  แต่ครอบครัวของเธอกลับล้มเหลวในการทำธุรกิจ ทำให้เธอต้องประสบปัญหาด้านการเงิน จึงเลือกที่จะย้ายไปพักอาศัยที่สหรัฐอเมริกา

ในปี 1954 เธอก็ได้รับข่าวร้ายว่าเธอป่วยเป็นมะเร็ง จนทำให้เธอต้องเนื้อที่หัวไหล่ทิ้ง (บางข่าวระบุว่า ต้องตัดแขนทิ้ง) ไม่นานต่อมา  เธอรู้ดีว่า เธอไม่สามารถกลับจีนแผ่นดินใหญ่ได้ เธอจึงขอเดินทางเข้าไต้หวัน โดยร้องขอต่อเจียงไคเช็ก แต่คำขอเธอเดินทางมาช้าเกินไป สุดท้ายเธอต้องปิดฉากชีวิตที่ยากแค้นและเงียบเหงาในวันที่ 16 ธันวาคม 1959 ในประเทศสหรัฐอเมริกา


วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2563

จีน( 1966-1969) เปี้ยนจงหวิน เหยื่อแห่งยุคปฎิวัติวัฒนธรรมจีน

การปฎิวัติวัฒนธรรมของจีน

ขอปูพื้นก่อนนะครับ  ตามที่เคยเล่าให้ฟังเกี่ยวกับเรื่อง การปฎิวัติวัฒนธรรมจีน มาหลายคลิปแล้ว แต่มักจะเฉียวไปเฉียวมา ครั้งนี้ขออธิบายอีกครั้งนะครับ เรื่องการปฎิวัติวัฒนธรรมของจีนนั้นเกิดขึ้นหลังความล้มเหลวอย่างหนัก ของ นโยบายการปฎิวัติอุตสาหกรรมแบบก้าวกระโดดครั้งใหญ่ ที่เป็นนโยบายของเหมาเจ๋อตุง 毛泽东 ที่ประกาศใช้ในปี 1958 แต่นโยบายนี้กลับทำให้ ผู้คนอดอยาก ยากจน และเรื่องนี้เองที่ทำให้เหมาเจ๋อตุงนั้นเสียผู้เสียคนอย่างมาก เนื่องจาก เขาโดนโจมตีจากรอบด้านทั้งภายในพรรคคอมมิวนิสต์เอง และ ประชาชนทั้งแผ่นดินที่เริ่มต่อต้านเขา

ขณะที่หลิวเส้าฉี เติ้งเสี่ยวผิง พยายามเข้ามาแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจครั้งนี้ แต่พวกเขาเลือกแก้ปัญญา แบบเอียงไปทางขวา คือ มีความเป็นทุนนิยมมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ให้ชาวนาสามารถนำผลผลิตส่วนเกินมาขายได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้มากยิ่งขึ้น แทนที่จะทำตามเป้าหมายเท่านั้น

แต่ เหมาเจ๋อตุง นั้นเห็นว่า หลิวเส้าฉี เติ้งเสี่ยวผิง  และประชาชนจีน นั้นพยายามเจือจางความเป็นสังคมนิยมลง และเพิ่มความโน้มเอียงเข้าสู่ทุนนิยมมากขึ้น ที่เหมาเรียกว่า "พวกโน้มเอียงที่จะนิยมขวา" เหมาเจ๋อตุงจึงต้องการปลดหลิวเส้าฉี และพวกหัวเอียงขวา ออก

โดยจุดเริ่มต้นของการปฎิวัติวัฒนธรรม นั้นเริ่มจาก บทประพันธ์ที่ชื่อ การปลดไฮรุย  ออกจากตำแหน่ง 海瑞罢官 ของ หวู่ฮั่น(吴晗 ที่เป็นรองผู้ว่าปักกิ่งสมัยน้้น และเขายังเป็นนักประวัติศาสตร์อีกด้วย หวู่ฮั่นยกบทประพันธ์ดังกล่าวมาเสียดสี  โดยเนื้อหาเป็นเรื่องของ ขุนนางยุคราชวงศ์ซ่ง ที่ออกมาวิพากษ์วิจารย์ฮ่องเต้ จนถูกปลดออก 

บทประพันธ์นี้เอง มีคนวิจารณ์ว่า เปรียบเสมือนกับเหตุการณ์สดๆ ร้อนๆ ที่เหมาเจ่อตุง เพิ่งปลด  เผิงเตอหวย รัฐมนตรีกลาโหมที่เพิ่งออกมาวิพากย์วิจารณ์ความล้มเหลวของนโยบายก้าวกระโดดครั้งใหญ่ ด้วยข้อหา โน้มเอียงไปนิยมขวา และแน่นอนว่า กรณีนี้ ก็ทำให้ตัวหวู่ฮั่นเองนั้น เป็นปัญญาชนรายแรกๆ ที่ถูกเล่นงานจาก การปฎิวัติวัฒนธรรม

กองทัพเห้งเจีย
โดยผมขอข้ามเรื่อง เจียชิงกับแก๊งออฟโฟร์ ไปก่อนนะครับ เพราะ ผมเตรียมคลิปนี้ไว้รออยู่แล้ว จึงขอข้ามมาเล่าเรื่องนี้ก่อนนะครับ จึงขออธิบายเฉพาะ ส่วนของ “กลุ่มเรดการ์ด” (红卫兵Red Guards คือ กลุ่มเยาวชนจากสถาบันการศึกษาตั้งแต่มัธยมไปจนถึงมหาวิทยาลัย คือ กองกำลังสำคัญของเหมาที่เขาเปรียบว่าเป็น “เห้งเจีย” เทพเจ้าวานรที่เคยอาละวาดทั้งเมืองบาดาลและสรวงสวรรค์มาแล้ว และเขาต้องการเห้งเจียจำนวนมากเพื่อทำลายปีศาจร้าย ภายใต้การรณรงค์เพื่อกำจัด “สี่เก่า” อันประกอบด้วย อุดมคติ, จารีต, วัฒนธรรม และ สันดาน ที่ถูกอ้างว่าเป็นของพวกระบอบเก่า ด้วยวิธีการอันรุนแรงต่อกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้าม ที่บางคนถึงขั้นหมายเอาชีวิต การเหยียดหยามต่อหน้าสาธารณชน การทำลายโบราณสถาน และวัตถุทางวัฒนธรรม

เบื้องต้นกลุ่มพิทักษ์แดงเริ่มการโจมตี ทำร้ายเจ้าหน้าที่ในสถานศึกษา ก่อนขยายตัวไปถึงเจ้าหน้าที่ของพรรค และผู้ที่ถูกตราหน้าว่าเป็น “ศัตรูทางชนชั้น” ในวงกว้าง เกิดการสังหารหมู่ในปักกิ่งและหลายเมืองทั่วประเทศ บางครั้งกลุ่มพิทักษ์แดงก็ตีกันเอง หลายครั้งมีการใช้อาวุธหนัก และกองทัพก็เข้ามามีส่วนร่วมในความขัดแย้งด้วย

เอกสารลับของจีนยังเคยบันทึกถึงเรื่องราวสุดโหดของเหล่าเด็กนักเรียน และนักศึกษา กลุ่มพิทักษ์แดงว่า พวกเขาไม่เพียงทรมาณเหยื่อจนเสียชีวิต บางครั้งถึงกับ “กินเนื้อ” ของเหยื่อเหล่านี้ด้วย ส่วนตัวเลขผู้เสียชีวิตที่แน่นอนยังไม่อาจหาข้อสรุปได้ มีการประเมินตั้งแต่ 5 แสนราย ไปจนถึง 8 ล้านราย

แต่สุดท้าย “เห้งเจีย” เหล่านี้ก็สิ้นฤทธิ์ด้วยฝีมือของเหมาเองที่ใช้ประโยชน์ของเด็กๆได้สมปรารถนา กำจัดเหล่าเสี้ยนหนามสำคัญอย่าง หลิว เซ่าฉี และเติ้ง เสี่ยวผิง รวมถึงกลไกของพรรคที่เป็นอุปสรรคได้สำเร็จ และสุดท้าย กองทัพปลดปล่อยประชาชนเองที่เข้ามาสลายกลุ่มปัญญาชนรุ่นเยาว์ที่มีสมาชิกกว่า 20 ล้านคน ด้วยการส่งตัวพวกเขาไปใช้ชีวิตในไร่นาในชนบทจนเสร็จสิ้นทำให้พวกเขาแทบหมดอนาคต

เปี้ยนจงหวิน
ขอเริ่มต้นเหยื่อรายแรก แห่งการปฎิวัติวัฒนธรรม คือ เปี้ยนจงหวิน 卞仲耘 (1916-1966) รองผู้อำนวยการโรงเรียนสตรี แห่งมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ปัจจุบันคือ โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยปักกิ่ง เป็นเพียงหญิงวัย 50 ปี และเป็นแม่ของลูก 4 คน โดยโรงเรียนแห่งนี้ มีความสำคัญมาก เพราะมีลูกของเหมาเจ๋อตุง ลูกของเติ้งเสี่ยวผิง และลูกของหลิวเส้าฉีศึกษาอยู่ที่โรงเรียนแห่งนี้ด้วย

มิถุนายน ในปี 1966 ความบ้าคลั่งยุคปฎิวัติวัฒนธรรมกำลังเริ่มต้น โดยเริ่มต้นจากนักเรียนและนักศึกษา ทำให้รัฐบาลกลางของหลิวเส้าฉี นั้นออกคำสั่งให้ นักเรียนและนักศึกษาเคลื่อนไหวเฉพาะในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยเท่านั้น ตอนนั้นโรงเรียนแห่งนี้ยังไม่มีครูใหญ่ เปี้ยนจงหวินเป็นเพียงรองครูใหญ่เท่านั้น ดังนั้น เปี้ยนจงหวินจึงเสมือนครูใหญ่  และ เปี้ยนจงหวิน ยังเป็นคณะกรรมการกลางของโรงเรียนอีกด้วย เธอจึงออกคำสั่ง ห้ามเด็กนักเรียนเคลื่อนไหวเด็ดขาด นี่เองทำให้เหล่านักเรียนที่เป็นเรดการ์ดนั้นไม่พอใจเธออย่างมาก

พวกเรดการ์ด มาชี้นิ้วด่าครูคนนี้ หนึ่งในความผิดที่เด็กๆกล่าวหาครูคนนี้ คือ ขณะซ้อมแผ่นดินไหว เปี้ยนจงหวินไม่ยอมปลดภาพประธานเหมาเจ๋อตุง บนผนังห้องไปด้วย แต่กลับทิ้งไว้แบบนั้น

วันที่ 1 สิงหาคม 1966 เรดการ์ดในโรงเรียน เริ่มจับ เพื่อนๆ ที่เป็นมือไม้ของคณะกรรมการกลาง และบรรดาลูกๆ ของผู้ปกครองที่ถูกประนามว่า นิยมเอียงขวา จับตัวมาไต่สวนและประจาน

แต่แล้ว วันที่ 4 สิงหาคม 1966 เรดการ์ดของโรงเรียน บุกเข้าไปห้องพักครู จับครู 7-8 คน รุมกระหน่ำด้วยไม้ และแส้หนัง อย่างหนักหน่วง แม้ว่า วันนั้น เปี้ยนจงหวิน เธอกลับบ้านด้วยสภาพสะบักสะบอม เธอบอกสามีเธอว่า เธอโดนพวก เด็กนักเรียนเรดการ์ด ทุบตี และสามีเธอบอกให้เธอหนีไปเสีย แต่เธอปฎิเสธและยืนกรานที่จะไปทำงานต่อในวันรุ่งขึ้น

เช้าวันที่ 5 สิงหาคม 1966 เธอจับมืออำลงสามี แล้วมุ่งหน้าไปที่โรงเรียน ในวันนั้นเอง คณะกรรมการโรงเรียน ทั้งหมด ถูกจับไปประจานด้วยการแขวนป้ายกระดาษ พร้อมตัวอักษร "แก๊งต่อต้านการปฎิวัติ วัฒนธรรม" พร้อมกับถูกคุกเข่าที่สนามหน้าโรงเรียน

ถึงตอนนี้ เหล่าเด็กนักเรียนเรดการ์ด บางคนตะโกนประจานพร้อมกับหยิบกรรไกรไปกร้อนผม แต่ปลายกรรไกรก็ทิ่มที่หนังหัวจนเลือดไหล ขณะที่บางคนนำขาเก้าอี้ พร้อมตะปู ไปพาดคณะกรรมการ และบางคนเอาหมึดราดไปที่หัวของคณะกรรมการ

แต่ เปี้ยนจงหวิน ตอนนั้น เจ็บปวดเจียนตาย แต่นักเรียนยังบังคับให้เธอไปขัดส้วม ในที่สุดเปี้ยนจงหวินก็ล้มลง น้ำลายฟูมปากและเสียชีวิตลง โดยเด็กสาวคนที่ไปเตะเข้าที่หัวเปี้ยนจงหวินอย่างแรง คือ หลิวถิงถิง เรดการ์ดที่เป็น หนึ่งในลูกสาวของ หลิวเส้าฉี ประธานธิบดีประเทศจีนในขณะนั้น ทั้งๆที่พ่อของเธอคือ กลุ่มคนที่โดนประนามว่า เป็นพวกเอียงขวา

ขณะที่เปี้ยนจงหวนิ ใกล้เสียชีวิต เหล่านักเรียนเรดการ์ดกลับไม่มีใครยอมเอาตัวเธอส่งโรงพยาบาลที่อยู่ห่างออกไปเพียงถนนเดียว แถมวันถัดมา หัวหน้าเรดการ์ดของโรงเรียนยังประกาศกึกก้องว่า "ธรรมะย่อมชนะอธรรม เปี้ยนจงหวิน เธอสมควรตายแล้ว"

นี่คือเหยื่อรายแรกของการปฎิวัติวัฒนธรรม ที่กำลังจะมีอีกหลายหมื่นศพตามมา พร้อมกับความถูกต้องในการกระทืบและทำร้ายคนในที่สาธารณะ  เพราะ นี่คือทศวรรษแห่งความบ้าคลั่งของคนจีน ที่ไม่ต่างกับซอมบี้

หลังจากเหตุการณ์นี้ สามีของ เปี้ยนจงหวิน นำเงินไปซื้อกล้องถ่ายรูปที่ดีที่สุด เพื่อถ่ายรูปเป็นหลักฐานทุกอย่าง พร้อมกับเก็บเสื้อผ้า ปอยผม ทุกอย่างของเปี้ยนจงหวิน  เพื่อหวังว่า วันหนึ่ง ภรรยาของเธอจะได้รับความเป็นธรรม นอกจากนี้ ลูกสาวของเติ้งเสี่ยวผิง ที่เป็นหนึ่งในแก๊งเรดการ์ด คือ เติ้งหยง ยังเข้าไปข่มขู่สามีของเปี้ยนจงหวินว่า ให้อยู่ห่างๆ อีกด้วย

ผู้นำนักเรียนเรดการ์ด
ถึงตอนนี้คงอยากรู้แล้วว่า ใครคือผู้นำกลุ่ม เรดการ์ดในโรงเรียนแห่งนี้  นั่นคือ ซ่งปินปิน คือ เด็กสาวไว้ผมเปีย สวมแว่น ดูเป็นเด็กเรียนไร้เดียงสา  แต่ความจริงเธอคือ หัวหน้ากลุ่มเรดการ์ด ที่ทุบตี ทารุณกรรม เปี้ยนจงหวิน คุณครูของเธอเองจนเสียชีวิต

ซ่งปินปิน 宋彬彬 เธอ คือ ส่วนหนึ่งของการโฆษณาชวนเชื่อ ในยุคปฎิวัติวัฒนธรรมที่เหล่ากลุ่มเยาวชนเรดการ์ดต่างเอาเยี่ยงอย่าง ซ่งปินปิน เธอเป็นลูกสาวของ นายพลซ่งเหรินโฉง หนึ่งใน 8 ผู้อาวุโสของพรรคคอมมิวนิสต์ เธอจึงได้เป็นผู้นำกลุ่มเรดการ์ด

ในปี 2014 ซ่งปินปิน ในวัย 65 ปี เธอออกมาแถลงการณ์ ขอโทษกับพฤติกรรมของเธอและเพื่อนๆ แม้ว่า เธอจะออกมาขอขมาต่อพฤติกรรมของเธอ แต่ข่าวลือ คือ เธอเคยเอาน้ำร้อนลวกหญิงชราจนตาย  บีบบังคับให้ลูกต้องฆ่าพ่อ  และแข่งขันกันโบยตีคนที่ไม่นิยมเหมา อีกด้วย 

แต่เหตุการณ์ที่พีคที่สุดของ ซ่งปินปิน คือ วันที่ 5 สิงหาคม 1966 เธอเพิ่งจะฆ่าเปี้ยนจงหวินไปหมาด  แต่วันที่ 18 สิงหคม 1966 เพียง 13 วันหลังจากที่เธอสังหาร เปี้ยนจงหวิน เธอกลับได้พบกับประธานเหมาที่จตุรัสเทียนอันเหมิน  และยังสวมปลอกแขน ให้กับประธานเหมาเจ๋อตุง เสื้อของเธอเพิ่งเปื้อนเลือดของเปี้ยนจงหวิน  ที่สำคัญกว่านั้นคือ ประธานเหมา ยังออกใบอนุญาติให้ฆ่า "Licence to Kill" ให้กับ ซ่งปินปิน ด้วยการถามเธอว่า
เธอชื่ออะไร ชื่อ ปินปิน (อ่อนโยน) หรือ  ไม่ได้นะ เธอต้องชื่อ ซ่ง เหย่าอู๋ (ซ่ง ร่วมพลังสู้)  เพื่อเป็นใบประกาศิตว่า กระทืบคนเพื่อเหมา ไม่ผิดกฎหมาย

หลังจากวันที่ 18 สิงหาคม 1966 นี้เอง มีครูและผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษาโดนสังหารไป 1772 คน

แต่ 2 ปีถัดมา พ่อของเธอ คือ ซ่งเหรินโฉง กลับกลายเป็น ผู้ไม่รักเหมา ซะเอง และต้องการล้มเหมา แต่เขากลับถูกเรดการ์ดลากตัวมาทำร้าย และประจาน ครั้งนั้นเอง ซ่งปินปินนั้น ถูกส่งตัวไปชนบท แต่เธออาศัยเส้นสายกลับมาเรียนที่มหาวิทยาลัยปักกิ่งได้สำเร็จจนจบ และไปเรียนต่อที่ MIT ประเทศสหรัฐ แต่งงานอยู่ที่สหรัฐ ใช้ชีวิตที่นั่น จนกระทั่งปี 2003 เธอถึงได้กลับมาใช้ชีวิตในประเทศจีนอีกครั้ง  โดยอยู่แต่เพียงในแวดวงชนชั้นสูง

ย้อนกลับไปในยุคนั้นอีกครั้ง ถ้าพูดถึง เรื่องการโฆษณาชวนเชื่อ ในยุคนั้น ในมหาวิทยาลัยปักกิ่ง นั่นก็ตัวดีเลย โดยมีอาจารย์ชื่อ เนี่ยหยวนจื่อ คือ ผู้จุดประกายความคุ้มคลั่งแห่งยุคปฎิรูปวัฒนธรรม เธอเป็นแค่ อาจาย์สอนวิชาปรัชญาในมหาวิทยาลัยปักกิ่งเท่านั้น

วันที่ 5 สิงหาคม วันเดียวกับที่ เปี่ยนจงเหวิน เสียชีวิตนั้น ประธานเหมา เขียนหนังสือพิมพ์กำแพง ว่า ถล่มกองบัญชาการ  ที่พุ่งเป้าไปที่ หลิวเส้าฉี ประธานธิบอดีจีน ที่เป็นใหญ่รองจากเหมา

เนี่ยหยวนจื่อ เธอ คือ คนระดับปัญญาชน ผู้คลั่งเหมา เธอออกตามล่า คนไม่รักเหมาไปพร้อมๆ กับเหล่าเยาวชนเรดการ์ด เธออาศัยหนังสือพิมพ์กำแพง เขียนข้อความซ้ำแล้วซ้ำเล่า กล่าวหาคนนั้นคนนี้ว่า ไม่รักชาติ ชังชาติ ทรยศต่อชาติ ไม่จงรักภักดีประธานเหมา ต้องกวาดล้างให้สิ้นซาก

อีก 2 ปีถัดมา กระแสตีกลับ เธอกลับถูกสั่งจำคุก สิ้นอิสรภาพไป 18 ปี จนเธอต้องหนีไปอาศัยที่ฮ่องกง และเขียนหนังสือระบายความผิด และเชื่อว่า การพยายามบังคับให้คนอื่นคิดเหมือนตนนั้น โดยต้องรักในคนคนเดียวกันนั้น และเที่ยวไปชี้นิ้วด่าคนคิดต่างอย่างไร้เหตุผล ว่าชังชาติ ไม่ใช่คนที่สมควรมีชีวิตอยู่ สิ่งเหล่านี้ล้วนนำมาซึ่งหายนะต่อประเทศชาติต่างหาก

นอกจากเธอออกมาสารภาพผิดแล้ว เธอยังออกมาสนับสนุน ประชาธิปไตย เสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่เท่าเที่ยมกัน อีกด้วย

หลิว เส้า ฉี
ส่วนหลิว เส้า ฉี 刘少奇 ในตอนนั้น เขาถือว่ามีอำนาจเป็นรองเพียง ประธานเหมาเท่านั้น และเขายังเป็นคนฟื้นฟูเศรษฐกิจที่เพิ่งพังพินาศจาก นโยบายก้าวกระโดดคร้้งใหญ่ อีกด้วย แต่เขาพร้อมเพื่อนสหายคือ เติ้งเสี่ยวผิง และเฉินหยุน เลือกที่แก้ปัญหาเศรษฐกิจแบบทุนนิยม  เขาจึงถูกตราหน้าว่า เป็นผู้นำแห่งแนวทางทุนนิยม 

จุดนี้เอง ที่ประธานเหมา ต้องกำจัดเขา และทำให้เขาต้องพบจุดจบที่น่าเศร้า ทั้งเอน็จอนาถ บอบช้ำทั้งร่างกายและจิตใจ โดยเหมาอ้างว่า หลิวเส้าฉี คือ ผู้นำกระแสทุนนิยมมาสู่จีน และจะทำให้กระแสสังคมนิยมเหือดหายไป 

ในเดือนมิถุนายน 1966 ก็เริ่มมีขบวนการ ยามแดง หรือ Red Guards ออกมาก่อความวุ่นวาย หลิวเส้าฉี ส่งคณะปฎิบัติการ ลงพื้นที่เพื่อเข้าควบคุมสถานการณ์ สถาบันการศึกษาทั่วกรุงปักกิ่ง  โดยเฉพาะการออกคำสั่ง 8 ประการ เพื่อกำจัดขอบเขตการเคลื่อนไหวของกลุ่มนักศึกษา

แต่เหมาเจ๋อตุง เห็นว่า การต่อต้านการเคลื่อนไหวของมวลชนนั้น เป็นลักษณะสนับสนุนการแบ่งแยกชนชั้น ทำให้เหมาเจ๋อตุง เขียนหนังสือพิมพ์กำแพง ว่า  ถล่มกองบัญชการ นั่นถือเป็นการเปิดฉาก ต่อสู้กับหลิวเส้าฉี อย่างเป็นทางการ

วันที่ 12 สิงหาคม 1966 หลังจากที่ เปี้ยนจงหวิน เสียชีวิต 7 วัน ก็มีคำสั่งปลดหลิวออกจากตำแหน่งรองประธานพรรคคอมมิวนิสต์ โดยเหมาให้หลินเปียวเข้ามารับตำแหน่งแทน ขณะที่หลิวเส้าฉี ก็ยังคงเป็นประธานธิบดีอยู่เช่นเดิม ขณะที่วันที่ 17-19 สิงหาคม มีการประชุมกับโฑูตจากต่างชาติ หลิวเส้าฉีกลับไม่ปรากฎตัว

ขณะที่วันที่ 1 ตุลาคม 1966 เป็นวันชาติจีน หลิวเส้าฉี ก็ปรากฎตัวอีกครั้งบนประตูเทียนอันเหมิน ขณะที่หลิวได้เขียนบทความวิจารณ์ตนเอง ทำให้เหมาให้โอกาสเขาในการปรับปรุงตัว พร้อมประกาศว่า ไม่ควรประนามหลิวเส้าฉี บนหนังสือพิมพ์กำแพงอีกต่อไป

แต่แล้ววันที่ 6 มกราคม 1967 เรดการ์ด พยายามลวง หลิวเส้าฉี และภรรยาไปไต่สวนกลางสวนสาธารณะ แต่โชคดี โจวเอินไหล เข้ามาขัดขวางไว้ได้ทันทำให้ทั้งสองคนปลอดภัย คืนนั้น หลิวเส้าฉี เข้าพบ เหมาเจ๋อตุง พร้อมกับยื่นใบลาออกทุกตำแหน่ง และขอไปเป็นชาวนาในชนบทพร้อมภรรยา แต่เหมาไม่ยอมรับการลาออก พร้อมกับให้หลิวเส้าฉี ไปอ่านหนังสือและพักผ่อน

แต่ในเดือนกุมภาพันธ์ 1967 โจวเอินไหลพร้อมพรรคพวก วิจารณ์ นโยบายการปฎิวัติวัฒนธรรม ทำให้เหมาเจ่อตุงนั้นไม่พอใจอย่างมาก แต่เหตุการณ์นี้กลับส่งผลกระทบต่อ หลิวเส้าฉี แทน และทำให้เหมารับรู้ว่า มีคนสายทุนนิยมอยู่ในพรรคคอมมิวนิสต์ จริง และหัวหน้ากลุ่มสายทุนนิยมก็คือ หลิวเส้าฉี นั่นเอง

วันที่ 7 เมษายน 1967 เรดการ์ด ก็บุกที่พักของ หลิวเส้าฉี ที่จงหนานไห่(中南海) ที่เป็นเขตพำนักของผู้นำระดับสูงของพรรค แต่ครั้งนี้ โจวเอินไหลไม่ได้ห้ามปรามเหมือนครั้งก่อน  แถมยังปล่อยให้มีการบุกเข้าไปไต่สวน และทำร้ายร่างกายหลิวเส้าฉี ที่ขณะนั้นยังดำรงตำแหน่งประธานธิบดี  ก่อนที่จะโยนเข้าคุกขังเดี่ยวที่เรือนจำ กรุงปักกิ่ง ขณะที่ ลูกสองคนของเขา คือ หลิวหยุ่นเจิน (刘允真) และหลิวเทา (刘涛) บุตรชายและบุตรสาวที่เกิดจากภรรยาคนก่อน กลับไปเข้าร่วมเป็น เรดการ์ด และประกาศตัดความสัมพันธ์กับบิดา

ขณะที่เมียของ หลิวเส้าฉี คือ หวังกวงเหม่ย ก็ประสบชะตากรรมไม่แพ้กัน เธอถูกเรดการ์ดลากท่ามกลางฝูงชนที่บ้าคลั่ง ทุบตี ด่าทอ แถมถูกเอา สายห้อยคอที่ทำจากปิงปองมาล้อเลียนสร้อยไข่มุก และยังถูกจับใส่่เสื้อกี่เพ้าที่ยั่วยวน พร้อมกับกล่าวหาเธอว่า แต่งชุดเหมือนพวกบ้าทุนนิยม ก่อนจะโดนข้อหา เป็นสายลับให้สหรัฐอเมริกา โดนจับขังคุกเช่นเดียวกัน

โดยมีคำสั่งปลดเขาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดี ในเดือนตุลาคม ปี 1968 ตอนนั้นเขาเป็นโรคเบาหวานอยู่แล้ว เมื่อถูกทำร้ายร่างกายทำให้ร่างกายเขาอ่อนแอลงอย่างรวดเร็ว ต่อมาก็เป็นโรคปอดบวม

วันที่ 17 ตุลาคม 1969 ขณะนั้น หลิวเส้าฉี ลมหายใจเขาอ่อนระโทยมาก เนื่องจากโรคปอดบวม จนถูกย้ายไปที่คุกเมืองไคเฟิง และจบชีวิตในวันที่ 12 พฤศจิกายน 1969 ในวัย 71 ปี  อย่างไรก็ดี ในวันนั้นเองก็มีการเผาศพของเขาอย่างลับๆ ด้วยความเร่งด่วนและระบุสาเหตุการตาย ว่า เป็นโรคติดต่อร้ายแรง และไม่มีการลงข่าวแต่อย่างใด

เหตุการณ์มาแดงขึ้นในปี 1972 เนื่องจาก ลูกๆ ของหลิวเส้าฉี ต้องการเยี่ยมพ่อของเขาจึงเขียนจดหมายถึง เหมาเจ๋อตุง เหมาเจ๋อตุงจึงตอบกลับว่า พ่อของหนู เสียชีวิตไปตั้งแต่ปี 1969 แล้ว

ส่วนภรรยาของหลิวเส้าฉี ได้รับการปล่อยตัวในปี 1979 และทันได้อยู่ดู จุดจบของ เจียชิง และแก๊งออฟโฟร์ ที่เป็นมือไม้ของการปฎิวัติวัฒนธรรม

นี่ขนาดเป็นคนระดับประธานธิบดีของ ประเทศจีน ยังไม่เว้น หากคุณไม่นิยมเหมา และทุกวันนี้ ผู้นำรัฐบาลจีนหลายคนก็มาจากพกวเรดการ์ด เดิมทั้งนั้น พวกเขา พยายามทำให้การปฎิวัติวัฒนธรรมมันหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์พร้อมกับคำโฆษณาชวนเชื่อใหม่ๆ มาโดยตลอด

ครั้งในสายตาผมแล้ว เหมาเจ๋อตุงนั้น นอกจากจะล้มเหลว ด้านนโยบายก้าวกระโดดที่มีคนล้มตายจำนวนมาก ยังล้มเหลวกับ นโยบาย ปฎิวัติวัฒนธรรมอีก ทำให้ผู้คนล้มตายหลายล้านคนอีกครั้ง ผมมองว่า เหมาเจ๋อตุงนั้น โหดร้ายไม่ต่างกับสตาลินเลยทีเดียวครับ ใครคิดเห็นอย่างไรก็คอมเม้นท์ไว้ได้นะครับ

อย่างไรก็ดี ใครชอบคลิปนี้ก็อย่าลืมกดไลค์กดแชร์กดซับสไคท์ให้ด้วยนะครับ 

วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2563

!จีน(1878-1916) - เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ ภาคแยก - เฉินฉีเหม่ย หัวหน้าทีมสังหารของก๊กมินตั๋ง

เฉินฉีเหม่ย 陈其美 หัวหน้าทีมล่าสังหารของก๊กมินตั๋ง หรือ ราชาแห่งการลอบสังหาร

วันนี้ขอเล่าเรื่อง เฉินฉีเหม่ย แต่จะขอเฉลย เรื่องตัวจริง เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ ก่อนครับ คราวก่อนเหมือนลืมเล่าหลายอย่างครับ

หนัง เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้  น้้น ผสมผสานบุคลิกของตัวจริงในประวัติศาสตร์ ให้เข้ากับบุคลิกในนิยายมากกว่า  ที่จะเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์แบบแท้ๆ 

ตัวเอกของเรื่องนี้ คือ สวีเหวินเฉียง เป็นนักเรียนมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ที่เข้าร่วมการประท้วง ในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ต่อมาถูกจำคุก 3 ปี ทำให้ความรู้สึกเขาคือ การประท้วงที่ผ่านมามันเป็นเรื่องไร้สาระ หลังออกจากคุก เขามุ่งหน้าไปที่ เซี่ยงไฮ้ นครแห่งโอกาสในยุคนั้น ที่นั่นเองเขาได้พบกับติงลี่ คนขายสาลี่ในสลัม เหมือนกับชีวิตจริงของตู้เย่วชิง หนึ่งในเจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ ที่ได้ฉายาตอนต้นว่า ลูกแพรเย่ว์ชิง ก่อนที่จะเป็น ตู้หูใหญ่  โดยเขามีพี่น้อง ที่สนิทกันมากคือ สวีเปาชู (xu baushu) หรือฉายา มิสเตอร์ สวี่ 

ติงลี่นั้นฝันอยากเป็นเหมือนฝงจิ้งเหยา เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ในยุคนั้น ซึ่งฝงจิ้งเหยา  นั้นคือ ผู้ทรงอิทธิพลในเซี่ยงไฮ้ ที่คบค้าสมาคมกับ คุณนายทากามาดะ ทีเ่ป็นสายลับญี่ปุ่น โดยเป็นคนจีนที่ไปเติบโตที่ญี่ปุ่น นั่นคื อ โดยคาดว่า ฝงจิ้งเหยา นั้น เหมือกัน จางเสี่ยวหลิน ที่เป็นเจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ ที่ไปคบค้าสมาคมกับญี่ปุ่น 

ขณะที่องค์หญิงตงเจิน ที่เคยทำคลิปนั้นก็ไปคล้ายกับ คุณนายทากามาดะ

แต่ที่จบไม่เหมือนกันคือ เขาแค่เคยวางแผนลอบสังหาร จางเสียวหลิน เท่านั้น ขณะที่เขาเสียชีวิตจากการที่โดนสายลับญ๊่ปุ่นสังหาร


บ่ายวันที่ 18 พฤษภาคม 1916 เสียงปืนดังหลายนัดในบ้านเลขที่ 14  ถนนตั้นสุ่ยลู่ 淡水路  แต่ในสมัยนั้น ถนนสายนี้ยังใช้ชื่อเดิมว่า ถนนซาพอไซ่ 萨坡赛 อยู่ในเขตเช่าฝรั่งเศส   เสียงปืนเหล่านี้เป็นการลอบสังหาร ผู้ที่ได้ฉายาว่า  ”ราชาแห่งการลอบสังหาร” เฉินฉีเหม่ย  暗杀之王 陈其美

เจ้าหน้าที่ตำรวจแห่งเขตเช่าฝรั่งเศสเร่งมาถึงที่เกิดเหตุ เจ้าของคดีเป็น นายตำรวจชื่อ  หวงจินหรง 黄金荣 หรือ”หวงหน้าปรุ” ที่ในเวลาต่อมา เขากลายเป็น 1 ใน 3 เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้แห่งแก๊งชิงปัง (อีกสองคนคือ ตู้เยว่เซิง 杜月笙 และ จางเซียวหลิน张啸林)

เฉินฉีเหม่ย ไม่ใช่คนธรรมดา เขาเป็นถึงสมาชิกระดับสูงของกลุ่มปฎิวัติ ถงเหมิงฮุ่ย 同盟会 เขาถือเป็นระดับแขนขาของ ดร. ซุนยัดเซ็น  นอกจากนี้เขายังมีความสัมพันธ์อันดีกับ แก๊งชิงปัง แก๊งใต้ดินที่มีอิทธิพลในเซี่ยงไฮ้อีกด้วย ดังนั้น การตายของเขาย่อมไม่ธรรมดา  แล้วใครหน้าไหนถึงกล้าปลิดชีพบุคคลระดับนี้?

ประวัติ 
เฉินฉีเหม่ย พื้นฐานเป็นคนเจ้อเจียง เขาเกิดในตระกูลพ่อค้าที่ไม่ได้มีฐานะร่ำรวยอะไรมาก เกิดเมื่อ มกราคม ค.ศ. 1878 สมัยเด็กเป็นเด็กเป็นเด็กเกเร ตอนอายุ 15 เมื่อพ่อเสียชีวิตลง เฉินก็ออกมาโลดแล่น

ในปี 1901 หลังจากที่ ราชวงศ์ชิง ลงนามสงบศึกกับต่างชาติในกรณีกบฎอี้เหอถวน ทำให้ประชาชนยากจนลงอีก ปี 1902 ประชาชนจีนก็ไม่ทนต่อราชวงศ์ชิง โดยเริ่มต้นก่อกบฎไปทั่วประเทศ โดยเริ่มต้นจากที่ หู่เป่ย์ ไป เหอเป่ย์  ถัดมา 2 ปี  เซี่ยถิงอี้ นำกำลังชาวนาบุกยึด ทำลายที่ทำการอำเภอ สำนักงานเก็บภาษี และโบสถ์ฝรั่งหลายแห่ง

ปีนั้นเอง พี่ชายของ เฉินฉีเหม่ย เพิ่งเดินทางกลับจากญี่ปุ่น พี่ชายของเขาได้ไปพบความเจริญที่ญี่ปุ่น จึงเล่าเรื่องที่ญี่ปุ่นให้กับ เฉินฉีเม่ย ฟัง นี่เองเป็นจุดเริ่มต้นของ "ราชาแห่งการลอบสังหาร"

ปีถัดมาคือ ปี 1903 เฉินเดินทางไปเริ่มต้นชีวิตที่เซี่ยงไฮ้ มหานครแห่งโอกาส โดยเริ่มต้น อาชีพด้วยการเป็นเสมียนในร้านค้าแห่งหนึ่ง ระหว่างนั้น เฉินฉีเม่ย ก็ได้เข้าเป็นสมาชิก ของ ชิงปังอีกด้วย 

วันที่ 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1904  ซุนยัดเซ็น ก็ก่อตั้ง กลุ่มพันธมิตรจีน ชื่อ จงกว๋อ ถงเหมิงฮุ่ย  โดยดร.ซุนยัดเซ็น เดินทางไปขอร้องเพื่อ รวม สมาคม ซิงจงฮุ่ย สมาคม หวาซิงฮุ่ย สมาคม กวงฝูฮุ่ย เข้าด้วยกัน โดย เหล่าพันธมิตร ถงเหมิงฮุ่ย ได้กำหนดให้ใช้ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่นเป็นที่ตั้งของ กองบัญชาการกลาง

แต่แล้วในปี 1906 ด้วยการช่วยเหลือของพี่ชาย เฉินฉีเหม่ย ในวัย 28 ปี ก็ได้รับโอกาสไปเรียนต่อที่ญี่ปุ่น เขาเลือกเรียน โรงเรียนนักเรียนตำรวจ ที่กรุงโตเกียว แต่ก็ไม่ได้เอาจริงเอาจังอะไร เพราะสิ่งที่ดึงดูดความสนใจของเขาตอนนั้น คือ เหล่ามิตรสหายนักเรียนชาวจีนในญี่ปุ่น กำลังมุ่งมั่นวางแผนเพื่อ “ล้มเจ้า”

ที่โตเกียวนี่เองเขาได้พบกับ เจียงไคเช็ก ขณะนั้น เฉินอายุ 30 ปี แต่เจียงอายุเพียง 19 ปีที่มาเรียนวิชาทหารที่ญี่ป่น ทั้งคู่ได้สาบานเป็นพี่น้องร่วมสาบานกัน เนื่องจากทั้งคู่มาจากเจ้อเจียง เช่นกัน เจียงไคเช็กตอนนั้นนับถือ เฉินฉีเม่ยอย่างมาก   นอกจากนี้ เขายังได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกพันธมิตร “ถงเหมิงฮุ่ย” ทั้งคู่อีกด้วย

ปี 1906 เจียงไคเช็กกลับมาเยี่ยมบ้านเกิด แต่เขารับงานจากแก๊งชิงปัง โดยบุกไปในคุก เพื่อชิงตัว นักโทษของแก๊งชิงปัง และนักโทษการเมือง โดยมีข่าวลือว่า เฉินฉีเม่ยนี่เองเป็นคนพาเจียงไคเช็กไปรับงานกับแก๊งชิงปัง ต่อมาเจียงก็รับงานฆาตกรรม รีดทรัพย์และปล้นสดมถ์ โดยมีหลักฐานของตำรวจอยางเป็นทางการ

ปี 1908 ซุนยัดเซ็น สั่งให้ เฉินฉีเหม่ย กลับมาที่จีน เพื่อวางเครือข่ายคณะปฎิวัติใน ลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง อันประกอบไปด้วย  เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และปักกิ่ง โดยให้เขาประสานงานกับ  ซ่งเจี่ยหรง และ ถานเหริ่นเฟิง เพื่อก่อตั้งกองกำลังติดอาวุธ  แต่การปฎิวัติในครั้งแรกนั้นล้มเหลว กลุ่มพันธมิตรส่วนใหญ่ต้องหนีเข้าไปในเวียดนาม

ปฎิวัติซินไฮ่
เมื่อเกิดการปฏิวัติอู่ชาง 1911  (武昌起义) หรือเรียกกันง่ายๆ ว่า สองสิบ (双十) เนื่องจากเกิดขึ้นในวันที่ 10 เดือน 10 ขณะที่ชื่ออย่างเป็นทางการ คือ การปฏิวัติซินไฮ่ (辛亥革命) เนื่องจากตามปฏิทินจันทรคตินั้นเป็น ปี ค.ศ. 1911 ซึ่งชาวจีนเรียกว่า ปีซินไฮ่

เช้าวันที่ 3 พฤศจิกายน ทั้งเมืองเซี่ยงไฮ้เงียบสงัด ร้านรวงปิดเงียบ  เฉินฉีเหม่ยเป็นหัวหอกต่อต้านแมนจู ได้รวบรวมผู้คน 3000 คนจากแก๊งชิงปัง จนขุนนางราชสำนักที่คุมกองกำลังต่างต้องหนีเอาตัวรอด รวมถึงหลานชายของ หลี่ หงจาง ที่คุมกองกำลังอยู่ที่ เจียงหนานในเวลานั้น พร้อมประกาศว่า เซี่ยงไฮ้ เริ่มต้นการปฏิวัติแล้ว เฉินฉีเหม่ยได้รับการแต่งตั้งเป็น แม่ทัพว่าการแห่งเมืองเซี่ยงไฮ้

วันที่ 29 ธันวาคม ค.ศ.1911 ดร.ซุนเดินทางกลับมาที่จีน นำผู้แทนจาก 17 มณฑล ที่ประกาศแยกตัวเป็นอิสระมารวมตัวกันที่ นานจิง เตรียมการจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราว โดยเลือกดร.ซุนยัดเซ็น เป็นประธานาธิบดีเฉพาะกาล

สังหารพันธมิตร
ก่อนการเจรจาระหว่างพันธมิตร ถงเหมินฮุ่ย กับ ราชวงศ์ชิง  วันที่ 14 มกราคม 1912  เกิดการแตกแยกกันภายในพันธมิตรปฎิวัติ คือระหว่างง ถงเหมินฮุ่ย  กลุ่มของ เฉินฉีเหม่ย  กับกลุ่ม เถาเฉิงจัง 陶成章 ของสมาคม กวงฟู่ฮุ่ย ที่มารวมกลุ่มกัน เพื่อล้มราชวงศ์ชิง  แต่เกิดขัดคอกันเอง เพราะ เถาเฉิงจัง นั้นต้องการสนับสนุน หยวนซื่อไข่ มากกว่า ดร.ซุนยัดเซ็น 

เถาเฉิงจัง นั้น เขาเป็นคนที่จริงจังในเรื่องปฎิวัติอย่างมาก และมีมุมมองที่ต่างจากเฉินฉีเม่ย โดยเฉพาะการที่เฉินฉีเม่ย สนิทสนมกับพวกองค์กรใต้ดิน อย่างชิงปัง  และมีพฤติกรรมเที่ยวบ่อน และซ่อง เป็นประจำ โดยความจริงทั้งคู่ไม่ถูกกันตั้งแต่เป็นนักเรียนที่ญี่ปุ่นแล้วด้วย โดยครั้งนั้น มีอีกแนวคิดคือ เฉินฉีเม่ยน้นกำลังได้ขึ้นเป็นผู้ว่าเจ้อเจียง แต่เหล่าพันธมิตร และเถาเฉิงจัง นั้นไม่เห็นด้วยที่จะยกตำแหน่งสำคัญให้เฉินฉีเม่ย

ดังนั้น เฉินฉีเหม่ยจึงเลือกที่จะกำจัดเขา แต่คนที่ลงมือฆ่าเถาเฉิงจัง กลับไม่ใช่ เฉินฉีเหม่ย แต่กลับกลายเป็นน้องชายร่วมสาบานของเขา คือ "เจียงไคเช็ค"

เหตุการณ์ เริ่มในเวลาประมาณ ตีสอง ของวันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 1912 เจียงไคเช็คพร้อม หวังจู่ชิง 王竹卿  ฝ่าความมืดมุ่งตรงไปที่โรงพยาบาลในเขตเช่าฝรั่งเศส เมืองเซี่ยงไฮ้ ทั้งสองเดินเข้าไปในห้องคนไข้ที่มี เถาเฉิงจัง นอนครึ่งหลับครึ่งตื่น อยู่  และเป็น หวังจู่ชิง ที่ลั่นไกยิงที่หน้าอกของ เถาเฉิงจัง แล้วเจียงไคเช็ก คอยซ้ำ เถาเฉิงจัง ตายคาที่ด้วยวัยเพียง 34 ปี

ไม่กี่วันต่อมา หวังจู่ชิง ที่ถูกพบกลายเป็นศพ ก็เกิดข่าวลือไปทั่วว่า เป็นการฆ่าล้างแค้น แต่ข่าวบางกระแส เชื่อว่า น่าจะเป็นการฆ่าปิดปากโดย เฉินฉีเหม่ยและเจียงไคเช็ค มากกว่า

วันที 28 มกราคม 1912 มีจดหมายเปิดผนึกถึง ดร.ซุนยัตเซ็น ประณามการแตกหักระหว่างพันธมิตรในถงเหมินฮุ่ย ดร.ซุนยัตเซ็น ขณะนั้นอยู่ที่ นานจิง ออกหนังสือชี้แจง ยกย่อง เถาเฉิงจัง ว่า เป็นระยะเวลายาวนานที่เขาคอยวิ่งเต้นช่วยเหลือกันและกันเสมอมา และขอให้เจ้าหน้าที่หาตัวคนร้ายมาเพื่อปลอบโยนจิตใจเหล่าวิญญูชนให้ได้ สิ่งที่หลายคนสงสัยคือ  ลุกน้องของเขาเองนั่นแหละ คือ คนร้ายเองรึเปล่า

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 1912 เจียงไคเช็คถูกสั่งให้นั่งเรือจากเซี่ยงไฮ้ไปเก็บตัวที่ญี่ปุ่น ในบันทึกส่วนตัวของเจียงไคเช็ก ระบุว่า การสังหาร เถาเฉิงจัง คือ จุดเริ่มต้นแห่งการไว้วางใจ

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1912 หยงลู่ไทเฮา พระมารดาของปูยี ประกาศสละราชบังลังก์

วันที่ 1 เมษายน ค.ศ.1912 ดร.ซุนยัดเซ็น ยอมลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดี เพื่อเปิดทางให้มีการเจรจาสันติภาพกับหยวนซื่อข่าย แต่เมื่อหยวนสื่อข่ายได้กุมอำนาจบริหารประเทศไว้ในมือ ได้แล้ว เขาสั่งย้ายทำเนียบรัฐบาลจาก นานจิงไปอยู่ เป่ยจิง และ ขึ้นเป็นประธานธิบดีเฉพาะกาลแทน ดร.ซุนยัดเซ็น

ไล่ล่าก๊กมินตั๋ง 
มีนาคม ค.ศ.1913 ประธานาธิบดีหยวนสื่อไข่ เริ่มลงมือกำจัดศัตรูทางการเมือง โดยเฉพาะพรรคก๊กมินตั๋ง วันที่ 20 มีนาคม 1913 ซ่งเจียเหริ่น ถูกยิงเสียชีวิตที่สถานีรถไฟเซี่ยงไฮ้  เป็นเหยื่อรายแรกที่เป็นสมาชิกของ ถงเหมินฮุย ที่ถูกลอบสังหาร เมื่อดร.ซุนยัดเซ็น รู้ข่าว ก็รีบเดินทางกลับจากญี่ปุ่นทันที และประกาศกร้าวว่า เขาต้องกำจัด หยวนซื่อไข่ ให้ได้ แต่ตอนนั้น หยวนสื่อไข่ กำลังวางแผนถอนรากถอนโคนพรรคก๊กมินตั่งให้สิ้นซาก

วันที่ 23 กรกฎาคม 1913  เฉินฉีเหม่ย ประกาศให้เซี่ยงไฮ้เป็นรัฐอิสระ แต่กองทัพจากปักกิ่ง ก็บดขยี้กองปฎิวัติที่เซี่ยงไฮจนพ่ายแพ้อย่างรวดเร็ว   เฉินฉีเหม่ยต้องหนีตายกลับไปญี่ปุ่น ก่อนที่จะลอบกลับเข้ามาที่เซี่ยงไฮ้ เพื่อก่อตั้งกองกำลังอย่างลับๆ ที่เซี่ยงไฮ้อีกครั้ง

ราชาแห่งการลอบสังหาร
หลังจากเขาหลบหนีกลับจากญี่ปุ่นเข้าจีน  ในปี 1913 ตอนนี้ในเมืองเซี่ยงไฮ้ มีเครือข่ายลับ ของหยวนซือไข่ไปทั่ว

เฉินฉีเหม่ย เริ่มต้นภารกิจลับ ด้วยการไปลอบสังหารคนของหยวนซื่อไข่ โดยเริ่มต้นสังหาร ผู้ว่าราชการจังหวัด ต่อมาก็ส่งแจกันระเบิดไปให้ที่บ้าน เหล่าคนที่สนับสนุนหยวนซื่อไข่ รวมถึงไปลอบฆ่า เซี่ยรุ่ยฟาง ผู้จัดการหนังสือพิมพ์เซี่ยงไฮ้ ที่เป็นกระบอกเสียงให้ หยวนซื่อไข่

25 ตุลาคม ค.ศ.1915 ดร.ซุนแต่งงานกับซ่งชิ่งหลิงที่โตเกียว สหายร่วมรบผู้ภักดี

ปีนั้น หยาวนซื่อไข่ วางแผนให้ตัวเองขึ้นเป็นฮ่องเต้ แต่แล้ว วันที่ 10 พฤศจิกายน 1915  มือขวาที่หยวนสื่อไข่ ถูกส่งมาปกครองเซี่ยงไฮ้ คือ เจิ้งเหว่ยเฉิง  แต่กลับถูกลอบวางระเบิด โดยลูกน้องของ เฉินฉีเหม่ย ที่สะพาน ไป่ตู่ ในเซี่ยงไฮ้

ตอนนี้ เฉินฉีเหม่ย ใช้วิธีการลอบสังหารเพื่อสังหารบุคคลสำคัญจำนวนมาก ไม่ว่าจะ อดีตเพื่อนร่วมคณะปฎิวัติ นักเลง หรือ ศัตรูทางการเมืองที่สนับสนุนหยวนซื่อไข่

แต่การที่ เฉินฉีเหม่ย ลอบสังหารคนของหยวนซื่อไข่ นั้น ก็ทำให้ หยวนซื่อไข่ นั้นตัดสินใจตามล่า เขาเช่นกัน  โดยสั่งให้ จางซงฉาง ผู้ว่าราชการกองทัพเซี่ยงไฮ้ ไล่ล่า เฉินฉีเหม่ย

โดนลอบสังหาร
เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 1916 เฉินฉีเหม่ย ตอนนั้น พักอยู่ที่บ้านพักของชาวญี่ปุ่น ยามาดะ จูนซาบุโร่ บ้านเลขที่ 14 ถนน Saposai (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นถนน Yingshi เปลี่ยนจากถนน Tamsui ในปี 1950)

เฉินฉีเม่ย นั้นถูกวางแผนซ้อนแผน โดยอ้างว่า มีชาวญี่ปุ่นจะให้ความช่วยเหลือด้านการเงินกับพรรคก๊กมินตั๋ง ซึ่งชาวญี่ปุ่นมักให้ความช่วยเหลือ ดร.ซุนยัดเซ็นอย่างสม่ำเสมออยู่แล้ว ทำให้เฉินฉีเม่ยนั้นยอมเผยตัว  แต่กลับถูกฆ่าโดยนักฆ่าโดยลูกน้องของ หยวนซื่อไข่ ที่ส่งไปล่าสังหาร

มีการจัดพิธีศพของ เฉินฉีเหม่ย ที่ เซี่ยงไฮ้ ซึ่งมีผู้คนนับหมื่นไปร่วมงาน โดยมีคนเห็น ซุนยัตเซ็นเดินทางมาเคารพศพ ด้วย  วันต่อมาศพก็ถูกฝังที่ เมืองหูโจว มณฑลเจ้อเจียง ผู้พลีชีพแก่คณะปฎิวัติ

ในที่สุด ราชามือสังหาร ก็ถูก ลอบสังหาร เสียเอง

อย่างไรก็ดี ด้วยคำสาบานกับเจียงไคเช็ก ก็ทำให้เจียงนั้นรับเอาหลานของเฉินฉีเม่ย มาเลี้ยงดู  คือ เฉิน ลีฟู่ กับเฉินกัวฟู ต่อมาก็กลายเป็นหัวหน้าหน่วย เสื้อเชิ๊ตน้ำเงิน หรือ สายลับนั่นเอง โดยทั้งคู่ก็ได้เป็นบุคคลสำคัญของพรรคก๊กมินตั๋งต่อมาด้วย